เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ              

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  3 of 13  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 1 หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 1 หน้า
อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ     อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ  
  คำชี้ชวนวิงวอน 143     เวทนาหก 169
  ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ 145     ความหมายของคำว่า “เวทนา” 169-1
  ความเกิด 148     อุปมาแห่งเวทนา 170
  ความแก่ 148-1     ความหมายอันแท้จริงของ “บาดาล” 171
  ความตาย 148-2     ธรรมลักษณะ ๗ ประการแห่งเวทนา 171-1
  ความโศก 149     หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา 172
  ความรํ่าไรรำพัน 149-1     ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา 174
  ความทุกข์กาย 149-2     วิภาคแห่งเวทนา 176
  ความทุกข์ใจ 150     “ธรรม” (คือเวทนา) เป็นสิ่งที่บัญญัติได้หลายปริยาย 177
  ความคับแค้นใจ 150-1     เวทนามีธรรมดาไม่เที่ยง 179
         
  ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก 150-2     เวทนามีธรรมดาแปรปรวน 180
  ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก 151     เวทนาเป็นทุกข์ เป็นลูกศร เป็นของไม่เที่ยง 181
  ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น 151-1     เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย 183
  ปัญจุปาทานขันธ์ 151-2     อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา 184
  นิทเทส ๒ ว่าด้วยทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์ 154     เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์ 186
  ตอน ๑ ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยวิภาค 154-1     การเกิดของเวทนา เท่ากับ การเกิดของทุกข์ 190
  ๑. วิภาคแห่งรูปขันธ์ รูปและรูปอาศัย 155     อาการเกิดดับแห่งเวทนา 190-1
  การเกิดขึ้นของธาตุสี่เท่ากับการเกิดขึ้นของทุกข์ 159     ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ เวทนา 191
  รสอร่อย - โทษ – อุบายเครื่องพ้นไปของธาตุสี่ 159-2     เวทนาขันธ์ โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ 192
  ความลับของธาตุสี่ 160     ๓. วิภาคแห่งสัญญขันธ์ สัญญาหก 193
     
 
  อุบายเครื่องออกไปพ้นได้ จากปฐวีธาตุก็ดี 160-1     ความหมายของคำว่า “สัญญา” 193-1
  ธาตุสี่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 160-2     การเกิดของสังขารเท่ากับการเกิดของทุกข์ 201
  ยังยินดีในธาตุสี่อยู่ เพราะไม่รู้จักธาตุสี่ 162     ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สังขาร 201-1
  ความหมายของคำว่า “รูป” 163     สังขารขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ 202
  อุปมาแห่งรูป 163-1     ๕. วิภาคแห่งวิญญาณขันธ์ วิญญาณหก 203
  อัสสาทะของรูป 164     ความหมายของคำว่า “วิญญาณ” 203-1
  อาทีนพของรูป 164-1     อุปมาแห่งวิญญาณ 204
  นิสสรณะของรูป 168     วิญญาณมีธรรมดาแปรปรวน 204-1
  ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ รูป 168-1     วิญญาณเมื่อทำหน้าที่เป็นพืช 205
  รูปขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่ 168-2     การเกิดของวิญญาณเท่ากับการเกิดของทุกข์ 207
        ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ วิญญาณ 207-1

 

   

 

 
 
 





ฟน้า 143 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
คำชี้ชวนวิงวอน


ภิกษุ ท. ! โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า “นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์
นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์.” นิพพาน เราได้แสดงแล้ว
ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.

กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.
นั่น โคนไม้ นั่น เรือนว่าง.

พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.


ภาค ๑
ว่าด้วย
ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์



145
ทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์


ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !ความเกิด เป็นทุกข์ ความแก่ เป็นทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์ ความโศกความรํ่าไร รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็น ที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ (ขันธ์ห้าอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) เป็นตัวทุกข์ นี้ เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์.


นิทเทส  ว่าด้วยประเภทและอาการแห่งทุกข์ตามหลักทั่วไป
(มี ๑๒ เรื่อง)

148
ความเกิด


ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! การเกิด การกำเนิดการก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้ เรียกว่า ความเกิด.


148-1
ความแก่

ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้ เรียกว่า ความแก่.


148-2
ความตาย

ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! การจุติ ความเคลื่อนการแตกสลายไป การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่ง ขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้ เรียกว่า ความตาย.


149
ความโศก


ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความโศกความเศร้า ความเป็นผู้เศร้า ความโศกกลุ้มกลัด ความโศกสุมกลุ้มกลัด ของบุคคลผู้เผชิญแล้ว ด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใด ชนิดหนึ่งกระทบแล้ว นี้ เรียกว่า ความโศก.


149-1
ความรํ่าไรรำพัน


ภิกษุ ท. ! ความรํ่าไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ความเป็นผู้ คร่ำครวญ ความเป็นผู้ร่ำไร รำพัน ของบุคคลผู้เผชิญแล้วด้วยความวิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว นี้ เรียกว่า ความร่ำไรรำพัน.


149-2
ความทุกข์กาย


ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางกาย ความไม่ผาสุกที่เป็น ไปทางกาย ความทนได้ยาก ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความกระทบทางกาย นี้ เรียกว่า ความทุกข์กาย.


150
ความทุกข์ใจ


ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความทนได้ยากที่เป็นไปทางใจ ความไม่ผาสุกที่เป็นไป ทางใจ ความทนได้ยาก ความรู้สึกอันไม่ผาสุก ที่เกิดแต่ความความกระทบทางใจ นี้ เรียกว่า ความทุกข์ใจ.


150-1
ความคับแค้นใจ

ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความกลุ้มใจ ความคับใจ ความเป็นผู้กลุ้มใจ ความเป็นผู้ คับใจ ของบุคคล ผู้เผชิญแล้ว ด้วยความวิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันความทุกข์ชนิดใดชนิดหนึ่งกระทบแล้ว นี้ เรียกว่า ความคับแค้นใจ.


150-2
ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก

ภิกษุ ท. ! ความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้น หรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวังความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูก รัด ต่อเขา การต้องไปด้วยกัน การต้องมาด้วยกัน การต้องอยู่ร่วมกัน ความระคนกัน กับด้วยารมณ์ หรือบุคคล เหล่านั้น นี้ เรียกว่าความประสพด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์.


151
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก


ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่าใด ในโลกนี้ ที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีแก่ผู้นั้น หรือว่า ชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัดต่อเขาเช่น มารดาบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม การไม่ได้ไปร่วมกัน การไม่ได้มาร่วมกัน การไม่ได้อยู่ร่วมกัน ความไม่ได้ระคนกัน กับด้วยอารมณ์หรือบุคคลเหล่านั้น นี้ เรียกว่า ความพลัดพราก จากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์.


151-1
ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น


ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเราไม่พึงเป็นผู้มี ความเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุได้ ด้วยความ ปรารถนา นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มี ความแก่เป็นธรรมดา และความแก่เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้ ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์ จะบรรลุได้ด้วยความ ปรารถนา แม้นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มี ความตายเป็นธรรมดา และความตายเล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้ ข้อนี้ ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์จะบรรลุ ได้ด้วยความ ปรารถนา แม้นี้ เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้นเป็นทุกข์.

ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา ย่อมเกิดความปรารถนาขึ้น ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ไม่พึงเป็นผู้มี ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา และ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เล่า ก็อย่าพึงมีมาถึงเราเลย” ดังนี้ ข้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่สัตว์ จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา แม้นี้เรียกว่า ความปรารถนาอย่างใดแล้วไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์.

151-2
ปัญจุปาทานขันธ์


ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความ ยึดมั่นคือเวทนา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร และขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์.

นิทเทส ๑
ว่าด้วยประเภทและอาการแห่งทุกข์ตามหลักทั่วไป
จบ


154
นิทเทส ๒ ว่าด้วยทุกข์สรุปในปัญจุปาทานขันธ์
( มี ๙๕ เรื่อง)

ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์นั้น ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความ ยึดมั่นคือเวทนา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ. เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์.


154-1
ตอน ๑ ว่าด้วยเบญจขันธ์โดยวิภาค

(ก.) วิภาคแห่งเบญจขันธ์
(มี ๕ วิภาค)

ภิกษุ ท. ! เบญจขันธ์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! รูป ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม นี้ เรียกว่า รูปขันธ์.

ภิกษุ ท. ! เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม นี้ เรียกว่า เวทนาขันธ์.

ภิกษุ ท. ! สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม นี้ เรียกว่า สัญญาขันธ์.

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือ ที่ใกล้ก็ตาม นี้ เรียกว่า สังขารขันธ์.

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม นี้ เรียกว่า วิญญาณขันธ์.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เบญจขันธ์.


155
๑. วิภาคแห่งรูปขันธ์

รูปและรูปอาศัย


ภิกษุ ท. ! มหาภูต (ธาตุ) สี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย นี้ เรียกว่า รูป.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ว่า
“รูป ชนิดใดชนิดหนึ่งนั้น คือมหาภูตสี่อย่าง และรูปที่อาศัย มหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้แลเรียกว่า ภิกษุ ผู้ไม่รู้จักรูป.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ชื่อว่าผู้รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ตามเป็นจริง ว่า
“รูปชนิดใดชนิดหนึ่งนั้นคือ มหาภูตสี่อย่างและรูปที่อาศัย มหาภูตสี่ อย่างเหล่านั้นด้วย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้แลเรียกว่าภิกษุ ผู้รู้จักรูป.

มหาภูต คือ ธาตุสี่
ภิกษุ ท. ! ธาตุมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ
ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) และ
วาโยธาตุ (ธาตุลม).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ธาตุสี่อย่าง.

ภิกษุ ! ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?
ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายในก็มี ที่เป็นภายนอก ก็มี.

ภิกษุ ! ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ! ส่วนใดเป็นของแข็ง เป็นของหยาบ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตนเฉพาะตน กล่าวคือ ผมทั้งหลาย ขนทั้งหลาย เล็บทั้งหลาย ฟันทั้งหลาย หนังเนื้อเอ็นทั้งหลาย กระดูกทั้งหลาย เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอดลำไส้ ลำไส้สุด อาหารใน กระเพาะ อุจจาระ หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ! นี้ เรียกว่า ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน.
ภิกษุ ! ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอก ก็ตาม นี้แหละเรียกว่า ปฐวีธาตุ.

ภิกษุ ท. ! อาโปธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?
อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในก็มี ที่เป็นภายนอก ก็มี.

ภิกษุ ท. ! อาโปธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ !ส่วนใดเอิบอาบ เปียกชุ่ม อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตนกล่าวคือ น้ำดี เสลด หนอง โลหิต เหงื่อ มัน น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำเมือกน้ำลื่นหล่อข้อ น้ำมูตร หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ! นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ที่เป็นไป ในภายใน.
ภิกษุ ! อาโปธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอกก็ตาม นี้แหละ เรียกว่า อาโปธาตุ.

ภิกษุ ! เตโชธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?
เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายในก็ม ที่เป็นภายนอก ก็มี.

ภิกษุ ! เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ !ส่วนใดเป็นของเผา เป็นของไหม้ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตนเฉพาะตน กล่าวคือธาตุไฟ ที่ยังกาย ให้อบอุ่นอย่างหนึ่ง ธาตุไฟที่ยังกายให้ชรา-ทรุดโทรมอย่างหนึ่ง ธาตุไฟที่ยังกาย ให้กระวนกระวาย อย่างหนึ่ง ธาตุไฟที่ทำอาหาร ซึ่งกินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว ลิ้มแล้ว ให้แปรไปด้วยดีอย่างหนึ่ง หรือแม้ส่วนอื่น อีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ! นี้เรียกว่า เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน.
ภิกษุ ! เตโชธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตามที่เป็นภายนอก ก็ตาม นี้แหละ เรียกว่า เตโชธาตุ.

ภิกษุ ! วาโยธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?
วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายในก็มี ที่เป็นภายนอก ก็มี.

ภิกษุ ! วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ !ส่วนใดเป็นลม ไหวตัวได้ อันวิญญาณธาตุอาศัยแล้ว ซึ่งมีอยู่ในตน เฉพาะตน กล่าวคือ ลมพัดขึ้นเบื้องสูง อย่างหนึ่ง ลมพัดลงเบื้องต่ำอย่างหนึ่ง ลมนอนอยู่ในท้องอย่างหนึ่ง ลมนอนอยู่ในลำไส้อย่างหนึ่ง ลมแล่นไปทั่วทั้ง-ตัวอย่างหนึ่ง และลมหายใจเข้าออกอย่างหนึ่ง หรือแม้ส่วนอื่นอีกไร ๆ (ซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ! นี้ เรียกว่า วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน.
ภิกษุ ! วาโยธาตุ ที่เป็นไปในภายใน ก็ตาม ที่เป็นภายนอก ก็ตาม นี้แหละ เรียกว่า วาโยธาตุ.


159
การเกิดขึ้นของธาตุสี่เท่ากับการเกิดขึ้นของทุกข์


ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่ง ซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย และเป็นความปรากฏ ของชราและมรณะ.


159-1
ความเพลินในธาตุสี่เท่ากับความเพลินในทุกข์

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่ง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุและวาโยธาตุ ผู้นั้น ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์. เราย่อมกล่าวว่า“ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์” ดังนี้แล.


159-2
รสอร่อย - โทษ – อุบายเครื่องพ้นไปของธาตุสี่

ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัย ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ? อะไร เป็นโทษของปฐวีธาตุอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ? อะไร เป็นอุบายเครื่องออกไป พ้น ได้จาก ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ? ”

ภิกษุ ท. ! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า “สุข โสมนัส ใด ๆ ที่ อาศัย ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แล้วเกิดขึ้น สุข และ โสมนัส นี้แล เป็น รสอร่อย ของปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มี ความแปร ปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนี้แล เป็น โทษ ของปฐวีธาตุ อาโป ธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ

การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความพอใจ ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ เสียได้ ด้วยอุบายใด อุบายนี้แล เป็น อุบายเครื่อง ออกไปพ้นได้ จากปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาต” ดังนี้แล.


160
ความลับของธาตุสี่

ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก รสอร่อย ในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุ ก็ดี นี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีนัก ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุนี้.

ภิกษุ ท. !แต่เพราะเหตุที่ รสอร่อย ในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุ ก็ดี มีอยู่แล สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนัก ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ และวาโยธาตุ.

ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก โทษ ในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดีและวาโยธาตุก็ดี นี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุนี้.

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่โทษในปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุก็ดี มีอยู่แลสัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่าย ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.

160-1

ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก อุบายเครื่องออกไปพ้นได้ จากปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดี เตโชธาตุก็ดี และวาโยธาตุก็ดี นี้ จักไม่ได้มีอยู่แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่ออกไปพ้น ได้จากปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุนี้.

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ อุบายเครื่องออกไปพ้น ได้จากปฐวีธาตุก็ดี อาโปธาตุก็ดีเตโชธาตุ ก็ดี และวาโยธาตุก็ดี มีอยู่แล สัตว์ทั้งหลาย จึงออกไปพ้นได้จากปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ.

160-2
ธาตุสี่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ราหุล ! เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? ปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุวาโยธาตุ เที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ? “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !” ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ? “เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”

ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรแล หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า“ นั่น เป็นของเรา (เอตํ มม), นั่นเป็นเรา(เอโสหมสฺมิ) นั่นเป็นตัวตนของเรา (เอโส เม อตฺตา).”
“ข้อนั้น ไม่ควรเห็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”


162
ยังยินดีในธาตุสี่อยู่ เพราะไม่รู้จักธาตุสี่

ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชน เป็นผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรม ของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำ ในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาด ในธรรม ของ สัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรม ของสัตบุรุษ ย่อมหมายรู้ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความ เป็นดิน น้ำไฟ ลม ครั้นหมายรู้ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลมแล้ว ย่อมทำ ความหมายมั่น ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม ย่อมทำความหมายมั่นใน ดิน น้ำ ไฟ ลม ย่อมทำความหมายมั่น โดยเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ย่อมทำความหมายมั่นว่า “ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา” ดังนี้ และย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งดิน น้ำ ไฟ ลม.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เราย่อมกล่าวว่าเพราะเหตุว่าดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นสิ่งที่บุถุชนนั้น ยังไม่ได้กำหนดรู้โดยทั่วถึงแล้ว


163
ความหมายของคำว่า “รูป”

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “รูป” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียว่า รูป. สิ่งนั้น

แตกสลายได้ เพราะอะไร ?สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะ ความเย็นบ้าง แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง แตกสลายได้ เพราะความกระหายบ้าง แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เลื้อยคลานบ้าง (ดังนี้เป็นต้น).

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป.


163-1
อุปมาแห่งรูป

ภิกษุ ท. ! แม่น้ำคงคานี้ ไหลพาเอาฟองนํ้าก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งมา บุรุษผู้จักษุ (ตามปกติ) เห็นฟองน้ำก้อนใหญ่ ก้อนนั้น ก็พึงเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคายอยู่ ก้อนฟองนํ้า นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.
ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในก้อน ฟองน้ำนั้น จะพึงมีได้อย่างไร อุปมานี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือ ที่ใกล้ก็ตาม ภิกษุเห็นรูปนั้น

ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ รูปนั้น ย่อมปรากฏ เป็นของว่างของเปล่า และ ปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในรูปนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.


164
อัสสาทะของรูป


ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนางสาวน้อยแห่งกษัตริย์ก็ดี นางสาวน้อยแห่งพราหมณ์ก็ดี และ นางสาวน้อย แห่งคฤหบดี ก็ดี ที่มีวัยอันบุคคล พึงแสดงว่าอายุสิบห้าหรือสิบหก ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนพีนัก ไม่ดำนักไม่ขาวนัก.

ภิกษุ ท.! เหล่านางสาวน้อยนั้น ๆ จักมีสีสรรแห่งวรรณะอันงดงาม ในสมัยนั้น เป็นอย่างยิ่ง มิใช่หรือ ?
“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้นแล พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยสีสรรแห่งวรรณะ อันงดงามแล้ว บังเกิดขึ้น สุข โสมนัสนี้ แล เป็นอัสสาทะ ของรูป.


164-1

อาทีนพของรูป

ภิกษุ ท. ! อาทีนพ (โทษ) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคล จะได้เห็นน้องหญิง ในกรณีนี้นั่นแหละ โดยกาล

ต่อมา มีอายุได้ ๘๐ ปีก็ตาม ๙๐ ปีก็ตาม ๑๐๐ ปีก็ตาม ชราทรุดโทรมแล้ว มีหลังงอดุจไม้โค ปาณสิแห่งหลังคา มีกายคดไปคดมา มีไม้เท้ายันไปในเบื้องหน้าเดินตัวสั่นเทิ้ม กระสับกระส่าย ผ่านวัยอันแข็งแกร่งไปแล้ว มีฟันหัก แล้ว มีผมหงอกแล้ว มีผมตัดสั้นอย่างลวก ๆ มีผิวหนัง หย่อนยาน และมีตัวเต็มไปด้วยจุด.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะ อันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?
“ข้อนั้นเป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อาพาธลง ได้รับทุกข์ ทรมาน เป็นไข้หนัก นอนกลิ้งเกลือกอยู่ในมูตร และคูถของตนเอง อันบุคคลต้องช่วยพะยุพยุง ให้ลุกและให้นอน.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะ อันงดงามที่มีแต่เดิมใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะ อันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?
ข้อนั้นเป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า!”

ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้า เป็นที่ทิ้งศพ ตายแล้ว วันหนึ่งก็ตาม ตายแล้ว สองวันก็ตาม ตายแล้วสามวันก็ตาม หรือ กำลังขึ้นพอง มีสีเขียว มีหนองไหล.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรวรรณะ อันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป โทษย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?
“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้า เป็นที่ทิ้งศพ อันฝูงกา จิกกินอยู่ ก็ตาม อันฝูงแร้งจักกินอยู่ก็ตาม อันฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่ก็ตาม อันฝูงสุนัขกัดกินอยู่ก็ตามอันฝูงสุนัข จิ้งจอกกัดกินอยู่ก็ตาม และอันหมู่หนอนต่างชนิด บ่อนกินอยู่ก็ตาม.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสรรแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรวรรณะอันงดงาม นั้น ย่อมอันตรธานหายไป โทษย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?
“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้า เป็นที่ศพ เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด และยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัดอยู่ก็ตาม เป็นร่าง กระดูก ที่ปราศจากเนื้อ แต่ยังมีเลือดเปื้อนอยู่ และยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัดไว้ก็ตาม เป็นร่างกระดูก ที่ปราศจาก

เนื้อและเลือด แต่ยังมีเอ็นเป็นเครื่องรึงรัดไว้ก็ตาม เป็นท่อนกระดูก ที่ปราศจากเอ็น เป็นเครื่อง รึงรัด กระจัดกระจาย ไปคนละทิศละทาง กระดูกมือไปทางหนึ่งกระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกข้อสันหลัง ไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่งกระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่งกระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง ฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะ ไปทางหนึ่ง.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สีสันแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะอัน งดงามนั้นย่อมอันตรธานหายไป โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?
“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล เป็นอาทีนพของรูป.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก บุคคล จะได้เห็นน้องหญิงนั้นแหละ อันเขาทิ้งแล้ว ในป่าช้า เป็นที่ทิ้งศพ เป็นชิ้น กระดูก มีสีขาวดั่งสีสังข์ก็ตาม เป็นชิ้นกระดูกกองเรี่ยรายอยู่นาน เกินกว่า ปีหนึ่งไปแล้วก็ตาม เป็นกระดูก เปื่อยผง ละเอียดไปแล้วก็ตาม.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สีสันแห่งวรรณะอันงดงามที่มีแต่เดิม ใด ๆ สีสรรแห่งวรรณะ อันงดงามนั้น ย่อมอันตรธานหายไป โทษ ย่อมบังเกิดปรากฏ มิใช่หรือ ?
“ข้อนั้น เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! แม้นี้แล ก็เป็นอาทีนพของรูป.


168
นิสสรณะของรูป


ภิกษุ ท. ! นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกไปพ้นได้) ของรูป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในรูป ด้วยอุบายใด อุบายนี้แล เป็นอุบายเครื่องออกพ้นไปได้ของรูป แล.


168-1
ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ รูป

ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยรูป แล้วเกิดขึ้น. สุข โสมนัสนี้แลเป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของรูป รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของรูป การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปการ ละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ ในรูป ด้วยอุบาย ใด ๆ อุบายนี้แลเป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จาก รูป.


168-2
รูปขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! มหาภูตสี่อย่างและรูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า รูป ความเกิดขึ้นแห่งรูป มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับ ไม่เหลือแห่งรูปมีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเองเป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.


๒. วิภาคแห่งเวทนาขันธ์

169
เวทนาหก


ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา เวทนา อันเกิดแต่ สัมผัสทางหู เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เวทนา อันเกิดแต ่สัมผัสทางกาย และ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนา.


169-1
ความหมายของคำว่า “เวทนา”


ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “เวทนา” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.
สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์ บ้าง และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง (ดังนี้เป็นต้น).

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.


170
อุปมาแห่งเวทนา

ภิกษุ ท. ! เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน) ต่อมนํ้าย่อมเกิดขึ้น และแตก กระจายอยู่บนผิวน้ำ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นต่อมน้ำนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณา โดย แยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคายอยู่ ต่อมนํ้านั้น ย่อมปรากฏเป็น ของว่างของเปล่า และปรากฏ เป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในต่อมน้ำนั้นจะพึงมีได้อย่างไร อุปมานี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายในหรือ ภายนอก ก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกล หรือที่ใกล้ก็ตาม ภิกษุรู้สึกในเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นรู้สึกอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ เวทนานั้น ย่อมปรากฏ เป็นของว่างของ เปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในเวทนานั้นจะพึงมีได้อย่างไร.


171
ความหมายอันแท้จริงของ “บาดาล”

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ พูดกันว่าบาดาลมีอยู่ใต้มหาสมุทร.
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ กล่าวสิ่งนั้น ซึ่งไม่มีอยู่ไม่เป็นอยู่ ว่าบาดาลมีอยู่ใต้มหาสมุทร.
ภิกษุ ท. ! คำว่า “บาดาล” นั้น เป็นคำแทนชื่อ ของทุกขเวทนาอันมีอยู่ในสรีระนี้.
ภิกษุ ท. ! บุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ ถูกต้องทุกขเวทนาในสรีระนี้อยู่ ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบากใจ ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความมีสติฟั่นเฟือน.

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า บุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ จมลงแล้วในบาดาล ไม่มีที่ยืนเหยียบถึง
ภิกษุ ท. ! ส่วน อริยสาวก ผู้มีการสดับ เมื่อถูกต้องทุกขเวทนาที่เป็นไปในสรีระ ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมไม่ถึงความ เป็นผู้มีสติ ฟั่นเฟือน.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่าอริยสาวกผู้มีการสดับนี้ ไม่จมลงแล้วในบาดาล มีที่ยืนเหยียบถึง.


171-1
ธรรมลักษณะ ๗ ประการแห่งเวทนา

(รู้จักเวทนา เหตุเกิดเวทนา ความดับเวทนา วิธีดับเวทนา อัสสาทะของเวทนา อาทีนวะของ เวทนา นิสสรณะของเวทนา)

(๑). ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้มีอยู่ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมขเวทนา นี้เราเรียกว่า เวทนา.

(๒). เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ จึงมี ความเกิดขึ้น แห่งเวทนา (นี้คือสมุทัยแห่งเวทนา) ปฏิปทาให้ถึงตัณหา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งเวทนา (ตณฺหาเวทนาสมุทยคามินีปฏิปทา)

(๓). เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา (นี้คือนิโรธแห่งเวทนา).

(๔). อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้ เป็นปฏิปทา ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือสัมมาทิฎฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมา-วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้คือนิโรธคา มินี ปฏิปทาแห่งเวทนา).

(๕). สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้คืออัสสาทะ (รสอร่อย)แห่งเวทนา.

(๖). ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แห่งเวทนา นี้คือ อาทีนวะ (โทษ) จากเวทนา.

(๗). การนำออกเสียได้ ซึ่งฉันทราคะ การละเสียได้ซึ่งฉันทราคะ ในเวทนา นี้คือ นิสสรณะ (อุบายเครื่องออก) จากเวทนา


172
หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ เวทนา

ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักเวทนา พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิด ของเวทนา พึงรู้จักความ เป็น ต่างกัน ของเวทนา พึงรู้จักผลของเวทนา พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา และพึงรู้จัก ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา” ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง เวทนาสาม เหล่านี้ คือสุขเวทนาทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ผัสสะ (การประจวบกัน แห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ) เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของ เวทนา.

ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! สุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิส (กามคุณ ๕) ก็มี สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส (ไม่มีกามคุณ ๕) ก็มี ทุกขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี ทุกขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี อทุกขมสุขเวทนา ที่เจือด้วยอามิสก็มี อทุกขมสุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ความเป็นต่างกันของเวทนา.

ภิกษุ ท. ! ผลของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อเสวยเวทนาใดอยู่ ยังอัตภาพซึ่งเกิดแต่เวทนานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นฝ่ายบุญ ก็ตาม เป็นฝ่ายมิใช่บุญ ก็ตาม.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผลของเวทนา.

ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของเวทนา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.

ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....

ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักเวทนา พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา พึงรู้จัก ความเป็นต่างกัน ของเวทนา พึงรู้จักผลของเวทนา พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา และ พึงรู้จัก ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของเวทนา” ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึงความ ข้อนี้แล.


174
ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา

พุทธสาวก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ซึ่งแดนเกิดแห่งเวทนา ซึ่งธรรมเป็นที่ดับแห่ง เวทนา ซึ่งหนทางให้ถึงความสิ้นไป (แห่งฉันทราคะในเวทนา) ภิกษุ เพราะสิ้น(ฉันทราคะ) แห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้หายหิว ดับเย็นสนิท.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามเป็น อทุกขมสุขก็ตาม เป็นภายใน ก็ตาม ภายนอกก็ตาม บุคคลรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ มีความหลอกลวงเป็นธรรมดา มีการแตก สลาย เป็นธรรมดาเสวยแล้ว เสวยแล้ว เห็นอยู่ว่าเป็นสิ่งที่มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา ดังนี้ย่อมปราศจากความกำหนัดในเวทนานั้น ๆ.

เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ราคานุสัย ย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็น ทางออกจาก อำนาจของ เวทนานั้น.

เมื่อบุคคลเสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ปฏิฆานุสัย ย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็น ทางออกจาก อำนาจของ เวทนานั้น.

บุคคลเพลิดเพลินแม้ในอทุกขมสุข อันพระภูริปัญญาพุทธเจ้า ทรงแสดงว่าเป็นธรรมอันรำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ ไปได้ไม่.

เมื่อใดภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ ก็เป็นบัณฑิตรอบรู้เวทนาทั้งปวง ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่ง เวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่ง กายแตก จบเวทไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่ าเป็นอะไร.

บุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว ย่อมคร่ำครวญ ร่ำไห้ ทุพพลภาพหมดกำลัง บุคคลนั้น จมลงแล้วในบาดาล (แห่งเวทนา) ซึ่งไม่มีที่ยืนเหยียบถึง.

ส่วนบุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต ย่อมอดกลั้นได้ ไม่หวั่นไหว บุคคลนั้น ไม่จมลงแล้วในบาดาล เพราะมีที่ยืนเหยียบถึง.

ผู้ใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศรเห็นอทุกขมสุขอันกำลังมีอยู่ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ผู้นั้นเป็นภิกษุ ผู้รู้เห็นโดยชอบ ย่อมรอบรู้ซึ่งเวทนา เพราะรอบรู้ เวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฎฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก

จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร

176
วิภาคแห่งเวทนา

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยายซึ่งมีปริยายร้อยแปด แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอ จงฟังธรรมปริยายข้อนั้น.

ภิกษุ ท. ! ธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปดนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เวทนา แม้สองอย่าง เราได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนา แม้สามอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนา แม้ห้าอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนา แม้หกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนาแม้สิบแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
เวทนา แม้สามสิบหกอย่างเราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย
และ เวทนา แม้ร้อยแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย.

ภิกษุ ท. ! เวทนา สองอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สองอย่างนั้นคือ
     เวทนาที่เป็นไปทางกาย
     และเวทนาที่เป็นไปทางใจ.
     ภิกษุ ท. !เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสองอย่าง

ภิกษุ ท. ! เวทนา สามอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สามอย่างนั้นคือ
     สุขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นสุข)
     ทุกขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นทุกข์)
     และอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทุกข์หรือสุข).
     ภิกษุ ท. !เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามอย่าง.

ภิกษุ ท. ! เวทนา ห้าอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา ห้าอย่างนั้น คือ
     อินทรีย์คือ สุข
     อินทรีย์คือ ทุกข์
     อินทรีย์คือ โสมนัส
     อินทรีย์คือ โทมนัส
     และอินทรีย์คือ อุเบกขา.
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาห้าอย่าง.

ภิกษุ ท. ! เวทนา หกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา หกอย่างนั้นคือ
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางตา
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางหู
     เวทนาอันเกิดแต่สัมผัส ทางจมูก
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางลิ้น
     เวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางกาย
     และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางใจ.
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เรียกว่า เวทนาหกอย่าง.

ภิกษุ ท. ! เวทนา สิบแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สิบแปดอย่างนั้นคือ
     ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วย โสมนัส หกอย่าง
     ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วย โทมนัส หกอย่าง
     และความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วย อุเบกขา หกอย่าง.
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสิบแปดอย่าง.

ภิกษุ ท. ! เวทนา สามสิบหกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาสามสิบหกอย่างนั้น คือ
     โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วย เหย้าเรือน (กามคุณ ๕) หกอย่าง
     โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน(ไม่เกี่ยวด้วยกามคุณ๕) หกอย่าง
     โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือน หกอย่าง
     โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน หกอย่าง
     อุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือน หกอย่าง
     และอุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออก จากเหย้าเรือน หกอย่าง.
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามสิบหกอย่าง.

ภิกษุ ท. ! เวทนา ร้อยแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาร้อยแปดอย่างนั้น คือ
     เวทนาสามสิบหก (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น)
     ส่วนที่เป็นอดีต
     เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นอนาคต
     และเวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นปัจจุบัน.
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาร้อยแปดอย่าง.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปด แล.


177
“ธรรม” (คือเวทนา) เป็นสิ่งที่บัญญัติได้หลายปริยาย
(อันเป็นเหตุให้หลงทุ่มเถียงกัน)

ภิกษุ ท. ! เวทนาเรากล่าวแล้ว โดยปริยายแม้สองอย่าง โดยปริยายแม้สามอย่าง โดยปริยาย แม้ห้าอย่าง โดยปริยายแม้หกอย่าง โดยปริยายแม้สิบแปดอย่าง โดยปริยายแม้สามสิบหกอย่าง โดยปริยายแม้ร้อยแปดอย่าง.

ภิกษุ ท. ! โดยปริยายอย่างนี้ ที่เราแสดงธรรม. เมื่อเราแสดงธรรมอยู่โดยปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใด จักไม่สำคัญร่วม จักไม่รู้ร่วม จักไม่พอใจร่วม แก่กันและกัน ว่าเป็นธรรมที่เรากล่าว ดีแล้ว พูดไว้ดีแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เขาหวังได้ ก็คือ จักบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกปากอยู่.

ภิกษุ ท. ! โดยปริยายอย่างนั้น ที่เราแสดงธรรม. เมื่อเราแสดงธรรมอยู่โดยปริยายอย่างนั้น ชนเหล่าใด จักสำคัญ ร่วม จักรู้ร่วม จักพอใจร่วม แก่กันและกัน ว่าเป็นธรรมที่เรากล่าวดีแล้ว พูดไว้ดีแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เขาหวังได้ ก็คือ จักพร้อมเพรียงกัน บันเทิงต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้เหมือนน้ำนมกับน้ำ มองกันและกันด้วยสายตา อันเป็น ที่รักอยู่ ดังนี้แล.


179
เวทนามีธรรมดาไม่เที่ยง

อัคคิเวสสนะ ! เวทนามีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด เสวยสุขเวทนาอยู่ สมัยนั้น ไม่ได้เสวยทุกข-เวทนา และไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น เสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียว.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด เสวยทุกขเวทนาอยู่ สมัยนั้น ไม่ได้เสวยสุขเวทนา และไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา สมัยนั้น เสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว.

อัคคิเวสสนะ ! สมัยใด เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา และไม่ได้เสวย ทุกขเวทนา สมัยนั้น เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียว.

อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้วอาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา.

อัคคิเวสสนะ ! แม้ทุกขเวทนา ก็เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไป เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับ เป็นธรรมดา.

อัคคิเวสสนะ ! แม้ อทุกขมสุข-เวทนา เล่า ก็เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัย เหตุเกิดขึ้นแล้ว มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความจางคลายไปเป็น ธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา แล.


180
เวทนามีธรรมดาแปรปรวน


ภิกษุ ท. !เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา เป็นของไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นโดย อย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. !เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู เป็นของไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็นโดย อย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. !เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เป็นของไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็น โดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. ! วทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เป็นของไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็น โดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. !เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย เป็นของไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็น โดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. !เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ เป็นของไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน มีความเป็น โดยอย่างอื่นได้ แล.


181
เวทนาเป็นทุกข์ เป็นลูกศร เป็นของไม่เที่ยง


ภิกษุ ท. ! เวทนา มีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุ ท. ! สุขเวทนา พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ ทุกขเวทนาพึงเห็นโดยความเป็นลูกศร อทุกขมสุขเวทนา พึงเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง.

ภิกษุ ท. ! แต่กาลใดแล สุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุเห็นแล้ว โดยความเป็นทุกข์ ทุกขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุเห็นแล้ว โดยความเป็นลูกศร อทุกขม-สุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุเห็นแล้ว โดยความเป็นของไม่เที่ยง

ภิกษุ ท. ! แต่กาลนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า “ผู้เห็นโดยถูกต้อง (สมฺมทฺทโส) ได้ตัดตัณหา เสียแล้ว รื้อถอนสัญโญชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะรู้จักหน้าตาของมานะ อย่างถูกต้องแล้ว

เวทนาทุกชนิดเดินไปสู่ความดับ
ภิกษุองค์หนึ่งกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เมื่อข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ได้เกิดการใคร่ครวญขึ้นในใจว่า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัส เวทนาไว้๓อย่างคือ สุขเวทนาทุกขเวทนาอทุกขม-สุขเวทนา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ‘เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆประมวลลงในความทุกข์’ ดังนี้ข้อที่พระองค์ตรัสว่า‘เวทนาใด ๆ ก็ตาม เวทนานั้น ๆ ประมวลลงใน ความทุกข์ ดังนี้ทรงหมาย ถึงะไรหนอ? ’’

ภิกษุ ! ดีแล้ว ดีแล้ว. เรากล่าวเวทนาไว้ ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนาทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา จริง และ ยังได้กล่าว่า “เวทนาใด ก็ตามเวทนานั้น ประมวลลงใน ความทุกข์”.

ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลายนั่นเอง และเรายังกล่าว หมายถึงความเป็นของ สิ้นไป เป็นธรรมดา ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา ความเป็นของ จางคลายไปเป็นธรรมดา ความเป็นของ ดับไม่เหลือเป็นธรรมดา ความเป็นของแปรปรวนเป็น ธรรมดา ของสังขารทั้งหลายนั่นแหละ ที่ได้กล่าวว่า “เวทนาใด ๆ ก็ตามเวทนานั้น ๆ ประมวล ลง ในความทุกข์” ดังนี้.


183
เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย


ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้ง ทางจมูก) ขึ้น อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น อาศัยกายกับ โผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น

ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น ชื่อว่า ผัสสะ. เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลินย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ อนุสัย คือราคะ ย่อมนอนเนื่อง อยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.

เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอก ร่ำไห้ ถึงความ หลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ (ความคับแค้นใจ) ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.

เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับแห่ง เวทนานั้น ด้วยซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วยซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
ยังละอนุสัย คือราคะ(กำหนัดในกาม) ในเพราะสุขเวทนาไม่ได้
ยังบรรเทาอนุสัย คือปฏิฆะ(ความคับแค้น) ในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้
ยังถอนอนุสัย คืออวิชชา ในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้
ยังละ อวิชชา ไม่ได้
และ ยังทำวิชชา ให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ดังนี้
ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.


184
อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา

ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌาน ที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุ ฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิด แม้ในทางที่จะให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิด ความ เดือดร้อน แก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อน แก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งสองฝ่าย.

ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลายว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
.............................................................................

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็น เครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่อง ผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติ และสุข อันเกิด แต่สมาธิ แล้วแลอยู่ ในสมัยนั้นเธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความ เดือดร้อน แก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิดแม้ในทาง ที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.

ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลายว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
.............................................................................

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุ, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใดภิกษุ เพราะความจางคลายไป แห่งปีติ เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วย นามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ ในทาง ที่จะให้เกิดความ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อน แก่ ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อน แต่อย่างใดเลย.

ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
.............................................................................

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละ ทุกข์เสียได้ เพราะความดับ หายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความ ที่สติ เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ เพราะละสุขเสียได้และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป แห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สต ิเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะ ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะ ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น แล ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.

ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย)ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อน แก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่งแล.


186
เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์

ภิกษุ ท. ! คำที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง” ดังนี้นั้น ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์ อะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง ความโสมนัส เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง ความโทมนัสเนื่องด้วย การหลีกออกจากเหย้าเรือน๖ อย่าง อุเบกขาเนื่องด้วย เหย้าเรือน ๖ อย่าง อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจาก เหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการได้ซึ่งรูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนกำลังได้อยู่ก็ตาม หรือว่าเมื่อ ระลึกถึงรูป เช่นนั้น อันตนเคยได้แล้วแต่กาลก่อน ซึ่งล่วงแล้ว ดับสิ้น แปรปรวนไปแล้ว ก็ตาม แล้วเกิดความโสมนัสขึ้น.

ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ความ โสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโสมนัส).

(ในกรณีที่เกี่ยวกับเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์อีกอย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับ ข้อว่ารูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจางคลายความกำหนัด ยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญา อันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ก็ตามรูป ทั้งหมด เหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา”ดังนี้ แล้วเกิดความ โสมนัสขึ้น.

ความโสมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโสมนัสนี้ เรียกว่า ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีก ออกจาก เหย้าเรือน (เนกขัมม-สิตโสมนัส). (ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนอง เดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรามองเห็นการไม่ได้ซึ่งรูป อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์ใจ อันเนื่องในความเป็นเหยื่อโลก ในทางตา ว่า เป็นสิ่งที่ตนไม่ได้ก็ตาม หรือว่า เมื่อระลึกถึง รูปเช่นนั้น อันตนยังไม่เคยได้แต่กาลก่อน ซึ่งล่วงลับ ดับสิ้นแปรปรวนไปแล้วก็ตาม แล้วเกิด ความโทมนัสขึ้น.

ความโทมนัสใดมีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัสนี้ เรียกว่า ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตโทมนัส).

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียว กับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).


ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของไม่เที่ยงของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความจาง-คลาย ความกำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า

“รูปทั้งหลาย ในกาลก่อนหรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมดเหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น ธรรมดา” ดังนี้แล้ว เขา ย่อมเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตร วิโมกข์ทั้งหลายว่า “เมื่อไรหนอ ! เราจักเข้าถึง ซึ่งอายตนะนั้น แล้วแลอยู่ อันเป็นอายตนะ ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ ในบัดนี้” ดังนี้.

เมื่อเขาเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งความกระหยิ่ม ในอนุตตรวิโมกข์ทั้งหลาย อยู่ดังนี้ ย่อมเกิดความ โทมนัสขึ้น เพราะความ กระหยิ่มนั้นเป็นปัจจัย. ความโทมนัสใด มีลักษณะเช่นนี้ ความโทมนัส นี้ เรียกว่าความโทมนัสเนื่องด้วยการ หลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตโทมนัส) (ในกรณี ที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียวกับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. !เหล่านี้คือ ความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลาย เหล่านั้น อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน (เคหสิตอุเบกขา) ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้วอุเบกขาก็เกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้หลง ผู้เขลา ผู้บุถุชน ผู้ยังไม่ ชนะกิเลส ผู้ยังไม่ชนะ วิบาก ผู้ไม่เห็นโทษ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง. อุเบกขาใด ซึ่งเป็นอุเบกขาของ บุถุชน อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้นเราเรียกอุเบกขานั้น ว่า อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน.

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียว กับ ข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน ๖ อย่าง.
ภิกษุ ท. ! ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น อุเบกขา เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่าง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อคนเรารู้แจ้งถึงความเป็นของ ไม่เที่ยง ของรูปทั้งหลาย ความแปรปรวน ความ จางคลายความ กำหนัดยินดี และความดับไม่เหลือของรูปทั้งหลาย เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “รูปทั้งหลาย ในกาลก่อน หรือในบัดนี้ ก็ตามรูปทั้งหมด เหล่านั้น เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา” ดังนี้ แล้วเกิดอุเบกขาขึ้น.

อุเบกขาใด มีลักษณะเช่นนี้ อุเบกขานั้น ไม่อาจจะเป็นไปล่วง ซึ่งวิสัยแห่งรูป เพราะเหตุนั้น เราเรียกอุเบกขานั้น ว่าอุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา).
(ในกรณีที่เกี่ยวกับ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ อีก ๕ อย่าง ก็ตรัสทำนองเดียว กับข้อว่า รูป ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน ๖ อย่างแล.

ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ ๓๖ อย่าง” ดังนี้นั้น คำนั้น เรากล่าวอาศัย ความข้อนี้แล.


190
การเกิดของเวทนา เท่ากับ การเกิดของทุกข์

ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของเวทนา อันเกิดแต่สัมผัส ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของ ทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติ เสียดแทงทั้งหลาย และเป็นความปรากฏของชรา และ มรณะ แล.


190-1
อาการเกิดดับแห่งเวทนา

ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ เกิดมาจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะ เป็นปัจจัย. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็ นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เพราะ ความดับ แห่งผัสสะอันเป็ นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นสุขเวทนา อันเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไปย่อม ระงับไป. (ในกรณีแห่ง ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำมีนัยยะอย่างเดียวกัน).

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน เมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อนและเกิดไฟเมื่อไม้สีไฟ สองอันแยกกัน ความร้อนก็ดับไปสงบไป.

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เวทนาทั้งสามนี้ ซึ่งเกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย อาศัยผัสสะแล้วย่อมเกิดขึ้น ย่อมดับไปเพราะผัสสะดับ ดังนี้แล.


191
ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ
เวทนา

ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้แล เป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของเวทนา เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของเวทนา การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ ในเวทนาการละเสียได้ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา ด้วยอุบายใด ๆ อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากเวทนา.


192
เวทนาขันธ์
โดยนัยแห่งอริยสัจสี่

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกเหล่านี้ คือ เวทนา อันเกิด แต่สัมผัสทางตา เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น เวทนาอันเกิดแต่ สัมผัสทางกาย และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่ง ผัสสะ ความดับไม่เหลือ แห่งเวทนา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งเวทนาได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบการเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

192-1
ประมวลสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับเวทนา


พระอานนท์ได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เวทนาเป็นอย่างไรหนอ? ความเกิดขึ้น แห่งเวทนา เป็นอย่างไร ? ความดับไม่เหลือแห่งเวทนาเป็นอย่างไร? ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความ ดับ ไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไร? อะไรเป็นรสอร่อยของเวทนา? อะไรเป็นโทษเลวทราม ของเวทนา? อะไรเป็นอุบายเครื่อง ออกจากเวทนา?”

อานนท์ ! เวทนา มี ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา อานนท์ ! นี้เราเรียกว่าเวทนา. ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ.

ความดับไม่เหลือ แห่ง เวทนา ย่อมมีเพราะความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ.

มรรคอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ ไม่เหลือ แห่งเวทนา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สุขโสมนัส อันใดเกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนา นั้นคือรสอร่อยของเวทนา.

เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นั้นคือโทษเลวทรามของเวทนา.
การกำจัด การละเสีย ซึ่งฉันทราคะในเวทนา นั้นคืออุบายเป็นเครื่องออกจากเวทนา.


193
๓. วิภาคแห่งสัญญขันธ์
สัญญาหก


ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
หมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้คือ
     สัญญาใน รูป
     สัญญาใน เสียง
     สัญญาใน กลิ่น
     สัญญาใน รส
     สัญญาใน โผฏฐัพพะ
     และสัญญาใน ธรรมารมณ์.
     ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า สัญญา.


193-1
ความหมายของคำว่า “สัญญา”

สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเหลืองบ้าง ย่อมหมายรู้ ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง และย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีขาวบ้าง (ดังนี้เป็นต้น).

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.


194
อุปมาแห่งสัญญา

ภิกษุ ท. ! เมื่อเดือนท้ายแห่งฤดูร้อนยังเหลืออยู่ ในเวลาเที่ยงวันพยับแดดย่อมไหวยิบยับ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นพยับแดดนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย.

เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ พยับแดดนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง ของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในพยับแดดนั้น จะพึงมีได้อย่างไร อุปมานี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! อุปไมย ก็ฉันนั้น คือ สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ภิกษุสังเกตเห็น (การบังเกิดขึ้นแห่ง) สัญญานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย.

เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ สัญญานั้นย่อมปรากฏเป็น ของว่าง ของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในสัญญานั้น จะพึงมีได้อย่างไร.
ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สัญญา” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่หมายรู้ ได้พร้อม มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สัญญา.
สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งอะไร ?


195
หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับ สัญญา


ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักสัญญา พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา พึงรู้จักความ เป็นต่างกันของสัญญา พึงรู้จักผลของสัญญา พึงรู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา และพึง รู้จักทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือมของ สัญญา” ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง สัญญาหก เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญา ในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรมารมณ์.

ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ผัสสะ (การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน และภายนอก และวิญญาณ) เป็นเหตุ เป็นแดนเกิดของ สัญญา.

ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! สัญญาในรูปก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียง ก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่น ก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในรสก็เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะ ก็เป็นอย่างหนึ่ง และ สัญญาในธรรมารมณ์ก็เป็นอย่างหนึ่ง.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่าความเป็นต่างกันของสัญญา.

ภิกษุ ท. ! ผลของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวสัญญา ว่า มีถ้อยคำที่พูดออกมานั้นแหละ เป็นผล เพราะบุคคลย่อมพูดไป ตามสัญญา โดยรู้สึกว่า “เราได้มีสัญญาอย่างนี้ๆ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. !นี้ เรียกว่า ผลของสัญญา.

ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ความดับไม่เหลือของสัญญา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของผัสสะ.

ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของสัญญา ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบการทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ....

ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักสัญญา พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของสัญญา พึงรู้จัก ความเป็นต่างกัน ของสัญญา พึงรู้จักผลของสัญญา พึงรู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของสัญญา” ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึง ความข้อนี้แล.


196
สัญญามีธรรมดาแปรปรวน

ภิกษุ ท. ! สัญญาในรูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญาในเสียง เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญาในกลิ่น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญาในรส เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญาในโผฎฐัพพะ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญาในธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.


197
การเกิดของสัญญาเท่ากับการเกิดของทุกข์

ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของสัญญาในรูป สัญญา ในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรมารมณ์ ใดๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่ง ซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย และเป็นความปรากฏของชราและมรณะ แล.


197 -1
ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สัญญา

ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใดๆ ที่อาศัย สัญญา แล้วเกิดขึ้, สุขโสมนัส นี้แล เป็นรสอร่อย (อัสสาทะ) ของสัญญา สัญญาไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใดๆ อาการนี้แลเป็นโทษ (อาทีนพ) ของสัญญา การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในสัญญา ด้วยอุบายใด อุบายนี้แล เป็นเครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากสัญญา


198
สัญญาขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่


ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งสัญญาหกเหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญาในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ และสัญญาในธรรมารมณ์.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่าสัญญา.

ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา มีได้ เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึง ความ ดับไม่เหลือแห่งสัญญา ได้แก่ความ เห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.


198-1
๔. วิภาคแห่งสังขารขันธ์
สังขารหก
(เรื่องควรดูประกอบในปฏิจจ. โอ. หน้า ๓๒๓)

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนาหกเหล่านี้ คือ สัญเจตนา (ความคิดนึก) ในเรื่องรูป สัญเจตนาในเรื่องเสียง สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น สัญเจตนาในเรื่องรส สัญเจตนาในเรื่อง โผฎฐัพพะ และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.


199
ความหมายของคำว่า
สังขาร

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “สังขารทั้งหลาย” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า?
ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่ง ให้สำเร็จรูป มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร.

สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ? สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความ เป็น รูป ย่อมปรุงแต่ง เวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสัญญา ย่อมปรุงแต่ง สังขาร ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นวิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น(เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูก เรียกว่าสังขารทั้งหลาย.


199-1
อุปมาแห่งสังขาร

ภิกษุ ท. ! บุรุษผู้หนึ่งมีความต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ เขาจึง ถือเอา ขวานอันคม เข้าไปสู่ป่า. เขาเห็น ต้นกล้วยต้นใหญ่ ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังอ่อนอยู่ ยังไม่เกิดแกนไส้. เขาตัดต้นกล้วยนั้นที่โคน แล้วตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบออก. บุรุษนั้น เมื่อปอกกาบออกอยู่ ณ ที่นั้น ก็ไม่พบแม้แต่กระพี้ (ของมัน) จักพบแก่นได้อย่างไร.

บุรุษผู้มีจักษุ(ตามปกติ) เห็นต้นกล้วยนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคายอยู่ ต้นกล้วยนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. !ก็แก่นสารในต้นกล้วยนั้น จะพึงมีได้อย่างไร อุปมานี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม

ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้น สังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ สังขารทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และ ปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป.

ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงมีได้อย่างไร.


200
สังขารมีธรรมดาแปรปรวน


ภิกษุ ท. ! สัญเจตนา (ความคิดนึก) ในเรื่องรูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น โดยอย่างอื่นได้ ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องเสียง เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความ เป็นโดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็นโดย อย่างอื่นได้ ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องรส เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนมีความเป็น โดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องโผฏฐัพพะ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดย อย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดย อย่างอื่น ได้ แล.


201
การเกิดของสังขารเท่ากับการเกิดของทุกข์

ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และความปรากฏ ของสัญเจตนาในเรื่องรูป สัญเจตนา ในเรื่องเสียง สัญเจตนา ในเรื่องกลิ่น สัญเจตนาในเรื่องรส สัญเจตนาในเรื่องโผฏฐัพพะ และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของ สิ่ง ซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย และเป็นความปรากฏของชรา และมรณะ แล.


201-1
ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ สังขาร

ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยสังขารทั้งหลาย แล้วเกิดขึ้น สุขโสมนัส นี้แล เป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของสังขารทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ด้วยอาการใด ๆ อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของสังขารทั้งหลาย การนำออก เสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสังขาร ทั้งหลาย การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในสังขารทั้งหลาย ด้วยอุบายใด ๆ อุบายนี้แลเป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากสังขารทั้งหลาย.


202
สังขารขันธ์โดยนัยแห่งอริยสัจสี่


ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนาหกเหล่านี้ คือ สัญเจตนา (ความคิดนึก) ในเรื่องรูป สัญเจตนาในเรื่องเสียง สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น สัญเจตนาในเรื่องรส สัญเจตนาในเรื่องโผฏฐัพพะ และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์.

ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย. ความเกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย มีได้เพราะ ความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือ แห่งสังขารทั้งหลาย มีได้ เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสังขารทั้งหลาย ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.


203
๕. วิภาคแห่งวิญญาณขันธ์
วิญญาณหก


ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณหกเหล่านี้ คือ วิญญาณ ทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และวิญญาณ ทางใจ.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า วิญญาณ.


203-1
ความหมายของคำว่า
วิญญาณ

ภิกษุ ท. ! คนทั่วไป กล่าวกันว่า “วิญญาณ” เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ. สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเปรี้ยวบ้าง ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขมบ้าง ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง ย่อมรู้แจ้งซึ่ง ความหวานบ้าง ย่อมรู้แจ้งซึ่งความขื่นบ้าง ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความความไม่ขื่นบ้าง ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเค็มบ้าง ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง (ดังนี้เป็นต้น).

ภิกษุ ท. ! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้นสิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ.


204
อุปมาแห่งวิญญาณ


ภิกษุ ท. ! นักแสดงกล ก็ตาม ลูกมือของนักแสดงกลก็ตาม แสดงกลอยู่ที่ทางใหญ่สี่แยก. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นกลนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่ กลนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็น ของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสาร ในกลนั้น จะพึงมีได้อย่างไร อุปมานี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือ ปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีใน ที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) วิญญาณนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณา โดยแยบคายอยู่ วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท. ! ก็แก่นสารในวิญญาณนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.


204-1
วิญญาณมีธรรมดาแปรปรวน


ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางตา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางหู เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางจมูก เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางลิ้น เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางกาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณทางใจ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.


205
วิญญาณเมื่อทำหน้าที่เป็นพืช


ภิกษุ ท. ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ พืชจากเหง้า หรือราก (มูลพีช ) พืชจากต้น (ขนฺธพีช) พืชจากตาหรือผล (ผลุพีช) พืชจากยอด (อคฺคพีช) และพืชจากเมล็ด (เช่นข้าวเป็นต้น) เป็นคำรบห้า (พีชพีช).

ภิกษุ ท. ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้ ที่ไม่ถูกทำลาย ยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้งเพราะ ลม และแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี แต่ดิน น้ำ ไม่มี.
ภิกษุ ท. ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้แลหรือ ?

หาเป็นเช่นนั้นไม่พระเจ้าข้า!”


ภิกษุ ท. ! ถ้าสิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านี้แหละ ที่ไม่ถูกทำลายยังไม่เน่าเปื่อย ยังไม่แห้ง เพราะลมและแดด ยังมีเชื้องอกบริบูรณ์อยู่ และอันเจ้าของเก็บไว้ด้วยดี ทั้งดิน น้ำ ก็มีด้วย.
ภิกษุ ท. ! สิ่งที่ใช้เป็นพืชห้าอย่างเหล่านั้น จะพึงเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้มิใช่หรือ ?
อย่างนั้นพระเจ้าข้า!”

ภิกษุ ท. ! วิญญาณฐิติ (ที่ตั้งอยู่ของวิญญาณ) สี่อย่าง (รูป เวทนา สัญญาสังขาร) พึงเห็นว่า เหมือนกับ ดิน. ภิกษุ ท. ! นันทิราคะ พึงเห็นว่าเหมือนกับ นํ้า.  
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย (วิญญาณซึ่ง ประกอบด้วยเหตุดังนี้) พึงเห็นว่า เหมือนกับ พืชสดทั้งห้านั้น.

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา รูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา เวทนา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีเวทนา เป็นอารมณ์ มีเวทนา เป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถือความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็น อารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่งเข้าถือเอา สังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็น อารมณ์ มีสังขารเป็น ที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด จะพึงกล่าวอย่างนี้ ว่า “เราจักบัญญัติ ซึ่งการมาการไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจาก เวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจากสังขาร” ดังนี้นั้น นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.


207
การเกิดของวิญญาณเท่ากับการเกิดของทุกข์


ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของวิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้นวิญญาณ ทางกาย และวิญญาณทางใจ ใด ๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้น ของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่ง ซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย และเป็นความปรากฏของชรา และมรณะ แล.


207 -1
ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ
วิญญาณ

ภิกษุ ท. ! สุขโสมนัส ใด ๆ ที่อาศัย วิญญาณ แล้วเกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้แล เป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของวิญญาณ วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการ ใด ๆ อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของวิญญาณ การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วย อำนาจ ความพอใจในวิญญาณ การละเสียได้ ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในวิญญาณด้วยอุบายใด ๆ อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากวิญญาณ.