เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  10 of 13  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  นิทเทส ๑๑ ว่าด้วยผู้ดับตัณหาปุถุชน คือ ผู้ยึดถือ 551     ผู้มีธรรมญาณและอัน๎วยญาณ (พระโสดาบัน) 587
  พระเสขะ คือ ผู้กำลังจะไม่ยึดถือ 551-1     พระโสดาบัน รู้จักอินทรีย์หก 588
  ปุถุชน คือ ผู้ที่ยังไม่รู้จักนิพพาน 552     พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม 590
  พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน 553     ผู้รวมอยู่ในกลุ่มโสดาบัน ๓ จำพวก 592
  พระอเสขะ คือ ผู้ที่หมดความยึดถือทุกสิ่ง 553-1     ความเป็นพระโสดาบัน ไม่อาจแปรปรวน 594
  พระอเสขะ คือ ผู้ที่ไม่ยึดถือแม้ในนิพพาน 554     ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 594-1
  ไตรสิกขาของพระอเสขะ 555     ผลแห่งความเป็นโสดาบัน 595
  ธรรมขันธ์ของพระอเสขะ 555-1     พระอริยบุคคลละสังโยชน์ได้ต่างกัน 596
  สัมมัตตะสิบของพระอเสขะ 556     พระอริยบุคคลผู้ต้องใช้สังขารธรรมต่างกัน สี่ประเภท 597
  องค์แห่งความเป็นพระเสขะและพระอเสขะ 557     ข. ผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี 598
         
  นิทเทสแห่งไตรสิกขา เพื่อเปรียบเทียบ 557-1     ค. ผู้ทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี 599
  ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ 558-1     อุปมาการฝึกช้างศึก ด้วยการฝึกตนของอริยสาวก 600
  นิทเทสแห่งไตรสิกขา (อีกนัยหนึ่ง) 559     บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก 603
  คาถาผนวกท้ายพระสูตร 559-1     พระอรหันต์รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ชัดแจ้งแล้วหลุดพ้น 607
  เปรียบเทียบพระเสขะ-อเสขะ 560     บุคคลผู้บรรลุอนุปาทาปรินิพพาน 608
  ความลดหลั่นแห่งพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน 564     ลักษณะทั่วไปของความเป็นพระอรหันต์ 609
  การรู้เบญจขันธ์ โดยหลักแห่งอริยสัจสี่ 567     ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า 611
  การรู้ปัญจุปาทานขันธ์โดยธรรมลักษณะห้า 568     ผู้มีคุณลักษณะพิเศษของพระอรหันต์ 615
  (ปฏิปักขนัย) เข้าใจในอุปาทานขันธ์ 569     พระอรหันต์มีคุณลักษณะที่น่าสนใจ 616
  ผู้ละราคะ-โทสะ-โมหะ ระดับโสดาบัน 569-1     พระอรหันต์เลิศกว่าภวัคคพรหม 618
         
  พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ 571     ผู้ข้ามพ้นกามโลก-รูปโลก-อรูปโลกยังไม่ชื่อว่าข้ามพ้นโลก 619
  พระโสดาบันเป็นใครกัน ? 571-1     พระอรหันต์คือผู้เป็นเกพลี(จบพรหมจรรย์แล้ว 620
  พระโสดาบัน(อีกนัย) ประกอบพร้อมแล้วในธรรม 4 571-2     คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 621
  โสดาบัน(อีกนัย)เลื่อมใส พระพุทธ -ธรรม-สงฆ์ 574     ผู้เป็นเกพลีบุคคล ในพุทธศาสนา 622
  พระโสดาบัน- (อีกนัยหนึ่ง) บริบูรณ์ในศีล 576     มีศีลงาม - ธรรมงาม - ปัญญางาม ก็เป็นเกพลี ! 627
  หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง 577     ผู้ละอาสวะนานาแบบก. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น 628
  แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน 580     ข. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการสำรวม 630
  ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิโดยธรรมชาติ 581     ค. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเสพ 630-1
  ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อม-) 582     ง. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการอดกลั้น 631
  ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น. 582-1     จ. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเว้น 632
         
  ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อม-) 583     ช. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเจริญทำให้มาก 633
  ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อม-) 585     ซ. ผลแห่งการปิดกั้นอาสวะทั้งปวงโดยเจ็ดวิธี 634
  ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) 585-1      

 

   

 

 
 
 





นิทเทส ๑๑ ว่าด้วยผู้ดับตัณหา
(มี ๑๐๖ เรื่อง)


หน้า 551 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
ปุถุชน
คือ ผู้ยึดถือเต็มที่

ภิกษุ ท. ! ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้ยินได้ฟังไม่ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นหมู่สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ. ย่อม เข้าใจ ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม เมื่อเข้าใจ ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว ย่อมหมายมั่น ดิน น้ำ ไฟลม ย่อมหมายมั่นใน ดิน น้ำ ไฟ ลม ย่อมหมายมั่นโดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟลม ย่อมหมายมั่นว่า ‘ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเราดังนี้ เขา ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ต่อ ดิน น้ำ ไฟ ลม. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า ดิน นํ้า ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้น ยังไม่ได้รู้รอบ”ดังนี้แล.

(สิ่งที่ปุถุชนไม่รู้จักแล้วหมายมั่นเพลิดเพลินนั้น ยังตรัสไว้ต่อไปอีกในสูตรนี้ คือภูตสัตว์ เทพปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ ญญาณัญ-จายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สิ่งที่เห็นแล้ว สิ่งที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และนิพพาน).


551-1
พระเสขะ
คือ ผู้กำลังจะไม่ยึดถือ

ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด แม้ยังเป็น พระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงอรหัตตมรรค ยังปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า อยู่ ภิกษุแม้นั้นย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่งดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยสักแต่ว่าเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว เป็นผู้จะไม่หมายมั่น๑ ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม จะไม่หมายมั่น ใน ดิน น้ำ ไฟ ลม จะไม่หมายมั่น โดยความเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม จะไม่หมายมั่นว่า ดิน น้ำ ไฟลม เป็นของเรา ดังนี้ จึงเป็นผู้ จะไม่มีปกติเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งดิน น้ำไฟ ลม ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า ดิน นํ้า ไฟ ลมเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้เสขะนั้น จะต้องได้รู้รอบ.” ดังนี้แล.

(
เสขะ ความหมายสั้นๆเข้าใจง่ายก็คือ อริยะบุคคล 3ประเภท โสดาบัน-สกะทาคามี-อนาคามี ส่วน อเสขะ คืออรหันต์ ผู้จัดทำเว็บไซต์)


552
ปุถุชน คือ ผู้ที่ยังไม่รู้จักนิพพาน

ภิกษุ ท. ! ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นบรรดาพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นหมู่สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม เข้าใจ นิพพาน โดยความเป็น นิพพาน

เมื่อเข้าใจนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อม หมายมั่น ซึ่งนิพพาน ย่อมหมายมั่นในนิพพาน ย่อมหมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน ย่อมหมายมั่นว่า นิพพานเป็นของเรา ดังนี้. เขา ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ต่อนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพาน เป็นสิ่งที่ปุถุชนนั้นยังไม่ได้รู้รอบ” ดังนี้แล.
……………………………………………………………………….............................................……………………………

๑. ที่ว่า “จะไม่หมายมั่น” ในที่นี่นั้นให้เข้าใจว่า หมายมั่นก็ไม่ใช่ ไม่หมายมั่นเสียเลยก็ไม่ใช่ ยังอยู่ในระหว่างๆในบาลีจึงใช้คำว่า ‘มามญฺญี’ แทนที่จะใช้คำว่า มญฺญี หรือ มมญฺญี เป็นลักษณะของพระเสขะ ซึ่งอยู่ในระหว่างปุถุชนกับพระอเสขะ. สำหรับวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ก็ได้ตรัสไว้เต็มจำนวน เหมือนที่กล่าวไว้ในหัวข้ออันว่าด้วย ปุถุชนข้างบนนั่นเอง
………………………………………………………............................................……………………………………………


553
พระเสขะ คือ ผู้ที่กำลังจะรู้จักนิพพาน


ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด แม้ยังเป็น พระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงอรหัตตมรรค ยังปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นที่ เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่าอยู่ ภิกษุแม้นั้นย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน เมื่อรู้ชัด แจ้ง ซึ่งนิพพานโดยสักแต่ว่า เป็นนิพพานแล้ว ย่อมเป็นผู้ จะไม่หมายมั่น ซึ่งนิพพาน จะไม่หมายมั่น ในนิพพาน จะไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน จะไม่หมายมั่นว่า นิพพาน เป็นของเรา ดังนี้ จึงเป็นผู้ จะไม่มีปกติเพลิดเพลินยิ่งซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้เสขะนั้น จะต้องได้รู้รอบ.” ดังนี้แล.


553-1
พระอเสขะ คือ ผู้ที่หมดความยึดถือทุกสิ่ง


ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็น พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระ อันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามบรรลุถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปหมดแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุแม้นั้น ก็ย่อมรู้ชัดแจ้ง ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม เมื่อรู้ชัด แจ้ง ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม โดยสักแต่ว่าเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม แล้ว ย่อม ไม่เป็นผู้หมายมั่น ซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หมายมั่นใน ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หมายมั่น โดยความเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หมายมั่นว่า ‘ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นของเรา’ ดังนี้ จึง ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินยิ่งซึ่ง ดิน น้ำ ไฟ ลม. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่าดิน นํ้า ไฟ ลม เป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ขีณาสพนั้น ได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล.

(ในสูตรนี้ได้ตรัสสิ่ง เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ นอกไปจากดินน้ำไฟลมอีก คือภูตสัตว์ เทพปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ ฯลฯเนวสัญญานาสัญญายตนะ สิ่งที่เห็นแล้ว-ฟังแล้ว-รู้สึก-รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวงและนิพพาน).


554
พระอเสขะ คือ ผู้ที่ไม่ยึดถือแม้ในนิพพาน


ภิกษุ ท. ! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้วอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระ อันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตน อันตามบรรลุถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุแม้นั้น ก็ย่อม รู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยความเป็นนิพพาน เมื่อรู้ชัดแจ้ง ซึ่งนิพพาน โดยสักแต่ว่า เป็นนิพพานแล้ว ย่อม ไม่เป็นผู้หมายมั่น ซึ่งนิพพาน ไม่หมายมั่น ในนิพพาน ไม่หมายมั่น โดยความเป็นนิพพาน ไม่หมายมั่นว่า นิพพานเป็นของเรา ดังนี้ จึงไม่เป็นผู้เพลิดเพลินซึ่งนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เราขอตอบว่า “เพราะว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ภิกษุผู้อรหันต์ขีณาสพนั้น ได้รู้รอบแล้ว” ดังนี้แล.


555
ไตรสิกขาของพระอเสขะ


ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมสามประการ ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีโยคักเขมธรรมถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด จบกิจถึงที่สุดเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ประกอบด้วยธรรม สามประการอย่างไรเล่า ?

ประกอบด้วย ธรรมสามประการ คือ
ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สมาธิขันธ์ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย ปัญญาขันธ์ อันเป็นอเสขะ

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมสามประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีโยคักเขมธรรม ถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด จบกิจถึงที่สุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.


555-1
ธรรมขันธ์ของพระอเสขะ


ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมห้าประการ ย่อมเป็นอาหุเนยโยปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกรณีโย และเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ประกอบด้วยธรรมห้าประการ อย่างไรเล่า ?

ประกอบด้วย ธรรมห้าประการ คือ
ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย สมาธิขันธ์ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย ปัญญาขันธ์ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย วิมุตติขันธ์ อันเป็นอเสขะ
ประกอบด้วย วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นอเสขะ

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยธรรมห้าประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกรณีโย และเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.


556
สัมมัตตะสิบของพระอเสขะ


ภิกษุ ท. ! ธรรมอันเป็นอเสขะสิบอย่างเหล่านี้ มีอยู่.
สิบอย่างอย่างไรเล่า ? สิบอย่างคือ
สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอเสขะ
สัมมาสังกัปปะ
อันเป็นอเสขะ
สัมมาวาจา
อันเป็นอเสขะ
สัมมากัมมันตะ
อันเป็นอเสขะ
สัมมาอาชีวะ อันเป็นอเสขะ
สัมมาวายามะ
อันเป็นอเสขะ
สัมมาสติ
อันเป็นอเสขะ
สัมมาสมาธิ
อันเป็นอเสขะ
สัมมาญาณะ อันเป็นอเสขะ
สัมมาวิมุตติ
อันเป็นอเสขะ

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรมอันเป็นอเสขะสิบอย่าง.


557
องค์แห่งความเป็นพระเสขะและพระอเสขะ


ภิกษุ ท. ! ในบริกขารแห่งอริยสัมมาสมาธินั้น สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นองค์นำหน้า.
ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์นำหน้า อย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เมื่อมีสัมมาทิฏฐิอยู่ สัมมาสังกัปปะ ย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมาสังกัปปะอยู่ สัมมาวาจา ย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมาวาจาอยู่ สัมมากัมมันตะ ย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมากัมมันตะอยู่ สัมมาอาชีวะ ย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมาอาชีวะอยู่ สัมมาวายามะ ย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมาวายามะอยู่ สัมมาสติ ย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมาสติอยู่ สัมมาสมาธิย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมาสมาธิอยู่ สัมมาญาณะ ย่อมมีเพียงพอ.
             เมื่อมีสัมมาญาณะอยู่ สัมมาวิมุตติ ย่อมมีเพียงพอ.

ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แล ภิกษุ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์ทั้ง ชื่อว่าเป็น พระเสขะและผู้ ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วย องค์ทั้ง๑๐ (คือเพิ่มสัมมาญาณะ และสัมมาวิมุตติ อีก ๒ องค์) ชื่อว่า เป็น พระอรหันต์ (พระอเสขะ) แล.


557-1
นิทเทสแห่งไตรสิกขา เพื่อเปรียบเทียบ


ภิกษุ ท. ! สิกขา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ?
สามอย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท. ! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
สมบูรณ์ด้วยมรรยาท และโคจรมีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย
แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.

ภิกษุ ท. ! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าถึง ปฐมฌานอันมีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่

เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิ เป็น ธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยความสุข ด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้ อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความ ดับไปแห่งโสมนัส และโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.

ภิกษุ ท. ! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ ทุกข์นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้


558-1
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
นี้ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.


559
นิทเทสแห่งไตรสิกขา อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่, สามอย่าง อย่างไรเล่า ?

สามอย่าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท. ! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ....ฯลฯ ... สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.

ภิกษุ ท. ! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย ....เข้าถึงปฐมฌาน ... ฯลฯ ...ทุติยาน ....ฯลฯ...ตติยฌาน ....ฯลฯ ...จตุตถฌาน ...แล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าอธิจิตตสิกขา.

ภิกษุ ท. ! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขา ๓ อย่าง.


559-1
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)


พึงเป็นผู้มีความเพียร มีกำลัง มีความตั้งมั่นมีความเพ่ง มีสติ สำรวมอินทรีย์ ประพฤติอธิสีลอธิจิตและ อธิปัญญาเถิด พึงแผ่จิต ครอบงำทิศทั้งปวง ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้เช่นเดียวกันทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ทั้งข้างหลังข้างหน้า เช่นเดียวกัน ทั้งเบื้องต่ำ เบื้องสูง ทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำ เช่นเดียวกัน ทั้ง กลางวัน กลางคืน ทั้งกลางคืนกลางวัน.

นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นเสขปฏิปทา หรือการ ประพฤติธรรม หมดจดด้วยดี. นั่นท่านกล่าวกันว่าเป็นผู้รู้ พร้อมในโลก มีปัญญา ถึงที่สุดแห่งการปฏิบัติ. วิโมกข์แห่งจิต ย่อมมีแก่ บุคคลนั้น ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะ สิ้นตัณหา เพราะความดับสนิทแห่งวิญญาณ เหมือนความดับสนิท แห่งไฟ ฉะนั้น.


560
เปรียบเทียบพระเสขะ-อเสขะ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คำอันพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เสขะ เสขะดังนี้ มีอยู่. บุคคล ชื่อว่าเสขะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า ?

ภิกษุ !     บุคคลที่ศึกษานั่นแหละ ชื่อว่า เสขะศึกษาอะไรกันเล่า ? ศึกษาทั้งอธิสีล ทั้งอธิจิต ทั้งอธิปัญญา.  ภิกษุ !  เพราะเขาศึกษาเขาจึงชื่อว่าเสขะดังนี้

ภิกษุ ท. ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น.

ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่งสิกขาบททั้งปวงนั้น.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณ ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้างและต้องออกจากอาบัติ เล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความ อาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรมจัก เกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

ส่วนสิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์เธอเป็น ผู้มีศีล ยั่งยืน มีศีลมั่นคงใน สิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น เพราะ ความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ....

(ต่อไปนี้เป็นข้อความจาก บรรพ ๕๒๗ จนกระทั่งสิ้นข้อความเรื่องพระโสดาบัน) ภิกษุนั้น เพราะความ สิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้ สัตตักขัตตุปรมะังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดา และมนุษย์ อีกเจ็ดครั้ง เป็นอย่างมาก แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

(หรือว่า) ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สามเป็นผู้ โกลังโกละ จักต้องท่องเที่ยวไปสู่ สกุลสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

(หรือว่า) ภิกษุนั้น. เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์สามเป็นผู้เป็น เอกพีชี คือจักเกิดในภพแห่ง มนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณ ในปัญญา เธอยังล่วงสิกขา บทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติ เล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าว ความอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อย เหล่านี้.

ส่วนสิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีล ยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสังโยชน์สาม และเพราะ ความที่ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลงเป็น สกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำพอประมาณใน ปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อย เหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใดๆ กล่าวความ อาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้น เพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีล ยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุนั้นเพราะความ สิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้า เป็น โอปปาติกอนาคามี ผู้อุบัติขึ้นในทันที มีการปรินิพพาน ในภพนั้นๆ ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ....(ต่อไปนี้เป็นข้อความจาก บรรพ ๕๒๗ จนกระทั่งสิ้นข้อความเรื่องพระอนาคามี)

ภิกษุนั้น, เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำห้าเป็น อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี
ผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปถึงอกนิฏฐภพ.

(หรือว่า) ภิกษุนั้น. เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

(หรือว่า) ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น อสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง.

(หรือว่า) ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด.

(หรือว่า) ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสังโยชน์เบื้องต่ำห้าเป็น อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?

ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวอาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อยและ การต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์, เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ได้กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลายด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! ผู้กระทำเพียงบางส่วน ย่อมทำให้สำเร็จได้บางส่วน ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ก็ย่อมทำให้สำเร็จได้ บริบูรณ์ ดังนั้น เราจึงกล่าว ว่าสิกขาบททั้งหลาย ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้ แล.


564
ความลดหลั่นแห่งพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างเดียวกัน


ภิกษุ ท. ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตร ผู้ปรารถนาประโยชน์พากัน ศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น. ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้ มีอยู่ อันเป็นที่ประชุมลงของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขาสามอย่างอันเป็นที่ประชุมลง แห่ง สิกขาบททั้งปวงนั้น.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้าง และต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีผู้รู้ใด ๆ กล่าวความ อาภัพต่อการบรรลุโลกุตตรธรรม จักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้.

ส่วน สิกขาบทเหล่าใดที่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์เธอเป็นผู้มีศีล ยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น ได้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะ ทั้งหลายด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไป รอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุ ยังไม่ทันถึงกึ่ง

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่ง อนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไป รอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่ง แล้วจวนถึงที่สุด.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไป รอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น อสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ ความเพียรเรี่ยวแรง.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไป รอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ ความเพียร เรี่ยวแรง.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไป รอบแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์เบื้องต่ำห้าจึงเป็น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไป ถึงอกนิฏฐภพ.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความ สิ้นไป รอบแห่งสัญโญชน์สาม และเพราะความที่ราคะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางน้อยลง เป็น สกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้เป็น เอกพีชีคือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์ หนเดียวเท่านั้น แล้วย่อมกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไป รอบแห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้โกลังโกละจักต้องท่องเที่ยวไป สู่สกุลสองหรือสามครั้ง แล้วย่อมกระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้.

หรือว่า (บางพวก) ยังไม่ได้ทำให้เกิดมี ยังไม่ได้แทงตลอด ซึ่งอนาสววิมุตติ แต่เพราะความสิ้นไป รอบ แห่งสังโยชน์สาม เป็นผู้ สัตตักขัตตุ-ปรมะ ยังต้องท่องเที่ยวไปในภพแห่งเทวดา และมนุษย์อีกเจ็ด ครั้ง เป็นอย่างมากแล้วย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ภิกษุ ท. ! ผู้กระทำได้เพียงบางส่วน ย่อมทำให้สำเร็จได้บางส่วน. ผู้ทำให้บริบูรณ์ก็ย่อมทำให้สำเร็จ ได้บริบูรณ์ ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า สิกขาบททั้งหลาย ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล

(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ข้อความในสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า แม้มีการปฏิบัติอย่างเดียวกันแท้ ก็ยังได้รับ ผล ลดหลั่นกันไม่เท่ากัน เพราะเหตุปัจจัยอย่างอื่น).


567
การรู้เบญจขันธ์ โดยหลักแห่งอริยสัจสี่


โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่รู้ทั่วถึงซึ่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน) โสณะ ! สมณะหรือ พราหมณ์เหล่า นั้นมิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมุติว่า เป็นพราหมณ์ใน หมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.

โสณะ ! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ทั่วถึงซึ่งรูปรู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งรูป รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป รู้ทั่วถึงซึ่งทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน) โสณะ! สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นผู้ ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะย่อมเป็นผู้ ควรได้รับการ สมมติว่าเป็ นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อีกอย่างหนึ่งบุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อมทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว อยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้โดยแท้.


568
การรู้ปัญจุปาทานขันธ์โดยธรรมลักษณะห้า


ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ มีอยู่ห้าอย่างอะไรบ้างเล่า ?ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์นั้น ได้แก่ ขันธ์คือรูปที่ถูกอุปาทาน ครองแล้วขันธ์คือเวทนา ที่ถูกอุปาทานครองแล้ว ขันธ์คือสัญญาที่ถูกอุปาทาน ครองแล้ว ขันธ์คือสังขารที่ถูกอุปาทานครองแล้ว และขันธ์คือวิญญาณที่ถูกอุปาทานครองแล้ว.

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดก็ตาม ยังไม่รู้จักความก่อขึ้น แห่งอุปาทานขันธ์ห้านี้ ไม่รู้จักความตั้ง อยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้านี้ ไม่รู้จักอุปาทานขันธ์ห้า ในแง่ที่มันให้รสอร่อย, ไม่รู้จักอุปาทาขันธ์ห้าในแง่ ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ ทั้งไม่รู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้ ตามที่ถูกที่จริงแล้ว

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น แม้สมมติกันว่าเป็นสมณะผู้หนึ่งๆ ในสมณะทั้งหลายก็ตาม แม้ สมมติกันว่าเป็นพราหมณ์ ผู้หนึ่งๆ ในบรรดาพราหมณ์ ทั้งหลายก็ตาม ก็หาอาจเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ ได้ไม่ หาสามารถทำให้แจ้งซึ่ง ประโยชน์ ที่ตนมาเป็น สมณะ หรือประโยชน์ที่ตนมาเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้ไม่เลย.


569
(ปฏิปักขนัย)


ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ได้รู้จักความก่อขึ้นแห่ง อุปาทานขันธ์ห้านี้ รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ ของอุปาทานขันธ์ห้านี้ รู้จักอุปาทานขันธ์ห้า ในแง่ที่มันให้รสอร่อย รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้แต่ โทษร้ายกาจ ทั้งได้รู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทาน ขันธ์ห้านี้ ตามที่ถูกที่จริงแล้ว

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ที่สมมติกันแล้วว่า เป็นสมณะบ้างเป็นพราหมณ์บ้าง ก็เป็นสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ได้จริง และทำให้แจ้งได้ซึ่งประโยชน์ ที่ตนเข้ามาเป็นสมณะ หรือประโยชน์ที่ตนมาเป็น พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ .(สูตรข้างบนนี้แสดงวัตถุแห่งการรู้ ด้วย อุปาทานขันธ์ในสูตรอื่นแสดงด้วยอินทรีย์ห้าคือ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์. - ๑๙/๒๗๕ -๒๗๖/๙๑๙-๙๒๑.)


569-1
ผู้ละราคะ-
โทสะ-โมหะ ระดับโสดาบัน

ภิกษุ ท. ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่างแล้ว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน).
ไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ไม่ละธรรมหกอย่างเหล่านี้ คือ

ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าขันธ์ ๕ ของตน)
ไม่ละ วิจิกิจฉา(ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
ไม่ละ สีลัพพตปรามาส(การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)
ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ(โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)
ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ(โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุไม่ละธรรม ๖ อย่าง เหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุละธรรม อย่าง แล้ว เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ละธรรม ๖ อย่างเหล่าไหนเล่า ? ละธรรมหกอย่างเหล่านี้คือ
ละ
สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าขันธ์ ๕ ของตน)
ละ
วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
ละ
สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
ละ
อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การซึ่งอบาย)
ละ
อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)
ละ
อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุละธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แล้ว เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ดังนี้แล.ได้แล้ว


571
พระโสดาบัน รู้จักปัญจุปาทานขันธ์


ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ มารู้จักความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้า. รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้านี้. รู้จักอุปาทานขันธ์ห้าในแง่ที่มันให้รสอร่อย รู้จักอุปาทาน ขันธ์ห้า ในแง่ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ ทั้งรู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้านี้เสีย ตามที่ถูกที่จริง

ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้นแหละ สาวกของพระอริยเจ้าผู้นั้น เราเรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.


571-1
พระโสดาบันเป็นใครกัน
?

สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน –โสดาบัน ดังนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร ?“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ท่านผู้ใด เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ผู้เช่นนั้นแล ข้าพระองค์ เรียกว่าเป็นพระ โสดาบันผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ พระเจ้าข้า !”

สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆมีโคตรอย่างนี้ๆ.


571-2
พระโสดาบันเป็นใครกัน (อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ ประการนี้เอง จึงเป็น พระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาล เบื้องหน้า. ธรรม๔ ประการนั้นเป็นอย่างไร ? สี่ประการนั้นคือ

(๑) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่ง ลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า ว่าเพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจาก กิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนควรฝึกอย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.

(๒) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอันหยั่ง ลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระธรรม ว่าพระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าว กะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

(๓) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย ความเลื่อมใสอัน หยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ ว่าสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรม เครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้วอันได้แก่ บุคคลเหล่า นี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ. นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควร แก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทานเป็น สงฆ์ ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้.

(๔) ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้าในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่ พอใจของเหล่าอริยเจ้า : เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ ผู้รู้ท่านสรรเสริญเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิดังนี้.

ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยธรรม ๔ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธวจนะดังนี้แล้ว ได้ตรัสเป็นคำร้ อยกรองสืบต่อไปว่า ท่านผู้ใด แล มีศรัทธา มีศีล มีความเลื่อมใส ทั้งมีการได้เห็นธรรมด้วยท่าน ผู้นั้นแหละ ที่จักเป็นผู้ได้รับความสุข อันหยั่งลงสู่พรหมจรรย์ ในกาลอันควรแล !


574
พระโสดาบันเป็นใครกัน (อีกนัยหนึ่ง)


อย่ากลัวเลย มหานาม ! อย่ากลัวเลย มหานาม ! ความตายของท่านจักไม่ต่ำทราม กาลกิริยาของท่าน จักไม่ต่ำทราม. มหานาม ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปใน นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพานโดยแท้. ธรรมสี่ประการอย่างไรเล่า ? ธรรมสี่ประการคือ :-
มหานาม ! อริยสาวกในกรณีนี้

(๑) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุ อย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และข้อปฏิบัติให้ถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกคนควรฝึกอย่าง ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

(๒) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่ง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และ ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวเป็นสิ่ง ที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

(๓) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า “สงฆ์สาวกของพระ ผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติให้รู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว อันได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษนั่นแหละสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.

(๔) เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าพระอริยเจ้าเป็นศีลที่ไม่ ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญ เป็นศีลที่ตัณหา และ ทิฏฐิไม่ลูบคลำและเป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

มหานาม ! เปรียบเหมือนต้นไม้น้อมไปในทิศปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน เอนไปทางทิศปราจีน. ต้นไม้ นั้น เมื่อเขาตัดที่โคนแล้ว มันจะล้มไปทางไหน? มันจะล้มไปทางทิศที่มันน้อมไป โน้มไป เอนไป พระเจ้าข้า !” มหานาม !ฉันใดก็ฉันนั้น อริยสาวกประกอบแล้วด้วยธรรมสี่ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติ น้อมไปในนิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน เอนไปทางนิพพาน โดยแท้ แล.


576
(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! สิกขาบทร้อยห้าสิบสิกขาบทนี้ ย่อมมาสู่อุทเทส (การยกขึ้นแสดงในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งแห่งเดือนตามลำดับ อันกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์ พากันศึกษาอยู่ในสิกขาบทเหล่านั้น.

ภิกษุ ท. ! สิกขาสามอย่างเหล่านี้มีอยู่อันเป็นที่ประชุมลง ของสิกขาบททั้งปวงนั้น. สิกขาสามอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลสิกขาสามอย่าง อันเป็นที่ประชุมลงแห่ง สิกขาบททั้งปวงนั้น. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำพอประมาณในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา. เธอยังล่วงสิกขาบท เล็กน้อยบ้างและต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านั้นบ้าง. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มี ผู้รู้ใด ๆ กล่าวความอาภัพ ต่อการบรรลุโลกุตตรธรรมจักเกิดขึ้นเพราะเหตุสักว่า การล่วงสิกขาบทเล็กน้อย และการต้องออกจากอาบัติเล็กน้อยเหล่านี้. ส่วน สิกขาบทเหล่าใด ที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ที่เหมาะสมแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง ในสิกขาบทเหล่านั้นสมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุนั้น เพราะความสิ้นรอบ แห่งสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ เที่ยงต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.

(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง พระโสดาบัน ได้อีกที่หัวข้อว่า “เปรียบเทียบ พระเสขะ-อเสขะ” หน้า ๕๖๐ แห่งหนังสือเล่มนี้).

577
หลักเกณฑ์พยากรณ์ภาวะโสดาบันของตนเอง


คหบดี ! ในกาลใด ภัยเวรห้าประการ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย. อริยสาวกประกอบพร้อม แล้วด้วยโสตาปัตติยังคะสี่ด้วย. อริยญายธรรมเป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา ด้วยในกาลนั้น อริยสาวกนั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พยากรณ์ตนด้วยตนนั่นแหละ ว่า “เราเป็นผู้มีนรก สิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้วมีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบายทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็ นผู้ถึงแล้วซึ่ง กระแส(แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็น เบื้องหน้า” ดังนี้.

คหบดี ! ภัยเวร ประการ อันอริยสาวกทำให้สงบรำงับได้แล้วเป็นอย่างไรเล่า ? คหบดี ! บุคคลผู้ ฆ่าสัตว์อยู่เป็นปกติ ย่อมประสพภัยเวรใด ในทิฏฐธรรมบ้าง ในสัมปรายะบ้าง ย่อมเสวยทุกข โทมนัสทาง ใจบ้าง,เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ผู้เว้นขาดแล้วจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสพภัยเวรนั้น ทั้งใน ทิฏฐธรรม และสัมปรายะ ไม่ต้องเสวยทุกขโทมนัสทางใจด้วย เมื่ออริยสาวกเว้นขาดแล้ว จากปาณาติบาต ภัยเวร นั้น ย่อมเป็นสิ่งสงบรำงับไปด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีแห่ง อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และ สุราเมรยมัชชปาน ก็ได้ตรัสข้อความไว้ โดย ทำนองเดียวกัน เรื่องควรดูประกอบและพิจารณาในเล่มนี้หน้า ๕๘๓ดูฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ของ โสดาบัน ในอริย.โอ. ปลายหน้า๑๐๗๘-๑๐๗๙และ๑๐๘๔-๑๐๘๙ สังเกต ความมีวิบากอย่างเบาของ ผู้บกพร่องศีล ๕ ที่ได้ตรัสไว้ ซึ่งมิได้ไปสู่อบาย ผลของโสดาบัน ที่จะไม่มีการกระทำไปสู่อบาย และการ ผิดศีล ๕ ที่กระทำเป็นปกติ ในพุ.โอ.หน้า ๔๐๘-๔๑๑ ดูศีล ๕ ครบแต่อาจไปอบายเพราะเหตุใด).

คหบดี ! ภัยเวรทั้งห้าเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สงบรำงับแล้ว.
คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งการบรรลุซึ่งโสดา องค์อย่างไรเล่า ?

(๑) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดย พระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้ สามารถฝึกคนที่ควรฝึกอย่าง ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรมเป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์” ดังนี้.

(๒) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ใน พระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติพึงเห็นได้ ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

(๓) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์ ว่า “สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ รู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียง ตัว ได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขามาบูชา เป็นสงฆ์ ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำ อัญชลี เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของ โลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.

(๔) คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจ ของพระอริยเจ้าเป็น ศีลที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็นไทจากตัณหา วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิลูบคลำ เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

คหบดี ! อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยองค์แห่งการบรรลุซึ่งโสดา ๔ องค์ เหล่านี้แล.

คหบดี ! อริยญายธรรม เป็นธรรมที่อริยสาวกเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ อย่างนี้ว่า “ด้วยอาการ อย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น. เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะมี สังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ .... ฯลฯ .... ฯลฯ .... เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน.

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. เพราะความจางคลายดับไปโดย ไม่มี เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ ....ฯลฯ ... ฯลฯ ....เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง ชาตินั้นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะ- ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.”

คหบดี ! อริยญายธรรมนี้แล เป็นธรรมที่อริยสาวกนั้นเห็นแล้วด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา.

คหบดี ! ในกาลใดแล ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริย-สาวกทำให้สงบรำงับได้แล้ว ด้วย อริยสาวก เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยโสตาปัตติยังคะสี่เหล่านี้ ด้วยอริยญายธรรมนี้ เป็นธรรมอันอริยสาวกเห็นแล้ว ด้วยดี แทงตลอดแล้วด้วยดี ด้วยปัญญา ด้วย ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นปรารถนาอยู่ ก็พยากรณ์ตน ด้วยตนนั้น แหละว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส (แห่งนิพพาน) มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้ เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า” ดังนี้


580
แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน


อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่าแว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตนเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย สิ้นแล้วมีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว ในข้อที่ตนเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเที่ยง แท้ต่อ พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า ดังนี้.

อานนท์ ! ก็ธรรมปริยายอันชื่อว่า แว่นธรรม ในที่นี้ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า...

ในองค์พระธรรม.... ในองค์พระสงฆ์.... และอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยศีล ทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจของเหล่าอริยเจ้า คือเป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นศีลที่เป็น ไทจากตัณหา เป็นศีลที่ผู้รู้ท่านสรรเสริญเป็นศีล ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำ และเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ.

อานนท์ ! ธรรมปริยาย อันนี้แล ที่ชื่อว่า แว่นธรรม ซึ่งหาก อริยสาวกผู้ใดได้ประกอบพร้อมแล้ว เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ ดังนี้แล.


581
ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิโดยธรรมชาติ

(สิ่งที่ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิทำไม่ได้โดยธรรมชาติ)

ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ (โดยธรรมชาติ)ประการเหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ?

หกประการ คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไร ๆโดยความเป็นของเที่ยง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงสังขารไร ๆโดยความเป็นสุข
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจเข้าถึงธรรมะไร ๆโดยความเป็นตัวตน
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจกระทำอนันตริยกรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจหวังการถึงความบริสุทธ์ิโดยโกตุหลมงคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจแสวงหาทักขิเณยยบุคคล ภายนอกจากศาสนานี้.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ. (คำว่า “เข้าถึง” ในสูตรนี้ มีความหมาย แห่งการถือเอาเช่นเดียวกับคำว่า สรณํคจฺฉามิ หมายความว่าถือเอาเป็นที่พึ่ง. คำว่า “โกตุหลมงคล” หมายถึงการถือลัทธิโบราณ ทางไสยศาสตร์ เช่นว่า ตื่นนอนขึ้นมา ได้เห็นหรือได้ยินหรือได้สัมผัส สิ่งใด สิ่งหนึ่ง ตามที่บัญญัติไว้ว่า จะนำมาซึ่งความบริสุทธิ์ตามลัทธินั้น ๆ).


582
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)

ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า?

หกประการ คือ
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระศาสดา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระธรรม
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในพระสงฆ์
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพยำเกรง ในสิกขา
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจมาสู่อนาคมนียวัตถุ (วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา)


582-1
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่อาจยังภพที่แปดให้เกิดขึ้น.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.(คำว่า “วัตถุที่ไม่ควรเข้าหา” หมายถึงวัตถุ สิ่งของ ก็ได้ การกระทำก็ได้ ความเห็นก็ได้. คำว่า“ภพที่แปด” หมายความว่า ไม่อาจจะมีแก่พระโสดาบัน พระโสดาบันจะมีภพหรือชาติต่อไปได้อีกเพียงเจ็ดเท่านั้น).


583
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ

(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ หกประการ เหล่าไหนเล่า ?
หกประการ คือ :
เป็นไปไม่ได้
ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตมารดา
เป็นไปไม่ได้
ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตบิดา
เป็นไปไม่ได้
ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ปลงชีวิตพระอรหันต์
เป็นไปไม่ได้
ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง คิดประทุษร้ายตถาคต แม้เพียงทำโลหิตให้ห้อ
เป็นไปไม่ได้
ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ทำสงฆ์ให้แตกกัน
เป็นไปไม่ได้
ที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึง ถือศาสดาอื่น

นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.


585
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ

(อภัพพฐานสำหรับผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. หกประการ เหล่าไหนเล่า ?

หกประการ คือ :-
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ตนทำเอง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ผู้อื่นทำให้
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ตนทำเองก็มีผู้อื่นทำให้ก็มี
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเองเกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ไม่อาจมาสู่ทิฏฐิ ว่า “สุขและทุกข์ ไม่ต้องทำเองและไม่ต้องใครอื่นทำให้ เกิดขึ้นได้ตามลำพัง”.

ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เหต ุ(แห่งสุขและทุกข์) อันผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เห็นแล้ว โดยแท้จริง และธรรมทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่เกิดมาแต่เหตุด้วย.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ฐานะที่ไม่อาจเป็นไปได้ ๖ ประการ.


585-1
ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน)

ภิกษุ ท. ! เมื่อ รูป นั้นแลมีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่าง เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ ของเสาระเนียด” ดังนี้. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษรกับในกรณี แห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อ แห่งขันธ์ แต่ละขันธ์เท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร :
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า !”
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”
แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอดพระจันทร์ และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้น ไม่ตกแต่ละอย่างๆเป็นของตั้งอยู่ อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ? ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถามและ ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบอย่าง เดียวกัน ทุกตัวอักษรกับกรณีแห่งรูปนี้ต่างกัน แต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์ เท่านั้น).


ภิกษุ ท. ! แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !”

ก็สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ? เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !”

แม้สิ่งใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอดพระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่างๆเป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ?
ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !

ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา) ในฐานะทั้งหลาย ๖ประการเหล่านี้๑ เป็นสิ่งที่อริยสาวกละ ขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ แม้ในความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล.


587
ผู้มีธรรมญาณและอัน๎วยญาณ(พระโสดาบัน)


ภิกษุ ท. ! ก็ ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความหนังเหี่ยว ความสิ้นไปๆแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆของสัตว์ ทั้งหลาย เหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่าชรา.

การจุติ ความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไปการวายชีพ การตาย การทำ กาละ การแตกแห่งขันธ์ ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่างการขาดแห่งอินทรีย์ คือชีวิตจากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์ ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่ามรณะ. ชรานี้ด้วย มรณะนี้ด้วย ย่อมมีอยู่ดังนี้
ภิกษุ ท. !นี้เรียกว่า ชรามรณะ.

ความก่อขึ้นพร้อมแห่งชรามรณะ
ย่อมมี เพราะความก่อขึ้นพร้อมแห่ง ชาติ ความดับไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งชาติ มรรคอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวก ย่อมมารู้ทั่วถึง ซึ่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ, มารู้ทั่วถึง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรา มรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ มารู้ทั่วถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะว่าเป็นอย่างนี้ๆ,มารู้ทั่วถึงซึ่งข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ ในกาลใด ในกาลนั้น ความรู้นี้ ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า ธัมมญาณ (ญาณในธรรม).

ด้วยธรรมนี้อันอริยสาวกนั้นเห็นแล้ว รู้แล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงแล้วและเป็นธรรมอันใช้ได้ไม่จำกัดกาล อริยสาวกนั้น ย่อมนำความรู้นั้นไปสู่นัยยะ อันเป็นอดีตและอนาคต (ต่อไปอีก)ว่า “สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น แห่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่อง ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งชรามรณะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทุกท่าน ก็ได้รู้อย่างยิ่งแล้ว เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่างยิ่งแล้วในบัดนี้.

ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในกาลยืดยาว นาน ฝ่ายอนาคต จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ จักรู้อย่างยิ่ง ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่ง ชรามรณะ ก็ตาม สมณะหรือพราหมณ์ เหล่านั้นทุกท่าน ก็จักรู้อย่างยิ่ง เหมือนอย่างที่เราเองได้รู้อย่าง ยิ่งแล้วในบัดนี้” ดังนี้.

ความรู้นี้ของอริยสาวกนั้น ชื่อว่า อัน๎วยญาณ (ญาณในการรู้ตาม).

ภิกษุ ท. ! ญาณทั้งสอง คือ ธัมมญาณ และ อัน๎วยญาณเหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติ บริสุทธ์ิ ผ่องใส ในกาลใด
ภิกษุ ท. ! ในกาลนั้นเราเรียกอริยสาวกนั้นว่า ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิ” ดังนี้บ้าง

ว่า
ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทัสสนะ” ดังนี้บ้าง
ว่า “ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว”ดังนี้บ้าง
ว่า “ได้เห็นอยู่ซึ่งพระสัทธรรมนี้” ดังนี้บ้าง
ว่า “ผู้ประกอบแล้วด้วยญาณอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง
ว่า “ผู้ประกอบด้วยวิชชาอันเป็นเสขะ” ดังนี้บ้าง
ว่า “ผู้ถึงซึ่งกระแสแห่งธรรมแล้ว” ดังนี้บ้าง
ว่า “ผู้ประเสริฐ มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลส” ดังนี้บ้าง
ว่า “ยืนอยู่จดประตูแห่งอมตะ” ดังนี้บ้าง ดังนี้.

(ข้อความข้างบนนี้ เป็นกรณีแห่ง ปฏิจจสมุปปันธรรม คือชราและมรณะ ที่อริยสาวกมารู้ทั่วถึงโดยนัยแห่ง อริยสัจสี่แล้ว ทำให้มีธัมมญาณและอัน๎วยญาณ และทำให้เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฏฐิเป็นต้น. ต่อไปได้ ตรัสถึงปฏิจจสมุปปันนธรรมคือ ชาติ...ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ...เวทนา... ผัสสะ ...สฬายตนะ ...นามรูป ...วิญญาณ ...สังขารแต่ละอย่างๆ ว่าอริยสาวกมารู้ทั่วถึง โดยนัยแห่งอริยสัจสี่แล้ว ก็ทำให้มี ธัมมญาณและอัน๎วยญาณเป็นต้น ได้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง ปฏิจจสมุปปันนธรรมคือ ชราและมรณะ นั้น รายละเอียดหาอ่านดูได้จากหนังสือปฏิจจ. โอ. หมวดที่ ๖ หัวข้อว่า“ญาณวัตถุ ๔๔ ในปฏิจจสมุปบาท เพื่อความเป็นโสดาบัน”).


588
พระโสดาบัน รู้จักอินทรีย์หก


ภิกษุ ท. ! อินทรีย์หกอย่างเหล่านี้ มีอยู่. หกอย่างอะไรเล่า ?หกอย่างคือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์มนินทรีย์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวก มารู้จักความก่อขึ้น แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้ รู้จักความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้ รู้จักอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้ ในแง่ที่มันให้รสอร่อย รู้จักอินทรีย์ทั้งหกเหล่านี้ ในแง่ ที่มันให้แต่โทษร้ายกาจ ทั้งรู้จักอุบายที่ไปให้พ้นอินทรีย์ทั้งหก เหล่านี้ตามที่ถูกที่จริง

ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้นแหละ อริยสาวกนั้น เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ พระนิพพาน จักตรัสรู้ธรรมพร้อมได้ในเบื้องหน้า.

พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกัน ในการเห็นธรรม
ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง.
ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?
ห้าอย่างคือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น(สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันต่ำทราม (อาทีนวะ) และซึ่งอุบายเครื่องออก (นิสสรณะ) แห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้าเหล่านี้

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.

ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านี้ มีอยู่ห้าอย่าง.ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุ รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษ อันต่ำทราม และซึ่งอุบายเครื่องออกแห่งอุปาทานขันธ์ทั้งห้า เหล่านี้ ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้น แล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็น พระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้วอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ สำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปหมดแล้ว เป็นผู้หลุด พ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ ดังนี้แล.


590
พระโสดาบันกับพระอรหันต์ต่างกันในการเห็นธรรม

(อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่. หกเหล่าไหนเล่า ? หกคือจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด อริยสาวก รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น(สมุทัย) ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ (อัตถังคมะ) ซึ่งรสอร่อย (อัสสาทะ) ซึ่งโทษอันตํ่าทราม (อาทีนวะ) และซึ่งอุบายเครื่องออก (นิสสรณะ) แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน จักตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.

ภิกษุ ท. ! อินทรีย์หกเหล่านี้ มีอยู่. หกเหล่าไหนเล่า ? หกคือจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุ รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเครื่องออก แห่งอินทรีย์หกเหล่านี้ ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่มีความยึดมั่น.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็น พระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำ สำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ ตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปหมดแล้ว เป็นผู้หลุด พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้แล.


592
ผู้รวมอยู่ในกลุ่มโสดาบัน
๓ จำพวก

ก.
สัทธานุสารี
ภิกษุ ท. ! จักษุ...โสตะ ...ฆานะ ....ชิวหา ...กายะ...มนะ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.

ภิกษุ ท. ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลนี้เราเรียก ว่าเป็น สัทธานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง) หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ) ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือเปรต วิสัย และไม่ควรที่จะทำกาละก่อน แต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ข. ธัมมานุสารี
ภิกษุ ท. ! ธรรม อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่ง โดยประมาณอันยิ่ง แห่งปัญญาของบุคคลใดด้วย อาการอย่างนี้ ; บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม หยั่งลงสู่สัปปุริสภูม ล่วงพ้น บุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำ แล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือเปรตวิสัยและไม่ควร ที่จะกระทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ค. โสตาปันนะ
ภิกษุ ท. ! บุคคลใดย่อมรู้ ย่อมเห็นในซึ่งธรรม อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้ (ตามที่กล่าวแล้ว ในข้อบนมีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) บุคคลนี้เราเรียกว่าโสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส)ผู้มีอันไม่ ตกต่ำ เป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม) เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน(นิยต)มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).

สารีบุตร ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส (โสต)ได้แก่สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

 (สูตรข้างบนนี้(:๑๗/๒๗๘/๔๖๙) ทรงแสดงอารมณ์แห่งอนิจจัง เป็นต้นด้วยธรรม ๖ อย่าง คืออายตนะ ภายในหก ในสูตรถัดไปทรงแสดงอารมณ์นั้น ด้วยอายตนะภายนอกหกคือรูปเสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็มี แสดงด้วยวิญญาณหก ก็มี ด้วยสัมผัสหก ก็มี ด้วยเวทนาหก ก็มี ด้วยสัญญาหก ก็มี ด้วยสัญเจตนาหก ก็มี ด้วยตัณหาหก ก็มี ด้วยธาตุหก ก็มี และด้วยขันธ์ห้า ก็มี ทรงแสดงไว้ด้วยหลักการปฏิบัติอย่างเดียวกัน).


594
ความเป็นพระโสดาบัน ไม่อาจแปรปรวน


ภิกษุ ท. ! แม้มหาภูตรูปสี่ กล่าวคือธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น ไปได้. แต่เหล่า อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น ม่หวั่นไหวในองค์พระพุทธเจ้า .... ในองค์พระธรรม... ในองค์พระสงฆ์... ย่อมไม่มีความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย.

ข้อที่ว่าผู้ประกอบพร้อม แล้ว ด้วยความเลื่อมใส อันหยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ในองค์ พระพุทธเจ้า เป็นต้นนั้น ยังจะมีการปรวนแปร ไปเป็นเสียอย่างอื่นจนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดี วิสัยแห่งเปรตก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่เป็นฐานะ ที่จะมีได้ เลย.

ภิกษุ ท. ! แม้มหาภูตรูปสี่ กล่าวคือธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ยังมีความแปรปรวนเป็นอื่นไปได้ แต่เหล่าอริย สาวก ในธรรมวินัยนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิดเป็นที่พอใจ ของเหล่าอริยเจ้า ย่อมไม่มี ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้เลย.

ข้อที่ว่าผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลายชนิด เป็นที่พอใจของ เหล่า อริยเจ้านั้น ยังจะมีการปรวน แปรไปเป็นเสียอย่างอื่นจนเข้าถึงนรกก็ดี กำเนิดเดรัจฉานก็ดี วิสัยแห่ง เปรตก็ดี ดังนี้นั้น ไม่ใช่เป็นฐานะ ที่จะมีได้เลย.


594-1
ความเป็นโสดาบัน ประเสริฐกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ


ภิกษุ ท. ! แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ครองความเป็นใหญ่ยิ่งแห่งทวีปทั้งสี่ เบื้องหน้าจากการตายเพราะ ร่างกายแตกดับ อาจได้เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์เป็นสหาย อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ถูกแวดล้อม อยู่ด้วยหมู่นางอัปสรในสวนนันทวัน ท้าวเธอเป็นผู้ เอิบอิ่ม เพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้าอันเป็นของ ทิพย์ อย่างนี้ก็ตาม แต่กระนั้น ท้าวเธอก็ยัง รอดพ้นไปไม่ได้ จากนรกจากกำเนิด เดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.

ภิกษุ ท. ! ส่วนอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ แม้เป็นผู้ยังอัตภาพให้พอ เป็นไปด้วยคำข้าว ที่ได้มาจาก บิณฑบาตด้วยปลีแข้งของ ตนเอง พันกาย ด้วยการนุ่งห่มผ้าปอน ไม่มีชาย หากแต่ว่าเป็น ผู้ประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยธรรม๔ ประการ เธอก็ยัง สามารถ รอดพ้นเสียได้ จากนรก จากกำเนิด เดรัจฉานจากวิสัยแห่งเปรต และจากอบาย ทุคติ วินิบาต.

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ? สี่ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่ง ลงมั่นไม่หวั่นไหว ในองค์พระพุทธเจ้า... ในองค์พระธรรม ...ในองค์พระ สงฆ์..เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยศีลทั้งหลาย ชนิดเป็น ที่พอใจเหล่าอริยเจ้าฯลฯ ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ระหว่างการได้ทวีปทั้งสี่ กับการได้ธรรม ๔ ประการนี้นั้นการได้ทวีปทั้งสี่มีค่า ไม่ถึงเสี้ยว ที่สิบหก ของการได้ธรรม ๔ ประการนี้ เลย.


595
ผลแห่งความเป็นโสดาบัน


ภิกษุ ท. ! อานิสงส์แห่งการทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล อย่างเหล่านี้ มีอยู่ หกอย่าง เหล่าไหนเล่า ? หกอย่าง คือ

เป็นบุคคลผู้ เที่ยงแท้ต่อสัทธรรม (สทฺธมฺมนิยโต)
เป็นบุคคลผู้ มีธรรมอันไม่รู้เสื่อม (อปริหานธมฺโม)
ทุกข์ดับไปทุกขั้นตอนแห่งการกระทำที่กระทำแล้ว

เป็นบุคคลผู้ ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ที่ไม่ทั่วไปแก่พวกอื่น)
เป็นบุคคลผู้ เห็นธรรมที่เป็นเหตุ และ เห็นธรรมทั้งหลาย ที่เกิดมาแต่เหตุ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อานิสงส์ ๖ ประการแห่งการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.


596
พระอริยบุคคลละสังโยชน์ได้ต่างกัน


ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก. สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ที่ยังละไม่ได้ มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้ และมีสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ได้แล้วแต่มีสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกที่ยัง ละไม่ได้ มีสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ได้แล้วทั้งยังละ สังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิด อีกได้ด้วย แต่มีสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องมีภพที่ยังละไม่ได้.

(๔)บุคคลบางคนในโลกนี้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้งหลายได้แล้วละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้วและ ยังละสังโยชน์ด้วยเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

(ประเภทที่ ๑) ภิกษุ ท. ! พระสกิทาคามี นี้แล เป็นผู้ยังละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ไม่ได้ทั้งหมด ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้ และละสังโยชน์ตังเหตุให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๒) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล เป็นผู้ละ สังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลาย ได้ทั้งหมด แต่ยังละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกไม่ได้ และละ สังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๓) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่าง นี้แลเป็นผู้ละสังโยชน เบื้องต่ำ ทั้งหลายได้ด้วย ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้.

(ประเภทที่ ๔) ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้งหลายได้ ละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ และยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.

597
พระอริยบุคคลผู้ต้องใช้สังขารธรรมต่างกัน สี่ประเภท


ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมสสังขารปรินิพพายีเป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูล ในอาหาร มีสัญญา ว่ามิใช่สิ่งน่ายินดีในโลกทั้งปวง มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง และมีมรณสัญญา อันตั้งไว้ดีแล้ว ในภายใน. เธออาศัยธรรมเป็นกำลังแห่งพระเสขะ ทั้งห้าเหล่านี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิรีพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ.

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ
ก็เป็ นธรรมมีประมาณยิ่ง ปรากฏอยู่ กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุผู้นั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า เหล่านี้ เป็นธรรมมีประมาณ อันยิ่ง จึงเป็ นผู้ทิฏเฐวธัมเมสสังขารปรินิพพายี.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมสสังขารปรินิพพายี (ผู้มีสังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานใน ทิฏฐธรรมนี้เทียว?).


598
ข. ผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้เป็นผู้มี ปกติตามเห็นความ ไม่งามในกายเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่ามิใช่สิ่งน่ายินดีในโลกทั้งปวง มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง และมีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้ว ในภายใน.เธออาศัยธรรม เป็นกำลัง เแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้ อยู่ คือ สัทธาพละ หิรีพละโอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ.

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ เป็ นธรรมมีกำลังอ่อน ปรากฏอยู่ กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน จึงเป็น ผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี (ผู้มีสังขารธรรมสำหรับการปรินิพพาน ต่อกายแตก?).


599
ค.ผู้ทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ....เข้าถึงปฐมฌาน...เข้าถึงทุติยฌาน...เข้าถึงตติยฌาน ...เข้าถึงจตุตถฌาน ...แล้วแลอยู่. เธออาศัยธรรมเป็นกำลังแห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิรีพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ.

อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ของเธอ ก็เป็นธรรมมีประมาณยิ่งปรากฏ อยู่ กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้า เหล่านี้ เป็นธรรมมีประมาณยิ่ง จึงเป็นผู้ ทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นทิฏเฐวธัมเมอสังขารปรินิพพายี (ผู้ไม่ต้องใช้สังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้เทียว ?).

บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ... เข้าถึงปฐมฌาน ....เข้าถึงทุติยฌาน ....เข้าถึงตติยฌาน ... เข้าถึงจตุตถฌาน .... แล้วแลอยู่ เธออาศัยธรรมเป็นกำลัง แห่งพระเสขะทั้งห้าเหล่านี้อยู่ คือสัทธาพละ หิรีพละโอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ.

อินทรีย์ทั้งห้า เหล่านี้ของเธอ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน ปรากฏอยู่ กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้งห้าเหล่านี้ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน จึงเป็นผู้ กายัสสเภทา อสังขารปรินิพพายี.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาอสังขารปรินิพพายี (ผู้ไม่ต้องใช้สังขารธรรมสำหรับการปรินิพพาน ต่อกายแตก?).


600
อุปมาการฝึกช้างศึก ด้วยการฝึกตนของอริยสาวก


ภิกษุ ท. ! ช้างต้นประกอบด้วยคุณสมบัติสี่ สมควรแก่พระราชาจะใช้สอยจัดได้ว่าเป็น อังคาพยพ (ส่วนประกอบแห่งองค์) ของพระราชา.สี่ อย่างอย่างไรเล่า ? ในกรณีนี้ สี่อย่างคือ ช้างต้น เป็นช้างรู้ฟัง รู้ประหาร รู้อดทนรู้ไป.

ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้ฟัง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญช้างสั่งให้ทำการอันใด ที่เคยทำหรือไม่เคยทำก็ตาม ย่อมทำในใจอย่างทั่วถึง รวบรวมจิตทั้งหมดมาเงี่ยโสตคอยสดับ. อย่างนี้แล เรียกว่าช้างต้นที่รู้ฟัง.

ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้ประหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อม ประหารช้างบ้าง ผู้อยู่บนหลังช้างบ้างประหารม้าบ้าง ประหารผู้อยู่บนหลังม้าบ้าง ย่อมประหารรถบ้าง คนประจำรถบ้าง ย่อมประหารพลเดินเท้าบ้าง อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ประหาร.

ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้อดทน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ช้างต้นในกรณีนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว อดทน ต่อการประหารด้วยหอก ด้วยดาบ ด้วยลูกศร อดทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และมหรทึก. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้อดทน.

ภิกษุ ท. ! ช้างต้นที่รู้ไป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ช้างต้นในกรณีนี้, ควาญช้างจะส่งไปสู่ทิศใด ที่เคยไปหรือไม่เคยไปก็ตาม ย่อมไปสู่ทิศนั้นได้โดยพลัน. อย่างนี้แล เรียกว่า ช้างต้นที่รู้ไป.ภิกษุ ท. ! ช้างต้นประกอบด้วยคุณสมบัติ ๔ อย่าง เหล่านี้แลสมควรแก่พระราชาจะใช้สอย จัดได้ว่าเป็นอังคาพยพของพระราชา.

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ภิกษุประกอบด้วยคุณธรรม ๔ประการ ย่อมเป็นอาหุเนยบุคคล ปาหุเนยบุคคล ทักขิเณยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล และเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. คุณธรรม ๔ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการในกรณีนี้ คือ ภิกษุเป็นผู้รู้ฟัง รู้ประหารรู้อดทน และรู้ไป.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้ฟัง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เมื่อธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลแสดงอยู่. ย่อมทำในใจอย่างทั่วถึง รวบรวมจิตทั้งหมดมาเงี่ยโสตคอยสดับ ฟังธรรมอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุที่รู้ฟัง.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้ประหาร เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่อยู่เฉย ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้สิ้นไป ย่อมกระทำให้ไม่มี ซึ่งกามวิตก ...พ๎ยาปาทวิตก.... วิหิงสาวิตก อันเกิดขึ้น แล้ว ย่อมไม่อยู่เฉย ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้สิ้นไป ย่อมกระทำให้ไม่มีซึ่งอกุศลธรรม อันลามก ทั้งหลาย อันเกิดขึ้นแล้วและเกิดขึ้นแล้ว. อย่างนี้แลเรียกว่า ภิกษุที่รู้ประหาร.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้อดทน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้อดทนต่อ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อคลองแห่งถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายกาจ เป็นผู้มีชาติแห่ง บุคคลผู้อดกลั้นต่อเวทนา ทางกายอัน เกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นทุกข์ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ ราวกะว่าจะนำไปเสียซึ่งลมปราณ. อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุที่รู้อดทน.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุที่รู้ไป เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ทิศใดอันเธอไม่เคยไป ตลอดกาล ยาวนานถึงเพียงนี้ กล่าวคือนิพพานอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืน ซึ่งอุปธิทั้งปวงเป็นที่ สิ้นไปแห่งตัณหา ปราศจากความกำหนัด เป็นที่ดับโดยไม่เหลือ เธอเป็นผู้ไปสู่ทิศนั้นได้โดยพลัน นั่นเทียว. อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุที่รู้ไป.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคลและ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.


603
บุคคลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก


เช้าวันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรครองจีวร ถือบาตร เข้าไปบิณฑบาตในนครสาวัตถี ท่านเห็นว่า เวลายังเช้า เกินไปสำหรับการบิณฑบาต จึงแวะเข้าไปในอารามของพวกปริพาชกลัทธิอื่น ได้ทักทายปราศรัยกัน ตามธรรมเนียมแล้ว นั่งลง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ก็ในเวลานั้นแล พวกปริพาชกทั้งหลายนั้น กำลังยกข้อความ ขึ้นกล่าวโต้เถียงกันอยู่ ถึงเรื่อง บุคคลใด ใครก็ตาม ที่ยังมีเชื้อเหลือ ถ้าตายแล้ว ย่อมไม่พ้นเสียจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้เลยสักคนเดียว ดังนี้. ท่าน พระสารีบุตร ไม่แสดงว่าเห็นด้วย และไม่คัดค้าน ข้อความของปริพาชกเหล่านั้นลุกจากที่นั่งไป โดยคิดว่าทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจักได้ทราบ ความข้อนี้.

ครั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลัง อาหารแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลถึง เรื่องราว ที่เกิดขึ้นในตอนเช้าทุกประการ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า


สารีบุตร ! พวกปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ ไม่ฉลาด จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มี เชื้อเหลือ. สารีบุตร ! บุคคลที่มีเชื้อ (อุปาทิ) เหลือ ๙ จำพวก ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ แม้ตายไป ก็พ้นแล้ว จากนรก พ้นแล้วจากกำเนิดเดรัจฉาน พ้นแล้วจากวิสัยแห่งเปรต พ้นแล้วจากอบาย ทุคติ วินิบาต. บุคคล เก้าจำพวกเหล่านั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เก้าจำพวกคือ แสดงถึงว่าเป็นผู้ยังมีชีวิต อยู่บนโลกซึ่งมี คุณธรรมต่างๆ ตามที่ตรัสไว้)

(๑) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีลทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้ พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป บุคคลนั้นเป็น อนาคามี ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคล ผู้มี เชื้อเหลือพวกที่ ๑ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๒) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีลทำได้เต็มที่ในส่วนสมาธิ แต่ทำได้ พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้นให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามี ผู้จะปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๒ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบายทุคติ วินิบาต.

(๓) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วน สมาธิ แต่ทำได้ พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้น ให้สิ้นไป บุคคลนั้นเป็น อนาคามี ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง .สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๓ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรตจากอบายทุคติ วินิบาต.

(๔) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีลทำได้ เต็มที่ในส่วน สมาธิ แต่ทำได้ พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่างในเบื้องต้น ให้สิ้นไป บุคคลนั้นเป็น อนาคามี ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๔ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรตจากอบายทุคติ วินิบาต.

(๕) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีล ทำได้เต็มที่ในส่วน สมาธิ แต่ทำได้ พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๕ อย่าง ในเบื้องต้น ให้สิ้นไป, บุคคลนั้นเป็น อนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๕ที่เมื่อตายก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัย แห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๖) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีลแต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วน ปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป, และเพราะมีราคะ โทสะ โมหะเบาบางน้อยลง, เป็น สกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๖ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๗) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีลแต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วน ปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป บุคคลนั้นเป็น โสดาบันผู้มีพืชหนเดียว คือจักเกิดในภพแห่งมนุษย์หนเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. สารีบุตร !นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๗ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๘) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีลแต่ทำได้พอประมาณในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วน ปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป บุคคลผู้นั้นเป็น โสดาบันผู้ต้องท่องเที่ยวไป สู่สกุล หรือ ครั้ง แล้วกระทำที่สุดแหง่ ทุกข์ได้. สารีบุตร ! นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือ พวกที่ ๘ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉานจากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

(๙) สารีบุตร ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ ทำได้เต็มที่ในส่วนศีลแต่ทำได้พอประมาณ ในส่วนสมาธิ ทำได้พอประมาณในส่วนปัญญา. เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป บุคคลนั้นเป็น โสดาบันผู้ต้อง เที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์อีก ครั้งเป็นอย่างมาก แล้ว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

สารีบุตร !นี้เป็นบุคคลผู้มีเชื้อเหลือพวกที่ ๙ ที่เมื่อตาย ก็พ้นแล้วจากนรก จากกำเนิดเดรัจฉาน จากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

สารีบุตร ! ปริพาชกลัทธิอื่น ยังอ่อนความรู้ ไม่ฉลาด จักรู้ได้อย่างไรกันว่า ใครมีเชื้อเหลือ ใครไม่มี เชื้อเหลือ.สารีบุตร ! บุคคลเหล่านี้แลที่มีเชื้อเหลือ ๙ จำพวก เมื่อตายไป ก็พ้นแล้ว จากนรกจากกำเนิด เดรัจฉานจากวิสัยแห่งเปรต จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดงให้ปรากฏ แก่หมู่ภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย มาแต่กาลก่อน.ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?เพราะเราเห็นว่า ถ้าเขาเหล่านั้น ได้ฟังธรรมปริยายข้อนี้แล้ว จักพากันเกิดความประมาท อนึ่งเล่า ธรรมปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยายที่เรากล่าวต่อเมื่อ ถูกถามเจาะจงเท่านั้น ดังนี้แล.


607
พระอรหันต์รู้จักปัญจุปาทานขันธ์ชัดแจ้งแล้วหลุดพ้น


ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล ภิกษุมารู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งความก่อขึ้นแห่งอุปาทานขันธ์ห้า รู้ชัดแจ้ง ตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ของอุปาทานขันธ์ห้า รู้ชัดแจ้งตาม ที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งรสอร่อยแห่ง อุปาทานขันธ์ห้า รู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งโทษแห่ง อุปาทานขันธ์ห้า และรู้ชัดแจ้งตามที่เป็นจริงแล้ว ซึ่งอุบายที่ไปให้พ้นอุปาทานขันธ์ห้า ดังนี้แล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่มีความยึดมั่น

ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เราเรียกว่าเป็น พระอรหันต์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร ทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตนอันตามบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ ในภพสิ้นไปทั้งหมดแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ดังนี้แล.


608
บุคคลผู้บรรลุอนุปาทาปรินิพพาน


ภิกษุ ท. ! อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ได้เฉพาะซึ่งความเข้าไปเพ่งอยู่ว่า “ถ้า (ปัจจัย) ไม่เคยมี(ผล) ก็ต้องไม่มีอยู่แก่เรา ถ้า (ปัจจัยเพื่ออนาคต) จักไม่มีอยู่ (ผลในอนาคต)ก็ต้อง ไม่มีแก่เรา. สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว เราย่อมละได้ซึ่งสิ่งนี้.ดังนี้.

ภิกษุนั้น ไม่กำหนัดในภพไม่เกาะ เกี่ยวในสมภพ ย่อมเห็นซึ่งบทอันยิ่งขึ้นไปที่มีอยู่ ด้วยปัญญา อันชอบ ว่าเป็นบทอันสงบรำงับ และ บทนั้น แล เป็นบทอันเธอกระทำให้แจ้งแล้ว หมดสิ้น โดยประการทั้งปวง มานานุสัยก็เป็นอันภิกษุนั้น ละขาดแล้ว ทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวง ภวราคานุสัย ก็เป็นอันภิกษุนั้น ละขาดแล้วทั้งสิ้น โดยประการ ทั้งปวง อวิชชานุสัย ก็เป็นอันภิกษุนั้นละขาดแล้วทั้งสิ้น โดยประการ ทั้งปวง เธอนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโต วิมุตติปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน.

พระอรหันต์คือผู้เป็น อเสขะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่กล่าว กันว่า อเสขะ-อเสขะดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นอเสขะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยสัมมาทิฏฐิชนิดเป็นอเสขะ สัมมาสังกัปปะชนิด เป็นอเสขะ สัมมาวาจาชนิดเป็นอเสขะ สัมมากัมมันตะชนิดเป็นอเสขะ สัมมาอาชีวะชนิดเป็นอเสขะ สัมมา วายามะชนิดเป็นอเสขะ สัมมาสติชนิดเป็นอเสขะ สัมมา-สมาธิชนิดเป็นอเสขะ สัมมาญาณะชนิดเป็นอเสขะ และสัมมาวิมุตติชนิดเป็นอเสขะ.

ภิกษุ ! ภิกษุที่ชื่อว่าเป็นพระอเสขะ(อรหันต์) ย่อมมีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.


609
ลักษณะทั่วไปของความเป็นพระอรหันต์


ความเร่าร้อน หมดความสุข ย่อมมีไม่ได้แก่ท่านผู้เดินสุดทางสายไกลแล้ว มีไม่ได้แก่ผู้ไม่รู้จัก เศร้าโศก มีไม่ได้แก่ผู้ได้พ้นแล้วในทุกๆสิ่ง และความเร่าร้อนหมดความสุข ย่อมมีไม่ได้แก่ผู้ละ กิเลสเครื่องร้อยรัด ได้แล้วทุกกรณี.เหล่าท่านผู้มีสติสมบูรณ์ ย่อมส่งตนไปเสียได้ ไม่ติดใจ-ยินดีในถิ่นที่อยู่ ละอาลัยและ สิ่งที่ทำ ให้อาลัยเสียได้ ดุจหงส์โผบินละเปือกตมไปเสีย ฉะนั้น.

ท่านเหล่าใด ไม่มีการสั่งสม รู้จักการกินการอยู่ได้ดี มีความพ้นอย่างว่างกิเลสเป็นโคจร มีความพ้นอย่าง ไม่มี อะไรให้หมายได้เป็นโคจร. คติที่จะไปข้างหน้าของเหล่าท่านผู้เช่นนั้น ย่อมยากที่จะบอก ให้รู้กันได้ เหมือน ทิศทางไปในอากาศของเหล่านกทั้งหลายฉะนั้น.

ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ไม่มีเรื่องยุ่งเกี่ยวกับอาหาร มีความพ้นอย่างว่างกิเลสเป็นโคจร มีความพ้น อย่าง ไม่มีอะไร ให้หมายได้ เป็นโคจร. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวท่านนั้น ยากที่จะบอกให้รู้กันได้ เหมือนร่องรอยของ นกบินในอากาศ ฉะนั้น.

อินทรีย์มีตาหูจมูกเป็นต้น ของท่านผู้ใด ไม่ทำพิษ คือสงบรำงับได้แล้ว เหมือนดั่งม้าที่สารถี เขาฝึกดีแล้ว แม้ปวงเทวาและมนุษย์ ก็ยังนิยมชมชอบต่อท่านผู้นั้น ที่ท่านได้ละมานะแล้ว หาอาสวะกิเลสไม่ได้ ทั้งเป็นผู้คงที่อยู่.

ท่านเหล่าใด ไม่จำต้องเชื่อไปกับผู้อื่นเขา รู้แจ้งนิพพานอันอะไรปรุงแต่งให้แปรเปลี่ยนไม่ได้ เป็นผู้ตัด รอยต่อ คือกิเลสที่จะต่อภพต่อชาติ เป็นผู้ยอมทำลายโอกาสที่จะมีเพื่อเอาอะไรอีก และเป็นผู้สิ้นหวัง หล่าท่านผู้เช่นนั้นแล เป็นอุดมบุรุษ.

ท่านผู้ใดเลิกข้องใจในเรื่องที่ว่า นี่ใช่ฝั่ง หรือไม่ใช่ฝั่ง หนอที่ว่าฝั่งนั้นอย่างไร ไม่ใช่นั้นอย่างไร หนอ ดังนี้ เป็นผู้ไม่กระวนกระวายใจได้แล้ว เป็นผู้พรากมาเสียจากกิเลสาสวะได้หมด ท่านผู้เช่นนั้นแล เราตถาคต เรียกว่า พราหมณ์แท้.

ความอาลัยของท่านผู้ใดไม่มีเสียแล้ว รู้ทั่วถึง มีปกติไม่ต้องถามคนอื่นว่าอะไรเป็นอย่างไรแล้ว เป็นผู้หยั่ง ลงสู่ อมตะ มีประโยชน์ตนอันถึงโดยลำดับแล้ว เราตถาคตเรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์แท้.

ท่านผู้ใดพิจารณาเห็นได้แล้ว ในสภาพที่มียิ่งและมีหย่อนในวิสัยโลก ไม่ได้ไหวหวั่นไปใน อารมณ์ไหนๆ ในโลกเลย เป็นผู้รำงับสงบแล้ว ไม่มีกิเลสฟุ้งกลุ้มเหมือนควัน ไม่มีความทุกข์ ความคับแค้นแล้ว เป็นผู้ไม่หวัง อะไรแล้ว เราตถาคตกล่าวผู้นั้น ว่าเป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งความ เกิดความแก่ ดังนี้.

ท่านผู้ปฏิบัติจนเสร็จกิจในพรหมจรรย์แล้ว ไม่สะดุ้งหวาดเสียวแล้ว ปราศจากตัณหาแล้ว หมดกิเลส ที่จะรั้นเพื่อรักษามานะเสียแล้วตัดรอนความทุกข์ เพียงดังลูกศรที่คอยทิ่มแทง ในภพได้ สำหรับท่าน ผู้เช่นนี้ รูปกายนี้ชื่อว่าสิ้นสุดกันเพียงนี้ (เรือนร่างนี้มีในที่สุด).


611
ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยเจ้า
(อริยวาส)

ภิกษุ ท. ! การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ ก็ดี จักอยู่ต่อไปก็ดี มีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้.สิบประการอะไรบ้างเล่า ? สิบประการ คือ

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด ประกอบพร้อมด้วยองค์หกมีอารักขา อย่างเดียว มีพนักพิงสี่ด้าน เป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริง ดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว เป็นผู้ละการแสวงหา สิ้นเชิงแล้วเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัวเป็นผู้มีกายสังขาร อันสงบรำงับแล้ว เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น ด้วยดี เป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.

ภิกษุ ท. ! (๑) ภิกษุเป็นผู้ ละองค์ห้าได้ขาด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละกาม ฉันทะ ละพยาบาท ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ และละวิจิกิจฉาได้แล้ว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ห้าได้ขาด.

ภิกษุ ท. ! (๒) ภิกษุเป็นผู้ ประกอบพร้อมด้วยองค์หก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย และได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ก็เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ได้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์หก.

ภิกษุ ท. ! (๓) ภิกษุเป็นผู้ มีอารักขาอย่างเดียว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ประกอบการ รักษาจิตด้วยสติ. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่ามีอารักขาอย่างเดียว.

ภิกษุ ท. ! (๔) ภิกษุเป็นผู้ มีพนักพิงสี่ด้าน เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาแล้วเสพ ของ สิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้นของสิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นขาดของ สิ่งหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทา ของสิ่งหนึ่ง ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีพนักพิงสี่ด้าน๑

ภิกษุ ท. ! (๕) ภิกษุเป็นผู้ ถอนความเห็นว่าจริงดิ่งไปคนละทางขึ้นเสียแล้ว เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ถอนสละ คาย ปล่อย ละทิ้ง เสียแล้ว ซึ่งความเห็นว่า จริงดิ่งไปคนละทางมาก อย่างของเหล่าสมณพราหมณ์มากผู้ด้วยกัน ที่มีความเห็นว่า “โลกเที่ยง บ้าง โลกไม่เที่ยง บ้าง โลกมีที่สุด บ้าง โลกไม่มีที่สุด บ้าง ชีวะก็อันนั้นสรีระ ก็อันนั้น บ้าง ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่นบ้าง ตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีกบ้าง ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมไม่มีอีกบ้าง ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมี อีกก็มีไม่ม ีอีกก็มี บ้าง ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ บ้าง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ถอนความเห็นว่าจริง ดิ่งไปคนละทาง (ปัจเจกสัจจะ) ขึ้นเสียแล้ว.

ภิกษุ ท. ! (๖) ภิกษุเป็นผู้ ละการแสวงหาสิ้นเชิงแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละ การแสวงหากามแล้ว เป็นผู้ละการแสวงหาภพแล้ว. และการแสวงหา พรหมจรรย์ของเธอนั้น ก็ระงับไปแล้ว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ละการแสวงหา สิ้นเชิงแล้ว.

ภิกษุ ท. ! (๗) ภิกษุเป็นผู้ มีความดำริไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ละ ความดำริในทางกามเสียแล้ว เป็นผู้ละความดำริในทางพยาบาทเสียแล้ว และเป็น ผู้ละ ความดำริในทาง เบียดเบียนเสียแล้ว. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริ ไม่ขุ่นมัว.

ภิกษุ ท. ! (๘) ภิกษุเป็นผู้ มีกายสังขารอันสงบรำงับแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ ที่บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบ รำงับแล้ว.

ภิกษุ ท. ! (๙) ภิกษุเป็นผู้ มีจิตหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีจิตหลุด พ้นแล้วจากราคะ จากโทสะจากโมหะ ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีจิต หลุดพ้น ด้วยดี.

ภิกษุ ท. ! (๑๐) ภิกษุเป็นผู้ มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดว่า “เราละ ราคะ โทสะโมหะ เสียแล้ว ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดได้อีกต่อไป” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาในความหลุดพ้นด้วยดี.

ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่าย อดีต พระอริยเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เป็นอยู่แล้วอย่าง พระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็ได้เป็นอยู่แล้ว ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! ในกาลยืดยาวฝ่าย อนาคต พระอริยเจ้า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง จักเป็นอยู่อย่าง พระอริยเจ้า พระอริยเจ้าทั้งหมดเหล่านั้น ก็จักเป็นอยู่ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้เหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! ในกาล บัดนี้ พระอริยเจ้า เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กำลังเป็นอยู่อย่างพระอริยเจ้า พระอริยเจ้า ทั้งหมดเหล่านั้น ก็กำลังเป็นอยู่ในการอยู่อย่างพระอริยเจ้า สิบประการนี้ เหมือนกัน.

ภิกษุ ท. ! การอยู่แบบพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าทั้งหลายได้อยู่มาแล้วก็ดี กำลังอยู่ในบัดนี้ก็ดี จักอยู่ต่อไป ก็ดีมีเครื่องอยู่สิบประการเหล่านี้แล.


615
ผู้มีคุณลักษณะพิเศษของพระอรหันต์


ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจ ถึงที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ. ธรรมสามประการ เหล่าไหนเล่า ? สามประการคือ ประกอบด้วย สีลขันธ์อันเป็น อเสขะด้วย สมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ด้วย ปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะ ถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจ ถึงที่สุดประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจ ถึงที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรมสาม ประการ แม้อื่นอีก. ธรรมสาม ประการแม้อื่นอีกเหล่าไหนเล่า ? สามประการคือ ประกอบด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ ด้วย อนุศาสนีปาฏิหาริย์.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีความสำเร็จถึงที่สุด มีความเกษมจากโยคะถึงที่สุด มีพรหมจรรย์ถึงที่สุด เป็นผู้จบกิจ ถึงที่สุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยธรรม ๓ประการ เหล่านี้แล.
(ยังมีคุณลักษณะพิเศษของพระอรหันต์ อย่างอื่น นอกไปจากอเสขธรรมสามและปาฏิหาริย์ สามเหล่านี้อีก แต่เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะนำมาใส่ไว้ในที่นี้).


616
พระอรหันต์มีคุณลักษณะที่น่าสนใจ

(หลังจากที่ได้ตรัสว่า พระอรหันต์ เป็นผู้เลิศในโลกทั้งปวงยิ่งกว่าสัตตาวาส และภวัคค พรหมแล้ว (ข้อความนั้นอยู่ในหัวข้อถัดไปจากหัวข้อนี้)

ได้ตรัสข้อความที่ประพันธ์เป็นคาถา ดังต่อไปนี้ )

พระอรหันต์ ท. ท่านมีความสุขหนอ
ตัณหาของท่าน ไม่มี ท่านถอนอัส๎มิมานะหมดสิ้นแล้ว
ท่านทำลายข่ายแห่งโมหะได้แล้ว ท่านถึงความไม่หวั่นไหวแล้ว
จิตของท่านนั้นไม่ขุ่นมัว ไม่มีอะไรฉาบไล้ท่านให้ติดอยู่ในโลก
ท่านเป็นเสมือนพรหม๑ ผู้ไม่มีอาสวะ
รอบรู้ซึ่งเบญจขันธ์มีสัทธรรมเจ็ด๒ เป็นที่โคจร
เป็นสัปบุรุษ๓ ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
เป็นบุตรที่เกิดแต่อกพระพุทธเจ้า
ถึงพร้อมแล้วด้วยรัตนะเจ็ดประการ๔
ผ่านการศึกษาในสิกขาทั้งสาม
เป็นมหาวีระ๕ เที่ยวไปในที่ต่าง ๆ
ปราศจากภัยเวรโดยสิ้นเชิง
ถึงพร้อมแล้วด้วยองค์ (แห่งสัมมัตตะ๖) ทั้งสิบ
เป็นมหานาคผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
นี่แหละคือผู้ประเสริฐในโลกละ
ตัณหาของท่านไม่มี อเสขญาณ เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน.
ประชุมแห่งกายนี้มีแก่ท่านเป็นครั้งสุดท้าย
ไม่ต้องอาศัยปัจจัยจากใครอื่น ในสาระแห่งพรหมจรรย์
ไม่หวั่นไหวในเพราะวิธา (ความถือตัว ความหยิ่ง ความจองหอง) ทั้งหลาย
พ้นพิเศษแล้วจากการต้องมีภพใหม่
บรรลุแล้วตามลำดับซึ่งทันตภูมิ ๗
ท่านชนะโลกแล้วทั้งเบื้องบนเบื้องขวางและเบื้องล่าง
นันทิ (ความเพลิน) ของท่านไม่มี
ท่านประกาศธรรมในลักษณะบันลือสีหนาท
ท่านเป็นผู้รู้ในโลก อย่างไม่มีผู้รู้อื่นยิ่งกว่า ดังนี้แล.


......................................................................................................................
๑. “พรหม” เป็นภาษาดึกดำบรรพ์ในอินเดีย หมายถึงผู้ประเสริฐสูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.
๒. สัทธรรมเจ็ด ได้แก่ สัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตะ วิริยะ สติ ปัญญา (พุทธภาษิต ๒๓/๑๔๗/๘๔).
๓. คำว่า “สัปบุรุษ” คำนี้ อาจจะเป็นคำที่แปลกสำหรับพวกเราสมัยนี้ก็ได้ ที่ท่านใช้เป็นคำเรียกพระอรหันต์ แม้ในศิลาจารึกยุคหลังพุทธกาลตอนต้น ๆ.
๔. รัตนะเจ็ดประการ ในที่นี้ ท่านหมายถึง โพชฌงครัตนเจ็ดประการ(พุทธภาษิต ๑๙/๑๓๙/๕๐๖)๕. “มหาวีระ” คำนี้ ใช้ร่วมกันในระหว่างพุทธกับลัทธิอื่น เช่นเดียวกับ คำว่า ชินะ เป็นต้น.
๖. คำว่า “สัมมัตตะสิบ” หมายถึงความถูกต้องสิบประการ ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “สัมมัตตะสิบของพระอเสขะ” หน้า ๕๕๖ และที่หน้า ๕๕๗ แห่งหนังสือเล่มนี้
.
......................................................................................................................


618
พระอรหันต์เลิศกว่าภวัคคพรหม


ภิกษุ ท. ! รูป ....เวทนา ....สัญญา ....สังขาร....วิญญาณ (แต่ละอย่าง)ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นอันบุคคลพึงเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ใน สัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ.เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! สัตตาวาสมีประมาณเท่าใด ภวัคค (พรหม) มีประมาณเท่าใด พวกที่เลิศ ประเสริฐ ในโลก คือพวกพระอรหันต์ แล.


619
ผู้ข้ามพ้นกามโลก - รูปโลก - อรูปโลก ยังไม่ชื่อว่าข้ามพ้นโลก

(จนกว่าจะลุอนาสวสัญญาเวทยิตนิโรธ)

พราหมณ์! กามคุณ อย่างเหล่านี้ ในอริยวินัยเรียกกันว่า โลก.ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ? ห้าอย่าง คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ....เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ ...กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยฆานะ ... รสที่จะ พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. พราหมณ์! กามคุณห้าอย่าง เหล่านี้แล ในอริยวินัยเรียกกันว่า โลก.

พราหมณ์! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. พราหมณ์!ภิกษุนี้เขากล่าวกันว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลก อยู่ในที่สุดแห่งโลก คนพวกอื่นกล่าวถึงภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้ยังเนื่องอยู่กับโลก ยังไม่ออกจากโลก” ดังนี้.

พราหมณ์! ถึงแม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้ ยังเนื่องอยู่กับโลก ยังไม่ออกจากโลก”.

(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะและ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมฌาน ข้างบน)

พราหมณ์! ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ แม้ อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ เพราะเห็นด้วยปัญญาอยู่.

พราหมณ์ !ภิกษุนี้ อันใคร ย่อมกล่าวว่า ได้ถึงซึ่งที่สุดแห่งโลก อยู่ในที่สุดแห่งโลกข้าม แล้ว ซึ่งเครื่องข้องในโลกดังนี้แล.


620
พระอรหันต์คือผู้เป็นเกพลี

(จบพรหมจรรย์แล้ว อยู่โดยปราศจากธรรมห้า แต่ถึงพร้อมด้วยธรรมห้า)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุมีองค์ห้าอันละขาดแล้ว และมีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว เรากล่าวว่าเป็น เกพลี (มีไกวัลยธรรม) อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ มีกาม ฉันทะขาดแล้ว มีพยาบาทอันละขาดแล้ว มีถีนมิทธะอันละขาดแล้ว มีอุทธัจจกุกกุจจะ อันละขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาอันละขาดแล้ว. ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันละขาดแล้ว.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ประกอบพร้อมแล้วด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะประกอบพร้อมแล้ว ด้วยสมาธิขันธ์ อันเป็นอเสขะ ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ประกอบพร้อมแล้วด้วย วิมุตติขันธ์ อันเป็นอเสขะประกอบ พร้อมแล้ว ด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุมีองค์ห้าอันละขาดแล้ว และมีองค์ห้าอันประกอบพร้อมแล้ว เรากล่าวว่า เป็นเกพลี อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.


621
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)

กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ไม่มีแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ภิกษุผู้ เช่นนั้น สมบูรณ์ด้วยอเสขสีล อเสขสมาธิ อเสขปัญญา อเสขวิมุตติ และอเสขญาณ. ภิกษุผู้เช่นนั้น สมบูรณ์ด้วย องค์ห้า เว้นขาดจากองค์ห้า. ภิกษุผู้เช่นนั้น ท่านกล่าวว่าเป็น “เกพลี” ในธรรมวินัยนี้.

622
ผู้เป็นเกพลีบุคคล ในพุทธศาสนา


ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ (สตฺตฏฺฐานกุสโล)ผู้พิจารณาใคร่ครวญ ธรรม โดยวิธีสามประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่าเกพลีอยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ นั้นเป็ นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูปรู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัต ให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งรูปรู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) แห่งรูป รู้ชัดซึ่ง นิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวมเจ็ดประการ ).

(
ในกรณีแห่งเวทนา สัญญาสังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูป ทุกประการ ต่างกันแต่เพียงชื่อ แห่งขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! รูปเป็นอย่างไรเล่า ? มหาภูตรูปสี่อย่างด้วย รูปที่อาศัยมหาภูตรูปสี่อย่างด้วย นี้เราเรียกว่ารูป การเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับไม่เหลือ แห่งรูป ย่อมมี เพราะ ความดับไม่เหลือแห่งอาหาร มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเองเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูปได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
…………………………………………………………………………………………………..
๑. คำว่า “เกพลี” ไม่เป็นที่แจ่มแจ้งแก่นักศึกษาแห่งยุคปัจจุบัน มักจะแปลกันว่า ผู้บริบูรณ์ด้วย คุณ ทั้งปวง ข้าพเจ้าเข้าใจว่า เป็นคำใช้เรียกพระอรหันต์ ในความหมายที่ว่า เข้าถึงธรรม อันเป็นไกวัลย์ ในระดับเดียวกัน กับปรมาตมันของฝ่ายฮินดู เป็นคำสาธารณะที่ใช้ร่วมกัน ทุกลัทธิแห่งยุคนั้น เช่นเดียวกับคำว่า อรหันต์ นั่นเอง จึงควรใช้ทับศัพท์ว่าเกพลีไม่ควรแปล จนกว่าจะกลายเป็นคำที่รู้กันทั่วไป. ควรจะยุติเป็นอย่างไร ขอท่านผู้รู้จงวินิจฉัยดูเองเถิด. -ผู้รวบรวม.
……………………………………………………............………………………………

การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบความระลึกชอบ ความตั้งใจ มั่นชอบ สุขโสมนัสที่อาศัยรูปเกิดขึ้น อันใด ๆ นี้เป็นอัสสาทะแห่งรูป ข้อที่รูป ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาอันใดนี้ เป็น อาทีนวะแห่งรูป การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ กล่าวคือการละเสียได้ซึ่งความ กำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในรูป อันใด นี้เป็น นิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ชัดเจ็ดอย่าง).

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่าอย่างนี้ คือรูป อย่างนี้ คือเหตุให้ เกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ คือความดับไม่เหลือแห่งรูป อย่างนี้ คือข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งรูป อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป อย่างนี้ คืออาทีนวะแห่งรูป อย่างนี้ คือ นิสสรณะแห่งรูป ดังนี้แล้ว เป็นผู้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่งรูป สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.บุคคลเหล่าใด เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า หยั่งลงในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูปว่า อย่างนี้ คือรูป อย่างนี้ คือเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งรูป, อย่างนี้ คือความดับไม่เหลือแห่งรูปอย่างนี้ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งรูป อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูปอย่างนี้ คืออาทีนวะแห่งรูปอย่างนี้ คือนิสสรณะแห่งรูป ดังนี้แล้ว เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความ คลาย กำหนัดเพราะความดับไม่เหลือ เพราะ ความไม่ยึดมั่น ซึ่งรูป.สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี.บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนาหกหมู่เหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชา-เวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโน สัมผัสสชาเวทนา นี้เราเรียกว่าเวทนา การเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับ ไม่เหลือแห่งผัสสะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐ นั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา....ฯลฯ ....
[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่ง เวทนา เท่านั้น ไปจนถึงคำว่า....สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา.) ].

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี, บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลีวัฏฏะ ของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งสัญญาหกหมู่เหล่านี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญาธัมมสัญญา นี้เราเรียกว่าสัญญา ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่ง ผัสสะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสัญญา, .... ฯลฯ ....

[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่ง สัญญา เท่านั้น ไปจนถึงคำว่า....สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).].

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเจตนาหกหมู่เหล่านี้ คือ รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนาโผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา นี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับ ไม่เหลือแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด อันประเสริฐนั่นเอง เป็น ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งสังขาร.... ฯลฯ ....

[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่ง รูปต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่ง สังขาร เท่านั้น ไปจนถึงคำว่า ....สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).]
.

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี

บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณ หกหมู่เหล่านี้ คือจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เราเรียกว่าวิญญาณ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งนามรูป มรรคอัน ประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่ง วิญญาณ....ฯลฯ ....

[ข้อความต่อไปนี้ มีเนื้อความอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป ต่างกันแต่เพียงว่านี้เป็นกรณีแห่ง วิญญาณ เท่านั้น ไปจนถึงคำว่า....สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา).].

บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเกพลี. บุคคลเหล่าใด เป็นเกพลี วัฏฏะของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติ.

ภิกษุ ท . ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการ (สตฺตฏฺฐานกุสโล) ด้วยอาการอย่างนี้ แล

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ(ติวิธูปปริกฺขี) นั้นเป็น อย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ธาตุ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น อายตนะ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธีสามประการ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะเจ็ดประการด้วยเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรม โดยวิธีสาม ประการด้วย เราเรียกว่า เกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นอุดมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้ ดังนี้แล.


627
มีศีลงาม -ธรรมงาม -ปัญญางาม ก็เป็นเกพลี
!

ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีกัลยาณศีลมีกัลยาณธรรม มีกัลยาณปัญญา เรากล่าวว่าเป็น เกพลี อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุตตมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มี ประมาณเล็กน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย อยู่.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่าภิกษุเป็นผู้มี กัลยาณศีล. ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามีกัลยาณศีล.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเปนผู้มีกัลยาณธรรม เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ตาม ประกอบซึ่งความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม๓๗ ประการอยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณธรรม.ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามีกัลยาณศีล มีกัลยาณธรรม.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป นผู้มีกัลยาณปัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีกัลยาณปัญญา. ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีกัลยาณศีล มีกัลยาณธรรม มีกัลยาณปัญญา เราเรียกว่าเป็นเกพลี อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นอุตตมบุรุษ ในธรรมวินัยนี้.

(คำว่า เกพลี เป็นคำโบราณ มีความสำคัญ ใช้พูดกันทั่วไป เช่นเดียวกับคำ ว่าอรหันต์มาบัดนี้เราไม่ได้ ยินคำนี้ เพราะไม่นำมาใช้ ถ้านำมาใช้ก็แปลให้มีความหมายเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งไป จนหมดความ ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช้คำว่าเกพลี จึงไม่ชินหูเหมือนคำว่าอรหันต์.ขอให้เราใช้คำว่า เกพลี นี้ให้ติดปาก ให้ชินหู ก็จะได้มีคำสำคัญใช้กันมากขึ้นกว้างขวางออกไปในฐานะเป็นเครื่องเตือนใจ. คำว่า ศีลงาม- ธรรมงาม - ปัญญางาม ก็คืออริยอัฏฐังคิกมรรคนั่นเอง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในอริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลายหน้า ๑๔๘๔ คำว่า “กัลยานวัตร” คืออริยมรรคมีองค์ ๘ ผลแห่งอริยอัฏฐังคิกมรรคคือความเป็นเกพลี).


628
ผู้ละอาสวะนานาแบบ

ก. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเห็น

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำ ในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัปบุรุษฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจ และไม่ควรกระทำไว้ในใจ.

อริยสาวกนั้น รู้ชัดอยู่ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควรกระทำไว้ในใจ และไม่ควรกระทำไว้ในใจท่านย่อมไม่ กระทำไว้ในใจซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ จะกระทำไว้ในใจแต่ธรรมทั้งหลาย ที่ควรทำไว้ ในใจเท่านั้น.

ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลายอันไม่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวกท่านไม่กระทำไว้ในใจนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลกระทำไว้ในใจซึ่งธรรมเหล่าใด อยู่ กามาสวะ ภวาสวะ หรืออวิชชาสวะก็ตาม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญยิ่งขึ้น ธรรมเหล่านี้แลเป็นธรรมที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวกท่านไม่กระทำไว้ในใจ.

ภิกษุ ท. ! ธรรมทั้งหลาย อันเป็นธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ ที่อริยสาวกท่านกระทำไว้ในใจนั้น เป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! กามาสวะภวาสวะ หรืออวิชชาสวะก็ตาม ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมละไป แก่บุคคลผู้กระทำซึ่งธรรมเหล่าใดไว้ในใจ อยู่ธรรมเหล่านี้แลเป็นธรรมที่ควรกระทำไว้ในใจ ซึ่งอริยสาวก ท่านกระทำไว้ในใจ.

เพราะอริยสาวกนั้นไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ไม่ควรกระทำไว้ในใจ แต่มากระทำไว้ในใจแต่ธรรม ทั้งหลาย ที่ควรกระทำไว้ในใจเท่านั้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด จึงไม่เกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละไป.

อริยสาวกนั้น ย่อม กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข ์เป็นอย่างนี้”ดังนี้.เมื่ออริยสาวกนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่อย่างนี้ สังโยชน์สามคือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ย่อมละไป.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายจะพึงละเสียด้วยการเห็น.


630
ข. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการสำรวม


ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวมเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวม ด้วยการสังวรในอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ อันเป็น อินทรีย์ที่เมื่อภิกษุไม่สำรวมแล้ว อาสวะ ท. อันเป็นเครื่องทำให้คับแค้นและเร่าร้อนจะพึงบังเกิดขึ้น. และเมื่อ ภิกษุเป็นผู้สำรวมแล้วเป็นอยู่ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่สำรวม ด้วยอาการอย่างนี้, อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องทำ ความคับแค้น และเร่าร้อนจะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุสำรวมแล้วเป็นอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่อง ทำความคับแค้นและเร่าร้อนจะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการสำรวม.


630-1
ค.
อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเสพ

(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้หน้า ๖๑๒ ผู้มีพนักพิงสี่ด้าน)ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสีย ด้วยการ เสพเฉพาะสิ่งที่ควรเสพ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงนุ่งห่มจีวร เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลาย อันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทั้งหลาย, เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะอันให้เกิดความละอาย เธอ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภค บิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา.

ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้ ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกัน ความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า เราจักกำจัด เวทนา เก่าเสียแล้ว ไม่ทำเวทนาใหม่ ห้เกิดขึ้น.

ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา เธอ พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อบำบัดความหนาว เพื่อบำบัดความร้อน เพื่อบำบัดสัมผัสทั้งหลายอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลาย เพียงเพื่อบรรเทา อันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคหยูกยา ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่คนไข้ เพียงเพื่อบำบัดทุกข เวทนา อันเกิดจากอาพาธต่างๆและเพียงเพื่อความเป็นผู้ไม่ต้องทนทุกข์เป็นอย่างยิ่ง.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่พิจารณาแล้ว เสพเฉพาะสิ่งที่ควรเสพ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่อง ทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุพิจารณาแล้วเสพเฉพาะสิ่งควรเสพอยู่ อาสวะ ทั้งหลายอันเป็นเครื่องทำความคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะละเสียด้วยการเสพเฉพาะสิ่งที่ควรเสพ.


631
ง. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการอดกลั้น


ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการอดกลั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ต่อความร้อน เป็นผู้อดทนต่อความหิว ต่อ ความระหาย เป็นผู้อดทนต่อ สัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานทั้งหลายเป็นผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้อดกลั้นต่อ คลองแห่งถ้อยคำอันหยาบคาย อันว่าร้าย และเป็นผู้อดกลั้นต่อ ทุกข์เวทนาในกายที่เกิดขึ้นแล้ว อย่างกล้าแข็งแสบเผ็ด ขมขื่น ไม่เป็นที่สบายใจ หรือจวนจะถึงแก่ ชีวิตได้.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่อดกลั้นอดทนด้วยอาการอย่างนี้. อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่อง คับแค้นและเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุอดกลั้นอดทนอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้น และเร่าร้อนจะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะละเสียด้วย การอดกลั้น.


632
จ.
อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเว้น

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการงดเว้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อม งดเว้นจากช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู หลักตอ ขวากหนาม ห้วยเหว บ่อของโสโครก หลุมอุจจาระ และงดเว้น ที่ที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรไป และ การคบพวกเพื่อน ที่ลามก อันวิญญูชนเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันทั้งหลาย จัดไว้ในฐานะที่ต่ำทราม.

ภิกษุนั้น พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมงดเว้นที่ที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรไปนั้นๆ เสีย และย่อมงดเว้นพวก เพื่อน ที่ลามกเหล่านั้นเสีย.

ภิกษุ ท. !ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่งดเว้นด้วยอาการอย่างนี้อาสวะ ทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้นและ เร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุงดเว้นอยู่ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วน ที่จะละเสียด้วยการงดเว้น.ฉ. อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการ บรรเทาภิกษุ ท.! อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการบรรเทา เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุดทำให้ถึงความมีไม่ได้ซึ่งกามวิตกพยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้ว และย่อม ไม่รับเอาไว้ในใจ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความมีไม่ได้ ซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศลลามก ทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้เป็นเพราะเมื่อภิกษุไม่บรรเทาด้วยอาการอย่างนี้ อาสวะ ทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้น และเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุบรรเทาอยู่ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องคับแค้นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะละเสียด้วยการบรรเทา.


633
ช.
อาสวะส่วนที่ละได้ด้วยการเจริญทำให้มาก

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลายส่วนที่จะพึงละเสียด้วยการเจริญ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ธัมมจยสัมโพชฌงค์, ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเจริญ สมาธิสัม โพชฌงค์ ย่อมเจริญ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ อัน(แต่ละอย่างๆ)ย่อมอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ และน้อมไปเพื่อความปล่อย.

ภิกษุ ท. !ข้อนี้เป็นเพราะ เมื่อภิกษุไม่เจริญด้วยอาการอย่างนี้ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่อ คับแค้น และเร่าร้อน จะพึงบังเกิดขึ้น และเมื่อภิกษุเจริญอยู่ อาสวะทั้งหลายอันเป็นเครื่องคับแค้ นและเร่าร้อน จะไม่พึงบังเกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อาสวะทั้งหลายส่วน ที่จะละเสียด้วยการเจริญ.


634
ซ. ผลแห่งการปิดกั้นอาสวะทั้งปวงโดยเจ็ดวิธี

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ภิกษุละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ด้วยการเห็น ละเสียได้ซึ่งอาสวะ ทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการสังวร ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการเสพเฉพาะ สิ่งที่ควรเสพ ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการอดกลั้น ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงละได้ ด้วยการงดเว้น ละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลายอันจะถึงละได้ ด้วยการบรรเทาละเสียได้ ซึ่งอาสวะทั้งหลาย อันจะพึงได้ด้วยการเจริญแล้ว

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ ปิดกั้นแล้วด้วยการปิดกั้นซึ่งอาสวะทั้งปวง อยู่ ตัดตัณหา ได้ขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่ง มานะโดยชอบ ดังนี้แล.