|
นิทเทส ๓ ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์
(มี ๑๘ เรื่อง)
หน้า 254 อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ
หลักที่ควรรู้เกี่ยวกับทุกข์
ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวว่า “พึงรู้จักทุกข์, พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ พึงรู้จักความเป็น ต่างกัน ของทุกข พึงรู้จักผลของทุกข์ พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์ และพึงรู้จักทาง ดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง ความเกิด เป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ เป็นทุกข์ ความตาย เป็นทุกข์ ความโศกความรํ่าไรรํ่าพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความปรารถนาอย่างใดแล้ว ไม่ได้อย่างนั้น เป็นทุกข์ กล่าวโดยสรุปแล้วปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์.
ภิกษุ ท. ! ความเป็นต่างกันของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ทุกข์ที่มีประมาณยิ่ง มีอยู่ที่มีประมาณเล็กน้อย มีอยู่
ที่คลายช้า มีอยู่ และที่คลายเร็ว มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของทุกข์.
ภิกษุ ท. ! ผลของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว
มีจิตอันความทุกข์ รวบรัดแล้ว ย่อมโศกเศร้า ย่อมระทมใจ
คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล
หรือว่า ถูกความทุกข์ชนิดใดครอบงำแล้ว
มีจิตอันความทุกข์รวบรัดแล้ว ย่อมถึงการแสวงหาที่พึ่งภายนอก
ว่า “ใครหนอย่อมรู้วิธี เพื่อความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ สักวิธีหนึ่ง หรือสองวิธี” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ความทุกข์มีความหลงใหลเป็นผล หรือมิฉะนั้นก็มีการแสวงหา
ที่พึ่งภายนอกเป็นผล.
ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า ผลของทุกข์.
ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับไม่เหลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของตัณหา.
ภิกษุ ท. ! อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
การพูดจาชอบการทำการงานชอบ
การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพากเพียรชอบ
ความระลึกชอบ
ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุ ท. ! คำใด ที่เรากล่าวว่า
“พึงรู้จักทุกข์
พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของทุกข์
พึงรู้จักความเป็นต่างกันของทุกข์
พึงรู้จักผลของทุกข์
พึงรู้จักความดับไม่เหลือของทุกข์
และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้นั้น
เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้ แล.
256
ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกขอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า.
อุปาทานขันธ์ห้า อย่างไรเล่า ?
อุปาทานขันธ์ห้า คือ
รูปูปาทานขันธ์
เวทนูปาทานขันธ์
สัญญูปาทานขันธ์
สังขารูปาทานขันธ์
วิญญาญูปาทานขันธ์.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.
256-1
ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์
ภิกษุ ท. ! ทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์นั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นทุกข์.
อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่าไหนเล่า ? ห้าคือ
อุปาทานขันธ์คือ รูป
อุปาทานขันธ์คือ เวทนา
อุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือ สังขาร
และอุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ .
ภิกษุ ท. ! นี้แลเรียกว่า ทุกข์.
256-2
ทรงแสดงลักษณะความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญคำว่า ทุกข์ๆ ดังนี้เป็นคำที่เขากล่าวกันอยู่ทุกข์นั้นเป็นอย่างไรพระเจ้าข้า?
ราธะ ! รูป แล เป็นทุกข์ เวทนา เป็นทุกข์ สัญญา เป็นทุกข์ สังขาร ท. เป็นทุกข์ วิญญาณ เป็นทุกข์.
ราธะ ! อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปแม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร ท. แม้ในวิญญาณ. ....ได้ตรัสเรียกสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ ว่า ทุกขธรรม คือ มีทุกข์เป็นธรรมดา)
257
ทรงแสดงลักษณะแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญคำว่า‘ทุกข์ๆ ดังนี้เป็นคำที่เขากล่าวกันอยู่. ทุกข์หรือการบัญญัติว่า ทุกข์พึงมีได้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรพระเจ้าข้า ?
สมิทธิ ! จักษุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด, ทุกข์ หรือการบัญญัติว่าทุกข์ ย่อมมีอยู่ในที่นั้น.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความมีลักษณะอย่างเดียวกันกับกรณีแห่งจักษุนี้).
257-1
ความเป็นทุกข์สามลักษณะ
ภิกษุ ท. ! ความเป็นทุกข์ มีสามลักษณะเหล่านี้. สามลักษณะเหล่าไหนเล่า ? สามลักษณะคือ
๑. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะทนได้ยาก
๒. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะเป็นของปรุงแต่ง
และปรุงแต่งสิ่งอื่นพร้อมกันไปในตัว
๓. ความเป็นทุกข์ เพราะมีลักษณะแห่งความแปรปรวนเป็นไปต่าง ๆ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ความเป็นทุกข์สามลักษณะ.
258
ความทุกข์ของเทวดาและมนุษย์ตามธรรมชาติ
ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในรูป บันเทิงแล้วในรูป ย่อม อยู่เป็นทุกข์ เพราะความแปรปรวนจางคลายดับไปแห่งรูป. (ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และ ธรรมมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).
ภิกษุ ท. ! ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งความเกิดความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป ตามเป็นจริง ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในรูป ไม่บันเทิง ในรูป ยังคงอยู่เป็นสุข แม้เพราะความแปรปรวน จางคลายดับไปแห่งรูป. (ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะและ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกัน).
259
เป็นทุกข์เพราะติดอยู่ในอายตนะ
ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี รูป เป็นที่รื่นรมย์ใจ ยินดีแล้วในรูป บันเทิงด้วยรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของรูป
ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี เสียง เป็นที่รื่นรมย์ใจยินดีแล้วในเสียง บันเทิงด้วย เสียง. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของเสียง
ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี กลิ่น เป็นที่รื่นรมย์ใจยินดีแล้วในกลิ่น บันเทิงด้วย กลิ่น. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของกลิ่น
ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี รส เป็นที่รื่นรมย์ใจ ยินดีแล้วในรส บันเทิงด้วยรส. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความเปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของรส
ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี โผฎฐัพพะ เป็นที่รื่นรมย์ใจยินดีแล้วโผฎฐัพพะ บันเทิงด้วยโผฎฐัพพะ. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความ เปลี่ยนแปลง เสื่อมสลาย และความดับไปของโผฏฐัพพะ
ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มี ธรรมารมณ์ เป็นที่รื่นรมย์ใจยินดีแล้วในธรรมารมณ์ บันเทิงด้วยธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เพราะความ เปลี่ยนแปลง เสื่อมสลายและความดับไปของธรรมารมณ์ แล.
260
ทุกข์เพราะยึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งมีกำเนิดแต่ภูเขา ไหลไปทางต่ำสิ้นระยะไกล มีกระแส เชี่ยวจัด. ถ้าหากหญ้ากาสะก็ตาม หญ้ากุสะก็ตาม หญ้าปัพพชะก็ตาม หญ้าวีรณะก็ตาม หรือต้นไม้ก็ตาม เกิดอยู่ที่ฝั่งทั้งสองของแม่น้ำนั้นไซร้ หญ้าหรือต้นไม้เหล่านั้นก็จะพึงย้อย ลงปก ฝั่งทั้งสองของแม่น้ำนั้น.
บุรุษผู้หนึ่ง ถูกกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดมา ถ้าจะจับหญ้ากาสะ ก็ตาม หญ้ากุสะก็ตาม หญ้าปัพพชะ ก็ตาม หญ้าวีรณะก็ตาม หรือต้นไม้ก็ตามสิ่งเหล่านั้น ก็จะ พึงขาดหลุดไป (เพราะกระแสเชี่ยวจัดของแม่น้ำ).
บุรุษผู้นั้นย่อมถึงการพินาศเพราะการทำ เช่นนั้น อุปมานี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น
คือ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่งรูป โดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีรูป
หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูป ว่ามีอยู่ในตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในรูป
รูปนั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ
เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง
บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนา ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ใน เวทนา เวทนานั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง
บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามี สัญญา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญา ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ใน สัญญา สัญญานั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง
บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขาร ทั้งหลาย โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในสังขารทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึง การพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง
บุถุชนนั้น ย่อม ตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาณ ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตน ว่ามีอยู่ใน วิญญาณ วิญญาณนั้น ย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ แล.
262
ทุกข์คือกระแสการปรุงแต่งทางจิต
(ไม่มีบุคคลผู้ทุกข์)
กัสสปะ ! เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายมาแต่ต้น ว่า ผู้นั้นกระทำผู้นั้นเสวย (ผล) ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ดังนี้
นั้นย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) สัสสตะ (ทิฏฐิที่ถือว่าเที่ยง).
กัสสปะ ! เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า “ผู้อื่นกระทำผู้อื่นเสวย (ผล)” ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ (คือลัทธิยืนยันอยู่) ว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่น กระทำให้ ดังนี้
นั่น ย่อมแล่นไปสู่ (คลองแห่ง) อุจเฉทะ (ทิฏฐิที่ถือว่าขาดสูญ).
กัสสะปะ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือ ตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า “เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขาร เป็น ปัจจัย จึงมีวิญญาณ ....ฯลฯ....ฯลฯ....ฯลฯ.... เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ .... ฯลฯ.... ฯลฯ....ฯลฯ.... เพราะม ีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.” ดังนี้.
(พุทธศาสนามิได้ถือว่า จิตเป็นบุคคลกระแสการปรุงแต่งทางจิตเป็นไปได้เอง ตามธรรมชาติผล ที่เกิดขึ้นเป็นความทุกข์ จึงมิใช่การกระทำของบุคคลใด ดังนั้นจึงมิใช่การกระทำของบุคคล ผู้รู้สึกเป็นทุกข์ หรือการกระทำของบุคคลอื่นใด ที่ทำให้บุคคลอื่นเป็นทุกข์. นี้เป็นหลักสำคัญ ของพุทธศาสนาที่สอนเรื่องอนัตตา ไม่มีสัตว์บุคคลที่เป็นผู้กระทำ หรือถูกกระทำมีแต่กระแส แห่งอิทัปปัจจยตา ซึ่งจิตรู้สึกได้เท่านั้น เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในพุทธศาสนา ที่จะต้อง ศึกษาให้เข้าใจถึงที่สุด).
อุปวาณะ! เรากล่าวว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น(ปฏิจจสมุปปันนธรรม). ทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยอะไรเกิดขึ้นเล่า ? อุปวาณะ !ทุกข์อาศัยปัจจัยคือผัสสะเกิดขึ้น. ....
ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเอง ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.
ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.
ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วยก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.
ทุกข์ที่สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติว่า ตนทำเองก็หามิได้ผู้อื่นทำให้ก็หามิได้ ก็เป็นทุกข์ที่อาศัยผัสสะเกิดขึ้น.
(คำว่าผัสสะในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งปฏิจจสมุปบาทหรือกระแสแห่งการปรุง-แต่งในทางจิต มิใช่บุคคล ดังนั้นจึงกล่าวว่าทุกข์นี้ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้น เป็นเพียงกระแสแห่งการปรุง แต่งทางจิต).
264
ไม่พ้นทุกข์เพราะมัวเพลินในอายตนะ
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่กับตา เพลิดเพลินอยู่กับหู เพลิดเพลินอยู่กับจมูก เพลิดเพลิน อยู่กับลิ้น เพลิดเพลินอยู่กับกาย และเพลิดเพลินอยู่กับใจ ผู้นั้น ชื่อว่าเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์.
เรากล่าวว่า ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จาก ทุกข์ ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่กับรูป เพลิดเพลินอยู่กับเสียง เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่น เพลิดเพลิน อยู่กับรส เพลิดเพลินอยู่กับโผฏฐัพพะ เพลิดเพลินอยู่กับธรรมารมณ์ ผู้นั้น ชื่อว่า เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์.
เรากล่าวว่า ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์ ดังนี้แล
264-1
อายตนะหกเป็นทุกขอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่อายตนะภายในหก. อายตนะภายในหกเหล่าไหนเล่า ? หกคือ จักขุอายตนะโสตะอายตนะ ฆานะอายตนะ ชิวหาอายตนะ กายะอายตนะ มนะอายตนะ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือ ทุกข์
265
กลุ่มอายตนะเป็นของร้อน
ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวง เป็ นของร้อน. ภิกษุ ท. ! ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นของร้อน ? ภิกษุ ท. ! ตา เป็นของร้อน รูป เป็นของร้อน ความรู้แจ้งทางตาเป็นของร้อน สัมผัสทางตา เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสทางตาเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน.
ภิกษุ ท. ! ร้อนเพราะอะไรเล่า ? เรากล่าวว่า “ร้อนเพราะไฟคือราคะ. ร้อนเพราะไฟคือโทสะ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิดเพราะความแก่ เพราะความตาย เพราะความร่ำไร รำพัน เพราะความทุกข์กายเพราะความทุกข์ใจ และเพราะความคับแค้นใจ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! หู เป็นของร้อน เสียง เป็นของร้อน, ความรู้แจ้งทางหูเป็นของร้อน สัมผัสทางหู เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางหูเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน. ...
ภิกษุ ท. ! จมูก เป็นของร้อน กลิ่น เป็นของร้อน ความรู้แจ้งทางจมูกเป็นของร้อน สัมผัส ทางจมูก เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางจมูกเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน. ...
ภิกษุ ท. ! ลิ้น เป็นของร้อน รส เป็นของร้อน ความรู้แจ้งทางลิ้น เป็นของร้อน สัมผัสทางลิ้น เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางลิ้นเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน. ...
ภิกษุ ท. ! กาย เป็นของร้อน โผฏฐัพพะ เป็นของร้อน ความรู้แจ้งทั้งทางกาย เป็นของร้อน สัมผัสทางกาย เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางกาย เป็นปัจจัย เป็นสุข ก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตามก็เป็นของร้อน. ...
ภิกษุ ท. ! ใจ เป็นของร้อน ธรรมารมณ์ เป็นของร้อน ความรู้แจ้งทางใจ เป็นของร้อน สัมผัสทางใจ เป็นของร้อน เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางใจเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของร้อน.
ภิกษุ ท. ! ร้อนเพราะอะไรเล่า ? เรากล่าวว่า “ร้อนเพราะไฟ คือราคะ,ร้อนเพราะไฟคือโทสะ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ เพราะความตาย เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน เพราะความทุกข์กาย เพราะความทุกข์ใจ และเพราะความคับแค้นใจ” ดังนี้แล.
266
กลุ่มอายตนะเป็นของมืด
ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งปวง เป็นของมืด. ภิกษุ ท. ! ก็อะไรเล่า ชื่อว่าสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นของมืด ?
ภิกษุ ท. ! ตา เป็นของมืด รูป เป็นของมืด ความรู้แจ้งทางตา เป็นของมืด สัมผัสทางตา เป็นของมืด, เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสทางตาเป็นปัจจัยเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นของมืด.
ภิกษุ ท. ! มืดเพราะอะไรเล่า ? เรากล่าวว่า มืดเพราะความเกิดเพราะความแก่ เพราะ ความตาย เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพันเพราะความทุกข์กาย เพราะความทุกข์ใจ และเพราะความคับแค้นใจ ดังนี้. (ในกรณีแห่งหมวด หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็ได้ตรัส เหมือนกันกับในกรณีแห่งตา).
267
พิษลูกศรแห่งความทุกข์ของบุถุชน
ภิกษุ ท. ! ฐานะ ๕ ประการเหล่านี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทพ มารพรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ตามปรารถนา มีอยู่. ห้าประการเหล่าไหนเล่า ? ห้าประการคือ สมณะ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่อาจได้ตามปรารถนาว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่เลย สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้เลยสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตายเลยสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไปเลยสิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดา อย่าวินาศเลย ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ก็ย่อมแก่สำหรับบุถุชนผู้มิได้สดับ. เมื่อสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดาแก่แล้ว เขาก็ ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะแก่สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้นโดยที่แท้แล้ว สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมแก่สำหรับสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่แล้ว เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน ทุบอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลแม้อาหาร ก็ไม่ย่อย กายก็เศร้าหมอง การงานก็หยุดชงัก พวกอมิตรก็ดีใจมิตรสหายก็เศร้าใจ ดังนี้.
บุถุชนนั้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้วย่อมเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ย่อมถึงความหลงใหล.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า บุถุชนผู้มิได้สดับนี้ ถูกลูกศรแห่งความโศก อันมีพิษเสียบแทงแล้ว ทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่. (ในกรณีแห่งสิ่งที่มี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา มี ความตาย เป็นธรรมดา มี ความสิ้นไป เป็นธรรมดามี ความวินาศไป เป็นธรรมดา ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำ อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาข้างบนนี้. และพระองค์ยังได้ตรัสไว้ ในลักษณะที่ตรงกันข้ามจากข้อความนี้ สำหรับอริยสาวก ผู้ได้สดับ.)
268
สุขทุกข์เนื่องจากการมีอยู่แห่งขันธ์
ภิกษุ ท. ! เมื่อรูป มีอยู่, ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยรูป
ภิกษุ ท. ! เมื่อเวทนา มีอย ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยเวทนา
ภิกษุ ท. ! เมื่อสัญญา มีอยู่ ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจ ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยสัญญา
ภิกษุ ท. ! เมื่อสังขารทั้งหลาย มีอย่ ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยสังขารทั้งหลาย
ภิกษุ ท. ! เมื่อวิญญาณ มีอยู่ ความรู้สึกที่เป็นสุขหรือทุกข์ในใจย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยวิญญาณ แล.
269
ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อรอบรู้ทุกข์
ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิศาสนาอื่น จะพึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า “ผู้มีอายุ! ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณะโคดมเพื่อประโยชน์อะไรเล่า?ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะต้องตอบแก่พวกปริพาชกเหล่านั้นว่า “ผู้มีอายุ ! เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อรอบรู้ซึ่งทุกข์” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพาชกเหล่านั้น จะพึงถามต่อไปว่า “ผู้มีอายุ!ก็ทุกข์ซึ่งท่านอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ในพระสมณะโคดมเพื่อจะรอบรู้นั้นเป็นอย่างไรเล่า?”
ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถามอย่างนี้อีกแล้ว จะต้องตอบแก่พวกปริพาชกเหล่านั้นต่อไปว่า “ผู้มีอายุ ! ตา เป็นทุกข์. เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้ตา ซึ่งเป็นทุกข์นั้น. รูป เป็นทุกข์.เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้รูป ซึ่งเป็นทุกข์นั้น.ความรู้แจ้งทางตา เป็นทุกข์.
เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคก็เพื่อรอบรู้ความรู้แจ้งทางตา ซึ่งเป็นทุกข์นั้น. สัมผัสทางตา เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้สัมผัสทางตา ซึ่งเป็นทุกข์นั้น เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะสัมผัสทางตาเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ก็ตาม ก็เป็นทุกข์.
เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค ก็เพื่อรอบรู้เวทนาเช่นนั้น ซึ่งเป็นทุกข์นั้น. (ในกรณีที่เกี่ยวกับอายตนะภายใน ภายนอก วิญญาณ สัมผัส และ เวทนา อีก ๕ หมวดนั้น ก็ตรัสทำนองเดียวกับหมวดแรกนี้).
ผู้มีอายุ!เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคนี้ก็เพื่อรอบรู้ซึ่งทุกข์” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว จะต้องตอบแก่พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิศาสนาอื่น เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้แล.
270
ทุกข์ชนิดปลายแถว
(ทรงแสดงโดยภาษาคน)
ภิกษุ ท. ! ความยากจน เป็นทุกข์ของคนผู้บริโภคกามในโลก.“อย่างนั้นพระเจ้าข้า!”ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ย่อมกู้หนี้ การกู้หนี้ นั้นเป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
“อย่างนั้นพระเจ้าข้า!”
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ กู้หนี้แล้ว ต้องใช้ดอกเบี้ย,การต้องใช้ดอกเบี้ย นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
“อย่างนั้นพระเจ้าข้า!”
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ กู้หนี้แล้วต้องใช้ดอกเบี้ยไม่อาจใช้ดอกเบี้ยตามเวลา เจ้าหนี้ก็ทวง การถูกทวงหนี้ นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
“อย่างนั้นพระเจ้าข้า!”
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ถูกทวงหนี้อยู่ไม่อาจจะใช้ให้เจ้าหนี้ย่อมติดตาม การถูกติดตาม นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
“อย่างนั้นพระเจ้าข้า!”
ภิกษุ ท. ! คนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ถูกติดตามอยู่ไม่อาจจะใช้ให้ เจ้าหนี้ย่อมจับกุม การถูกจับกุม นั้น เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
“อย่างนั้นพระเจ้าข้า!”
ภิกษุ ท. ! ความยากจน ก็ดี การกู้หนี้ ก็ดี การต้องใช้ดอกเบี้ย ก็ดีการถูกทวงหนี้ ก็ดี การถูกติดตาม ก็ดี การถูกจับกุม ก็ดี ทั้งหมดนี้ เป็นทุกข์ของคนบริโภคกามในโลก.
271
(ทรงแสดงโดยภาษาธรรม)
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ความไม่มีศรัทธา – หิริ - โอตตัปปะ -วิริยะ - ปัญญา, ในกุศลธรรม มีอยู่แก่ผู้ใด เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่า เป็นคนจนเข็ญใจไร้ทรัพย์สมบัติ ในอริยวินัย.
ภิกษุ ท. ! คนจนชนิดนั้น เมื่อไม่มีศรัทธา – หิริ - โอตตัปปะ -วิริยะ - ปัญญา ในกุศลธรรม เขาย่อมประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโน-ทุจริต เรากล่าว การประพฤติทุจริต ของเขานี้ ว่าเป็น การกู้หนี้.
เพื่อจะปกปิดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตของเขา เขาตั้งความปรารถนาลามก ปรารถนา ไม่ให้ ใครรู้จักเขา ดำริไม่ให้ใครรู้จักเขา พูดจาเพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา ขวนขวายทุกอย่าง เพื่อไม่ให้ใครรู้จักเขา เรากล่าวการปกปิดความทุจริตอย่างนี้ของเขานี้ ว่าเป็น ดอกเบี้ยที่เขาต้องใช้.
เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีลเป็นที่รัก พากันกล่าวปรารภเขาอย่างนี้ว่า“ท่านผู้มีอายุนี้ ทำอะไร ๆ (น่าเกลียดน่าชัง) อย่างนี้ มีปกติประพฤติกระทำอะไร ๆ (น่าเกลียดน่าชัง) อย่างนี้” เรากล่าว การถูกกล่าวอย่างนี้ นี้ ว่าเป็นการถูกทวงหนี้.
เขาจะไปอยู่ป่าก็ตาม อยู่โคนไม้ก็ตาม อยู่เรือนว่างก็ตาม อกุศลวิตกอันลามกประกอบอยู่ด้วย ความร้อนใจ ย่อม เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจเขาเรากล่าวอาการอย่างนี้ นี้ ว่าเป็น การถูกติด ตามเพื่อทวงหนี้
ภิกษุ ท. ! คนจนชนิดนี้ ครั้นประพฤติกาย – วจี - มโนทุจริตแล้วภายหลังแต่การตาย เพราะ การแตกทำลายแห่งกาย ย่อม ถูกจองจำอยู่ในนรก บ้างใน กำเนิดเดรัจฉาน บ้าง
ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นการจองจำอื่นแม้อย่างเดียว ที่ทารุณอย่างนี้เจ็บปวดอย่างนี้ เป็นอันตรายอย่างนี้ ต่อการบรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เหมือนการถูกจองจำ ในนรก หรือในกำเนิดเดรัจฉาน อย่างนี้.
273
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
ความยากจน และการกู้หนี้ ท่านกล่าวว่าเป็ นความทุกข์ในโลก. คนจนกู้หนี้มาเลี้ยงชีวิต ย่อมเดือดร้อน เพราะเจ้าหนี้ติดตามบ้าง เพราะถูกจับกุมบ้าง. การถูกจับกุมนั้น เป็นความทุกข์ ของคนบูชาการได้กาม.
ถึงแม้ในอริยวินัยนี้ก็เหมือนกัน ผู้ใด ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ สั่งสมแต่บาปกรรม กระทำกายทุจริต - วจีทุจริต มโนทุจริต ปกปิดอยู่ด้วยการกระทำทางกาย ทางวาจา ทางจิต เพื่อไม่ให้ผู้ใดรู้จักเขา ผู้นั้น พอกพูนบาปกรรมอยู่เนืองนิตย์ ในที่นั้น ๆ.
คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน เสมือนคนยากจนกู้หนี้มาบริโภคอยู่ ย่อมเดือดร้อน. ความตริตรึกที่เกิดจากวิปฏิสาร อันเป็นเครื่องทรมานใจ ย่อมติดตามเขา ทั้งในบ้านและในป่า.
คนชั่วทำบาปกรรม รู้สึกแต่กรรมชั่วของตน ไปสู่กำเนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือว่าถูกจองจำ อยู่ในนรก. การถูกจองจำนั้นเป็นทุกข์ ชนิดที่ธีรชนไม่เคยประสบเลย. ...
274
ทุกขอริยสัจเป็ นสิ่งที่ควรรอบรู้
ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และทุกขนิโรธ-คามินีปฏิปทาอริยสัจ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อริยสัจสี่อย่าง.
ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้ อริยสัจที่ใครๆควรรอบรู้ มีอยู่. ....
ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้ เป็นอย่างไรเล่า
ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจคือ ทุกข์. ....
ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามที่เป็ นจริง ว่า ‘ทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ..... ดังนี้เถิด.
นิทเทส ๓
ว่าด้วยหลักเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับความทุกข์
จบ
ภาค ๑
ว่าด้วยทุกขอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์
จบ
ภาค ๒
ว่าด้วย
สมุทยอริยสัจ
ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
279
อุทเทสแห่งสมุทยอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ใด ที่ทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจแห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้ เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหา ในความไม่มีไม่เป็น นี้เรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์.
นิทเทส ๔ ว่าด้วยลักษณะแห่งตัณหา (มี ๔๑ เรื่อง)
280
ลักษณาการแห่งตัณหา
ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ใด ทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจ แห่งความเพลิน มีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ.
ตัณหา ย่อมปกคลุมบุคคล ผู้ประพฤติตนเป็นคนมัวเมาเหมือนเครือเถามาลุวา (ใบดกขึ้น ปกคลุมต้นไม้อยู่) ฉะนั้น. เขาผู้ถูกตัณหาปกคลุมแล้ว ย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อย ภพใหญ่ เหมือนวานร ต้องการผลไม้ เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น.
ตัณหา ซึ่งเป็นของลามก ส่ายซ่านไปได้ทั่วโลกนี้ ครอบงำผู้ใดเข้าแล้ว ความโศกทั้งหลาย ย่อมลุกลามแก่บุคคลผู้นั้นเหมือนหญ้าวีรณะ๑ ซึ่งงอกงาม แผ่กว้างออกไปโดยเร็ว ฉะนั้น
ต้นไม้ แม้ถูกตัดแล้ว แต่เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอันตรายย่อมงอกงามขึ้นมาได้อีก ฉันใด ความทุกข์นี้ก็ฉันนั้น เมื่อตัณหานุสัย (ซึ่งเป็นรากเง่าของมัน) ยังไม่ถูกถอนขึ้นแล้ว มันย่อมเกิดขึ้นรํ่าไป.
ตัณหา ซึ่งมีกระแสสามสิบหกสาย มีกำลังกล้าแข็งไหลไปตามใจชอบ ของบุคคลใด มีอยู่, ความดำริซึ่งอาศัยราคะมีกระแสอันใหญ่หลวง ย่อมพัดพาไป ซึ่งบุคคลนั้น อันมีทิฏฐิผิด เป็นธรรมดา. กระแส(แห่งตัณหา) ย่อมหลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง. เถาวัลย์ (คือตัณหา) แตกขึ้นแล้ว ตั้งอยู่. ท่านทั้งหลาย เห็นเถาวัลย์นั้นเกิดขึ้นแล้ว จงตัดรากมันเสีย ด้วยปัญญา.
โสมนัส ซึ่งซาบซ่านและมีเยื่อใย มีอยู่แก่สัตว์ สัตว์เหล่านั้น จึงแสวงสุข เพราะอาศัย ความยินดี สัตว์เหล่านั้นแหละเป็ นผู้เข้าถึงชาติและชรา.
หมู่สัตว์ เผชิญหน้าด้วยตัณหา (เครื่องให้เกิดความสะดุ้ง) ย่อมกระสับกระส่าย เหมือนกระต่าย ที่ติดบ่วง เผชิญหน้านายพราน กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น. สัตว์ผู้ข้องแล้วด้วยสัญโญชน์ ก็เข้าถึงความทุกข์อยู่ร่ำไป ตลอดกาลนาน แล.
281
สักกายสมุทัยไวพจน์แห่งตัณหา
ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ? ตัณหานี้ใด อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ภิกษุ ท. !นี้เรากล่าวว่า สักกายสมุทัย.
282
เจ้าเหนือหัวของสัตว์โลก
“โลกถูกอะไรชักนำไป? โลกถูกอะไรฉุดดึงไปรอบๆ? สัตว์โลกทั้งหมดตกอยู่ในอำนาจของสิ่งๆ เดียวกันนั้นคืออะไร?” โลก ถูกตัณหาชักนำไป โลก ถูกตัณหาฉุดดึงไปรอบๆ. สัตว์โลก ทั้งหมด ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งๆ เดียว สิ่งนั้นคือ ตัณหา.
282-1
สัญโญชน์อย่างเอก
ภิกษุ ท. ! เราไม่มองเห็นสัญโญชน์อื่น แม้แต่อย่างเดียว ซึ่งเมื่อสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้ว ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ในวัฏฏสงสารตลอดกาลนานอย่างนี้ เหมือนอย่าง ตัณหา สัญโญชน์ นี้.
ภิกษุ ท. ! เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วยตัณหาสัญโญชน์แล้ว ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสารตลอดกาลนาน โดยแท้จริง แล.
282-2
เครื่องจูงไปสู่ความเป็นภพ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระองค์ตรัสอยู่ว่า‘เครื่องนำไปสู่ภพ๑เครื่องนำไปสู่ภพ’ ดังนี้ก็เครื่องนำไปสู่ภพเป็นอย่างไร? พระเจ้าข้า และความดับไม่เหลือของ เครื่องนำไปสู่ภพนั้น เป็นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า?”
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ก็ดี ราคะ (ความกำหนัด) ก็ดี นันทิ (ความเพลิน)ก็ดี ตัณหาก็ดี และอุปายะ (กิเลสเป็นเหตุเข้าไปสู่ภพ) และอุปาทานอันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใด ๆ ในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และ ในวิญญาณ กิเลสเหล่านี้นี่เราเรียกว่า ‘เครื่องนำไปสู่ภพ. ความดับไม่เหลือของ เครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลสมีฉันทราคะเป็นต้นเหล่านั้นเอง.
283
พืชของภพ
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า‘ภพ– ภพ’ ดังนี้. ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรเล่า? พระเจ้าข้า!”
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้. กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้พระเจ้าข้า!”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช,ตัณหาเป็นยาง(สำหรับ หล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นทราม(กามธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้พระเจ้าข้า!”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วยธาตุชั้นกลาง (รูปธาตุ). การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้พระเจ้าข้า!”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อหา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช.
วิญญาณของสัตว์ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน ตั้งอยู่แล้วด้วย ธาตุชั้นประณีต(อรูปธาตุ) การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
285
เหตุให้มีการเกิด
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า‘ภพ– ภพ’ ดังนี้. ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรเล่า? พระเจ้าข้า”
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้พระเจ้าข้า!”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ เป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม การบังเกิดขึ้น ในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้ รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้พระเจ้าข้า!”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้. อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ ?
“หามิได้พระเจ้าข้า!”
อานนท์ ! ด้วยเหตุนี้แหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณเป็นเมล็ดพืช ตัณหาเป็นยาง (สำหรับหล่อเลี้ยงเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต. การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
286
ที่เกิดแห่งอุปธิ
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณาสืบต่อไป ย่อมพิจารณาลึกลงไปอีกว่า “อุปธินี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด ?มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด ? และมีอะไร เป็นแดนเกิด? เมื่ออะไรมีอยู่ อุปธิก็มีอยู่ ? เมื่ออะไรไม่มี อุปธิก็ไม่มี ?” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้ชัดอย่างนี้ว่า “อุปธิมีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด และมีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อตัณหามีอยู่ อุปธิก็มีอยู่ เมื่อตัณหาไม่มี อุปธิก็ไม่มี ดังนี้แล.
287
ที่เกิดแห่งอุปาทาน
ภิกษุ ท. ! อุปาทานสี่อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด ? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด ? และมีอะไรเป็นแดนเกิดเล่า ?
ภิกษุ ท. ! อุปาทานสี่เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด, มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด และมีตัณหาเป็นแดนเกิด.
ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด? มีอะไรเป็น เครื่องกำเนิด ? และมีอะไรเป็นแดนเกิด ?
ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ มีเวทนาเป็นเหตุให้เกิด, มีเวทนาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีเวทนาเป็น เครื่องกำเนิด และมีเวทนาเป็นแดนเกิด แล.
[ข้อสังเกตุ : โดยปกติคำว่าอุปธิจะถูกให้ความหมายกันไปหลายแบบแต่เมื่อพิจารณา๑) คำตรัสถึงสาเหตุการเกิดของอุปธิและอุปาทานแล้วต่างก็มีเหตุเกิดมาจากสิ่งเดียวกันคือตัณหาจึงควรแปลทั้งอุปธิและอุปาทานให้มีความหมายทำนองเดียวกัน๒) ดูหน้า๓๖๘
ประกอบเพราะเป็นตัวอย่างของอุปธิที่กินความหมายกว้างก่อนอวิชา ซึ่งควรหมายถึงความ พอใจในสมมุติทั้งระบบหรือสังขตธรรม.]
287 -1
ที่เกิดแห่งอาหาร
ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้ของสัตว์ผู้เกิดแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้กำลังแสวงหาที่เกิด (สัมภเวสี)* บ้าง.
อาหารสี่อย่างอะไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อาหารที่หนึ่ง คือ อาหารคำข้าว หยาบก็ตามละเอียดก็ตาม
อาหารที่สอง คือ ผัสสะ,
อาหารที่สาม คือ มโนสัญเจตนา(มโนกรรม)
อาหารที่สี่ คือ วิญญาณ
ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้แล มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้ของสัตว์ผู้เกิดแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้กำลังแสวงหาที่เกิดบ้าง.
ภิกษุ ท. ! ก็อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด (นิทาน) ? มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด (สมุทัย) ? มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด (ชาติกะ) ?และมีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภพ) ?
ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด และมีตัณหาเป็นแดนเกิด แล.
288
ตัณหาโดยวิภาคแห่งอารมณ์หกอย่าง
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งตัณหาหกอย่างเหล่านี้
คือ ตัณหาใน รูป
ตัณหาใน เสียง
ตัณหาใน กลิ่น
ตัณหาใน รส
ตัณหาใน โผฏฐัพพะ
และตัณหาใน ธรรมารมณ์.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ตัณหา.
288-1
ภพโดยวิภาค สามอย่าง
ภิกษุ ท. ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภพ มีสามอย่างเหล่านี้ คือ
๑. กามภพ ภพมีกาม
๒. รูปภพ ภพมีรูป
๓. อรูปภพ ภพไม่มีรูป.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ภพ.
289
ตัณหาโดยวิภาค สามอย่าง
ภิกษุ ท. ! ตัณหามีสามอย่างเหล่านี้ สามอย่างเหล่าไหนเล่า ?สามอย่างคือ
๑. กามตัณหา ตัณหาในกาม
๒. ภวตัณหา ตัณหาในความมีความเป็น
๓. วิภวตัณหา ตัณหาในความไมมี่ไม่เป็น.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ตัณหาสามอย่าง.
290
ลักษณะแห่งกามตัณหา
ภิกษุ ท. ! กามโยคะ (การประกอบอยู่ด้วยกาม) เป็ นอย่างไรเล่า?ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้แจ้งชัด ตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งกามทั้งหลาย ซึ่งความดับไปแห่งกามทั้งหลาย ซึ่งรสอร่อยแห่งกามทั้งหลายซึ่งโทษแห่งกามทั้งหลาย และซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เมื่อเขาไม่รู้อยู่อย่างนั้น ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกามความเสน่หาในกาม ความสยบในกาม ความหิวกระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความเมาหมกในกาม และกามตัณหา ในกามทั้งหลายย่อมนอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า กามโยคะ ดังนี้แล.
290 -1
กามคุณห้าคือบ่วง
ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา เสียงที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย อยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ กามคุณห้าอย่าง.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ติดอกติดใจสยบอยู่เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้า อย่างเหล่านี้แล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้แจ่มแจ้งในอุบาย เป็นเครื่องออกพ้น ไปได้จากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อันคน ทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่าเป็นผู้จะถึงความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้ใจบาป ต้องการจะทำ ตามอำเภอใจอย่างใด.
ภิกษุ ท. ! เปรียบได้ดั่งเนื้อป่า ตัวที่ติดบ่วง นอนจมอยู่ในบ่วง. เมื่อนายพรานมาถึงเข้า มันจะหนีไปไหนไม่พ้นเลย ฉันใด
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พวกเขา พากันติดอกติดใจ สยบอยู่ เมาหมกอยู่ ในกามคุณห้าอย่างเหล่านั้นแล้ว ก็ไม่มองเห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่เป็นผู้รู้ แจ่มแจ้งในอุบายเป็นเครื่องออกพ้นไปได้จากทุกข์ ทำการบริโภคกามคุณทั้งห้านั้นอยู่ สมณะ หรือพราหมณ์พวกนั้น อันคนทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า เป็นผู้จะถึงความพินาศย่อยยับ แล้วแต่มารผู้ใจบาป ต้องการจะทำตามอำเภอใจอย่างใด แล.
291
กามเป็นเครื่องผูก
เครื่องผูกอันใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และเกิดแต่หญ้าปัพพชะก็ตาม, ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่กล่าวเครื่องผูกอันนั้น ว่าเป็ นเครื่องผูกอันมั่นคงเลย.
ส่วนความยินดีของบุคคลผู้ยินดีแล้ว ในตุ้มหูแก้วมณีเป็ นต้นด้วย และความเยื่อใยในบุตรและภรรยาด้วย ผู้มีปัญญาทั้งหลายกล่าวความยินดีและเยื่อใยอันนั้น ว่าเป็ นเครื่องผูกอันมั่นคงที่จะฉุดสัตว์ลงสู่ที่ต่ำได้โดยแท้ ซึ่งผูกไว้หย่อน ๆ แต่แก้ได้ยาก แล.
292
กามเป็นมายา
ภิกษุ ท. ! กามทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง เป็นของเปล่า ๆ ปลี้ๆ เป็นของเท็จ เป็นสิ่งที่มี การหลอกให้หลงเป็นธรรมดา.
ภิกษุ ท. ! กามนั้นเป็นเหมือนสิ่งที่ทำแล้วด้วยมายา เป็นที่พรํ่าบ่นหาของคนพาล ได้แก่ กาม และสัญญาในกาม ทั้งที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ และที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า.
กามและสัญญาในกาม ทั้งสองอย่างนั้น เป็น อาณาจักรของมาร เป็น วิสัยของมารเป็น เหยื่อของมาร และเป็น ที่เที่ยวหาอาหารของมาร. จิตอันเป็นบาปอกุศลเป็นอภิชฌาก็ดี พยาบาทก็ดี และสารัมภะ (การแข่งดี)ก็ดี เหล่านี้ย่อมเป็นไปในอาณาจักรของมารนั้น.
อนึ่ง อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมมีขึ้น เพื่อเป็นอันตรายแก่พระอริยสาวก ผู้ตามศึกษาอยู่ ในธรรม วินัยนี้ได้ โดยแท้ แล.
292-1
ไม่มีความเย็นในกาม
มาคัณฑิยะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ ท่านเคยได้เห็นหรือเคยได้ฟังบ้างหรือไม่ ว่า พระราชาก็ดี อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาก็ดีผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขา บำเรออยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ยังบรรเทาความเร่าร้อนเพราะกามไม่ได้ แล้วจะเป็นผู้ปราศ จากความกระหาย มีจิตสงบเย็นอยู่ ณ ภายใน ในอดีตก็ตาม กำลังอยู่ในปัจจุบันก็ตาม หรือ จักอยู่ในอนาคตก็ตาม นั้นมีอยู่บ้างหรือ ?”
มาคัณฑิยะ ! ถูกแล้ว, แม้เราเอง ก็ไม่เคยให้เห็นไม่เคยได้ฟังเช่นนั้นเลยว่า พระราชาก็ดี อำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระราชาก็ดี ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่ ยังละ กามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนเพราะกามไม่ได้ แล้วจะเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบเย็นอยู่ ณ ภายในในอดีตก็ตาม กำลังอยู่ในปัจจุบันก็ตาม หรือจักอยู่ในอนาคตก็ตาม ดังนี้แล.
293
คนกล่าวคำเท็จเพราะกาม
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! หม่อมฉันนั่งแล้วในที่วินิจฉัยอรรถคดีนั่นแหละ ได้เห็นพวกกษัตริย์ มหาศาลบ้าง พวกพราหมณ์มหาศาลบ้างพ วกคฤหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองเงินเพียงพอมีอุปกรณ์ในการหาทรัพย์มากมาย มีข้าวเปลือกเป็นหลักทรัพย์ อยู่มากมาย ทำการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่าเป็นเท็จเพราะกามเป็นเหตุเพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องทำให้พูดออกมา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน ว่า‘บัดนี้พอแล้วในการวินิจฉัยอรรถคดีบัดนี้ภัท๎รมุข (วิฑูฑภะ) จักปรากฏตัวในการวินิจฉัย อรรถคดีสืบไป’ ดังนี้.”
มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น, มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น;มหาราช ! คือข้อที่พวก กษัตริย์มหาศาลบ้าง พวกพราหมณ์มหาศาลบ้าง พวกคฤหบดีมหาศาลบ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองเงินเพียงพอ มีอุปกรณ์ในการหาทรัพย์มากมาย มีข้าวเปลือก เป็นหลักทรัพย์อยู่มากมาย ทำการกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่าเป็นเท็จ เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็น ต้นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องทำให้พูดออกมา.
การทำเช่นนี้ ของคนเหล่านั้น จักเป็นไป เพื่อความทุกข์ อันไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ตลอด กาลนาน
ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้ตรัสต่อไปซึ่งเป็นคำร้อยกรองว่า “ผู้ย้อมติดอยู่ในการบริโภคกาม พัวพัน เมาหมกอยู่ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกความหลวมตัวของตัวดั่งมัศยาชาติ พลัดเข้าสู่เครื่องดัก ฉะนั้น. ความเดือดร้อนย่อมมีแก่เขา ในภายหลัง เพราะว่า ผล ที่เขาสร้างไว้เป็นความชั่ว” ดังนี้แล.
294
อิทธิพลของกาม
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ความคิดในกรณีเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่หม่อมฉันผู้ไปสู่ที่เร้นลับว่า‘สัตว์เหล่าใดได้โภคะอันมโหฬารแล้วไม่เมาอยู่ด้วยไม่มัวเมาอยู่ด้วยไม่ถึงความยินดีในกาม ทั้งหลายด้วยและไม่ปฏิบัติผิดในสัตว์ทั้งหลายด้วย สัตว์เหล่านั้นมีน้อยนักในโลก.
อันที่จริงสัตว์เหล่าใดได้โภคะอันมโหฬารแล้วเมาอยู่ด้วยมัวเมาอยู่ด้วยถึงความยินดีในกาม ทั้งหลายด้วยและปฏิบัติผิดในสัตว์ทั้งหลายด้วยสัตว์เหล่านั้นมีอยู่มากในโลก ดังนี้.”
มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น มหาราช ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น มหาราช ! คือข้อที่ สัตว์ เหล่าใด ได้โภคะอันมโหฬารแล้ว ไม่เมาอยู่ด้วย ไม่มัวเมาอยู่ด้วย ไม่ถึงความยินดี ในกาม ทั้งหลายด้วย และไม่ปฏิบัติผิดในสัตว์ทั้งหลายด้วย สัตว์เหล่านั้น มีน้อยนักในโลก. อันที่จริง สัตว์เหล่าใดได้โภคะอันมโหฬารแล้ว
เมาอยู่ด้วย มัวเมาอยู่ด้วย ถึงความยินดีในกามทั้งหลายด้วย และปฏิบัติผิดในสัตว์ ทั้งหลายด้วย, สัตว์เหล่านั้น มีอยู่มากในโลก ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้ตรัสต่อไปซึ่งเป็นคำ ร้อยกรองว่า
“ผู้ย้อมติดอยู่ในการบริโภคกาม พัวพัน เมาหมกอยู่ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึก ความหลวมตัวของตัวเหมือนเนื้อหรือนก พลัดเข้าสู่เครื่องดัก ฉะนั้น. ความเดือดร้อน ย่อมมีแก่เขา ในกาลภายหลัง เพราะว่า ผล ที่เขาสร้างไว้ เป็นของชั่ว” ดังนี้แล.
295
เข้าไปหาความตายเพราะกาม
เช้าวันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองจีวรถือบาตรเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี,พระพุทธองค์ได้ทรงเห็นหมู่มนุษย์ในเมืองสาวัตถีเหล่านั้นซึ่งกำลังข้องเกี่ยวติดพันอยู่กะกามกำหนัดในกามเมาหมกอยู่ในกามเป็นอยู่โดยส่วนมาก จึงทรงเปล่งพระอุทานนี้ว่า
“สัตว์ทั้งหลาย ผู้มืดมนธ์เพราะอำนาจแห่งกาม ถูกตัณหา เป็นดุจข่ายเครื่อง ดักสัตว์ ปกคลุมไว้ ถูกเครื่องมุงคือตัณหาปิ ดบังไว้ ถูกหมู่มารซึ่งเป็นเหมือนพวกพ้องของ ผู้ประมาทจองจำตัวไว้ ย่อมไปสู่ชราและมรณะ เหมือนปลาเข้าไปสู่ปากแห่งเครื่องดัก หรือเหมือนลูกโคที่ยังดื่มนมเข้าไปหาแม่ ฉะนั้น”ดังนี้แล.
296
ความเพลินเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
ปุณณะ ! รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี, กลิ่นที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รสที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี, และธรรมารมณ์
ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.
ถ้าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นไซร้. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. เรากล่าวว่า เพราะความเพลินเป็นสมุทัย (เครื่องก่อขึ้น) จึงเกิดมีทุกขสมุทัย (ความก่อขึ้นแห่งทุกข์) ดังนี้ แล.
297
เพลินอยู่กับอายตนะภายใน เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในจักษุ ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์”ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในโสตะ ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในฆานะ ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์”ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในชิวหา, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็ นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในกายะ ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็ นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในมนะ, ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็ นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใดเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้.
(ในสูตรต่อไป ได้ตรัสถึงในกรณีแห่ง อายตนะภายนอกหก ซึ่งมีข้อความเหมือนในกรณีแห่ง อายตนะภายในข้างบนนี้ทุกประการ ต่างแต่ชื่ออายตนะ).
297-1
ความอร่อยกลางกองทุกข์
(ความลวงของกาม)
มาคัณฑิยะ ! บุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล สุกปลั่ง ถูกตัวเชื้อโรคแทะกัดอยู่ ใช้เล็บเกาปาก แผลอยู่ รมตัวอยู่ที่หลุมถ่านไฟ.
มาคัณฑิยะ ! เขาทำเช่นนั้นอยู่เพียงใด ปากแผลของเขา ก็ยิ่งไม่สะอาด ยิ่งมีกลิ่นเหม็น และ สบายเนื้ออยู่บ้าง ก็ตรงที่แผลได้รับการเกาหรือการอบอุ่น เพราะไฟนั้นเป็นเหตุข้อนี้มีอุปมา ฉันใด
มาคัณฑิยะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สัตว์ทั้งหลาย ยังเป็นผู้ไม่ไปปราศจากความกำหนัดในกาม ทั้งหลาย ถูกกามตัณหาแทะกัดอยู่ ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผาอยู่ ก็ยังขืนเสพกาม ทั้งหลายอยู่นั่นเอง.
มาคัณฑิยะ ! เขายังทำเช่นนั้น อยู่เพียงใด กามตัณหาของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเจริญ ขึ้นด้วย เขาถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วย และสัตว์เหล่านั้น จะมีความรู้สึกสักว่า ความพอใจ และความสบายเนื้ออยู่บ้าง ก็ตรงที่รสอันอาศัยกามคุณ ๕เป็นเหตุอยู่เพียงนั้น เท่านั้นแล.
298
ความอร่อยที่ไม่คุ้มกับความทุกข์
ภิกษุ ท. ! อริฏฐภิกขุคันธวาธิปุพพะ กล่าวตู่พวกเราด้วย ขุดรากตนเองด้วย ประสพสิ่งมิใช่บุญ เป็นอันมากด้วย เพราะตัวเองจับฉวยเอาผิด ในธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างไร แม้พวกเธอ ทั้งหลาย ก็เข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้ว เหมือนอย่างอริฎฐภิกขุนั้นหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า ! ธรรมเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วโดยหลายแง่หลายมุม แก่พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ว่า เป็นธรรมที่ทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติธรรมเหล่านั้น ก็สามารถ ที่จะทำอันตราย แก่ผู้ปฏิบัติได้จริง.
กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วว่า มีรสอร่อยน้อยมีทุกข์มาก มีเรื่องทำให้คับแค้น ใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ควรเปรียบเทียบด้วยท่อนแห่งกระดูกควรเปรียบด้วย ชิ้นเนื้อ ควรเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า ควรเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ควรเปรียบด้วยความฝันควรเปรียบด้วยของยืมควรเปรียบด้วยผลไม้ ควรเปรียบด้วยเขียงสับเนื้อ. ควรเปรียบด้วยหอกและหลาวและควรเปรียบด้วยหัวงูดังนี้”
ภิกษุ ท. ! ถูกแล้ว, ที่พวกเธอทั้งหลาย เข้าใจธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนั้น.
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใด ที่เรากล่าวแล้ว โดยหลายแง่หลายมุมแก่พวกเธอทั้งหลาย ว่า เป็นธรรมที่ทำอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติ ธรรมเหล่านั้นก็สามารถที่จะทำอันตราย แก่ผู้ปฏิบัติได้จริง.
กามทั้งหลาย เรากล่าวแล้วว่า มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีเรื่องทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ ควรเปรียบด้วยท่อนแห่งกระดูก ควรเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ ควรเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า ควรเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ควรเปรียบด้วยของในความฝัน ควรเปรียบด้วยของยืม ควรเปรียบด้วยผลไม้ ควรเปรียบด้วยเขียงสับเนื้อ ควรเปรียบด้วยหอก และหลาว และควรเปรียบด้วยหัวงู
ฉะนั้น. ก็แต่ว่า อริฎฐภิกขุคันธวาธิปุพพะนี้ เพราะตัวเอง ถือเอาธรรมที่เราแสดงแล้วผิด จึงกล่าวตู่พวกเราด้วย ขุดรากตนเองด้วย และประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ข้อนั้น จักเป็นไป เพื่อความทุกข์ อันมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ตลอดกาลนาน แก่โมฆบุรุษนั้นแล.
300
กามเปรียบด้วยท่อนกระดูก
คฤหบดี ! เปรียบเหมือนสุนัข ที่หมดกำลังเพราะหิวจัด จะพึงเข้าไปยืนชะเง้ออยู่ ในที่ที่ฆ่าโค. คนฆ่าโคหรือลูกมือของเขา เชี่ยวชาญ ก็จะพึงเอาท่อนกระดูก ที่ชำแหละเนื้อออกหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้าง โยนไปให้สุนัขตัวนั้นแทะ.
คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? สุนัขตัวนั้นแทะท่อนกระดูก ที่ชำแหละเนื้อ ออกหมดแล้ว ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้าง นั้นอยู่, จะพึงบรรเทาความหมดกำลังเพราะหิวจัด ได้ละหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? “เพราะว่าท่อนกระดูกที่ชำแหละเนื้อออกหมดแล้วนั้น ไม่มีส่วนที่ยังเป็นเยื่ออ่อนเหลืออยู่แม้แต่น้อยเดียว เพียงแต่เปื้อนเลือดอยู่บ้างเท่านั้น. สุนัขตัวนั้น ก็จะได้รับแต่ความเหนื่อยใจ และความแค้นใจโดยแท้ พระเจ้าข้า !”
คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ว่า มีอุปมาด้วยท่อนกระดูก เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้
ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้วก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ(กามคุณห้า) แล้วเจริญ ซึ่งความเพ่ง อันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.
301
กามเปรียบด้วยชิ้นเนื้อคาปาก
คฤหบดี ! เปรียบเหมือนแร้ง หรือเหยี่ยว หรือนกตะกรุมก็ตามตัวหนึ่ง คาบชิ้นเนื้อพาบินไป. ฝูงแร้งบ้าง ฝูงเหยี่ยวบ้าง ฝูงนกตะกรุมบ้างตามโฉบ ตอมโฉบ นกตัวนั้น เพื่อให้ทิ้งชิ้นเนื้อนั้น ยังนกตัวนั้นให้ปล่อยให้คาย.
คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? ถ้าแร้ง หรือเหยี่ยว หรือนกตะกรุมนั้น ไม่รีบ สลัดทิ้งชิ้นเนื้อนั้นเสียไซร้ มันก็จะถึงซึ่งความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ มิใช่หรือ ?
“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”
คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ เป็นสิ่งที่ให้เกิด ทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้
ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความ เพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า) แล้วเจริญ ซึ่งความเพ่ง อันเดียว อันอาศัยอารมณ์
อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือของ อุปาทาน อันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.
302
กามเปรียบด้วยคบเพลิงทวนลม
คฤหบดี ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ถือเอาคบหญ้าแห้ง ที่ติดไฟโพลงอยู่ พาทวนลมไป.
คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? ถ้าบุรุษผู้นั้น ไม่รีบทิ้งคบหญ้าแห้ง นั้นเสีย โดยเร็วไซร้ คบไฟนั้น ก็จะพึงลามไหม้มือไหม้แขน หรือไหม้อวัยวะน้อยใหญ่ ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของบุรุษนั้น เขาก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้น เป็นเหตุ มิใช่หรือ ?
“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”
คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยคบหญ้าแห้ง เป็นสิ่งที่ให้ เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้ ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญา อันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการ ต่างๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า) แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัย อารมณ์อันเดียว
(เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ของอุปาทานอันมี อยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.
303
กามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
คฤหบดี ! เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิง ที่ปราศจากเปลว และปราศจากควัน. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ผู้ต้องการเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาสู่ที่นั้น. และมีบุรุษ ที่มีกำลังกล้าแข็งอีกสองคน จับบุรุษนั้น ที่แขนแต่ละข้าง แล้วฉุดคร่า พาไปยังหลุมถ่านเพลิง.
คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? บุรุษนั้น จะไม่บิดตัวดิ้นไปทางโน้นที ทางนี้ที บ้างแลหรือ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไร ? “เพราะเหตุว่า บุรุษนั้น รู้อยู่ว่าถ้าเราจะตกลงไปสู่ หลุมถ่านเพลิงนี้ไซร้, เราก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ พระเจ้าข้า !” ดังนี้.
คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้.
ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า) แล้วเจริญซึ่ง ความเพ่ง อันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.
กามเปรียบด้วยของในความฝัน
คฤหบดี ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ฝันเห็น สวน อันรื่นรมย์ใจบ้างป่าไม้ อันรื่นรมย์ใจบ้าง ภูมิภาค อันรื่นรมย์ใจบ้าง หรือสระโบกขรณี อันรื่นรมย์ใจบ้าง, ครั้นบุรุษนั้นตื่นขึ้นมา ก็ไม่ได้ พบเห็นอะไรเลย.
คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยของในความฝัน เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้.
ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า) แล้วเจริญ ซึ่งความเพ่ง อันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นอุเบกขา ที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นสิ่ง ที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ ของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.
304
กามเปรียบด้วยของยืม
คฤหบดี ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง ขอยืมทรัพย์จากผู้อื่นได้แล้วเอาลงใส่เกวียนน้อย มีตุ้มหู แก้วมณีอันล้ำค่า เป็นต้น. บุรุษผู้นั้น วางของยืมเหล่านั้นไว้ข้างหน้าตัวบ้าง รอบ ๆ ตัวบ้าง ขับผ่านไปตามหมู่ชาวร้าน.
หมู่ชนเห็นบุรุษผู้นั้นแล้ว ก็จะพึงกล่าวกันแซ่ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! บุรุษผู้นี้ร่ำรวย จริงหนอ ! ดูซิ, พวกคนรวย เขาใช้สอยโภคะกันอย่างนี้เอง” ดังนี้
ครั้นเจ้าของทรัพย์ พบบุรุษ ซึ่งทำอยู่ดังนั้น ในที่ใด ๆ เขาก็จะทวงเอาทรัพย์ของเขาคืนไปเสีย ณ ที่นั้น ๆ นั่นเอง.
คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? คือควรจะทำอย่างอื่นแก่บุรุษนั้นไหมหนอ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !” เพราะเหตุไร ? “เพราะเหตุว่า ธรรมดาเจ้าของทรัพย์ ก็ต้องทวงเอา ทรัพย์ของเขาคืนไป” ดังนี้.
คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยของยืม เป็นสิ่งที่ให้ เกิดทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้
ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ (กามคุณห้า), แล้วเจริญซึ่งความเพ่ง อันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว(เช่นอุเบกขาที่เป็นองค์ของจตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิท ไม่มีส่วนเหลือของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการทั้งปวงแล.
305
กามเปรียบด้วยผลไม้
คฤหบดี ! เปรียบเหมือนป่าใหญ่ ตั้งอยู่ไม่ไกลหมู่บ้านหรือนิคมนัก.ในป่าใหญ่นั้น มีต้นไม้ ซึ่งมีผลน่ากินด้วย ดกด้วย, ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย. ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่งผ่านมา เป็นผู้ต้องการด้วยผลไม้ เที่ยว
แสวงหาผลไม้อยู่, เขาเข้าไปยังป่านั้นแล้ว พบต้นไม้ต้นนั้นแล้วคิดว่า “ต้นไม้นี้มีผลน่ากินด้วย ดกด้วย ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย และเราก็รู้จักวิธีขึ้นต้นไม้อยู่ ถ้าไฉน เราขึ้นสู่ ต้นไม้นี้แล้ว จะพึงกินผลไม้ตามความพอใจด้วย จะพึงยังห่อให้เต็มด้วย” ดังนี้แล้ว เขาก็ขึ้นสู่ ต้นไม้นั้น เก็บกินตามความพอใจด้วย ห่อจนเต็มห่อด้วย.
ในลำดับนั้นเอง บุรุษคนที่สอง ซึ่งเป็นผู้ต้องการด้วยผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อย่างเดียวกัน ถือขวานคมผ่านมาที่นั้น เขาเข้าไปยังป่านั้นแล้วก็พบต้นไม้ต้นเดียวนั้น ซึ่งมีผลน่ากินด้วย ดกด้วย เขาจึงคิดว่า “ต้นไม้นี้ มีผลน่ากินด้วย ดกด้วย ส่วนผลที่หล่นอยู่ตามพื้นดินไม่มีเลย และเราก็ไม่รู้จักวิธีขึ้นต้นไม้ ถ้าไฉน เราจะโค่นมันที่โคน แล้วจะพึงกินผลไม้ ตามความพอใจ ด้วย จะพึงยังห่อให้เต็มด้วย” ดังนี้แล้ว เขาจึงโค่นต้นไม้นั้นที่โคน.
คฤหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร ? บุรุษผู้ขึ้นอยู่บนต้นไม้คนแรก ถ้าเขาไม่รีบ ลงมา โดยเร็วไซร้ เมื่อต้นไม้นั้นล้มลง เขาก็จะต้องมือหักบ้าง เท้าหักบ้าง หรืออวัยวะ น้อยใหญ่ส่วนใดส่วนหนึ่งหักบ้าง โดยแท้. บุรุษผู้นั้น ก็จะถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์ เจียนตาย เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ มิใช่หรือ ?
“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”
คฤหบดี ! ด้วยเหตุนี้แหละ สาวกของพระอริยเจ้า ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ ว่า “กามทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า มีอุปมาด้วยผลไม้ เป็นสิ่งที่ให้เกิด ทุกข์มาก ทำให้คับแค้นใจมาก และมีโทษอย่างยิ่ง” ดังนี้, ครั้นเห็นกามนั้น ด้วยปัญญา อันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้
แล้ว ก็เว้นเสียโดยเด็ดขาด ซึ่งความเพ่ง มีประการต่าง ๆ อันอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ(กามคุณห้า) แล้วเจริญซึ่งความเพ่งอันเดียว อันอาศัยอารมณ์อันเดียว (เช่นเจริญอุเบกขา ที่เป็นองค์ของ จตุตถฌาน) อันเป็นที่ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือของอุปาทานอันมีอยู่ในเหยื่อโลก โดยประการ ทั้งปวง แล.
307
รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับกาม
(เรื่องควรดูประกอบในอริย.โอ.ปลาย หน้า ๑๑๙๖ และในปฏิจจ.โอ. หน้า ๓๒๔)
ภิกษุ ท. ! ที่เรากล่าวว่า “กาม นิทานสัมภวะแห่งกาม เวมัตตตาแห่งกาม วิบากแห่งกาม นิโรธแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม เป็นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง” นั้น เรากล่าวหมายถึง กามไหนกันเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕อย่างเหล่านี้
คือ
รูป ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ....
เสียง ทั้งหลายอันจะถึงรู้แจ้งได้ด้วยโสตะ....
กลิ่น ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยฆานะ....
รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยชิวหา....
โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะอันน่ารักเป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่,
ภิกษุ ท. !อารมณ์ ๕ อย่างเหล่านี้ หาใช่กามไม่ ;
ห้าอย่างเหล่านี้ เรียกกันในอริยวินัยว่า กามคุณ.
(คาถาจำกัดความตอนนี้)
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก(สงฺกปฺปราค)นั่นแหละคือกามของคนเรา ;
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกนั้น หาใช่กามไม่
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั่นแหละ คือกามของคนเรา
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลก
ตามประสาของมันเท่านั้น
ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
นิทานสัมภวะแห่งกาม คือ ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! เวมัตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตาแห่งกาม๑ คือ ความใคร่ (กาม) ในรูปารมณ์ก็อย่างหนึ่ง ๆ ความใคร่ใน สัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง ๆ
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกาม.
ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจาก กามนั้นๆ ให้เกิดขึ้น๒
เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ ก็ดี มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า วิบากแห่งกาม.
ภิกษุ ท. ! นิโรธ (ความดับ) แห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !นิโรธแห่งกามย่อมมี เพราะนิโรธแห่งผัสสะ. อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็น ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งกาม ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อม
รู้ชัดซึ่งกาม อย่างนี้
รู้ชัด
ซึ่งนิทาน สัมภวะแห่งกาม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกาม อย่างนี้
รู้ชัด
ซึ่ง วิบากแห่งกาม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง นิโรธแห่งกาม อย่างนี้
รู้ชัดซึ่ง ปฏิปทา
ให้ถึง ซึ่งนิโรธแห่งกาม อย่างนี้
ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่ง
พรหมจรรย์นี้อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่าเป็นนิโรธแห่งกาม.
.............................................................................
๑. ให้สังเกตว่าในเรื่องของกามนั้นไม่มีส่วนของธรรมารมณ์ มีแต่เฉพาะอายตนะ ๕ ในส่วน ของกาย เท่านั้นหรือกลุ่มของดิน น้ำ ลม ไฟ
๒. ข้อความนี้ใช้ได้ทั้งภาษาคน และภาษาธรรม ภาษาคนก็คือเกิดใหม่หลังจากตายแล้ว ดังที่ทราบกันอยู่ ถ้าเป็นภาษาธรรมก็คือ จิตที่ครองอัตตภาพปัจจุบันของเขานั้น เกิดเปลี่ยน เป็นบุญ หรือบาป ตามสมควรแก่อุปาทานที่เกิดขึ้นจากความใคร่นั้น ๆ โดยที่ยังไม่ต้องตาย ทั้งนี้ก็เป็นไปได้ทั้งสองกรณี ซึ่งจะเกิดต่อเนื่องกัน ถ้าร่างกายแตกดับขณะนั้น อัตตภาพใหม่ ต่อไปของเขา ก็จะเป็นตามจิตสุดท้าย ที่พอใจอยู่ซึ่งอารมณ์ใดอันเป็นสุคติ(บุญ) หรือทุคติ
(อบุญ)ในขณะนั้นนั่นเอง แต่ถ้าร่างกายยังไม่แตกดับ จิตก็จะทำงานเกิดดับในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นวัฏฏะภายในจิต ต่อไปเรื่อยๆ.
.........................................................................................
309
ไวพจน์ของกาม
ภิกษุ ท. ! คำว่า ภัย ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! คำว่า ทุกข์ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! คำว่า โรค ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! คำว่า หัวฝ’ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! คำว่า ลูกศร ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! คำว่า เครื่องข้อง ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! คำว่า เปือกตม ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! คำว่า ครรภ ดังนี้นั้น เป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ภัย’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลายเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็ นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากภัย ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม (ปัจจุบันนี้) และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น คำว่า ‘ภัย’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ทุกข์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์ ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน) นี้ และที่เป็นไปในกาล อนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้นคำว่า ‘ทุกข์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘โรค’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากโรค ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน) นี้ และที่เป็นไปในกาล อนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น คำว่า ‘โรค’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘หัวฝี’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็ นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากหัวฝีทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาล อนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น คำว่า ‘หัวฝี’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ลูกศร’ จึงเป็นแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกาม
ราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วย ฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากลูกศร ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน) นี้ และที่เป็นไปในกาลอนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น คำว่า ‘ลูกศร’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘เครื่องข้อง’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็ นผู้กำหนัดแล้วด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากเครื่องข้อง ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไป ในกาลอนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น คำว่า ‘เครื่องข้อง’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘เปือกตม’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลาย ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็ นผู้กำหนัดแล้วด้วยกามราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากเปือกตมทั้งที่เป็นไปทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาล อนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้น คำว่า ‘เปือกตม’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุไร คำว่า ‘ครรภ์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของกามทั้งหลายเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สัตว์นี้ เป็ นผู้กำหนัดแล้ว ด้วยกาม-ราคะ ถูกผูกพันแล้ว ด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากครรภ์ ทั้งที่เป็นไปในทิฏฐธรรม(ปัจจุบัน)นี้ และที่เป็นไปในกาล อนาคตเบื้องหน้า
เพราะฉะนั้นคำว่า ‘ครรภ์’ จึงเป็นคำแทนชื่อของ กามทั้งหลาย ดังนี้แล.
312
กามเปรียบด้วยรูรั่วของเรือ
เมื่อสัตว์ มีความใคร่ในกามอยู่, ถ้ากามนั้น สำเร็จแก่เขา คือเขาได้ตามปรารถนาแล้ว เขา ย่อมมีปีติในใจโดยแท้. เมื่อสัตว์ ผู้มีความพอใจ กำลังใคร่ในกามอยู่ ถ้ากามนั้น สูญหายไป เขา ย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกแทงด้วยศร ฉะนั้น.ผู้ใด เว้นขาดจากกาม ด้วยความเห็น ว่า เป็นดุจหัวงู ผู้นั้นเป็นคนมีสติ ล่วงพ้นตัณหาอันส่ายไปในโลกเสียได้.
ผู้ใด เข้าไปผูกใจอยู่ในที่นา ที่สวน เงิน โค ม้าทาสชายและสตรี พวกพ้อง และกามทั้งหลาย อื่นๆเป็นอันมาก กิเลสมารย่อมครอบงำบุคคลผู้นั้นได้, อันตรายรอบด้าน ย่อมย่ำยีบุคคลผู้นั้น เพราะเหตุนั้น ความทุกข์ย่อมติดตามเขา เหมือนนํ้าไหลเข้าสู่เรืออันแตกแล้ว ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น บุคคล ควรเป็นผู้มีสติ ทุกเมื่อ พึงเว้นขาดจากกาม, ละกามแล้ว พึงข้ามโอฆะ เสียได้ ดุจบุคคลอุดยาเรือดีแล้ว ก็พึงข้ามไปถึงฝั่งโน้น (นิพพาน) ได้ ฉะนั้นแล.
312-1
ลักษณะแห่งภวตัณหา
ภิกษุ ท. ! ภวโยคะ (การประกอบอยู่ด้วยภพ) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัด ตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งภพทั้งหลาย ซึ่งความดับไปแห่งภพทั้งหลาย ซึ่งรสอร่อยแห่งภพทั้งหลายซึ่งโทษแห่งภพทั้งหลาย และซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากภพทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! เมื่อเขาไม่รู้อยู่อย่างนั้น, ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ความเสน่หา ในภพ ความสยบในภพ ความหิวระหายในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความเมาหมกในภพ และภวตัณหาในภพทั้งหลาย ย่อมนอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ภวโยคะ (การประกอบอยู่ด้วยภพ) ดังนี้แล.
313
ปัจจัยแห่งภวตัณหา
ภิกษุ ท. ! ที่สุดในเบื้องต้นของภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ ก่อนแต่นี้ ภวตัณหามิได้มี แต่ว่า ภวตัณหาเพิ่งมีต่อภายหลัง.
ภิกษุ ท. !คำกล่าวอย่างนี้แหละเป็นคำที่ใคร ๆ ควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า “ภวตัณหาย่อมปรากฏ เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้ภวตัณหานั้น ก็เป็น ธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของภวตัณหา ?คำตอบพึงมีว่า “อวิชชา เป็นอาหารของภวตัณหา” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชา ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มี อาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา ? คำตอบพึงมีว่า “นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นอาหารของอวิชชา” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ”ดังนี้.
....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....
การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว
ย่อมทำทุจริต ๓ ประการให้บริบูรณ์
ทุจริต ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว
ย่อมทำนิวรณ์ ๕ ประการให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว
ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชาบริบูรณ์แล้ว
ย่อมทำภวตัณหาให้บริบูรณ์.
ภิกษุ ท. ! อาหารแห่งภวตัณหานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วย อาการอย่างนี้.
314
วิภาคแห่งภวตัณหาร้อยแปด
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงแก่พวกเธอ ถึงเรื่อง ตัณหา อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือน พงหญ้า มุญชะและปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้.
พวกเธอจงฟังข้อความนั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธวจนะ นี้ว่า
ภิกษุ ท. ! ตัณหานั้น เป็นอย่างไรเล่า จึงชื่อว่ามีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์ ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือน พงหญ้ามุญชะและปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ ?
ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับ ยึดขันธ์ อันเป็นภายใน และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็นภายนอก เหล่านี้ มีอยู่.
ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน เหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็นภายในนั้นคือ เมื่อมีความนึกไปในทาง ที่ว่า “เรามี เราเป็น” ดังนี้ ก็เกิดความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา
ว่า“เรามีอยู่ เป็นอยู่” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นอย่างนั้นๆ (คืออย่างเดียวกันกับคู่เปรียบ)” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นอย่างอื่น (คือแตกต่างตรงกันข้ามจากคู่เปรียบ)” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นผู้เที่ยงผู้ยั่งยืน” ดังนี้ ๑
ว่า “เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่” ดังนี้ ๑
ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑
ว่า“เราพึงเป็นอย่างนั้นๆ ” ดังนี้ ๑
ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑
ว่า “ขอให้เรามีอยู่เป็นอยู่” ดังนี้ ๑
ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑
ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนั้นๆ” ดังนี้ ๑
ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่” ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักเป็นอย่างนี้ๆ” ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักเป็นอย่างนั้นๆ” ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็น ภายใน.
ภิกษุ ท. ! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก คือ เมื่อมีความนึกไป ในทางที่ว่า “เรามี เราเป็น ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก) นี้” ดังนี้ ก็เกิดความนึกที่เป็นไป ตามอำนาจแห่งตัณหา ว่า
“เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก)นี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นอย่างนี้ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นอย่างนั้น ๆด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า“เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้”ดังนี้ ๑
ว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “ขอให้เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนี้ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑,
ว่า “ขอให้เราเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้”ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักเป็นอย่างนี้ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑
ว่า “เราจักเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้” ดังนี้ ๑.
ภิกษุ ท. !เหล่านี้แลชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็น ภายนอก.
ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายในด้วย และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอกด้วย เหล่านี้แล เรียกว่า ตัณหาวิจริต ๓๖ อย่าง.
ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริตอย่างนี้แล เป็นอดีต ๓๖อย่าง เป็นอนาคต ๓๖ อย่าง และปัจจุบัน ๓๖ อย่าง รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ อย่าง.
ภิกษุ ท. ! นี่แลคือ ตัณหานั้น อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์ ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะ และปัพพชะ๑จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ แล.
………………………………………………………………………………………………..
๑. หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน. ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.
………………………………………………………………………………………………..
317
เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง
(เพราะภวตัณหา)
ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
เหตุห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ
สนใจแต่คำพูด
สนใจแต่ผู้พูด
สนใจแต่ตัวเอง
มีจิตฟุ้งซ่าน
ไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม
และทำในใจไม่แยบคาย.
ภิกษุ ท. !บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าว ลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
318
เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง
(อีกปริยายหนึ่ง)
ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
เหตุห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ
สนใจแต่คำพูด
สนใจแต่ผู้พูด
สนใจแต่ตัวเอง
เป็นคนโง่เง่าเงอะงะ
มัวแต่สำคัญตนว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้.
ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบ ด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
318-1
เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง
(อีกปริยายหนึ่ง)
ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
เหตุห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ
เป็นคนลบหลู่ฟังธรรม
มีจิตมากไปด้วยความลบหลู่
แข่งดีฟังธรรม
คอยจ้องจับความผิดพลาดในผู้แสดงธรรมด้วยจิตมุ่งร้ายแข็งกระด้าง
เป็นคนโง่เง่าเงอะงะ มัวแต่สำคัญตนว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้.
ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าว ลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
(ในตอนท้ายของแต่ละปริยาย ได้ตรัสถึงบุคคลผู้มีธรรมตรงกันข้าม คือสามารถฟังธรรม สำเร็จประโยชน์ ผู้ศึกษาพึงคำนวณเอาด้วยตนเอง โดยปฏิปักขนัยจากข้อความข้างบนนี้)
319
ภพแม้ชั่วขณะดีดนิ้วมือก็ยังน่ารังเกียจ
ภิกษุ ท. ! คูถแม้นิดเดียว ก็เป็นของมีกลิ่นเหม็น ฉันใด
ภิกษุ ท. !สิ่งที่เรียกว่า ภพ (ผลแห่งภวตัณหา) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มีประมาณน้อย ชั่วลัดนิ้วมือเดียว ก็ไม่มีคุณอะไรที่พอจะกล่าวได้.
(ในสูตรถัดไป ได้ตรัสอุปมาด้วย มูตร ด้วย นํ้าลาย ด้วย หนอง ด้วย โลหิต โดยทำนองเดียวกัน)
วิภวตัณหา
เรื่องของ วิภวตัณหา ที่เป็นพุทธดำรัสโดยตรง ยังไม่พบที่มา ขอนักศึกษา จงทราบ โดยเป็นปฏิปักขนัยของ ภวตัณหา.
นิทเทส ๓
ว่าด้วยลักษณะแห่งตัณหา
จบ |