เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม


หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

อริยสัจจากพระโอษฐ์  ภาคต้น  ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
12 of 13
อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ) (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
สมณะสี่ประเภท 711 อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ 743
สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง) 712 สักกายนิโรธ 744
สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง) 714 อาการแห่งการละอวิชชา โดยย่อ 744
สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง) 715 กระแสการปรุงแต่งแห่งการเกิดวิมุตติญาณทัสสนะ 746
สมณะสี่ประเภท (อีกนัยหนึ่ง) 717 การปรินิพพานในทิฏฐธรรม 749
สมณะแห่งลัทธิหนึ่ง ๆ ต่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น 719 การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง) 750
แต่ละมรรควิธีไม่อาจจะกล่าวว่าใครดีกว่าใคร 719-1 การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง) 750-1
ความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์ กับสัมมาสัมพุทธเจ้า 721 ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี 751
ฝีเท้าไววัดด้วยการรู้อริยสัจ 722 ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง) 752
ผู้รู้จักเลือกเอาฝ่ ายดับไม่เหลือแห่งภพ 723 ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง) 752-1
ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้ 725 ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง) 753
ระดับต่าง ๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์ 727 ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง) 753-1
ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา(๖๑ เรื่อง) 730 ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง) 754
อาการดับแห่งความทุกข์ 730-1 ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียดเมื่อเห็นอนัตตา 754-1
อาการดับแห่งทุกข์โดยสังเขปที่สุด 731 ทางให้ถึงความหลุดพ้นห้าทาง 759
อาการดับแห่งทุกข์ โดยสังเขป 732 รู้จักอุปาทาน ต่อเมื่อหมดอุปาทาน 759-1
อาการดับแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์ 732-1 อาสวะสิ้นไปเพราะการกำจัดสมารัมภะและอวิชชา 760
อาการดับแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง) 733 พอรู้เรื่องการร้อยรัด ก็สามารถทำที่สุดทุกข์ 762
อาการดับแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง) 733-1 ลักษณะแห่งการถึงที่สุดทุกข์ 763
อาการดับแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง) 734 ลำดับแห่งการดับของสังขาร (การดับของสรรพสิ่ง) 766


อาการดับแห่งความทุกข์(อีกปริยายหนึ่ง) 735 จิตหยั่งลงสู่อมตะเมื่อประกอบด้วยสัญญาอันเหมาะสม 766-1
อาการดับแห่งความทุกข์(อีกปริยายหนึ่ง) 736 บรรลุอรหันต์โดยละมัญญนะหกชนิด 769
เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย 737 ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของการละ 770
ลักษณาการรู้อริยสัจและการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์ 738 ละราคะโทสะโมหะได้ เพราะไม่หลงในสัญโญช- 771
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์ 739 ภาวะแห่งความสิ้นตัวตนและสิ้นโลก 771-1
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์(อีกปริยายหนึ่ง) 740 สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร 774
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์(อีกปริยายหนึ่ง) 740-1 เมื่อสังโยชน์เหมือนเครื่องหวายสิ้นอายุ 774-1
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์(อีกปริยายหนึ่ง) 741 ฟองไข่ออกเป็นตัว มิใช่โดยเจตนาของแม่ไก่ 775
อาการแห่งบุคคลผู้หลุดพ้น 742 ผลสูงตํ่าแห่งการปฏิบัติ ตามที่อาจทำให้เกิดขึ้น 776






หน้า 711 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
สมณะสี่ประเภท


ภิกษุ ท. ! ในธรรมวินัยนี้แหละ มีสมณะ (ที่หนึ่ง) มีสมณะที่สองมีสมณะที่สาม มีสมณะที่สี่. ลัทธิอื่นว่างจาก สมณะ แห่งลัทธิอื่น. ภิกษุ ท. !เธอจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.

ภิกษุ ท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นไปรอบ แห่งสัญโญชน์ สาม เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นสมณะ (ที่หนึ่ง).

ภิกษุ ท. ! สมณะที่สอง เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นรอบแห่ง สัญโญชน์สาม และเพราะความมีราคะโทสะโมหะเบาบางเป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้คราว เดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้. ภิกษุ ท. !นี้แล เป็นสมณะที่สอง.

ภิกษุ ท. ! สมณะที่สาม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นรอบแห่ง สัญโญชน์เบื้อง ต่ำ ห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ(อนาคามี)ย่อมปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับ จากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท. !นี้แล เป็นสมณะที่สาม
.
ภิกษุ ท. ! สมณะที่สี่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้ กระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นสมณะที่สี่.


หน้า 712 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
สมณะสี่ประเภท (
อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภทคือ สมณอจละ สมณ ปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ.
ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่าบุคคลผู้ สมณอจละ (ผู้ไม่หวั่นไหว) ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม เป็น โสดาบันมีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณอจละ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลผู้ สมณปุณฑรีกะ (ผู้เสมือนบัวบุณฑริก)? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์สาม และเพราะความมีราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้คราว เดียวเท่านั้นก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณปุณฑรีกะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่าบุคคลผู้ สมณปทุมะ (ผู้เสมือนบัวปทุม)? ภิกษุ ท.! ภิกษุใน กรณีนี้เพราะ สิ้นไป รอบแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ มีการปรินิพพานใน ภพนั้นไม่เวียนกลับจาก โลกนั้นเป็น ธรรมดา.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณปทุมะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลผู้ สมณสุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อน)ในหมู่สมณะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เจ้าถึงแล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แลเรียกว่า สมณผู้สุขุมาลในหมู่สมณะ.

ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทเหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก, ดังนี้แล.


หน้า 714
สมณะสี่ประเภท (
อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภทคือ สมณอจละ สมณ ปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณอจละ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมา ทิฏฐิ มีสัมมา สังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะมีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคสมณอจละ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มี สัมมาทิฏฐิ มีสัมมา สังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมา-กัมมันตะ มีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ แต่เธอนั้นไม่ถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปด ด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. !อย่างนี้แล เรียกว่าบุคคสมณ ปุณฑรีกะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีสัมมา ทิฏฐิ มีสัมมา สังกัปปะ มีสัมมาวาจา มีสัมมากัมมันตะมีสัมมาอาชีวะ มีสัมมาวายามะ มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ และเธอนั้นถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปด ด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. !อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคสมณปทุมะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจย-เภสัชชบริกขาร ส่วนมาก เพราะเขาอ้อน วอน ที่ไม่มีใครอ้อนวอนนั้น มีเป็น ส่วนน้อย.

เพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ร่วมกันทั้งหลาย พากันประพฤติกายกรรมวจีกรรม มโนกรรม ต่อภิกษุนั้น เป็นที่น่าพอใจ เป็น ส่วนมาก ที่ไม่เป็นที่น่าพอใจนั้นมีเป็นส่วนน้อย นำอะไร ๆ มาเป็นส่วนมาก ล้วนแต่น่าพอใจที่ ไม่น่า พอใจ มีเป็นส่วนน้อย. ทุกขเวทนาที่เกิดแต่โรคทางน้ำ ดี ทางเสมหะทางลม ทางสันนิบาตทางฤดูแปรปรวน การบริหารไม่ สม่ำเสมอ ออกกำลังมาก เกินไป หรือเกิดจากวิบากแห่งกรรมก็ตาม มีไม่มากแก่ภิกษุนั้น เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย.  

อนึ่ง ภิกษุนั้นเป็นผู้ได้ฌานทั้งสี่ อันเป็นสุขวิหารในทิฏฐธรรมอาศัยจิตอันยิ่ง โดยง่าย โดยไม่ยาก โดยไม่ ลำบาก เลย และเธอทำให้แจ้ง ได้ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แลเรียกว่าบุคคล สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.

ภิกษุ ท. ! ถ้าจะกล่าวกันโดยชอบ ว่าผู้ใดเป็นสมณสุขุมาล ในหมู่สมณะทั้งหลายแล้ว ก็พึง กล่าวเรานี้แหละ ว่าเป็น สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ทั้งหลาย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคล สี่ประเภท มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก ดังนี้แล.


715
สมณะสี่ประเภท (
อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภทคือ สมณอจละ สมณ ปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณอจละ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้คือเป็นเสขะกำลังปฏิบัติอยู่ ปรารถนา อยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ อันไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่.เปรียบเหมือน โอรสองค์ใหญ่ของราชาผู้ เป็นกษัตริย์มุรธา ภิเษก เป็นผู้ควร แก่การอภิเษก แต่ยังมิได้รับการ อภิเษก ดำรงอยู่ในตำแหน่งยุพราชฉันใด ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็น เสขะ กำลังปฏิบัติอยู่ ปรารถนา อยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้ แล บุคคลสมณอจละ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้ แจ้งซึ่งเจโต วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ แต่เธอหาได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปด ด้วย นามกาย อยู่ไม่. ภิกษุ ท. !อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้ว แลอยู่ และเธอถูกต้องวิโมกข์แปด ด้วยนามกาย อยู่. ภิกษุ ท. !อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจย-เภสัชชบริกขาร ส่วนมากเพราะเขาอ้อนวอน
....(ข้อความต่อไป อย่างเดียวกันกับ ข้อความในกรณี แห่งบุคคสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ แห่งหัว ข้อที่แล้วมา) .... ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แลเรียกว่า บุคคสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ. ก็พึงกล่าวเรานี้ แหละว่าเป็นสมณสุขุมาล ในหมู่ สมณะทั้งหลาย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลสี่ประเภท มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก ดังนี้แล.


717
สมณะสี่ประเภท (
อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! บุคคลสี่ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภทเหล่าไหนเล่า ? สี่ประเภท คือ สมณอจละ สมณปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ.

ภิกษุ ท.!อย่างไรเล่าเรียกว่า บุคคลสมณอจละ? ภิกษุ ท.!ภิกษุในกรณีนี้เป็นเสขะมีความประสงค์แห่งใจอัน ยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แลเรียกว่า บุคคลสมณอจละ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณปุณฑรีกะ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ว่า
รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูป เป็นอย่างนี้
เวทนา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้
สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้
สังขาร เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้
วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ดังนี้ แต่เธอไม่ถูกต้องซึ่งวิโมกข์แปดด้วยนามกาย อยู่.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แลเรียกว่า บุคคลสมณ ปุณฑรีกะ.

ภิกษุ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคสมณปทุมะ ? ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปา-ทานขันธ์ทั้งห้า ว่า
รูป เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูป เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งรูป เป็นอย่างนี้
เวทนา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้
สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้
สังขาร เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้
วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้ และเธอถูกต้อง ซึ่งวิโมกข์แปดด้วยนามกาย อยู่.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณปทุมะ.

ภิกษ ท. ! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลสมณสุขุมาลในหมู่สมณะ ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ในกรณีนี้ บริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจย-เภสัชชบริกขาร ส่วนมากเพราะ เขา อ้อนวอน .... (ข้อความต่อไป อย่างเดียวกันกับข้อความในกรณี แห่งบุคคล สมณสุขุมาลในหมู่สมณะ แห่ง หัวข้อ ที่แล้วมา). ....

ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลสมณ สุขุมาล ในหมู่สมณะ... ก็พึง กล่าวเรานี้แหละว่า เป็นสมณ สุขุมาลในหมู่สมณะทั้งหลาย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลสี่ ประเภท มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก ดังนี้แล.


719
สมณะแห่งลัทธิหนึ่ง
ๆ ต่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น
(
ระบบลัทธิพรหมจรรย์จึงไม่เหมือนกัน)

ภิกษุ ท. ! สมณะ (ที่หนึ่ง) มีในธรรมวินัยนี้แหละ
สมณะที่สองมีในธรรมวินัยนี้
สมณะที่สาม มีในธรรมวินัย นี้
สมณะที่สี่ มีในธรรมวินัยนี้.
ลัทธิอื่น
ว่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น
ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงบันลือสีหนาท โดยชอบ อย่างนี้เถิด.

(บาลีนี้แสดงว่า ไม่อาจจะถือเอาคำพูดเป็นหลัก เพราะคำๆเดียวกันมีความหมาย ต่างกันได้ และ เป็นเหตุให้ เถียงกันหรือดูหมิ่นกัน เป็นสิ่งที่ต้องระวัง).


719-1
แต่ละมรรควิธีไม่อาจจะกล่าวว่าใครดีกว่าใคร


(พระเถระชื่อสวิฏฐะนิยมชมชอบการปฏิบัติ แบบสัทธาวิมุตต์ พระมหาโกฏฐิตะนิยมชมชอบ การปฏิบัติแบบกาย สักขี พระสารีบุตร นิยมชมชอบการปฏิบัติแบบทิฏฐิปัตต์ ซึ่งล้วนแต่ ตนได้อาศัย ปฏิบัติ จนบรรลุของตนๆ มา แล้ว จึงชวน กันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เพื่อขอทราบว่าในสามอย่าง นั้น อย่างไหนจะสมควรกว่า งดงามกว่า ประณีตกว่า. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า)

สารีบุตร ! มันไม่เป็นการง่ายที่จะพยากรณ์ โดยส่วนเดียวว่า ในบุคคล พวกนั้น พวกไหน จะงด งามกว่า ประณีตกว่า.

สารีบุตร ! ฐานะที่เป็นไปได้ก็มีอยู่ คือ พวก สัทธาวิมุตต์ ปฏิบัติแล้วเพื่ออรหัตตผลแต่พวก กาย สักขียังเป็น เพียง สกทาคามีหรืออนาคามี แม้พวกทิฏฐิปัตต์ก็ยังเป็นเพียง สกทาคามี หรือ อนาคามี จึงไม่เป็นการง่าย ที่จะพยากรณ์ โดยส่วนเดียวว่า ในบุคคล ๓ จำพวกนั้น พวกไหน งดงามกว่า ประณีตกว่า.

สารีบุตร ! ฐานะที่เป็นไปได้นี้ก็มีอยู่อีกว่า พวก กายสักขี ปฏิบัติแล้วเพื่ออรหัตตผล ส่วนพวก สัทธาวิมุตต์ และพวก ทิฏฐิปัตต์ ยังเป็นเพียงสกทาคามีหรืออนาคามี จึงไม่เป็นการง่ายที่จะ พยากรณ์ โดยส่วนเดียวว่า ในบุคคล ๓ จำพวก นั้น พวกไหนงดงามกว่า ประณีตกว่า.

สารีบุตร ! ฐานะที่เป็นไปได้นี้ก็ยังมีอยู่อีกว่า พวก ทิฏฐิปัตต์ ปฏิบัติแล้วเพื่ออรหัตตผล ส่วน พวกสัทธา วิมุตต์ และ พวกกายสักขี เป็นเพียงสกทาคามีหรืออนาคามี ก็ยังมีอยู่ สารีบุตร !จึงไม่เป็นการง่าย ที่จะพยากรณ์ โดยส่วนเดียว ว่า ในบุคคล ๓ จำพวกนั้น พวกไหนงดงาม กว่า ประณีตกว่า.

 (ข้อความนี้แสดงว่า จะอาศัยความหมายห รือคำแปลของคำว่า สัทธาวิมุตต์ กายสักขี ทิฏฐิ-ปัตต์ มาเป็น เครื่อง ตัดสินว่าพวกไหนเหนือกว่า หรือดีกว่า นั้นไม่อาจจะทำได้ เพราะแต่ละ พวก ยังอยู่ในระยะแห่งการ ปฏิบัติที่สูงต่ำ อย่างไรก็ได้ เว้นไว้แต่จะถือเอาความหมาย แห่งชื่อที่ บัญญัติไว้เพื่อแสดงผลอันชัดเจนแล้ว เช่น ชื่อว่า โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ เป็นต้น).


721
ความเหมือน และความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์ ผู้เลิศทางปัญญากับสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจาก รูปเพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า สัมมาสัมพุทธะ.

ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลาย กำหนัด ความดับ และ ความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า ปัญญาวิมุตต์. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัส ไว้ มีข้อความแสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

ภิกษุ ท. ! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นจากรูปเป็นต้น ด้วยกันทั้งสองพวกแล้วอะไร เป็นความผิดแผก แตกต่างกัน อะไร เป็น ความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่อง กระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมา สัมพุทธะ กับภิกษุ ผู้ปัญญาวิมุตต์?

ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรค ที่ยังไม่มีใครรู้ ให้มี คนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคต เป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค) เป็นมัคคโกวิโท(ฉลาดในมรรค). ภิกษุ ท. ! ส่วน สาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่อง กระทำ ให้แตกต่าง กัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.


722
ฝี เท้าไววัดด้วยการรู้อริยสัจ


ภิกษุ ท. ! ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์สี่ย่อมเป็นม้า ที่คู่ควรแก่ พระราชา เป็น ราชูปโภค ถึงซึ่งการนับว่าเป็นอังคาพยพของพระราชา. องค์ ๔ อะไรกันเล่า ? องค์สี่คือ สมบูรณ์ด้วย วรรณะ ด้วยพละ ด้วยชวะ ด้วยอาโรหปริณาหะ (ทรวดทรง).

ภิกษุ ท. ! ฉันเดียวกันกับที่ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นบุคคลอาหุเนยย ปาหุเนยยทักขิเณยย อัญชลิกรณีย และเป็นนาบุญแห่งโลกอันไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. ธรรม ๔ ประการ อย่างไรเล่า ? สี่ประการคือ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ด้วยพละด้วยชวะ ด้วยอาโรหปริณาหะ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยวรรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม ด้วยปาติโมกข สังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาท และโคจรมีปกติ เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยพละ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละธรรม อันเป็น อกุศล เพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรม อันเป็นกุศล มีกำลัง (จิต) ทำความเพียร ก้าวไปหน้าอย่างมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยชวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า ทุกข์ เป็น อย่างนี้ เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความ ดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอาโรหปริณาหะ เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีการ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชช-บริขารเป็นปกติ.ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อม เป็นบุคคลอาหุเนย ปาหุเนย ทักขิเณย อัญชลิกรณีย และเป็นนาบุญแห่งโลก อันไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้แล.

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยชวะ
ว่า ได้แก่ภิกษุผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันไม่มี อาสวะ เพราะ ความ สิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. คำว่า ชวะ ในที่นี้ หมายถึง ความเร็ว ของการบรรลุธรรม ก้าวล่วงความทุกข์ เหมือนความเร็ว แห่งม้ามีฝีเท้าดีฉะนั้น. และในสูตรอื่น (๒๐/๓๑๖/๕๓๗) ทรงแสดงลักษณะภิกษุ ผู้สมบูรณ์ ด้วยเชาว์ (ชวะ) ว่าได้แก่ภิกษุผู้เป็นโอปปาติก อนาคามี มีการปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่มีการ เวียนกลับจากโลกนั้น เป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่ง โอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า].


723
ผู้รู้จักเลือกเอาฝ่
ายดับไม่เหลือแห่งภพ

คหบดี ท. ! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีถ้อยคำอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับแห่งภพ โดยประการ ทั้งปวง ไม่มี แต่มีสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีถ้อยคำเป็นข้าศึกอย่าง ตรงกันข้าม จากสมณพราหมณ์ เหล่านั้น โดยกล่าว ว่า ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงมีอยู่ ดังนี้.

คหบดี ท. ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึก อย่างตรงกันข้าม ต่อกัน และกันมิใช่หรือ ? อย่างนั้น พระเจ้าข้า ! คหบดี ท. ! บุรุษวิญญูชน (คนกลาง) มาใคร่ครวญอยู่ใน ข้อนี้ ว่า สมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการทั้งปวงไม่มี’ ดังนี้ นี้เราก็ ไม่ได้เห็น แม้สมณพราหมณ์ พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการ ทั้งปวง มีอยู่’ ดังนี้ นี้เราก็ไม่รู้จัก.ก็เมื่อเราไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ จะกล่าวโดยโวหารข้างเดียว ว่าฝ่ายนี้เท่านั้นจริง ฝ่ายอื่นเปล่า ดังนี้ นั้นก็ไม่เป็นการสมควรแก่เรา.

สำหรับสมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำ มีความเห็นอย่างนี้ว่าความดับแห่งภพโดย ประการ ทั้งปวงไม่มี’ ดังนี้ถ้า คำของเขาเป็นความจริง เรื่องก็จะเป็นไปได้ว่า เราจักมีการ อุบัติในหมู่เทพ ที่ไม่มีรูป มีอัตตภาพสำเร็จด้วย สัญญา เป็นแน่นอน

แต่ถ้าถ้อยคำของสมณ-พราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพ โดยประการ ทั้งปวง มีอยู่’ ดังนี้ เป็นความจริง เรื่องก็จะเป็นไปได้ว่า เราจักปรินิพพาน ในทิฏฐธรรมนี้เอง. สำหรับสมณ พราหมณ์ พวก ที่มีถ้อยคำมีความเห็นอย่างนี้ว่า‘ ความดับ แห่งภพโดยประการทั้งปวง ไม่มี ดังนี้ ทิฏฐิของเขา ก็กระเดียด ไปใน ทางกำหนัดย้อมใจ กระเดียดไปในทางประกอบอยู่ในภพ กระเดียดไปในทางเพลิดเพลิน ในทางสยบมัวเมาในทาง ยึดมั่นด้วยอุปาทาน  

ฝ่ายสมณพราหมณ์พวกที่มีถ้อยคำ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘ความดับแห่งภพโดยประการ ทั้งปวง มีอยู่ ดังนี้ นั้นเล่า ทิฏฐิของเขาก็กระเดียด ไปในทางไม่กำหนัดย้อมใจ กระเดียด ไปในทาง ไม่ประกอบอยู่ในภพ กระเดียด ไปในทางไม่เพลิดเพลิน ในทางไม่สยบมัวเมา ในทางไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ดังนี้.

บุรุษวิญญูชนนั้น ครั้นใคร่ครวญเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ เลือกเอาการปฏิบัติฝ่าย ที่เป็นไปเพื่อ เบื่อหน่าย คลาย กำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งภพทั้งหลายนั่นเทียว.


725
ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้


ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้อย่างไร ?

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ซึ่งไม่มีทุกข์ทับถม ไม่ต้องสละ ความ สุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ ด้วยและก็ไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้น ด้วย. ภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่ง เหตุแห่งทุกข์อยู่เป็นอารมณ์ วิราคะก็เกิดมีได้จากการตั้งไว้ซึ่ง ความปรุง แต่ง นั้น เป็นเหตุ และเมื่อเราเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่ง ตัวเหตุ แห่งทุกข์นั้น ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะก็เกิด มีได้ ดังนี้.

ภิกษุนั้น เมื่อตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้เพราะการ ตั้งไว้ ซึ่งการ ปรุงแต่ง นั้นเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว เธอก็ตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่ง ในเหตุแห่งทุกข์นั้น เป็นอารมณ์ (ยิ่งขึ้นไป) และ เมื่อเธอ เข้าไปเพ่ง ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์ใด ทำความเพ่งให้เจริญ ยิ่งอยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้ ดังนี้แล้ว เธอก็ เจริญความเพ่งในเหตุแห่ง ทุกข์นั้น (ยิ่งขึ้นไป).

เมื่อเธอตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ เป็นอารมณ์อยู่วิราคะก็มีขึ้น เพราะการตั้งไว้ ซึ่งการปรุง แต่นั้น เป็นเหตุ เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป เมื่อเธอเข้าไป เพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆทำความเพ่งให้ เจริญยิ่ง อยู่ วิราคะก็มีขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอก็สูญสิ้นไป.(นี้คืออาการที่ ความบากบั่น ความพาก เพียร เกิดมีผล).

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนหนึ่ง เขาเห็นหญิง นั้นยืน อยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น.

โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่เขาใช่ไหม ? อย่างนั้น พระเจ้าข้า ! ข้อนั้นเพราะเหตุไร เล่า ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่าบุรุษนั้นมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้า ในหญิงคนนั้น พระเจ้าข้า ! ภิกษุ ท. !ต่อมาบุรุษคนนั้นคิดว่า

โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส เกิดขึ้นแก่เราเพราะเรามีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ มุ่งหมาย อย่างแรงกล้า ในหญิงนั้น ถ้ากระไร เราจะละฉันทราคะในหญิงนั้นเสีย ดังนี้ แล้วเขาก็ละเสีย ต่อมาเขาก็เห็นหญิง คนนั้น ยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น.

โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่เขาอีกหรือไม่หนอ ? หามิได้ พระเจ้าข้า ! ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เล่า ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าบุรุษนั้นไม่มีราคะ ในหญิงนั้น เสียแล้ว. ....ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล

(ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อบุรุษนั้นกำลังปรุงแต่งเหตุแห่งความทุกข์อยู่ วิราคะก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเขา เพ่งดูเหตุ แห่ง ความทุกข์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป วิราคะก็ยิ่งเกิดขึ้น จนกระทั่งว่าเขาสามารถละ ราคะในหญิงคือทุกข์นั้นเสียได้. ผู้ที่ยังไม่มี ความทุกข์ ก็อย่าไปปรุงแต่งเหตุแห่งความทุกข์ ขึ้นมาเลย มีความสุขโดยชอบธรรมอยู่แล้ว เพียงใด ก็ไม่มัวเมาใน ความสุขนั้น ก็จะชื่อว่า ไม่เอาความทุกข์มาทับถมตนซึ่งไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว และมีวิราคะ ในความทุกข์ได้ นี้ย่อม เป็นสิ่งที่กระทำได้).


727
ระดับต่าง ๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์

ภิกษุ ท. ! บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกนํ้าเจ็ดจำพวก เหล่านี้ มีอยู่หาได้อยู่ ในโลก. เจ็ดจำพวกเหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้
(๑) บุคคลบางคน จมนํ้าคราวเดียวแล้วก็จมเลย
(๒) บุคคลบางคน ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย
(๓) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ลอยตัวอยู่
(๔) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบๆ อยู่
(๕) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง
(๖) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้วเดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว
(๗) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

ภิกษุ ท. ! (๑) บุคคล จมนํ้าคราวเดียวแล้วก็จมเลย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคล บางคนในกรณีนี้ ประกอบ ด้วยอกุศลธรรมฝ่ายเดียว โดยส่วนเดียว. อย่างนี้แล เรียกว่า จมคราวเดียว แล้วจมเลย.

ภิกษุ ท. ! (๒) บุคคล ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคล บางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรม ทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาด ีในกุศลธรรมทั้งหลาย. แต่ว่าสัทธา เป็นต้นของเขา ไม่ตั้งอยู่นาน ไม่เจริญ เสื่อมสิ้นไป. อย่างนี้แลเรียกว่าผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้ว จึงจม เลย.

ภิกษุ ท. ! (๓) บุคคล ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนใน กรณีนี้ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลายมีหิริดี- มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดี ในกุศลธรรม ทั้งหลาย. และ สัทธา เป็นต้นของเขา ไม่เสื่อม ไม่เจริญ แต่ทรงตัวอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่.

ภิกษุ ท. ! (๔) บุคคล ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบๆ อยู่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้นเพราะ สิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระ นิพพาน มีการตรัสรู้พร้อม ในเบื้องหน้า. อย่างนี้แล เรียกว่าผุดขึ้นแล้ว เหลียวดูรอบ อยู่.

ภิกษุ ท. ! (๕) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! บุคคล บางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลายมีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้นเพราะสิ้น ไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบางแห่งราคะโทสะโมหะ เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. อย่างนี้แลเรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง.

ภิกษุ ท. ! (๖) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคน ในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดีใน กุศลธรรม ทั้งหลาย. บุคคล นั้น เพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ทั้งห้า เป็น โอปปาติกะ มีการปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่เวียนกลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว.

ภิกษุ ท. ! (๗) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้นคือ มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี-มีโอตตัปปะดี-มีวิริยะดี-มีปัญญาดี ใน กุศล ธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น ได้ กระทำ ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้น ไปแห่ง อาสวะ ทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐ-ธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้น แล้วถึง ฝั่ง ข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บุคคลเปรียบด้วย บุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก ซึ่งมีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

นิทเทส ๑๑
ว่าด้วย ผู้ดับตัณหา
จบ


730
นิทเทส ๑๒ ว่าด้วยอาการดับแห่งตัณหา(มี ๖๑ เรื่อง)

อาการดับแห่งโลก


ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งตา + รูป + จักขุ วิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหาเพราะความดับด้วยความจางคลายไปโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน เพราะ ความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ เพราะความ ดับ แห่ง ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสจึงดับไม่เหลือ. ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้คือความดับแห่งโลก. (ในกรณีที่เกี่ยวกับอายตนะภายใน ที่เหลืออีก ๕ อย่าง มีข้อความอย่าง เดียวกันกับในกรณีของตาอย่างข้างบนนี้).


730-1
อาการดับแห่งความทุกข์


ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม ( แห่งตา + รูป + จักขุวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น ปัจจัยจึง เกิดมีตัณหา เพราะความดับด้วยความจางคลายไป โดย ไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นแหละ จึงมี ความดับแห่ง อุปาทาน เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะความดับแห่งภพ จึงมี ความดับแห่งชาติ เพราะความดับแห่งชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ ไม่เหลือ. ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้คือความดับแห่งทุกข์. (ในกรณีที่เกี่ยวกับอายตนะภายใน ที่เหลือ อีก ๕ อย่าง ก็มีข้อความอย่าง เดียว กันกับกรณีของตาอย่างข้างบนนี้).


731
อาการดับแห่งทุกข์โดยสังเขปที่สุด


ภิกษุ ท. ! ในกาลใด อวิชชาเป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว วิชชาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ในกาลนั้น ภิกษุนั้นย่อมไม่ ยึดมั่น ซึ่งกามุปาทาน, ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งทิฏฐุปาทาน ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่งสีลัพพัตตุปาทาน, ย่อมไม่ยึดมั่นซึ่ง อัตตวา ทุปาทาน (ทั้งนี้) เพราะการสำรอกเสียได้หมด ซึ่งอวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา. เมื่อไม่ยึด มั่น อยู่ย่อมไม่ สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง, ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนนั่นเทียว. เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.


732
อาการดับแห่งทุกข์ โดยสังเขป


มิคชาละ ! รูปทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่ เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่.

ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญไม่สยบ มัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้. เมื่อเธอนั้น ไม่เพลิดเพลินไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้น อยู่ นันทิย่อมดับ. มิคชาละ ! เรากล่าวว่า ความดับแห่งทุกข์ย่อมมี เพราะความดับแห่งนันทิ (ความเพลิน) ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ก็ดี ในกรณีแห่ง กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ก็ดี ในกรณีแห่ง รสที่จะพึง รู้แจ้งด้วยลิ้น ก็ดี ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย ก็ดี และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้ แจ้งด้วยใจ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยอย่างเดียว กันกับ ในกรณีแห่งรูป ที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ ทุกประการต่างกันแต่ชื่อ เท่านั้น).


732 -1
อาการดับแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์

ภิกษุ ท. ! เพราะ ความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อวิชชา นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่ง สังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
เพราะมีความดับแห่ง วิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล. ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล.


733
อาการดับแห่งความทุกข์ (
อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท. !
ภิกษุนั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ย่อมไม่พร่ำสรรเสริญ ย่อมไม่เมาหมกอยู่ซึ่ง รูป.
เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่งรูป
นันทิ (ความเพลิน)ใดในรูป นันทินั้น ย่อมดับไป.
เพราะ ความดับแห่ง นันทิ ของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความ ดับ แห่งภพ
เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับ แห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความ ที่ตรัสอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูป).


733-1
อาการดับแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)


ภิกษุ ท. !
เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปกติเห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้ง แห่งสังโยชน์ อยู่ การหยั่งลงแห่งวิญญาณย่อมไม่มี.
เพราะความดับแห่ง วิญญาณ จึงมีความ ดับแห่ง นามรูป
เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมี ความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความ ดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความ ดับแห่ง อุปาทาน จึงมี ความ ดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

[ในสูตรอื่น (๑๖/๑๐๙/๒๑๘) มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ ต่างแต่แทนที่จะตรัสว่า การหยั่งลงแห่ง วิญญาณ ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมี ความดับแห่งสฬายตนะ ดังในสูตรข้างบนนี้แต่ได้ตรัสสั้น ลงมาว่า การหยั่งลงแห่ง นามรูป ย่อมไม่มี. เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ ส่วนข้อความนอกนั้น เหมือนกันทุกตัวอักษร].


734
อาการดับแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท. !
เมื่อภิกษุเป็ นผู้มีปกติเห็นโดยความเป็นอาทีนวะ (โทษอันต่ำทราม) ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน อยู่, ตัณหาย่อมดับ.
เพราะมี ความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมี ความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมี ความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมี ความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้น นี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

มีข้อความเหมือนสูตรข้างบนนี้ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่เพียงว่า ในสูตรข้างบนนี้ใช้คำว่า ในธรรมทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุปาทาน ส่วนในสูตรหลังนี้ใช้คำว่า ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เท่านั้น).


735
อาการดับแห่งความทุกข์

(อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้อันเราได้ถึงทับแล้วแล;
ได้แก่สิ่งเหล่า นี้คือ
เพราะความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ
เพราะมีความดับแห่ง วิญญาณ จึงมี ความดับแห่ง นามรูป
เพราะมีความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ
เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงความดับแห่ง เวทนา
เพราะมีความดับ แห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา
เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงความดับแห่ง อุปาทาน
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่ง ภพ
เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่ง ชาต
เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น
ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.


736
อาการดับแห่งความทุกข์

(อีกปริยายหนึ่ง)

(พระผู้มีพระภาคเมื่อประทับอยู่ในที่หลีกเร้นแห่งหนึ่ง ได้ทรงกล่าวธรรมปริยายนี้ ตามลำพัง พระองค์ว่า )

เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่ง รูป ด้วย จึงเกิด จักขุวิญญาณ
การประจวบพร้อม แห่ง ธรรม สามประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา

เพราะความ จางคลายดับไปไม่เหลือแห่งตัณหา นั้นนั่นแล
จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความ ดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล ชรามรณะ
โสกะปริ-เทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น.
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสต่อไปอีก ซึ่งมีข้อความอย่าง เดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

โดยสมัยนั้นแล ภิกษุองค์หนึ่ง ได้ยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคอยู่. พระผู้มีพระภาคทอด พระเนตรเห็นภิกษุ นั้นแล้ว ได้ทรงกล่าวกะภิกษุนั้นว่า

ภิกษุ ! เธอได้ยินธรรมปริยายนี้แล้วมิใช่หรือ ? ....
ภิกษุ ! เธอจงรับเอาธรรมปริยายนี้ไป เธอจงเล่าเรียนธรรม ปริยาย นี้ เธอจงทรงไว้ซึ่งธรรม ปริยายนี้.

ภิกษุ ! ธรรมปริยายนี้ ประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ แล.


737
เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนกปริยาย


..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อุปธิ ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อวิชชา นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง สังขาร ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง วิญญาณ นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง ผัสสะ นั่นเอง ความมี พร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี.
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง เวทนา ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง ตัณหา นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อุปาทาน นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อารัมภะ(ความเกาะเกี่ยว) ท.นั่นเองความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อาหาร ท. นั่นเอง ความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี.
..เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่ง อิญชิตะ (ความหวั่นไหว) ท.นั่นเองความมีพร้อมแห่งทุกข์จึงไม่มี
นี้เป็นอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ.
 (อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายสมุทัย ซึ่งได้แยก ไปใส่ไว้ใน หมวดทุกขสมุทยอริยสัจ โดยหัวข้อว่า ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย ที่หน้า ๓๖๘ ผู้ศึกษาพึงสังเกต เห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไปกระทำ ได้โดย ลักษณะเช่นนี้).


738
ลักษณาการแห่งการรู้อริยสัจ

และการสิ้นอาสวะจบพรหมจรรย์


มหาราช ! ....ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ อ่อนโยน ควร แก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสาวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัด ตามเป็น จริงว่า นี้ ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ ทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่ เหลือแห่งทุกข์ และรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า เหล่านี้ อาสวะนี้เหตุให้เกิดขึ้น แห่งอาสวะนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะนี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งอาสวะ ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิด ญาณ หยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว. เธอรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบ แล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น เขาจะสำเหนียกใจอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำ นี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลาย เหล่านี้ หยุดอยู่บ้างว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนี้เป็นฉันใด

ภิกษุ ท. ! ภิกษุย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ ทุกข์ นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้ ความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้ อาสวะนี้เหตุให้เกิดขึ้น แห่งอาสวะ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ. ครั้นจิตหลุดพ้น แล้วก็เกิด ญาณ หยั่ง รู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว. เธอรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกัน.


739
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์


ผัคคุนะ ! เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือแห่งผัสสายตนะ ทั้งหลายหกประการนั้น นั่นแหละ จึงมีความ ดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
ฅ เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้แล.


740
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์

(อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อม ไม่คิด ถึงสิ่งใดด้วย ย่อม ไม่ดำริ ถึงสิ่งใดด้วย และทั้งย่อม ไม่มีใจฝังลงไป (คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ ได้เลย เมื่ออารมณ์ ไม่มี. ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญ งอกงามแล้ว. การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี.
เพราะความดับแห่ง นามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงความดับแห่งตัณหา
เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างน้ ดังนี้ แล.


740-1
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์

(อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อม ไม่คิด ถึงสิ่งใดด้วย ย่อม ไม่ดำริ ถึงสิ่งใดด้วย และทั้งย่อม ไม่มีใจฝังลงไป (คือไม่มีอนุสัย) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ ได้เลย.

เมื่ออารมณ ไม่มี, ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญ งอกงาม แล้ว. เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ=ตัณหา) ย่อมไม่มี เมื่อเครื่องนำไปสู่ ภพใหม่ ไม่มีการมา การไป (อาคติคติ)ย่อมไม่มี เมื่อการมาการไป ไม่มี การเคลื่อนและการ บังเกิด (จุติ+อุปปาตะ) ย่อมไม่มี เมื่อการเคลื่อน และ การบังเกิด ไม่มี ชาติชรามรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะ-โทมนัสอุปายาสทั้งหลายต่อไป จึงดับสิ้น ความดับลง แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น นี้ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ แล.


741
ลักษณะของความดับแห่งทุกข์

(อีกปริยายหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! ก็ถ้าว่า บุคคลย่อม ไม่คิด ถึงสิ่งใดด้วย ย่อม ไม่ดำริ ถึงสิ่งใดด้วย และทั้งย่อม ไม่มีใจฝัง ลงไป (โน อนุเสติ) ในสิ่งใดด้วย ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ ได้เลย.

เมื่ออารมณ์ไม่มี ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้น เฉพาะ ไม่เจริญงอกงาม แล้วความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป

ย่อมไม่มี เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปไม่มี. ชาติชรามรณะ โสกะ-ปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย ต่อไป จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล.


742
อาการแห่งบุคคลผู้หลุดพ้น


อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีต อนาคต หรือ ปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือ ประณีตก็ตาม มีอยู่ในที่ไกล หรือที่ใกล้ ก็ตาม ขันธ์ทั้งหมดนั้น บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้.

อานนท์ ! อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเกิดเบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายแม้ใน เวทนา เบื่อหน่ายแม้ในสัญญา เบื่อหน่ายแม้ในสังขาร เบื่อหน่ายแม้ใน วิญญาณ.เมื่อเบื่อหน่ายย่อมจางคลาย ความ กำหนัดรู้ดรึง เพราะจางคลายไปแห่งความ กำหนัด ย่อมหลุดพ้นไปได้ เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ขึ้น ว่า หลุดพ้นแล้ว ดังนี้.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดแจ้งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จ แล้ว กิจอื่นที่จะ ต้อง ทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้แล.


743
อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ

ภิกษุ ท. !. ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูปอันมีลักษณะเป็นที่ตั้ง แห่ง ความรัก ย่อมไม่ ขัด เคืองในรูปอันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง เป็นผู้อยู่ด้วยสติ เป็นไป ในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้ แล้วมีจิต หา ประมาณมิได้ด้วย ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่ง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นธรรมที่ดับโดยไม่ เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย.

ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้ซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้วเสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุข ก็ตาม เป็นทุกข์ ก็ตาม ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตามย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่ เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ.

เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้นๆ นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป.

เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความ ดับ แห่งภพ เพราะมีความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ เพราะมีความดับแห่ง ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ-ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่ง กองทุกข์ทั้งหมดนี้ ย่อมมีด้วยอาการ อย่างนี้.

(ในกรณีแห่ง การได้ยินเสียงด้วยหู รู้สึกกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสทาง ผิวหนัง ด้วยผิวกาย และ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน).

ภิกษุ ท. ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะที่เป็นธรรมทำความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไป แห่ง ตัณหา ซึ่ง เรากล่าวไว้โดยสังเขป.

(เกี่ยวกับเรื่องการทำความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา ซึ่งตรัสไว้โดยสังเขปดังตรัส ในสูตร ข้างบนนี้ ในสูตรอื่น ได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุที่ได้สดับแล้วว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น ชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมทั้งปวง รอบรู้ ธรรม ทั้งปวง เสวยเวทนาใด ๆ เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับ ความสลัดคืนใน เวทนานั้นๆ ประจำย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก ไม่สะดุ้งหวาดเสียว ปรินิพพานเฉพาะตน ดังนี้ก็มี).


744
สักกายนิโรธ


ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความจางคลายดับไปไม่เหลือ ความสละทิ้ง ความสลัดคืนความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเอง. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธ.
(ตามธรรมดาการดับแห่งตัณหานี้ ตรัสเรียกว่า ทุกขนิโรธ แต่ในสูตรนี้ตรัสเรียกว่า สักกายนิโรธ.ในสูตรอื่น (๑๗/๑๙๒/๒๗๗) ตรัสเรียกว่า สักกายนิโรธันตะ ก็มี).


744-1
อาการแห่งการละอวิชชา โดยย่อ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งมีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละ ไป วิชชาย่อม เกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?


ภิกษุ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้น มีอยู่แล ....ฯลฯ.... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้คืออะไรเล่าหนอ ....ฯลฯ.... ? ภิกษุ! อวิชชา นั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่ง เมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชา ย่อมเกิดขึ้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะ เกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?

ภิกษุ ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น (ว่าเป นตัวเรา-ของเรา) ดังนี้.

ภิกษุ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น ดังนี้แล้วไซร้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรม ทั้งปวงแล้ว ย่อม รอบรู้ ซึ่ง ธรรมทั้งปวง ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว เธอย่อม เห็นซึ่งนิมิตทั้งหลายของ สิ่งทั้งปวง โดยประการอื่น๑
คือย่อม
เห็นซึ่ง จักษุ โดยประการอื่น
เห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายโดยประการอื่น
เห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการ อื่น
เห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น
เห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ และ ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยโสตะ ฆานะชิวหา กายะ และมนะ นั้น ๆ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้มีนัย อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุ และธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ ด้วยจักษุ ต่างกันแต่ชื่อ).

ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.
……………………………………………………………………………………………
๑. เมื่อบุคคลรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงโดยประการอื่น จากที่เขาเคย เห็น เมื่อยัง ไม่รู้แจ้ง เช่นเมื่อก่อนเห็นว่าสังขารเป็นของเที่ยง บัดนี้ย่อมเห็นโดยเป็นของ ไม่เที่ยง เป็นต้น นี้เรียกว่าเห็น โดย ประการอื่น. คำว่านิมิต หมายถึงลักษณะหนึ่งๆของสิ่งต่าง ๆ ที่ เป็นเครื่องสังเกต หรือรู้สึก หรือยึดถือ หรือสำคัญมั่นหมาย.
……………………………………………………………………………………………



746
กระแสการปรุงแต่งแห่งการเกิดวิมุตติญาณทัสสนะ


ภิกษุ ท. !
เมื่อ สติสัมปชัญญะ มีอยู่ หิริและโอตตัปปะของผู้มีสติ สัมปชัญญะอันถึงพร้อมแล้ว ก็เป็นหิริ โอตตัปปะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย๑

เมื่อ หิริและโอตตัปปะ มีอยู่ อินทรียสังวรของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยหิริ และโอตตัปปะ ก็เป็น อินทรีย์สังวร ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

เมื่อ อินทรียสังวร มีอยู่ สีลของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอินทรียสังวร ก็เป็นสีลถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

เมื่อ สีล มีอยู่ สัมมาสมาธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสีล ก็เป็นสัมมาสมาธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

เมื่อ สัมมาสมาธิ มีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ ก็เป็นยถาภูต ญาณ ทัสสนะ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

เมื่อ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีอยู่, นิพพิทา วิราคะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ก็เป็นนิพพิทา วิราคะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

เมื่อ นิพพิทาวิราคะ มีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยนิพพิทาวิราคะ ก็เป็นวิมุตติญาณ ทัสสนะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.

(อีกนัยหนึ่ง)
ภิกษุ ท. !
เมื่อ มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีลแล้ว อวิปปฏิสาร๑ ก็ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
เมื่อ อวิปปฏิสาร มีอยู่ ความปราโมทย์ของผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยอวิปปฏิสาร ก็เป็นปราโมทย์ถึง พร้อมด้วย อุปนิสัย
เมื่อ ความปราโมทย์ มีอยู่ ปีติของผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยความปราโมทย์ก็เป็นปีติถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
เมื่อ ปีติ มีอยู่ ปัสสัทธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปีติ ก็เป็นปัสสัทธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
เมื่อ ปัสสัทธิ มีอย่ สุขของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยปัสสัทธิ ก็เป็นสุขถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
เมื่อ สุข มีอยู่, สัมมาสมาธิของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสุข ก็เป็นสัมมาสมาธิถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
เมื่อ สัมมาสมาธิ มีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยสัมมาสมาธิ ก็เป็นยถาภูตญาณทัสสนะ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
.................................................................................................................................................................................
๑. อวิปปฏิสาร หมายถึง ความที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องร้อนใจ รังเกียจ เกลียดชัง อยู่ในใจของตน จนเสียสมาธิ.

เมื่อ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีอยู่, นิพพิทาของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย ยถาภูตญาณทัสสนะ ก็เป็น นิพพิทา ถึง พร้อมด้วยอุปนิสัย

เมื่อ นิพพิทา มีอยู่, วิราคะของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยนิพพิทา ก็เป็นวิราคะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย

เมื่อ วิราคะ มีอยู่, วิมุตติญาณทัสสนะ ของผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิราคะ ก็เป็นวิมุตติญาณ ทัสสนะ ถึงพร้อมด้วย อุปนิสัย. (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล, สัมมาสมาธิ ของเธอย่อมเป็นธรรม ถึงพร้อม ด้วยอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรม ถึงพร้อมด้วย อุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมา สมาธินั้น เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึง พร้อมด้วยยถา ภูตญาณทัสสนะ เมื่อนิพพิทา วิราคะ มีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมเป็นธรรมถึง พร้อม ด้วยอุปนิสัย แก่ผู้ถึงพร้อมด้วย นิพพิทา วิราคะ.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบแล้ว แม้สะเก็ดเปลือกของต้นไม้นั้น ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความ บริบูรณ์ ฉันใดก็ฉันนั้น.


749
การปรินิพพานในทิฏฐธรรม


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพาน ในทิฏฐธรรมนี้ พระเจ้าข้า !

ท่านผู้จอมเทพ ! รูป ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยตาก็ดี เสียง ทั้งหลายที่รู้แจ้งด้วยหู ก็ดี กลิ่น ทั้งหลาย รู้แจ้งด้วยจมูกก็ดี รส ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยลิ้น ก็ดี, โผฏฐัพพะ ทั้งหลายที่รู้ แจ้งด้วย ผิวกายก็ดี และ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจที่ยั่ว ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดย้อมใจมีอยู่ และภิกษุก็ไม่ เป็น ผู้เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณม์รูปเป็นต้นนั้น

เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น วิญญาณนั้น อันตัณหาในอารมณ์มีรูปเป็นต้น อาศัยแล้วย่อมไม่มีแก่เธอนั้น วิญญาณที่จะเป็นอุปาทานย่อมไม่มี.

ท่านผู้จอมเทพ ! ภิกษุผู้ไม่มี อุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

ท่านผู้จอมเทพ ! นี้แล เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในทิฏฐธรรมนี้ ดังนี้แล.


750
การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุ แสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ ไม่เหลือ แห่ง จักษุ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้กล่าวซึ่งธรรม (ธมฺมกถิโก) ดังนี้.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือ แห่งจักษุ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้ปฏิบัติแล้วซึ่งธรรมตามสมควร แก่ธรรม (ธมฺมานุธมฺม ปฏิปนฺโน)ดังนี้.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะ ความดับไม่เหลือ แห่งจักษุ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร์ ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม (ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานปตฺโต) ดังนี้.

[ในกรณีแห่ง หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณี แห่งตา ที่กล่าวไว้ข้าง บนนี้ ในสูตรอื่น (ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๙/๓๐๒) ทรงแสดงไว้ด้วยรูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ แทน อายตนะภายในหก อย่างในสูตรนี้ ก็มี


750-1
การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุ แสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่ เหลือ แห่ง ชราและมรณะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้กล่าวซึ่งธรรม ดังนี้.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับไม่เหลือ แห่งชราและ มรณะ อยู่ไซร้ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียก

ภิกษุนั้นว่า ผู้ปฏิบัติแล้วซึ่งธรรมตามสมควรแก่ธรรม ดังนี้.ถ้าภิกษุเป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว เพราะ ความเบื่อ หน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งชราและมรณะ ด้วยความเป็นผู้ ไม่ยึด มั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร์ ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานใน ทิฏฐธรรม ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขารและ อวิชชา ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่ง ชราและมรณะที่กล่าว ไว้ ข้างบนนี้).


751
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น จักษุ ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ. เมื่อเห็นอยู่ด้วย สัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ เพราะ ความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้น นันทิ เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งจักษุ ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).


752
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูปทั้งหลาย ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ทิฏฐิของเธอนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ. เมื่อเห็น อยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้น ราคะ เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมี ความสิ้นนันทิ เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวไว้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูป ที่กล่าว ไว้ข้างบนนี้).


752-1
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง จักษุ โดยแยบคาย และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุ ให้เห็นตาม ที่เป็น จริง. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งจักษุโดยแยบคายอยู่ ตามดูความ ไม่เที่ยงแห่งจักษุให้เห็น ตามที่เป็นจริงอยู่ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ. เพราะความสิ้นไปแห่ง นันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ เพราะความสิ้น ราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ เพราะความสิ้นนันทิ และราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้ อย่างเดียวกันกับใน กรณีแห่งจักษุ ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).


753
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูปทั้งหลาย โดยแยบคาย และจงตามดูความไม่เที่ยง แห่งรูปทั้งหลาย ให้เห็นตามที่เป็นจริง.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลาย โดยแยบคายอยู่ ตามดูความไม่เที่ยง แห่งรูป ทั้งหลายให้เห็น ตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย.

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมี ความสิ้นราคะ เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ เพราะความ สิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียว กันกับ ในกรณี แห่งรูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).


753-1
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็น รูป ซึ่งไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ทิฏฐิของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ.
เมื่อเห็นอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ
เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้น นันทิ
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้ อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).


754
ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง รูป โดยแยบคาย และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูป ให้เห็นตามที่เป็น จริง.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเมื่อกระทำในใจซึ่งรูปโดยแยบคายอยู่ ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปให้เห็น ตามที่เป็นจริง อยู่ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป.

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมี ความสิ้นนันทิ
เพราะความสิ้นนันทิและราคะ
ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความมีกล่าวไว้อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่ง รูป ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).


754-1
ลำดับการหลุดพ้นโดยละเอียดเมื่อเห็นอนัตตา

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา สิ่งนั้นนั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) เธอทั้งหลาย พึงเห็นข้อนั้นด้วย ปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้น ด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี อปรันตานุทิฏฐิ๑ ทั้งหลายย่อมไม่มี

เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี ความยึด มั่นลูบคลำอย่างแรงกล้า ย่อมไม่มี เมื่อความยึดมั่นลูบคลำ อย่างแรงกล้าไม่มี จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูปในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีความยึดมั่น ถือมั่น.

เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึง ดำรงอยู่ (ตามสภาพของจิต)
เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึง ยินดีร่าเริงด้วยดี
เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึง ไม่หวาดสะดุ้ง
เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง ย่อม ปรินิพพาน (ดับรอบ) เฉพาะตน นั่นเทียว.


เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.


759
ทางให้ถึงความหลุดพ้นห้าทาง


ภิกษุ ท.! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (วิมุตฺตายตนํ) ห้าประการเหล่านี้ มีอยู่ ซึ่งในธรรม นั้น เมื่อภิกษุ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่ สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่น ยิ่งกว่า ที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ. ธรรมเป็นเครื่องให้ถึง วิมุตติห้าประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ห้าประการ คือ

๑. ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู รูปใด รูปหนึ่ง ย่อม แสดงธรรมแก่ภิกษุ เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระ ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีแสดงแล้วอย่างไร.

เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอรรถรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น เมื่อ ปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจ มีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกาย รำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) เมื่อมีสุข จิตย่อม ตั้งมั่น

ภิกษุ ท. ! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ ถึงวิมุตติ ข้อที่หนึ่ง ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร เผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่ สิ่้น รอบย่อมถึงซึ่งความสิ้น รอบ หรือว่า เธอย่อม บรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า ที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).

๒. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใด รูปหนึ่ง ก็มิได้ แสดงธรรมแก่ภิกษุ แต่ เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมา แก่ชน ทั้งหลายเหล่าอื่น โดย พิสดารอยู่ เธอนั้นย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง ธรรม ในธรรมตามที่เธอแสดงแก่ชน เหล่าอื่น โดยพิสดารตามที่เธอฟังมาแล้วเล่าเรียน มาแล้ว อย่างไร.

เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อม เฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น เมื่อ ปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) เมื่อมีสุขจิต ย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุ ท. ! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่อง ให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สอง ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่ง ความสิ้นรอบ หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจาก โยคะ อันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตน ยังไม่บรรลุตาม ลำดับ(โดยแน่แท้).

๓. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดง ธรรมแก่ภิกษุ และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอ ได้ฟังมาได้เล่า เรียนมา แต่เธอกระทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดาร ตามที่ตน ฟังมา เล่าเรียนมา อยู่.เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม นธรรมนั้นตาม ที่เธอ ทำการท่องบ่นซึ่งธรรม โดยพิสดารตามที่ได้ ฟังมา เล่าเรียนมาอย่างไร.

เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น เมื่อ ปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุ ท. !นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุ เป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะ ที่ยังไม่ สิ้นรอบย่อมถึงซึ่ง ความสิ้นรอบ หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจาก โยคะ อันไม่มีอื่นยิ่งกว่า ที่ตนยังไม่บรรลุตาม ลำดับ (โดยแน่แท้).

๔. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู รูปใด รูปหนึ่ง ก็มิได้ แสดงธรรมแก่ภิกษุ และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดารตาม ที่เธอ ได้ฟังมาได้เล่าเรียนมา และเธอก็มิได้ทำการท่องบ่นซึ่งธรรม โดยพิสดารตามที่ตน ฟังมาเล่าเรียนมา แต่เธอตรึกตามตรองตาม ด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตาม ที่เธอฟังมาเล่าเรียนมา อยู่ เธอย่อมเป็นผู้รูพ้ ร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่เธอตรึก ตามตรองตามด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา เล่าเรียนมา อย่างไร.

เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น เมื่อ ปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิดเมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุ ท. ! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติข้อที่สี่ ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอย่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นรอบ ย่อมถึงซึ่ง ความ สิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจาก โยคะอันไม่มีอื่น ยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุ ตามลำดับ(โดยแน่แท้).

๕. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีผู้ตั้งอยู่ ในฐานะเป็นครู รูปใด รูปหนึ่ง ก็มิได้ แสดงธรรมแก่ภิกษุ และเธอนั้น ก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น โดยพิสดาร ตามที่เธอไดัฟังมาได้เล่าเรียนมา และเธอก็มิได้ทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดาร ตามที่ตน ฟังมาเล่าเรียนมา ทั้งเธอก็มิได้ตรึกตรองตาม ด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตาม ที่ได้ฟังมา เล่าเรียนมา แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่ง ที่เธอนั้นถือเอาดีแล้ว กระทำไว้ ในใจดีแล้ว เข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาอยู่ เธอย่อมเป็น ผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่สมาธินิมิตอย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสิ่ง ที่เธอถือเอาด้วยดี กระทำไว้ในใจดี เข้าไปทรงไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา อย่างไร.

เมื่อเป็นผู้รู้ พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น เมื่อปราโมทย์ แล้วปีติย่อม เกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข ด้วยนามกาย) เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

ภิกษุ ท. ! นี้คือธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่ห้า ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่. จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่ง ความสิ้นรอบ หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความ เกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุตาม ลำดับ(โดยแน่แท้).

ภิกษุ ท. ! ธรรมเป็นเครื่องเข้าถึงวิมุตติห้าประการเหล่านี้ ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ ประมาท มีความ เพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงที่ซึ่ง ความสิ้นรอบหรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า ที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ ดังนี้แล.


759-1
รู้จักอุปาทาน ต่อเมื่อหมดอุปาทาน


ภิกษุ ท. ! ธรรมเพื่อการรอบรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ? (ความจริงมีอยู่ว่า) เพราะอาศัย จักษุ และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ) นั้นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เห็นอยู่ (ซึ่งกระแสการปรุงแต่ง) อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ เบื่อหน่ายทั้งในรูปเบื่อหน่ายทั้งในจักขุวิญญาณ เบื่อหน่ายทั้งในจักขุสัมผัส เบื่อหน่ายทั้งในเวทนา.

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. เธอย่อมรู้ชัดว่า อุปาทานของเรา เรารอบรู้แล้ว เพราะความหลุดพ้นนั้น (วิโมกฺข-ปริญฺญาตํ) ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน).

(ข้อความนี้ เป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งที่คนธรรมดาจะไม่นึกฝัน ว่าเราจะรู้จักสิ่งใดถึงที่สุดนั้น ก็ต่อเมื่อเราจัดการ กับสิ่งนั้นตามที่ควรจะทำ ถึงที่สุดแล้ว มิใช่ว่าพอสักว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับ สิ่งนั้น ก็รู้จักสิ่งนั้น โดยสมบูรณ์ แล้ว. ในกรณีนี้ มีใจความสำคัญว่า จะรู้จักกิเลสข้อไหนได้ ก็ต่อเมื่อเราทำลายกิเลสนั้นเสร็จสิ้นแล้ว).


760
อาสวะสิ้นไปเพราะการกำจัดสมารัมภะและอวิชชา


วัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะ กายสมารัมภะ (ตัณหาปรารภการกระทำกรรมทางกาย) เป็นปัจจัยเป็นเครื่องทำความคับแค้น เร่าร้อน เมื่อบุคคลเว้นขาด แล้วจาก กายสมา-รัมภะ อาสวะทั้งหลาย อันเป็น เครื่องทำ ความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี.

บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้องๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้วกระทำ ให้สิ้นไป ด้วย. หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่า (นิชฺชรา) นี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ควรเรียกกัน มาดู พึงน้อมเข้ามาในตน

เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน. วัปปะ ! อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไป ตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะ นั้น หรือไม่ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

วัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะ วจีสมารัมภะ (ตัณหาปรารภการกระทำกรรมทางวาจา) เป็นปัจจัยเป็นเครื่องทำความคับแค้น เร่าร้อน เมื่อบุคคลเว้นขาด แล้วจาก วจีสมารัมภะ อาสวะทั้งหลาย อันเป็น เครื่องทำ ความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี.

บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้องๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้วกระทำ ให้สิ้นไป ด้วย.

หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่านี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ควรเรียก กันมาดู พึงน้อม เข้ามาในตนเป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน.

วัปปะ ! อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไปเบื้อง หน้า เนื่องมา แต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

วัปปะ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะ มโนสมารัมภะ (ตัณหาปรารภการกระทำกรรมทางใจ) เป็นปัจจัยเป็นเครื่องทำความคับแค้ นเร่าร้อน เมื่อบุคคลเว้นขาด แล้วจาก มโนสมารัมภะ อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำ ความคับแค้นเร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี.

บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้องๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้วกระทำ ให้สิ้นไปด้วย. หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่านี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับ เวลา ควรเรียกกันมาดู พึงน้อม เข้ามาในตนเป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน.

วัปปะ ! อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อ ทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไป เบื้องหน้า เนื่องมาแต่ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

วัปปะ ! ท่านจะเข้าใจความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คืออาสวะทั้งหลายเหล่าใด เกิดขึ้นเพราะอวิชชา เป็นปัจจัยเป็น เครื่องทำความคับแค้นเร่าร้อน เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา เพราะความ สำรอกออกเสียได้หมดซึ่ง อวิชชา อาสวะทั้งหลาย อันเป็นเครื่องทำ ความคับแค้น เร่าร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่มี.

บุคคลนั้น ย่อมไม่กระทำซึ่งกรรมใหม่ด้วย และย่อมถูกต้องๆ ซึ่งกรรมเก่าแล้ว กระทำ ให้สิ้นไปด้วย. หลักธรรมปฏิปทาอันไม่รู้จักเก่านี้ เป็นธรรมอันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ขึ้นอยู่กับ เวลา ควรเรียกกันมาดู พึงน้อม เข้ามาในตน เป็นธรรมที่ผู้รู้ทั้งหลาย พึงรู้ได้เฉพาะตน.

วัปปะ ! อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปเพื่อทุกขเวทนา จะพึงไหลไปตามบุรุษ ในกาลต่อไป เบื้องหน้า เนื่องมาแต่ ฐานะใดเป็นเหตุ ท่านเห็นซึ่งฐานะนั้นหรือไม่ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !


762
พอรู้เรื่องการร้อยรัด ก็สามารถทำที่สุดทุกข์


ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง ผัสสสมุทัย เป็นส่วนสุดข้างที่สอง ผัสสนิโรธ มีในท่ามกลาง ตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัดให้ติดกัน ตัณหานั่นแหละ ย่อมถักร้อยเพื่อให้ เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ นั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ! ด้วยความรู้เพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมรอบรู้ซึ่งธรรม ที่ควรรอบรู้ เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง รอบรู้ซึ่งธรรมที่ควรรอบรู้ อยู่ ย่อมเป็ ผู้กระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ ได้ใน ทิฏฐธรรมเทียว.


763
ลักษณะแห่งการถึงที่สุดทุกข์

ภิกษุ ท. ! อวิชชาภิกษุละได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น ภิกษุนั้น เพราะ ความสำรอก ออกโดยไม่เหลือแห่งอวิชชา เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา เธอย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขาร อัน เป็นบุญ ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่งอภิสังขารอันมิใช่บุญ ย่อมไม่ปรุงแต่งซึ่ง อภิสังขารอันเป็นอเนญชา เมื่อ ไม่ปรุงแต่ง อยู่ เมื่อไม่มุ่งมาด อยู่ เธอย่อม ไม่ถือมั่นสิ่งไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นอยูเธอย่อม ไม่สะดุ้ง หวาดเสียว เมื่อไม่สะดุ้ง หวาดเสียวอยู่ เธอย่อม ปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว. เธอย่อมรู้ ประจักษ์ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็รู้ประจักษ์ว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยงอันเราไม่สยบมัวเมาแล้วอันเรา ไม่เพลิดเพลิน เฉพาะแล้ว ดังนี้. ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็รู้ประจักษ์ว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง อันเรา ไม่สยบมัวเมาแล้ว อันเราไม่ เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้. ถ้าเสวย อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ ประจักษ์ว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง อันเรา ไม่สยบ มัวเมาแล้ว อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว ดังนี้.

ภิกษุนั้น ถ้าเสวย สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจากกิเลสเครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวย อทุกขมสุข เวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก กิเลส เครื่องร้อยรัดแล้ว เสวยเวทนานั้น.ภิกษุนั้น เมื่อเสวย เวทนา อันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ดังนี้. เมื่อเธอนั้น เสวย เวทนาอันมี

ชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ ประจักษ์ว่า เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิด-เพลินเฉพาะแล้ว จักเป็น ของเย็น ในอัตตภาพนี้เอง สรีระ ทั้งหลายจักเหลืออยู่ จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน บุรุษยกหม้อที่ยังร้อนออกจากเตาเผาหม้อวางไว้พื้นดินอันเรียบ ไออุ่นที่หม้อนั้น พึงระงับหายไป ในที่นั้นเอง กระเบื้องทั้งหลายก็เหลืออยู่ นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันกล่าวคือ เมื่อเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษว่า เราเสวยเวทนาอันมีกายเป็นที่สุดรอบ ดังนี้.

เมื่อเธอนั้น เสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็นที่สุดรอบ ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เราเสวยเวทนาอันมีชีวิตเป็น ที่สุด รอบ ดังนี้.ภิกษุนั้น ย่อมรู้ประจักษ์ว่า เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินเฉพาะ แล้ว จักเป็นของเย็น ในอัตตภาพนี้เอง สรีระทั้งหลายจักเหลืออยู่ จนกระทั่งถึงที่สุดรอบ แห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่ง กาย ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ ภิกษุผู้ขีณาสพ พึงปรุงแต่ง ปุญญาภิสังขาร หรือว่าพึงปรุงแต่ง อปุญญาภิสังขาร หรือว่า พึงปรุงแต่ง อเนญชา ภิสังขารบ้างหรือหนอ ? ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อสังขารทั้งหลาย
ไม่มี เพราะความดับแห่งสังขาร โดยประการทั้งปวง วิญญาณ พึงปรากฎ บ้างหรือหนอ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อวิญญาณ
ไม่มี เพราะความดับแห่งวิญญาณ โดยประการทั้งปวง นามรูป พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อนามรูป ไม่มี, เพราะความดับแห่งนามรูป โดยประการทั้งปวง สฬายตนะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อสฬายตนะ ไม่มี เพราะความดับแห่งสฬายตนะ โดยประการทั้งปวง ผัสสะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อผัสสะ ไม่มี เพราะความดับแห่งผัสสะ โดยประการทั้งปวง เวทนา พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อเวทนา ไม่มี เพราะความดับแห่งเวทนา โดยประการทั้งปวง
ตัณหา พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อตัณหา ไม่มี, เพราะความดับแห่งตัณหา โดยประการทั้งปวง อุปาทาน พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่ออุปาทาน ไม่มี, เพราะความดับแห่งอุปาทาน โดยประการทั้งปวง ภพ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อภพ ไม่มี, เพราะความดับแห่งภพ โดยประการทั้งปวง ชาติ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

เมื่อชาติ ไม่มี, เพราะความดับแห่งชาติ โดยประการทั้งปวง. ชรามรณะ พึงปรากฏ บ้างหรือหนอ ? ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !

ภิกษุ ท. ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว. ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลาย จงทำความสำคัญ จงเชื่อซึ่งข้อนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด.

ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงปลงซึ่งความเชื่อ ในข้อนั้นอย่างนั้นเถิด จงเป็นผู้หมดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อนั้นเถิด นั่นแหละที่สุดแห่งทุกข์ละ ดังนี้ แล.


766
ลำดับแห่งการดับของสังขาร (ลำดับแห่งการดับของสรรพสิ่ง)

(อนุปุพพสังขารนิโรธ)

ภิกษุ ! ความดับแห่งสังขารโดยลำดับๆ เราได้กล่าวแล้ว ดังนี้คือ
เมื่อเข้าสู่ ปฐมฌาน แล้ว วาจา ย่อมดับ
เมื่อเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้ว วิตก และ วิจาร ย่อมดับ
เมื่อเข้าสู่ ตติยฌาน แล้ว ปีติ ย่อมดับ
เมื่อเข้าสู่ จตุตถฌาน แล้ว อัสสาสะ และ ปัสสาสะ ย่อมดับ
เมื่อเข้าสู่ อากาสานัญจายตนะ แล้ว รูปสัญญา ย่อมดับ
เมื่อเข้าสู่ วิญญาณัญจายตนะแล้วอากาสานัญจายตนสัญญาย่อดับ
เมื่อเข้าสู่ อากิญจัญญายตนะ แล้ว วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับ
เมื่อเข้าสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับ
เมื่อเข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้ว สัญญา และ เวทนา ย่อมดับ
เมื่อภิกษุ สิ้นอาสวะ แล้ว ราคะ ก็ดับ โทสะ ก็ดับ โมหะ ก็ดับ.


766-1
จิตหยั่งลงสู่อมตะเมื่อประกอบด้วยสัญญาอันเหมาะสม

(สัญญา7ประการ)

ภิกษุ ท. ! สัญญาเจ็ดประการเหล่านี้ อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน.

เจ็ดประการ อย่างไรเล่า ? คือ อสุภสัญญา มรณสัญญา อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรต สัญญา อนิจจสัญญา อนิจเจทุกขสัญญา ทุกเขอนัตตสัญญา.

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อสุภสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นเข้าไปในการดื่มด่ำ อยู่ในเมถุนธรรมแต่ความวางเฉยหรือว่าความรู้สึกว่าปฏิกูล ดำรงอยู่ในจิต ; เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหด ย่อมงอ ไม่เหยียดออก ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่จิตยังไหล เข้าไป ในความดื่มด่ำอยู่ในเมถุนธรรม หรือความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูลยังดำรงอยู่ในจิตแล้วไซร้ ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า อสุภสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้ว คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อน ของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่ง ภาวนาดังนี้.  

เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. .... ภิกษุ ท. ! เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า อสุภสัญญาอันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่ อมตะ มีอมตะเป็ นปริโยสาน ดังนี้.

[ในกรณีแห่ง มรณสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากความยินดีในชีวิต (ชีวิตนิกนฺติ) ก็ดี ในกรณีแห่ง อาหาเรปฏิกูลสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจากตัณหา ในรส (รสตณฺหา)ก็ดี ในกรณีแห่ง สัพพโลเกอนภิรตสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ถอยกลับจาก ความเป็นจิตติดอยู่ในโลก (โลกจิตฺต) ก็ดี ในกรณีแห่ง อนิจจสัญญา อันเป็นเครื่องทำจิตให้ ถอยกลับจากลาภสักการะและเสียงสรร-เสริญ (ลาภสักการสิโลก) ก็ดี ทั้งสี่สัญญานี้ ได้ตรัสไว ้ด้วย ข้อความทำนองเดียวกันกับ อสุภสัญญา ซึ่งผู้ศึกษาสามารถทำการ เปรียบ เทียบ ดูเองได้ ต่อไปนี้ได้ตรัสถึง อนิจเจทุกขสัญญา อันมีระเบียบแห่งถ้อยคำแปลกออกไป ดังต่อไปนี้]

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วย อนิจเจทุกขสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก สัญญาว่า ความน่ากลัวอันแรงกล้า (ติพฺพาภยสญฺญา) ย่อมปรากฏขึ้นในความไม่ขยัน ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประ มาท ความไม่ประกอบความเพียร และในความสะเพร่า อย่างน่ากลัวเปรียบเสมือนมีเพชฌฆาต เงื้อดาบอยู่ ตรงหน้า ฉะนั้น.

ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอนิจเจ-ทุกขสัญญาอยู่เป็ นอย่างมาก แต่สัญญา ว่าความน่า กลัวอันแรงกล้า ในความไม่ขยัน ในความเกียจคร้าน ในความทอดทิ้งการงาน ความประมาท ความไม่ ประกอบ ความเพียร และในความสะเพร่า ก็ไม่ปรากฏขึ้นอย่าง น่ากลัวเสมือนหนึ่ง มีเพชฌฆาต เงื้อ ดาบอยู่ตรงหน้า แล้วไซร้ ภิกษุนั้นพึงทราบเถิดว่า อนิจเจทุกขสัญญาเป็นอันเรามิได้อบรมเสียแล้ว คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนา ดังนี้. เธอเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. ....

ภิกษุ ท. ! เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า อนิจเจทุกข-สัญญา อันบุคคลเจริญ กระทำ ให้มาก แล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็ นปริโยสาน ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ มีจิตอบรมด้วย ทุกเขอนัตตสัญญา อยู่เป็นอย่างมาก ใจย่อม ปราศจากมานะว่าเราว่าของเรา (อหงฺการ มมงฺการมาน) ทั้งในกายอันประกอบด้วยวิญญาณ นี้และในนิมิตทั้งหลายในภายนอกด้วย เป็นใจที่ก้าวล่วง เสียได้ซึ่งวิธา (มานะ ๓ ชั้น) เป็นใจสงบระงับ พ้นพิเศษแล้วด้วยดี.

ภิกษุ ท. ! ถ้าเมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่เป็นอย่างมาก แต่ใจยังไม่ปราศจาก มานะว่าเราว่า ของเรา ทั้งในกายอันประกอบด้วยวิญญาณนี้และในนิมิตทั้งหลายในภายนอก ไม่เป็นใจก้าวล่วงเสียได้ซึ่ง วิธา ไม่สงบระงับพ้นพิเศษแล้วด้วยดีแล้วไซร้ ภิกษุนั้นพึงทราบ เถิดว่า ทุกเขอนัตตสัญญาเป็นอันเรามิได้ อบรม เสียแล้ว คุณวิเศษที่ยิ่งกว่าแต่ก่อนของเราไม่มี เรายังมิได้บรรลุผลแห่งภาวนาดังนี้. เธอเป็นผู้มีสัมป ชัญญะ ในเรื่องนี้อยู่ดังนี้. .... ภิกษุ ท. ! เรามีเหตุผลในข้อนี้อยู่ดังนี้ จึงกล่าวว่า ทุกเขอนัตตสัญญา อันบุคคล เจริญ กระทำให้มาก แล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น ปริโยสานดังนี้.

ภิกษุ ท. ! สัญญาเจ็ดประการเหล่านี้แล อันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน แล.
(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า สัญญา เหล่านี้ แม้จะนำไปสู่อมตะด้วยกันทั้งนั้น แต่ก็มีลักษณะ ต่างๆ กัน พึงเลือกเฟ้นเจริญให้ถูกต้องเหมาะสม แก่กรณีของตนๆ เถิด).

769
บรรลุอรหันต์โดยละมัญญนะหกชนิด


ภิกษุ ท. ! บุคคล ไม่ละธรรมทั้งหลาย ๖ อย่างแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล. ธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? หกอย่างคือมานะ (ถือตัว) โอมานะ (แกล้งลดตัว) อติมานะ (ยกตัว) อธิมานะ (ถือตัวจัด) ถัมภะ (หัวดื้อ) อตินิปาตะ (สำคัญตัวเองว่าเลว)

ภิกษุ ท. ! บุคคลไม่ละธรรมทั้งหลาย ๖ อย่าง เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง อรหัตตผล.

ภิกษุ ท. ! บุคคล ละธรรมทั้งหลาย อย่างแล้ว เป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล. ธรรม ๖ อย่าง เหล่าไหนเล่า ? หกอย่างคือ มานะโอมานะ อติมานะ อธิมานะ ถัมภะ อตินิปาตะ.

ภิกษุ ท. ! บุคคลละธรรมทั้งหลาย ๖ อย่าง เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล แล.


770
ขั้นตอนอันจำกัดแห่งปัจจัยของการละ


กาม -
รูป อรูปราคะ ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ เป็นผู้มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว เมื่อเสพ คบ คลุกคลี อยู่กับพวกชั่ว และถือเอาทิฏฐานุคติของบุคคลเหล่านั้นอยู่แล้วจักกระทำ อภิสมาจาริกธรรม ให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ๑

เมื่อไม่กระทำอภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำเสขธรรม (ธรรมที่ควร ศึกษาสูงขึ้นไป) ให้บริบูรณ์ ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่กระทำเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำศีล ทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่กระทำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ หรือ รูปราคะ หรืออรูป-ราคะได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ เป็นผู้ มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เมื่อเสพ คบ คลุกคลีอยู่กับพวก มิตรดี และถือ เอาทิฏฐานุคติของบุคคลเหล่านั้นอยู่แล้ว จักกระทำอภิสมาจาริกธรรม ให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็นฐานะที่จะ มีได้

เมื่อ กระทำอภิสมาจาริกธรรมห้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำเสขธรรม ให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็น ฐานะที่มีได้ เมื่อกระทำเสขธรรม ให้บริบูรณ์แล้ว จักกระทำศีลทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ เมื่อกระทำศีลทั้งหลาย ให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ หรือรูปราคะ หรืออรูปราคะได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้ แล.
...................................................................................................
๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อภิสมาจาริกธรรม กล่าวคือการปฏิบัติวัตรหรือมรรยาท ที่สาธุชน ทั่วไป จะพึงปฏิบัติในบ้านเรือน เพื่อนพ้อง และสังคมทั่วไป นี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ในการปฏิบัติ ธรรม เพื่อบรรลุ ธรรมในขั้นสูง กล่าวสรุปสั้นๆก็ว่า ไม่กระทำให้เกิดความเหมาะสม ในการที่จะ เป็น นักศึกษา. ขอให้ทุกคน ทำการชำระสะสางอภิสมาจาริกธรรมของตน ๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ เป็นเรื่องแรกเสียก่อน.


771
ละราคะโทสะโมหะได้ เพราะไม่หลงในสัญโญชนิยธรรม


ภิกษุ ท. ! ธรรมสองประการเหล่านี้ มีอยู่. สองประการ อย่างไรเล่า ? สองประการ คือ การตามเห็นความเป็ นของน่ายินดี ในสัญโญชนิยธรรมทั้งหลายและ การตามเห็น ความเป็นของน่าเบื่อหน่าย ในสัญโญช นิยธรรมทั้งหลาย (ธรรมอันเป็นเครื่องร้อยรัด).

ภิกษุ ท. ! ผู้ตามเห็นความเป็นของน่ายินดีนสัญโญชนิยธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมไม่ละได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ เพราะละไม่ได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะซึ่งโมหะ จึงไม่หลุดพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ผู้ตามเห็นความเป็ นของน่าเบื่อหน่าย ในสัญโญชนิยธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมละ ได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ เพราะละได้ซึ่งราคะ ซึ่งโทสะ ซึ่งโมหะ จึงหลุดพ้นจากชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย เรากล่าวว่า ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธรรมสองประการ นั้น.


771-1
ภาวะแห่งความสิ้นตัวตนและสิ้นโลก

(มรรควิธีที่ง่ายต่อการปฎิบัติเพื่อความพ้นทุกข์)

ข้าแต่พระองค์เจริญ ! ข้าพระองค์เป็ นคนชรา เป็ นคนแก่คนเฒ่ามานาน ผ่านวัยมาตาม ลำดับ.ขอพระ ผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยย่อ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมโดยย่อ ในลักษณะที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ ทั่ว ถึงเนื้อความแห่ง ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในลักษณะ ที่ข้าพระองค์จะพึงเป็นทายาท แห่งภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เถิดพระเจ้าข้า !

มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คือ รูปทั้งหลายอันรู้สึกกันได้ทางตา เป็นรูปที่ท่านไม่ ได้เห็น ไม่เคยเห็น ที่ท่านกำลังเห็นอยู่ก็ไม่มี ที่ท่านคิดว่าท่านควร จะ ได้เห็นก็ไม่มี ดังนี้แล้ว ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในรูปเหล่านั้น ย่อมมีแก่ท่านหรือ ? ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !

(ต่อไปนี้ ได้มีการตรัสถาม และการทูลตอบ ในทำนองเดียวกันนี้ทุกตัวอักษรผิดกันแต่ชื่อ ของสิ่งที่ นำมา กล่าว คือในกรณีแห่ง เสียงอันรู้สึกกันได้ทางหู ในกรณีแห่ง กลิ่นอันรู้สึก กันได้ทางจมูก ในกรณีแห่ง รสอันรู้สึก กันได้ทางลิ้น ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะอันรู้สึก กันได้ทางผิวกาย และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์ อันรู้สึก กันได้ทางมโน)

มาลุงก๎ยบุตร ! ในบรรดาสิ่งที่ท่าน พึงเห็น พึงฟัง พึงรู้สึก พึงรู้แจ้งเหล่านั้น

ใน สิ่งที่ท่านเห็นแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าเห็น
ใน สิ่งที่ท่านฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงสักว่าได้ยิน
ใน สิ่งที่ท่านรู้สึกแล้ว (ทางจมูก ลิ้น กาย) จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้สึก
ใน สิ่งที่ท่านรู้แจ้งแล้ว (ทางวิญญาณ) ก็จักเป็นแต่เพียงสักว่ารู้แจ้ง.

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดแล ในบรรดาธรรมเหล่านั้น เมื่อ สิ่งที่เห็นแล้วสักว่าเห็น สิ่งที่ฟังแล้ว สักว่าได้ยิน สิ่งที่รู้สึกแล้วสักว่ารู้สึกสิ่งที่รู้แจ้งแล้ว สักว่ารู้แจ้ง ดังนี้แล้ว มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อนั้น ตัวท่านย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น

มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีเพราะเหตุนั้น เมื่อนั้นตัวท่านก็ไม่มีในที่นั้นๆ
มาลุงก๎ยบุตร ! เมื่อใดตัวท่านไม่มีในที่นั้นๆเมื่อนั้น ตัวท่านก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง

นั่นแหละ คือที่สุดแห่งความทุกข์ ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้ ได้โดย พิสดาร ดังต่อไปนี้:-เห็นรูปแล้วสติหลงลืม ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่าน่ารัก มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว เสวย อารมณ์นั้นอยู่ ความสยบมัวเมา ย่อมครอบงำบุคคลนั้น. เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกประการ ย่อมเจริญ แก่เขานั้น. อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเข้าไป กลุ้มรุมจิตของเขา. เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่ายังไกล จากนิพพาน.

(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็มีข้อความที่ กล่าวไว้ อย่างเดียวกัน).บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูป ท. เห็นรูปแล้ว มีสติเฉพาะ มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์ อยู่ ความสยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น.

เมื่อเขาเห็นอยู่ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง เสวยเวทนาอยู่ทุกข์ ก็สิ้นไป ๆ ไม่เพิ่มพูนขึ้น เขามีสติ ประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้.เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า อยู่ใกล้ต่อ นิพพาน.
(ในกรณีแห่งการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายรู้สึกธรรมารมณ์ ด้วยใจ ก็มีข้อความที่กล่าว ไว้อย่างเดียวกัน).

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้ ได้โดย พิสดารอย่างนี้ พระเจ้าข้า ! พระผู้มีพระภาค ทรงรับรองความข้อนั้น ว่าเป็ นการถูกต้อง. ท่านมาลุงก๎ยบุตรหลีกออก สู่ที่สงัดกระทำความเพียร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่ง ในศาสนานี้.



774
สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือ ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของ พวกช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้ แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไป เท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้ วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น นี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้วานนี้ สิ้นไป เท่านี้ วันอื่นๆสิ้นไปเท่านี้ๆ รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปในเมื่อมันสิ้นไปๆเท่านั้น ฉันใด ก็ฉันนั้น.


774-1
เมื่อสังโยชน์เหมือนเครื่องหวายสิ้นอายุ


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่มีเครื่องผูกทำด้วยหวายอยู่ในน้ำตลอดหกเดือนแล้ว เขายกขึ้นบก ในฤดูหนาว เครื่องผูกเหล่านั้นผึ่งอยู่กับลมและแดด ชุ่มแฉะอยู่ด้วยหมอกอันชื้น ย่อมยุบตัวเปื่อย พังไป โดยไม่ยากเลย นี้ฉันใด ภิกษุ ท.

!เมื่อภิกษุตามประกอบการเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ทั้งหลาย (ซึ่งเสมือนเครื่องหวาย ที่อบอยู่กับแดดลมและความชื้น) ย่อมระงับลงๆ กระทั่งสูญเสียไป ฉันนั้น เหมือนกัน.

(เป็นที่น่าสังเกตว่า พระพุทธองค์ทรงมีถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของอินเดีย ซึ่งดูตามแผนที่ แล้ว จะไม่มี โอกาสเกี่ยวข้องกับทะเล แต่ก็ยังทรงทราบเรื่องเรือเดินทะเล เป็นบุคคลในระดับ กษัตริย์ก็ยังทรงรู้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ของชาวบ้าน เช่นหวายที่ผูกเรือแพเดินทะเลสิ้นอายุ ผุพังไปตามฤดูกาลได้ แสดงว่าทรงมีพื้นเพ แห่งสติปัญญาสมกับที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เสียจริงๆ).


775
ฟองไข่ออกเป็นตัว มิใช่โดยเจตนาของแม่ไก่

(เหมือนอาสวะสิ้นเอง เมื่อปฏิบัติชอบ)

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุตามประกอบการเจริญภาวนาอยู่ โดยแน่นอน เธอไม่ต้องปรารถนา ว่า โอหนอ ! จิตของเราถึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไมมี่อุปาทานเถิด ดังนี้. จิตของเธอนั้น ก็ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทานได้เป็นแน่.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า เธอมีการเจริญสติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ดอริยมรรคมีองค์แปด.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ฟองไข่ ฟอง ๑๐ ฟองหรือ ๑๒ ฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว พลิกให้ทั่วดีแล้ว คือฟักดีแล้ว โดยแน่นอน แม่ไก่ไม่ต้องปรารถนา ว่า โอหนอ ! ลูกไก่ของเรา จงทำลายกระเปาะฟอง ด้วย ปลายเล็บเท้า หรือจะงอย ปากออกมาโดยสวัสดี เถิด ดังนี้ ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลาย กระเปาะ ด้วยปลายเล็บเท้า หรือจะ งอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้โดยแท้ ฉันใดก็ฉันนั้น.


776
ผลสูงตํ่าแห่งการปฏิบัติ ตามที่อาจทำให้เกิดขึ้น


ภิกษุ ท. ! ปีติ ที่ประกอบด้วยอามิส (สามิส) ก็มี ปีติที่ไม่ประกอบด้วยอามิส (นิรามิส) ก็มี ปีติไม่ประกอบด้วย อามิสที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส (นิรามิสา นิรามิสตรา ปีติ) ก็มี.

ความสุข ที่ประกอบด้วยอามิส ก็มี ความสุขที่ไม่ประกอบด้วยอามิสก็มี ความสุขไม่ประกอบ ด้วย อามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี.

อุเบกขา
ที่ประกอบด้วยอามิส ก็มี อุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มีอุเบกขาไม่ประกอบ ด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี. (เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๗๙๕ การแบ่งประเภทอุเบกขาอีก นัยยะหนึ่ง)

วิโมกข์
ที่ประกอบด้วยอามิส ก็มี วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มีวิโมกข์ไม่ประกอบด้วย อามิสที่ยิ่งกว่า ไม่ประกอบด้วยอามิส ก็มี.

ภิกษุ ท. ! ปีติที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. !กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่, ห้าอย่างคือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ....เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นที่จะพึง รู้แจ้ง ด้วยฆ่านะ .... รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย อันเป็นสิ่งน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด: เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! ปีติใดอาศัยกามคุณ อย่างเหล่านี้เกิดขึ้น ปีตินี้เรียกว่า ปีติประกอบด้วย อามิส.

ภิกษุ ท. ! ปีติไม่ได้ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ภิกษุในกรณีนี้ สงัด จาก กามทั้งหลาย สงัดจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.  

ภิกษุ ท. ! ปีตินี้เรียกว่า ปีติไม่ประกอบด้วยอามิส.ภิกษุ ท. ! ปีติไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อ ภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิต ที่หลุดพ้นจากราคะ จิตที่หลุดพ้นจากโทสะ จิตที่หลุดพ้นจากโมหะอยู่  ปีติใดเกิดขึ้น ปิตินั้นเรียกว่า ปี ติไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส.

ภิกษุ ท. ! สุขที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ....เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นที่จะพึง รู้แจ้ง ด้วยฆานะ ..... รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย อันเป็นสิ่งน่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณ อย่างเหล่านี้เกิดขึ้น, สุขนี้เรียกว่า สุขประกอบด้วยอามิส.

ภิกษุ ท. ! สุขที่ไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม ทั้งหลาย สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย เข้าถึง ปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึง ทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใส แห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่

อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแหง่ ปีติ ย่อมเป็นผู้ อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อม เสวย ความสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ เข้าถึง ตติยฌาน แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! สุขนี้เรียกว่า สุขไม่ประกอบด้วยอามิส. ภิกษุ ท.! สุขไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่า ไม่ ประกอบด้วยอามิสเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อ ภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิต ที่พ้นแล้วจากราคะ จิตที่พ้นแล้วจากโทสะ จิตที่พ้นแล้วจากโมหะ อยู่ สุขโสมนัสใดเกิดขึ้น, สุขโสมนัสนั้นเรียกว่าสุขไม่ กอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส.

ภิกษุ ท. ! อุเบกขาที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ .... กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .... รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา .... โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วย ผิวกาย อันเป็นสิ่งน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่แห่ง ความ ใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อย่าง.

ภิกษุ ท. !อุเบกขาใด อาศัยกามคุณ อย่างเหล่านี้เกิดขึ้นอุเบกขานี้เรียกว่า อุเบกขาประกอบ ด้วยอามิส.

ภิกษุ ท. ! อุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน, เข้าถึง จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็ นธรรมชาติบริสุทธ์ิ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

ภิกษุ ท. ! อุเบกขานี้เรียกว่า อุเบกขาไม่ประกอบด้วยอามิส. ภิกษุ ท. ! อุเบกขาไม่ ประกอบ ด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เมื่อ ภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิตที่พ้นแล้ว จากราคะ จิตที่พ้นแล้วจากโทสะ จิตที่พ้นแล้วจาก โมหะ อยู่ อุเบกขาใดเกิดขึ้น อุเบกขานั้น เรียกว่า อุเบกขาไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส.

ภิกษุ ท. ! วิโมกข์ที่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? วิโมกข์ที่ประกอบเนื่องอยู่ในรูป เรียกว่า วิโมกข์ ประกอบด้วยอามิส.

ภิกษุ ท. ! วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ? วิโมกข์ที่ประกอบเนื่องอยู่ใน อรูป เรียกว่า วิโมกข์ ไม่ประกอบด้วยอามิส.

ภิกษุ ท. ! วิโมกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส ทิ่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุขีณาสพ พิจารณาจิตที่พ้นแล้วจากราคะ จิตที่พ้นแล้วจากโทสะ จิตที่พ้นแล้ว จากโมหะ อยู่ วิโมกข์ใดเกิดขึ้น วิโมกข์นั้น เรียกว่า วิโมกข์ไม่ประกอบด้วยอามิส ที่ยิ่งกว่าไม่ประกอบด้วยอามิส แล.