เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  8 of 13  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 3 หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 3 หน้า
         
  สิ่งที่ไม่ปรุง 439-1     สมาธิที่มีผล-ความไม่มีอหังการะมมัง การะมานานุสัย 468
  “สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้ 440     นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง 470
  อาณาจักรแห่งโลกอุดร 440-1     นิพพานเห็นได้ยากยิ่ง 470-1
  เมื่อ “เธอ” ไม่มี! 441     พอนิพพานธรรมปรากฏก็หมดสงสัย 470-2
  สิ่งที่ไม่เต็มขึ้นหรือพร่องลง 441-1     นิพพานเป็นที่มุ่งแสวงของผู้มองเห็นโทษในโลก 471
  ตรงกันข้ามไปเสียทุกอย่าง 442     เพราะมีสิ่งที่ไม่ตาย สิ่งที่ตายจึงมีทางออก 472
  ที่สุดแห่งทุกข์ 442-1     ไม่ถึงนิพพานเพราะพลัดออกนอกทางจนหลงทาง 473
  สิ่งนั้นมีแน่ ! 443     นิพพานของคนตาบอด (มิจฉาทิฏฐิ) 475
  ธรรมที่ชื่อว่า “นิพพาน” 443-1     ไม่นิพพานเพราะยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ 477
  ผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมยอดยิ่ง. 443-2     การทำรถให้แล่นไปได้ถึงนิพพาน 478
     

 
  นิพพานธาตุ 444     ถ้าหมดเชื้อก็ปรินิพพาน 479
  ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด 445     นิพพานที่เห็นได้เอง 480
  ก. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ 445-1     นิพพานที่เห็นได้เอง ตามคำของพระอานนท์ 482-1
  ข. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ 445-2     หมด “อาหาร” ก็นิพพาน 485
  (คาถาผนวกท้ายพระสูตรนี้ มีว่า :-) 446     อาสวักขยญาณเป็นเครื่องให้พ้นจากอาสวะ 486
  อสังขตลักษณะ ๓ อย่าง 448     ปริญญาที่แท้จริง 487
  ความดับเย็นของเวทนามีได้ แม้ในทิฏฐธรรมนี้ 448-1     วิโมกข์ ๒ ระดับ : สมยวิโมกข์ - อสมยวิโมกข์ 487-1
  นิพพานคือ วิราคธรรม 450     ข. อสมยวิโมกข์ 487-2
  ไวพจน์ของนิพพาน (๓๒ คำ) 451     ธรรมที่สมควรแก่การหลุดพ้นจากทุกข์ 490
  นิพพานอธิวจนะ 462     ธาตุที่อาศัยแล้ว สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด 492
         
  ยาถ่ายและยาสำรอกความเกิด - แก่ – ตาย 464     ธรรมธาตุต่างๆ ที่เป็นผลของสมถวิปัสสนา 495
  ธรรมเป็นเครื่องถอนอัส๎มิมานะในปัจจุบัน 466     อันเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอด 495-1
         

 

       
 
 






439-1
สิ่งที่ไม่ปรุง


ภิกษุ ท. ! เมื่อใด อวิชชาของภิกษุละขาดไป วิชชาเกิดขึ้นแล้ว เธอนั้น เพราะอวิชชาจางหายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้นแทน ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุง อันเป็นบุญนั่นเทียว, ย่อมไม่ปรุงเครื่องปรุง อันมิใช่ บุญ, ย่อมไม่ปรุง เครื่องปรุงอันเป็นอเนญชา. เธอนั้น เมื่อไม่ปรุง เมื่อไม่ก่อ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งไร ๆ

ในโลก. เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่เสียวสะดุ้ง. เมื่อไม่เสียวสะดุ้ง ย่อมปรินิพพาน. เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นสุดแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นเช่นนี้มิได้มีอีก” ดังนี้ แล.


440
สิ่งนั้นหาพบในกายนี้

“แน่ะเธอ ! ที่สุดโลก แห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ เราไม่กล่าวว่าใคร ๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้น ด้วยการไป.“แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณ วาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้บัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความ ดับสนิทไม่เหลือ ของโลก และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือ ของโลก ไว้”ดังนี้แล.


440-1
อาณาจักรแห่งโลกอุดร

ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่อาจเข้าไปอยู่ ในที่ใด ในที่นั้นดาวศุกร์ทั้งหลาย ย่อมไม่ส่องแสง ในที่นั้น ดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏ ในที่นั้น ดวงจันทร์ก็ไม่ส่องแสง แต่ความมืด ก็มิได้มีอยู่ ในที่นั้น. ในกาลใด มุนี ผู้ตั้งหน้าปฏิบัติ ได้รู้แจ่มแจ้ง (ในสิ่งที่กล่าวนี้) ด้วยตนเอง ด้วยความรู้ ในกาลนั้น มุนีนั้น ย่อมพ้นไปจากรูป ย่อมพ้นไปจากอรูป ย่อมพ้นไปจากสุขและทุกข์ โดยสิ้นเชิง ดังนี้แล.


441
เมื่อ
เธอไม่มี!

พาหิยะ ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทาง ผิวกาย ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ก็สักว่าได้รู้แจ้ง แล้ว เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี. เมื่อใด “เธอ” ไม่มี เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้ ไม่ปรากฏในโลกอื่นไม่ปรากฏใน ระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ ละ.


441-1
สิ่งที่ไม่เต็มขึ้นหรือพร่องลง

ภิกษุ ท. ! แม่น้ำทั้งหลาย ย่อมไหลไปยังมหาสมุทร. น้ำฝนที่ตกจากอากาศ ก็ไหลไปยัง มหาสมุทร แต่ความลดหรือความเต็มของมหาสมุทร ย่อมไม่ปรากฏ (แก่ตา) ฉันใด ภิกษุ ทั้งหลายเป็นอันมาก ย่อมปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่ความลด หรือความเต็ม ขึ้นของนิพพานธาตุนั้น ก็ไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! ข้อที่ ความลดหรือความเต็ม ของนิพพานธาตุ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้นๆ นั่น ก็เป็นความประหลาดมหัศจรรย์ข้อหนึ่ง ในธรรมวินัยนี้.


442
ตรงกันข้ามไปเสียทุกอย่าง


ภิกษุ ท. ! “สิ่ง” สิ่งนั้นมีอยู่, เป็ นสิ่งซึ่งในนั้นไม่มีดิน ไม่มีนํ้าไม่มีไฟ ไม่มีลม ไม่ใช่อากาสานัญ จายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่ โลกนี้ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง.

ภิกษุ ท. ! ในกรณีอันเกี่ยวกับ “สิ่ง” สิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา,ไม่กล่าวว่ามีการไป ไม่กล่าวว่ามี การหยุด ไม่กล่าวว่ามีการจุติ ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น. สิ่งนั้นมิได้ตั้งอยู่ สิ่งนั้นมิได้เป็นไป และสิ่ง นั้นมิใช่อารมณ์ นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ.


442-1
ที่สุดแห่งทุกข์

เมื่อสันดานยังเป็นสิ่งที่ตัณหา และทิฏฐิอาศัยอยู่ได้ ความหวั่นไหวก็ยังมีอยู่. เมื่อสันดานเป็นสิ่ง ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ได้ ความหวั่นไหวก็ไม่อาจมี. เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ความรำงับแห่ง จิตย่อมมี เมื่อความรำงับแห่งจิตมี ความน้อมไปทางใดทางหนึ่งของจิตย่อมไม่มี เมื่อความน้อมไป ทางใด

ทางหนึ่งของจิตไม่มี การมาการไปก็ไม่มี เมื่อการมาการไปไม่มี การจุติและการเกิดขึ้นใหม่ก็ไม่มี. เมื่อการจุติและการเกิดขึ้นใหม่ไม่มี ก็ไม่มีการปรากฏในโลกนี้ ไม่มีการปรากฏในโลกอื่น ไม่มีการ ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ละ.


443
สิ่งนั้นมีแน่
!

ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกกระทำ มิได้ถูกอะไรปรุง นั้นมีอยู่. ภิกษุ ท.! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้ ความรอดออกไปได้ ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏเลย.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกกระทำมิได้ถูกอะไรปรุง นั่นเอง จึงได้มี ความรอดออกไปได้ ของสิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ปรากฏอยู่.


443-1
ธรรมที่ชื่อว่า
นิพพาน

นั่น สงบจริง! นั่น ประณีตจริง !ที่นี้เอง เป็นที่สงบสังขารทั้งปวง, เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่ สิ้นตัณหา เป็นที่คลายความกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส. นี่คือนิพพาน แล.

ความไม่กังวล ความไม่ถือมั่น นั่นแล คือ ธรรมอันเป็นเกาะไม่มีธรรมอื่นอีก. เรากล่าวธรรม นั้นว่า “นิพพาน” เป็นที่หมดสิ้นแห่งชราและมรณะ แล. เพราะละตัณหาได้ขาด ท่านกล่าวว่า “นิพพาน” ความดับด้วยความจางคลายโดยไม่เหลือ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย ด้วยประการทั้ง ปวง เป็น นิพพาน.


443-2
ผู้รู้ทั้งหลาย
ย่อมกล่าวนิพพานว่าเป็นธรรมยอดยิ่ง.


444
นิพพานธาตุ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่พระองค์ทรงเรียกอยู่ว่า ธรรมเป็นที่กำจัดราคะเป็นที่กำจัดโทสะเป็นที่กำจัดโมหะดังนี้, คำว่า ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ, เป็นที่กำจัดโทสะ เป็นที่กำจัดโมหะนี้ เป็นคำที่ใช้เรียกแทนชื่อของอะไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! คำว่า “ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ (ราควินโย) เป็นที่กำจัดโทสะ เป็นที่กำจัดโมหะ” นี้ เป็นคำที่ใช้เรียกแทนชื่อของ นิพพานธาตุ เรียกว่าเป็นธรรมที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แล.


445
ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด


ภิกษุ ท. ! นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง, สองอย่างเหล่าไหนเล่า ? สองอย่างคือ สอุปาทิเสส นิพพานธาตุ และ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.


445-1
ก. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


ภิกษุ ท. ! สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. !ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่อง ผูกติดให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

อินทรีย์ห้าของเธอยังตั้งอยู่
เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกกำจัด เธอย่อมเสวยอารมณ์ อันเป็นที่ชอบใจบ้าง ไม่เป็นที่ชอบใจบ้าง ให้รู้สึกสุขและทุกข์บ้าง.

ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของเธอ อันใด ภิกษุ ท.! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ.


445-2
ข. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


ภิกษุ ท. ! ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. !ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่อง ผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลายทั้งปวงของเธอ อันเธอไม่เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็นในโลกนี้เอง.

ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.


446
(คาถาผนวกท้ายพระสูตรนี้ มีว่า)

นิพพานธาตุ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ได้ประกาศไว้ แล้ว มีอยู่ ๒ อย่าง เหล่านี้คือนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง (มี) เพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ เป็นไปใน ทิฎฐธรรมนี้ (อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา) ยังมีอุปาทิเหลือ และนิพพาน-ธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) ไม่มีอุปาทิเหลือ เป็นไปในกาลเบื้องหน้า(สมฺปรายิกา) เป็นที่ดับแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง.

บุคคลเหล่าใด รู้ทั่วถึงแล้วซึ่งนิพพานธาตุสองอย่างนั่นอันเป็นอสังขตบท เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นพิเศษ แล้วเพราะความสิ้นไปแห่งภว-เนตติ บุคคลเหล่านั้น ยินดีแล้ว ในความสิ้นไป (แห่งทุกข์) เพราะ การถึงทับซึ่งธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละแล้วซึ่งภพทั้งปวง ดังนี้.เนื้อความแม้นี้ เป็นเนื้อความ อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ดังนี้.

(ถ้อยคำในพากย์บาลี มีดังต่อไปนี้ )
เทฺว อิมา จกฺขุมตา ปกาสิตา
นิพฺพานธาตู อนิสฺสิเตน ตาทินา
เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา
สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา
อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา
ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโส.
เย เอตทญฺญาย ปทํ อสงฺขตํ
วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา
เต ธมฺมสาราธิคมกฺขเย รตา
ปหํสุ เต สพฺพภวานิ ตาทิโนติ.

(นิพพานธาตุทั้งสองอย่างนี้ เป็นนิพพานธาตุสำหรับพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ทั้งสองชนิด หากแต่ผู้บรรลุนิพพานธาตุชนิดสอุปาทิเสสะนั้น ระบบแห่งความรู้สึก ทางอินทรีย์ห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของท่าน ยังไม่ถูกกำจัดโดยสิ้นเชิง ด้วยอำนาจ นิพพานธาตุนั้น ความเคยชินในความรู้สึก ต่ออารมณ์สำหรับจะรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ยังเหลืออยู่ จึงเรียกว่า สอุปาทิเสสะ - มีอุปาทิ เหลืออยู่ นั่นคือดังข้อความข้อ ก. ส่วนพระอรหันต์จำพวกหลังนั้นความเคยชิ ในความรู้สึกต่อ อารมณ์ของอินทรีย์ทั้งห้า ถูกนิพพานธาตุอย่างที่สองกำจัดแล้วสิ้นเชิง

เวทนาของท่านจึงเย็นสนิท ไม่รู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จึงเรียกว่า อนุปาทิเสสะ - ไม่มีอุปาทิ เหลืออยู่ ดังข้อความที่กล่าวแล้วในข้อ ข. หาใช้ต้องทำลายขันธ์ถึงมรณภาพไปไม่ เพราะบาลีมีอยู่ อย่างชัดเจนว่า เวทนาเหล่านั้นดับเย็น

(คือไม่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์) ในอัตภาพนี้หรือในโลกนี้เอง.การที่มีผู้เข้าใจไปว่า นิพพานธาตุ อย่างแรก เป็นของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ และนิพพานธาตุ อย่างหลังเป็นของ พระอรหันต์ ผู้ถึงแก่มรณภาพแล้วดังนี้นั้น คงจะเนื่องจากความ เข้าใจผิดต่อคำบาลีสองคำ ในคาถาผนวก ท้ายสูตรนั่นเอง คือคำว่า สมฺปรายิกา ซึ่งแปลกันว่าโลกหน้าหรือต่อตายแล้วซึ่งที่แท้แปลว่า ในเวลาถัด ๆ ไป ก็ได้ ส่วนคำว่า ทิฏฐธมฺมิกามีความหมายว่า ทันทีทันใดที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องระบุว่าในชาตินี้ภพนี้เสมอไป.

ผู้รวบรวมมีความเห็นว่า นิพพานธาตุ ทั้งสองอย่างนี้ มีสำหรับพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยกัน ทั้งนั้น ต่างกันเพียงแต่ว่า พวกแรกนั้น อินทรีย์ยังรู้สึกต่อสุขและทุกข์ แม้จะไม่มีความยึดถือ ในเวทนานั้น ส่วนพวกหลังนั้นไม่มีความ รู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ จึงกล่าวว่าเวทนาเป็นของเย็น ในอัตภาพนี้ หรือในโลกนี้. ข้อนี้จะยุติ เป็นอย่างไร ผู้ศึกษาจงพิจารณาดูเองเถิด).

448
อสังขตลักษณะ
๓ อย่าง

ภิกษุ ท. ! สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม อย่าง เหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ
๑.
มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
๒.
มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ)
๓.
เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํปญฺญายติ).

ภิกษุ ท. ! สามอย่างเหล่านี้แล คือสังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม.
ภิกษุ ท. ! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

สามอย่างอย่างไรเล่า ?
สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
๒.
ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
๓.
เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํปญฺญายติ).

ภิกษุ ท. ! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.


448-1
ความดับเย็นของเวทนามีได้
แม้ในทิฏฐธรรมนี้

วัปปะ! เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหาร-ธรรม๑ ทั้งหลาย ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็น
……………………………………………………………………………………………..

๑. สตตวิหารธรรม ในที่นี้ หมายความว่า มีสติสัมปชัญญะติดต่อกันไป ในการสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่เกิดยินดียินร้ายขึ้นมาได้ อย่างติดต่อกัน ไม่มีเวลาเผลอ. เมื่อมีสติควบคุมสิ่ง ทั้งหก นี้ไว้ได้ อย่างติดต่อกันเช่นนี้การเป็นอยู่อย่างนี้ ก็เรียกได้ว่า “สตตวิหารธรรม ๖ ประการ”.
……………………………………………………………………………………………..
รูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วย โสตะแล้ว ... รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... ถูกต้องสัมผัสผิวหนัง ด้วยผิวกายแล้ว .... รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุด รอบอยู่ เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด รอบอยู่ เธอย่อมรู้ชัดว่า“เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตภาพ นี้๑ นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกายดังนี้.

วัปปะ ! เปรียบเหมือนเงาย่อมปรากฏเพราะอาศัยเสาสดมภ์ (ถูณะ). ลำดับนั้น บุรุษถือเอามาซึ่งจอบ และตะกร้า เขาตัดซึ่งเสานั้นที่โคน ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุด ครั้นขุดแล้ว พึงรื้อซึ่งรากทั้งหลาย ไม่ให้เหลือแม้ที่สุดสักแต่ว่าเท่าต้นแฝก.

บุรุษนั้น พึงตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดซึ่งเสานั้นให้ เป็นท่อนน้อย ท่อนใหญ่ แล้ว พึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว พึงจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ ครั้นจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลม และแดด ครั้นผึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว พึงเผาด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงทำให้เป็นผง เถ้าถ่าน ครั้นทำให้เป็นผงเถ้าถ่านแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไป ในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ.

วัปปะ! เงาอันใดที่อาศัยเสาสดมภ์ เงาอันนั้นย่อมถึงซึ่งความมีมูลเหตุอันขาดแล้ว ถูกกระทำให้ เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน กระทำให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา นี้ฉันใด
…………………………………………………………………………………………
๑. การดับเย็นแห่งเวทนาในอัตภาพนี้ มีอธิบายอีกในหัวข้อว่า “การไม่เกิดอนุสัยสามเมื่อเสวยเวทนาสามแล้วดับเย็น”ที่หน้า ๗๘๗ แห่งหนังสือนี้.
…………………………………………………………………………………………
วัปปะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม ท. ๖ ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็น ผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว... รู้สึกกลิ่น ด้วยฆานะแล้ว.... ลิ้มรส ด้วยชิวหาแล้ว .... ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยกายะแล้ว ....รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขามี สติสัมปชัญญะอยู่.

ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกาย เป็นที่สุดรอบอยู่ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนา มีกายเป็นที่สุด รอบอยู่ เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิต เป็นที่สุด รอบอยู่;เธอย่อมรู้ชัดว่า “เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นใน อัตภาพนี้ นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย” ดังนี้.


450
นิพพานคือ วิราคธรรม


ภิกษุ ท. ! สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณเท่าใด วิราคธรรม เรากล่าวว่า เป็นยอด ของสังขตธรรม และอสังขตธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

วิราคธรรมนั้นได้แก่ ธรรมอันเป็นที่สร่างแห่งความเมา เป็นที่ขจัดความกระหาย เป็นที่ถอน ความ อาลัย, เป็นที่ตัดวัฏฏะ (วน) เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายความกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส นี่แลคือ นิพพาน.


451
ไวพจน์ของนิพพาน (
๓๒ คำ)

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น ภิกษุ ท. ! นิพพาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิพพาน

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อสังขตะ (สิ่งที่ไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง)แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อสังขตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อสังขตะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนตะ (สิ่งซึ่งอะไร ๆ น้อมไปไม่ได้)แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อนตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนตะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนาสวะ (สิ่งที่ไม่มีอาสวะ)แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อนาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนาสวะ

ภิกษุ ท.! เราจักแสดงซึ่ง สัจจะ (ของจริง) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! สัจจะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สัจจะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปาระ (ฝั่งนอก) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! ปาระ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปาระ.

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิปุณะ (ของละเอียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! นิปุณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปุณะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สุทุททสะ (ของเห็นได้ยากอย่างยิ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! สุทุททสะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทุททสะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อชัชชระ (ของที่ไม่คร่ำคร่า) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น
ภิกษุ ท. ! อชัชชระ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อชัชชระ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ธุวะ (ของยั่งยืน) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! ธุวะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ธุวะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อปโลกินะ (เป้าที่หมาย)แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อปโลกินะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อปโลกินะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนิทัสสนะ (สิ่งที่ไม่แสดงตัว) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อนิทัสสนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนิทัสสนะ.

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง นิปปปัญจะ (สิ่งที่ไม่ถ่วงไว้ในโลกนี้) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! นิปปปัญจะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปปปัญจะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สันตะ (สิ่งสงบระงับ) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! สันตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สันตะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อมตะ (สิ่งไม่ตาย) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อมตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อมตะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปณีตะ (สิ่งประณีต) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! ปณีตะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปณีตะ.

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สิวะ (สิ่งที่เย็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! สิวะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สิวะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง เขมะ (ที่เกษม) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! เขมะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า เขมะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ตัณหักขยะ (ที่สิ้นตัณหา) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! ตัณหักขยะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตัณหักขยะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัจฉริยะ (สิ่งน่าอัศจรรย์) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อัจฉริยะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัจฉริยะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัพภุตะ (สิ่งที่ไม่มีไม่เป็น) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อัพภุตะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัพภุตะ.

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกะ (สิ่งที่ไม่มีเสนียด) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อนีติกะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนีติกะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนีติกธัมมะ (ธรรมที่ไม่เสนียด)แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อนีติกธัมมะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนีติกธัมมะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อัพ๎ยาปัชฌะ (สิ่งที่ไม่เบียดเบียนสัตว์) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อัพ๎ยาปัชฌะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัพ๎ยาปัชฌะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง วิราคะ (ที่คลายกำหนัด) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! วิราคะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า วิราคะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สุทธิ (สิ่งบริสุทธิ์) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! สุทธิ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทธิ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง มุตติ (ความพ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! มุตติ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า มุตติ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนาลยะ (สิ่งที่ไม่เป็นอาลัย) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! อนาลยะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนาลยะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ทีปะ (เกาะที่พ้นน้ำ) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! ทีปะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ,อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ทีปะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง เลณะ (ที่ซ่อน)แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! เลณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า เลณะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ตาณะ (ที่ป้องกัน) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! ตาณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตาณะ

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง สรณะ (ที่พึ่ง) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! สรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สรณะ.

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง ปรายนะ (ที่สุดทาง) แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความ ข้อนั้น.
ภิกษุ ท. ! ปรายนะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปรายนะ


462
นิพพานอธิวจนะ


[คำว่า “นิพพาน” ในข้อความในสูตรอื่น ๆ เป็นอันมาก ได้ทรงแสดงไว้ด้วยอธิวจนะ คือคำแทนชื่อ ต่าง ๆ กัน และมีเรื่องที่จะพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างเดียวกัน คือทรงแสดงไว้ด้วยคำว่า
อสังขตะ (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้)
อนตะ (ธรรมที่ไม่น้อมไปในสิ่งใด หรือสิ่งใดน้อมไปไม่ได้)
อนาสวะ (ไม่มีอาสวะอันเป็นสิ่งเศร้าหมองโดยประการทั้งปวง)
สัจจะ
(ของจริงเพียงสิ่งเดียว ไม่มีสิ่งที่สองเทียบ)
ปาระ (ฝั่งนอกที่กิเลสและทุกข์ตามไปไม่ถึง)
นิปุณะ (สิ่งละเอียดอ่อนสำหรับการศึกษาและปฏิบัติ ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า)
สุทุททสะ (อันผู้ไม่สิ้นอาสวะเห็นได้ยากที่สุด)
อชัชชระ (ไม่มีความคร่ำคร่าลงโดยประการทั้งปวง)
ธุวะ (ยั่งยืนมั่นคงไม่แปรผัน)
อปโลกินะ (เป็นที่จ้องมองแห่งสัตว์เพื่อการบรรลุถึง)
อนิทัสสนะ (ไม่มีการแสดงออกทางวัตถุ หรือทางตา; ผู้อื่นพลอยเห็นด้วยไม่ได้)
นิปปปัญจะ (ไม่มีเครื่องกีดกั้นให้เนินช้าเพราะว่างจากกิเลส)
สันตะ (สงบระงับจากการปรุงแต่งเสียดแทงเผาลน)
อมตะ (ไม่ตายเพราะไม่มีการเกิด เพราะไม่อยู่ในอำนาจเหตุปัจจัย)
ปณีตะ (ประณีตละเอียด เพราะพ้นไปจากความเป็นรูปธรรมและนามธรรม)
สิวะ (สงบเย็นเพราะไม่มีไฟกิเลสและไฟทุกข์)
เขมะ (เกษมจากสิ่งรบกวนทุกชนิด)
ตัณหักขยะ (เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา หรือภาวะสิ้นสุดแห่งตัณหา)
อัจฉริยะ (น่าอัศจรรย์ ไม่มีสิ่งใดน่าอัศจรรย์เท่า)
อัพภุตะ (สิ่งที่ไม่มีไม่เป็นควรนำมาบอกกล่าวในฐานะสิ่งที่ไม่เคยบอกกล่าว)
อนีติกะ (ไม่มีเสนียดจัญไร เพราะพ้นดีพ้นชั่ว)
อนีติกธัมมะ (มีปกติภาวะไม่มีเสนียดจัญไรเป็นธรรมดา)
อัพ๎ยาปัชฌะ (ไม่มีความเบียดเบียนเป็นสภาวะ)
วิราคะ (ไม่มีความย้อมติดในสิ่งใด มีแต่จะทำให้คลายออก)
สุทธิ (บริสุทธิ์หมดจด เพราะไม่มีที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง)
มุตติ (เป็นความปล่อยความหลุดจากความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน)
อนาลยะ (ไม่เป็นที่ตั้งที่อาศัยแห่งกิเลสและความทุกข์)
ทีปะ (เป็นดวงประทีปที่พึ่งของสัตว์ผู้ตกจมอยู่ในความมืดคืออวิชชา)
เลณะ (เป็นเสมือนที่หลบซ่อนจากภัยของสัตว์ผู้หนีภัย)
ตาณะ (เป็นเสมือนที่ต้านทานของสัตว์ผู้แสวงหาที่ต้านทานข้าศึกศัตรู)
สรณะ (เป็นที่แล่นไปสู่แห่งจิตที่รู้สึกว่ามีภัยต้องการที่พึ่ง)
ปรายนะ (เป็นเป้าหมายในเบื้องหน้าแห่งสัตว์ผู้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ).

คำแทนชื่อกันและกันชนิดนี้ ในบาลีท่านเรียกว่า อธิวจนะ ในที่นี้เป็นอธิวจนะของคำว่า นิพพาน ].


464
ยาถ่ายและยาสำรอกความเกิด - แก่ – ตาย

ภิกษุ ท. ! แพทย์ทั้งหลาย ย่อมให้ยาถ่ายเพื่อกำจัดโรค ที่มีดีเป็นสมุฏฐานบ้าง ที่มีเสมหะเป็น สมุฏฐานบ้าง ที่มีลมเป็น สมุฏฐานบ้าง.

ภิกษุ ท. !เรากล่าวว่า ยาถ่ายชนิดนั้น มีอยู่ มิใช่ไม่มี แต่ว่ายาถ่ายชนิดนั้น บางทีก็มีผล บางทีก็ไม่มีผล.

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง ยาถ่ายอันเป็นอริยะ (อริยวิเรจน) อันเป็นยาถ่ายมีผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะไม่ให้ผล อันเป็นยาถ่ายซึ่งอาศัยแล้วสัตว์ ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา จะพ้นจากความเกิด ที่มีความแก่เป็นธรรมดา จะพ้นจากความแก่ ที่มีความตายเป็นธรรมดาจะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มี โสกะ ปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เป็นธรรมดาจะพ้น จากโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย. พวกเธอจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.

ภิกษุ ท. ! ยาถ่ายอันเป็นอริยะ อันให้ผลโดยส่วนเดียว ไม่มีเสียผลเลย อันสัตว์อาศัยแล้ว จักพ้นจากชาติ ฯลฯ ได้นั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! มิจฉาทิฏฐิ อัน สัมมาทิฏฐิกบุคคลระบาย ออกได้แล้ว กล่าวคือ บาปอกุศลธรรม เป็นอเนกเกิดขึ้นเพราะ มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเหล่าใดบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เขาระบาย ออกได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกที่มี สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

ภิกษุ ท. !  มิจฉาสังกัปปะ อันผู้มี สัมมาสังกปปะ ระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. !  มิจฉาวาจา อันผู้มี สัมมาวาจา ระบายออกได้แล้ว.... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. !  มิจฉากัมมันตะ อันผู้มี สัมมากมมันตะ ระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. !   มิจฉาอาชีวะ อันผู้มี สัมมาอาชีวะ ระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. !  มิจฉาวายามะ อันผู้มี สัมมาวายามะ ระบายออกได้แล้ว ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. !  มิจฉาสติ  อันผู้มี สัมมาสติ ระบายออกได้แล้ว .... ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. !  มิจฉาสมาธิ อันผู้มี สัมมาสมาธิ ระบายออกได้แล้ว ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. !  มิจฉาญาณะ อันผู้มี มาญาณะ ระบายออกได้แล้ว ฯลฯ ....
ภิกษุ ท. ! มิจฉาวิมุตติ อัน ผู้มีสัมมาวิมุตติระบายออก ได้แล้ว

กล่าวคือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเกิดขึ้น เพราะมิจฉาวิมุตติ เป็นปัจจัยเหล่าใด บาปอกุศลธรรม เหล่านั้น เป็นสิ่งที่ เขาระบายออกได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ที่มีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญบริบรณ์.

ภิกษุ ท. ! นี้แล ยาถ่ายอันเป็นอริยะ (รวม ๑๐ ประการ) อันเป็นยาถ่ายมีผลโดยส่วนเดียว ไม่มีที่จะ ไม่ให้ผล อันเป็นยา ถ่ายซึ่ง อาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาจะพ้นจากความเกิด ที่มีความแก่เป็นธรรมดาจะพ้นจากความแก่ ที่มีความ ตายเป็นธรรมดาจะพ้นจากความตาย สัตว์ที่มีโสกะปริเทวะ-ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายเป็นธรรมดา จะพ้นจากโสกะ ปริเทวะทุกขะ โทม-นัสอุปายาสทั้งหลาย.

[ ธรรมสิบประการ ซึ่งในสูตรข้างบนนี้ตรัสเรียกว่า ยาถ่าย (วิเรจนํ) ส่วนในสูตรถัดไปทรงเรียกว่า ยาสำรอกให้อาเจียน (วมนํ) มีข้อความเหมือนกันทุกประการ.

ในสูตรถัดไปอีก ตรัสเรียกธรรมสิบประการนั้น ว่า มนต์เครื่องปัดเป่า (นิทฺธมนํ)สามารถปัดเป่า บาปอกุศลให้สิ้นไป และให้ธรรมที่เป็นกุศลถึงพร้อม แต่ไม่มีกล่าวถึงกับว่า สัตว์ที่มีความเกิดเป็น ธรรมดา จะพ้นจากความเกิด เป็นต้น ผู้ทำการเสกเป่าพึงพิจารณาดูเถิด.

ในสูตรอื่นอีก (๒๔/๒๓๑/๑๐๗) ตรัสเรียกธรรมสิบประการ ในข้อความข้างบนนี้ว่า นํ้าชำระกระดูก ให้บริสุทธ์ิ (โธวนํ) ตามประเพณีชาวบ้านที่เขาทำกันอยู่อย่างเป็นพิธีรีตองมาแต่โบราณ แต่น้ำ ชำระที่เป็นอริยะนี้สามารถ ชำระบาปอกุศล ให้สิ้นไป ทำกุศลให้ถึงพร้อม และเป็นไปเพื่อรู้ยิ่งรู้พร้อม เพื่อนิพพาน และเมื่อสัตว์อาศัยแล้ว สัตว์ที่มีความเกิดเป็นธรรมดา จะพ้นจาก ความเกิดเป็นต้น].


466
ธรรมเป็นเครื่องถอนอัส๎มิมานะในปัจจุบัน


ภิกษุ ท. ! นี้เป็ นสิ่งที่หวังได้ สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี (กลฺยาณมิตฺต)มีสหายดี (กลฺยาณสหาย) มีพวกพ้องดี (กลฺยาณสมฺปวงฺก)คือ จักเป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย มารยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัย ในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาใน สิกขาบท ทั้งหลายอยู่

ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี กล่าวคือ กถาเป็นเครื่อง ขูดเกลาอย่างยิ่ง เป็นธรรมเครื่องสบายแก่การเปิดโล่งแห่งจิต ได้แก่อัปปิจฉกถา (เรื่องปรารถนาน้อย) สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ) ปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา (เรื่องมีความเพียร) สีลกถา(เรื่องศีล) สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา (เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) วิมุตติ-ญาณทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณ ทัสสนะ) เธอ จักเป็ นผู้ได้โดยง่าย ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก ซึ่งกถาเช่นนี้;

(เรื่องควรดูประกอบเกี่ยวกับวิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะในปฏิจจ.โอ.หน้า ๖๑๖, ๖๓๕),

ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี กล่าวคือ จักเป็นผู้มี ความเพียร อันปรารภแล้ว เพื่อการละซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อการถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม ทั้งหลาย มีกำลัง (จิต) มีความบาก บั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

ภิกษุ ท. ! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี กล่าวคือ จักเป็นผู้มี ปัญญา ประกอบด้วย ปัญญาเครื่องให้รู้ซึ่งความเกิดและความดับ (อุทยตฺถคามินี) อันเป็น ปัญญา ที่เป็นอริยะ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ให้ถึงซึ่งสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมห้าประการ๑ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ เจริญ อสุภะ เพื่อ ละ ราคะ
เจริญ เมตตา เพื่อ ละ พยาบาท
เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่ง วิตก
เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อ ถอน อัส๎มิมานะ.

ภิกษุ ท. !
เมื่อภิกษุมีอนิจจสัญญา อนัตตสัญญา ย่อมตั้งมั่น ผู้มีอนัตต-สัญญา ย่อมถึงการถอนเสียได้ ซึ่งอัส๎มิมานะ คือ นิพพาน ในทิฏฐธรรมเทียว.

 (เมื่ออ่านข้อความตอนนี้ ผู้ศึกษาพึงระลึกถึงคำที่ตรัสว่า “ความมีมิตรดีเป็นทั้งหมดแห่ง พรหมจรรย์” ว่าเป็นไปได้อย่างไร และดูเรื่องประกอบในอริย.โอ.ปลาย หน้า ๑๔๔๓ แสดง ความหมายเชิงลึกของกัลยาณมิตรคือมีมรรค ๘ เป็นกัลยาณมิตร


468
สมาธิที่มีผลเป็นความไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย

(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๖๐๘, ๖๗๙)

พระอานนท์ ได้ทูลถามว่ามีอยู่หรือหนอ พระเจ้าข้า ! การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่มีผล คือไม่มี อหังการะมมังการะมานานุสัย ในกายอันมีวิญญาณนี้ด้วย, ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ในนิมิต ทั้งปวงในภายนอกด้วย, และเธอนั้นเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มี อหังการะมมังการะมานานุสัย ด้วย, พระเจ้าข้า !”

อานนท์! สมาธิที่ภิกษุได้แล้วมีผลเป็นอย่างนั้น มีอยู่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สมาธิที่ภิกษุได้แล้วมีผลเป็นอย่างนั้น มีอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?พระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! ความเพ่งเฉพาะของภิกษุในกรณีนี้ มีอยู่อย่างนี้ว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติเป็น ที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็น ที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็ นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน (เย็น)” ดังนี้.

อานนท์! อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิชนิดที่มีผล คือ ไม่มีอหัง-การะมมังการะมานานุสัย ในกาย อันมีวิญญาณนี้ ด้วย ไม่มีอหังการะมมังการะ-มานานุสัย ในนิมิตทั้งปวงในภายนอกด้วย, และเธอ นั้นเข้าถึงแล้วแลอยู่ ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย ด้วย.

อานนท์! ข้อนี้เรากล่าวอาศัยคำกล่าว ในการตอบปัญหาแก่ปุณณก-มาณพ ในปารายนสมาคม ว่า
ท่านผู้ใด พิจารณาเห็นแล้ว ซึ่งสภาพยิ่งและหย่อน ในโลก (ว่าเป็นของว่างเสมอกัน) ไม่มีความหวั่นไหวไปใน อารมณ์ไหน ในโลกเลยเป็นผู้รำงับสงบแล้ว ไม่มีกิเลสฟุ้ง
กลุ้มเหมือนควัน ไม่มีความทุกข์ความคับแค้นแล้ว เป็นผู้ไม่ หวังอะไรแล้ว เราตถาคต กล่าวผู้นั้น ว่าเป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่ง ความเกิดและความแก่” ดังนี้แล.

(ข้อความแห่งคาถาข้างบนนี้ คือความหมายแห่งคำว่า “ไม่มีอหังการะมมังการะมานานุสัย).


470
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง


ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษเสมอด้วยโทสะไม่มี ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ไม่มี สุขอื่นนอกจาก ความสงบ (นิพพาน) ก็ไม่มี. ความหิว เป็นเครื่องเสียบแทงอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ อย่างยิ่ง เมื่อรู้ความข้อนั้น ตามที่เป็นจริงแล้ว ดับเสียได้เป็นสุขอย่างยิ่ง. ความไม่มีโรค เป็นลาภ อย่างยิ่ง ความสันโดษ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง ความคุ้นเคยกัน เป็นญาติอย่างยิ่ง นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง.


470-1
นิพพานเห็นได้ยากยิ่ง


ขึ้นชื่อว่า นิพพาน อันบุคคลเห็นได้ยาก ไม่มีตัณหาเครื่องน้อมไป. เพราะว่านิพพานนั้น เป็น ธรรมชาติจริงแท้ อันบุคคล เห็นไม่ได้ง่ายเลย. ตัณหา อันเราแทงตลอดแล้ว เพราะเรารู้อยู่เห็นอยู่ จึงไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ดังนี้แล.


470-2
พอนิพพานธรรมปรากฏก็หมดสงสัย


เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของ ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาปนั้น ย่อมสิ้นไป โดยที่รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งธรรม พร้อมทั้งเหตุ แล.

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของ ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาปนั้น ย่อมสิ้นไป โดยที่รู้แจ้งชัดแล้วซึ่งความสิ้นไป แห่งปัจจัยทั้งหลาย แล.

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏ แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาป ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสอยู่ เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติเพื่อหมดบาปย่อม กำจัดมารและเสนามารเสียได้ ตั้งอยู่ ดุจดวงอาทิตย์อุทัยกำจัดมืด ส่องอากาศให้สว่าง ฉะนั้นแล.



471
นิพพานเป็
นที่มุ่งแสวงของผู้มองเห็นโทษในโลก

ภิกษุ ท.! การแสวงหาอย่างประเสริฐ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตนเองมี ความเกิด เป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความเกิดเป็นธรรมดา แล้วย่อม แสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่เกิด อันเป็นธรรมเกษม จากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.

เมื่อตนเองมี ความแก่ เป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความแก่เป็นธรรมดา แล้วย่อม แสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่แก่ อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.

เมื่อตนเองมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา แล้วย่อม แสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่มีความเจ็บไข้ อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.

เมื่อตนเองมีความตายเป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อ ที่ตนมีความตายเป็นธรรมดา แล้วย่อม แสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่มีความตาย อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.

เมื่อตนเองมีความโศกเป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความโศกเป็นธรรมดา แล้วย่อม แสวงหาซึ่งนิพพาน อันไม่มีความโศก อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.

เมื่อตนเองมีความเศร้าหมองรอบด้านเป็นธรรมดา ก็รู้แจ้งซึ่งโทษในข้อที่ตนมีความ เศร้าหมอง รอบด้านเป็นธรรมดา แล้วย่อมแสวงหาซึ่งนิพพานอันไม่มีความเศร้าหมองรอบด้าน อันเป็นธรรม เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งกว่า.

ภิกษุ ท. ! แม้นี้ชื่อว่าเป็นการแสวงหาอย่างประเสริฐ แล.


472
เพราะมีสิ่งที่ไม่ตาย
สิ่งที่ตายจึงมีทางออก

ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งมิได้เกิด (อชาตํ) มิได้เป็น (อภูตํ) มิได้ถูกอะไรทำ (อกตํ) มิได้ถูกอะไรปรุง (อสงฺขตํ) นั้นมีอยู่.

ภิกษุ ท. ! ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้ การรอดออกไปได้ สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็นที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏ.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำมิได้ถูกอะไรปรุง นั่นเอง การรอด ออกไปได้สำหรับ สิ่งที่เกิด ที่เป็น ที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง จึงได้ปรากฏอยู่. (ต่อไปนี้เป็นคำ อธิบายที่ตรัสไว้เป็นคาถา)

ใครๆ ไม่ควรเพลิดเพลิน ต่อสิ่งซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว อัน ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังโรค เป็นของผุพัง มีอาหารและเนตติ (ตัณหา) เป็นแดนเกิด.

ส่วนการออกไปเสียได้จากสิ่ง (ซึ่งเกิดแล้วเป็นต้น) นั้นเป็นธรรมชาติอันสงบ ไม่เป็นวิสัยแห่งความ ตรึก เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เป็นที่ควรไปถึงเป็นที่ดับแห่งสิ่ง ที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา เป็นความเข้า ไปสงบรำงับแห่งสังขารเป็นสุข ดังนี้.


473
ไม่ถึงนิพพาน
เพราะพลัดออกนอกทางจนหลงทาง

ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ ทุก รูป ได้บรรลุ นิพพานอันเป็นผลสำเร็จ ถึงที่สุดอย่างยิ่งหรือ ? หรือว่าไม่ได้บรรลุ ?” พราหมณ์ผู้หนึ่งทูลถามพระผู้ มีพระภาค.

พราหมณ์! สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพาน อันเป็น ผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ.

พระโคดมผู้เจริญ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่พระนิพพานก็ยังตั้งอยู่, หนทางที่ยัง สัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ พระโคดมผู้ชักชวน (เพื่อดำเนินไป) ก็ยังตั้งอยู่ ทำไมน้อยพวก ที่บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ ?”

พราหมณ์! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านจงตอบตามควร. ท่านเป็นผู้ช่ำชองในหนทาง ไปสู่ เมืองราชคฤห์มิใช่หรือ? มีบุรุษผู้จะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหาและกล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่าน จงชี้ บอกทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าเถิด”. ดังนี้

ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า “มาซิท่าน ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่ง จักพบบ้านชื่อโน้น แล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวนและป่าอันน่าสนุกจักเห็น ภูมิภาคอันน่าสนุก สระโบกขรณี อันน่าสนุก ของเมืองราชคฤห์” ดังนี้.

บุรุษนั้นอันท่านพร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลังตรงกันข้ามไป ส่วนบุรุษ อีกคนหนึ่ง (อันท่านพร่ำ บอกพร่ำชี้อย่างเดียวกัน) ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี.

พราหมณ์เอย! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่เมือง ราชคฤห์ก็ยังตั้งอยู่ ท่านผู้ชี้บอกก็ยัง ตั้งอยู่ แต่ทำไม บุรุษผู้หนึ่งกลับหลงผิดทาง. ส่วนบุรุษอีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ ได้โดยสวัสดี?

พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า, เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่เพียงผู้บอก ทางเท่านั้น

พราหมณ์! ฉันใดก็ฉันนั้นแล ที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ ทางเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน ก็ยังคงตั้งอยู่ เราผู้ชักชวนก็ยัง ตั้งอยู่ แต่สาวกแม้เรากล่าวสอนพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวก ที่ได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง บางพวกไม่ได้บรรลุ. พราหมณ์! ในเรื่องนี้ เราจักทำอย่างไร ได้เล่า เพราะเราเป็นแต่ผู้บอกทางเท่านั้น.


475
นิพพานของคนตาบอด (
มิจฉาทิฏฐิ)

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแต่ก่อน คือข้อที่พระสมณโคดมได้กล่าว คำนี้ ว่า ‘ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง’ ดังนี้.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! ข้าพเจ้าก็ได้เคยฟังคำกล่าวนี้ ของปริพพาชกผู้เป็น อาจารย์ แห่งอาจารย์ ในกาลก่อน กล่าวอยู่ว่า ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้ด้วยเหมือนกัน. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้อนี้ช่างตรงกันแท้”.

มาคัณฑิยะ! ข้อนี้ท่านฟังมาแต่ปริพพาชกผู้เป็นอาจารย์แห่งอาจารย์ในกาลก่อน ที่กล่าวอยู่ว่า “ลาภทั้งหลาย มีความ ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง” ดังนี้นั้น อะไรเล่าคือความ ไม่มีโรคนั้น อะไรเล่าคือนิพพานนั้น ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพพาชก ได้ลูบร่างกายของตนด้วยฝ่ามือ แล้วร้อง ขึ้นว่า “ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ! นี่ยังไงล่ะ ความไม่มีโรค ! นี่ยังไงล่ะนิพพาน !พระโคดมผู้เจริญ ! เวลานี้ ข้าพเจ้าเป็นสุข ไม่มีโรค ไม่มีอาพาธไร ๆ”.

มาคัณฑิยะ ! ข้อนี้เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่อาจเห็นรูปดำขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีส้ม ไม่อาจเห็นที่ขรุขระไม่อาจเห็นดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์.

เขาได้ยินคนตาดีกล่าวอยู่ว่าท่านผู้เจริญ ! ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ”.

บุรุษตาบอดนั้นก็เที่ยวแสวงหาผ้าขาว. บุรุษคนหนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเก่าเปื้อนเขม่าน้ำมันว่า “บุรุษผู้เจริญ ! นี้ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนัก สำหรับท่าน”. บุรุษตาบอดนั้น รับผ้านั้น ไปห่ม แล้วเที่ยวประกาศความพอใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! นี่ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ” ดังนี้.

มาคัณฑิยะ !ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นรู้อยู่เห็นอยู่ แล้วรับเอา ผ้าเก่าเปื้อนเขม่าน้ำมันไปห่ม แล้วเที่ยวคุยอวดอยู่ว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ! นี่ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ” ดังนี้หรือ ? หรือว่าเขากล่าวเช่นนั้นเพราะเชื่อคนตาดีที่ลวงเขา ?

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เขากล่าวเช่นนั้น เพราะเชื่อคนตาดีที่ลวงเขาเท่านั้น

มาคัณฑิยะ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่นเป็นคนบอดไม่มีจักษุ ไม่รู้จักความ ไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน ก็ยังมากล่าวคำนี้ว่า“ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง” ดังนี้.

มาคัณฑิยะ! คาถานี้ เป็นคาถาที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวกันแล้วในกาลก่อน ว่า

ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งอัฎฐังคิกมรรค เป็นทางอันเกษมกว่าทาง ทั้งหลายซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงอมตะ

ดังนี้นั้น บัดนี้ ได้มากลายเป็นคาถาของบุถุชนกล่าวไปเสียแล้ว.

มาคัณฑิยะ ! กายนี้นะหรือ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ ท่านก็มา กล่าวมันว่าเป็นความ ไม่มีโรค เป็นนิพพาน.

มาคัณฑิยะเอ๋ย ! อริยจักษุสำหรับจะรู้จักความไม่มีโรค จะเห็นนิพพาน ของท่าน ไม่มี.

(ปริพพาชกผู้นี้ สำคัญตัวเขาเองว่า เป็นความไม่มีโรคเป็นนิพพาน ดังนั้นจึงต้องเรียกว่านิพพาน ของคนตาบอด เช่นเดียวกับคนตาบอดในอุปมานี้ สำคัญผ้าสกปรกว่าเป็นผ้าขาว)


477
ไม่นิพพานเพราะยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิปทาอันเป็นที่สบายแก่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ) อย่างนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่ง อุเบกขาว่า ถ้าไม่ควรมี และไม่พึง มีแก่เรา, ก็ต้องไม่มีแก่เรา สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว เราจะละสิ่งนั้น เสียดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ภิกษุนั้นควรจะปรินิพพานหรือ? หรือว่าไม่ควรจะปรินิพพานเล่า? พระเจ้าข้า !”

อานนท์! ภิกษุในกรณีเช่นที่กล่าวนี้ บางรูปจะปรินิพพาน, แต่บางรูปจะไม่ปรินิพพาน. “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ภิกษุในกรณีเช่นที่กล่าวนี้ บางรูปจะปรินิพพาน แต่บางรูป จะไม่ปรินิพพาน เล่า ? พระเจ้าข้า !”

อานนท์! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิปทาอันเป็นที่สบายแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ) อย่างนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขาว่า“ถ้าไม่ควรมี และไม่พึงมีแก่เรา ก็ต้องไม่มีแก่เรา สิ่งใด มีอยู่, สิ่งใดมีแล้วเราจะละสิ่งนั้นเสีย” ดังนี้

ภิกษุ (บางรูป) นั้น ย่อมเพลิดเพลิน พร่ำ สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอุเบกขานั้น. เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอุเบกขานั้น วิญญาณ ของเธอ ก็เป็นธรรมชาติอาศัยอยู่ซึ่ง อุเบกขานั้น มีอุเบกขานั้นเป็ นอุปาทาน.

อานนท์ ! ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานอยู่จะปรินิพพานไม่ได้ แล.


478
การทำรถให้แล่นไปได้ถึงนิพพาน


สรีรยนต์ มีสี่ล้อ, มีประตูเก้าประตู, เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยโลภะ เกิดแล้วใน เปือกตม. ข้าแต่พระองค์ มหาวีระ ! ทำอย่างไรจักถึงฝั่งโน้นได้ ?”

ตัดความผูกโกรธดังเชือกหนัง ที่รึงรัดเสียตัดทิฏฐิดังเชือกที่ผูกล่ามเสีย ตัดความอยาก และความโลภ อันลามกเสียแล้วถอนตัณหาพร้อมทั้งราก (อวิชชา) เสีย, สรีรยนต์ก็ จะแล่น ไปถึงฝั่งโน้นด้วยการทำอย่างนี้ แล.

ถ้ายังมีเชื้อก็ยังไม่ปรินิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเล่า ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ยังไม่ ปรินิพพาน ในปัจจุบันนี้? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเล่า ที่สัตว์ทั้งหลาย บางเหล่าในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบันนี้? พระเจ้าข้า !”

คฤหบดี! รูปทั้งหลาย ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียงทั้งหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลาย ที่ดมด้วย จมูกก็ดี รสทั้งหลาย ที่ลิ้ม ด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ด อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่.

และภิกษุก็เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น วิญญาณของภิกษุนั้น ก็อาศัยซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้นอยู่ มีสิ่งนั้นแหละเป็นอุปาทาน.

คฤหบดี ! ภิกษุผู้ยังมีอุปาทานอยู่ ย่อมไม่ปรินิพพาน.

คฤหบดี ! นี่แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่สัตว์ทั้งหลายบางเหล่าในโลกนี้ ย่อมไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบันนี้.


479
ถ้าหมดเชื้อก็ปรินิพพาน


คฤหบดี! รูปทั้งหลาย ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียงทั้งหลาย ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่นทั้งหลาย ที่ดมด้วยจมูก ก็ดี รสทั้งหลาย ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะทั้งหลาย ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่า ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รักเป็น ที่เข้าไป ตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ มีอยู่ และภิกษุก็ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น วิญญาณของภิกษุนั้น ก็ไม่อาศัยซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ไม่มีสิ่งนั้น ๆ เป็นอุปาทาน.

คฤหบดี ! ภิกษุผู้หมดอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน.

คฤหบดี ! นี่แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย (ซึ่งด้วยความหมดอุปาทานนั่นแหละ) ที่สัตว์ทั้งหลาย บางเหล่า ในโลกนี้ ย่อมจัก ปรินิพพานในปัจจุบันนี้ แล.

ภิกษุ ท. ! ถ้าภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะความหน่าย เพราะคลาย กำหนัด เพราะความดับเย็น แล้ว ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ ก็เป็นการสมควรที่จะกล่าว ว่า ภิกษุเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง นิพพานในทิฏฐธรรมนี้ นั่นแล.


480
นิพพานที่เห็นได้เอง
(
เมื่อบุคคลนั้นรู้สึกต่อความสิ้นราคะ-โทสะ-โมหะ)

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! คำที่พระโคดมกล่าวว่า นิพพานที่เห็นได้เอง นิพพานที่เห็นได้เอง

พราหมณ์! บุคคลผู้กำหนัดแล้ว อันราคะครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดเพื่อ เบียดเบียน ตนเองบ้าง ย่อมคิด เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่น ทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็นไป ทางจิตบ้าง.

เมื่อละราคะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้ เพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นทั้งสองอย่าง และย่อมไม่เสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็นไปทางจิตโดยแท้.

พราหมณ์! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.

พราหมณ์! บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตอันโทสะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดแม้เพื่อ เบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมคิดแม้เพื่อเบียด-เบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียน ทั้งตนเอง และผู้อื่นทั้งสองบ้าง ย่อมเสวยเฉพาะซึ่ง ทุกขโทมนัสอันเป็นไปทางจิตบ้าง.

เมื่อละโทสะได้แล้ว
เขาย่อมไม่คิด แม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดแม้เพื่อ เบียดเบียน ผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นทั้งสองอย่าง และย่อมไม่เสวยเฉพาะ ซึ่งทุกข-โทมนัส อันเป็น ไปทางจิตโดยแท้.

พราหมณ์! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควร กล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมา ดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการ อย่างนี้แล.

พราหมณ์! บุคคลผู้มีโมหะแล้ว อันโมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันโมหะรึงรัดแล้ว ย่อมคิดแม้เพื่อ เบียดเบียน ตนเองบ้าง ย่อมคิดแม้เพื่อเบียด-เบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมคิดแม้เพื่อเบียดเบียน ทั้งตนเอง และผู้อื่นบ้าง ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็นไปทางจิตบ้าง.

เมื่อละโมหะได้แล้ว
ย่อม ไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนตนเอง ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อเบียดเบียน ตนเอง และผู้อื่นทั้งสองอย่าง และย่อมไม่เสวยเฉพาะ ซึ่งทุกขโทมนัส อันเป็นไปในทางจิต โดยแท้.

พราหมณ์! นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมา ดูเถิด เป็นสิ่งที่ควร น้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ แม้ด้วยอาการ อย่างนี้แล.

พราหมณ์ ! เมื่อใดแล ผู้นี้ ย่อมเสวยเฉพาะ ซึ่งความสิ้นไปแห่งราคะ อันหาเศษเหลือมิได้ย่อมเสวยเฉพาะซึ่ง ความสิ้นไปแห่งโทสะ อันหาเศษเหลือมิได้ย่อมเสวยเฉพาะซึ่งความ สิ้นไปแห่งโมหะ อันหาเศษเหลือมิได้

พราหมณ์เอย! เมื่อนั้น นิพพานที่เห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะ ผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


482-1
นิพพานที่เห็นได้เอง
ตามคำของพระอานนท์

(สันทิฏฐิกนิพพาน = สันทิฏฐิธรรม = ทิฏฐธรรมนิพพาน = ตทังคนิพพุโต = ตทังคนิพพาน “อาวุโส ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า สันทิฏฐิกนิพพาน สันทิฏฐิกนิพพานดังนี้.

อาวุโส
! สันทิฏฐิกนิพพานนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่าไรหนอแล ?” (พระอุทายีถามพระอานนท์, พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).

อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรมเข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อาวุโส ! สันทิฏฐิกนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.

(ในกรณีแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตน ะอากิญ จัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกัน กับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌาน ทุกประการ และในฐานะเป็นสันทิฏฐิกนิพพาน โดยปริยาย.

ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธซึ่งมีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นสันทิฏฐิกนิพพาน โดยนิปปริยาย ด้วยข้อความ ดังต่อไปนี้)

อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานา-สัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. อนึ่งเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอ นั้นก็สิ้นไป รอบ. อาวุโส !สันทิฏฐิกนิพพาน อันพระผู้มี พระภาค ตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณ เท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.

 [(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า สันทิฏฐิกนิพพาน ในที่นี่ ต้องหมายถึงความดับเย็น อันเป็นผล จากปฐมฌานที่ บุคคลนั้น รู้สึกเสวยอยู่ นั่นเอง เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ความดับเย็นอันเกิดจากปฐมฌาน โดยเฉพาะคือสมาบัติ ทุกระดับ มีชื่อเรียกว่านิพพานได้ ไม่จำเป็นจะต้อง หมาย ถึงอนุปาทิเสสนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น.)

ถ้าดูคำตรัสจากหน้า ๔๘๐-๔๘๓ จะเห็นคำว่า“สันทิฏฐิกนิพพาน” นั้นใช้ได้เหมือนคำว่า “นิโรธ” คือเป็นความดับเย็นที่ใช้ได้ทั้งระบบ สมมุติไปจนถึงวิมุตติ (มิใช่ใช้กรณีวิมุตติ อย่างเดียวหรือในมุม ประหาร กิเลสเด็ดขาดเพียงอย่างเดียว)]


485
หมด
อาหารก็นิพพาน

ภิกษุ ท. ! ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าวก็ดี ใน อาหารคือผัสสะ ก็ดี ใน อาหารคือมโน สัญเจตนา ก็ดี ใน อาหารคือวิญญาณ ก็ดี แล้วไซร้ วิญญาณก็เป็น สิ่งที่ตั้งอยู่ ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้น ๆ.

วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด, การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น การก้าวลงแห่งนามรูป ไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น ความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด การบังเกิดใน ภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น การบังเกิดใน ภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด

ภิกษุ ท. ! เราเรียก “ที่”นั้นว่าเป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศ ตะวันออก.

ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ส่งเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว จักตั้งอยู่ ที่ส่วน ไหน แห่งเรือนนั่นเล่า ?ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ จักปรากฏที่ฝาเรือน ข้างในด้านทิศตะวันตก พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏอยู่ที่ไหน ?“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่พื้นดิน พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าพื้นดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหน ? “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! แสงสว่างแห่ง ดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏในน้ำ พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าน้ำไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฏที่ไหนอีก?“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! แสงสว่าง แห่ง ดวงอาทิตย์นั้น ย่อมเป็ นสิ่งที่ไม่ปรากฏแล้วพระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหาในอาหารคือคำข้าวก็ดี ในอาหารคือ ผัสสะก็ดี ในอาหาร คือมโนญเจตนาก็ดี ในอาหารคือวิญญาณก็ดี แล้วไซร้ วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้ง อยู่ ไม่ได้เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในอาหารคือ คำข้าว เป็นต้นนั้น ๆ.

วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น การก้าวลง แห่งนามรูปไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นั้น ความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลาย ไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น การบังเกิดใน ภพใหม่ ต่อไป ไม่มีในที่ใด ชาติชราและมรณะ ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น ชาติชรามรณะ ต่อไป ไม่มีในที่ใด ภิกษุ ท.! เราเรียก “ที่” นั้น ว่า เป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และ ไม่มีความคับแค้น” ดังนี้


486
อาสวักขยญาณเป็นเครื่องให้พ้นจากอาสวะ


พราหมณ์! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ อ่อนโยน ควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ เธอนั้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี่ ทุกข์นี่ เหตุแห่งทุกข์นี่ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์นี่ ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้ เป็นอาสวะนี้ เหตุแห่งอาสวะ นี้ ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ เป็นทางให้ถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งอาสวะ”. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ.

ครั้นจิตพ้นวิเศษแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”.

พราหมณ์! วิชชาที่สามนี้ เป็นธรรมที่ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดแทนแล้ว ตามที่มันจะเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่


487
ปริญญาที่แท้จริง

ภิกษุ ท. ! ปริญญา (ความรอบรู้) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ อันใด
ภิกษุ ท.! อันนั้นแหละเราเรียกว่า ปริญญา (ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งการบรรลุนิพพานซึ่งจัดว่าเป็นความรู้อันแท้จริง) แล.


487-1
วิโมกข์
๒ ระดับ : สมยวิโมกข์ - อสมยวิโมกข์
ก. สมยวิโมกข์


ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ กุลบุตรบางคน มีศรัทธา ออกบวชจากเรือนไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิด เห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ ความตายความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความ ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ครอบงำเอาแล้ว เป็นคนตก อยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์อยู่เฉพาะหน้า แล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะปรากฏมีได้” ดังนี้.

ครั้นบวชแล้ว เธอสามารถทำลาภสักการะและเสียงเยินยอให้เกิดขึ้นได้ เธอไม่มีใจยินดี ในลาภ สักการะ และเสียง เยินยอ อันนั้น ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในลาภสักการะและเสียง เยินยอ อันนั้น เธอไม่ทะนงตัว เพราะลาภสักการะ และเสียงเยินยออันนั้น

เธอไม่เมาไม่มัวเมา ในลาภ สักการะและเสียงเยินยออันนั้น ไม่ถึงความประมาท ในลาภ สักการะ และ เสียงเยินยออันนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึงพร้อมด้วยศีล เกิดขึ้นได้ เธอมีใจ ยินดีในความถึงพร้อม ด้วยศีล อันนั้น แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้ว ในความถึง พร้อมด้วยศีลอันนั้น เธอไม่ทะนงตัว

อันนั้น ไม่ถึงความประมาทในความถึงพร้อมด้วยศีลอันนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ความถึง พร้อมด้วย สมาธิเกิดขึ้นได้ เธอมีใจยินดีในความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น แต่ไม่มีความดำริ เต็มรอบแล้วในความถึงพร้อม ด้วยสมาธิอันนั้น

เธอไม่ทะนงตัวเพราะความถึงพร้อมด้วยสมาธิอันนั้น เธอไม่เมาไม่มัวเมาในความถึงพร้อมด้วย สมาธิอันนั้น ไม่ถึงความประมาทในความถึงพร้อม ด้วย สมาธิอันนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ ญาณทัสสนะ (ปัญญาเครื่องรู้เห็น) เกิดขึ้นได้อีก

เธอมีใจยินดีในญาณทัสสนะอันนั้น แต่ไม่มีความดำริเต็มรอบแล้วใน ญาณทัสสนะอันนั้น เธอไม่ ทะนงตัวเพราะญาณ-ทัสสนะอันนั้น เธอไม่เมาไม่มัวเมาในญาณทัสสนะอันนั้น ไม่ถึง ความประมาท ในญาณทัสสนะอันนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้สมยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษ โดยสมัย) เกิดขึ้นได้อีก.

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปได้ คือข้อที่ ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมคลายจาก สมยวิมุตติ อันนั้นก็ได้.


487-2
ข.
อสมยวิโมกข์

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึง ต้นไม้ใหญ่มีแก่นแล้ว ตัดเอาแก่นถือไปด้วยมั่นใจว่า“นี่ เป็นแก่นแท้” ดังนี้. บุรุษมีตาดี เห็นคนนั้น เข้าแล้ว ก็กล่าวว่า “ผู้เจริญคนนี้ ช่างรู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือกสด รู้จักสะเก็ดแห้งตาม ผิวเปลือก รู้จักใบอ่อนที่ปลายกิ่ง.

จริงดังว่า ผู้เจริญคนนี้ ต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวค้นหาแก่นไม้ จนถึงต้นไม้ใหญ่มี แก่นแล้ว ก็ตัดเอาแก่นแท้ถือไปด้วยมั่นใจว่า ‘นี้ แก่นแท้’ ดังนี้ สิ่งที่เขาจะต้องทำด้วยแก่นไม้ จักสำเร็จ ประโยชน์เป็นแท้” ดังนี้ นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ กุลบุตรบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน เพราะคิดเห็นว่า “เราถูกความเกิด ความแก่ ความตาย ....(ข้อความต่อไป เหมือนกับข้อความตอนต้นของตอนสมัยวิโมกข์ จนถึงข้อความที่ว่า)....

เธอไม่ทะนงตัวเพราะญาณทัสสนะ อันนั้น เธอไม่เมาไม่มัวเมาในญาณทัสสนะอันนั้น ไม่ถึงความ ประมาทในญาณทัสสนะ อันนั้น เมื่อไม่ประมาทแล้ว เธอให้ อสมยวิโมกข์ เกิดขึ้นได้. (อสมยวิโมกข์ หมายถึง วิโมกข์อัน สงบที่ไม่กลับกำเริบได้ คือ วิมุตติ)

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่โอกาสที่จะเป็นได้ คือข้อที่ภิกษุนั้น จะพึงเสื่อมคลาย จาก อสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่กลับกำเริบ) อันนั้นเลย.

ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะ และเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อม ด้วยศีลเป็นานิสงส์ พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วย สมาธิเป็น อานิสงส์พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์.

ภิกษุ ท. ! ก็เจโตวิมุตติ๑ ที่ไม่กำเริบอันใด มีอยู่, พรหมจรรย์นี้มีสิ่งนั้น นั่นแหละเป็น ประโยชน์ ที่มุ่งหมาย เป็นแก่นสาร เป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ แล.
......................................................................................................
๑. เจโตวิมุตติ คือ การบรรลุอรหัตตผลโดยมีน้ำหนักของการทำสมาธิมากกว่าการกระทำด้านอื่น ๆ แบบของการหลุดพ้นยังมีอย่างอื่น ๆ อีกเช่น สัทธาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ เป็นต้น.
......................................................................................................


490
ธรรมที่สมควรแก่การหลุดพ้นจากทุกข์


ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ธรรมนั้นคือข้อ ที่ภิกษุ เป็นผู้มากอยู่ ด้วยความรู้สึก เบื่อหน่ายในรูป เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่าย ในเวทนา เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึก เบื่อหน่าย ในสัญญา เป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึก เบื่อหน่ายในสังขารเป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในวิญญาณ  

ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มากอยู่ด้วยความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป เวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ย่อมหลุดพ้นจากรูปจาก เวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้จาก ความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจความคับแค้นใจ เราตถาคต กล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ ตามเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในเวทนาอยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในสัญญาอยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความ ไม่เที่ยงในสังขารอยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยงในวิญญาณอยู่เป็นประจำ

ภิกษุนั้นเมื่อตามเห็นความไม่เที่ยงในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ย่อมรู้รอบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

เมื่อเขารู้รอบอยู่ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญาจาก สังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้จากความเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือข้อที่ภิกษุเป็น ผู้ตาม เห็น ความเป็นทุกข์ ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในเวทนา อยู่เป็น ประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสัญญา อยู่เป็น ประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในสังขาร อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นทุกข์ ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นทุกข์ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไร-รำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้น ได้จากทุกข์ ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ธรรมนี้ เป็นธรรมที่สมควรแก่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็น ความเป็นอนัตตา ในรูป อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในเวทนา อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในสัญญา อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความ เป็นอนัตตาในสังขาร อยู่เป็นประจำ เป็นผู้ตามเห็นความเป็นอนัตตา ในวิญญาณ อยู่เป็นประจำ

ภิกษุนั้น เมื่อตามเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญาในสังขาร ในวิญญาณ อยู่เป็น ประจำ ย่อมรู้รอบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญาซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ เมื่อเขารู้รอบอยู่ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ ย่อมหลุดพ้นจากรูป จากเวทนาจากสัญญา จากสังขาร จากวิญญาณ ย่อมพ้นได้จากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคตกล่าวว่า เขาย่อมหลุดพ้นได้จากทุกข์ ดังนี้.


492
ธาตุที่อาศัยแล้ว
สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด

ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่ง กามทั้งหลายจิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไปในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจากกามทั้งหลายด้วยดี และเธอนั้น หลุด พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย เธอก็ไม่ต้อง เสวย เวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไปในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น
ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี และเธอนั้น หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน ที่เกิดเพราะ พ๎ยาบาทเป็นปัจจัย เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น. อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่อง สลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา แต่มื่อภิกษุนั้นกระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากวิหิงสา ด้วยดี

และเธอนั้นหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะวิหิงสา เป็นปัจจัย เธอก็ไม่ต้อง เสวยเวทนานั้น. อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสีย ซึ่งวิหิงสา.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือเมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไปในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี และเธอนั้น หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ ทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็น ปัจจัย เธอก็ไม่ ต้อง เสวยเวทนานั้น. อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัด เสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ(ความยึดถือว่าตัวตน) จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ ซึ่งความดับแห่งสักกายะ จิตก็แล่นไปก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี และเธอนั้นหลุด พ้นแล้วจากอาสวะ ทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน ที่เกิดเพราะสักกายะเป็นปัจจัย เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งสักกายะ.
นันทิ
(ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ นันทิในสักกายะก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท-นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอน ตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่าปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่ง กองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.


495
ธรรมธาตุต่างๆ
ที่เป็นผลของสมถวิปัสสนา อันดับสุดท้าย (อภิญญาหก)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ผลเท่าใด อันบุคคลพึงบรรลุด้วยเสขญาณ ด้วยเสขวิชชา ผลนั้น ข้าพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้า พระองค์ เถิดพระเจ้าข้า !”

วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรม ทั้งสองให้ยิ่งขึ้นไป คือสมถะและวิปัสสนา วัจฉะ ! ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้แล


495-1
อันเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว
จักเป็นไปเพื่อแทงตลอด ซึ่งธาตุเป็นอเนก๑

(กล่าวคือ:-)
๑. วัจฉะ ! เธอจักมีได้โดยเฉพาะซึ่งอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ ตามที่เธอหวัง เช่นเธอหวังว่า เราผู้เดียว แปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้ เป็นที่กำบัง ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝาทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ ผุดขึ้นและดำลงใน แผ่นดิน ได้เหมือนในน้ำ เดินได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน ทั้งที่ยังนั่ง ขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ก็ลอยไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพ มาก อย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึง พรหมโลกได้ ดังนี้. ในอิทธิวิธิญาณ ธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละเธอก็จักถึงความสามารถทำได้จน เป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ๆ.
........................................................................................
๑. คำว่าธาตุในกรณีนี้ หมายถึงธรรมธาตุเช่นนิพพานก็เป็นธาตุอย่างหนึ่งเป็นต้น มิได้มีความหมาย อย่างในภาษาไทย.
........................................................................................

๒. วัจนะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีโสตธาตุอันเป็นทิพย์บริสุทธิ์หมดจดล่วงโสตแห่ง สามัญมนุษย์ ได้ยินเสียง ทั้งสองคือทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ดังนี้. ในทิพพโสตญาณธาตุ นั้นๆ นั่นแหละเธอก็จักถึง ความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ๆ.

๓. วัจนะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ กำหนดรู้ใจแห่งสัตว์อื่นบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือกำหนดรู้จิตที่มี ราคะว่ามีราคะ กำหนดรู้จิตที่ไม่มีราคะว่าไม่มีราคะ มีโทสะว่ามีโทสะ ไม่มีโทสะ ว่าไม่มีโทสะ มีโมหะว่ามีโมหะไม่มี โมหะว่าไม่มีโมหะ หดหู่ว่าหดหู่ ฟุ้งซ่านว่า ฟุ้งซ่าน ถึงซึ่งคุณ อันใหญ่ว่าถึงซึ่งคุณอันใหญ่ ไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ว่าไม่ถึง ซึ่งคุณอันใหญ่ มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่ามีจิตอื่น ยิ่งกว่า ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ตั้งมั่นว่าตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นว่าไม่ตั้งมั่น หลุดพ้นว่า หลุดพ้น ไม่หลุดพ้นว่าไม่หลุดพ้น ดังนี้. ในเจโตปริยญาณ-ธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึง ความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ๆ

๔. วัจนะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ ระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่างๆ คือระลึกได้ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติบ้าง สิบชาติ ยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง ตลอดหลาย สังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏ กัปป์ หลาย สังวัฏฏกัปป์ และวิวัฏฏกัปป์บ้าง ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนั้นมีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้น ๆ เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นๆ มีอายุสุดลง เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้เกิด ในภพโน้น มีชื่อ โคตรวรรณะ อาหาร อย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุขและ ทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลง เท่านั้น ครั้นจุติจาก ภพนั้น ๆ ๆ ๆ แล้ว มาเกิดในภพนี้ ดังนี้ ระลึกได้ถึงขันธ์ ที่เคยอยู่อาศัยใน ภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ พร้อมทั้งอาการ และอุทเทส ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้. ในปุพเพนิวาสานุสสติญาณธาตุ๑ นั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถ ทำได้จนเป็นสักขี พยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ๆ.

๕. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีจักษุอันเป็นทิพย์บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุของ สามัญ มนุษย์ เห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวทรามประณีต มีวรรณะดี มีวรรณะเลว มีทุกข์ มีสุข. รู้แจ้งชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย ! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริตวจี ทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจ มิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก.

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่กาย แตก ตายไป ย่อมพากันเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์” ดังนี้ มีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุสามัญ-มนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลวประณีต มีวรรณะดี วรรณะทรามมีทุกข์ มีสุข รู้ชัดหมู่สัตว์ ผู้เข้าถึง ตามกรรมได้ดังนี้. ในจุตูปปาตญาณธาตุนั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถ ทำได้จน เป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ๆ.
…………………………………………………………………………………………

.๑. มีคำอธิบายเกี่ยวกับปุพเพนิวาสสานุสสติญาณธาตุที่ชัดเจน อยู่ในหัวข้อที่ถัดไปจากหัวข้อนี้ คือหัวข้อที่ ว่า“ปุพเพนิวาสานุสสติญาณที่แท้จริง”.

…………………………………………………………………………………………


ตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาวสะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้. ใน อาสวักขย-ญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึง ความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายนตนะยังมีอยู่ ๆ.

 

 
text
text
text