เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  11 of 13  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า
         
  ผู้พ้นพิเศษเพราะความสิ้นตัณหา 634-1     ๗. ผู้สัทธานุสารี 671
  ผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบ 635     ผู้อนิมิตตวิหารี 672
  ผู้ไม่เป็นทั้งฝ่ายรับและฝ่ายค้าน 636     ผู้มีสันทิฏฐิกธรรม ตามคำของพระอานนท์ 673
  ผู้ถอนรากแห่งความรักและความเกลียดได้แล้ว 637     ผู้นิพพาน ตามคำของพระอานนท์ 674
  ย่อมไม่ลุกโพลง ย่อมไม่ไหม้เกรียม. 639     ผู้มีทิฏฐธรรมนิพพาน ตามคำของพระอานนท์ 674-1
  ข. ผู้ไม่ตอบโต้ (น ปฏิสฺเสเนติ) 640     ผู้เขมัปปัตต์ ตามคำของพระอานนท์ 675
  ค. ผู้ไม่อัดควัน ( น ธูปายติ) 640-1     ตทังคนิพพุโต - ผู้ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ 676
  ฆ. ผู้ไม่ลุกโพลง (น ปชฺชลติ) 641     ผู้มีตทังคนิพพาน ตามคำของพระอานนท์ 677
  ง. ผู้ไม่ไหม้เกรียม (น ปชฺฌายติ) 642     หมดตัวตน ก็หมดเรื่องผูกพันธ์ 678
  ผู้ลอกคราบทิ้งแล้ว 642-1     หมดตัวตน ก็หมดอหังการ 679

 

       
  ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน) 645     สัญญาที่เป็นส่วนประกอบแห่งวิชชา 680
  ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร 646     บุคคลผู้ถึงซึ่งวิชชา 681
  ผู้หลุดพ้นแล้วมีอุปมา ๕ อย่าง 647     วิชชาของผู้ถึงซึ่งวิชชา 681-1
  ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง 649     ผู้รับผลของการปฏิบัติเกี่ยวกับธาตุสี่ 682
  ผู้ตายคาประตูนิพพาน 651     ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร 683
  ผู้หลุดพ้นได้เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น 653     ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น 683-1
  ผู้กำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน 653-1     ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง 685
  ผู้ปฏิบัติเพื่อความดับเย็นเป็นนิพพาน 654     (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 686
  ผู้รู้ความลับของปิ ยรูป-สาตรูป 655     ความต่างแห่งอินทรีย์จึงแตกต่างแห่งอริยบุคคล 686-1
  ผู้มีจิตอันหาขอบเขตมิได้ 656     อริยบุคคลมีหลายระดับเพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน 687
         
  ความรู้สึกในใจของผู้ชนะตัณหาได้ 657     การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย 688
  วิธีในการเข้าถึงความเป็นอริยฯ ของบุคคล ๗ แบบ 658     กายนครที่ปลอดภัย 689
  ผู้อุภโตภาควิมุตต์โดยสมบูรณ์ 659     ผู้ไม่มีหนามยอกตำ 695
  ผู้อุภโตภาควิมุตต์(ตามคำของพระอานนท์) 661     ผู้อยู่คนเดียว คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง 695-1
  ๒. ผู้ปัญญาวิมุตต์ 662     (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 696
  (ผู้ปัญญาวิมุตต์ อีกนัยหนึ่ง) 663     กายของผู้ที่สิ้นตัณหาแล้วก็ยังตั้งอยู่ชั่วขณะ 697
  ผู้ปัญญาวิมุตต์(ตามคำของพระอานนท์) 665     พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ? *** 698
  ๓. ผู้กายสักขี 666     หลักการทดสอบตัวเองว่าเป็นอรหันต์หรือไม่ *** 700
  ผู้กายสักขี(ตามคำของพระอานนท์) 667     คำถามที่ใช้ทดสอบความเป็นอรหันต์ *** 702
  ๔. ผู้ทิฏฐิปปัตต์ 668     (หมวด ๒ : อุปาทานขันธ์ ๕) 703
  ๕. ผู้สัทธาวิมุตต์ 669     (หมวด ๓ : ธาตุหก) 704
  ๖. ผู้ธัมมานุสารี 670     (หมวด ๔-๕ : อายตนะใน - นอก) 705

      (หมวด ๖ : การถอนมานะ (มานานุสัย) 706

 

   

 

 
 
 





634-1
ผู้พ้นพิเศษเพราะความสิ้นตัณหา


ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! สมณพราหมณ์ทั้งปวง เป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษม จากโยคะถึงที่ สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจถึงที่สุด หรือพระเจ้าข้า ? ”

ท่านผู้จอม เทพ ! ใช่ว่าสมณพราหมณ์ ทั้งปวง จักเป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุดมีความเกษม จากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจ ถึงที่สุดก็หาไม่.

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! เพราะเหตุไรเล่า สมณพราหมณ์ทั้งปวงจึงไม่เป็นผู้มีความสำเร็จถึง ที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุดแห่งกิจถึงที่สุด พระเจ้าข้า ?”

ท่านผู้จอมเทพ ! ก็ต่อเมื่อสมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะ (ภิกขุ) เป็นผู้ หลุด พ้นวิเศษเพราะความสิ้นไป แห่งตัณหา เท่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงจะได้ ชื่อว่าเป็น ผู้มีความสำเร็จ ถึงที่สุด มีความเกษม จากโยคะถึงที่สุด เป็นพรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุด แห่งกิจถึงที่สุด.

เพราะเหตุนั้นสมณพราหมณ์ทั้งปวง จึงไม่เป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะ ถึงที่สุด เป็น พรหมจารีถึงที่สุด มีที่สุด แห่งกิจถึงที่สุด ดังนี้แล.


635
ผู้อาบแล้วด้วยเครื่องอาบ

(หลุดพ้นได้เพราะการรู้ออกจากสัญญาคตะทั้งสาม)

(ความรู้นี้ต้องนำด้วยการละอุปกิเลสสิบหก มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีศีล บริสุทธิ์ มีปัญญาบริสุทธิ์ แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารไปทั่วโลกทั้งสิ้น ดังนั้น )

ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดว่า สัญญาคตะว่าอย่างนี้ ก็มีอยู่, สัญญาคตะว่าเลว ก็มีอยู่,สัญญา คตะว่า ประณีต ก็มีอยู่ และอุบาย อันยิ่งเป็นเครื่องออกจากสัญญาคตะนี้ ก็มีอยู่” ดังนี้. เมื่อเธอนั้นรู้อยู่อย่าง นี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้ว”.

เธอย่อมรู้ชัดว่า “ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะ ต้องทำเพื่อ ความเป็น อย่างนี้ มิได้ มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ อาบแล้วด้วยเครื่องอาบอันเป็นภายใน ดังนี้แล.


636
ผู้ไม่เป็นทั้งฝ่ายรับและฝ่ายค้าน

(ดับกิเลสและทุกข์เพราะออกเสียได้จากทิฏฐิบวก ทิฏฐิลบ)

(เรื่องควรดูประกอบในปฏิจจ.โอ. หน้า ๖๖๕ เป็นอีกมุมหนึ่งแห่งสุดโต่งของความเห็นคือ “อัตถิตา และ นัตถิตา”).

ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือ ภวทิฏฐิ (ว่ามี). วิภวทิฏฐิ (ว่าไม่มี).

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใด แอบอิง ภวทิฏฐิ (ซึ่งมีลักษณะเป็นบวก) เข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ ภวทิฏฐิ สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อวิภวทิฏฐิ.

ภิกษท.! สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดแอบอิงวิภวทิฏฐิ (ซึ่งมีลักษณะเป็นลบ) เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ วิภวทิฏฐิ สมณะ หรือพราหมณ์ เหล่านั้น ย่อมคัดค้าน ต่อภวทิฏฐิ. ...

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ไม่ได้ รสอร่อย โทษอันต่ำ ทราม และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิสองอย่างนี้ สมณ พราหมณ์ เหล่านั้น เป็นผู้ปราศ จากราคะปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ไม่มี อุปาทาน เป็นผู้เห็นแจ้งไม่เป็นฝ่าย ยอมรับ ไม่เป็นฝ่ายคัดค้าน เขาเหล่านั้นเป็นผู้มี ธรรมอันไม่ทำความ เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มีความยินดี ในธรรมอันไม่ทำความเนิ่นช้าย่อมพ้น จากชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย เรากล่าวว่า เขาย่อมพ้นจาก ทุกข์ได้ ดังนี้.


637
ผู้ถอนรากแห่งความรักและความเกลียดได้แล้ว

ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ.สี่ประการอย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ ความรักเกิดจาก ความรัก ความเกลียดเกิดจากความรัก ความรักเกิดจากความ เกลียด ความเกลียดเกิดจากความเกลียด.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. !ในกรณีนี้ มีบุคคล ซึ่งเป็นที่ ปรารถนารักใคร่ พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ บุคคลโน้นก็จะ เกิดความพอใจขึ้นมา อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมทำความรักให้เกิดขึ้น ในบุคคลเหล่า นั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรัก เกิด จากความรัก.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มี บุคคลซึ่งเป็น ที่ปรารถนารัก ใคร่ พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง. มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติกระทำ ต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารักใคร่ พอใจ บุคคลโน้น ก็จะเกิดความไม่ พอใจ ขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่า นั้น ประพฤติกระทำต่อบุคคลที่ เราปรารถนารัก ใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ไม่น่า ปรารถนาไม่น่ารักใคร่พอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมทำความเกลียด ให้เกิดขึ้นในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความรัก.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด ?ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ ไม่ปรารถนา รักใคร่ พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติ กระทำ ต่อบุคคลนั้น ด้วย อาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารัก ใคร่พอใจ บุคคลโน้นก็จะเกิดความ พอใจ ขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่า นั้นประพฤติกระทำต่อบุคคลที่เราไม ปรารถนา รักใคร่พอใจ ด้วย อาการที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่ารัก ใคร่ พอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมทำความรักให้เกิดขึ้น ในบุคคล เหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความรักเกิดจากความเกลียด.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความเกลียด?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่ง ไม่เป็นที่ ปรารถนา รักใคร่พอใจ ของบุคคลคนหนึ่ง มีบุคคล พวกอื่นมาประพฤติ กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วย อาการที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ บุคคลโน้น ก็จะเกิดความไม่ พอใจ ขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่า นั้น ประพฤติกระทำ ต่อบุคคลที่เรา ไม่ปรารถนารักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความเกลียดให้ เกิดขึ้นในบุคคลเหล่านั้น.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ความเกลียดเกิดจากความ เกลียด.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ธรรมารมณ์ ย่อมเกิดอยู่เป็น ๔ ประการ.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้น ไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ สมัยนั้น ความรักที่เกิด จากความรัก ก็ถูก ละขาด มีรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนต้น ตาลมีขั้วยอดอันขาดแล้ว ให้ถึงความ ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้น อีกต่อไป เป็นธรรมดา ความเกลียด ที่เกิดจาก ความรักก็ถูกละขาด... ความรัก ที่เกิดจากความเกลียด ก็ถูกละขาด... ความเกลียดที่เกิดจากความเกลียด ก็ถูกละ ขาด มีรากอัน ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนต้น ตาลมีขั้วยอดอันขาดแล้ว ให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็น ธรรมดา.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ย่อมไม่ถือตัว ย่อมไม่ตอบโต้ ย่อมไม่อัดควัน


639
ย่อมไม่ลุกโพลง ย่อมไม่ไหม้เกรียม.

ก. ผู้ไม่ถือตัว (อุสฺเสเนติ)

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่ถือตัว ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้

ไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูป
ไม่ตามเห็นรูปในตน ไม่ตามเห็นตนในรูป

ไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีเวทนา
ไม่ตามเห็นเวทนาในตน ไม่ตามเห็นตนในเวทนา

ไม่ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีสัญญา
ไม่ตามเห็นสัญญาในตน ไม่ตามเห็นตนในสัญญา

ไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีสังขาร
ไม่ตามเห็นสังขารในตน ไม่ตามเห็นตนในสังขาร

ไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณ
ไม่ตามเห็นวิญญาณในตน ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ภิกษุย่อมไม่ถือตัว.


640
ข.
ผู้ไม่ตอบโต้ (น ปฏิสฺเสเนติ)

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่ตอบโต้ ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่ด่าตอบผู้ด่าตน ย่อมไม่โกรธขึ้งตอบผู้โกรธขึ้งตน ย่อ ไม่หักราญ ตอบผู้หักราญตน.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่ตอบโต้.


640-1
ค.
ผู้ไม่อัดควัน ( น ธูปายติ)

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่อัดควัน ? ภิกษุ ท. !

(๑) เมื่อความนึก (ด้วยมานานุสัย) ว่า “เรามีอยู่เป็นอยู่” ดังนี้ ไม่มีอยู่
(๒) ความนึกว่า “เรามี-เราเป็นอย่างนี้” ก็ไม่มี
(๓)ความนึกว่า “เรามี-เราเป็นอย่างนั้น” ก็ไม่มี
(๔) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างอื่น” ก็ไม่มี
(๕) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้” ก็ไม่มี
(๖) ว่า“เรามี-เราเป็นอย่างเที่ยงแท้” ก็ไม่มี
(๗) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็น”ก็ไม่มี
(๘) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้” ก็ไม่มี
(๙) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนั้น” ก็ไม่มี
(๑๐) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างอื่น” ก็ไม่มี
(๑๑) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นบ้างหรือ” ก็ไม่มี
(๑๒) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้บ้างหรือ” ก็ไม่มี
(๑๓) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนั้น บ้างหรือ” ก็ไม่มี
(๑๔) ว่า “เราพึงมี- พึงเป็นอย่างอื่นบ้างหรือ”ก็ไม่มี
(๑๕) ความนึกว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้ว “ก็ไม่มี
(๑๖) ความนึกว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนี้” ก็ไม่มี
(๑๗) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนั้น” ก็ไม่มี
(๑๘) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างอื่น” ก็ไม่มี.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่อัดควัน.


641
ฆ.
ผู้ไม่ลุกโพลง (น ปชฺชลติ)

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่า ภิกษุ ย่อมไม่ลุกโพลง ?
ภิกษุ ท. !
(๑) เมื่อความนึก (ด้วยมานานุสัย) ว่า “เรามีอยู่-เป็นอยู่แล้ว ด้วยขันธ์นี้” ไม่มีอยู่
(๒) ความนึกว่า “ เรามี-เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๓) ความนึกว่า “เรามี-เราเป็นอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๔) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๕) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างไม่เที่ยงแท้ ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๖) ว่า “เรามี-เราเป็นอย่างเที่ยงแท้ ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๗) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๘) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้ ด้วยขันธ์นี้”ก็ไม่มี
( ๙) ว่า “ เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๑๐) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้ “ก็ไม่มี
(๑๑) ความนึกว่า “เราพึงมี-พึงเป็นด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี
(๑๒) ความนึกว่า“เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนี้ ด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี
(๑๓) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี
(๑๔) ว่า “เราพึงมี-พึงเป็นอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้ บ้างหรือ” ก็ไม่มี
(๑๕) ความนึกว่า”เราจักมี-จักเป็นแล้วด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๑๖) ความนึกว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนี้ ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี
(๑๗) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างนั้น ด้วยขันธ์นี้”ก็ไม่มี
(๑๘) ว่า “เราจักมี-จักเป็นแล้วอย่างอื่น ด้วยขันธ์นี้” ก็ไม่มี.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่ลุกโพลง.


642
ง.
ผู้ไม่ไหม้เกรียม (น ปชฺฌายติ)

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุ ย่อมไม่ไหม้เกรียม ?
ภิกษุ ท. ! อัส๎มิมานะอันภิกษุในกรณีนี้ละขาดแล้ว มีรากถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือน ต้นตาล มีขั้วยอดอันขาดแล้ว ทำให้ถึง ความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็น ธรรมดาภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุย่อมไม่ไหม้เกรียม ดังนี้แล.


642-1
ผู้ลอกคราบทิ้งแล้ว

ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปข้างหน้า ไม่วกอ้าวมาข้างหลัง๑ล่วงพ้นธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า๒ นี้เสียได้ทั้ง สิ้น ผู้นั้น เป็น ภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งใน และฝั่งนอก๓ เหมือนงูทิ้ง คราบเก่าอันคร่ำ คร่าไปแล้ว ฉะนั้น.ผู้ใด ไม่แล่น อ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าว มาทางหลังรู้ว่าใน โลกนี้ สิ่งทั้งปวงนี้ปราศจากสัจจะแห่ง ตถา๔ ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสีย ได้แล้วทั้งฝั่งใน และฝั่งนอก เหมือน งูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.

ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าวมาทางหลัง เป็นผู้ปราศจากโลภะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวง นี้ปราศจาก สัจจะแห่งตถา ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งใน และฝั่งนอกเหมือนงู ทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่า ไปแล้ว ฉะนั้น.

ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าวมาทางหลัง เป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนี้ ปราศจาก สัจจะแห่งตถา ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้ง คาบเก่าอันคร่ำคร่า ไปแล้ว ฉะนั้น.

ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปทางหน้า ไม่วกอ้าวทางหลัง เป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนี้ ปราศจาก สัจจะแห่งตถา ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอกเหมือนงู ทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่า ไปแล้ว ฉะนั้น.

ผู้ใด ไม่แล่นอ้าวไปข้างหน้า ไม่วกอ้าวมาทางหลัง เป็นผู้ปราศจากโมหะ เพราะรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนี้ ปราศจาก สัจจะแห่งตถา ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้ง คราบเก่า อันคร่ำคร่า ไปแล้ว ฉะนั้น.อนุสัยไร ๆ ของผู้ใด ไม่มี เพราะถอนเสียได้ซึ่งมูลราก อันเป็น อกุศลทั้งหลาย

ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น. กิเลสอันเป็นเหตุ ให้เกิด ความกระวนกระวายไร ๆ ของผู้ใดไม่มีเพื่อเป็นปัจจัยแห่ง การมา สู่ฝั่งใน

ผู้นั้น เป็นภิกษุสลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่าอันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.

กิเลสเป็นเหตุให้เกิดความรกทึบเพียงดังป่ารกไร ๆ ของผู้ใดไม่มีเพื่อสำเร็จแก่ความเป็นเหตุ แห่ง ภพอัน เป็นเครื่องผูกพัน ผู้นั้น เป็นภิกษุ สลัดทิ้งเสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้ง คราบเก่าอันคร่ำคร่า ไปแล้ว

ฉะนั้น.ผู้ใด ละนิวรณ์ทั้งห้าแล้ว ไม่มีความคับแค้น ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากสิ่ง เสียบ แทง แห่งจิต ผู้นั้นเป็นภิกษุสลัดทิ้ง เสียได้แล้วทั้งฝั่งในและฝั่งนอก เหมือนงูทิ้งคราบเก่า อันคร่ำคร่าไปแล้ว ฉะนั้น.
…………………………………………………………………………………………………..
๑. แล่นไปทางหน้า ด้วยอำนาจภวตัณหาเพื่อมีภพใหม่. แล่นวกไปทางหลัง ด้วยอำนาจกาม ตัณหาที่อาลัยในกามคุณ.
๒. ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้แก่กิเลสตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ทำให้คลานต้วมเตี้ยมอยู่ในภพไม่ ออกไปสู่นิพพานอันปราศจากภพ.
๓. ฝั่งในฝั่งนอก หมายถึงความคิดที่ถือมั่นว่ามีในมีนอก ไม่เป็นไปตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตาหรือมัชฌิมาปฏิปทา.
๔. ปราศจากสัจจะแห่งตถาคือ ไม่สามารถมีความเป็นอสังขตะ หรือความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง.

…………………………………………………………………………………………………..


645
ผู้ไม่สำคัญมั่นหมายแล้วไม่เกิดนันทิ (ความเพลิน)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จ แล้ว มีภาระ อันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดิน โดยความเป็น ดิน ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญฺญา)ซึ่งดิน โดยความ เป็นดินแล้ว

ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ) ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ) ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.

(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๒ อย่าง คือ นํ้า ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหมอาภัสสร พรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผล พรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียง ที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก ลิ้น ผิวกาย สิ่งที่ รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และสิ่งทั้งปวง แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มี-พระภาคได้ตรัสไว้โดย ระเบียบ แห่งถ้อยคำ อย่างเดียว กันกับ ในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่งนิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วย ข้อความเต็มอีก ครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้-)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จ แล้ว มีภาระอัน ปลงลงแล้ว มีประโยชน์ ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพาน โดย ความเป็นนิพพาน ครั้นรู้ยิ่ง(อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดย ความเป็นนิพพานแล้ว.

ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ)
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ)
ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.


646
ผู้ปฏิบัติเปรียบด้วยนักรบผู้เชี่ยวชาญการยิงศร


สาฬ๎หะ ! เปรียบเหมือน ถ้านักรบรู้จักการใช้ลูกศรชั้นเลิศเป็นอันมาก เขาเป็นผู้ควรแก่พระราชา เป็นผู้รับใช้ พระราชา ถึงการนับว่า เป็นอังคาพยพแห่งพระราชา โดยฐานะสาม. ฐานะสามอย่างไรกันเล่า ? ฐานะสาม คือ เป็นผู้ยิงได้ไกล เป็นผู้ยิงได้แม่นยำ เป็นผู้ สามารถ ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.

สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้ไกลเป็ นฉันใดอริยสาวกเป็ นผู้มีสัมมาสมาธิก็เป็ นฉันนั้น อริยสาวก ผู้มี สัมมาสมาธิ ย่อมเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า “รูปอย่างใด อย่างหนึ่ง อันเป็น อดีตอนาคตหรือปัจจุบัน ที่เป็นภายในหรือ ภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี ไกลหรือ ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) ไม่ใช่อัตตาของเรา (น เมโส อตฺตา) “ ดังนี้ (ในกรณีแห่งเวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).

สาฬ๎หะ ! นักรบผู้ยิงได้ แม่นยำเป็ นฉันใด อริยสาวกเป็ นผู้มีสัมมา-ทิฏฐิ ก็เป็ นฉันนั้น : อริยสาวก ผู้มี สัมมาทิฏฐิ ย่อมรู้ชัดตามเป็ นจริงว่า “นี้ทุกข์นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” ดังนี้.

สาฬ๎หะ ! นักรบผู้สามารถทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้ เป็น ฉันใดอริยสาวกเป็น ผู้มีสัมมา วิมุตติ ก็เป็นฉันนั้น: อริยสาวกผู้ มีสัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายกองแห่งอวิชชาอันใหญ่ได้.


647
ผู้หลุดพ้นแล้วมีอุปมา
๕ อย่าง

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุ หลุดพ้นแล้วเป็นเจโตวิมุตต์และปัญญาวิมุตต์ ภิกษุนี้ เรา
เรียกว่าเป็น “ผู้ถอนลิ่มสลักได้แล้ว” (อุกฺขิตฺตปลิโฆ) ดังนี้บ้าง
เรียกว่าเป็น “ผู้รื้อรั้วล้อมออกเสียได้” (สงฺกิณฺณปริกฺโข) ดังนี้บ้าง
เรียกว่าเป็น “ผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นเสียได้” (อพฺพุเฬฺหสิโก) ดังนี้บ้าง
เรียกว่าเป็น “ผู้ถอดกลอนประตูออกเสียได้” (นิรคฺคโฬ) ดังนี้บ้าง
เรียกว่าเป็น “อริยะผู้ลดธง ปลงภาระ ปราศจากเครื่องผูกพัน”(อริโยปนฺนทฺธโช ปนฺนภาโร วิสํยุตฺโต) ดังนี้บ้าง.๑. ให้ผู้ศึกษาปฏิบัติพิจารณาเปรียบเทียบ “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอน ความมั่นหมายทั้งปวง”

(ในอริย.โอ.ต้นหน้า ๕๑๐)กับปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะ (ในปฏิจจ.โอ.หน้า ๔๙๒) ว่าเป็นปฏิปทาที่สำคัญ มากที่สุด เพราะนำมาใช้พิจารณาได้ทั้งภาวะของสมมุติ และ ภาวะนิพพาน (ดูตัวอย่างในอริย.โอ.ต้นหน้า ๕๑๐, ๖๔๖, ๖๔๗ และปฏิจจ.โอ.หน้า ๔๑๖-๔๒๑/๖๕๔-๖๕๕) อีกอย่างหนึ่งคือเนื้อหาของปฏิปทาเชื่อมโยงกัน ๒ จุด โดยบทพยัญชนะ คือ ---ของเรา กับ ---เป็นเราแต่ โดยความหมายแล้วสามารถเชื่อมโยงสอดรับกันทั้งหมด ซึ่งแสดงถึงความที่จะไม่ยึดถือทั้งระบบสมมุติ และระบบวิมุตติ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้ถอนลิ่มสลักได้แล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี อวิชชา อันละขาดแล้ว เป็น อวิชชามีรากอันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือนต้นตาล มีขั้นยอด อันด้วน ถึงความ ไม่มี ไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็น ธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้ถอนลิ่มสลักได้แล้ว.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้รื้อรั้วล้อมออกเสียได้ นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณี นี้ มีชาติ สังสาระเครื่อง นำไป สู่ภพใหม่อันละขาดแล้วเป็นชาติสังสาระมีรากอันถอน ขึ้นแล้ว กระทำให้เป็น เหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้ อีก ต่อไป เป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. !อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้รื้อรั้วล้อมออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้ถอนเสาระ เนียดขึ้นได้ นั้นเป็น อย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี ตัณหาอันละขาดแล้ว เป็นตัณหามีราก อันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้ เป็นเหมือน ต้นตาล มีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็น ธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้ แล ชื่อว่าผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นเสียได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า ผู้ถอดกลอนประตูออกเสียได้ นั้นเป็น อย่างไรเล่า ?


ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี โอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้าอันละขาดแล้วเป็นสังโยชน์ มีราก อันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นเหมือน ต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วนถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่ เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แลชื่อว่า ผู้ถอดกลอนประตู ออกเสียได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่า เป็ นอริยะผู้ลดธง ปลงภาระ ปราศจากเครื่องผูกพัน นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ มี อัส๎มิมานะอันละขาดแล้ว เป็นอัส๎มิมานะมีราก อันถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็น เหมือนต้นตาลมีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิด ขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. !อย่างนี้ แล ชื่อว่าเป็น อริยะผู้ลดธงปลงภาระปราศ จาก เครื่องผูกพันแล.


649
ผู้รอดไปได้ไม่ตายกลางทาง

สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้มีความเข้าใจของตนว่า

ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศร, โทษอันมีพิษของอวิชชา ย่อมงอกงามเพราะ ฉันทราคะ และ พยาบาท ลูกศรคือตัณหานั้นเราละได้แล้ว, โทษอันมีพิษของอวิชชา เราก็นำออกไป หมดแล้ว, เราเป็นผู้ น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ.” ดังนี้.

เมื่อเธอน้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ อยู่ เธอก็ไม่ตาม ประกอบซึ่งธรรมทั้งหลาย อันไม่เป็น ที่สบายแก่ผู้ น้อมไปแล้วในนิพพานโดยชอบ คือไม่ตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการเห็นรูปด้วยตาฟัง เสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่ เป็นที่สบาย.

เมื่อเธอไม่ตามระกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้อยู่ ราคะย่อมไม่เสียบแทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอันราคะไม่ เสียบแทงแล้ว ย่อมไม่ถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย.

สุนกขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ ญาติ สาโลหิตของเขาจัดหาหมอ ผ่าตัดมารักษา. หมอได้ใช้ศาสตราชำแหละ ปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่อง ตรวจค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก นำออกซึ่งโทษ อัน เป็นพิษ จนรู้ว่าไม่มี เชื้อเหลือติดอยู่. หมอนั้น กล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า

บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้วโทษอันเป็นพิษเรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลือติดอยู่แล้วท่านหมด อันตรายแล้ว และท่านจะ บริโภคอาหารได้ตามสบาย แต่ท่านอย่าไปกินอาหาร ชนิดที่ไม่สบายแก่แผล อันจะทำให้แผลอักเสบ และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผล ตามเวลา. เมื่อท่านล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลา อย่าให้หนองและเลือด เกรอะกรังปากแผล, และ ท่านอย่าเที่ยวตากลมและแดด, เมื่อเที่ยวตากลมและแดด ก็อย่าให้ ฝุ่นละอองของโสโครกเข้าไปในปากแผล. บุรุษผู้เจริญ!ท่านจง เป็นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผลเป็นเรื่องสำคัญเถอะนะ” ดังนี้. บุรุษนั้นมีความคิดว่า “หมอถอนลูกศร ให้เรา เสร็จแล้ว โทษอันเป็น พิษหมอก็นำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว เราหมดอันตราย”

เขาบริโภคโภชนะอันเป็นที่สบาย(และประพฤติตามหมอสั่งทุกประการ) เขานำโทษพิษอัน ไม่สะอาดออก ไป ด้วยการกระทำอัน ถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงไม่มีเชื้อเหลืออยู่ และงอกขึ้นเต็ม เพราะเหตุทั้งสองนั้น. เขา มีแผลงอกเต็ม มีผิวหนังราบเรียบแล้ว ก็ไม่ถึง ซึ่งความตาย หรือ ความทุกข์เจียนตาย นี้ฉันใด สุนัก ขัตตะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือข้อที่ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไป แล้วในนิพพานโดยชอบ.... แล้วไม่ตามประกอบในธรรมที่ไม่เป็นที่สบาย แก่การน้อมไปในนิพพานโดยชอบ.... ราคะก็ไม่เสียบแทงจิต เธอ. เธอมีจิตอันราคะไม่เสียบ แทง แล้ว ย่อมไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์เจียนตาย.

สุนักขัตตะ ! อุปมานี้เรากระทำขึ้น เพื่อให้เข้าใจเนื้อความ นี้คือเนื้อความในอุปมานั้น คำว่า ‘แผล’ เป็น ชื่อแห่งอายตนะภายใน หก. คำว่า‘โทษอันเป็นพิษ’ เป็นชื่อแห่ง อวิชชา. คำว่า ‘ลูกศร’ เป็นชื่อแห่ง ตัณหา. คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ เป็นชื่อแห่ง สติ. คำว่า ‘ศาสตรา’ เป็นชื่อของ อริยปัญญา. คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ เป็นชื่อของ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ.


651
ผู้ตายคาประตูนิพพาน


สุนักขัตตะ ! ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ คือจะมีภิกษุบางรูปในกรณีนี้มีความเข้าใจของตนมีความ หมายอันสรุป ได้อย่างนี้เป็นต้น ว่า ตัณหานั้น สมณะกล่าวกันว่าเป็นลูกศรโทษอันมีพิษ ของอวิชชา ย่อมงอกงาม เพราะฉันทราคะและพยาบาทลูกศร คือตัณหา นั้นเราละได้แล้วโทษอันมีพิษของอวิชชา เราก็นำออก ไปหมดแล้วเราเป็นผู้น้อมไปแล้วใน นิพพานโดยชอบ” ดังนี้.

เธอนั้นย่อม ตามประกอบซึ่งธรรมทั้งหลายอันไม่เป็นที่สบาย แก่ผู้น้อมไปแล้ว ในนิพพาน โดยชอบ คือตามประกอบซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ในการเห็นรูปด้วยตาฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่น ด้วยจมูก ลิ้มรส ด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะ ด้วยกายรู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ อันล้วนไม่เป็น ที่สบาย.

เมื่อเธอตามประกอบ ซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบายเหล่านี้ อยู่ ราคะย่อมเสียบแทงจิตของเธอ. เธอมีจิตอัน ราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึงความตายหรือความทุกข์เจียนตาย.

สุนักขัตตะ ! เปรียบเหมือนบุรุษถูกยิงด้วยลูกศรอันอาบไว้ด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า. มิตรอำมาตย์ญาติสา โลหิตของเขา จัดหาหมอ ผ่าตัดมารักษาหมอได้ใช้ศาสตรา ชำแหละ ปากแผลของเขา แล้วใช้เครื่องตรวจ ค้นหาลูกศร พบแล้วถอนลูกศรออก กำจัดโทษอัน เป็นพิษ ที่ยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ จนรู้ว่าไม่มีเชื้อเหลือติด อยู่ แล้วกล่าวแก่เขาอย่างนี้ว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ลูกศรถูกถอนออกแล้ว,

โทษอันเป็นพิษเรานำออกจนไม่มีเชื้อเหลืออยู่แล้ว ท่านไม่มีอันตรายอีกแล้ว และท่านจะ บริโภค อาหาร ได้ตามสบาย แต่อย่าไป กินอาหารชนิดที่ไม่สบายแก่แผลอันจะทำให้แผล อักเสบ และจงล้างแผลตามเวลา ทายาที่ปากแผลตามเวลาเมื่อท่านล้างแผล ตามเวลา ทายาที่ปากแผล ตามเวลา อย่าให้หนองและเลือด เกรอะกรังปากแผลและท่านอย่าเที่ยว ตากลม ตากแดด เมื่อเที่ยว ตากลมตากแดดก็อย่าให้ ฝุ่นละออง และ ของโสโครกเข้าไปใน ปากแผล. บุรุษผู้เจริญ ! ท่านจงเป็ นผู้ระวังรักษาแผล มีเรื่องแผล เป็นเรื่อง สำคัญเถอะนะ” ดังนี้.

บุรุษนั้นมีความคิดว่า “หมอถอนลูกศรให้เราเสร็จแล้ว โทษอันเป็นพิษหมอก็นำออก จนไม่มีเชื้อ เหลืออยู่ แล้ว เราหมดอันตราย” เขาจึงบริโภคโภชนะที่แสลง เมื่อบริโภคโภชนะที่แสลง แผล ก็กำเริบ และเขาไม่ ชะแผลตาม เวลาไม่ทายาที่ปากแผลตามเวลา เมื่อเขาไม่ชะแผลตามเวลา ไม่ทายาที่ ปากแผลตามเวลา หนองและเลือดก็เกรอะกรังปากแผล และเขาเที่ยวตากลม ตากแดด ปล่อยให้ฝุ่น ละอองของโสโครกเข้า ไปในปากแผล และเขาไม่ระวังรักษาแผล ไม่มีเรื่องแผล เป็นเรื่อง สำคัญ.

เขานำ โทษพิษอันไม่สะอาด ออกไปด้วยการกระทำอันไม่ถูกต้องเหล่านี้ แผลจึงมีเชื้อเหลืออยู่ แผลก็บวมขึ้น เพราะเหตทั้งสองนั้น.

บุรุษนั้นมีแผลบวมแล้ว ก็ถึงซึ่งความตายบ้าง ซึ่งความทุกข์ เจียนตายบ้าง นี้ฉันใด สุนักขัตตะ ! ข้อนี้ก็ ฉันนั้น เหมือนกัน คือข้อที่ภิกษุบางรูป สำคัญตนว่าน้อมไปแล้วในนิพพาน โดยชอบ .... แต่ตาม ประกอบในธรรมไม่เป็นที่สบาย แก่การน้อมไปในนิพพาน โดยชอบ.... ราคะ ก็เสียบแทงจิต ของ เธอ. เธอมีจิตอันราคะเสียบแทงแล้ว ย่อมถึง ความตาย หรือความ ทุกข์เจียน ตาย.

สุนักขัตตะ !ในอริยวินัยนี้ ความตายหมายถึงการบอกคืนสิกขา เวียนไปสู่เพศต่ำ ความทุกข์ เจียนตายหมายถึงการต้อง อาบัติ อันเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง แล.

(ภิกษุในกรณีนี้ มีการศึกษาดี ตั้งความปรารถนาดี แต่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตนเองและธรรมะ คือเข้าใจ ไปว่า ลูกศรคือตัณหา เป็นสิ่งที่ละได้โดยไม่ต้องถอน อวิชชาเป็นสิ่งที่เหวี่ยงทิ้ง ไปได้ โดยไม่ต้องกำจัด ตัดราก และเข้าใจตัวเองว่า น้อมไปแล้วสู่นิพ พาน โดยชอบดังนี้ แต่แล้ว ก็มากระทำผิดในสิ่งที่ไม่เป็น สบายแก่การน้อมไปในนิพพานนั้น ทั้งทางตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ จนราคะ เกิดขึ้นเสียบแทง ถึงแก่ความ ตายในอริยวินัย จึงเรียกว่า เขาล้มลงตาย ตรงหน้าประตู แห่ง พระนิพพานนั่นเอง).


653
ผู้หลุดพ้นได้เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น


ในกาลไหน ๆ ท่านเหล่าใด เห็นภัยในความยึดถืออันเป็นตัวเหตุให้เกิดและให้ตายแล้ว เลิกยึดมั่น ถือมั่น หลุดพ้นไปได้ เพราะอาศัยนิพพานอันเป็นธรรมที่สิ้นไปแห่ง ความเกิด ความตาย เหล่าท่าน ผู้เช่นนั้นย่อม ประสพความสุข ลุพระ นิพพานอันเป็นธรรมเกษม เป็นผู้ดับเย็นได้ ในปัจจุบันนี้เอง ล่วงเวรล่วงภัยทุกอย่าง เสียได้และก้าวล่วงเสียได้โดย ความเป็นทุกข์ทั้งปวง.


653-1
ผู้กำลังโน้มเอียงไปสู่นิพพาน


ภิกษุ ท. ! คงคานที ลุ่มไปทางทิศตะวันออก ลาดไปทางทิศตะวันออกเทไปทางทิศตะวันออก ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญ ฌานสี่อยู่กระทำฌานสี่ให้มากอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้ลุ่มไปทาง นิพพาน ลาดไปทาง นิพพาน เทไปทางนิพพาน ฉันนั้นก็เหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเจริญฌานสี่อยู่ กระทำฌานทั้งสี่ให้มากอยู่ ย่อมเป็นผู้ลุ่มไปทางนิพพาน ลาดไปทาง นิพพาน เทไปทางนิพพาน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้ว จากกามทั้งหลาย สงัด แล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน อันมี วิตกวิจาร มีปีติ และสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใส ใจในภายใน ให้สมาธิเป็น ธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

อนึ่ง เพราะความ จางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อม เสวย ความสุข ด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติ สุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุข เสียได้ และเพราะละทุกข์ เสียได้ เพราะความดับไป แห่งโสมนัส และโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็น ธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ภิกษุเจริญฌานสี่อยู่ กระทำฌานสี่ให้มากอยู่ ย่อมเป็นผู้ลุ่มไปทาง นิพพาน ลาดไปทางนิพพาน เทไป ทางนิพพาน.


654
ผู้ปฏิบัติเพื่อความดับเย็นเป็นนิพพาน


ภิกษุ ท. ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ล่วงไปแล้วก็ดีที่จะมาข้างหน้าก็ดี ล้วนเป็น ของ ไม่เที่ยง จักกล่าวไปใย ถึงรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบันนี้เล่า.

ภิกษุ ท. ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ล่วงไปแล้วก็ดีที่จะมาข้างหน้าก็ดี ล้วนเป็น ของที่ คงอยู่ อย่างนั้นไม่ได้ เป็นทุกข์ จักกล่าวไปใย ถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบันนี้เล่า.

ภิกษุ ท. ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ล่วงไปแล้วก็ดีที่จะมาข้างหน้าก็ดี ล้วนเป็น ของ ที่ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จักกล่าว ไปใย ถึงรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบัน นี้เล่า.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้มีการสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม หมดอาลัยยินดี ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ได้ล่วงไปแล้ว ย่อม ไม่นึกเพลิน เกี่ยวกับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จะมีมา แต่จัก เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อหน่าย เพื่อ คลายออก เพื่อได้ดับ สนิทเสีย ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นปัจจุบันนี้แล.

655
ผู้รู้ความลับของปิ
ยรูป-สาตรูป

ภิกษุ ท. ! ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรดามีในครั้ง อดีตกาล นานไกลมา ได้เห็นอารมณ์ อันเป็น ที่รักที่ชื่นใจ ในโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพ มิใช่ตัวตน เห็นโดยความ เป็นของเสียบแทง เป็นภัยน่ากลัวแล้ว สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ละตัณหาได้แล้ว.

ภิกษุ ท. ! ก็สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรดาที่จะมีใน อนาคต หากได้เห็น อารมณ์อันเป็น ที่รักที่ชื่นใจในโลก โดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เห็นโดยความเป็นของ เสียบแทงเป็นภัยน่ากลัว แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้น ก็จักละตัณหาได้.

ภิกษุ ท. ! แม้สมณะหรือ พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง บรรดาที่มีในปัจจุบันนี้ เห็นอยู่ซึ่งอารมณ์ อันเป็น ที่รักที่ชื่นใจในโลก โดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน เห็นโดย ความเป็นของ เสียบแทง เป็นภัยน่ากลัว แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมละตัณหาได้.

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ละตัณหาได้, สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมละอุปธิ ได้ เมื่อละอุปธิได้ก็ ย่อมละทุกข์ได้ เมื่อละทุกข์ได้ ก็ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสและอุปายาส เราตถาคต กล่าวว่าสมณะ หรือ พราหมณ์เหล่านั้น พ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้แล.


656
ผู้มีจิตอันหาขอบเขตมิได้


ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงใด ที่สัตว์ทั้งหลาย ยังไม่ได้รู้ยิ่งตามเป็ นจริง ซึ่งรสอร่อย ของอุปาทาน ขันธ์ห้าเหล่านี้ โดยความ เป็นรสอร่อย. ยังไม่ได้รู้ยิ่งตามเป็นจริง ซึ่ง โทษ ของอุปาทานขันธ์ห้า โดยความ เป็นโทษ ยังไม่ได้รู้ยิ่งตามเป็นจริง ซึ่ง อุบาย ออกพ้นไปได้ จากอุปาทานขันธ์ห้า โดยความเป็นอุบาย ให้ออกพ้นไป

ภิกษุ ท. ! ตลอดกาลเพียงนั้น สัตว์ทั้งหลาย ก็ ยังไม่ชื่อว่าเป็นผู้ได้แล่นหลุดออกไป. ยังไม่ชื่อว่าเป็น ผู้ปราศจากเครื่องเกี่ยว เกาะหลุดพ้นแล้ว ยังเป็นผู้มีใจอันอยู่ในขอบเขตโลกนี้ ขอบเขตเทวโลก มารโลก พรหมโลก ยังอยู่ในขอบเขตของหมู่สัตว์ หมู่ สมณะ หมู่พราหมณ์ และในขอบเขตของเหล่าเทวดาและ มนุษย์ อยู่นั่นเอง.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล สัตว์ทั้งหลาย มารู้ยิ่งตามเป็นจริงแล้ว ซึ่งรสอร่อย ของอุปาทาน ขันธ์ห้า โดย ความเป็นรสอร่อย ได้รู้ยิ่ง ตามเป็นจริงซึ่ง โทษ ของอุปาทานขันธ์ห้า โดยความ เป็นโทษ ได้รู้ยิ่งตามเป็น จริงซึ่ง อุบายออกพ้นไปได้ จากอุปาทานขันธ์ห้า โดยความเป็น อุบาย ให้ออกพ้นไป

ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้นแหละ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ ได้แล่นหลุดออกไป เป็นผู้ปราศจากเ ครื่อง เกี่ยวเกาะ หลุดพ้นแล้ว เป็นผู้มีใจ อันหาขอบเขตมิได้ เป็นอยู่ในโลกนี้ ในเทวโลก มารโลก พรหมโลก เป็นอยู่ในหมู่ สัตว์หมู่สมณะ หมู่พราหมณ์ ในเหล่าเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.


657
ความรู้สึกในใจของผู้ชนะตัณหาได้


เมื่อเรายังไม่พบญาณ ก็ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่าง ปลูกเรือน คือ ตัณหาผู้สร้างภพ การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป.

นายช่ างผู้ปลูกเรือนเอ๋ย ! ฉันรู้จักแกเสียแล้ว เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป. โครงเรือน ทั้งหมดของ เจ้าเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว. จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพ ที่อะไร ปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป เพราะถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาเสียแล้ว.



658
แบบวิธีในการเข้าถึงความเป็นอริยฯ
ของบุคคล ๗ แบบ

ภิกษุ ท. ! บุคคลเจ็ดจำพวกเหล่านี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. เจ็ดจำพวกอย่างไรเล่า ? เจ็ดจำพวก คือ อุภโตภาควิมุตต์ ปัญญา วิมุตต์ กายสักขีทิฏฐิปปัตต์ สัทธาวิมุตต์ ธัมมานุสารี สัทธานุสารี.

๑.
ผู้อุภโตภาควิมุตต์

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็ อุภโตภาควิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง) เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ถูกต้องวิโมกข์ทั้งหลายอันไม่เกี่ยวกับรูป เพราะก้าวล่วง รูปเสียได้ อันเป็น วิโมกข์ที่สงบรำงับ ด้วยนาม-กาย แล้วแลอยู่ (นี้อย่างหนึ่ง) และ อาสวะ ทั้งหลาย ของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา (นี้อีกอย่างหนึ่ง).

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าว ว่าบุคคลผู้เป็น อุภโตภาค วิมุตต์.

ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุนี้ เราไม่กล่าวว่ายังมีอะไร เหลืออยู่ ที่เธอต้องทำด้วย ความไม่ ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำ เสร็จ แล้ว และ เธอเป็นผู้ ไม่ อาจที่จะเป็นผู้ประมาทได้อีกต่อไป.


659
ผู้อุภโตภาควิมุตต์โดยสมบูรณ์ ๑


(ผู้อุภโตภาควิมุตต์ หมายความว่าผู้มีความคล่องแคล้วในวิโมกข์แปด และหลุดพ้นแล้วด้วย เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้. สำหรับวิโมกข์แปดมีรายละเอียดดังนี้คือ )

อานนท์ ! วิโมกข์แปดเหล่านี้แล มีอยู่. แปดเหล่าไหนเล่า ? แปดคือ

(๑) ผู้มีรูป (ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย(อันเป็นสมาธินิมิตเหล่านั้น) นี้คือ วิโมกข์ที่หนึ่ง.(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย)

(๒) ผู้ไม่มีสัญญาในรูปซึ่งเป็นภายใน (เพื่อเป็นอารมณ์ของสมาธิ) ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย อันเป็นภายนอก (เพื่อเป็นอารมณ์ ของสมาธิ) นี้คือวิโมกข์ที่สอง(ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจาก อิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย)

(๓) เป็นผู้น้อมใจ (ไปในรูปนิมิตแห่งสมาธิ) ด้วยความรู้สึกว่า “งาม”เท่านั้น นี้คือ วิโมกข์ ที่สาม. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจาก อิทธิพลของนิวรณ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการ รบกวน ของความรู้สึกว่า เป็นปฏิกูลในสิ่งที่เป็นปฏิกูล)

(๔) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา ทั้งหลาย เพราะไม่ใส่ใจ นานัตตสัญญาทั้งหลายเป็นผู้เข้าถึง อากาสานัญจา ยตนะ อันมีการทำในใจว่า “อากาศ ไม่มีที่สุด” ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้คือ วิโมกข์ ที่สี่. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของรูปสัญญา ซึ่งทำ ความผูกพันอยู่ในรูปทั้งหลาย อันให้เกิดการกระทบ กระทั่ง กับสิ่งที่เป็นรูปนั่นเอง).

(๕) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจาตนะ โดยประการทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึง วิญญา ณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญ ญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้คือ วิโมกข์ที่ห้า. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจาก อิทธิพลของอากาสานัญจายตนสัญญา ซึ่งทำ ความผูกพันอยู่ในอรูป ประเภทแรก คืออากาสานัญจายตนะ นั่นเอง).

(๖) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการ ทั้งปวงเป็นผู้เข้าถึงอากิญ จัญญา ยตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้แล้วแลอยู่ นี้คือ วิโมกข์ที่หก. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจาก อิทธิพล ของวิญญาณัญจายตนสัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ ในอรูป ประเภทที่สอง คือวิญญา ณัญจายตนะนั่นเอง).

(๗) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึงเนวสัญญา นาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่ นี้คือ วิโมกข์ที่เจ็ด. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพลของอากิญ จัญญายตนสัญญา ซึ่งทำ ความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สาม คือ อากิญจัญญายตนะนั่นเอง).

(๘) เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึง สัญญา เวทยิต นิโรธ แล้วแลอยู่ : นี้คือ วิโมกข์ที่แปด. (ย่อมมีวิโมกข์ คือพ้นจากอิทธิพล ของเนว สัญญานา สัญญายตน สัญญา ซึ่งทำความผูกพันอยู่ในอรูปประเภทที่สี่ คือเนวสัญญา นา สัญญายตนะนั่นเอง).

อานนท์ ! เหล่านี้แล วิโมกข์แปด.
อานนท์ ! ในกาลใดแล ภิกษุ เข้าสู่วิโมกข์แปดเหล่านี้ โดยอนุโลมบ้าง โดยปฏิโลมบ้าง ทั้งโดยอนุโลม และ ปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง ออกบ้าง ได้ตามที่ที่ต้องการ ตามสิ่งที่ต้องการ ตามเวลาที่ต้องการ กระทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. อานนท์ ! ภิกษุนั้นแลชื่อว่า อุภโตภาควิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นแล้ว โดยส่วนสอง).

อานนท์ ! อุภโตภาควิมุตติอื่นที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าอุภโตภาควิมุตตินี้ย่อมไม่มี.


661
ผู้อุภโตภาควิมุตต์
(
ตามคำของพระอานนท์)

อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า อุภโตภาควิมุตต์ อุภโตภาควิมุตต์ดังนี้. อาวุโส !อุภโตภาค-วิมุตต์นี้ พระผู้มี พระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถาม พระอานนท์พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).อาวุโส ! ภิกษุในกรณี้นี้ สงัดแล้วจากกาม สงัด แล้วจาก อกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปี ติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.

อนึ่งอายตนะคือฌานนั้น
(เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด เธอถูกต้อง ธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้น ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่. และเธอรู้ทั่วถึง ธรรม (คือปฐมฌานนั้น) ด้วยปัญญา. อาวุโส ! อุภโตภาควิมุตต์อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมี ประมาณ เท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.

(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจา ยตนะ อากิญ จัญญายตนะ และเนว สัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดย ทำนอง เดียวกัน กับข้อความใน กรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็น อุภโตภาค วิมุตต์ โดยปริยาย. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็น อุภโตภาค วิมุตต์โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้)

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว แลอยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ นั้น ก็สิ้นไปรอบ. อนึ่ง อายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น(เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด เธอถูกต้องธรรมารมณ์ นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้นๆ ด้วยนามกายแล้วแลอยู่.และเธอรู้ทั่วถึงธรรม (คือสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น) ด้วยปัญญา. อาวุโส !อุภโตภาควิมุตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้แลเมื่อ กล่าว โดยนิปปริยาย.


662
๒. ผู้ปัญญาวิมุตต์


ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็ นปัญญาวิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน วิโมกข์ เหล่าใดอันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็น วิโมกข์ ที่สงบรำงับ มีอยู่ เขา หาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนาม กายแล้วแลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะ ทั้งหลายของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า บุคคล ผู้เป็นปัญญาวิมุตต์.
ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็ไม่กล่าวว่า ยังมีอะไร เหลืออยู่ ที่เธอต้องทำด้วยความ ไม่ประมาท. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุว่า กิจที่ต้องทำด้วยความไม่ประมาท เธอทำ เสร็จแล้ว และเธอเป็นผู้ไม่อาจ ที่จะเป็น ผู้ประมาทได้อีกต่อไป.


663
(ผู้ปัญญาวิมุตต์ อีกนัยหนึ่ง๑)


อานนท์ ! วิญญาณฐิติ เจ็ด เหล่านี้ และ อายตนะสอง มีอยู่. วิญญาณฐิติเจ็ดเหล่าไหนเล่า ? วิญญาณ ฐิติเจ็ดคือ

๑. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เทวดา บางพวก และวินิบาตบางพวก นี้คือ วิญญาณ-ฐิติ ประเภทที่หนึ่ง.

๒. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ได้แก่พวกเทพผู้นับ เนื่องอยู่ใน หมู่ พรหมที่บังเกิดโดย ปฐมภูมิ และสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งสี่ นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สอง.

๓. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกันมีอยู่ ได้แก่พวกเทพ อาภัสสระ นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภท ที่สาม.

๔. อานนท์ !สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกันมีสัญญาอย่างเดียวกัน มีอย่ ได้แก่พวกเทพ สุภกิณหะ นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สี่.

๕. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความ ดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ มีการทำในใจว่า ”อากาศไม่มี ที่สุด” ดังนี้มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภท ที่ห้า.

๖. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า“วิญญาณไม่มีที่สุด”ดังนี้ มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หก.

๗. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ มีการ ทำในใจว่า“อะไร ๆ ไม่มี” ดังนี้ มีอยู่ นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่เจ็ด. ส่วน อายตนะอีกสอง นั้น คือ อสัญญีสัตตายตนะ ที่หนึ่ง เนวสัญญา-นาสัญญายตนะ ที่สอง.

อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติเจ็ด และอายตนะสอง (รวมเป็นเก้า) นั้น วิญญาณฐิติประเภท ที่หนึ่ง อันใด มีอย่ คือ สัตว์ทั้ง หลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก.

อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดวิญญาณ ฐิติที่หนึ่งนั้น รู้ชัดการเกิด (สมุทัย)แห่งสิ่งนั้นรู้ชัดความ ดับ (อัตถังคมะ) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดรสอร่อย (อัสสาทะ) แห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษ ต่ำทราม (อาทีนวะ) แห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบาย เป็นเครื่องออก(นิสสรณะ) แห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอที่ผู้นั้น จะเพลิดเพลิน ยิ่งซึ่ง วิญญาณฐิติ ที่หนึ่ง นั้น ? “ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !”

(ในกรณีแห่ง วิญญาณฐิติที่สอง วิญญาณฐิติที่สาม วิญญานฐิติที่สี่ วิญญาณฐิติที่ห้า วิญญาณ ฐิติที่หก วิญญาณฐิติที่เจ็ด และ อสัญญีสัตตายตนะที่หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ อย่าง ดังที่กล่าวแล้ว ข้างต้น ก็ได้มีการอธิบาย ตรัสถาม และทูลตอบ โดยข้อ ความทำนองเดียว กันกับในกรณีแห่งวิญญาณฐิติ ที่หนึ่งนั้น ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อแห่งสภาพธรรมนั้นๆเท่านั้น. ส่วนเนวสัญญา นาสัญญายตนะที่สองนั้น จะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง ดังต่อไปนี้)

อานนท์ ! ในบรรดาวิญญาณฐิติเจ็ด และอายตนะสอง (รวมเป็นเก้า)นั้น เนวสัญญานา สัญญายตนะ อันใด มีอยู่, อานนท์ ! ผู้ใดรู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น รู้ชัดการเกิดแห่ง สิ่งนั้น รู้ชัดการดับแห่ง สิ่งนั้น รู้ชัด รสอร่อยแห่งสิ่งนั้น รู้ชัดโทษอันต่ำทราม แห่งสิ่งนั้น และรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องออกแห่งสิ่งนั้น ดังนี้แล้ว ควรหรือหนอ ที่ผู้นั้นจะเพลิดเพลินยิ่งซึ่ง เนวสัญญา นาสัญญายตนะ นั้น ? “ข้อนั้น เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! เมื่อใดแล ภิกษุรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง ซึ่งการเกิด การดับ รสอร่อย โทษอันตํ่า ทราม และ อุบายเป็นเครื่องออก แห่งวิญญาณฐิติเจ็ดเหล่านี้ และแห่งอายตนะสอง เหล่านี้ ด้วย แล้วเป็นผู้หลุด พ้นเพราะความไม่ยึดมั่น

อานนท์
! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นปัญญา วิมุตต์.


665
ผู้ปัญญาวิมุตต์

(ตามคำของพระอานนท์)

อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ปัญญาวิมุตต์ ปัญญาวิมุตต์ ดังนี้. อาวุโส !ปัญญาวิมุตต์นี้พระผู้มี พระภาค ตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์ พระอานนท์ เป็น ผู้ตอบ).

อาวุโส
! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปี ติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.และเธอรู้ทั่วถึงธรรม (คือปฐมฌานนั้น) ด้วยปัญญา. อาวุโส ! ปัญญาวิมุตต์อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมี ประมาณ ท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.

(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-จายตนะ อากิญ จัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้ โดยทำนอง เดียวกัน กับข้อความ ในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็น ปัญญา วิมุตต์ โดยปริยาย. ส่วน สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็น ปัญญา วิมุตต์โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้)

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญา-ยตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว แลอยู่ อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของ เธอนั้น ก็สิ้นไปรอบ. และเธอรู้ทั่วถึงธรรม (คือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น) ด้วยปัญญา.

อาวุโส
! ปัญญาวิมุตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แลเมื่อกล่าวโดยนิปปริยาย.

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า เราสอนกันอยู่และถือกันอยู่เป็นหลักว่า พวกปัญญาวิมุตต์ไม่อาจ จะเข้าฌาน ได้ แต่จากบาลีข้างบน นี้แสดงให้เห็นว่า พวกปัญญาวิมุตต์สามารถเข้าฌาน ได้แม้ กระทั่ง สัญญาเวทยิต นิโรธ หากแต่ไม่มีการเสวยรสจากธรรมารมณ์แห่ง ฌานนั้น ด้วยนามกาย ซึ่งเป็นการเข้า อนุปุพพวิหาร สมาบัติ เท่านั้น. ข้อนี้จะยุติเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่นักศึกษาควร พิจารณากัน ดูเองเถิด).


666
๓.
ผู้กายสักขี

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นกายสักขี (ผู้มีการเสวยสุขด้วยนามกายเป็นพยาน) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน ถูกต้องวิโมกข์ทั้งหลาย อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าว ล่วง รูป เสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบรำงับ ด้วยนามกาย

เพราะเห็นแล้วด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นกายสักขี. ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุนี้ เรากล่าวว่ายังมีอะไร ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร?เพราะเหตุว่าถ้าไฉน ท่านผู้มีอายุนี้จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ ทั้งหลายก็จะ ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไร ยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ ที่ต้องการของ กุลบุตรผู้ออกบวช จากเรือน ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือน โดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึง แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆที่เธอนั้นต้องทำ ด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.


667
ผู้กายสักขี

(ตามคำของพระอานนท์)

อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า กายสักขี กายสักขี ดังนี้. อาวุโส ! กายสักขีนี้พระผู้มีพระภาค รัสไว้ ด้วย เหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล ?” พระอุทายีถามพระอานนท์พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).

อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปี ติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อนึ่ง อายตนะคือฌานนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรส และ กิจ เป็นต้น) ฉันใด เธอถูกต้องธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจ เป็นต้น) ฉันนั้น ด้วย นามกาย แล้วแลอยู่.

อาวุโส ! กายสักขี อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แลเมื่อกล่าว โดยปริยาย. (ในกรณี แห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-จายตนะ อากิญจัญญาย ตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนอง เดียวกัน กับข้อความในกรณ แห่ง ปฐมฌานทุกประการ และในฐานะเป็นกายสักขี โดย ปริยาย. ส่วน สัญญาเวทยิตนิโรธ ชนิดที่มีการสิ้น อาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นกายสักขี โดย นิปปริยายด้วยข้อความดังต่อไปนี้)

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญา-ยตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว แลอยู่. อนึ่ง เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลาย ของเธอนั้น ก็สิ้นไปรอบ. อนึ่ง อายตนะคือสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรสและ กิจเป็นต้น) ฉันใด เธอถูกต้อง ธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้น ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่.

อาวุโส ! กายสักขี อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แลเมื่อกล่าว โดย นิปปริยาย. (ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า “กายสักขี-มีกายเป็นพยาน” นั้น หมายความ ว่า ได้เสวยรสแห่งฌาน เป็นต้น ด้วยนามกาย คือด้วยใจของตน และคำ ว่า “โดยนิปปริยาย” นั้นหมายถึงมีการสิ้นอาสวะในกรณี นั้น ถ้ายังไม่สิ้นอาสวะ เรียกได้แต่เพียงว่า โดยปริยาย).


668
๔.
ผู้ทิฏฐิปปัตต์

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็ นทิฏฐิปปัตต์ (ผู้บรรลุแล้วดว้ ยความเห็นลงสู่ธรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคลบางคน วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็นวิโมกข์ที่สงบ รำงับ มีอยู่ เขา หาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลาย บางเหล่า ของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. อนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศ แล้ว ก็เป็นธรรม อันเขานั้นเห็นลงแล้ว ประพฤติ ลงแล้ว ด้วยปัญญา.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าบุคคล ผู้เป็น ทิฏฐิปปัตต์.

ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ ประมาท. ข้อนั้นเพราะ เหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่งกัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไร ยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. !เรามองเห็นผลแห่งความไม่ ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.


669
๕. ผู้สัทธาวิมุตต์


ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นสัทธาวิมุตต์ (ผู้หลุดพ้นด้วยสัทธา) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคล บางคน วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับ รูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็น วิโมกข์ ที่สงบรำงับ มีอยู่ เขา หาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้ว แลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลายบางเหล่าของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. อนึ่ง สัทธา ของเขานั้น เป็นสัทธาที่ปลงลงแล้วหมดสิ้นมีมูล รากเกิดแล้ว ตั้งอยู่แล้วอย่างมั่นคง ในตถาคต.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า บุคคลผู้เป็น สัทธาวิมุตต์.

ภิกษุ ท. ! สำหรับภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่ง กัลยาณมิตรจะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่าซึ่งเป็น ประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือนโดย ชอบได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงแล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้ อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.


670
๖. ผู้ธัมมานุสารี


ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็ นธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุคคล บางคน, วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็น วิโมกข์ ที่สงบรำงับ มีอยู่, เขา หาได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้ว แลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะทั้งหลายบางเหล่า ของเขานั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา.

อนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อม ทนต่อการ เพ่งโดยประมาณแห่งปัญญา ของเขา และ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ก็มีแก่เขา คือสัทธิ นทรีย์ วิริยินทรีย์ สติน-ทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

ภิกษุ ท.! นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็นธัมมา-นุสารี.

ภิกษุ ท. !สำหรับ ภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่ายังมีอะไร ที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่งเสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่ง กัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่งอินทรีย์ ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็นประโยชน์ที่ต้องการของ กุลบุตร ผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยเรือนโดยชอบ ได้ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึง แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. !เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้องทำด้วยความไม่ประมาท ดังนี้.


671
๗.
ผู้สัทธานุสารี

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็ นสัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามสัทธา)เป็ นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้บุคคล บางคน, วิโมกข์เหล่าใด อันไม่เกี่ยวกับรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ อันเป็น วิโมกข์ ที่สงบรำงับ มีอยู่,เขาหา ได้ถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้น ด้วยนามกายแล้ว แลอยู่ ไม่ แต่ว่า อาสวะ ทั้งหลายบางเหล่า ของเขา นั้น สิ้นไปรอบแล้ว เพราะเห็นแจ้งด้วยปัญญา. อนึ่ง สัทธา ตามประมาณ (ที่ควรจะมี) ความรักตาม ประมาณ(ที่ควรจะมี) ในตถาคตของเขาก็มี และธรรมเหล่านี้ก็มีแก่เขา คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า บุคคลผู้เป็น สัทธา-นุสารี.

ภิกษุ ท. ! สำหรับ ภิกษุแม้นี้ เราก็กล่าวว่า ยังมีอะไรที่เธอต้องทำด้วยความไม่ประมาท ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะ เหตุว่า ถ้าไฉนท่านผู้มีอายุนี้ จะเสพอยู่ซึ่ง เสนาสนะอันสมควร จะคบอยู่ซึ่ง กัลยาณมิตร จะบ่มอยู่ซึ่ง อินทรีย์ทั้งหลาย ก็จะทำให้แจ้งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรยิ่งกว่า ซึ่งเป็น ประโยชน์ที่ต้องการของ กุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้อง ด้วย เรือน โดยชอบ ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึง แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. !เรามองเห็นผลแห่งความไม่ประมาทข้อนี้ สำหรับภิกษุนี้อยู่ จึงกล่าวว่ายังมีอะไร ๆ ที่เธอนั้นต้อง ทำด้วย ความไม่ประมาท ดังนี้.


672
ผู้อนิมิตตวิหารี


โมคคัลลานะ ! ก็ติสสพรหม มิได้แสดงบุคคลที่เจ็ดอันเป็น อนิมิตต-วิหารี (ผู้อยู่ด้วยวิหาร ธรรมอัน ไม่มี นิมิต) แก่เธอดอกหรือ ?
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาค จะทรงแสดงซึ่งบุคคลที่เจ็ด ผู้เป็นอนิมิตต วิหารี ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”.

โมคคัลลานะ ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าถึงซึ่งเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตเพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนิมิต ทั้งปวง แล้วแลอยู่. เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้จักภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุนี้ เข้าถึงเจโตสมาธิอันไม่มี นิมิต เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้ง หลาย แล้วแลอยู่ เป็นที่เชื่อ ได้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ เมื่อเสพเสนาสนะ ที่สมควร คบกัลยาณมิตร บ่มอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ ก็จะ กระทำ ให้แจ้ง ซึ่งปริโยสานแห่งพรหมจรรย์นั้น อัน ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันเป็น ประโยชน์ ที่ประสงค์ของ กุลบุตรผู้ออกบวชจากเรือน เป็นผู้ไม่มีเรือน โดยชอบ อยู่ ได้ด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐ ธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่” ดังนี้.


673
ผู้มีสันทิฏฐิกธรรม ตามคำของพระอานนท์


อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า สันทิฏฐิกธรรม สันทิฏฐิกธรรมดังนี้อาวุโส ! สันทิฏฐิกธรรมนี้ พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).

อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปี ติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.

อาวุโส ! สันทิฏฐิกธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.

(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-จายตนะ อากิญ จัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้ โดยทำนอง เดียวกันกับข้อความ ในกรณีแห่งปฐมฌานทุกประการ และในฐานะ เป็น สันทิฏฐิกธรรม โดยปริยาย. ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธ ชนิดที่มีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ ในฐานะเป็นสันทิฏฐิก ธรรม โดยนิป-ปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ )

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา-สัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว แลอยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ นั้น ก็สิ้นไปรอบ. อาวุโส !สันทิฏฐิกธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แลเมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.


674
ผู้นิพพาน ตามคำของพระอานนท์
และผู้ปรินิพพาน ตามคำของพระอานนท์


(นิพพาน และ ปรินิพพาน ตามคำของพระอานนท์ มีใจความอย่างเดียวกันกับสันทิฏฐิก-นิพพานข้างต้น ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น. นอกจากนี้ ยังมีการแสดงไว้ ด้วยคำ ว่า เขมํอมตํ อภยํปสฺสทฺธิ นิโรโธ แทนคำ ว่านิพพานข้างบน.


674-1
ผู้มีทิฏฐธรรมนิพพาน ตามคำของพระอานนท์

(สันทิฏฐิกนิพพาน=สันทิฏฐิธรรม=ทิฏฐธรรมนิพพาน=ตทังคนิพพุโต=ตทังคนิพพาน

อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ทิฏฐธรรมนิพพาน ทิฏฐธรรมนิพพานดังนี้. อาวุโส !ทิฏฐธรรม นิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถาม พระอานนท์ พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).

อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปี ติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่อาวุโส ! ทิฏฐธรรมนิพพาน อันพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ ด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.

(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-จายตนะ อากิญ จัญญายตนะ และเนว สัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้ โดยทำนอง เดียวกัน กับข้อความ ในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็น ทิฏฐธรรมนิพพาน โดยปริยาย. ส่วนสัญญาเวทยิต นิโรธซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ใน ฐานะเป็นทิฏฐธรรม นิพพาน โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดัง ต่อไปนี้)

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญ-ญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ นั้น ก็สิ้นไปรอบ อาวุโส ทิฏฐธรรมนิพพาน อันพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย (เมื่อกล่าวโดยสิ้นเชิง)


675
ผู้เขมัปปัตต์
ตามคำของพระอานนท์

อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า เขมัปปัตต์ เขมัปปัตต์ดังนี้. อาวุโส ! เขมัปปัตต์นี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร หนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์ พระอานนท์เป็น ผู้ตอบ).

อาวุโส
! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปี ติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ อาวุโส! เขมัปปัตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้แลเมื่อกล่าว โดยปริยาย.

(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-จายตนะ อากิญ จัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดย ทำนอง เดียวกันกับ ข้อความ ในกรณีแห่งปฐมฌานทุกประการ และในฐานะ เป็นเขมัปปัตต์ โดยปริยาย.ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธชนิด มีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นเขมัปปัตต์ โดยนิปปริยายด้วย ข้อความดังต่อไปนี้)

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา-สัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว แลอยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ นั้น ก็สิ้นไปรอบ.

อาวุโส
!เขมัปปัตต์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าวโดย นิปปริยาย. (นอกจากแสดงไว้โดยชื่อว่า เขมัปปัตต์ นี้แล้ว ยังแสดงไว้โดยชื่อว่า อมตัปปัตต์ อภยัปปัตต์โดยมีข้อ ความทำนองเดียวกันด้วย.- นวก. อํ. ๒๓/๒๗๗/๒๕๙,๒๖๑, คำว่า เขม ก็ดี อมต ก็ดี อภยก็ดี ในกรณี เช่นนี้ ล้วนแต่เล็งถึงนิพพานดว้ ยกันทั้งนั้น. คำว่า ปัตต์ แปลว่า ผู้ถึงแล้ว).


676
ตทังคนิพพุโต -
ผู้ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ

ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลเห็นซึ่งความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความจางคลาย ความดับ ของ รูป นั้นเทียว แล้วเห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามที่เป็นจริง ว่า รูปทั้งปวงทั้งในกาลก่อน และในกาลนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้อยู่โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลายย่อมละไป.

เพราะละเสียได้ซึ่งโสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลายเหล่านั้น เขาย่อมไม่สะดุ้ง หวาดเสียว เมื่อไม่สะดุ้งหวาดเสียว ย่อมอยู่เป็นสุข ผู้อยู่เป็นสุข (ด้วยอาการอย่างนี้) เรากล่าวว่า เป็นภิกษุผู้ ตทังค นิพพุโต (ดับเย็นด้วยองค์นั้น ๆ) ดังนี้. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีถ้อยคำ ที่ตรัสไว้ทำนอง เดียวกัน).


677
ผู้มีตทังคนิพพาน ตามคำของพระอานนท์



อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า ตทังคนิพพาน ตทังคนิพพานดังนี้. อาวุโส!ตทังคนิพพานนี้ พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์ พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).

อาวุโส
! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปี ติและสุข อันเกิดจากวิเวก ล้วแลอยู่. อาวุโส ! ทังคนิพพาน อันพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้แลเมื่อกล่าว โดยปริยาย.

(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจา ยตนะ อากิญ จัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดย ทำนอง เดียวกัน กับข้อความ ในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะ เป็นตทังค นิพพาน โดยปริยาย. ส่วนสัญญา-เวทยิตนิโรธ ซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็น ตทังคนิพพาน โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้)

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแล อยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ นั้น ก็สิ้นไปรอบ. อาวุโส !ตทังคนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วย เหตุมีประมาณเท่านี้ แล เมื่อกล่าวโดยนิปปริยาย.


678
หมดตัวตน ก็หมดเรื่องผูกพัน


ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า เป็นผู้ฉลาดในธรรม ของพระอริย เจ้า ได้ถูกแนะนำในธรรม ของพระอริยเจ้า. ได้เห็นหมู่สัตบุรุษ เป็นผู้ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษได้ถูกแนะ นำในธรรมของสัตบุรุษ

(๑) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตนมีรูปด้วย ไม่ตามเห็นว่า รูป มีอยู่ใน ตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในรูปด้วย

(๒) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นเวทนา โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีเวทนาด้วย ไม่ตาม เห็นว่า เวทนา มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตนมีอยู่ในเวทนาด้วย

(๓) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นสัญญา โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีสัญญาด้วย ไม่ตาม เห็นว่า สัญญา มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในสัญญาด้วย

(๔) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นสังขาร โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตน มีสังขารด้วย ไม่ตาม ห็นว่า สังขาร มีอยู่ในตนด้วย ไม่ตามเห็นว่าตนมีอยู่ในสังขารด้วย

(๕) ท่านย่อม ไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตัวตน ทั้งไม่ตามเห็นว่าตนมีวิญญาณด้วย ไม่ตาม เห็นว่า วิญญาณ มีอยู่ในตน ด้วย ไม่ตามเห็นว่าตน มีอยู่ในวิญญาณด้วย

ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ได้สดับแล้วเช่นนี้นี่แล เราตถาคตย่อมเรียกผู้นั้นว่า ไม่ถูก ผูกพันด้วย เครื่องผูกคือรูป ไม่ถูก ผูกพันด้วยเครื่องผูกคือเวทนา ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูก คือสัญญา ไม่ถูกผูกพัน ด้วยเครื่องผูกคือสังขาร ไม่ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูก คือวิญญาณ ไม่ถูก ผูกพันด้วยเครื่องผูกใด ๆ ทั้งภายใน ภายนอก เป็นผู้มีปกติมองเห็นฝั่งนี้ (คือวัฏฏสงสาร) เป็นผู้มีปกติมองเห็นฝั่ง โน้น (คือนิพพาน) เรา ตถาคตจึงกล่าวว่า สาวกของพระอริยเจ้าผู้นั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์ ดังนี้แล.


679
หมดตัวตน
ก็หมดอหังการ
(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้หน้า ๔๖๘, ๖๐๘)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลมารู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงไม่ยึดถือว่าเราไม่ยึดถือว่า ของเรา อันเป็น อนุสัยคือมานะ ในกาย อันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงภายนอก ? พระเจ้าข้า !”

กัปปะ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่าใด ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ภายใน หรือข้างนอกก็ดี หยาบ หรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี อยู่ห่างไกลหรือ อยู่ใกล้ ก็ดี อริยสาวกได้เห็น สิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงว่า นั้นไม่ใช่ ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา(เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้นั่นแหละ

กัปปะ ! บุคคลต้องรู้อย่างนี้แหละ เห็นอยู่อย่างนี้แหละ จึงไม่ยึดถือว่าเรา ไม่ยึดถือว่าของเรา อันเป็น อนุสัย คือมานะในกายอันมี วิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกอื่นทั้งหมดนั้นแล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุคคลมารู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะเห็นธรรมชาติ ปราศจากความยึด ถือว่าเรา ปราศจากความ ยึดถือว่าของเรา อันเป็นมานะเครื่องถือตัว ในกาย อันมีอวิญญาณนี้ และในนิมิต ทั้งปวงภายนอก รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตใจจึงจะ ก้าวล่วง มานะเสียด้วยดี สงบระงับได้ พ้นวิเศษ ไป ? พระเจ้าข้า !”

กัปปะ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่าใด ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน อันมีอยู่ ภายใน หรือข้างนอกก็ดี หยาบหรือ ละเอียดก็ดีเลวหรือประณีตก็ดี อยู่ห่างไกล หรืออยู่ใกล้ก็ดี อริยสาวกได้เห็น สิ่งทั้งหมดนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงขึ้นว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา) ดังนี้แล้วหลุดพ้นไปเพราะ ไม่ยึดมั่นนั่นแหละ

กัปปะ ! บุคคลต้องรู้อย่างนี้แหละ เห็นอยู่อย่างนี้แหละจิตใจจึงจะเป็นธรรมชาติ ปราศจากความ ยึดถือ ว่าเรา ปราศจากความยึดถือว่าของเราอันเป็นมานะเครื่องถือตัว ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตภายนอกอื่น ทั้งหมดทั้งสิ้นได้ และจิตใจ จะก้าวล่วงมานะเสียได้ด้วยดี สงบระงับได้ พ้นวิเศษไปด้วยดี ดังนี้แล.


680
สัญญาที่เป็นส่วนประกอบแห่งวิชชา


ภิกษุ ท. ! ธรรม อย่างเหล่านี้ เป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา (วิชฺ-ชาภาคิย). หกอย่าง อย่างไรเล่า ? หกอย่างคือ อนิจจสัญญา (สัญญาว่าไม่เที่ยง)อนิจเจทุกขสัญญา (สัญญาว่า ทุกข์ ในสิ่งที่ไม่เที่ยง) ทุกเขอนัตตสัญญา (สัญญาว่ามิใช่ตัวตนจริงในสิ่งแตก สลายได้) ปหานสัญญา (สัญญาในการละ) วิราคสัญญา (สัญญาในความคลายกำหนัด) นิโรธสัญญา (สัญญาในความดับ).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรม ๖ อย่าง เป็นธรรมมีส่วนแห่งวิชชา.


681
บุคคลผู้ถึงซึ่งวิชชา


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า วิชชา-วิชชาดังนี้นั้น เป็นอย่างไร ? และ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่ง วิชชา ? พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! อริยสาวกผู้ได้สดับแลว้ ในธรรมวินัยนี้ มารู้ชัดแจ้งถึง รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, รู้ชัด แจ้งถึง เหตุให้เกิด รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ รู้ชัดแจ้งถึง ความดับไม่เหลือ ของรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ รู้ชัดแจ้งถึง ทาง ดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ ภิกษุ ! อย่างนี้แล เราเรียกว่า วิชชา และบุคคลชื่อว่าถึง วิชชาย่อมมีได้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.


681-1
วิชชาของผู้ถึงซึ่งวิชชา


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า วิชชา-วิชชาดังนี้นั้น เป็นอย่างไรและด้วยเหตุ เพียงเท่าไร บุคคล จึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่ง วิชชา ? พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ในธรรมวินัยนี้ มารู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน มีความก่อขึ้น เป็นธรรมดาว่า เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ดังนี้ รู้ชัดแจ้งตามเป็น จริงซึ่งรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อัน มีความ เสื่อมไป เป็นธรรมดา ว่า เป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา ดังนี้ รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี ทั้งความก่อขึ้น และ เสื่อมไป เป็นธรรมดา ว่า‘เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นและ เสื่อมไป เป็นธรรมดา ดังนี้

ภิกษุ ! อย่างนี้แลเราเรียกว่า วิชชา และบุคคลชื่อว่า เป็นผู้ถึงวิชชา ย่อมมีได้ด้วยเหตุมี ประมาณ เท่านี้แล.


682
ผู้รับผลของการปฏิบัติเกี่ยวกับธาตุสี่


ราหุล ! ปฐวีธาตุ ทั้งที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอก ทั้งสองอย่างนั้นล้วนแต่เป็นเพียง ปฐวีธาตุ เธอพึง เห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วย ปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใชอั่ตตาของเรา (น เมโส อตฺตา)”ดังนี้.

บุคคล เห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว เขาย่อม เบื่อหน่าย ในปฐวี ธาตุ ยังจิตให้คลาย กำหนัดจากปฐวีธาตุได้. (ในกรณีแห่ง อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณี แห่งปฐวีธาตุ).

ราหุล ! เมื่อใด ภิกษุ ไม่ตามเห็นว่าเป็นอัตตา (ตัวตน) ไม่ตามเห็นว่าเป็นอัตตนิยา (ของตน)ในธาตุ ทั้งสี่เหล่านี้.

ราหุล ! ภิกษุนี้ เรากล่าวว่าได้ ตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดแห่ง ทุกข์ เพราะรู้เฉพาะ ซึ่งมานะ โดยชอบแล้ว ดังนี้แล.


683
ผู้ไม่กลืนเบ็ดของมาร


ภิกษุ ท. ! รูป ที่เห็น ด้วยตาก็ดี เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่นที่ดมด้วยจมูกก็ดี รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย ก็ดี และธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย อยู่แห่ง ความใคร่ และเป็น ที่ตั้ง แห่งความ กำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ถ้าภิกษุใดไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำเพ้อถึง ไม่เมาหมกติดอกติดใจอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้น ไซร้ ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่กลืนเบ็ดของมารได้ทำลายเบ็ดหักเบ็ด แหลก ละเอียด แล้ว ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึงความพินาศฉิบหายไม่เป็นผู้ที่มารใจบาป จะทำอะไร ให้ได้ตาม ใจเลย ดังนี้แล.


683-1
ผู้ไม่เข้าไปหาย่อมหลุดพ้น

(คำตรัสในเรื่องนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะแสดงลำดับการละไปจนถึงขณะแห่งการหลุดพ้นของจิต)

ภิกษุ ท. ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหาเป็นผู้หลุดพ้น.
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็ นอารมณ์ มีรูปเป็ นที่ตั้งอาศัย มีนันทิเป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้. เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็น อารมณ์ มีเวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้

ภิกษุ ท. !วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็น อารมณ์ มีสัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้ เป็นวิญญาณที่มีสังขาร เป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มีนันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติ ซึ่งการมาการไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และ ความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้นจากรูป เว้นจาก เวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นสังขาร” ดังนี้นั้น นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณ ธาตุ เป็นสิ่ง ที่ภิกษุละได้แล้ว เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง ที่ตั้งของ วิญญาณก็ไม่มี. วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้นไปเพราะ ไม่ถูกปรุงแต่ง

เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ;เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.


685
ผู้ลวงมัจจุราชให้หลง


ภิกษุ ท. ! ปุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ย่อมพูดว่า ‘สมุทร-สมุทร’ดังนี้. ภิกษุ ท. ! สมุทรเช่นที่ กล่าวนั้น ไม่ใช่ สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า. ภิกษุ ท.!สมุทรเช่นที่กล่าวนั้น เป็นเพียงแอ่งน้ำ ใหญ่ เป็นเพียงห้วงน้ำใหญ่.

ภิกษุ ท. ! รูป ที่เห็นด้วยตา อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไป ตั้งอาศัยอยู่แห่ง ความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ‘สมุทรใน วินัยของพระอริยเจ้า’.

โลกนี้ พร้อมทั้งเทว โลก มารโลก พรหมโลก, หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้ง เทวดา และมนุษย์ โดยมากตกอยู่จมอยู่ในสมุทรนั้น. เป็นสัตว์ ที่มี ความใคร่ มีจิตยุ่งเหมือน กลุ่ม ด้าย เกิดประสานกันสับสน ดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะ และปัพพชะ สัตว์ทั้งหลายใน สมุทรนั้น จึงไม่ ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้.

ภิกษุ ท. ! เสียง ที่ฟังด้วยหู .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. ! กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. ! รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. ! โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. ! ธรรมารมณ์ ที่รู้ด้วยใจ อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ ที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่และเป็นที่ตั้งแห่ง ความ กำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เราเรียกว่า สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า’. โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณ ะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ โดยมาก ตกอยู่จมอยู่ในสมุทร นั้น. เป็นสัตว์ที่มีความใคร่ มีจิตยุ่ง เหมือนกลุ่ม ด้าย เกิดประสานกัน สับสน ดุจรังนก เหมือนพงหญ้ามุญชะ และ ปัพพชะ สัตว์ทั้งหลายในสมุทรนั้น จึงไม่ล่วงพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏฏ์ไปได้.


686
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)


ราคะ
โทสะ และอวิชชา ของท่านผู้ใด จางคลายไปแล้วท่านผู้นั้นชื่อว่า ข้ามสมุทรนี้ได้ แล้ว ซึ่งเป็น แหล่งที่มีสัตว์ร้ายมี ทั้งรากษส มีทั้งคลื่นวังวน ภัยน่ากลัว แสนจะข้ามได้ ยากนัก.

เราตถาคตกล่าวว่าท่านนั้น เป็นผู้ล่วงเสียได้จากเครื่องข้องละขาดจากการต้องตาย ไม่มีอุปธิ กิเลส ท่านนั้น หย่าขาด จากความทุกข์ที่ต้องมาเกิดอีกต่อไป ท่านนั้นมอด ดับไป ไม่กลับอีก ลวงเอาพญามัจจุราชให้หลงได้ ดังนี้แล.


686_1
เพราะความต่างแห่งอินทรีย์
จึงมีความแตกต่างแห่งอริยบุคคล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้ามรรคก็สายนี้ ปฏิปทาก็ทางนี้ ที่เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัม-ภาคิย สังโยชน์ ทั้งห้า ดังนี้แล้ว, ทำไมภิกษุ ผู้ปฏิบัติบางพวก จึงบรรลุเจโตวิมุตติ บางพวกบรรลุ ปัญญาวิมุตติ เล่า พระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! นั่นเป็นเพราะ ความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น (อินทรีย์ห้า คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา).


687
พระอริยบุคคลมีหลายระดับ เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน


ภิกษุ ท. ! อินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ มีอยู่. ห้าประการอย่างไรเล่า ? ห้าประการคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อินทรีย์ห้าประการ.

ภิกษุ ท. ! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์แห่งอินทรีย์ห้าประการเหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น พระอรหันต์.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี
เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ เพราะความต่าง แห่งผล จึงมีความต่างแห่งบุคคล แล.

ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่าผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ผู้กระทำ ได้เพียงบางส่วนก็ทำให้ สำเร็จ ได้บางส่วน. ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่าอินทรีย์ ทั้งหลายห้าย่อมไม่เป็น หมันเลย ดังนี้แล.


688
การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดความรู้แจ้งทางตาขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งตา+รูป+วิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น ย่อมเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกสุขเวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่เพลิด-เพลิน ไม่พร่ำเพ้อถึง ไม่เมาหมกติด อกติดใจ อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอนในสันดานของบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกทุกขเวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่โศกเศร้าไม่ระทมใจ ไม่คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ไม่ถึงความลืมหลง อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน ในสันดานของบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุขกระทบแล้วย่อมรู้ชัดแจ้งตรงตามที่เป็นจริง ซึ่งความ ก่อขึ้น ของเวทนานั้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ของเวทนานั้น ซึ่งรสอร่อยของเวทนานั้น ซึ่งโทษของเวทนานั้น ซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากเวทนานั้น อนุสัยคืออวิชชา ย่อมไม่ ตามนอนในสันดานของบุคคลนั้น.

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ อายตนะภายใน และภายนอกคู่อื่น อันได้ประจวบกัน เกิดวิญญาณ ผัสสะ และ เวทนา เป็น อีกห้าหมวด นั้น ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับหมวดแรกนี้ผิดกัน แต่ชื่อเรียกเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ ละอนุสัยคือราคะ ในสุขเวทนาได้แล้ว บรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะ ในทุกขเวทนา เสียแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่ง ราก ซึ่งอนุสัยคืออวิชชา ในเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข เสียได้แล้ว ท่านละ อวิชชา ได้แล้วทำวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว จักเป็นผู้ทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันนี้โดยแท้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล.

689
กายนครที่ปลอดภัย


ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ทิฏฐธรรม ในกาลใด

ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่ มารอันมีบาปกระทำ อะไรไม่ได้.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ประกอบด้วยสัทธรรม ประการอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระ-เนียดอันมีรากลึก ฝังไว้ดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลนสำหรับคุ้ม ภัยในภายในและป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีสัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุอย่าง นี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น.... ฯลฯ .... เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้จำแนกธรรม” ดังนี้

ภิกษุ ท. !อริยสาวกผู้ มีสัทธาเป็นเสาระ เนียด ย่อมละอกุศล เจริญ กุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่. ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หนึ่ง.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีคูรอบทั้งลึกและกว้าง สำหรับ คุ้มภัย ในภายใน และป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถึงพร้อม ด้วย อกุศลธรรมอันลามก ทั้งหลาย

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีหิริเป็นคูล้อมรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มี โทษ บริหาร ตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการ ที่สอง.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเชิงเทินเดินรอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัย ในภายในและ ป้องกันใน ภายนอก นี้ฉันใด ภิกษุ ท. !อริยสาวกก็มีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อความถึงพร้อมด้วย อกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีโอตตัปปะเป็นเชิงเทินเดินรอบ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบ ด้วย สัทธรรม ประการที่สาม.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ ประหาร ใกล้ตัวและประหาร ไกลตัว สำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกัน ในภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใดงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์อัน บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะพร้อม ทั้งพยัญชนะ ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ.

ภิกษุ ท. !อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญ กรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้ หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการ ที่สี่.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกองกำลังประจำอยู่เป็ นอันมาก คือกองช้าง กองม้า กองรถ กองธนู กองจัดธงประ-จำกอง กองเสนาธิการ กองพลาธิการ กองอุคคโยธี กองราชบุตร กองจู่โจมกองมหานาค กองคนกล้า กองโล้ไม้ กองเกราะโล้หนัง กองทาสกบุตร สำหรับคุ้มภัยในภายใน และป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก มีความเพียรอันปรารภแล้ว เพื่อละอกุศลธรรม ทั้งหลาย เพื่อยังกุศล ธรรม ทั้งหลาย ให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ ในกุศล-ธรรม ทั้งหลาย

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีวิริยะเป็ นพลกาย ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มี โทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบด้วย สัทธรรม ประการที่ห้า.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีนายทวารที่เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา ห้ามเข้าแก่คนที่ไม่รู้จัก ให้เข้าแก่คนที่รู้จักเพื่อคุ้มภัยในภายในและป้องกัน ใน ภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติ เป็นเครื่องรักษาอย่างยิ่ง ระลึกถึง ตามระลึกถึงซึ่งกิจที่กระทำและ คำที่พูดแล้วแม้นานได้

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้ มีสติเป็นนาย ทวาร ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจด อยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่หก.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง สมบูรณ์ ด้วยการก่อ และการฉาบ เพื่อคุ้มภัยใน และป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกเป็นผู้มี ปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องถึงธรรมสัจจะแห่งการ ตั้งขึ้น และการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะเป็น เครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ภิกษุ ท. !อริยสาวกผู้ มีปัญญา เป็นความสมบูรณ์ ด้วยการก่อและการฉาบ ย่อมละอกุศลเจริญกุศล ละกรรม อันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้ หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่าผู้ประกอบ ด้วย สัทธรรมประการที่เจ็ด.

อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้แล.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เป็ นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่

ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่ อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็ นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีหญ้า ไม้และนํ้า สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอัน เกิดจาก วิเวก แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตนเพื่อก้าวลงสู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีข้าวสาลีและข้าวยวะสะสม ไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุกในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะความเข้าไปสงบระงับแห่งวิตกและวิจาร เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็น เครื่องผ่องใส แห่งใจในภายใน นำให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีอปรัณณ-ชาติ คืองา ถั่วเขียว ถั่วราชมาส เป็นต้น สั่งสมไว้เป็นอันมาก เพื่อความยินดีไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันในภายนอก นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะความจางคลาย ไป แห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปป ชัญญะ และย่อม เสวยความสุขด้วยนามกาย อันชนิดที่ พระอริยเจ้า กล่าวสรรเสริญ ผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีเภสัชสั่งสมไว้เป็นอันมาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือเพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก ในภายใน เพื่อป้องกันใน ภายนอก นี้ฉันใด  

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เพื่อความยินดี ไม่สะดุ้งกลัว อยู่เป็นผาสุก แห่งตน เพื่อก้าว ลง สู่ นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

อริยสาวก เป็นผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบากซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบ ในจิต อันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐธรรม เหล่านี้แล.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการเหล่านี้และเป็นผู้มีปกติได้ตาม ปรารถนา ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้งสี่อันประกอบในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในทิฏฐธรรมเหล่านี้ ด้วย ในกาลใด

ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้น อริยสาวกนี้ เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มารอันมีบาป กระทำอะไรไม่ได้.

(กายนี้ ได้ชื่อว่า กายนคร เพราะมีอะไร ๆ ที่ต้องจัดการรักษาป้องกันเหมือนกับนคร. กายนครนี้ มีมารคอยรังควาญอยู่ตลอดเวลา เมื่ออริยสาวกประกอบอยู่ด้วยสัทธรรมทั้งเจ็ด และมีฌานทั้งสี่ เป็นเครื่องอยู่อย่างผาสุกแล้ว มารก็ทำอะไรไม่ได้ จัดเป็นกายนคร ที่ปลอดภัย ด้วยข้อความเป็น อุปมาอุปไมยอย่างไพเราะมาก แห่งพระบาลีนี้).


695
ผู้ไม่มีหนามยอกตำ


ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นอยู่ อย่างผู้ไม่มีหนาม(ยอกตำใจ) เถิด.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นอยู่ อย่างผู้ไม่มีหนามหมดเสี้ยนหนามยอกตำ เถิด.
ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีหนามยอกใจ.
ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีหนาม หมดเสี้ยนหนามยอกตำเสียแล้ว.



695 -1
ผู้อยู่คนเดียว
คือผู้ไม่ข้องติดอยู่ในธรรมทั้งปวง

(พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่ภิกษุชื่อเถระ ผู้มีปกติชอบอยู่คนเดียวจนเป็นที่เล่าลือกัน ในหมู่ภิกษุ ว่า)

ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวอย่างของเธอ ก็มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่ายังมีการอยู่ คนเดียว ที่บริบูรณ์ พิสดาร กว่าชนิดของเธอ เธอจงตั้งใจฟังให้ดี เราจักกล่าว.

ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวชนิดที่บริบูรณ์พิสดารกว่าชนิดของเธอนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนเถระ ! การอยู่คนเดียวในกรณีนี้คือ สิ่งเป็นอดีตก็ละได้แล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ไม่มีทาง จะเกิดขึ้น ส่วน ฉันทราคะ ในอัตตภาพอันได้แล้วทั้งหลาย อันเป นปัจจุบัน ก็นำออกแล้ว หมดสิ้น

ดูก่อนเถระ ! อย่างนี้แล เป็นการอยู่คนเดียวที่บริบูรณ์พิสดารกว่าการอยู่คนเดียวชนิดของเธอ. (เรื่องควรดูประกอบในปฏิจจ.โอ. หน้า ๕๙๒ “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”)


696
(
คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

นรชนผู้มีปัญญาดี
ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงได้ รู้ธรรมทั้งปวงไม่ข้องติดอยู่ในธรรม ทั้งหลายทั้งสิ้น ละอุปธิทั้งปวง หลุดพ้นพิเศษแล้วในธรรมเป็ นที่สิ้นตัณหา นั้นเรา เรียกเขาว่า ผู้มีปกติอยู่คนเดียว.

(ข้อความที่มีปัญหายากแก่การแปลในสูตรนี้ มีอยู่ คือข้อความที่ว่า “ปจฺจุปฺปนฺเนสุจอตฺตภาว ปฏิลาเภสุ ฉนฺทราโค” หลังจากใคร่ครวญ ทบทวนดูแล้ว เห็นว่าต้องแปลว่า “ส่วนฉันทราคะ ในอัตตภาพอันได้แล้ว ทั้งหลาย อันเป็นปัจจุบัน” หมายความว่า ฉันทราคะ มีในอัตตภาพ ซึ่งได้แล้วมากครั้งในปัจจุบัน ไม่ใช่ ฉันทราคะมีในการได้. อัตตภาพในกรณีเช่นนี้ หมายถึงภพ หรือความมีความเป็นในรูปแบบหนึ่ง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ในวิถีแห่งการปรุงแต่งทางจิต ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท อันเกิดขึ้น ทุกขณะ ที่มีตัณหาอันเกิด จากเวทนา ซึ่งวันหนึ่งก็มีได้หลายครั้ง ท่านจึงใช้ รูปศัพท์เป็นพหุพจน์ คือ....ปฏิลาเภสุ และจัดเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของปัจจุบัน ดังนั้น การไม่ข้องติดจึงมีครบชุด คืออดีต-อนาคต-ปัจจุบัน ผู้หลุดพ้นเสียได้ครบถ้วน เรียกว่า ผู้อยู่คนเดียวในระดับที่สมบูรณ์ ลึกซึ้งที่สุด)


697
กายของผู้ที่สิ้นตัณหาแล้วก็ยังตั้งอยู่ชั่วขณะ
(นิโรธมิใช่ความตาย)


ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตนี้ มีตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพถูกตถาคตถอนขึ้น เสียได้แล้ว, ดำรงอยู่. กายนี้ยังดำรง อยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงได้เห็นตถาคตนั้น อยู่เพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย หลังจากการ ควบคุมกันอยู่ได้ของชีวิต เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็น ตถาคตนั้นเลย.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมื่อขั้วพวงมะม่วงขาดแล้ว มะม่วงทั้งหลายเหล่าใด ที่เนื่องขั้วเดียวกัน มะม่วง เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นของตกตามไปด้วยกัน. นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! กายของตถาคตก็ฉันนั้น กายของตถาคตมีตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพอันตถาคต ถอนขึ้น เสียได้แล้ว ดำรงอยู่. กายนี้ดำรงอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังคงเห็น ตถาคต อยู่ชั่วเวลา เพียงนั้น. เพราะการทำลายแห่งกาย หลังจาก การควบคุมกันอยู่ได้ ของชีวิต เทวดาและมนุษย์ทั้ง หลาย จักไม่เห็นตถาคตเลย.


698
พระอรหันต์ตายแล้วสูญหรือ
?

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะไปเกิดในที่ใด ? พระเจ้าข้า !”
วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิด นั้น ไม่ควรเลย.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ถ้าเช่นนั้น จะไม่ไปเกิดหรือ ?”
วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไม่ไปเกิด นั้นก็ไม่ควร.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น บางทีเกิด บางทีไม่เกิด กระนั้นหรือ ?”
วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า บางทีเกิด บางทีไม่เกิด นั้นก็ไม่ควร.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าเช่นนั้น ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้ว จะว่าไปเกิดก็ไม่ใช่ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ กระนั้นหรือ ?”
วัจฉะ ! ที่ใช้คำพูดว่า จะไปเกิดก็ไม่ใช่ ไม่ไปเกิดก็ไม่ใช่ แม้กระนั้นก็ไม่ควร.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อที่พระองค์ตรัสตอบนี้ ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องเสียแล้วทำให้ข้าพเจ้า วนเวียน เสียแล้ว แม้ความเลื่อมใสที่ข้าพเจ้ามีแล้ว ต่อพระองค์ในการตรัสไว้ตอนต้น ๆบัดนี้ ก็ได้ลางเลือนไปเสียแล้ว”.

วัจฉะ ! ที่ท่านไม่รู้เรื่องนั้นก็สมควรแล้ว ที่ท่านเกิดรู้สึกวนเวียนนั้นก็สมควรแล้ว เพราะธรรมนี้ เป็นของ ลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ตาม, ธรรมนี้เป็นของสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัย ที่จะหยั่งถึงได้ด้วยการ ตรึก ธรรมนี้เป็นของละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้.

เรื่องปริยายนี้ ตัวท่านมีความเห็นมาก่อนหน้านี้เป็นอย่างอื่น มีความพอใจที่จะฟังให้เป็น อย่างอื่น มีความ ชอบใจจะให้พยากรณ์เป็นอย่างอื่น เคยปฏิบัติทำความเพียรเพื่อได้ผลเป็น อย่างอื่น ท่านเอง ได้มีครูบา อาจารย์เป็นอย่างอื่น ฉะนั้นท่านจึงรู้ได้ยาก

วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านดู ท่านเห็นควรอย่างใด จงกล่าวแก้อย่างนั้น.

วัจฉะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้ได้หรือ ว่าไฟนี้ลุกโพลง ๆ อยู่ต่อหน้าเรา ?”ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ มันอาศัยอะไรจึงลุกได้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่าอย่างไร ?“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ไฟที่ลุกโพลงๆอยู่ต่อหน้านี้ มัน อาศัยหญ้า หรือไม้ เป็นเชื้อมันจึงลุกอยู่ได้ พระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! หากไฟนั้นดับไปต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือว่า ไฟได้ดับไปต่อหน้าเรา ?
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ พระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! หากมีคนถามท่านว่า ไฟที่ดับไปต่อหน้าท่านนั้น มันไปทางทิศไหนเสีย ทิศตะวันออก หรือ ตะวันตก ทิศเหนือหรือใต้ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ท่านจะกล่าวแก้เขาว่า อย่างไร ?

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนั้นไม่ควรกล่าวอย่างนั้น เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าหรือไม้ จึงลุกขึ้นได้ แต่ถ้าเชื้อนั้นมันสิ้น ไปแล้ว ทั้งไม่มีอะไรอื่นเป็นเชื้ออีก ไฟนั้นก็ควรนับว่าไม่มีเชื้อดับ ไปแล้ว”.

ฉันใดก็ฉันนั้นนั่นแล วัจฉะเอย ! เมื่อไปบัญญัติอะไรขึ้นมาให้เป็นสัตว์ (ตถาคต) โดยถือเอา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กลุ่มใดขึ้นมา มันก็ได้ แต่ความยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สำหรับกลุ่มนี้ ตถาคตเองละได้ขาดแล้ว ถอนขึ้นได้จน ถึงรากเง่าของมันแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วนเสียแล้ว ถึงความยกเลิกไม่มีอีก ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป แล้ว.

วัจฉะเอย !ตถาคตอยู่นอกเหนือการนับว่าเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเสียแล้ว มันเป็นเรื่องลึกซึ้งที่ใครๆ ไม่พึงประมาณได้ หยั่งถึงได้ยากเหมือนดั่งห้วง มหาสมุทร ฉะนั้น.

วัจฉะเอย ! ข้อนี้จึง ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่า บางทีก็เกิด บางทีก็ไม่เกิด และไม่ควร จะกล่าวว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ดังนี้แล.

ประมาณเครื่องกำหนด (คือเกณฑ์ที่ใช้วัดสอบทุกชนิด) ไม่มีทางที่จะเอามาใช้แก่ บุคคลผู้ถึง ซึ่งความดับ แห่งการยึดถือตัวตน

ท่านผู้เช่นนั้น เป็นคนที่ไม่มีเหตุหรือคุณลักษณะอะไรๆ ที่ใครๆ จะกล่าวว่าท่านเป็ นอะไร ได้อีกต่อไป. เมื่อสิ่งทั้งปวงถูกเพิกถอน ความยึดถือเสียแล้ว วาทบถ คือ คลองแห่งถ้อยคำ สำหรับเรียกสิ่งนั้นทั้งหมด ก็พลอยถูกเพิกถอน คือไร้ความหมายไปด้วยทั้งสิ้น.

700
หลักการทดสอบตัวเองว่าเป็นอรหันต์หรือไม่


ภิกษุ ท. ! หลักเกณฑ์นั้นมีอยู่ ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยแล้วไม่ต้อง อาศัยความเชื่อ ความ ชอบใจ การฟังตาม กันมา การตริตรึกไปตามอาการการเห็นว่า มันเข้ากันได้กับทิฏฐิ ของตนเลย ก็อาจพยากรณ์การบรรลุอรหัตตผลของตนได้ โดยรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! หลักเกณฑ์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว รู้ชัดราคะโทสะโมหะซึ่งเกิดมีอยู่ในภายใน ว่าเกิดมีอยู่ ในภายในรู้ชัดราคะ โทสะโมหะอันไม่เกิดมีอยู่ในภายใน ว่าไม่เกิดมีอยู่ใน ภายใน.

ภิกษุ ท. !เมื่อเธอรู้ชัดอยู่อย่างนี้แล้ว ยังจำเป็นอยู่อีกหรือ ที่จะต้องรู้ธรรมทั้งหลาย ด้วยอาศัย ความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม ๆ กันมา การตริตรึกไปตามอาการการ เห็นว่า มันเข้ากันได้กับ ทิฏฐิของตน ? ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. !ธรรมทั้งหลายเป็นสิ่งที่ต้องเห็นด้วย ปัญญา แล้วจึงรู้ มิใช่หรือ ?
ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! นี่แหละ หลักเกณฑ์ ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยแล้ว ไม่ต้องอาศัยความเชื่อ ความชอบใจ การฟังตาม ๆ กันมา การตริตรึก ไปตามอาการการเห็นว่ามันเข้ากันได้กับทิฏฐิของตนเลย ก็อาจพยากรณ์การบรรลุ อรหัตตผลของตนได้ โดยรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่น ที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

(ในกรณีแห่งการ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วย จมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย ผิวกาย และ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัส ต่อไปอีก โดย นัยอย่างเดียวกันกับในกรณ ีแห่งการ เห็นรูปด้วยตา ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).


702
คำถามที่ใช้ทดสอบความเป็นอรหันต์
(มีหกหมวด)


ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ มีภิกษุพยากรณ์อรหัตตผลว่า “ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก’ ดังนี้.” ภิกษุ ท. ! พวกเธอไม่พึงรับรองไม่พึงคัดค้านคำกล่าว ของภิกษุนั้น.


701-

(หมวด ๑ : ผัสสะสี่)
(คำถามที่ใช้ทดสอบความเป็นอรหันต์
)

ครั้นพวกเธอไม่ยอมรับไม่ได้คัดค้านแล้ว พึงถามปัญหาว่า

“อาวุโส !โวหารสี่ประการเหล่านี้มีอยู่ อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้เห็นผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะตรัส ไว้แล้ว โดยชอบ คือ

ความมีปกติกล่าวว่าข้าพเจ้า เห็นแล้ว ในสิ่งที่ได้เห็น ๑
ความมีปกติกล่าวว่าข้าพเจ้า
ฟังแล้ว ในสิ่งที่ได้ฟัง ๑
ความมีปกติกล่าวว่าข้าพเจ้า
รู้สึกแล้ว ในสิ่งที่ได้รู้สึก ๑
ความมีปกติกล่าวว่าข้าพเจ้า
รู้แจ้งแล้ว ในสิ่งที่ได้รู้แจ้ง ๑.

อาวุโส ! ก็ท่านรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตของท่าน จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ ไม่ยึดถืด ในโวหารทั้งสี่ประการนั้น? ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุนั้นเป็น ขีณาสพ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลง ได้แล้ว มีประโยชน์ ตนอันตามลุถึงแล้วมีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้น แล้วเพราะรู้ โดยชอบ จริง ธรรมที่ภิกษุนั้นสมควรพยากรณ์ ย่อมมี อย่างนี้ว่า

“อาวุโส ! ในสิ่งที่เห็นแล้ว นั้น ข้าพเจ้าไม่เข้าหา ไม่ถอยหนี ไม่อาศัย ไม่ผูกพัน แต่ข้าพเจ้า พ้น จากอำนาจ แห่งมันปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัด อยู่ด้วย จิตที่ข้าพเจ้า กระทำแล้วให้เป็น จิต ปราศจากเขตแดนอยู่.

อาวุโส! ในสิ่ง ที่ฟังแล้ว ก็ดี ในสิ่งที่รู้สึกแล้ว ก็ดี ในสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว ก็ดี นั้น ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าหา ไม่ถอยหนี ไม่อาศัย ไม่ผูกพัน แต่ข้าพเจ้าพ้นจากอำนาจ แห่งมัน ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัด อยู่ด้วยจิตที่ข้าพเจ้า กระทำ-แล้ว ให้เป็นจิตปราศ จากเขตแดนอยู่.

อาวุโส ! เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตของข้าพเจ้าจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในโวหาร ทั้งสี่เหล่านี้” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงยินดีอนุโมทนาในคำกล่าว ของภิกษุนั้นว่า สาธุ ดังนี้.


703
(หมวด ๒ : อุปาทานขันธ์ ๕)
(คำถามที่ใช้ทดสอบความเป็นอรหันต์ )

ครั้นพวกเธอยินดีอนุโมทนาดังนั้นแล้ว พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า อาวุโส! อุปาทานขันธ์ห้า เหล่านี้มีอยู่ อันพระผู้มีพระ ภาคผู้รู้ผู้เห็นผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ตรัสไว้แล้วโดยชอบคือ

รูปูปาทานขันธ์ ๑
เวทนูปาทานขันธ์ ๑
สัญญูปาทานขันธ์ ๑
สังขารูปาทานขันธ์ ๑
วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑.


ก็ท่านผู้มีอายุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตของท่านจึงหลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลาย เพราะ ไม่ยึดถือ ในปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้น ? ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุนั้นเป็นขีณาสพ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลง ได้แล้ว มีประโยชน์ตนอัน ตามลุถึงแล้วมีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จริง ธรรมที่ภิกษุนั้นสมควรพยากรณ์ ย่อมมีอย่างนี้ว่า

อาวุโส ! ข้าพเจ้ารู้แจ้งว่า รูปเป็นสิ่งที่ไร้กำลัง ไม่น่ากำหนัด ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ เบาใจดังนี้ แล้ว ข้าพเจ้ารู้ชัดว่าจิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นไป เพราะความ จางคลาย เพราะความดับ เพราะความสละทิ้งเพราะ ความสลัดคืน ซึ่งความเคยชิน (อนุสัย)แห่งการตั้งทับ และ การฝังตัวเข้าไปแห่งจิต เพราะความยึดมั่น ด้วยอุปาทาน ในรูปเหล่านั้น

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีข้อความโต้ตอบอย่าง เดียวกัน กับในกรณี แห่ง รูปนี้ จนกระทั่ง ถึงคำว่า .... จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้วเพราะ .... ความสลัดคืน ซึ่งความ เคยชิน (อนุสัย) แห่งการตั้งทับและการ ฝังตัวเข้าไป แห่งจิต เพราะความยึดมั่น ด้วยอุปาทาน ในรูป เหล่านั้น’)


อาวุโส ! เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้จิตของข้าพเจ้าจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย เพราะ ไม่ยึดมั่นในปัญจุปาทานขันธ์เหล่านี้”.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงยินดีอนุโมทนาในคำกล่าวของภิกษุนั้นว่า สาธุ .


704
(หมวด ๓ : ธาตุหก)
(คำถามที่ใช้ทดสอบความเป็นอรหันต์ )

ครั้นพวกเธอยินดีอนุโมทนาดังนั้นแล้ว พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า“อาวุโส ! ธาตุหก อย่างเหล่านี้มีอยู่ อันพระผู้มีพระภาค ผู้รู้ผู้เห็นผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะตรัสไว้แล้ว โดยชอบ

คือ ปฐวีธาตุ ๑
อาโปธาตุ ๑
เตโชธาตุ ๑
วาโยธาตุ ๑
อากาสธาตุ ๑
วิญญาณธาตุ ๑.


ก็ท่านผู้มีอายุรู้อยู่อย่างไรเห็นอยู่อย่างไร จิตของท่านจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึด มั่นในธาตุทั้งหกอย่างเหล่านี้
?” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุนั้นเป็นขีณาสพ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงได้ แล้ว มีประโยชน์ตน อันตามลุถึงแล้วมีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ โดยชอบ จริง ธรรม ที่ภิกษุนั้นสมควรพยากรณ์ ย่อมมีอย่างนี้ว่า

อาวุโส ! ข้าพเจ้าเข้าถึงปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา และไม่เข้าถึงธรรมอันอาศัย ปฐวีธาตุ ว่า เป็น อัตตา แล้วและ ข้าพเจ้า รู้ชัดว่า จิตของข้าพเจ้า หลุดพ้น แล้วเพราะ ความสิ้น เพราะความ จางคลาย เพราะความดับ เพราะความสละทิ้ง เพราะ ความ สลัดคืน ซึ่งความเคยชิน (อนุสัย) แห่งการตั้งทับและการฝังตัวเข้าไป แห่งจิตเพราะ ความ ยึดมั่นด้วยอุปาทานอันอาศัยปฐวีธาตุ เหล่านั้น

(ในกรณีแห่ง อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุอากาสธาตุ และวิญญาณธาตุ ก็มีข้อความ โต้ตอบ อย่าง เดียวกันกับในกรณีแห่งปฐวีธาตุนี้ จนกระทั่งถึงคำว่า ....จิตของข้าพเจ้า หลุดพ้น แล้วเพราะ .... ความสลัดคืน ซึ่งความเคยชิน(อนุสัย)แห่งการตั้งทับ และการ ฝังตัวเข้าไป แห่งจิต เพราะความยึดมั่นด้วยอุปาทาน อันอาศัยปฐวีธาตุเหล่านั้น)

อาวุโส ! เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตของข้าพเจ้าจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ ไม่ยึดมั่นในธาตุทั้ง หกอย่างเหล่านี้”.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงยินดีอนุโมทนาในคำกล่าวของภิกษุนั้นว่า สาธุ .


705
(
หมวด ๔-๕ : อายตนะใน - นอก)
(คำถามที่ใช้ทดสอบความเป็นอรหันต์ )

ครั้นพวกเธอยินดีอนุโมทนาดังนั้นแล้ว พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า“อาวุโส ! อายตนะภายใน และ ภายนอก อย่างละหกเหล่านี้ มีอยู่ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ผู้เห็นผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ ตรัสไว้ แล้วโดยชอบ คือ

จักษุ และ รูป ๑
โสตะ และ เสียง ๑
ฆานะ และ กลิ่น ๑
ชิวหา และ รส ๑
กาย และ โผฏฐัพพะ ๑
มโน และ ธรรมารมณ์ ๑.


ก็ท่านผู้มีอายุ รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จิตของท่านจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก อย่างละหก เหล่านี้ ? ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุนั้นเป็นขีณาสพ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลง ได้แล้ว มีประโยชน์ตน อันตามลุถึงแล้วมีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ โดยชอบ จริง ธรรมที่ภิกษุนั้นสมควรพยากรณ์ ย่อมมีอย่างนี้ว่า “

อาวุโส ! ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ฉันทะราคะ นันทิ ตัณหา ความเคยชิน (อนุสัย) แห่งการ ตั้งทับ และการ ฝังตัว เข้าไปแห่งจิต เพราะความยึดมั่นด้วยอุปาทาน ใดๆ ใน จักษุ ใน รูป ใน จักขุวิญญาณ ในธรรม ท. อันรู้ได้ ด้วยจักขุวิญญาณ มีอยู่ เพราะความสิ้นไป เพราะ ความจางคลาย ความดับ ความละทิ้ง ความส ลัดคืน ซึ่งฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหาความ เคยชิน (อนุสัย) แห่งการตั้งทับและ การฝังตัวเข้าไป แห่งจิต เพราะ ความยึดมั่นด้วย อุปาทาน นั้น ๆ แล้ว จิตของข้าพเจ้าก็หลุด พ้นแล้ว ดังนี้.

(ในกรณีแห่งโสตะและเสียง ฆานะและกลิ่น ชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและ ธรรมารมณ์ก็มีข้อ ความโต้ตอบอย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งจักษุและโสตะนี้ จนกระทั่งถึง คำว่า...จิตของข้าพเจ้าก็หลุดพ้น แล้ว ดังนี้.).

อาวุโส ! เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้จิตของข้าพเจ้าจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ ยึดมั่น ในอายตนะทั้งหลายทั้งภายใน และภายนอก อย่างละหกเหล่านี้.”

ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงยินดี อนุโมทนา ในคำกล่าวของภิกษุนั้นว่า สาธุ .


706
(หมวด ๖ : การถอนมานะ (มานานุสัย)

(คำถามที่ใช้ทดสอบความเป็นอรหันต์ )

ครั้นพวกเธอยินดีอนุโมทนาดังนั้นแล้ว พึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า “อาวุโส! เมื่อท่านรู้อยู่ อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร ความเคย ชินแห่งการถือตัว ว่าเป็ นเรา ว่าเป็นของเรา(อหงฺ การมมงฺการ มานานุสย) ในกายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้ และใน นิมิตทั้งหลาย ทั้งปวง ในภายนอก จึงจะถูกถอนขึ้นด้วยดี ?” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุนั้นเป็นขีณาสพ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลง ได้แล้ว มีประโยชน์ตน อันตามลุถึงแล้วมีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ โดยชอบ จริง ธรรมที่ภิกษุนั้นสมควรพยากรณ์ ย่อมมีอย่างนี้ว่า

“อาวุโส ! ในกาลก่อน เมื่อข้าพเจ้าครองเรือนอยู่ ยังเป็นผู้ไม่รู้ไม่เห็นอะไร ครั้นพระตถาคตหรือ สาวก ของตถาคต แสดงธรรม แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว กลับได้สัทธาใน พระตถาคต แล้ว พิจารณาเห็นอยู่ว่า ‘ชีวิตฆราวาสเป็นของคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี การบรรพชาเป็น โอกาสโล่ง ไม่เป็นการง่ายเลยที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดย ส่วนเดียวเหมือนสังข์ ที่เขาขัดดีแล้วได้ ถ้ากระไรเราปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะแล้ บวชจากเรือนถึงความเป็น ผู้ ไม่มีเรือนเถิด’ ดังนี้.

ครั้นสมัยอื่นอีก ข้าพจ้า ละกองโภคะใหญ่น้อย ละวงศ์ญาติใหญ่น้อย ปลงผมและหนวดนุ่งห่ม ผ้ากาสายะ บวชจากเรือน ถึงความ เป็นผู้ไม่มีเรือนแล้ว.“ข้าพเจ้านั้น ครั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสิกขา และ สาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายแล้ว

ข้าพเจ้า ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของ ที่เจ้า ของให้ หวังอยู่แต่ใน ของที่เจ้าของเขาให้ เป็นคนสะอาดไม่เป็นคนขโมยแล้ว

ข้าพเจ้า ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจาก การเสพเมถุนอันเป็นของสำหรับชาวบ้านแล้ว

ข้าพเจ้า ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง รักษาคำสัตย์ มั่นคงในคำพูด ควรเชื่อได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลกแล้ว ข้าพเจ้า ละการกล่าวคำส่อเสียด เว้นขาดการ ปิสุณาวาทได้ฟังจาก ฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ฟังจากฝ่าย โน้นแล้ว ไม่เก็บมาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น แต่จะสมานชนที่แตกกันแล้วให้กลับพร้อม เพรียงกัน อุดหนุนชนที่พร้อมเพรียงกันอยู่ ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว

ข้าพเจ้า ละการกล่าวคำหยาบ เว้นขาดจากผรุสวาท กล่าวแต่วาจาที่ปราศจากโทษ เสนาะ โสต ให้เกิด ความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพ ที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่ใคร่ที่พอใจของ มหาชน แล้ว

ข้าพเจ้า ละคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลา สมควรกล่าว แต่คำจริง เป็นประโยชน์ เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นวาจามีที่ตั้ง มีหลักฐานมีที่อ้างอิง มีเวลาจบ เต็มไปด้วย ประโยชน์ สมควรแก่เวลาแล้ว

ข้าพเจ้าเว้นขาด จาก การล้างผลาญ พืชคาม และภูตคามแล้ว เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่ง เพียง หนเดียว เว้นจาก การ ฉันในราตรีและวิกาล  

(เรื่องควรดูประกอบในขุม.โอ. หน้า๑๓๗ จะระบุว่าวิกาลคือนอกกาลหรือคือกลางวัน ซึ่งจะสอด คล้อง กับคำตรัสนี้)

เป็นผู้เว้นขาดจาก การรำการขับ การร้อง การประโคม และดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกแก่กุศล
เป็นผู้เว้นขาดจาก การประดับ ประดา คือทัดทรงตบแต่งด้วยมาลาและของหอมเครื่องลูบทา
เป็นผู้เว้นขาดจากการ การนอน บนที่นอนสูงใหญ่
เป็นผู้เว้นขาดจาก การรับเงินและทอง
เว้นขาดจาก การรับข้าวเปลือก
เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ การรับหญิง และเด็กหญิง การรับทาสีและทาส การรับแพะแกะ ไก่ สุกร ช้าง ม้า โค ลา
เว้นขาดจาก การรับที่นา ที่สวน
เว้นขาดจาก การรับใช้ เป็นทูตไปในที่ต่างๆ (ให้คฤหัสถ์)
เว้นขาดจาก การซื้อ การขายการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การลวงด้วยของปลอม การฉ้อด้วยเครื่อง นับ (เครื่องตวงและเครื่องวัด) เว้นขาดจาก การโกงด้วยการรับสินบน และล่อลวง การตัด การฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้น การกรรโชก แล้ว.“

ข้าพเจ้า ได้เป็ นผู้สันโดษด้วยจีวร เป็นเครื่องบริหารกาย และ ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่อง บริหารท้อง จะไปในที่ใด ๆ ย่อมถือเอาบริขารไปได้หมดเหมือนนกมีปีก จะบินไปในที่ใด ๆ ย่อมมีภาระคือปีกของตน เท่านั้นบินไป ฉันใดก็ฉันนั้น แล้ว. “ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยกองศีล อันเป็น อริยะเช่นนี้แล้ว จึงรู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งอนวัชชสุขใน ภายในแล้ว.

ข้าพเจ้า เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต (คือรวบถือทั้งหมดว่างามหรือไม่งาม แล้ว แต่กรณี) ไม่ถือ เอาโดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือ เอาแต่ บางส่วนว่าส่วนใดงามหรือ ไม่งาม แล้ว แต่กรณี) บาปอกุศลกล่าว คืออภิชฌาและโทมนัส พึงไหลไปตามผู้ไม่สำรวม อินทรีย์ใด เป็นเหตุ ข้าพเจ้าปฏิบัติปิดกั้นอินทรีย์นั้นไว้ รักษาถึงการสำรวมอินทรีย์คือตานั้น แล้ว.

(ในกรณีแห่งการฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย ผิวกาย และรู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่งการเห็นรูป ด้วยตาข้างบนนี้).“

ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว จึงรู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่ง อัพ๎ยาเสก สุข.

ข้าพเจ้า รู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้าการถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวดู การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ การถ่ายปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูดการนิ่ง แล้ว.

“ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยกองศีลอันเป็นอริยะเช่นนี้ด้วย ประกอบด้วยอินทรียสังวร อันเป็นอริยะ เช่นนี้ด้วย ประกอบด้วย สติสัมป ชัญญะอันเป็นอริยะเช่นนี้ด้วย แล้ว ได้ เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขาซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า

ละอภิชฌา ในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา
ละพยาบาท
อันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท
ละถีนมิทธะ
มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจมีจิตปราศจาก ถีนมิทธะ
มีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัว คอยชำระจิตจากถีนะมิทธะ
ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน คอยชำระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วง วิจิกิจฉา เสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำระจิตจาก วิจิกิจฉา แล้ว.

“ข้าพเจ้านั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลัง เหล่านี้ ได้แล้ว ก็สงัดจากกาม และอกุศล ธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร
ปีติและสุขอัน เกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุ ฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสใน ภายใน เป็นที่เกิดสมาธิ แห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะความ จางคลาย ไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุ ฌานที่ ๓ อันเป็นฌาน ที่พระ อริยเจ้ากล่าว ว่า ‘ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข’ ดังนี้ แล้วแลอยู่ และเพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับ หาย ไปแห่งโสมนัสและ โทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุ ฌานที่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่ แล้ว.

“ข้าพเจ้านั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควร แก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ แล้ว :

ข้าพเจ้า ได้รู้ชัดแล้วตามที่เป็นจริงว่า ‘นี้ ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิด ทุกข์ นี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ นี้ หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์’ ได้รู้ชัดแล้วตามเป็นจริงว่า ‘เหล่านี้ อาสวะ นี้ เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่ง อาสวะ’ ดังนี้. เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่อย่าง นี้เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ แม้จาก ภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ. เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว.

ข้าพเจ้า ได้รู้ชัดแล้วว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควร ทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก' ดังนี้.

อาวุโส ! เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ ความเคยชินแห่งการถือตัวว่าเป็นเราว่าเป็น ของเรา (อหงฺการมมงฺการมานานุสย) ในกายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหลาย ทั้งปวงในภายนอก จึงถูกถอนขึ้นด้วยดี” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอพึงยินดีอนุโมทนาในคำกล่าวของภิกษุนั้นว่า สาธุ.

ครั้นพวกเธอยินดีอนุโมทนาว่า สาธุ ดังนี้แล้ว พึงกล่าว แก่ภิกษุ นั้นอย่างนี้ว่า “อาวุโส ! เป็นลาภของพวกเราหนอ ! อาวุโส ! พวกเราได้ดี แล้วหนอ ! ที่พวกเราได้พบเห็น สพรหมจารี เช่นกับท่าน” ดังนี้.