เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
2. อริยสัจสี่ รวบรวมจาก พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา 1443
P1442 P1443 P1444 P1445

ฉบับหลวง พุทธวจน อริยสัจจจากพระโอษฐ์ สรุป

ตามรอยธรรมหน้า 11
1 ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ?
2 อริยสัจสี่โดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ห้า)
3 การรู้อริยสัจสี่ ทำให้มีตาสมบูรณ์
4 จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง

ก้าวย่างอย่างพุทธะ
5 อริยสัจสี่โดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ ๕
 
 

หนังสือตถาคต
6 เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ”
7 สิ่งที่ตรัสรู้
8 ทรงประกาศธรรมจักรที่ อิสิปตนมฤคทายวัน

หนังสือพุทธวจน
9 ผู้ออกบวชโดยชอบเพื่อรู้อริยสัจ ๔
10 ผู้ออกบวชโดยชอบรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
11 สมณพราหมณ์รู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
12 สมณพราหมณ์ประกาศอริยสัจ ๔ ที่ตนรู้
13 ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔ (อย่าตรึกในอกุศลวิตกอันลามก กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก)
14 ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔ (ถ้าจะคิด พึงคิดว่านี้ ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)
15 ว่าด้วยอริยสัจ ๔ (อุปาทานขันธ์๕)
16 ว่าด้วยอริยสัจ ๔ (อายตนะภายใน ๖)
17 ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔
18 ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง
19 ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔
20 ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร
21 ว่าด้วยอริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้
22 พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง
23 ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔
24 ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔
25 ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ (เหมือนซัดท่อนไม้ไปในอากาศ)
26 ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ
27 ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔
28 ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ
29 พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ
30 ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้
31 ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ/td>
32 ว่าด้วยความเป็นมนุษย์ยาก
33 ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย
34 ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในพวกเทวดามีน้อย
 

 


1
ตามรอยธรรมหน้า 11


ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ?

สี่ประการคือ
ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์
ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
และความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า  ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้


2
ตามรอยธรรม หน้า 13

อริยสัจสี่โดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ห้า)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์  ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? คือขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง
ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่าความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีกอันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลินมักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่
ตัณหาในกาม (กามตัณหา)
ตัณหาในความมีความเป็น (ภวตัณหา)
ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (วิภวตัณหา)


ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างไรเล่า? คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความ สละลงเสีย ความสลัดทิ้งไปความปล่อยวางความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเองอันใด
ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือ ของ ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ  ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ  ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามเป็นจริงว่า
นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด


3
ตามรอยธรรม หน้า 16

การรู้อริยสัจสี่ ทำให้มีตาสมบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก.
สามจำพวกอย่างไรเล่า ? สามจำพวกคือ
คนตาบอด (อนฺโธ)
คนมีตาข้างเดียว (เอกจกฺขุ)
คนมีตาสองข้าง (ทฺวิจกฺขุ)


ภิกษุทั้งหลาย ! คนตาบอดเป็นอย่างไรเล่า ?
คือคนบางคนในโลกนี้ไม่มีตา ที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ โภคทรัพย์ ที่ได้แล้ว ให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่งและไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรม ที่เป็นกุศลและอกุศล- ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ- ธรรมเลวและธรรมประณีต- ธรรมฝ่ายดำ และธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนตาบอด (ทั้งสองข้าง)

ภิกษุทั้งหลาย ! คนมีตาข้างเดียวเป็นอย่างไรเล่า ?
คือคนบางคนในโลกนี้มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำโภคทรัพย์ ที่ได้แล้ว ให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่งแต่ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรม ที่เป็นกุศล และ อกุศล- ธรรมมีโทษ และไม่มีโทษ- ธรรมเลวและ ธรรมประณีต- ธรรมฝ่ายดำ และ ธรรม ฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนมีตาข้างเดียว

ภิกษุทั้งหลาย ! คนมีตาสองข้างเป็นอย่างไรเล่า ?
คือคนบางคนในโลกนี้มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ ที่ยังไม่ได้หรือทำโภคทรัพย์ ที่ได้แล้ว ให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง และมีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศล และ อกุศล- ธรรมมีโทษ และไม่มีโทษ- ธรรมเลว และธรรมประณีต- ธรรมฝ่ายดำ และ ธรรม ฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนมีตาสองข้าง

...ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุมีตาสมบูรณ์ (จกฺขุมา) เป็นอย่างไรเล่า ? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า“ นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์” ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล ภิกษุมีตาสมบูรณ์


4
ตามรอยธรรม หน้า 32


จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง

รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐว่า“
นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์  นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์”
ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ ตาม เป็นจริงว่า“ นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดของทุกข์ นี้ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด


5
ก้าวย่างอย่างพุทธะ หน้า 71


อริยสัจสี่โดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ ๕)

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่าง
เหล่านี้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่าง คือ
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์
และความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คำตอบ คือขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่าง คือขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่าความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ตัณหาอันใดนี้ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลิด เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาใน กาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรา กล่าวว่าความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ความดับสนิท เพราะความจางคลาย ดับไปโดยไม่เหลือ ของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัย ถึงซึ่งตัณหา นั้นเอง อันใด. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่าความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือ ของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทาง อันประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่าความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลคือความจริงอันประเสริฐ สี่อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามเป็นจริงว่า

“นี้เป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นของทุกข์
นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์”ดังนี้เถิด.


6
หนังสือตถาคต หน้า 26


เหตุที่ทำให้ได้พระนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ”
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๓/๑๗๐๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทุกข์  
ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์  
ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 
 นี้แล ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะได้ตรัสรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้แล ตถาคตจึงมีนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อให้รู้ว่า“นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้แล.


7
หนังสือตถาคต
หน้า 179

สิ่งที่ตรัสรู้
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่างที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย

สิ่งที่แล่นดิ่งไป สุดโต่งนั้นคืออะไร คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ ใน กามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และการประกอบความเพียร ในการ ทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ สองอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคต ได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อ ปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่งเพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติ อันเป็นหนทาง อันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า ? คือความเห็น ที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจา ที่ถูกต้อง การทำการงาน ที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียร ที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือ
ความเกิด
ก็เป็นทุกข์
ความแก่
ก็เป็นทุกข์
ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์
ความตาย
ก็เป็นทุกข์
ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก
เป็นทุกข์
ความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
ความปรารถนา สิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้า ที่ประกอบด้วย อุปาทาน เป็นทุกข์.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิด เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหา ในกามตัณหาในความมี ความเป็นตัณหา ในความไม่มี ไม่เป็น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของ ความทุกข์ คือความดับสนิท เพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือ ความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติ อันทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับไม่เหลือ ของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้องการอาชีพ ที่ถูกต้อง ความพากเพียร ที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.

(ทุกข์-ควรกำหนดรู้ สมุทัย-ควรละ นิโรธ-ควรทำให้แจ้ง มรรค-ควรทำให้เกิดมี)

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควร กำหนดรู้ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์นี้ เราตถาคตกำหนดรู้รอบแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของความทุกข์นี้ เราตถาคตละได้แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือความดับ ไม่เหลือ ของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้วปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชา เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอัน ประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือของความทุกข์ เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริง อันประเสริฐ คือ ข้อปฏิบัติ ที่ทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือของความ ทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้เกิดมีแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัสสนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้ ยังไม่เป็นญาณทัสสนะ ที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี  ตลอดกาล เพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใด ญาณทัสสนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมี ปริวัฏฏ์สาม มีอาการ สิบสองในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้เป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์ สะอาดด้วยดี เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่า เป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่ง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์…


8
หนังสือตถาคต
หน้า 217

ทรงประกาศธรรมจักรที่ อิสิปตนมฤคทายวัน
-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๔๙/๖๙๙.

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ประกาศอนุตตรธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตน-มฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี เป็นธรรมจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับมิได้

ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้งการเปิดเผยการจำแนก และการ ทำให้ตื้น ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

สี่ประการได้แก่
ความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ และ
ความจริงอันประเสริฐ คือทางทำผู้ปฏิบัติให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์


9
หนังสือพุทธวจน หน้า 1656

กุลปุตตสูตรที่ ๑
ผู้ออกบวชโดยชอบเพื่อรู้อริยสัจ ๔

[๑๖๕๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชแล้วเพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริง กุลบุตรเหล่าใด เหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ

กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จักออกบวชเพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใด เหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชอยู่เพื่อรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็น จริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?

คือทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดออกบวช เพื่อรู้อริยสัจ ๔ นี้แลตามความเป็นจริง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


10
หนังสือพุทธวจน หน้า 1657

กุลปุตตสูตรที่ ๒
ผู้ออกบวชโดยชอบรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

[๑๖๕๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ รู้แล้วตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด รู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล ออกบวชเป็น บรรพชิต โดยชอบ จักรู้ตามความเป็นจริง

กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงกุลบุตรเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้ตามความ เป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงอริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ รู้ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด รู้ซึ่งอริยสัจ ๔

เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็น จริงว่านี้ทุกข ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.


11
หนังสือพุทธวจน หน้า 1658

สมณพราหมณสูตรที่ ๑
สมณพราหมณ์รู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง 

[๑๖๕๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล รู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมด รู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักรู้ตามความเป็นจริงสมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมรู้ตามความเป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์ เหล่านั้น ทั้งหมด ย่อมรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด เหล่าหนึ่งในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล รู้ตามความ เป็นจริง สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด รู้ซึ่ง อริยสัจ ๔ เหล่านี้ ตามความเป็น จริง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


12
หนังสือพุทธวจน หน้า 1659

สมณพราหมณสูตรที่ ๒
สมณพราหมณ์ประกาศอริยสัจ ๔ ที่ตนรู้


[๑๖๕๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ประกาศแล้วซึ่ง สิ่งที่ตนรู้แล้วตามความจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศแล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง

สมณะ หรือ พราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคต กาล จักประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้ว ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด จักประกาศอริยสัจ ๔ ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง

สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบันกาล ประกาศอยู่ซึ่งสิ่งที่ตน รู้แล้ว ตามความเป็นจริงสมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศอยู่ ซึ่งอริยสัจ ๔ ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทาอริยสัจ

ก็สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล ประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศ อริยสัจ ๔ เหล่านี้ว่า เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความ เป็นจริง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็น จริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


13
หนังสือพุทธวจน หน้า 1660

วิตักกสูตร
ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔


[๑๖๖๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึง อกุศลวิตกอันลามก คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไป เพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอ ทั้งหลายจะตรึกพึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?

เพราะความตรึกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็น ไปเพื่อ ความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรคามินีปฏิปทา


14
หนังสือพุทธวจน หน้า 1661

จินตสูตร
ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔


[๑๖๖๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอันลามกว่า
โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง
โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น
ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย แล้ว ย่อมไม่เป็นอีก
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะความคิดนี้ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่านี้ ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะความคิดนี้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์ เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความ เป็นจริงว่านี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


15
หนังสือพุทธวจน หน้า 1676

ขันธสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔


[๑๖๗๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๗๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ? ควรจะกล่าวได้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๐]
ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัดด้วย อำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

1. ข้อสังเกต : บาลีมีคำว่า “ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ” ซึ่งแปลว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ -ผู้รวบรวม

 [๑๖๘๑]
ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ? ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๒]
ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ.

[๑๖๘๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา


16
หนังสือพุทธวจน หน้า 1684


อายตนสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔


[๑๑๘๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจทุกข สมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ? ควรจะกล่าวว่า อายตนะภายใน๖ อายตนะ ภายใน ๖ เป็นไฉน ? คือ อายตนะคือตา ฯลฯ อายตนะคือใจ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๖]
ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ? ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความ กำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

 [๑๖๘๗]
ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ? ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่ง ตัณหา นั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๘]
ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน ? อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ.

[๑๖๘๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ ความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


17
หนังสือพุทธวจน หน้า 1690


ธารณสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔


[๑๖๙๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงไว้เถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำซึ่งอริยสัจ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้ว อย่างไร ?

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ทุกขสมุทย อริยสัจ เป็นข้อที่ ๒ ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทรงจำ อริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล.

[๑๖๙๑]
พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้ถูกต้อง
เราแสดง ทุกขอริยสัจ เป็นข้อที่ ๑ เธอทรงจำได้
เราแสดงทุกขสมุทยอริสัจ เป็นข้อที่ ๒ เธอก็ทรงจำได้
เราแสดงทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ เธอก็ทรงจำได้
เราแสดง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้

เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


18
หนังสือพุทธวจน หน้า 1692


ธารณสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง


[๑๖๙๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงไว้แล้วเถิด เมื่อพระผู้มี พระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทรงจำได้ซึ่งอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว.

พ. ดูกรภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร ?

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ ที่พระผู้มี พระภาค ทรง แสดงแล้วก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้ไม่ใช่ทุกข อริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกข อริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสียแล้วบัญญัติ ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

ข้าพระองค์ทรงจำทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง แล้วก็สมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจัก บอกเลิก ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา-อริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ทรงจำ อริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล.

[๑๖๙๓]
พ. ดูกรภิกษุ ดีละๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้ถูกต้อง เราแสดง ทุกขอริยสัจ เป็นข้อที่ ๑ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ

เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะหรือ พราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทา อริยสัจ ข้อที่ ๔ ที่พระสมณ โคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทา อริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจข้อที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้แล

ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึง กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ เป็นจริง ว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


19
หนังสือพุทธวจน หน้า 1696


สังกาสนสูตร
ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔


[๑๖๙๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ อักขระ พยัญชนะการจำแนก ในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกข-อริยสัจ ฯลฯ

เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อักขระ พยัญชนะการจำแนก ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ นี้เป็นทุกข นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอ ทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่านนี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.


20
หนังสือพุทธวจน หน้า 1706


มิตตสูตร
ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร


[๑๗๐๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด เหล่าหนึ่งและชน เหล่าใด จะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ก็ตาม จะพึงสำคัญถ้อยคำว่า เป็นสิ่งที่ตนควรเชื่อ ฟังชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ ประดิษฐานอยู่ในการ ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจ

ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง...ชนเหล่านั้น เธอทั้งหลาย พึงให้ สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐาน อยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล ตามความเป็นจริง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทา.


21
หนังสือพุทธวจน หน้า 1707


ตถสูตร
ว่าด้วยอริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้


[๑๗๐๗]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?

คือ ทุกข-อริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล เป็นของจริงแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.


22
หนังสือพุทธวจน หน้า 1708


โลกสูตร
พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง


[๑๗๐๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?

คือ ทุกข-อริยสั... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็น อริยะในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและ มนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


23
หนังสือพุทธวจน หน้า 1709


ปริญเญยยสูตร
ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔


[๑๗๐๙]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ?

คือ ทุกข-อริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการนี้แล บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้ อริยสัจที่ ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ ที่ควรกระทำให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่

ก็อริยสัจ ที่ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน ?

ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทยอริยสัจ ควรละ
ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรกระทำให้แจ้ง
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ ควรให้เกิดมี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา


24
หนังสือพุทธวจน หน้ 1714

ขทิรสูตร
ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔

[๑๗๑๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบดังนี้ มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้

เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจัก เอาใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือใบมะขามป้อม ห่อนํ้าหรือตาลปัตรนำไป ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ฉันใด

ผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่าเราไม่ได้ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-อริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๗๑๕]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้

เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย ห่อนํ้าหรือตาลปัตรนำไป ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด

ผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-อริยสัจ ตามความเป็นจริง แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


25
หนังสือพุทธวจน หน้า 1716

ทัณฑสูตร
ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ


[๑๗๑๖]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคล ขว้างขึ้นไปบนอากาศแล้ว บางคราว เอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอา ตอนกลางตกลงมาก็มี บางคราว เอาปลาย ตกลงมาก็มี ฉันใด

สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คืออวิชชา มีตัณหาเป็น เครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่ บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจาก ปรโลกมาสู่โลกนี้ ก็มีฉันนั้น เหมือนกัน ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อ รู้ตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ฯลฯ นี้ทุกข นิโรธคามินี ปฏิปทา.


26
หนังสือพุทธวจน หน้า 1717

เจลสูตร
ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรีบดับไฟบนศีรษะ


[๑๗๑๗]
พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อผ้าหรือ ศีรษะ ถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ ย่นย่อ ความไม่ ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ อย่าง แรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้แล้ว พึงกระทำ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อ ถอยสติและ สัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตาม

ความเป็นจริงอริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา


27
หนังสือพุทธวจน หน้า
1718

สัตติสตสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔


[๑๗๑๘]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวอย่างนี้กะผู้มีชีวิต อยู่ร้อยปีว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลายจัก เอาหอกร้อยเล่มทิ่มแทง ท่านในเวลาเช้า... ในเวลาเที่ยง... ในเวลาเย็น ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อย เล่มทิ่มแทงอยูทุ่กวันๆ มีอายุร้อยปีมีชีวิต อยู่ร้อยปี จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ได้ ตรัสรู้โดยล่วงร้อยปีไป กุลบุตรผู้เป็นไปในอำนาจแห่ง ประโยชน์ ควรจะรับเอา ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?

เพราะว่าสงสารนี้ มีเบื้องต้นที่สุด อันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุด แห่งการ ประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และขวานย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด ก็ข้อนี้ พึงมีได้ฉันนั้นว่า ก็เราไม่กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยทุกข์ โทมนัส แต่เรากล่าว การตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยสุข โสมนัส

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


28
หนังสือพุทธวจน หน้า
1720

สุริยูปมาสูตรที่ ๑
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ


[๑๗๒๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือแสงเงิน แสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ตามความ เป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มี ความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


29
หนังสือพุทธวจน หน้า
1721

สุริยูปมาสูตรที่ ๒
พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ


[๑๗๒๑]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์และพระอาทิตย์ ยังไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏ แห่งแสงสว่างแจ่มจ้าอย่างมาก ก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้นมีแต่ ความมืดมิด มีแต่ ความมัว เป็นหมอก กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ เดือนหนึ่ง และกึ่งเดือน ก็ไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ ปรากฏ

เมื่อใด พระจันทร์และพระอาทิตย์ เกิดขึ้นในโลกเมื่อนั้น ความ ปรากฏแห่ง แสงสว่าง แจ่มจ้าอย่างมาก ก็ย่อมมีเวลานั้น ไม่มีความมืดมิดไม่มีความ มัวเป็นหมอก กลางคืน กลางวันปรากฏ เดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนก็ปรากฏฤดู และปีก็ ปรากฏ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันต-สัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่อุบัติขึ้นในโลก เพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมาก ก็ยังไม่มีเพียงนั้น เวลานั้น มีแต่ความ มืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอกการบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ยังไม่มี เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น

ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมาก ก็ย่อมมีเวลานั้นไม่มี ความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก การบอก การแสดง... การกระทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ย่อมมี อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกข-นิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


30
หนังสือพุทธวจน หน้า
1722

อินทขีลสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้

[๑๗๒๒]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความ เป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมต้องมองดู หน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่

เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะลอยไปตามลม บุคคลวาง ไว้ที่ภาคพื้น อันราบเรียบแล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้นไปทาง ทิศ ประจิมได้ ลมทิศ ประจิมพึงพัดเอา ไปทางทิศบูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัด เอาไปทาง ทิศทักษิณได้ ลมทิศ ทักษิณ พึงพัดเอาไปทางทิศอุดรได้

ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะปุยนุ่น หรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบา ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของ สมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๗๒๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็น จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ต้องมอง ดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม ...ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน หวั่นไหว

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ไม่ต้องมองดูหน้าของ สมณะ หรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกข อริยสัจ ฯลฯ ทุกข-นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพงึ กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกข นิโรธคามินีปฏิปทา.


31
หนังสือพุทธวจน หน้า 1724

วาทีสูตร
ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ


[๑๗๒๔]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนงึ่ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีความต้องการ วาทะ ผู้แสวง หาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณด้วย ประสงค์ว่า จักยกวาทะ ของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหว ต่อสมณะหรือ พราหมณ์นั้นโด ยสหธรรม ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้

เปรียบเหมือนเสาหิน ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีรากลึกลงไปข้างล่าง ๘ ศอก ข้างบน ๘ ศอก ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝัง ไว้ดีแล้ว ฉันใด

ก็ภิกษุรูป ใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ถึงแม้สมณะ หรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจาก ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะ ของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจัก สะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะ หรือพราหมณ์ นั้นโดยสหธรรมข้อนั้น มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำ ความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


32
หนังสือพุทธวจน หน้า 1743

ฉิคคฬสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นมนุษย์ยาก


[๑๗๔๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอก ซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆมันจะโผลขึ้น คราวหนึ่ง ๆ เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะ โผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอก ซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้าง หรือหนอ ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไปบางครั้ง บางคราว เต่าจะสอดคอ ให้เข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ สอดคอ ให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เราย่อมกล่าวความ เป็นมนุษย์ เพราะคนพาลผู้ไปสู่วินิบาตแล้ว คราวเดียวก็หามิได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการประพฤติธรรม การประพฤติชอบ การกระทำกุศล การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกันและกัน การเคี้ยวกิน ผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไป ในวินิบาตนี้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตาม ความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


33
หนังสือพุทธวจน หน้า 1757

อัญญตรสูตร
ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย


[๑๗๕๗]
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาค ทรงช้อนไว้ในปลาย พระนขา มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ ในปลาย พระนขา ย่อมไม่ถึงซ่งึ การนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์ มีมากกว่า

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?  คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


34
หนังสือพุทธวจน หน้า 1803


ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในพวกเทวดามีน้อย

[๑๘๐๓]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดใน พวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก ปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน ?

คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา

พระผู้มี พระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่น ชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.








พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์