เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  13 of 13 ออกไป อริยสัจ- หน้าแรก  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ตอนจบ) หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ตอนจบ) หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  อานิสงส์การเกิดแห่งธรรมโดยไม่ต้องเจตนา 780     หมวดจิตตานุปัสสนา 806-3
  สัญญาในอุปาทานระงับไปเมื่ออารมณ์แห่งสัญญานั้น- 782     หมวดธัมมานุปัสสนา 806-4
  อนุสัยทั้งสามไม่เกิดแก่อริยสาวก แม้เสวยทุกขเวทนา 785     โพชฌงค์บริบูรณ์เพราะสติปัฏฐานบริบูรณ์ 809
  การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อเสวยเวทนาสาม แล้วดับเย็น 787     โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายาฯ 809-1
  มรรค ๘ สมบูรณ์ เกิดขึ้นบริบูรณ์โดยทันที 790     โพชฌงค์เจ็ด หมวดเวทนา ฯ 809-2
  การออกไปเสียได้จากทางเดินแห่งจิตของสัตว์บุถุชน 793     โพชฌงค์เจ็ด หมวดจิตตา ฯ 809-3
  การละความผูกพันในความสุขทุกชั้นก. สุขที่ควรกลัว 796     โพชฌงค์เจ็ด หมวดธัมมา ฯ 809-4
  ข. สุขที่ไม่ควรกลัว 797     วิชชา-วิมุตติบริบูรณ์เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์ 813
  ค. สุขที่ยังหวั่นไหวและไม่หวั่นไหว 797-1     นิโรธอริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง) 814
  การละทิฏฐิด้วยอนุปัสสนาญาณในอารมณ์ของทิฏฐิ- 802     นิโรธอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง 815
     
 
      ภาคผนวก(พระสูตรเกี่ยวกับอริยสัจสี่-)  
  อนุสัยเจ็ด สลายเมื่อขาดความยึดมั่นในอารมณ์แห่ง 802     (ภาคผนวก)กายนคร (อีกนัยหนึ่ง) กายคตาสติ ผ.2
  ลำดับปัจจัยแห่งการกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน 803     (ภาคผนวก)กายนคร (อีกนัยหนึ่ง) อายตนะ6 ผ.7
  วิธีการบ่มวิมุตติให้ถึงที่สุดเจริญสัมโพธิปักขิยธรรม” 804     (ภาคผนวก)กายนคร (อีกนัยหนึ่ง) อุปมาบุรุษถือหม้อ ผ.11
  สติปัฏฐานบริบูรณ์เพราะอานาปานสติบริบูรณ์ 806     (ภาคผนวก)โพชฌงค์แก้จิตหดหู่และจิตฟุ้งซ่าน ผ.13
  หมวดกายานุปัสสนา 806-1     (ภาคผนวก)โพชฌงค์๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ ผ.16
  หมวดเวทนานุปัสสนา 806-2     (ภาคผนวก)ตถาคตเท่านั้นที่พยากรณ์ไม่ผิดพลาด ผ.17
      จบ อริยสัจสี่ ภาคต้น  

 

   

 

 
 
 





หน้า 780 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
อานิสงส์ตามลำดับการเกิดแห่งธรรมโดยไม่ต้องเจตนา
(จากสีลถึงวิมุตติ)

          
อานนท์! ด้วยอาการอย่างนี้แล :
         ศีลอันเป็นกุศล
มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         อวิปปฏิสาร
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         ความปราโมทย์
มีปีติเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         ปีติ มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         ปัสสัทธิ
มีสุขเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         สุข มีสมาธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         สมาธิ
มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         ยถาภูต-ญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         นิพพิทา มีวิราคะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย
         วิราคะ
มี วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย.

อานนท์! ศีลอันเป็นกุศล ย่อมยังอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้แล.

         ภิกษุ ท. ! เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “อวิปปฏิสารจงบังเกิดแก่เรา”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้วอวิปปฏิสารย่อมเกิด (เอง)

          ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “ปราโมทย์จงบังเกิดแก่เรา”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อไม่มีวิปปฏิสารปราโมทย์ย่อมเกิด (เอง)

          ภิกษุ ท. ! เมื่อปราโมทย์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “ปีติจงบังเกิดแก่เรา”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด (เอง)

          ภิกษุ ท. ! เมื่อมีใจปีติแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “กายของเราจงรำงับ”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีใจปีติแล้ว กายย่อมรำงับ (เอง)

          ภิกษุ ท.! เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงเสวยสุขเถิด”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข (เอง)

          ภิกษุ ท. ! เมื่อมีสุขก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “จิตของเราจงตั้งมั่นเป็นสมาธิ”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เป็ นสมาธิ (เอง).

          ภิกษุ ท. ! เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงรู้จงเห็นตามที่เป็น จริง”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อจิตตั้งมั่นเป็ นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ย่อมเห็นตามที่เป็ นจริง (เอง)

         
ภิกษุ ท. ! เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงเบื่อหน่าย”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย (เอง)

          ภิกษุ ท.! เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงคลายกำหนัด”.ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด (เอง)

          ภิกษุ ท. ! เมื่อจิตคลายกำหนัดแล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า “เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติ ญาณ ทัสสนะ”. ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อคลายกำหนัดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่ง วิมุตติญาณ ทัสสนะ (เอง)


หน้า 782 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
สัญญาในอุปาทานระงับไปเมื่ออารมณ์แห่งสัญญานั้นเป็
นวิภูตะ

(ขอให้ผู้ศึกษาอดทนอ่านข้อความอันเป็นอุปมาในตอนต้น ซึ่งค่อนข้างจะยืดยาวให้เห็นชัด เสียก่อน ว่า ม้ากระจอกกับม้าอาชาไนยต่างกันอย่างไรจึงจะเข้าใจความต่างระหว่าง ผู้ที่เพ่ง ด้วยความ ยึดถือและเพ่ง ด้วยความไม่ยึดถือ จึงจะเข้าใจความหมายของคำว่า วิภูตะ-ความเห็นแจ้งของ ผู้ที่เพ่งด้วยความไม่ยึดถือ).

สันธะ! เธอจงเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์อาชาไนย อย่าเพ่งอย่างการเพ่งของสัตว์ กระจอก

สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก ? สันธะ !ม้ากระจอก ถูกผูกไว้ ที่ราง เลี้ยงอาหาร ใจของมันก็จะเพ่งอยู่แต่ว่า “ข้าวเปลือก ๆ”เพราะเหตุไรเล่า ?

สันธะ ! เพราะเหตุว่ามันไม่มีแก่ใจที่จะคิดว่า “วันนี้ สารถีของเราต้องการให้เรา ทำอะไร หนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” มันมัวเพ่งอยู่ในใจว่า “ข้าวเปลือก ๆ” ดังนี้.

สันธะ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุกระจอกบางรูปในกรณีนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่าง ก็ตาม มีจิตถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุมห่อหุ้มอยู่. เขาไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งอุบาย เป็นเครื่องออกจาก กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว เขากระทำกามราคะนั้น ๆ ให้เนื่องกันไม่ขาดสาย เพ่งอยู่ เพ่งทั่วอยู่ เพ่ง โดยไม่เหลืออยู่ เพ่งลงอยู่.

(ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - และวิจิกิจฉานิวรณ์ก็ได้เป็นไปใน ลักษณะ อย่างเดียว กันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์).

ภิกษุนั้นย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าดินบ้าง ย่อมเพ่งอาศัยความสำคัญว่าน้ำบ้าง อาศัยความสำคัญว่าไฟ บ้างอาศัยความสำคัญว่าลมบ้าง ว่าอากาสานัญจายตนะบ้าง ว่าวิญญาณัญ-จายตนะบ้างว่าอากิญจัญญายตนะ บ้าง ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง ว่าโลกนี้บ้าง ว่าโลกอื่นบ้าง อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”. “สิ่งที่เราฟังแล้ว” “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว” “สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว” “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว” “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว” “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆเป็นต้น ดังนี้บ้าง เพ่งอยู่.
         สันธะ ! อย่างนี้แล เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์กระจอก.
         สันธะ ! อย่างไรเล่า เป็นการเพ่งอย่างของสัตว์อาชาไนย ?
         สันธะ !ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ถูกผูกไว้ที่รางเลี้ยงอาหาร ใจของมันจะไม่เพ่งอยู่ แต่ว่า “ข้าวเปลือก ๆ” เพราะเหตุไรเล่า ?

         สันธะ ! เพราะเหตุว่า แม้ถูกผูกอยู่ที่รางเลี้ยงอาหาร แต่ใจของมันมัวไปคิดอยู่ว่า “วันนี้ สารถีของเรา ต้องการให้เราทำอะไรหนอ เราจะตอบสนองเขาอย่างไรหนอ” ดังนี้ มันไม่มัวแต่เพ่งอยู่ ในใจว่า “ข้าวเปลือก ๆ” ดังนี้.

         สันธะ ! ก็ม้าอาชาไนยนั้น รู้สึกอยู่ว่าการถูกลงปะฏักนั้นเป็นเหมือนการใช้หนี้การ ถูกจองจำ ความเสื่อม เสีย เป็นเหมือนเสนียดจัญไร.

(ขอให้สังเกตว่า แม้อยู่ในที่เดียวกัน ต่อหน้าสถานการณ์อย่างเดียวกัน ม้าสองตัวนี้ก็มีความ รู้สึก อยู่ในใจ คนละอย่าง ตามความต่างของมัน คือตัวหนึ่งเพ่งแต่จะกิน ตัวหนึ่งเพ่งแต่ใน หน้าที่ ที่จะไม่ทำให้บกพร่อง จนถูกลงโทษ ดังนี้เรียกว่า มีความเพ่งต่างกันเป็นคนละอย่าง).

สันธะ ! ภิกษุอาชาไนยผู้เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน:ไปแล้วสู่ป่าก็ตามไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไป แล้วสู่เรือนว่าง ก็ตาม มีจิตไม่ถูกกามราคนิวรณ์กลุ้มรุม ห่อหุ้มอยู่ เขาเห็นตามเป็นจริงซึ่งอุบาย เป็นเครื่องออกกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้ว.

(ในกรณีแห่ง พยาบาท - ถีนมิทธะ - อุทธัจจกุกกุจจะ - และวิจิกิจฉา - นิวรณ์ ก็ได้เป็นไปใน ลักษณะอย่าง เดียวกันกับกรณีแห่งกามราคะนิวรณ์).

ภิกษุนั้น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าดินย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำ ไม่อาศัยความ สำคัญว่าไฟ ไม่อาศัยความสำคัญว่าลม ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากาสานัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าวิญญา-ณัญจายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าอากิญจัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกนี้ ไม่อาศัยความสำคัญว่าโลกอื่น ย่อมเพ่งไม่อาศัยความสำคัญว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว”.

“สิ่งที่เราฟังแล้ว” “สิ่งที่เรารู้สึกแล้ว” “สิ่งที่เรารู้แจ้งแล้ว” “สิ่งที่เราบรรลุแล้ว” “สิ่งที่เราแสวงหาแล้ว” “สิ่งที่ใจของเราติดตามแล้ว” แต่ละอย่างๆ เป็นต้น ดังนี้บ้าง เพ่งอยู่ๆ.

สันธะ ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี ย่อมนมัสการบุรุษอาชาไนย ผู้เจริญผู้ เพ่งอยู่อย่างนี้ มาแต่ที่ไกลทีเดียว กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษสูงสุด !ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน เพราะข้าพเจ้า ไม่อาจ จะทราบสิ่ง ซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน”“นโม เต ปุริสาช นโม เต ปุริสุตฺตมยสฺส เต นาภิชานาม ยมฺปิ นิสฺสาย ฌายสีติฯ

(เมื่อตรัสดังนี้แล้ว สันธภิกษุได้ทูลถามว่า)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอย่างไรกัน ชนิดที่ไม่อาศัยดินหรือน้ำ เป็นต้น แล้วเพ่ง จนกระทั่งพวกเทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น พระเจ้าข้า ?

(ต่อไปนี้ เป็นคำตรัสที่แสดงให้เห็นว่า สัญญาต่างๆจะถูกเพิกถอนไป เมื่ออารมณ์แห่งสัญญานั้น เป็นที่แจ่มแจ้ง แก่ผู้เพ่ง ว่าสิ่งนั้นๆ มิได้เป็นตามที่คนธรรมดาสามัญที่สำคัญว่าเป็นอย่างไร ขอให้ผู้ศึกษาตั้งใจทำ ความ เข้าใจให้ดีที่สุด ดังต่อไปนี้ )

สัทธะ ! ในกรณีนี้ ปฐวีสัญญา (ความสำคัญในดินว่าดิน) ย่อมเป็นแจ้ง (วิภูติ-เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง) แก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญความสำคัญในนํ้า ว่านํ้า
ความสำคัญในไฟ ว่าไฟ

ความสำคัญในลม ว่าลม

ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะ ว่าอากาสานัญจายตนะ
ความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าวิญญาณัญ-
จายตนะความสำคัญในอากิญจัญญายตนะ ว่าอากิญจัญญายตนะ ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ความสำคัญในโลกนี้ ว่าโลกนี้

ความสำคัญในโลกอื่น ว่าโลกอื่น

ความสำคัญในสิ่งที่เห็นแล้ว ฟังแล้วฯลฯ ว่า “สิ่งที่เราเห็นแล้ว” “สิ่งที่เราฟังแล้ว” ฯลฯ  ก็ล้วนแต่เป็นแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ

สันธะ ! บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ เพ่งอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า ไม่อาศัยความสำคัญว่าดินแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าน้ำแล้วเพ่ง ไม่อาศัยความสำคัญว่าไฟแล้วเพ่ง เป็นต้น จนกระทั่งพวก เทวดาพากันสรรเสริญว่าดังนั้น.


785 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
อนุสัยทั้งสามไม่เกิดแก่อริยสาวก
แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา

ภิกษุ ท. ! ส่วนอริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมไม่เศร้าโศก ย่อมไม่กระวน กระวาย ย่อมไม่ร่ำไรรำพัน ไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงความมีสติฟั่นเฟือน ย่อมเสวยเวทนา เพียงอย่างเดียว คือเวทนาทางกายหามีเวทนาทางจิตไม่.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษพึง ยิงบุรุษด้วยลูกศรแล้ว ไม่พึงยิง ซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรที่สอง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวย เวทนาจากลูกศรเพียงลูกเดียว แม้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ก็ฉันนั้นคือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ก็ไม่เศร้าโศก ไม่กระวน กระวาย ไม่ร่ำไรรำพันไม่เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ไม่ถึงซึ่งความมีสติฟั่นเฟือน อริยสาวกนั้น ชื่อว่าย่อม เสวยเวทนาเพียง อย่างเดียว คือเวทนาทางกาย หามีเวทนาทางจิตไม่.

อริยสาวกนั้น หาเป็นผู้มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนานั้นไม่. ปฏิฆานุสัยอันใด อันเกิดจาก ทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย อันนั้น ย่อมไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกคนนั้นผู้ไม่มีปฏิฆะ เพราะ ทุกขเวทนา.

อริยสาวกนั้น อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ก็ไม่ (น้อมนึก) พอใจซึ่งกามสุข. ข้อนั้น เพราะเหตุไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ย่อม รู้ชัดอุบายเครื่องปลด เปลื้องซึ่ง ทุกขเวทนา ซึ่งเป็นอุบาย อื่นนอกจากกามสุข. เมื่ออริยสาวกนั้นมิได้พอใจซึ่ง กามสุข อยู่ ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา ราคา นุสัยอันนั้น ก็ไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกนั้น.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษ อันต่ำทราม และ ซึ่งอุบายเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง.

เมื่ออริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำ ทราม และซึ่งอุบาย เครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริงอยู่ อวิชชานุสัย อันใด อันเกิดจากอทุกขมสุข เวทนา อวิชชานุสัยอันนั้น ก็ย่อม ไม่นอนตาม ซึ่งอริยสาวกนั้น.

อริยสาวกนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมไม่เป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกข เวทนาก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่เป็นผู้ติดพันเสวย เวทนานั้น.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.


787
การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อเสวยเวทนาสาม
แล้วดับเย็น
(พระราชดำรัสนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ขอผู้ศึกษาพิจารณาใคร่ครวญให้เป็นอย่างดีที่สุด )

(พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปในโรงเป็นที่รักษาภิกษุเจ็บไข้ ได้ประทานโอวาทแก่ภิกษ ุทั้งหลาย ในที่นั้นว่า)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับ พวกเธอทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้

เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและ โทมนัส ในโลกออกเสียได้
เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
....
เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
....
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัด อภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้.

อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัว รอบ คอบในการ ก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง การแลดู การเหลียวด การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การไป การหยุด การนั่ง การนอน การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง อย่างนี้แล ภิกษุ ท. ! เรียกว่า ภิกษุ เป็นผู้มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ นี้แล เป็นอนุสาสน ของ เราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย. ภิกษุ ท ! ถ้าเมื่อภิกษุ มีสติ มีสัมปชัญญะ ม่ประมาท มี ความเพียรเผา กิเลส มีตนส่งไป แล้วในธรรม อยู่ อย่างนี้ สุขเวทนา เกิดขึ้น ไซร้ เธอย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “สุขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่สุขเวทนานี้ อาศัยเหตุปัจจัยจึง เกิดขึ้นได้ ไม่อาศัยเหตุปัจจัย แล้วหาเกิดขึ้นได้ไม่.

อาศัยเหตุปัจจัยอะไรเล่า ? อาศัยเหตุปัจจัยคือกายนี้ นั่นเอง ก็กายนี้ ไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุง แต่งอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น สุขเวทนาที่เกิด ขึ้นเพราะอาศัยกายซึ่งไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้แล้ว จักเป็นสุขเวทนาที่เที่ยงมา แต่ไหน”ดังนี้.

ภิกษุนั้น เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ ตามเห็นความเสื่อม ความจางคลายอยู่ ตามเห็นความ ดับ ไป ความ สลัดคืนอยู่ ในกายและในสุขเวทนา. เมื่อเธอเป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง (เป็นต้น) อยู่ใน กายและในสุขเวทนา อยู่ดังนี้ เธอย่อมละเสียได้ ซึ่ง ราคานุสัย ในกายและ ในสุขเวทนานั้น. (ในกรณี ถัดไปซึ่งเป็นการเสวย ทุกขเวทนา อันจะเป็นเหตุให้เกิด ปฏิฆานุสัย นั้น ก็ตรัสไว้ด้วย ข้อความทำนองเดียวกัน ที่ภิกษุพิจารณาเห็น กายและ ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง เป็นของปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็ละปฏิฆานุสัยในกาย และใน ทุกขเวทนา นั้นเสียได้.

ในกรณีถัดไปอีก แห่งการเสวย อทุกขมสุขเวทนา อันจะเป็นทางให้เกิด อวิชชานุสัย ก็ได้ตรัส วิธีปฏิบัติ ในการพิจารณาเห็นกายและอทุกขมสุขเวทนานั้น โดยทำนองเดียวกัน จนละอวิชชานุสัย เสียได้).

ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “ สุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง และเป็นเวทนาที่เรา มิได้ มัวเมาเพลิด เพลินอยู่” ดังนี้. ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “ทุกขเวทนานั้น เป็นของไม่ เที่ยง และเป็นเวทนาที่เรามิได้ มัวเมาเพลิดเพลินอยู่” ดังนี้. ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า “อทุกขมสุขเวทนานั้น เป็นของไม่เที่ยง และเป็นเวทนาที่เรามิได้มัวเมา เพลิดเพลิน อยู่” ดังนี้.

ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนา นั้น; ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจากเวทนานั้น เป็นเครื่อง ร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น; ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสอันเกิดจาก เวทนา นั้นเป็นเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.

ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีกาย เป็นที่สุดรอบ เมื่อเสวย เวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิต เป็นที่สุดรอบ. เธอย่อม รู้ชัดว่า เวทนาทั้ง ปวงอันเรา ไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น ในอัตตภาพนี้นั่น เทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่ง ชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนประทีปนํ้ามัน ได้อาศัยนํ้ามันและไส้แล้วก็ลุกโพลงอยู่ได้เมื่อขาด ปัจจัย เครื่องหล่อเลี้ยง เพราะขาดนํ้ามันและไส้นั้นแล้ว ย่อมดับลง นี้ฉันใด ภิกษุ .! ข้อนี้ก็ ฉันนั้น คือภิกษุ เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนา อันมีกายเป็นที่สุด รอบดังนี้.

เมื่อเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุด รอบดังนี้. (เป็นอันว่า) ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น ในอัตต ภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุด รอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

(ในสูตรถัดไป (๑๘/๒๖๔/๓๘๕) ทรงแสดง ที่เกิดของเวทนาทั้งสาม ว่าได้แก่ “ผัสสะ”แทนที่ จะทรงแสดง ว่ ได้แก่ “กาย” เหมือนที่ทรงแสดงไว้ในสูตรข้างบนนี้ ส่วนเนื้อความ นอกนั้น ก็เหมือนกับข้อความแห่งสูตร ข้างบนนี้ ทุกประการ).


790
มรรค
๘ สมบูรณ์ เกิดขึ้นบริบูรณ์โดยทันที
เมื่อเห็นองค์ประกอบของผัสสะตามเป็นจริง


ภิกษุ ท. ! ....ส่วนบุคคล

เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง.
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็น ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริงแล้ว เขาย่อมไม่กำหนัดในจักษุไม่ กำหนัด ในรูปทั้งหลาย ไม่กำหนัดในจักขุ วิญญาณ ไม่กำหนัดในจักขุสัมผัส และไม่กำหนัด ในเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุข ก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม.

เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดแล้วไม่ติดพันแล้ว
ไม่ลุ่มหลงแล้ว ตามเห็นอาทีนวะ (โทษของสิ่ง เหล่านั้น) อยู่เนืองๆปัญจุปาทานขันธ์ทั้งหลาย ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไปและ ตัณหา อันเป็นเครื่องนำไปสู่ ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน เป็นเครื่องทำ ให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ นั้นอันเขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวาย(ทรถ)แม้ ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้ ความกระวน กระวายแม้ ทางจิต อันเขาย่อมละ เสียได้ ความ แผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกายอันเขาย่อมละเสียได้ ความ แผดเผา แม้ทางจิต อันเขาย่อมละ เสียได้ ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย อันเขาย่อมละเสียได้ ความ เร่าร้อน แม้ทางจิต อันเขาย่อมละเสียได้.

บุคคลนั้นย่อม เสวยซึ่งความสุข อันเป็นไป ทางกายด้วย. ซึ่งความสุขอันเป็นไป ทางจิต ด้วย .เมื่อบุคคล เป็นเช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ; ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมา สังกัปปะ ความ พยายาม ของเขา ย่อมเป็นสัมมาวา-ยามะ สติ ของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิ ของเขาย่อมเป็นสัมมา สมาธิ ส่วน กายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะ ของเขาเป็นธรรม บริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว. ด้วยอาการ อย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้ ของเขานั้นย่อม ถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ.

เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้, สติปัฏ-ฐาน แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึง ซึ่งความ เต็มรอบ แห่งความเจริญ สัมมัปปธาน แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่ง ความเจริญ อิทธิบาท แม้ทั้ง ๔ ย่อมถึง ซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ อินทรีย์ แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความ เต็มรอบแห่งความเจริญ พละ แม้ทั้ง ๕ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบ แห่งความ เจริญ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ ย่อมถึงซึ่งความเต็มรอบแห่งความเจริญ. ธรรม ทั้งสองคือ สมถะ และวิปัสสนา ของเขา นั้น ย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไป. บุคคลนั้น ย่อม กำหนดรู้

ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละ ด้วยปัญญา อันยิ่ง ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึง ทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อม ทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลายอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบ พึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์ ทั้งหลาย กล่าวคืออุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือ เวทนา อุปาทาน ขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่า เป็น ธรรมอันบุคคลพึง กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงละด้วย ปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบ พึงมีว่า อวิชชา ด้วย ภวตัณหา ด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แลชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคล พึงละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบ พึงมีว่า สมถะ ด้วย วิปัสสนา ด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอัน บุคคลพึง ทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ก็ ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็นธรรมอันบุคคลพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบ พึงมีว่า วิชชา ด้วย วิมุตติ ด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล ชื่อว่าเป็นธรรมอันบุคคล พึงทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

(ในกรณีที่เกี่ยวกับ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน และ สหคตธรรมแห่งอายตนะมีโสตเป็นต้น ก็มีเนื้อความเหมือนกับที่กล่าวแล้วในกรณีแห่ง จักษุและสหคตธรรมของจักษุ ดังที่กล่าว ข้างบน นี้ ทุกประการ พึงขยายความเอาเองให้เต็มตามนั้น).


793
การออกไปเสียได้จากทางเดินแห่งจิตของสัตว์บุถุชน


(ทางเดินแห่งจิตของสัตว์ มีอยู่ ๓๖ อย่าง มีอยู่ที่หัวข้อว่า “เวทนาคือทางไปแห่งจิตของสัตว์” ในภาค ที่ว่า ด้วยทุกขอริยสัจ หน้า ๑๘๖ แห่งหนังสือเล่มนี้. ข้อความต่อไปนี้ แสดงการออก มา เสียได้จากทางเดินแห่งจิต ของสัตว์เหล่านั้น โดยอาศัยธรรมที่เป็นคู่ปรับแก่กันเป็นคู่ๆ ละฝ่าย ที่ควรละเสีย จนกระทั่งออกมาเสียได้จาก ทางแห่งทุกข์ถึงที่สุดโดยประการทั้งปวง ดังต่อไปนี้ )

ภิกษุ ท. ! คำ ที่เรากล่าวว่า “จงอาศัยทางนี้ แล้วละทางนี้เสีย” ดังนี้นั้น เรากล่าวอาศัยหลัก เกณฑ์อะไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เรากล่าวอาศัยหลักเกณฑ์ คือ

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้นโสมนัส อาศัยการ หลีกออก จากเรือน (เนกขัมม สิต โสมนัส) หกอย่างมีอยู่ เธอจง อาศัยแล้วๆ ซึ่งโสมนัสอาศัยการ หลีก ออกจากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วง เสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือนหกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วง เสียได้ ซึ่งโสมนัสอาศัยเรือนหกอย่างเหล่า นั้น ย่อมมีด้วยอาการเหล่านี้.

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น โทมนัสอาศัยการหลีก ออกจาก เรือน(เนกขัมม สิตโทมนัส) หกอย่างมีอยู่ เธอจง อาศัยแล้วๆ ซึ่งโทมนัสอาศัยการ หลีกออกจาก เรือนนั้น ละเสียก้าว ล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือนหกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโทมนัสอาศัยเรือนหกอย่าง เหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น อุเบกขาอาศัยการหลีกออก จาก เรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) หกอย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งอุเบกขาอาศัยการ หลีกออก จากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสีย ซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือนหกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วง เสียได้ ซึ่งอุเบกขา อาศัย เรือนหกอย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น โสมนัสอาศัยการหลีก ออกจากเรือน (เนกขัมมสิตโสมนัส) หกอย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้วๆ ซึ่งโทมนัสอาศัยการ หลีกออกจาก เรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโทมนัส อาศัยการหลีกออกจากเรือน หกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโทมนัสอาศัยการหลีกออกจากเรือนหก อย่างเหล่านั้นย่อมมีด้วยอาการอย่าง นี้.

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาทางไป (แห่งจิต) ของสัตว์ทั้งสามสิบหกนั้น อุเบกขาอาศัยการหลีก ออกจาก เรือน (เนกขัมมสิตอุเบกขา) หกอย่างมีอยู่ เธอจงอาศัยแล้วๆ ซึ่งอุเบกขาอาศัย การหลีกออก จากเรือนนั้น ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัย การหลีกออกจากเรือน หกอย่าง. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งโสมนัสอาศัย การหลีกออกจากเรือนหก อย่างเหล่านั้น ย่อมมีด้วย อาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! อุเบกขามีภาวะต่างๆ (นานัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะต่างๆ ก็มีอยู่. อุเบกขามีภาวะ อย่างเดียว (เอกัตตอุเบกขา) อาศัยภาวะอย่างเดียว ก็มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! อุเบกขามีภาวะต่างๆ อาศัยภาวะต่างๆ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษ ท. ! อุเบกขาในรูป ท. มีอยู่ อุเบกขาในเสียง ท. มีอยู่, อุเบกขาในกลิ่น ท. มีอยู่ อุเบกขาในรส ท. มีอยู่ อุเบกขาใน โผฏฐัพพะ ท. มีอยู่.

ภิกษุ ท. ! นี้คือ อุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่าง ๆ.ภิกษุ ท. ! อุเบกขามีภาวะ อย่างเดียว อาศัยภาวะ อย่างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! อุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนะมีอยู่, อุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนะมีอยู่, อุเบกขา อาศัย อากิญจัญญายตนะมีอยู่ อุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะมีอยู่. ภิกษุ ท.!นี้คือ อุเบกขามีภาวะ อย่างเดียวอาศัยภาวะอย่างเดียว. (เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๗๗๖ การแบ่ง อุเบกขาอีกนัยยะหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอุเบกขาเหล่านั้น เธอจง อาศัยแล้วๆ ซึ่งอุเบกขามีภาวะอย่างเดียวอาศัย ภาวะอย่าง เดียว ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งอุเบกขา มีภาวะต่างๆ อาศัยภาวะต่างๆ นั้น. การละ เสีย ได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขามีภาวะต่าง ๆ อาศัยภาวะต่างๆ นั้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! เธอจง อาศัยแล้วๆ ซึ่ง อตัมมยตา ละเสียก้าวล่วงเสียซึ่งอุเบกขามีภาวะ อย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียวนั้น. การละเสียได้ การก้าวล่วงเสียได้ ซึ่งอุเบกขา มีภาวะอย่างเดียว อาศัยภาวะอย่างเดียว กัน ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
…………………………………………………………………………………….

๑. อตัมมยตา คำนี้ ยากที่จะแปลออกมาตรง ๆ และไม่ควรจะแปลออกมา ให้ใช้ทับศัพท์ จนกลาย เป็นคำใน ภาษาไทย เหมือนคำสำคัญอื่น ๆ เช่นคำว่า นิพพาน เป็นต้นก็แล้วกัน. สำหรับความ หมายของคำว่า อตัมมยตา นั้น
หมายถึงภาวะที่ไม่ต้องเนื่องหรืออาศัย ปัจจัย อะไร ๆ ได้แก่ อสัขตธรรมอันเป็นธรรม ที่ปราศจากตัณหาเป็นต้น อันปัจจัย ปรุงแต่งไม่ได้ นั่นเอง.
…………………………………………………………………………………….

ภิกษุ ท. ! คำใดที่เรากล่าวว่า “จงอาศัยทางนี้ แล้วละทางนี้เสีย”ดังนี้นั้น คำนั้นเรากล่าว อาศัยหลัก เกณฑ์ อย่างนี้แล.

(นี้แสดงว่า การอาศัยทางอย่างหนึ่งละทางอย่างหนึ่งเสียนั้น เป็นนิโรธอย่างหนึ่งๆ ซึ่งควรจะ มอง ให้เห็นว่าเป็นนิโรธ ๗ ขั้นตอน ดังนี้คือ
อาศัย เนกขัมมสิตโสมนัส ละเคหสิตโสมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตโสมนัส ละเนกขัมมสิตโทมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตโทมนัส ละเคหสิตโทมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตอุเบกขา ละเคหสิตอุเบกขา คู่หนึ่ง
อาศัย เนกขัมมสิตอุเบกขา ละเนกขัมมสิตโสมนัส คู่หนึ่ง
อาศัย เอกัตตอุเบกขา ละนานัตตอุเบกขา คู่หนึ่ง
อาศัย อตัมมยตา ละเอกัตตอุเบกขา (คู่หนึ่ง).


796
การละความผูกพันในความสุขทุกชั้น

ก. สุขที่ควรกลัว

อุทายิ ! กามคุณ ห้าอย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปทั้งหลาย ที่จะพึงรู้สึก ได้ด้วยตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไป อาศัยอยู่แห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัด เสียงทั้งหลายที่จะพึงรู้สึกได้ด้วยหู .... กลิ่นทั้งหลายที่จะ พึงรู้สึกได้ด้วยจมูก... รสทั้งหลาย ที่จะพึงรู้สึกได้ด้วยลิ้น.... โผฏฐัพพะ ทั้งหลาย ที่จะพึงรู้สึกได้ ด้วยผิวกาย อันเป็นโผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนาน่า ใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่ แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. อุทายิ ! เหล่านี้ แล กามคุณห้าอย่าง.

อุทายิ ! สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณห้าเหล่านี้เกิดขึ้น นี้เรากล่าวว่า กามสุข มิฬ๎หสุข๑ ปุถุชนสุข อนริยสุข เรากล่าวว่า สุขนั้นบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรมี ไม่ควรทำให้มาก และควร กลัว.
.................................................................................
๑. สุขไม่สะอาด มีสุขเกิดทางท่อปัสสาวะเป็นต้น.
……………………………………………………………………



797
ข. สุขที่ไม่ควรกลัว


อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติ และ สุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสอง ระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจ ในภายในให้สมาธิ เป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มี วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้ว แลอยู่

อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และ ย่อมเสวย ความ สุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปกติ สุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุข เสียได้ และเพราะละทุกข์ เสียได้ เพราะความดับไปแห่ง โสมนัส และโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อนเข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มี ทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่. นี้เรากล่าวว่า เนกขัมมสุข วิเวกสุข อุปสมสุข-สัมโพธิสุข. เรากล่าวว่า สุขนั้นบุคคล ควรเสพ ควรเจริญ ควรทำให้มาก และไม่ควรกลัว.


797-1
ค.
สุขที่ยังหวั่นไหวและไม่หวั่นไหว

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อุทายิ ! เรากล่าวปฐมฌานนี้แล ว่าอยู่ในวิสัย แห่งความ หวั่นไหว. อะไรเล่าอยู่ ในวิสัยแห่งความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น? วิตกวิจารในปฐม ฌาน นั้น นั่นเอง ที่ยังไม่ดับ มีอยู่. วิตกวิจารนั้นนั่น แหละเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัย แห่งความ หวั่นไหว ในปฐมฌานนั้น.

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่อง ผ่องใส แห่งใจใน ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจาก สมาธิ แล้วแลอยู่.

อุทายิ !เรากล่าวแม้ทุติยฌานนี้แล ว่าอยู่ในวิสัยแห่งความหวั่นไหว. อะไรเล่าอยู่ในวิสัย แห่ง ความหวั่นไหวใน ทุติยฌานนั้น ? ปีติสุขในทุติยฌานนั้นนั่นเองที่ยังไม่ดับมีอยู่ ปีติสุขนั้นนั่นแหละ เป็นสิ่ง ที่อยู่ในวิสัยแห่ง ความหวั่นไหวในทุติยฌานนั้น.

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ และ สัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าว สรรเสริญผู้นั้น ว่า“เป็นผู้ อยู่ อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่.

อุทายิ ! เรากล่าวแม้ตติยฌานนี้แล ว่าอยู่ในวิสัยแห่งความหวั่นไหว. อะไรเล่า อยู่ในวิสัยแห่ง ความ หวั่นไหว ในตติยฌานนั้น ? อุเบกขาสุขในตติยฌานนั้นนั่นเองที่ยังไม่ดับ มีอยู่ อุเบกขาสุขนั้นนั่น แหละ เป็นสิ่งที่ อยู่ใน วิสัยแห่งความหวั่นไหวในตติยฌานนั้น.

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไป แห่งโสมนัส และ โทมนัส ทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่.

อุทายิ ! เรากล่าวจตุตถฌานนี้แล ว่าไม่อยู่ในวิสัยแห่งความหวั่นไหว. การละ ความผูกพัน ในรูปสัญญาสมาบัติและอรูปสัญญาสมาบัติ

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและ สุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.

อุทายิ ! เรากล่าวปฐมฌานนี้แล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่า จงก้าว ล่วงเสีย. ก็อะไรเล่า เป็ นการก้าวล่วงเสียซึ่งปฐมฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่อง ผ่องใส แห่งใจ ในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจาก สมาธิ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงซึ่งปฐมฌานนั้น.

อุทายิ ! เรากล่าวแม้ทุติยฌานนั้นแลว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่า จงก้าวล่วงเสีย. ก็อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งทุติยฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและ สัมปชัญญะ และย่อม เสวยความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าว สรรเสริญผู้นั้นว่า“เป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าว ล่วงซึ่ง ทุติยฌานนั้น.

อุทายิ ! เรากล่าวแม้ตติยฌานนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่า จงก้าวล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงซึ่งตติยฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับ แห่ง โสมนัส และโทมนัส ทั้งสองในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถ-ฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความ ที่สติเป็น ธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสียซึ่ง ตติยฌานนั้น.

อุทายิ ! เรากล่าวแม้จตุตถฌานนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่าจงก้าวล่วง เสีย. ก็อะไร เล่าเป็ นการก้าวล่วงซึ่งจตุตถฌานนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เพราะความ ดับไปแห่ง ปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญาทั้งหลาย เป็นผู้เข้าถึง อากาสานัญ จายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า“อากาศไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงซึ่ง จตุตถฌานนั้น.

 
อุทายิ ! เรากล่าวแม้อากาสานัญจายตนะนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ)เรากล่าวว่าจงละเสีย เรา กล่าวว่าจง ก้าวล่วงเสีย ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะด้วยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้า ถึง วิญญา ณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า“วิญญาณไม่มีที่สุด” ดังนี้ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็น การก้าวล่วงเสียซึ่ง อากา-สานัญจายตนะนั้น.

อุทายิ ! เรากล่าวแม้วิญญาณัญจายตนะนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่าจง ก้าวล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่าเป็ นการก้าวล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึง อากิญ จัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าว ล่วงเสียซึ่งวิญญา ณัญจายตนะนั้น.

อุทายิ ! เรากล่าวแม้อากิญจัญญายตนะนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ) เรากล่าวว่าจงละเสีย เรากล่าวว่าจงก้าว ล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เป็นผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสีย ซึ่งอากิญจัญญายตนะนั้น.

อุทายิ ! เรากล่าวแม้เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นแล ว่าสิ่งไม่ควร (จะพอใจ)เรากล่าวว่าจงละ เสีย เรากล่าวว่าจงก้าวล่วงเสีย. ก็ อะไรเล่า เป็นการก้าวล่วงเสียซึ่ง เนวสัญญานา สัญญายตนะนั้น ?

อุทายิ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งเนวสัญญานา-สัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. นี้แหละเป็นการก้าวล่วงเสีย ซึ่งเนวสัญญา นาสัญญายตนะนั้น.

อุทายิ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล เรากล่าวการละแม้ซึ่งเนวสัญญา-นาสัญญายตนะ. อุทายิ ! เธอเห็น บ้างไหม ซึ่งสังโยชน์น้อยใหญ่นั้น ที่เราไม่กล่าวว่าต้องละ ?“ข้อนั้น ไม่มีเลย พระเจ้าข้า !”


802
การละทิฏฐิด้วยอนุปัสสนาญาณ

ในอารมณ์ของทิฏฐินั้น ๆ


จุนทะ !ทิฏฐิทั้งหลาย มีอย่างเป็นอเนก เกิดขึ้นในโลก เนื่องเฉพาะด้วยวาทะว่าตนบ้างเนื่องเฉพาะ ด้วยวาทะ ว่าโลก บ้าง. ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในอารมณ์ใด และตามนอน อยู่ในอารมณ์ใด และไม่ หมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ใด เมื่อบุคคล เห็นอยู่ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง ซึ่ง อารมณ์ นั้นอย่างนี้ว่านั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม)นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ)นั่น ไม่ใช่ อัตตา ของเรา (เมโส อตฺตา) ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นการ ละซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น เป็นการ สลัด คืนซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น.


802-1
อนุสัยเจ็ด
สลายเมื่อขาดความยึดมั่นในอารมณ์แห่งปปัญจสัญญา

ภิกษุ ! สัญญา (ความสำคัญมั่นหมายที่ซ้ำซากจนเป็นอนุสัย)๑ ชนิดต่าง ๆ อันเป็นเครื่องทำ ความเนิ่นช้า (ปปญฺจสญฺญา) ย่อมกลุ้มรุมบุรุษเพราะมีอารมณ์ใดเป็นต้นเหตุ ถ้าสิ่งใด เพื่อความเป็ นอารมณ์นั้น มีไม่ได้ (ด้วยเหตุใดก็ตาม) เพื่อบุรุษนั้น จะพึง เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมก แล้วไซร้ นั่นแหละคือที่สุดแห่งราคานุสัย แห่งปฏิฆานุสัย แห่งทิฏฐานุสัย แห่ง วิจิกิจฉานุสัยแห่งมานานุสัย แห่งภวราคานุสัย แห่งอวิชชานุสัย. ....
…………………………………………………………………………………………………
๑. สัญญาในที่นี้ มิใช่เป็นเพียงความจำ แต่เป็นความสำคัญมั่นหมาย เช่น สุขสัญญา = สัญญา ว่าสุข, อัตตสัญญา =สัญญาว่าตัวตน เป็นต้น, เกิดขึ้นด้วยอุปาทาน เกิดเมื่อใด ย่อมก่ออนุสัย และ เพิ่มความเป็นอนุสัย (ความเคยชิน) ยิ่งขึ้นทุกที ก็ทำความเนิ่นช้า หรือความยากแก่การ ดับทุกข์ ยิ่ง ขึ้นทุกที.
…………………………………………………………………………………………………



803
ลำดับปัจจัยแห่งการกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน


ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ไม่มีการระคนด้วยหมู่เป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการระคนด้วยหมู่ ไม่ตาม ประกอบซึ่ง ความยินดีในการระคนด้วยหมู่ ไม่มีคณะเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในคณะ ไม่ตาม ประกอบ ซึ่งความยินดีในคณะ แล้วจักเป็นผู้ผู้เดียวยินดียิ่งในปวิเวก (ความสงัดถึงที่สุด) ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้ เมื่อเป็นผู้ผู้เดียว ยินดียิ่งในปวิเวกอยู่ จักถือเอาซึ่งนิมิตสำหรับ จิตได้ ดังนี้

นั้น : นั่นเป็นฐานะที่มีได้ เมื่อถือเอาซึ่งนิมิตสำหรับจิตได้อยู่ จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ครั้นทำสัมมาทิฏฐิได้บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิ ให้บริบูรณ์ ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ครั้นทำสัมมาสมาธิไดบ้ ริบูรณ์แล้ว จักละ สังโยชน์ทั้งหลาย ได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ครั้นละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งนิพพานได้ ดังนี้นั้น นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ดังนี้แล.

804
วิธีการบ่มวิมุตติให้ถึงที่สุด


เมฆิยะ ! ธรรมทั้งหลาย ๕ ประการ เป็นไปเพื่อความสุกรอบ(ปริปาก) ของเจโตวิมุตติ ที่ยังไม่สุกรอบ. ห้าประการ อย่างไรเล่า? ห้าประการคือ

๑. เมฆิยะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรมข้อหนึ่ง เป็นไปเพื่อความ สุกรอบของเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกรอบ.

๒. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้ มีศีล สำรวมแล้วด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรมข้อที่สอง เป็นไปเพื่อความสุก รอบของเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกรอบ.

๓. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก คือ ภิกษุเป็นผู้ ได้ตามปรารถนา ได้ไม่ยากได้ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมกถา อันเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การเปิดโล่งแห่งจิต คือ
อัปปิจฉกถา (ให้ปรารถนา น้อย)
สันตุฏฐิกถา (ให้สันโดษ)
ปวิเวกกถา (ให้สงัด)
อสังสัคคกถา (ให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่)
วิริยา รัมภกถา (ให้ปรารภเพียร)
สีลกถา (ให้มีศีล)
สมาธิกถา (ให้มีสมาธิ)
ปัญญากถา (ให้มีปัญญา)
วิมุตติกถา(ให้เกิดวิมุตติ)
วิมุตติญาณ ทัสสนกถา (ให้เกิดวิมุตติญาณ ทัสสนะ)
เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรมข้อที่สาม เป็นไปเพื่อความสุกรอบของเจโต วิมุตติ ที่ยังไม่สุกรอบ.

๔. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก คือภิกษุเป็นผู้ มีความเพียร อันปรารภแล้วเพื่อละอกุศลธรรม ทั้งหลาย เพื่อยังกุศล ธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ ในกุศล ธรรมทั้งหลาย
เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรมข้อที่สี่ เป็นไปเพื่อความสุกรอบ ของเจโตวิมุตติที่ยังไม่สุกรอบ.

๕. เมฆิยะ ! ข้ออื่นยังมีอีก คือภิกษ เป็นผู้ มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องถึงธรรม สัจจะ แห่งการตั้ง ขึ้น และการตั้งอยู่ไม่ได้ อันเป็นอริยะเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ
เมฆิยะ ! นี้เป็นธรรม ข้อที่ห้า เป็นไปเพื่อความสุกรอบแห่ง เจโตวิมุตติ ที่ยังไม่สุกรอบ.

เมฆิยะ ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เธอพึงหวังได้ คือจัก เป็นผู้มีศีล ฯลฯ จักได้โดยง่ายซึ่งธรรมกถา ฯลฯ จักเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ จักเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ.

เมฆิยะ ! ภิกษุนั้น ตั้งอยู่ในธรรม ประการเหล่านี้แล้ว พึงเจริญ

ธรรมสี่ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ
เจริญ อสุภะ เพื่อ ละราคะ.
เจริญ เมตตา เพื่อ ละพยาบาท.
เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่งวิตก.
เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อ ถอนอัส๎มิมานะ กล่าวคือ เมื่อเจริญอนิจจสัญญา
อนัตตาสัญญาย่อมมั่นคง.

ผู้มีอนัตตสัญญา
ย่อมถึงซึ่งการถอนอัส๎มิมานะ คือ นิพพาน ในทิฏฐธรรม นั่นเทียว.

(ข้อปฏิบัติระบบนี้ ใช้ได้แม้แก่ผู้ตั้งต้นบำเพ็ญวิมุตติ ; และใช้ได้แก่ผู้บำเพ็ญวิมุตติแล้วแต่ยังไม่ สุกรอบ คือเพิ่มข้อปฏิบัติชื่อเดียวกันเหล่านี้ให้ยิ่งขึ้นไป. นับว่าเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญมาก ควรแก่ การสนใจอย่างยิ่ง.ธรรมะ ๕ ประการแห่งสูตรนี้เรียกในสูตรนี้ว่า “เครื่องบ่มวิมุตติ” ในสูตรอื่น (นวก. อํ. ๒๓/๓๖๔/๒๐๕) เรียกว่า “ที่ตั้งอาศัยแห่งการเจริญสัมโพธิปักขิยธรรม” ก็มี).


806
สติปัฏฐานบริบูรณ์เพราะอานาปานสติบริบูรณ์


ภิกษุ ท.!อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฎฐาน ทั้งสี่ให้ บริบูรณ์ได้?


806_1
[หมวดกายานุปัสสนา]


ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ

[๑] เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึงว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้ หรือว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้ก็ดี

[๒] เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น ดังนี้ หรือว่า เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้ก็ดี

[๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้. ย่อมทำในบทศึกษา ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้

[๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกาย ทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.


806-2
[หมวดเวทนานุปัสสนา]

ภิกษุ ท.! สมัยใด ภิกษุ

[๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปี ติ จักหายใจเข้า ดังนี้. ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้

[๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้

[๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้าดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษา ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้

[๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็ นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้,ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

ภิกษุ ท. !สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ท. ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้า และลมหายใจออกทั้งหลาย ว่าเป็นเวทนา อันหนึ่ง ๆ ในเวทนาทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. !เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่ เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.


806-3
[หมวดจิตตานุปัสสนา]

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ

[๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็น ผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออก ดังนี้

[๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

[๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้ ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

[๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่าเราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะมีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ท. ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความ เพียรเผา กิเลสมีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.


806_4
[หมวดธัมมานุปัสสนา]

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุ [๑] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็น ประจำ จัก หายใจเข้า ดังนี้. ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้

[๒] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความจางคลาย อยู่เป็นประจำจักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำ ในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้

[๓] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ จักหายใจ เข้า ดังนี้,ย่อมทำ ในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จัก หายใจออกดังนี้

[๔] ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ ตามเห็นซึ่งความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้, ย่อมทำ ในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ภิกษุ ท. ! สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌา และ โทมนัสทั้งหลาย ของเธอนั้นด้วยปัญญา. ภิกษุ ท. !เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็น ผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

ภิกษุ ท. ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำ ให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำ สติปัฏฐาน ทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.


809
โพชฌงค์บริบูรณ์เพราะสติปัฏฐานบริบูรณ์


ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำโพชฌงค์ ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์ได้ ?


809-1
[โพชฌงค์เจ็ด หมวดกายาฯ]

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำมีความเพียรเผากิเลส มีสัมป ชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้ แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง

ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลงสมัยนั้น สติสัมโพช ฌงค์ ก็เป็นอัน ว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์, สมัยนั้น สติสัม โพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่า ถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติ เช่นนั้นอยู่ ย่อม ทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้นย่อมทำการ ใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

ภิกษุ ท. ! สมัยใดภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น ใคร่ครวญธรรมนั้น อยู่ด้วย ปัญญา สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้นใคร่ครวญ อยู่ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาความเพียร อันไม่ ย่อหย่อนชื่อว่า เป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

ภิกษุ ท. ! สมัยใดความเพียรไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้นใคร่ครวญในธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว. สมัย นั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว. สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า ย่อม เจริญวิริยสัมโพชฌงค์,สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุชื่อว่า ถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้ว ปิติอันเป็นนิรามิสก็เกิดขึ้น.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิส เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของ ภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบ ด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัม โพชฌงค์ สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพช ฌงค์ของภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอย่ จิตย่อม ตั้งมั่น.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้วมีความสุขอยู่ ย่อมตั้งมั่น,สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว, สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิ สัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสมาธิ สัมโพชฌงค์ ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่น แล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี สมัยนั้น อุเบกขา สัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่า ย่อมเจริญ อุเบกขา สัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบ แห่งการเจริญ.


809_2
[โพชฌงค์เจ็ด หมวดเวทนา ฯ]

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผา กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไป ตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรม-ชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ ของ ภิกษุชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติ เช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการ เฟ้นย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา. (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายาฯ จนจบหมวด).


809_3
[โพชฌงค์เจ็ด หมวดจิตตา ฯ]

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของภิกษุผู้เข้าไป ตั้งไว้ แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.

ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อันว่าภิกษุนั้นปรารภมาแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ของภิกษุ ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติ เช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้นย่อม ทำการ ใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา. (ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายาฯ จนจบหมวด).


809_4
[โพชฌงค์เจ็ด หมวดธัมมา ฯ]

ภิกษุ ท. ! สมัยใด ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ สมัยนั้น สติของ ภิกษุผู้เข้า ไปตั้งไว้แล้ว ก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง

ภิกษุ ท. ! สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ ของภิกษุ ชื่อ ว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ย่อมทำการเลือก ย่อมทำการเฟ้นย่อมทำ การ ใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

(ต่อไปนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันกับในโพชฌงค์เจ็ด หมวดกายา ฯ จนจบหมวด).

ภิกษุ ท. ! สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าทำ โพชฌงค์ ทั้งเจ็ดให้ บริบูรณ์ได้.

(ข้อสังเกต : ดังที่ตรัสไว้ แสดงว่าสติปัฎฐานทั้งสี่ ในแต่ละหมวดสมบูรณ์ในตัวเอง คือเข้าถึง โพชฌงค์ ที่ บริบูรณ์ จน กระทั่งวิมุตติได้ทุกหมวด ดังนั้น สติปัฎฐานสี่นั้น ผู้ปฏิบัติจะเจริญ หมวดใด หมวดหนึ่ง หรือทั้ง ๔ หมวดก็ได้เหมือนกัน ยังวิมุตติให้ปรากฏได้ดุจเดียวกัน)


813
วิชชา-วิมุตติบริบูรณ์เพราะโพชฌงค์บริบูรณ์


ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำวิชชา และ วิมุตติให้ บริบูรณ์ได้ ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้

ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวกอันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไป เพื่อ โวสสัคคะ (ความสละลง)

ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไป เพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไป เพื่อโวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อ โวสสัคคะ

ภิกษุ ท. ! โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ชื่อว่าทำ วิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้.


814
นิโรธอริยสัจ (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. !
ความจริงอันประเสริฐ
คือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !
เพราะ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา เพราะมีความดับแห่งเวทนาจึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.


815
นิโรธอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง


ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ:-ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทย อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-อริยสัจ.ภิกษุ ท.!เหล่านี้แล คืออริยสัจสี่อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้. อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้ มีอยู่, อริยสัจที่ใคร ๆ ควรละ มีอยู่ อริยสัจที่ใครๆ ควรทำให้แจ้ง มีอยู่....ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใคร ๆ ควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจ คือทุกข์ อริยสัจที่ใคร ๆ ควรละนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจที่ใคร ๆ ควรทำ ให้แจ้งนั้น ได้แก่ อริยสัจ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ ....

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์เป็น เช่นนี้ๆ ดังนี้ ว่า ‘เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ ดังนี้ ว่า ‘ความดับไม่เหลือของ ทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ .... ดังนี้เถิด.

นิทเทส
๑๒
ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา
จบ


ภาค ๓
ว่าด้วยนิโรธอริยสัจความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์
จบ




ภาคผนวก
(พระสูตรเกี่ยวกับอริยสัจสี่ที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม)


2 (ภาคผนวก)
กายนคร
(อีกนัยหนึ่ง)

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรม อย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือน มหาสมุทรอัน ผู้ใดผู้หนึ่ง ถูกต้องด้วยใจแล้วแม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายใน ของผู้นั้นฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วเป็นไป เพื่อความ สังเวชมาก เป็นไป เพื่อประโยชน์มาก เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมาก เป็นไปเพื่อสติ และสัมปชัญญะ เป็นไปเพื่อได้ ญาณทัสสนะเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อ ทำให้แจ้ง ซึ่งผล คือวิชชา และวิมุตติธรรมข้อ
หนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ สังเวชมาก ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะมาก ย่อมเป็นไป เพื่อสติและสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วแม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้ วิตก วิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วแม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตก วิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความ เจริญบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละเสียได้

ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. !ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อไม่เกิด ขึ้น ได้เลย และอกุศลธรรมขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิด ขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อม เกิดขึ้น ย่อมละอัส๎มิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์ เสียได้
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ แตกฉานแห่ง ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพานธรรมข้อ
หนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ แตกฉานแห่ง ปัญญาย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีการแทงตลอด ธาตุ มากหลาย ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่างๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อ อนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แลอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำ โสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อนาคามิ ผล ให้แจ้ง ย่อมเป็นไป พื่อทำอรหัตตผล ให้แจ้ง

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่ง อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็ ผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริงย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมข้อหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ ปัญญา ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูก่อนภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใดบริโภคกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่บริโภคแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดชอบใจแล้วอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ ดูก่อนภิกษุ ท. ! ชนเหล่าใดไม่ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่หลงลืม

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่ส้องเสพแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดส้องเสพแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้น ส้องเสพแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่เจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้มากแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งอมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่รู้ด้วย ปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนภิกษุ ท.! กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะ ชื่อว่าอันชน เหล่านั้น รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่กำหนดรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่า อันชน เหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท. ! กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่า อันชน เหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้


7 (ภาคผนวก)
กายนคร
(อีกนัยหนึ่ง)

ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะ ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ !ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดี ด้วยการ พยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้น กล่าวว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และ ความดับ แห่งอุปาทาน ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหา ของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุ อีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุนั้น กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิดและ ความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล

ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ความเป็นจริง ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดาทีนั้น แล ภิกษุไม่ยินดี ด้วย การพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่แล้วได้ถามว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ! เมื่อข้า พระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และ ความดับแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้า ไป หาภิกษุูปหนึ่งึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ !ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ ถามอย่าง นี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และ ความดับ แห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา ของภิกษุ นั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถาม อย่าง นี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ !ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด เหตุเกิดและ ความดับ แห่ง มหาภูต รูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ ปัญหา ของ ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหา ภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ กล่าวกับข้าพระองค์ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ขอทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! ทัศนะของภิกษุ เป็นอันหมด จดดีด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแลพระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ ! บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทองกวาวบุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่ง ผู้เคย เห็นต้น ทองกวาว ถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า

ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่าดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ต้นทองกวาวดำ เหมือน ตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหา ของบุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้น ทองกวาวถึงที่อยู่แล้ว

ถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดง เหมือนชิ้น เนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็นทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการ พยากรณปัญหา ของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็น ต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า

ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ต้นทอง กวาว ที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้น เห็นทีนั้นแลบุรุษ นั้นไม่ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่ง ผู้เคยเห็นต้นทองกวาว ถึงที่อยู่แล้วถามอย่างนี้ว่า

ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ต้นทองกวาว มีใบแก่และ ใบอ่อนหนาแน่นมีร่มทึบเหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาว เป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ! ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วย ประการนั้นๆ ฉันนั้นแล

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็นเมืองที่มั่นคง มีกำแพงและ เชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญาคอยห้ามคน ที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตน รู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมา แต่ทิศ บูรพา พึงถามนาย ประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ! เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ! นั่นเจ้า เมืองนั่งอยู่ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแลราชทูตคู่นั้น มอบถ้อยคำตามความ เป็นจริงแก่เจ้า เมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มาแล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัจจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศอุดร...

ราชทูตคู่หนึ่ง มีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณแล้วถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ! เจ้าเมืองนี้อยู่ ที่ไหนนายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ! นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่ง กลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริง แก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนิน กลับไปทางตามที่มาแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ! อุปมานี้แลเรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ในอุปมานั้นมีเนื้อความ ดังต่อไปนี้

คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้น ด้วย ข้าวสุก และขนมสด มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลาย และ กระจัดกระจายเป็น ธรรมดา

คำว่าประตู๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖

คำว่านายประตู เป็นชื่อของสติคำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่าเจ้าเมือง เป็นชื่อของวิญญาณ

คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็นชื่อของนิพพาน

คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ


11 (ภาคผนวก)
กายนคร
(อีกนัยหนึ่ง)

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ณ นิคมของชาวสุมภะ ชื่อเสทกะ ในสุมภชนบท ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า :

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า มีนางงามในชนบท พึงประชุมกัน ก็นางงามใน ชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำน่าดูอย่างยิ่งในการขับร้อง หมู่มหาชน ได้ทราบ ข่าวว่า นางงามใน ชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่า ประมาณ ครั้งนั้นบุรุษผู้อยาก เป็นอยู่ไม่อยากตาย ปรารถนา ความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าว กับหมู่มหาชนนั้น อย่างนี้ว่า

ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยมนี้ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่ กับนางงาม ในชนบท และจักมีบุรุษเงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไปข้างหลังๆ บอกว่าท่านจักทำน้ำมัน นั้นหก แม้หน่อยหนึ่ง ในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไป ในที่นั้นทีเดียว

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะ นํ้ามันโน้น แล้วพึง ประมาทในภายนอกเทียวหรือ “ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มี อย่างนี้ แล คำว่า ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติ.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่ากายคตาสติ จักเป็นของ อันเรา เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานกระทำให้เป็ นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว

ดูก่อนภิกษุ ท. !เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ แล.


13 (ภาคผนวก)
โพชฌงค์แก้จิตหดหู่และจิตฟุ้งซ่าน


ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-๕๕๐) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ ท. ! พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถาม อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท. ! สมัยใดจิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาล เพื่อเจริญ โพชฌงค์เหล่าไหน? สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญ โพชฌงค์ เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญ โพชฌงค์เหล่าไหน? พวกอัญญเดียร์ถีย์ปริพาชก ถูกเธอ ทั้งหลายถาม อย่างนี้ แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึง ความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเป็นปัญหา ที่ถาม ในฐานะมิใช่วิสัย

ดูก่อนภิกษุ ท. ! เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดี ด้วยการแก้ปัญหา เหล่านี้ เว้นเสียจาก ตถาคต สาวกของ ตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของ ตถาคตนั้น.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาล เพื่อ เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้อง การจะก่อไฟ ดวงน้อยให้ ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำและโรยฝุ่นลงใน ไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟดวงน้อย ให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือหนอ?

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า !

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ มิใช่กาล เพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่จิต ที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อ เจริญวิริย สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้นให้ตั้งขึ้น ได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการ จะก่อไฟดวงน้อย ให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่โรยฝุ่น ในไฟนั้น บุรุษนั้น สามารถจะก่อไฟดวงน้อย ให้ลุกโพลงขึ้นได้ หรือหนอ?

ได้พระเจ้าข้า !

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้นเป นกาลเพื่อเจริญธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญปี ติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะ จิตหดหู่ จิตที่หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาล เพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปี ติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร? เพราะจิตฟุ้ง ซ่าน จิตฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบ เหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่ โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถ จะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ?

ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า !

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นมิใช่กาลเพื่อเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิต ฟุ้งซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็นกาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อ เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้ง ซ่าน จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่ หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่นลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับ กองไฟกองใหญ่ นั้นได้หรือหนอ?

ได้พระเจ้าข้า !

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้นเป็นกาลเพื่อเจริญปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขา สัมโพชฌงค์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะจิตฟุ้งซ่านจิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่าย ด้วยธรรมเหล่านั้น

ดูก่อนภิกษุ ท.! เรากล่าวสติ” แลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.


16 (ภาคผนวก)
โพชฌงค์๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔


ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่างเป็นไฉน?

ดูก่อนภิกษุ ท. ! แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็นสติสัมโพชฌงค์แม้สติ ในธรรม ทั้งหลาย ในภายนอกก็เป็ นสติสัมโพชฌงค์ คำว่าสติสัมโพชฌงค์ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัม โพชฌงค์ก็เป็ อย่าง.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! แม้ธรรมทั้งหลายในภายในที่บุคคลเลือกเฟ้ นตรวจตราถึงความพินิจ พิจารณา ด้วยปัญญา ก็เป็ นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมทั้งหลายในภายนอก ที่บุคคล เลือกเฟ้นตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธัมมวิจย สัมโพชฌงค์ คำว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศแม้โดยปริยายนี้ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อย่าง.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิต ก็เป็น วิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ย่อมมาสู่อุเทศแม้โดยปริยายนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ เป็น อย่าง.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจาร ก็เป็นปีติสัม โพชฌงค์ คำว่า ปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศแม้โดยปริยายนี้ ปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อย่าง.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แม้สงบจิตก็เป็นปัสสัทธิสัม โพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศแม้โดยปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อย่าง.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร ก็เป็น สมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ดังนี้ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สมาธิ สัมโพช ฌงค์ก็เป็น อย่าง.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายใน ก็เป็ นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้ความ วางเฉยในธรรมทั้งหลายในภายนอก ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่าอุเบกขา สัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศแม้โดยปริยายนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็น อย่าง.ดูก่อนภิกษุ ท. ! ปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง.


17 (ภาคผนวก)
ตถาคตเท่านั้นที่พยากรณ์ไม่ผิดพลาด


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้ พระนคร สาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเช้าท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง ที่อยู่ของ มิคสาลา อุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้งนั้น มิคสาลาอุบาสิกา เข้าไปหาท่านพระ อานนท์กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ .. บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล ...

บุรุษชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์(แต่) ยินดีด้วย ภรรยา ของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล

ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่งประพฤติ พรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพได้อย่างไร ท่านพระอานนท์ กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ! ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้น...

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ! ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาลไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญา ทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่ง และหย่อนแห่ง อินทรีย์ ของบุคคล....

เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต

ดูก่อนอานนท์ !
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือ ประมาณในบุคคลได้


อริยสัจสี่ ภาคต้น
จบ