เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 1.อริยสัจสี่ รวบรวมจาก พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา 1442
P1442 P1443 P1444 P1445

ฉบับหลวง พุทธวจน อริยสัจจจากพระโอษฐ์ สรุป

เล่มที่ <-- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๑๙ 1. ทรงแสดงพระธรรมจักร (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)
  2. ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ (ญาณ1 ถ้าญาณทัสสนะคือปฏิจจและอริยสัจ ๔ ยังไม่บริสุทธิ์ ก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าตรัสรู้)
  3. จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดแก่ตถาคต
  4. ว่าด้วยอริยสัจ ๔ (อุปาทานขันธ์ คือทุกขอริยสัจ ความเพลินพอใจคือสมุทัย)
  5. ว่าด้วยอริยสัจ ๔ (อายตนะภายใน ๖ คือทุกขอริยสัจ)
  6. ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ (ให้ทรงจำ อริยสัจ ๔เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์.. )
  7. การทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง (การบอกเลิกอริยสัจ ๔ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้)
  8. ว่าด้วยอวิชชา (ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ เรียกว่า อวิชชา)
  9. ว่าด้วยวิชชา (ความรู้ในอริยสัจ ๔ เรียกว่า ถึงอวิชชา)
  10.ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔ (การจำแนก อริยสัจ ๔ หาประมาณมิได้)
  11. ว่าด้วยของจริงแท้ ๔ อย่าง (อริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น)
  12. ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔ (ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้ สมุทยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรให้เกิดมี)
  13. ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่าเห็นในสมุทัย นิโรธ มรรค (ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค)
  14. สิ่งที่เป็นนิมิต มาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ (แสงทองมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น สัมมาทิฐิเป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้ อริยสัจ ๔)
  15. พระตถาคตอุบัติ ความสว่างย่อมปรากฏ (พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างก็ย่อมมี)
  16. ผู้รู้ตามเป็นจริงย่อมรู้ผู้อื่น ว่ารู้หรือไม่รู้ (ผู้ไม่รู้อริยสัจสี่ ย่อมเบาเหมือนปุยนุ่น ผู้รู้อริยสัจสี่เหมือนเสาเหล็กที่ฝังดีแล้ว)
  17. ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ (ผู้รู้อริยสัจสี่ มั่นคง ดุจเสาหินยาว ๑๖ ศอก ปักลงดิน๘ ศอก โผล่บนดิน ๘ ศอก)
   
เล่มที่ ๒๐ 18. อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ (อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เรียกว่าทุกขอริยสัจ ปฏิจจสายเกิดเป็น ทุกขสมุทัย อริยสัจ..)
   
เล่มที่ ๑๒ 19. อุปมาอริยสัจ กับรอยเท้าช้าง (อริยสัจเหมือนรอยเท้าช้าง รอยเท้าของสัตว์ทั้งหมดย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้าง)
  20. ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔ (อย่าตรึกถึงอกุศลวิตกคือ กาม พยาบาท เบียดเบียน ควรตรึกถึงอริยสัจสี่)
  21. การคิดในอริยสัจ ๔ (ความคิดเรื่องโลกไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงคิดว่า นี่ทุกข์...)
  22. ความเป็นมนุษย์เกิดได้ยาก (เปรียบเต่าตาบอด) (ความเป็นมนุษย์เกิดได้ยาก อุปมาเต่าตาบอด เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔)
  23. ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย (สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย เหมือนเศษฝุ่นที่ปลายเล็บเทียบกับแผ่นดิน)
   
เล่มที่ ๓๑ 24. สุตมยญาณ ทุกข อริยสัจเป็นไฉน ..ชาติเป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะเป็นทุกข์
  25. สุตมยญาณ ทุกขสมุทย อริยสัจเป็นไฉน.. กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล คือทุกขสมุทัยอริยสัจ
  26. สุตมยญาณ ทุกขนิโรธ อริยสัจเป็นไฉน..ตัณหาเมื่อละย่อมละได้ ณที่นั้น เมื่อดับก็ดับในที่นั้น นี้ท่านกล่าวว่าทุกขนิโรธอริยสัจ
  27. สุตมยญาณ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจเป็นไฉน... คืออริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฐิ สัมมสังกัปปะ
   
เล่มที่ ๑๒ 28. สัจจบรรพ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า? (พระสูตรนี้แจงรายละเอียด แบบไม่คัดย่อ)
  29. (สัจจบรรพ) ทุกขอริยสัจ.. ก็ชาติ ชรา มรณะ เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน?
  30. (สัจจบรรพ) สมุทัยอริยสัจ..กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหา(จากอายตนะ)นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน
  31. (สัจจบรรพ) นิโรธอริยสัจ...ความสละ ความสละคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น
  32. (สัจจบรรพ) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ...อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ
   

 


1
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๖

ธัมมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

ตถาคตสูตรที่ ๑

ทรงแสดงพระธรรมจักร

(โดยสรุป)
ส่วนสุด๒ อย่างนี้ ไม่ควรเสพ
- พัวพันด้วยกามสุข ทำความลำบากแก่ตน
ทางสายกลาง - ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


ทุกขอริยสัจ- ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์
ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหา อันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วย ความกำหนัด ความพอใจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ นี้แล คือ อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ

จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว
ทุกขอริยสัจ เรากำหนดรู้แล้ว
ทุกขสมุทัยอริยสัจ เราละแล้ว
ทุกขนิโรธอริยสัจ เรากระทำให้แจ้งแล้ว
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราเจริญแล้ว


ญาณทัสสนะ
ถ้าญาณทัสสนะ คือปฏิจจ และอริยสัจ ๔ ยังไม่บริสุทธิ์ ก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ตรัสรู้
ถ้าญาณทัสสนะ คือปฏิจจ และอริยสัจ ๔ บริสุทธิ์ดีแล้ว ก็จะปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้
ญาณทัสสนะ บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ไม่มี

โกณฑัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรมว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับเป็นธรรมดา (พระสารีบุตรบรรลุธรรมเป็นโสดาบันด้วยธรรมะบทนี้เช่นกัน )

เทวดา ประกาศธรรมจักร ส่งต่อเป็นทอดๆ ทั่วทั้งโลกธาตุ

เสียงได้ระบือและแสงสว่าง ไปจนถึงพรหมโลก หมื่นโลกธาตุสะเทือนสะท้านหวั่นไหว ทรงเปล่งอุทาน โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ


           [๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

           สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนคร พาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด๒ อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ

ส่วนสุด ๒ อย่างนั้น เป็นไฉน? คือ
๑) การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุข ในกามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของ ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๒) การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

           ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านี้ อันตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น ... เป็นไฉน?

           คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริ ชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ข้อปฏิบัติอัน เป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

           [๑๖๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

            ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่ง อันไม่เป็น ที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนา สิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็น ทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

           ก็ทุกขสมุทย อริยสัจ นี้แล คือ ตัณหา อันทำให้มีภพใหม่ประกอบด้วย ความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนัก ในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

           ก็ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้แล คือ ความดับด้วยการ สำรอก โดยไม่ เหลือแห่ง ตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย

           ก็ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจ นี้แล คือ อริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

           [๑๖๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้น แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้น ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้น เรากำหนดรู้แล้ว

           [๑๖๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้น แก่เรา ในธรรม ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น ควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้น เราละแล้ว

           [๑๖๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้น แก่เรา ในธรรม ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น ควรกระทำให้แจ้ง. ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น เรากระทำ ให้แจ้งแล้ว

           [๑๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้น แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น ควรเจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจนั้น เราเจริญแล้ว

----------------------------------------------------------------------------------------------------
2
ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

(ญาณ1) ถ้าญาณทัสสนะคือปฏิจจและอริยสัจ ๔ ยังไม่บริสุทธิ์ ก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าตรัสรู้
(ญาณ2) ถ้าญาณทัสสนะคือปฏิจจและอริยสัจ ๔ บริสุทธิ์แล้วก็จะปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้
(ญาณ3) ญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่าวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย

           [๑๖๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
           ก็ญาณทัสสนะ
(ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณ ตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เพียงนั้น (ถ้าญาณทัสสนะ คือปฏิจจ และอริยสัจ ๔ ยังไม่บริสุทธิ์ ก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ตรัสรู้)

           ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึง ปฏิญาณตน ว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ (ถ้าญาณทัสสนะ คือปฏิจจ และอริยสัจ ๔ บริสุทธิ์ดีแล้ว ก็จะปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้)

           ก็ญาณทัสสนะ ได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติ ที่สุด บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค (ญาณทัสสนะ ได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุติ ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี)


-ท่านโกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรม ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดาสิ่งนั้น ทั้งมวล ล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
-เทวดาประกาศธรรมจักรส่งต่อเป็นทอดๆจากเทวดาชั้นล่างๆ จนถึงพรหมโลก

           [๑๖๗๑] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา

            ก็เมื่อพระผู้มี พระภาค ทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวกภุมมเทวดาได้ประกาศ ว่า นั่นธรรมจักรอัน ยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน ใกล้พระนคร พาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ประกาศไม่ได้

พวกเทพ ชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียง ของพวก ภุมมเทวดา*แล้ว ...
พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว ... พวกเทพชั้นยามาได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ...
พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นยามาแล้ว ...
พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้ว ...
พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว ...
พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มารพรหม หรือใครๆ ในโลก ประกาศไม่ได้
* เทวดาที่สิงสถิตอยู่บนดิน

           [๑๖๗๒] โดยขณะนั้น โดยครู่นั้น เสียงได้ระบือขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการ ฉะนี้ ก็หมื่นโลกธาตุนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ทั้งแสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของพวกเทพดาทั้งหลาย

           [๑๖๗๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้นคำว่า อัญญาโกณฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของ ท่านโกณฑัญญะด้วยประการฉะนี้แล


3
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๘


ตถาคตสูตรที่ ๒

จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดแก่ตถาคต
ทุกขอริยสัจ นั้น ควรกำหนดรู้
ทุกขสมุทัยอริยสัจ นั้น ควรละ
ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น ควรกระทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น ควรเจริญ

           [๑๖๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจ นั้น ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลาย กำหนดรู้แล้ว

           [๑๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทย อริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจ นั้น ควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น พระตถาคต ทั้งหลาย ละได้แล้ว

           [๑๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธ อริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น ควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลาย กระทำให้แจ้งแล้ว

           [๑๖๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่ พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา อริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น ควรเจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ ไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น พระตถาคต ทั้งหลาย เจริญแล้ว


4
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๙


ขันธสูตร

ว่าด้วยอริยสัจ ๔
(อุปาทานขันธ์ คือทุกขอริยสัจ ความเพลินคือสมุทย ความสละ ปล่อยวางคือ นิโรธ)

           [๑๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

           [๑๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? ควรจะกล่าวได้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์ คือเวทนา อุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ

           [๑๖๘๐] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหาวิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

           [๑๖๘๑] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน? ความดับด้วยการสำรอกโดย ไม่เหลือ แห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ตัณหา นั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

           [๑๖๘๒] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน? อริยมรรค อันประกอบ ด้วยองค์๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ

           [๑๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


5
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๙

อายตนสูตร

ว่าด้วยอริยสัจ ๔
(อายตนะภายใน ๖ คือทุกขอริยสัจ ความกำหนัดอันเกิดจากอายตนะคือสมุทย)

           [๑๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

           [๑๖๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน? คือ อายตนะ คือตา ฯลฯ อายตนะ คือใจ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

           [๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

           [๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน? ความดับด้วยการสำรอก โดย ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

           [๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน? อริยมรรคอัน ประกอบ ด้วยองค์๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ

           [๑๖๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


6
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๓๐

ธารณสูตรที่ ๑

ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔
(ให้ทรงจำ อริยสัจ ๔)

           [๑๖๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงไว้เถิด

           เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำซึ่งอริยสัจ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว

พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร?

           ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ เป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล

           [๑๖๙๑] พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้ว ได้ ถูกต้อง
เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอทรงจำได้
เราแสดงทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นข้อที่ ๒ เธอก็ทรงจำได้
เราแสดงทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นข้อที่ ๓ เธอก็ทรงจำได้ เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้

เธอจงทรงจำ อริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แล

            ดูกรภิกษุเพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


7
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๔

ธารณสูตรที่ ๒

ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง
(การบอกเลิกอริยสัจ ๔ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้)

           [๑๖๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดง ไว้แล้วเถิดเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำได้ ซึ่งอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้ว

           พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร?

           ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิก ทุกขอริยสัจ ข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

            ข้าพระองค์ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มี พระภาค ทรงแสดงแล้ว ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดม ทรงแสดงไว้ เราจัก บอกเลิกทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติ ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา อริยสัจที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว อย่างนี้แล

           [๑๖๙๓] พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้ ถูกต้องเราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดม ทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจ ข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

           เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ เป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดม ทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิก ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แล

            ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


8
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๕


อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา
(ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ เรียกว่า อวิชชา)

           [๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุ เพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทาง ที่จะให้ถึงความ ดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่า ตกอยู่ในอวิชชา

            ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


9
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๖

วิชชาสูตร

ว่าด้วยวิชชา
(ความรู้ในอริยสัจ ๔ เรียกว่า ถึงอวิชชา)

           [๑๖๙๕] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชาๆ ดังนี้ วิชชาเป็นไฉน และด้วยเหตุเพียง เท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าถึงวิชชา? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความดับทุกข์ ในทางที่ให้ ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าถึงวิชชา

            ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา


10
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๖


สังกาสนสูตร
*
ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔
(การจำแนก อริยสัจ ๔ หาประมาณมิได้)

           [๑๖๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็น ทุกขอริยสัจ

เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็น ทุกขอริยสัจ

เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็น ทุกขอริยสัจ

เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนก ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
* (หมายเหตุ : ฉบับหลวงและทุกสำนักเป็นแบบคัดย่อ โดยละเนื้อหาบางตอนไว้)

(ต้นฉบับ)
สังกาสนสูตร
ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔


[๑๖๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนก
ในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกขอริยสัจ ฯลฯ

เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


11
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๒๖

ตถสูตร

ว่าด้วยของจริงแท้ ๔ อย่าง
(อริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น)

           [๑๖๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างเป็นไฉน? สิ่งนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความ ดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา


12
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๓๑


ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔

(ทุกขอริยสัจควรกำหนดรู้ สมุทยควรละ นิโรธควรกระทำให้แจ้ง มรรคควรให้เกิดมี)


            [๑๗๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล

            บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้อริยสัจ ที่ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ ที่ควรกระทำ ให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่ ก็อริยสัจที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน?

            ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทยอริยสัจ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรกระทำ ให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ควรให้เกิดมี

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


13
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๓๒

ควัมปติสูตร
ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่าเห็นในสมุทัยนิโรธมรรค
(ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นสมุทัย ย่อมเห็นนิโรธ ย่อมเห็นมรรค)

            [๑๗๑๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ แคว้นเจดีย์ ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระมากรูป กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต นั่งประชุมกัน ในโรงกลม เกิดสนทนากันขึ้นในระหว่างประชุมว่า

            ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอแลย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข สมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

            [๑๗๑๑] เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระควัมปติเถระ ได้กล่าวกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟังมา ได้รับมาในที่เฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า

ผู้ใดย่อมเห็น ทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกข นิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดย่อมเห็น ทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกข นิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดย่อมเห็น ทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกข นิโรธคา มินีปฏิปทา

ผู้ใดย่อมเห็น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ


14
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๓๗

สุริยูปมาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ

(แสงทองมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น สัมมาทิฐิเป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ ๔)

            [๑๗๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็น นิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด

            สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มี ความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


15
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎ หน้าที่ ๔๓๘

สุริยูปมาสูตรที่ ๒
พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ

(พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างก็ย่อมมี)


            [๑๗๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์ และพระอาทิตย์ยังไม่เกิดขึ้น ในโลก เพียงใดความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มจ้า อย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้นมีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ปรากฏ

            เมื่อใด พระจันทร์และพระอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่ง แสงสว่าง แจ่มจ้าอย่างมากก็ย่อมมี เวลานั้น ไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวันปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน

            ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่อุบัติขึ้นในโลก เพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่าง แจ่มแจ้งอย่างมาก ก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอกการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ยังไม่มี

            เมื่อใด พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏ แห่งแสงสว่าง แจ่มแจ้ง อย่างมากก็ย่อมมี เวลานั้นไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก การบอก การแสดง ... การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ย่อมมี

            อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


16
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๓๘


อินทขีลสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริงย่อมรู้ผู้อื่น ว่ารู้หรือไม่รู้
(ผู้ไม่รู้อริยสัจสี่ ย่อมเบาเหมือนปุยนุ่น ผู้รู้อริยสัจสี่เหมือนเสาเหล็กที่ฝังดีแล้ว)


            [๑๗๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะ หรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนปุยนุ่น หรือปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะ ลอย ไปตามลม บุคคลวางไว้ที่ภาคพื้นอันราบเรียบแล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่น หรือปุยฝ้ายนั้นไปทางทิศประจิมได้ ลมทิศประจิมพึงพัดเอาไปทางทิศ บูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัดเอาไปทางทิศทักษิณได้ ลมทิศทักษิณพึงพัดเอาไปทาง ทิศอุดรได้

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะปุยนุ่น หรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบาฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของ สมณะ หรือ พราหมณ์อื่น ว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็น อริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน

            [๑๗๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อม รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะ หรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่เปรียบเหมือนเสาเหล็ก หรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้ลมฝนอย่างแรง จะพัดมาแต่ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะ หรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้วฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


17
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๓๙
วาทีสูตร
ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ
(ผู้รู้อริยสัจสี่ มั่นคงไม่สะเทือนดุจเสาหินยาว ๑๖ ศอก ปักลงดิน ๘ ศอก โผล่ขึ้นมา 8 ศอก)

            [๑๗๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ชัด ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มี ความต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้น

            ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้าน หรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นโดย สหธรรม ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนเสาหิน ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีรากลึก ลงไป ข้างล่าง ๘ ศอก ข้างบน ๘ ศอก ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา ... ทิศประจิม ...ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะรากลึกเพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะ หรือ พราหมณ์ ผู้ต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร ... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้น ภิกษุนั้น จักสะเทือน สะท้าน หรือหวั่นไหวต่อสมณะ หรือพราหมณ์นั้น โดยสหธรรม ข้อนั้นมิใช่ฐานะ ที่จะมีได้

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


18
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ (สุตตันตปิฎก) หน้า ๑๖๙

ติตถสูตร
อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้าน
(อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ ปฏิจจสายเกิดเป็น ทุกขสมุทัย อริยสัจ ปฏิจจสายดับเป็นนิโรธอริยสัจอริยมรรค มีองค์ ๘ คือทุกขนิโรธคามินี.. )

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ นี้เราได้กล่าวไว้แล้ว เช่นนี้ แล เพราะอาศัยอะไรจึงได้กล่าวไว้ดังนั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะถือมั่นธาตุ ๖ สัตว์จึงลงสู่ครรภ์ เมื่อมีการลงสู่ครรภ์ จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาเราบัญญัติ ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับทุกข์ แก่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็ เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน คือ
เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน
เพราะอวิชชาดับ โดยสำรอก ไม่เหลือ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูป จึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะ ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทาน จึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ กองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมดับ ด้วย อาการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค มีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจ ชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยถ้อยคำที่เรา ได้กล่าวว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงไว้ว่า อริยสัจ ๔ คนอื่นข่มขี่ไม่ได้ ไม่มัวหมอง ไม่ถูกติ ไม่ถูกคัดค้านโดยสมณพราหมณ์ผู้รู้ ฉะนั้นเราจึงได้กล่าวไว้ ดังนั้น


19
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๒๔๕

๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
อุปมาอริยสัจ กับรอยเท้าช้าง
(อริยสัจเปรียบเหมือนรอยเท้าช้าง รอยเท้าของสัตว์ทั้งหมดบนแผ่นดินย่อมถึงการ ประชุมลงในรอยเท้าช้าง)

            [๓๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่าดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว

            พระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใด เหล่าหนึ่ง แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึง การประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้า เหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่แม้ฉันใด

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่า นั้นทั้งหมด ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเห็นเหมือนกันแล

            ในอริยสัจสี่เหล่าไหน? คือ ในทุกขอริยสัจ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ ในทุกขนิโรธอริยสัจ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

            [๓๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? คือ แม้ความเกิด เป็นทุกข์ แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ ไม่ได้สิ่งที่ตน อยากได้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์ห้า เป็นไฉน? คือ อุปทานขันธ์ คือ รูป อุปทานขันธ์คือเวทนา อุปทานขันธ์คือสัญญา อุปทานขันธ์คือ สังขาร อุปทานขันธ์คือวิญญาณ

            ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปทานขันธ์คือรูป เป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน? คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ


20
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก)
หน้าที่ ๔๑๖

วิตักกสูตร
ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔
(อย่าตรึกถึงอกุศลวิตกคือ กาม พยาบาท เบียดเบียน ควรตรึกถึงอริยสัจสี่)

            [๑๖๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตก อัน ลามก คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก(เบียดเบียน)

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไป เพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะตรึก พึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความตรึกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรคามินีปฏิปทา.


21
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก)
หน้าที่ ๔๑๖

จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔
(ความคิดเรื่องโลกไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงคิดว่า นี่ทุกข์...)


            [๑๖๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงอย่าคิดถึงอกุศลจิต อันลาม กว่าโลกเที่ยงโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีก ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความคิดนี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ก็เมื่อเธอ ทั้งหลาย จะคิด พึงคิดว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา       

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ความคิดนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ หน่าย ... นิพพาน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


22
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๔๗

ฉิคคฬสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นมนุษย์ยาก (เปรียบเต่าตาบอด)
(ความเป็นมนุษย์เกิดได้ยาก อุปมาเต่าตาบอดกับแอกไม้ไผ่ เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔)

            [๑๗๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอก ซึ่งมีช่องเดียว ลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้น คราวหนึ่งๆ เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอด นั้น ต่อล่วง ร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอก ซึ่งมีช่องเดียวโน้น ได้บ้างหรือหนอ?

            ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไป บางครั้ง บางคราว เต่าจะสอดคอให้เข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง.

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ สอดคอให้เข้าไปในแอก ซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เราย่อมกล่าวความ เป็น มนุษย์ เพราะคนพาลผู้ไปสู่วินิบาตแล้วคราวเดียว ก็หามิได้

            ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการประพฤติธรรม การ ประพฤติชอบ การกระทำกุศล การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกัน และกัน การเคี้ยวกิน ผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไปในวินิบาตนี้

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


23
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๔๕๗

อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย
(สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย เหมือนเศษฝุ่นที่ปลายเล็บเทียบกับแผ่นดิน)

            [๑๗๕๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ในปลาย พระนขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อย ที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บ กับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน

            ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาค ทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา มีประมาณน้อย เมื่อเทียบ กับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อย ที่พระผู้มีพระภาค ทรงช้อนไว้ในปลาย พระนขา ย่อมไม่ถึง ซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


24
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๑ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๒๗

สุตมยญาณ
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว
ทุกขอริยสัจ.. ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ..เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์๕ เป็นทุกข์
ทุกขสมุทัยอริยสัจ...ตัณหาอันเกิดภพใหม่ด้วย นันทิ ราคะ กามตัณหา ภวตัณหา..วิภว
ทุกขนิโรธอริยสัจ.. ความสำรอก ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา

ทุกขนิโรธคามินอริยสัจ... คือมรรค ๘ มีสัมมาทิฐิ คือความรู้ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกขอริยสัจเป็นไฉน

            [๘๐] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรม ที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม ที่ได้สดับมาแล้วว่า นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ชื่อว่า สุตมยญาณ อย่างไร ฯ

            ในอริยสัจ ๔ ประการนั้น ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์ ชรา เป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทสนัส และอุปายาสเป็นทุกข์ ความประจวบ กับสังขาร หรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจาก สังขาร หรือสัตว์ อันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

            ชาติ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความก้าวลง ความบังเกิดความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ทั้งหลาย ความกลับได้ อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชาติ

            ชรา ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแก่ ความชำรุด ความเป็นผู้มีฟันหัก ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่แห่งอินทรีย์ ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆ นี้ท่านกล่าวว่า ชรา

            มรณะ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อน ความแตก ความหายไป ความถึงตาย ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความ ทอดทิ้ง ซากศพ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งสัตว์นั้นๆนี้ ท่านกล่าวว่า มรณะ

            [๘๑] โสกะ ในทุกขอริสัจนั้นเป็นไฉน ความโศก กิริยาที่โศก ความเป็นผู้ โศก ความโศก ณ ภายใน ความตรมตรอม ณ ภายใน ความตรอมจิต ความเสียใจ ลูกศร คือ ความโศกแห่งบุคคล ผู้ถูกความฉิบหาย แห่งญาติ กระทบเข้าก็ดี ผู้ถูก ความฉิบหายแห่งสมบัติ กระทบเข้าก็ดีผู้ถูกความฉิบหาย คือ โรคกระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งศีล กระทบเข้าก็ดี ผู้ถูกความฉิบหายแห่งทิฐิ กระทบเข้าก็ดี ผู้ประจวบกับความฉิบหายอื่นๆ ก็ดี ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า โสกะ

            ปริเทวะ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความครวญ ความคร่ำครวญ ความ ร่ำไร ความเป็นผู้ร่ำไร ความเป็นผู้รำพัน ความบ่นด้วยวาจา ความเพ้อด้วยวาจา ความพูด พร่ำเพรื่อ กิริยาที่พูดพร่ำ ความเป็นผู้พูดพร่ำเพรื่อ แห่งบุคคล ผู้ถูกความ ฉิบหาย แห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ... ผู้ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า ปริเทวะ

            ทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบาก อันมีทาง กาย ความไม่สำราญ ความลำบาก ที่สัตว์เสวยแล้ว ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาอันไม่ สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข์

            โทมนัส ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความไม่สำราญ ความลำบากอันมี ทางใจ ความไม่สำราญ ความลำบาก ที่สัตว์เสวยแล้ว เกิดแต่สัมผัสทางใจ กิริยา อันไม่สำราญ ทุกขเวทนาซึ่งเกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้ท่านกล่าวว่า โทมนัส

            อุปายาส ในทุกขอริยสัจนั้นเป็นไฉน ความแค้น ความเคือง ความเป็นผู้ แค้น ความเป็นผู้เคือง แห่งบุคคล ผู้ถูกความฉิบหาย แห่งญาติกระทบเข้าก็ดี ... ผู้ถูกเหตุ แห่งทุกข์อื่นๆ กระทบเข้าก็ดี นี้ท่านกล่าวว่า อุปายาส

            [๘๒] ความประจวบกับสังขาร หรือสัตว์อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ใน ทุกขอริยสัจ นั้นเป็นไฉนสังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอันไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใด เป็นผู้ ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความสบาย ไม่หวังความปลอดโปร่ง จากโยคกิเลส แก่บุคคลนั้น การไปร่วมกัน การมาร่วมกัน การอยู่ร่วมกัน การทำกิจ ร่วมกัน กับสังขาร หรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่าความประจวบกับสังขาร หรือสัตว์ อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ

            ความพลัดพรากจากสังขาร หรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ใน ทุกขอริยสัจ นั้น เป็นไฉน สังขารเหล่าใด คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในโลกนี้ ย่อมมีแก่บุคคลนั้น หรือสัตว์เหล่าใดคือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิงมิตร พวกพ้อง ญาติหรือสาโลหิต เป็นผู้หวัง ประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความสบายหวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส แก่บุคคลนั้น การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน การไม่ได้ ทำกิจร่วมกัน กับสังขารหรือสัตว์เหล่านั้น นี้ท่านกล่าวว่า ความพลัดพรากจากสังขาร หรือสัตว์อันเป็นที่รัก เป็นทุกข์ ฯ

            ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจเป็นไฉน สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความปรารถนา เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายอย่า มีชาติ เป็นธรรมดา และชาติอย่ามาถึงแก่เราทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงได้ตามความปรารถนา แม้ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นี้ก็เป็นทุกข์สัตว์ ทั้งหลาย มีชราเป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ทั้งหลาย มีพยาธิ เป็นธรรมดา ฯลฯ สัตว์ ทั้งหลาย มีมรณะ เป็นธรรมดา ฯลฯ

            สัตว์ทั้งหลาย มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา มีความปรารถนาเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลาย อย่าพึงมีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ เป็นธรรมดาเลย และขอความโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ ไม่พึงมาถึงแก่เรา ทั้งหลายเลย ข้อนี้อันสัตว์ทั้งหลายไม่พึงได้ ตามความปรารถนา ความไม่ได้ สมปรารถนา แม้นี้ก็เป็นทุกข์ ฯ

            โดยย่อ อุปาทาขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจนั้น เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือ รูป
อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ
------------------------------------------------------------------------

25
ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน

            [๘๓] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันให้เกิด ในภพใหม่ สหรคตด้วยนันทิราคะ อันเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้ง อยู่ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลกตัณหานั้น เมื่อเกิดย่อมเกิด ในสิ่งนั้น เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นที่รักที่ยินดีในโลกจักษุเป็นที่รัก ที่ยินดี ในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิด ย่อมเกิด ที่จักษุนั้น เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนั้น หู...จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ เป็นที่รักที่ยินดีในโลก

            ตัณหานั้น เมื่อเกิดย่อมเกิดที่ใจนั้น เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น รูปทั้งหลาย เป็นที่รัก ที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิดย่อมเกิดที่รูปนั้น เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปนั้น เสียง ฯลฯ ธรรมารมณ์ ... จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เวทนาที่เกิด แต่จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสรูปสัญญา ฯลฯ
            ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา ฯลฯ ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานั้น เมื่อเกิด ย่อมเกิดที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ

------------------------------------------------------------------------

26
ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน

            [๘๔] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความที่ตัณหานั้น นั่นแล ดับด้วยความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละได้ที่ไหน เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้น เมื่อดับย่อมดับได้ ที่จักษุนั้น หู ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่ ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับ ก็ดับได้ ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่าทุกขนิโรธอริยสัจ

------------------------------------------------------------------------

27
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน

            [๘๕] ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรค มีองค์ ๘นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกข สมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ท่านกล่าวว่า สัมมาทิฐิ (รู้อริยสัจสี่)

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในความออก จากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความไม่เบียดเบียนนี้ ท่านกล่าว ว่า สัมมาสังกัปปะ (ดำริออกจากกาม)

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจาเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก การพูดเท็จ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่อง งดเว้น จากการพูด คำหยาบ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อนี้ ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา (วจีสุจริต๔)

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จาก การฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม นี้ท่านกล่าวว่า สัมมากัมมันตะ (๓ ข้อแรกของศีล๕)

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละอาชีพที่ผิด สำเร็จความเป็นอยู่ ด้วยอาชีพที่ชอบ นี้ท่านกล่าวว่าสัมมาอาชีวะ (อาชีพต้องห้าม.. ขายอาวุธ ค้าขายมนุษย์ ค้าขายสัตว์ที่ยังมีชีวิต ขายน้ำเมาและสิ่งเสพติด ขายยาพิษ)

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ยังฉันทะ ให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยัง อกุศลธรรม อันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละ อกุศลธรรม อันลามก ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมยังฉันทะ ให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความ ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวายามะ (สัมมัปปธาน๔)

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา เห็นกาย ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัส ในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณา เห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอ ภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย นี้ท่านกล่าวว่าสัมมาสติ (สติปัฏฐาน๔)

            ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ (ฌาน๑-๔)

            ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ สิ้นไป เข้าตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่นี้

            ท่านกล่าวว่า สัมมาสมาธิ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญาในการทรงจำธรรม ที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่า สุตมยญาณ อย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ พระสูตรนี้เป็นแบบย่อ พระสูตรฉบับเต็ม ด้านล่าง สัจจบรรพ / ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ เล่มที่ ๔ หน้า ๘๒-๘๘ ข้อที่ [๑๔๕]- [๑๕๐]


28
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ (สุตตันตปิฎก) หน้าที่ ๗๓-๘๘
สัจจบรรพ

             [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า?

ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ดังพรรณนามาฉะนี้.

ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึก เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.
จบ ภาณวาร ที่ ๑

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
29
(สัจจบรรพ)
ทุกขอริยสัจ

             [๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็ชาติเป็นไฉน? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิดเกิดจำเพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ

ก็ชราเป็นไฉน? ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่นความเสื่อม แห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชรา

ก็มรณะเป็นไฉน? ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้ง ซากศพ ไว้ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า มรณะ

ก็โสกะเป็นไฉน? ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติ อย่างใด อย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า โสกะ

ก็ปริเทวะเป็นไฉน? ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของ บุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า ปริเทวะ

ก็ทุกข์เป็นไฉน? ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่า ทุกข์

ก็โทมนัสเป็นไฉน? ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์ อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่า โทมนัส

ก็อุปายาสเป็นไฉน? ความแค้นความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของ บุคคล ผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า อุปายาสก็ความประจวบกับ สิ่งไม่เป็นที่รัก

ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วมความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย บุคคล ผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่ง ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก

ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคล ผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนา ความเกษม จากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจาก สิ่งเป็น ที่รักก็เป็นทุกข์

ก็ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความปรารถนา ย่อม บังเกิด แก่สัตว์ ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเรา ไม่พึงมีความเกิด เป็น ธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่ พึงได้ สมความ ปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์

ความปรารถนา ย่อมบังเกิด แก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ความปรารถนา ย่อมบังเกิด แก่สัตว์ผู้มี ความเจ็บ เป็นธรรมดา ... ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึง เราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ก็โดยย่อ

อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน?
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ.

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
30
(สัจจบรรพ)
สมุทัยอริยสัจ

             [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน? ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะ ตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน? ที่ใดเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก? ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา* โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชา เวทนามโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก
*
ความจงใจ, ความตั้งใจ

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญาเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปสัญเจตนา* สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก  * ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ รูปวิจารสัททวิจาร* คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก
*ความตรองในรูป

ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
31
(สัจจบรรพ)
นิโรธอริยสัจ

             [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน? ความดับด้วย สามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น

ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน? ที่ใดเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นั้น ก็อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุสัมผัสสชา เวทนา* โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชา เวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจ ในโลก
*ความจงใจ, ความตั้งใจ

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปสัญเจตนา* สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก * ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับที่นี้ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหาเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ ที่นี้ รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ รูปวิจาร* สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก
*ความตรองในรูป

ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
32
(สัจจบรรพ)
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


             [๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน? อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความ ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่ พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจาเป็นไฉน? การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากการถือเอา สิ่งของ ที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่ง กุศลธรรม ที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้ เรียกว่า สัมมาสติ

สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์ อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

             [๑๕๐] ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ในธรรม ภายใน บ้าง พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อม ในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่า ความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ ไม่ถือมั่น อะไรๆ ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่

จบ สัจจบรรพ
จบ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (สุตตันตปิฎก) เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๗๓-๘๘)






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์