เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ             

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  9 of 13  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค3 หน้า   อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค3 หน้า
(อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)     (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)  
  คำอธิบายปุพเพนิวาสานุสสติญาณ(ญาณหยั่งรู้อดีต) 498     ประโยคที่ตรัส มีความหมายที่สำคัญ 521
  อริยวิโมกข์ คือ อมตธรรม 504     ธรรมเป็นที่ดับ ตามลำดับ (ซึ่งยังไม่ถึงนิพพาน) 522
  บริษัทเลิศเพราะสนใจคำของตถาคตที่เป็นโลกุตตระ 505     ค. อนุปุพพวิหารสมาบัติ เก้า 525
  นิพพานเพราะไม่ยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ 507     อนุปุพพวิหารอาพาธ 530
  ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ด้วยการตัดอกุศลมูล 508     เห็นโลกมีค่าเท่ากับเศษหญ้าเศษไม้ 541
  ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง 510     หมดกลม - หยุดหมุน 542
  หยุดถือมั่น – หยุดหวั่นไหว 513     คนดำหรือคนขาว ล้วนมีหวังในนิพพาน 542-1
  ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว เพราะไม่มีอุปาทาน-1 514     วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ 546
  ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน-2 515     อริยโลกุตตรธรรมสำหรับคนทุกคนทุกวรรณะ 548
  ลำดับแห่งโลกิยสุข ลำดับแห่งความสุขแบบต่าง ๆ 516      
         

 

   

 

 
 
 





หน้า 498 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
คำอธิบายปุพเพนิวาสานุสสติญาณที่แท้จริง
(ญาณหยั่งรู้อดีต) ซึ่งไม่เป็ นสัสสตทิฏฐิคำอธิบายความหมายของขันธ์ ๕คำอธิบายอาการแห่งการพิจารณาของผู้กำลังปฏิบัติจนถึงอาการของผู้ปฏิบัติที่หลุดพ้นแล้ว

ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เมื่อตามระลึกย่อมตามระลึกถึงปุพเพนิวาส มีอย่างเป็นอเนก สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง อุปาทานขันธ์ทั้งห้า หรือขันธ์ใดขันธ์หนึ่งแหง่ อุปาทาน-ขันธ์ทั้งห้านั้น. ห้าอย่างไรกันเล่า ? ห้าคือ

ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง รูป นั่นเทียว ว่า“ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีรูปอย่าง นี้” ดังนี้บ้าง ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง เวทนา นั่นเทียวว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง

ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สัญญา นั่นเทียวว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มี สัญญาอย่างนี้” ดังนี้บ้าง

ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง สังขาร นั่นเทียวว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มี สังขาร อย่างนี้” ดังนี้บ้าง

ภิกษุ ท. ! เขาเมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงซึ่ง วิญญาณ นั่นเทียวว่า “ในอดีตกาลนานไกล เราเป็นผู้มี วิญญาณอย่างนี้” ดังนี้บ้าง.

ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า รูป ? ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย (รุปฺปติ) เหตุนั้นจึง เรียกว่า รูป. สลายเพราะอะไร ? สลายเพราะความเย็นบ้าง เพราะความร้อนบ้าง เพราะความหิวบ้าง เพราะความระหายบ้าง เพราะการสัมผัส กับเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง.
ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมสลาย เหตุนั้นจึงเรียกว่า รูป.

ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่าเวทนา ? ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น อัน (บุคคล) รู้สึกได้ (เวทยติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา. รู้สึกซึ่งอะไร ? รู้สึกซึ่งสุขบ้าง ซึ่งทุกข์บ้าง ซึ่งอทุกขมสุขบ้าง
ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้นอันบุคคลรู้สึกได้ เหตุนั้นจึงเรียกว่า เวทนา.

ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สัญญา? ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม (สญฺชานาติ) เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา. หมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ? หมายรู้ได้พร้อมซึ่ง สีเขียวบ้าง ซึ่งสีเหลืองบ้าง ซึ่งสีแดงบ้างซึ่งสีขาวบ้าง.
ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม เหตุนั้นจึงเรียกว่า สัญญา.

ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า สังขาร? ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่ง (อภิสงฺขโรนฺติ) ให้เป็ นของปรุงแต่ง เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร.
ปรุงแต่งอะไรให้เป็นของปรุงแต่ง ?
ปรุงแต่ง รูป ให้เป็น ของปรุงแต่ง โดยความ เป็นรูป
ปรุงแต่ง เวทนา ให้เป็นของปรุงแต่งโดยความเป็น เวทนา
ปรุงแต่ง สัญญา ให้เป็นของปรุง แต่ง โดยความเป็น สัญญา
ปรุงแต่ง สังขาร ให้เป็นของปรุงแต่ง โดยความเป็น สังขาร
ปรุงแต่ง วิญญาณ ให้เป็นของปรุงแต่ง โดยความเป็น วิญญาณ.
ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมปรุงแต่งให้เป็นของปรุงแต่ง เหตุนั้นจึงเรียกว่าสังขาร.


ภิกษุ ท. ! ทำไมเขาจึงกล่าวกันว่า วิญญาณ? ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง (วิชานาติ) เหตุนั้น จึงเรียกว่า วิญญาณ. รู้แจ้งซึ่งอะไร? รู้แจ้งซึ่งความเปรี้ยวบ้าง ซึ่งความขมบ้าง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง ซึ่งความหวานบ้าง ซึ่งความขื่นบ้าง ซึ่งความไม่ขื่นบ้าง ซึ่งความเค็มบ้าง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง.
ภิกษุ ท.! ธรรมชาตินั้น ย่อมรู้แจ้ง เหตุนั้นจึงเรียกว่า วิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! ในขันธ์ทั้งห้านั้น อริยสาวกผู้มีการสดับ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ชัดดังนี้ว่า “ในกาลนี้ เราถูกรูปเคี้ยวกินอยู่, แม้ในอดีตกาลนานไกล เราก็ถูกรูปเคี้ยวกินแล้ว เหมือนกับ ที่ถูกรูปอันเป็นปัจจุบัน เคี้ยวกินอยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น. ถ้าเราเพลิดเพลินรูปในอนาคต แม้ในอนาคตนานไกล เราก็จะ ถูกรูปเคี้ยวกิน เหมือนกับที่เราถูกรูปอันเป็นปัจจุบันเคี้ยวกิน อยู่ในกาลนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น”.

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่เพ่งต่อรูปอันเป็นอดีต ไม่เพลิดเพลิน รูปอนาคต ย่อมเป็น ผู้ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับไม่เหลือ แห่งรูปอันเป็น ปัจจุบัน. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้ อย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปนี้ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อขันธ์เท่านั้น แล้วตรัสต่อไปว่า)

ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความสำคัญข้อนี้ว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง? “ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า !” สิ่งใดที่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า?“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า !” สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า “นั่นของเรา (เอตํ มม) นั่นเป็นเรา(เอโสหมสฺมิ) นั่นเป็นอัตตาของเรา (เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้. “ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !” (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัส ตรัสถาม และ ภิกษุทูลตอบอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ ต่างแต่ชื่อขันธ์เท่านั้น แล้วตรัสต่อไปว่า )

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน มีในภายใน หรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญา โดยชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่อัตตา ของเรา (น เมโส อตฺตา)” ดังนี้. (ในกรณี แห่งเวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกับ ในกรณีแห่งรูป แล้วตรัส ต่อไปว่า)

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า เธอย่อมยุบ - ย่อมไม่ก่อ ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอาย่อมทำให้กระจัด กระจาย ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ย่อมทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง.

อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ? เธอย่อมยุบ ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่ง สังขาร ซึ่งวิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ? เธอย่อมขว้างทิ้งย่อมไม่ถือเอาซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร? เธอย่อมทำให้ กระจัดกระจาย ย่อมไม่ทำให้ เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนาซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ? เธอย่อมทำให้มอด ย่อมไม่ ทำให้ลุก โพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ.

ภิกษุ ท. ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะความ คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น, เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว.

อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ เสร็จ แล้วกิจอื่น ที่จะต้องทำเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ไม่ยุบอยู่ ไม่ก่ออยู่ แต่เป็นอันว่ายุบ แล้วดำรงอยู่; ไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือ เอาอยู่ แต่เป็นอันว่า ขว้าง ทิ้งแล้วดำรงอยู่; ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่า ทำให้กระจัด กระจายแล้ว ดำรงอยู่ ไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่แต่เป็นอันว่าทำให้มอดแล้ว ดำรงอยู่.

ภิกษุนั้น ไม่ยุบอยู่ ไม่ก่ออยู่ แต่เป็นอันว่ายุบซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ก่ออยู่ ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอัน ว่ายุบซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญาซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ขว้าง ทิ้งอยู่ ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งซึ่งรูปซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

ภิกษุนั้น ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็น อันว่าทำให้กระจัด กระจาย ซึ่ง อะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ทำใหก้ ระจัดกระจายอยู่ ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัด กระจายซึ่งรูป ซึ่งเวทนาซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

ภิกษุนั้น ไม่ทำให้มอดอยู่ ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ? เธอไม่ทำให้ มอดอยู่ ไม่ทำใหลุ้กโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่.

ภิกษุ ท. ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดีย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น แล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกล เทียว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการ ท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะ ทราบสิ่งซึ่งท่านอาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน” (“นโม เตปุริสาช นโม เต ปุริสุตฺตม ยสฺส เต นาภิชานาม ยมฺปิ นิสฺสาย ฌายสีติฯ”) ดังนี้. (ดูอธิบายเพิ่มเติมในเล่มนี้ หน้า ๗๘๕)

[ขอให้ผู้ศึกษาสังเกตให้เห็นว่า ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ตามนัยนี้ ไม่ขัดต่อหลักมหาปเทส แห่งมหาปริ นิพพานสูตร (สุตฺเต โอสาเรตพฺพํ วินเย สนฺทสฺเสตพฺพํ) และไม่มีลักษณะแห่ง สัสสตทิฏฐิ ดังที่กล่าวไว้ ในนิทเทส แห่งวิชชาสามทั่วๆไป. ขอให้นักศึกษาโปรดพิจารณา ดูเป็นพิเศษด้วย]


504
อริยวิโมกข์
คือ อมตธรรม

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อริยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษอันประเสริฐ) เป็นอย่างไรเล่า ?”

อานนท์ ! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเห็นโดยประจักษ์ดังนี้ว่า
๑. กามทั้งหลายที่เปน็ ไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย กามทั้งหลายที่เป็นไป ในภพ เบื้องหน้า เหล่าใดด้วย
๒. กามสัญญาที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย กามสัญญาที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย
๓. รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย
๔. รูปสัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย รูปทั้งหลายที่เป็นไป ในภพ เบื้องหน้า เหล่าใดด้วย
๕. อาเนญชสัญญา เหล่าใดด้วย
๖. อากิญจัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย
๗. เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย.

(ธรรมทั้งหมดเจ็ดหมู่) นั้น (ล้วนแต่) เป็นสักกายะ. สักกายะมีประมาณเท่าใด อมตธรรม นั้น คือวิโมกข์ แห่งจิต เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งสักกายะ มีประมาณเท่านั้น.

อานนท์ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันว่า อาเนญชสัปปายปฏิปทาเรา แสดงแล้วอากิญ จัญญายตน สัปปายปฏิปทา เราแสดงแล้ว, เนวสัญญา-นาสัญญายตน สัปปายปฏิปทา เราแสดงแล้วการอาศัย แล้วๆ ซึ่งสัปปาย-ปฏิปทา (ตามลำดับๆ) แล้วข้ามโอฆะเสียได้ เราก็แสดงแล้วนั่นแหละคือ อริยวิโมกข์.

อานนท์ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัย ความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ แก่สาวก ทั้งหลาย กิจอันนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย. อานนท์ ! นั่น โคนไม้ นั่นเรือนว่าง.

อานนท์!พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แหละ เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอน แก่พวกเธอทั้งหลายของเรา.


505
บริษัทเลิศเพราะสนใจคำของตถาคตที่เป็นโลกุตตระ

(ดูเรื่องประกอบในขุม.โอ.หน้า ๑๐๗ และ ๓๕๒ กรณีกลองศึกของกษัตริย์และสุตตันตะที่ควรใส่ใจ ฯลฯ)

ภิกษุ ท. ! บริษัทสองจำพวกเหล่านี้ มีอยู่, สองจำพวกเหล่าไหนเล่า?สองจำพวก คือ อุกกาจิตวินีตา ปริสา (บริษัทอาศัยความเชื่อจากคำของบุคคลภายนอกที่แต่งขึ้นใหม่เป็นเครื่องนำไป) โนปฏิปุจฉาวินีตา (ไม่อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเองในคำ ตถาคตเป็นเครื่องนำไป) นี้อย่างหนึ่ง และ ปฏิปุจฉา วินีตาปริสา (บริษัทอาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเอง ในคำตถาคตเป็นเครื่องนำไป) โนอุกกาจิต วินีตา (ไม่อาศัยความเชื่อจากคำของบุคคล ภายนอก ที่แต่งขึ้นใหม่เป็นเครื่องนำไป) นี้อีกอย่างหนึ่ง.

ภิกษุ ท. ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตาปริสาโนปฏิปุจฉาวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใด เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคต ภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา- มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วยเรื่อง

สุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรอง ประเภทกาพย์ กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก

เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟังตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่า เป็นสิ่งที่ตนควร ศึกษาเล่าเรียน.

พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผย แจ่มแจ้งออก มาว่า ข้อนี้พยัญชนะ เป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทา ความสงสัย ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆได้.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตาปริสาโนปฏิปุจฉาวินีตา.

ภิกษุ ท. ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใด เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรอง ประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะ อันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วน สุตตันตะเหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตน ควรศึกษาเล่าเรียน.

พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถามซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผย แจ่มแจ้งออกมา ว่า ข้อนี้พยัญชนะ เป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความ สงสัย ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆได้.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าปฏิปุจฉาวินี-ตาปริสาโนอุกกาจิตวินีตา.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล บริษัท ๒ จำพวกนั้น. ภิกษุ ท. ! บริษัทที่เลิศในบรรดาบริษัททั้งสอง พวกนั้น คือบริษัท ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสาโน-อุกกาจิตวินีตา (บริษัทที่อาศัยการ สอบสวน ทบทวนกันเอาเองใน คำตถาคตเป็นเครื่องนำไป ไม่อาศัยความเชื่อจากคำของบุคคล ภายนอก ที่แต่งขึ้นใหม่เป็นเครื่องนำไป) แล.


507
นิพพานเพราะไม่ยึดถือธรรมที่ได้บรรลุ

(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๔๗๘ เป็นนัยยะตรงข้าม)

อานนท์ ! ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ (ในปฏิ-ปทา อันเป็นที่สบายแก่ เนวสัญญานา สัญญายตนะ) อย่างนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา ว่า “ถ้าไม่ควรมี และไม่พึงมีแก่เรา ก็ต้องไม่มีแก่เรา สิ่งใดมีอยู่ สิ่งใดมีแล้ว เราจะละสิ่งนั้นเสีย” ดังนี้. ภิกษุ (บางรูป) นั้น ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรร เสริญ ไม่เมาหมกอยู่ซึ่งอุเบกขานั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งอุเบกขานั้น วิญญาณของเธอก็ไม่เป็น ธรรมชาติอาศัยซึ่งอุเบกขานั้น ไม่มีอุเบกขานั้นเป็นอุปาทาน.

อานนท์ ! ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน แล.


508
ปรินิพพานในทิฏฐธรรม
ด้วยการตัดอกุศลมูล

ภิกษุ ท. ! กุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ? สามอย่างคือ อโลภะ เป็น กุศลมูล อโทสะ เป็น กุศลมูล อโมหะเป็น กุศลมูล.

ภิกษุ ท. ! แม้อโลภะนั้นก็เป็นกุศล. บุคคลผู้ไม่โลภแล้ว ประกอบกรรมใดทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้กรรมนั้นก็เป็น กุศล. บุคคลผู้ไม่โลภไม่ถูกความโลภครอบงำ มีจิตอันความโลภ ไม่กลุ้มรุมแล้ว ไม่ทำ ความทุกข์ให้แก่ผู้อื่นโดยที่ไม่ ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยกา รจองจำ บ้าง ด้วยการให้เสื่อม เสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการ ถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ แม้กรรมนี้ก็เป็น กุศล กุศลธรรมเป็นอเนก ที่เกิดจาก ความไม่โลภ มีความไม่โลภเป็น เหตุ มีความไม่โลภเป็นสมุทัย มีความไม่โลภเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีแห่ง อโทสะ และ อโมหะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับ ในกรณีแห่ง อโลภะ อย่างที่กล่าวได้ว่า ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้นั้น ควรถูกเรียกว่าเป็นกาลวาทีบ้างภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง. เพราะ เหตุไรจึงควรถูกเรียกอย่างนั้น ? เพราะเหตุว่า บุคคลนี้ ไม่ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้ เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้

และเมื่อเขาถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่เป็นจริง ก็ยอมรับไม่บิดพลิ้ว เมื่อถูกกล่าวหาอยู่ ด้วยเรื่อง ไม่เป็นจริง ก็พยายาม ที่จะทำให้แจ้งชัดออกมาว่า นั่นไม่ตรง นั่นไม่จริง อย่างนี้ๆ. เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้ จึงควรถูกเรียกว่าเป็น กาลวาทีบ้าง ภูตวาทีบ้าง อัตถวาทีบ้าง ธัมมวาทีบ้าง วินยวาทีบ้าง.

ภิกษุ ท. ! อกุศลธรรมอันลามก ซึ่งเกิดแต่ความโลภ อันบุคคลนี้ละขาดแล้ว โดยกระทำ ให้เหมือน ต้นตาล มีขั้วยอด อันด้วน (ซึ่งหมายความว่ามีการตัดความโลภ อันเป็นมูลแห่ง อกุศลธรรม นั้นด้วย) ถึง ความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้อีก ต่อไป เป็นธรรมดา. เขาย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความลำบาก ไม่มี ความคับแค้นความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรม นี้เทียว ย่อม ปรินิพพานในทิฏฐธรรมนั่นเทียว (ทิฏฺเฐว ธมฺเม ปรินิพฺพายติ).

(ในกรณีแห่ง ความโกรธและความหลง ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความทำนองเดียวกัน กับในกรณี แห่ง ความโลภ ต่างกันแต่ ชื่อเท่านั้น).

(คำว่า “ปรินิพพาน” ในกรณีนี้และอีกตัวอย่างในหน้า ๕๑๑ ของเล่มนี้ เป็นตัวอย่างแสดง ให้ทราบว่าคำว่า “ปรินิพพาน” มิได้ใช้เฉพาะการตายเท่านั้น สามารถใช้ได้ในกรณีขณะจิต ของการบรรลุนิพพานก็ได้).

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ๆ เช่นต้นสาละ ต้นธวะ หรือต้นผันทนะก็ดี ถูกเครือเถา มาลุวาสามชนิด ขึ้นคลุมแล้ว รึงรัดแล้ว. ลำดับนั้นบุรุษ ถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้ว ตัดเครือเถา มาลุวานั้นที่โคน ครั้นตัด ที่โคนแล้วก็ขุดเซาะ ครั้นขุด เซาะแล้วก็รื้อขึ้นซึ่งราก ทั้งหลาย แม้ที่สุดเพียงเท่าก้านแฝก.

บุรุษนั้นตัดเครือเถามาลุวานั้น เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ครั้นตัดดังนั้นแล้วก็ผ่า ครั้นผ่าแล้ว ก็กระทำให้ เป็นซีกๆ ครั้นทำให้เป็น ซีก ๆ แล้วก็ผึ่งให้แห้งในลมและแดด ครั้นผึ่งให้แห้งแล้ว ก็เผา ด้วยไฟ ครั้นเผา แล้ว ก็ทำให้เป็นขี้เถ้า ครั้นทำให้เป็นขี้เถ้า แล้ว ก็โปรยไปตามลม อันพัดจัด หรือให้ลอยไปในกระแสน้ำ อันเชี่ยว.

ภิกษุ ท. ! เครือเถามาลุวาเหล่านั้น มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เป็นเหมือนต้นตาล มีขั้วยอดอันด้วน ถึงความไม่มี ไม่มีเป็น ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปเป็นธรรมดา ข้อนี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อกุศลธรรมอันลามกซึ่งเกิด แต่ความโลภ อันบุคคลนี้ ละขาดแล้ว กระทำให้เหมือน ต้นตาล มีขั้วยอดอันด้วนถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นได้ อีกต่อไปเป็นธรรมดา. เขาย่อมอยู่เป็นสุขไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้นความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรมนี้เทียว, ย่อมปรินิพพาน ในทิฏฐธรรมนั่นเทียว. (ในกรณีแห่งความโกรธ และความหลง ก็ได้ตรัสไว้โดยข้อความทำนองเดียวกัน อย่างที่กล่าวได้ว่าทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล กุศลมูล อย่าง.


510
ปฏิปทาเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวง
(ปรินิพพานเฉพาะตน ผลแห่งการถอนความมั่นหมายในธรรมทั้งปวง โดยความหมายสี่สถาน)

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอน ความมั่นหมายทั้งปวง” แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง จงทำ ในใจใหดี้ เราจักกล่าว.ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอน ความมั่นหมายทั้งปวง เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักษุ ไม่มั่นหมาย ใน จักษุ ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็นจักษุ ไม่มั่นหมายจักษุ ว่าของเรา ไม่มั่นหมาย ซึ่ง รูป ท. ไม่มั่นหมาย ใน รูป ท. ไม่มั่นหมาย โดยความเป็น รูป ท. ไม่มั่นหมายรูป ท. ว่าของเรา

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย ใน จักขุวิญญาณ ไม่มั่นหมาย โดย ความเป็น จักขุ วิญญาณ ไม่มั่นหมายจักขุ วิญญาณ ว่าของเรา

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมาย ใน จักขุสัมผัส ไม่มั่นหมายโดย ความเป็นจักขุสัมผัส ไม่มั่น หมายจักขุสัมผัส ว่าของเรา

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง เวทนา ไม่มั่นหมาย ใน เวทนา ไม่มั่นหมาย โดยความเป็นเวทนาไม่มั่นหมาย เวทนา ว่าของเรา ซึ่งเป็น เวทนาอันเกิดจากจักขุ-สัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ ก็ตาม อันเป็นอทุก ขมสุขก็ตาม.

(ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียว กันกับ ข้อความในกรณี แห่ง หมวดจักษุข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ไม่มั่นหมาย ซึ่ง (ปรารถนาตรงนั้น) สิ่งทั้งปวงไม่มั่นหมาย ใน (สิ่งที่เป็นอยู่) สิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย โดย (อยู่กับสิ่งนั้น แล้ว พอใจคุณสมบัติสิ่งนั้น) ความเป็นสิ่งทั้งปวง ไม่มั่นหมาย สิ่งทั้งปวง ว่าของเรา. ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่ อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่สะดุ้งเมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพานเฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ ปริ-นิพฺพายติ) นั่นเทียว.

เธอนั้น ย่อม รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้อง ทำเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาอันสมควรแก่การเพิกถอนความมั่นหมายทั้งปวงนั้น”.

(ในสูตรถัดไป เมื่อได้ตรัสข้อควา มอย่างเดียวกันกับ ในสูตรข้างบนนี้ครบ ทั้งหกอายตนะแล้ว ซึ่งในตอนท้าย แห่งอายตนะ หมวดหนึ่งๆนั้น ได้ตรัสข้อความเพิ่มเติมต่อไป อีกดังข้อความ ข้างล่างนี้ และได้ทรงเรียกชื่อ ปฏิปทานี้เสียใหม่ว่า “ปฏิปทา เป็นเครื่องสะดวก แก่การ เพิกถอนเสีย ซึ่งความมั่นหมาย สิ่งทั้งปวง”)

ภิกษุ ท. ! ก็ภิกษุย่อมมั่นหมาย ซึ่ง สิ่งใด มั่นหมาย ใน สิ่งใดมั่นหมาย โดย ความเป็นสิ่งใด มั่นหมาย สิ่งใด ว่าของเรา สิ่งที่เขามั่นหมายนั้น ย่อมเป็นโดยประการอื่นจาก ที่เขา มั่นหมายนั้น. สัตว์โลก ผู้ข้องอยู่ในภพ เพลิดเพลินอยู่ใน ภพ นั่นแหละ จักเป็นผู้มี ความเป็นโดยประการอื่น.

(ข้อความต่อไปนี้ได้ตรัสหลังจากตรัสข้อความในหมวดที่หก คือหมวดมนายตนะจบแล้ว ) ภิกษุ ท. ! ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มีอยู่มีประมาณเท่าใด ภิกษุย่อม ไม่มั่นหมายแม้ ซึ่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ นั้น ไม่มั่นหมายแม้ ใน ขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมายแม้ โดย ความเป็นขันธ์ ธาตุอายตนะนั้น ไม่มั่นหมาย ขันธ์ธาตุอายตนะนั้น ว่าของเรา.

ภิกษุนั้น เมื่อไม่มั่นหมายอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่สะดุ้งเมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพาน เฉพาะตนนั่นเทียว เธอนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้วกิจ ที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้อง ทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ “ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอนความมั่นหมายสิ่งทั้งปวงนั้น”. (คำว่า ถอนความมั่นหมาย โดยความหมายสี่สถาน นั้น คือ
๑. ไม่มั่นหมายซึ่งสิ่งนั้น
๒. ไม่มั่นหมายในสิ่งนั้น
๓. ไม่มั่นหมายโดยเป็ นสิ่งนั้น
๔. ไม่มั่นหมายสิ่งนั้นว่าของเราดังนี้.

สำหรับปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวก แก่การเพิกถอนความมั่นหมาย ถึงสิ่งทั้งปวงนี้ ในสูตรถัดไป (๑๘/๒๙/๓๕) ทรงแสดงไว้ด้วย วิธีปฏิบัติอย่างเดียวกันกับ ที่ทรงแสดงในอนัตตลักขณสูตร อันเป็นสูตรที่ศึกษากันอยู่ อย่าง แพร่หลาย จึงไม่นำมาแปลใส่ไว้ ในที่นี้. โดยใจความนั้นคือพระองค์ตรัส เริ่มด้วยทรงสอบถาม แล้ว พระภิกษุทูลตอบ แล้วตรัสว่า อริยสาวก เห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายคลาย กำหนัด หลุดพ้น และเป็น อรหันต์ ในที่สุด ซึ่งชื่อธรรมแต่ละอย่างๆ ที่ทรงยกขึ้นสอบถามนั้นคือ อายตนะ ภายในหก อายตนะภาย นอกหก วิญญาณหก สัมผัสหกและเวทนาหก รวมเป็นชื่อธรรมที่ทรงยกขึ้นถาม สามสิบ และทรง เรียกการ ปฏิบัติระบบนี้ว่า (ปฏิปทาเป็นเครื่องสะดวกแก่การเพิกถอน ความมั่นหมาย สิ่งทั้งปวง”).


513
หยุดถือมั่น – หยุดหวั่นไหว

ภิกษุ ท. ! ในกาลใด อวิชชาของภิกษุดับไป วิชชาเกิดขึ้นแล้ว. เพราะอวิชชาหายไป วิชชา เกิดขึ้นนั้น แหละ, ภิกษุนั้น ย่อมไม่ทำความยึดมั่นในกามให้เกิดขึ้น ไม่ทำความยึดมั่น ด้วยทิฏฐิให้เกิดขึ้น ไม่ทำ ความยึดมั่นใน ศีล และ วัตร ให้เกิดขึ้น และไม่ทำความยึดมั่น ว่าตัวตนให้เกิดขึ้น.

[ความยึดศีลและวัตร (สีลัพพตุปาทาน) ในกรณีนี้รวมทุกกรณี ทั้งศีลวัตรของลัทธิอื่น ๆ และศีลวัตรในธรรม วินัยตถาคต เองด้วย/ กรณีบรรลุตามลำดับนั้น ศีลวัตรของลัทธิอื่น ๆ จะถูกละในช่วงโสดาบันที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส].

ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่ทำความยึดมั่น ทั้งหลายให้เกิดขึ้น ย่อมไม่หวั่นใจไปตามสิ่งใด เมื่อไม่หวั่นใจ ย่อมดับสนิท เฉพาะตนโดยแท้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้อง ทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้แล.


514
ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว
เพราะไม่มีอุปาทาน
(เรื่องควรดูประกอบในปฏิจจ.โอ.หน้า ๑๙๘ สังเกตในเรื่อง ๑) บุถุชนผู้ไม่ได้สดับกับอริยสาวก ที่ได้สดับ ๒) ความเหมือน และต่างกันในการเห็นธรรม)

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง .... ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว เพราะไม่มีอุปาทาน แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้ ....

ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ อริยสาวกผู้มีการ สดับ ได้เห็นพระอริยเจ้าเป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรม ของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ เป็นผู้ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่ง รูป โดยความเป็น ตน บ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งตนว่า มีรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็นประจำซึ่งรูป ในตนบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นอยู่เป็น ประจำซึ่งตนในรูปบ้าง แม้ รูป นั้น แปรปรวนไป เป็นความมี โดยประการอื่น แก่อริยสาวกนั้น วิญญาณของอริยสาวกนั้น ก็ไม่เป็น วิญญาณ ที่เปลี่ยนแปลง ไปตามความแปรปรวนของรูป เพราะความแปร-ปรวนของรูปได้มีโดยประการอื่น  

(เมื่อเป็นเช่นนั้น)ความเกิดขึ้นแห่งธรรม เป็นเครื่องสะดุ้งหวาดเสียว ซึ่งเกิดมาจากความ เปลี่ยนแปลง ไปตามความแปร-ปรวนของรูป ย่อมไม่ครอบงำจิตของอริยสาวกนั้นตั้งอยู่ เพราะความที่จิตไม่ถูกครอบงำ ด้วยธรรม เป็นเครื่องสะดุ้งหวาด เสียวอริยสาวกนั้น ก็ไม่เป็น ผู้หวาดสะดุ้ง ไม่คับแค้น ไม่พะว้าพะวัง และ ไม่สะดุ้งหวาดเสียวอยู่เพราะ ไม่มีอุปาทาน.

(ในกรณีที่เกี่ยวกับการตามเห็น เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วย ข้อความ ทำนอง เดียวกันกับในกรณี แห่ง รูป ข้างบนนี้ทุกประการ ผิดกันแต่ชื่อขันธ์เท่านั้น)

ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


515
ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน (
อีกนัยหนึ่ง)
(ตัวอย่างการสอนโดยการใช้ปฏิปทา ให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งสักกายะพิจารณาขันธ์ ๕ จนหมดอุปาทาน และดูในปฏิจ. โอ.หน้า ๔๙๒ บรรทัดที่ ๒ และ ๓ ประกอบด้วย)

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง .... ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว เพราะไม่มีอุปาทาน แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้. ....

ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียว เพราะไม่มีอุปาทานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ อริยสาวกผู้มีการ สดับ ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่ง รูป ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่ เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่อัตตา ของเรา (เมโส อตฺตา)” ดังนี้.

แม้รูปนั้น ย่อมแปรปรวนย่อมเป็นโดยประการอื่น แก่อริยสาวกนั้น เพราะความแปรปรวน เป็นโดยประการ อื่นแห่งรูป โสกะปริ เทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายก็ ย่อมไม่เกิดขึ้น แก่อริยสาวกนั้น. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัส เหมือนกับในกรณีแห่ง รูป).

ภิกษุ ท. ! ความไม่สะดุ้งหวาดเสียวเพราะไม่มีอุปาทาน ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


516
ลำดับแห่งโลกิยสุข

(ลำดับแห่งความสุขแบบต่าง ๆ ในทางโลกตั้งแต่หยาบ จนถึงละเอียดที่สุด ซึ่งยังไม่ถึง นิพพาน)

อานนท์ ! กามคุณมี ๕ อย่าง ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปทั้งหลายที่เห็นได้ทาง ตาก็ดี เสียง ทั้งหลายที่ฟัง ได้ทางหูก็ดี กลิ่นทั้งหลายที่ดมรู้ได้ทางจมูกก็ดี รสทั้งหลาย ที่ลิ้มได้ทางลิ้นก็ดี และโผฏ ฐัพพะที่สัมผัสรู้ทางผิวกายก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่ เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่ง ความใคร่เป็นที่ตั้งแห่ง ความกำหนัดย้อมใจมีอยู่.

อานนท์ ! เหล่านี้แล คือ กามคุณ อย่าง.

อานนท์ ! สุข โสมนัสใด อาศัยกามคุณห้าเหล่านี้บังเกิดขึ้น อานนท์  ! สุข โสมนัสนั้น เรา เรียกว่า กามสุข”.

อานนท์ ! ชนเหล่าใดก็ตาม จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะ ซึ่งกามสุขย่อม อยู่ใน ฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.

อานนท์  !เรา ตถาคตไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้เพราะเหตุไร ?

อานนท์ ! เพราะเหตุว่าสุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่ากว่ากามสุขนั้นยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่ากามสุข นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุใน ธรรม วินัยนี้ เพราะ สงัดจากกาม และสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌาน ที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.

อานนท์ ! นี้แลคือความสุขชนิด ที่เป็นอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีต กว่า กว่ากามสุขนั้น.

อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่า ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้ เสวยเฉพาะ ซึ่งสุข อันเกิดแต่ปฐมฌานย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.

อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ปฐมฌานนั้น ยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะวิตกวิจารรำงับ จึง บรรลุถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใส ในภายในทำให้เกิด สมาธิมีอารมณ์ อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดแต่ สมาธิแล้ว แลอยู่.

อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิด แต่ปฐม ฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้นถ้าชนเหล่าใด จะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะ ซึ่งสุข อันเกิด แต่ทุติยฌานย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุขบรมโสมนัส” ดังนี้.

อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ทุติยฌานนั้น ยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ทุติยฌาน นั้น เป็นอย่างไร เล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขอยู่ด้วยนามกายจึง บรรลุฌานที่สามเป็นฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลาย กล่าวว่าผู้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติอยู่เป็นปกติสุข ดังนี้ แล้วแลอยู่.

อานนท์ !นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ ทุติยฌาน นั้น.

อานนท์ ! แต่แม้กระนั้นถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ สัตว์ทั้งหลาย ที่ได้ เสวยเฉพาะ ซึ่งสุขอัน เกิดแต่ตติยฌาน ย่อยอยู่ใน ฐานะได้บรมสันติบรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้. อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรอง คำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้เพราะเหตุ ไร ?

อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ตติยฌาน นั้น ยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ตติยฌาน นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่ง โสมนัส และโทมนัสในกาล ก่อน จึง บรรลุฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! นี่แล คือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิด แต่ตติย ฌานนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลาย ที่ได้เสวยเฉพาะ ซึ่งสุขอันเกิดแต่จตุตถฌาน ย่อมอยู่ใน ฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.

อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่นที่ เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่จตุตถฌานนั้น ยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิด แต่จตุตถฌาน นั้น เป็นอย่างไร เล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาเสียได้ โดยประการ ทั้งปวง เพราะความตั้ง อยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุ อากาสา-นัญจายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ๆ” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่ากว่าความสุข อันเกิดแต่ จตุตถฌาน นั้น.
อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้ เสวยเฉพาะ ซึ่งสุข อันเกิดแต่อากาสานัญจายตนะ ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.

อานนท์ !เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้นของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ?อานนท์ ! เพราะเหตุว่า ความสุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่อากาสานัญจา ยตนะนั้น ยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ อากาสานัญ จายตนะ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรม-วินัยนี้ เพราะผ่านพ้น อากาสานัญ จายตนะเสียได้ โดยประการ ทั้งปวง จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “ วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ๆ” ดังนี้ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่าประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ อากาสา นัญจายตนะนั้น.

อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลายที่ได้เสวยเฉพาะ ซึ่งสุขอันเกิด แต่วิญญาณัญ จายตนะ ย่อมอยู่ในฐานะได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.

อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น. ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ !เพราะเหตุว่า ความสุขอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่ากว่าความสุขอันเกิด แต่วิญญาณัญ จายตนะนั้น ยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุข อันเกิดแต่วิญญาณัญ จายตนะ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรม-วินัยนี้ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจา ยตนะ เสียได้ โดยประการ ทั้งปวง จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “ อะไร ๆ ไม่มี ” ดังนี้ แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! นี่แลคือความสุข ชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุข อันเกิด แต่ วิญญาณัญ จายตนะนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าว อย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลาย ที่ได้เสวยเฉพาะ ซึ่งสุขอันเกิดแต่อากิญจัญญายตนะ ย่อมอยู่ในฐานะ ได้บรม สันติ บรมสุข บรม โสมนัส” ดังนี้.

อานนท์ !เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของชนเหล่านั้น ข้อนี้ เพราะเหตุไร ? อานนท์ ! เพราะเหตุว่า สุขอย่างอื่นที่ เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่อากิญจัญญายตนะ นั้น ยังมีอยู่.

อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุข อันเกิดแต่อากิญ จัญญาย ตนะ นั้น เป็น อย่างไรเล่า ? อานนท์ ! ภิกษุในธรรม-วินัยนี้ เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะ เสียได้ โดยประการทั้งปวง จึง บรรลุเนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! นี่แลคือความสุขชนิดที่เป็นอย่างอื่น ที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่ อากิญ จัญญา ยตนะนั้น. อานนท์ ! แต่แม้กระนั้น ถ้าชนเหล่าใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “สัตว์ทั้งหลาย ที่ได้เสวย เฉพาะซึ่งสุข อันเกิดแต่เนวสัญญา นาสัญญายตนะ ย่อมอยู่ในฐานะ ได้บรมสันติ บรมสุข บรมโสมนัส” ดังนี้.

อานนท์ ! เราไม่ยอมรับรองคำกล่าวเช่นนั้น ของ ชนเหล่านั้น. ข้อนี้เพราะเหตุไร ?

อานนท์ ! เพราะเหตุว่าสุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่เนว สัญญานา-สัญญายตนะนั้น ยังมีอยู่.


521
(
ประโยคที่ตรัสใน ๒ ย่อหน้านี้ มีความหมายที่สำคัญ มีประโยชน์มาก)

อานนท์ ! สุขอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุข อันกิดแต่เนวสัญญา นาสัญญายตนะ นั้น เป็นอย่างไร เล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้, เพราะผ่านพ้นเนวสัญญานา สัญญายตนะเสียได้ โดยประการ ทั้งปวง จึง บรรลุสัญญาเวท ยิตนิโรธ แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! นี่แลความสุขที่เป็นอย่างอื่นที่เหนือกว่า ประณีตกว่า กว่าความสุขอันเกิดแต่เนว สัญญา นาสัญญายตนะนั้น.

อานนท์ ! ส่วนข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้คือ ข้อที่พวกปริพาชกทั้งหลาย ผู้ถือลัทธิอื่นจะพึงกล่าว อย่าง นี้ว่า “พระสมณะโคดม ได้กล่าวถึงสัญญาเวทยิต- นิโรธแล้วจึงบัญญัติซึ่งสัญญาเวทยิต นิโรธนั้น ในฐานะเป็นความสุข. มันจะเป็นความสุขชนิด ไหนหนอ ? มันจะเป็นความสุขไปได้อย่างไรหนอ ?”

อานนท์ ! พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ซึ่งมีปกติกล่าวอย่างนี้ เธอทั้งหลายจะพึงกล่าว แก้อย่างนี้ ว่า“ผู้มีอายุ ! พระผู้มีพระ ภาค ไม่ได้หมายถึงสุขเวทนา แล้วบัญญัติในฐานะเป็นตัว ความสุข. ผู้มีอายุ ! แต่ว่า ความสุข อันบุคคลจะพึงหาได้ใน ธรรมใด พระตถาคตย่อม บัญญัติ ซึ่งธรรมนั้น ในฐานะเป็ นความสุข” ดังนี้แล.

หมายเหตุ :- การนำโลกิยสุข หรือความสุข ขั้นที่ยังต้องมีเหตุมีปัจจัยทุกระดับ มาใส่ไว้ในที่นี้ ก็เพื่อเป็น เครื่องเปรียบเทียบ กับนิพพาน ซึ่งเป็นธรรม ไม่เหตุไม่มีปัจจัย และอยู่ในฐานะ ยิ่งไปกว่าความสุข พระองค์ จึงได้ทรงนำมาเรียงลำดับไว้ในที่นั้น ในฐานะเป็นความสุขชนิดหนึ่ง.


522
ธรรมเป็นที่ดับ
ตามลำดับ (ซึ่งยังไม่ถึงนิพพาน)
(: อนุปุพพนิโรธ - อนุปุพพวิหาร - อนุปุพพวิหารสมาบัติ)

ก. อนุปุพพนิโรธ เก้า
(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้หน้า ๗๖๖ สังเกตที่ปฐมฌานที่ตรัสว่าวาจาดับ)

ภิกษุ ท. ! อนุปุพพนิโรธ ประการ เหล่านี้ มีอยู่. เก้าประการอย่างไรเล่า ? เก้าประการ คือ
(๑) เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน อามิสส (กาม) สัญญา ย่อมดับ
(๒) เมื่อเข้าถึงทุติยฌาน วิตกและวิจาร ย่อมดับ
(๓) เมื่อเข้าถึงตติยฌาน ปีติ ย่อมดับ
(๔) เมื่อเข้าถึงจตุตถฌาน อัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมดับ
(๕) เมื่อเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ รูปสัญญา ย่อมดับ
(๖) เมื่อเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
(๗) เมื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
(๘) เมื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
(๙) เมื่อเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมดับ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อนุปุพพนิโรธ ประการ.

[ความดับแห่งธรรมที่ได้ตรัสไว้ โดยนัยยะอื่นของปฐมฌานคือ อกุศลดับ (กาม พยาบาท เบียดเบียน) นิวรณ์ ดับวาจาดับเสียงเป็นเสี้ยนหนามต่อฌาน เมื่อเข้าถึงฌาน ๑ แล้วอุปสรรคนี้ย่อมหมดไป กรณีฌาน ๔ ต่อเนื่องไป ถึงอากาสานัญจายตนะนั้นให้ดูเหตุ ประกอบ ในหนังสือเล่มนี้ หน้า ๘๐๖ ได้ตรัสว่าลมหายใจฯ คือกายอันหนึ่งฯ เพราะฉะนั้น ก็คือกายดับในส่วนธาตุลม และเมื่อถึงอากาสานัญ จายตนะแล้ว จะเห็นว่าเมื่อกายดับไป จากความรู้สึกแล้ว แต่ความ หมายรู้ในกายส่วนอื่น ทั้งหมด (รูปสัญญา) ย่อมดับสนิท ตามต่อมาอีกหน  

(ธรรมะหมวดนี้แสดงถึงธรรมที่ต้องดับไปตามลำดับ ๆ แห่งการปฏิบัติระบบนี้ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า อนุปุพพ นิโรธเก้า คือ ธรรมที่ดับตามลำดับ ลำดับ เป็นหมวดธรรมที่ต้องศึกษาก่อน แต่โดยย่อ รายละเอียดหาดูได้ที่หมวด ค. ในที่อื่น (๒๓/๔๗๗/๒๖๓,๒๖๕) เป็นคำของพระอานนท์ แสดง อนุปุพพปัสสัทธิ และอนุปุพพนิโรธไว้ โดยความเป็นสมาบัติทั้ง ๙ ระดับในฐานะเป็น อนุปุพพปัสสัทธิ และอนุปุพพนิโรธ โดยปริยาย และแสดงสัญญาเวท ยิตนิโรธ อันสิ้นอาสวะไว้ในฐานะ เป็น อนุปุพพปัสสัทธิ และ อนุปุพพนิโรธ โดยนิปปริยาย โดยไม่แสดงไว้อย่างละเอียดว่า ฌานชื่อไร ระงับหรือดับเสียซึ่งธรรมชื่อ อะไร เหมือนกับในสูตร ข้างบนนี้)].

ข. อนุปุพพวิหาร เก้า
ภิกษุ ท. ! อนุปุพพวิหาร ประการ เหล่านี้ มีอยู่. เก้าประการ
อย่างไรเล่า ? เก้าประการ คือ
(๑) ปฐมฌาน (๒) ทุติยฌาน
(๓) ตติยฌาน (๔) จตุตถฌาน
(๕) อากาสานัญจายตนะ (๖) วิญญาณัญจายตนะ
(๗) อากิญจัญญายตนะ (๘) เนวสัญญานาสัญญายตนะ
(๙) สัญญาเวทยิตนิโรธ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อนุปุพพวิหาร ประการ.

 (ธรรมเก้าประการนี้ เรียกว่า วิหารธรรม คือธรรมเป็นเครื่องอยู่แห่งจิต เก้าลำดับจึงได้ชื่อว่า อนุปุพพวิหารเก้า. ยังมีข้อน่า สนใจที่ว่าในบาลีแห่งหนึ่ง กล่าวถึง การเข้าอยู่ในวิหารธรรมนี้ ได้แม้ในขณะ แห่งอิริยาบถทั้งสี่คือนั่ง นอน ยืน เดิน สำหรับ ๔ ข้อข้าง ต้นคือตั้งแต่ปฐมฌาน ถึงจตุตถฌาน.


525
. อนุปุพพวิหารสมาบัติ เก้า

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่ง อนุปุพพวิหารสมาบัติ ประการ เหล่านี้.เธอทั้งหลายจงฟัง. ภิกษุ ท. ! อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?

(๑) กามทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใด ยัง กามทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิวดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้นๆ ในที่นั้น แน่แท้
ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “กามทั้งหลาย ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหน ยังกามทั้งหลาย ให้ดับไปๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “

ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปี ติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. กามทั้งหลาย ดับไปใน ปฐมฌานนั้น และชนเหล่านั้น ยังกามทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในปฐมฌานนั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำ สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้.

(๒) วิตกและวิจารทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใดยัง วิตกและวิจารทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้ว แลอยู่ เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้นๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า “วิตกและวิจาร ทั้งหลาย ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหน ยัง วิตกและวิจารทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ?

ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น “ดังนี้ไซร้ คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความ ที่วิตก และ วิจารทั้งหลายระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจ ในภายใน นำให้เกิดสมาธิ มีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกและวิจาร มีแต่ปี ติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ แล้วแลอยู่ วิตกและวิจารทั้งหลาย ดับไปใน ทุติยฌาน นั้น และชนเหล่านั้น ยัง วิตก และ วิจารทั้งหลายให้ดับไปๆใน ทุติยฌาน นั้นแล้ว แล อยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท. !ใคร ๆที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุดังนี้แล้วนอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.

(๓) ปีติ ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใด ยัง ปีติ ให้ดับไปๆในที่ใด แล้วแลอยู่ เรากล่าวว่า ผู้มีอายุ เหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้วถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถาม อย่างนี้ว่า “ปีติ ดับไปในที่ไหน ? และชน เหล่าไหนยังปีติให้ดับไปๆ นที่ไหนแล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ คำตอบพึงมี แก่เขาว่า “

ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปี ติ อยู่อุเบกขามีสติ และ สัมปชัญญะ และ เสวยความสุข ด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริย เจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็น ผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขดังนี้แล้วแลอยู่. ปิติ ดับไปใน ตติยฌาน นั้น และชนเหล่านั้นยัง ปีติ ให้ดับไปๆใน ตติยฌาน นั้นแล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วย คำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้.

(๔) อุเบกขาสุข ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใด ยังอุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ เรากล่าวว่า ผู้มีอายุ เหล่านั้นหายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้นๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า “อุเบกขาสุข ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง อุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขและ ทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่ง โสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน เข้าถึง จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธ์ิเพราะ อุเบกขา แล้ว แลอยู่. อุเบกขาสุข ดับไปใน จตุตถฌาน นั้น และชนเหล่านั้น ยัง อุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ใน จตุตถฌาน นั้น แล้วแลอยู่”ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่าสาธุ ดังนี้ ครั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนา ด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้. (ให้สังเกตุคำว่า “อุเบกขาสุข” ใช้ในฌาน ๓ และ “อุเบกขา” ปกติไม่เจือสุขใช้ในฌาน ๔)

(๕) รูปสัญญาทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยังรูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แลว้ แลอยู เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้นหายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถาม อย่างนี้ ว่า “รูปสัญญาทั้งหลาย ดับไปที่ไหน ? และชนเหล่าไหน ยัง รูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้ว แลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น ดังนี้ไซร้, คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ ผู้มีอายุ!ภิกษุในกรณีนี้ เพราะการก้าวล่วงเสีย ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดย ประการทั้งปวง เพราะความ ตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งปฏิฆสัญญา ทั้งหลาย เพราะไม่ได้ทำไว้ ในใจ ซึ่งความกำหนดหมาย ในภาวะต่างๆ จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด แล้วแลอยู่. รูปสัญญาทั้งหลาย ดับไปใน อากาสานัญจายตนะ นั้น และชนเหล่านั้น ยัง รูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆในอากาสานัญจายตนะ นั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท . ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้.

(๖) อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใดยัง อากาสานัญจายตน สัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ เรากล่าวว่าผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้นๆ ในที่นั้นแน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึง กล่าวถามอย่างนี้ ว่า “อากาสานัญ จายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใดแล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุด แล้วแลอยู่. อากาสานัญจายตนสัญญา ดับไปใน วิญญาณัญจายตนะ นั้น และชนเหล่านั้น ยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในวิญญาณัญจายตนะนั้น แล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ใครๆที่ไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้น เพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.

(๗) วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใดยัง วิญญาณัญจายตน สัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้นแน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “วิญญาณัญจาย ตน สัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง วิญญาณัญจายตนสัญญา ให้ดับไปๆ ในที่ใดแล้วแลอยู่ ?

ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ คำตอบพึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุใน กรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า อะไรๆ ไม่มี แล้วแลอยู่. วิญญาณัญจายตนสัญญา ดับไปใน อากิญจัญญายตนะ นั้น,และชนเหล่านั้น ยังวิญญาณัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆใน อากิญจัญญายตนะนั้นแล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ใครๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายาพึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้น เพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้.

(๘) อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใดยัง อากิญจัญญายตน สัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้นแน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “อากิญจัญญา ยตนสัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง อากิญจัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใดแล้วแลอยู่ ?

ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น “ดังนี้ไซร้ คำตอบพึงมีแก่เขาว่า“ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณี นี้ ก้าวล่วงเสีย ซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อากิญ-จัญญายตนสัญญา ดับไปใน เนวสัญญานาสัญญา ยตนะ นั้น และชนเหล่านั้นยัง อากิญจัญญา ยตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ใน เนวสัญญานา สัญญายตนะ นั้นแล้วแลอยู่” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้น เพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่าสาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลี เข้าไปหาโดยแน่แท้.

(๙) เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใด ยัง เนวสัญญานา สัญญา ยตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า “เนวสัญญานาสัญญายตน สัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง เนวสัญญานา สัญญา-ยตนสัญญา ให้ดับไปๆในที่ใด แล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น” ดังนี้ไซร้ คำตอบ พึงมีแก่เขาว่า “ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่ง เนวสัญญานา สัญญายตน ะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแล อยู่เนวสัญญา นาสัญญายตนสัญญา ดับไปใน สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น และชนเหล่านั้นยัง เนวสัญญานา-สัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น แล้วแลอยู่”

ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ครั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลี เข้าไปหา โดยแน่แท้. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อนุปุพพวิหา รสมาบัติ ๙ ประการ.

(ธรรมเก้าข้อนี้ มีชื่อแปลกออกไปว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ แต่ก็หมายถึงธรรมเก้าประการ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในหมวด ก. และหมวด ข. นั่นเอง หากแต่ว่าในหมวดนี้ หมายถึงการ ที่จิตเข้าอยู่ในธรรมเหล่านั้น อย่างลึกซึ้ง และนาน พอที่จะเกิดความ รู้สึกว่าหายหิว ดับเย็น ข้ามแล้วถึงฝั่งแล้ว. ฝั่งในที่นี้หมายถึงฝั่ง แห่งพระนิพพานโดยปริยาย ถ้าเป็นกรณีของผู้ที่ยังไม่ บรรลุ อรหัตตผล ก็เป็นเสมือนการชิมรส พระนิพพาน เป็นการล่วงหน้า ในระยะเวลา อันจำกัดเท่านั้น.

ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่าคำบรรยาย แห่งสมาบัติทั้งเก้านี้ แต่ละข้อๆตรัสไว้โดยทำนอง เดียวกัน ทุกสมา บัติ ต่างกันแต่ชื่อแห่งฌาน และ นิทเทส ที่บรรยายลักษณะ แห่งฌานนั้นๆ เท่านั้นซึ่งได้เน้นตัวหนังสือไว้ ด้วยอักษรเส้นหนาให้เป็นที่สังเกตง่ายๆ ทุกแห่งแล้ว ขอให้ ผู้ศึกษาพยายามสังเกต ให้เป็นที่เข้าใจอย่าง แจ่มแจ้งด้วย จะมีประโยชน์มาก.

สรุปความว่า หมวด ก. หมายถึงการดับตามลำดับของสิ่งที่พึงดับ. หมวด ข. หมายถึงลำดับ แห่ง การเข้า อยู่ตามลำดับ. หมวด ค. หมายถึง ลำดับแห่งการเสวยรสของการ เข้าอยู่ที่ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ).


530
อนุปุพพวิหารอาพาธ

(อาการที่อารมณ์อันละได้ด้วยฌานใด จะมากลายเป็น
สัญญาที่ทำความ อาพาธ ให้แก่การ เข้าอยู่ในฌานนั้น)

อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความรู้ได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็ นทางแห่งความสำเร็จดังนี้ แต่แม้กระนั้น จิตของเราก็ยัง ไม่แล่นไป ไม่เสื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้ นำมาทำการคิด นึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคย

ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เรา สืบไปว่า ถ้ากระไร เราได้เห็น โทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการ หลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้น แหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของ เราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุด ออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปใน ทางกาม ก็ยัง เกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผูมี้สุขแล้วยังมีทุกข์ เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบ วิตก วิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิต ในภายใน นำให้เกิดสมาธิ มีอารมณ์ อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปี ติและสุข อันเกิดแต่สมาธ ิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในอวิตก ธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรา ยังมอง ไม่เห็น ยังไม่ได้นำ มาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำมาทำการคิด นึกในข้อ นั้น ให้มากได้รับ อานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้น แหละ จะเป็น ฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุด ออกไป ในอวิตก ธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่น นั้น, เราแล เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุ ฌานที่ เป็นเครื่องผ่องใส แห่งจิต ในภายใน นำให้เกิดสมาธิมี อารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปใน วิตกก็ยังเกิด แทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิด ขึ้น ขัดขวางเพราะอาพาธ ฉันใด ก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะความจาง ไปแห่งปี ติ พึงอยู่ อุเบกขา มีสติแล สัมปชัญญะและพึงเสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุ ฌานที่ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยัง ไม่แล่น ไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.


อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการ คิดนึกให้มากและ ทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีติกฌาน เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเร จึง เป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ. แล้วนำมาทำการ คิดนึกในข้อ นั้น ให้มากได้รับ อานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึง ไซร้. ข้อนั้นแหละจะเป็น ฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึง แล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในนิปปีติก ฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำ เช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของ เราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใสตั้ง อยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่น สงบ.

อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขามีสติแลสัมปชัญญะ และย่อม เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๓ นี้การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็น ไปในปี ติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็น อาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์ เกิดขึ้น ขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละ สุขและ ทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส แลโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุ ฌาน ที่ อันไม่ ทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ บริสุทธ์ิเพราะ อุเบกขา แล้วแล อยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปใน อทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอุเบกขาสุข เป็นสิ่ง ที่เรายังมอง ไม่เห็น ยังไม่ ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคยได้ รับเลย ยังไม่เคยรู้รส เลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเบกขาสุข แล้วนำมา ทำการคิด นึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่าง ทั่วถึง ไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข โดยที่เห็น อย่ ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได หลุด ออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และ โทมนัส ในกาลก่อน จึงบรรลุฌานที่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็น ธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้การทำในใจ ตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปใน อุเบกขาสุข ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการ อาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุขแล้วยัง มีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะ ผ่านพ้นรูป สัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดยประการทั้งปวงได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งปฏิฆ สัญญา (ความกำหนดหมายอารมณ์ที่กระทบใจ) เพราะไม่ได้ทำในใจ ซึ่งความ กำหนดหมายในภาวะต่างๆ (นานัตตสัญญา)พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้น สุด” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสานัญ จายตนะนั้นทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น

แก่เราว่า เพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึก ให้มาก และ ทั้งอานิสงส์แห่งอากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมา ทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนะแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้น อย่างทั่วถึงไซร้ ข้อนั้น แหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจา ยตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึงจิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ ได้หลุด ออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้นเราแล เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาสานัญจายตนะอันมีการทำในใจ ว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่ง สัญญา ที่เป็นไปในรูปทั้งหลาย ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา. เหมือนผู้ มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น อากาสา นัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า วิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุดแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในวิญญาณัญจา ยตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่นั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเร เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญา ณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่ เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญา ณัญจายตนะ เราก็ยัง ไม่เคยได้รับเลย ยังไม่ เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ !ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะแล้ว นำมาทำ การคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ ในวิญญาณัญจายตนะแล้วพึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึง ไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน วิญญาณัญจายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุด ออกไปใน วิญญาณัญ-จายตนะนั้น โดยที่เห็นว่าอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญา ณัญจายตนะอันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่ สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่ง สัญญาที่เป็ นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุอากิญ จัญญายตนะ อันมีการ ทำ ในใจว่า อะไร ไม่มีแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แลน่ ไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญ จัญญา ยตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่ เรายัง มองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง อากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่ เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ !ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษ วิญญาณัญจายตนะแล้ว นำมา ทำการ คิดนึกในข้อนั้นให้มากได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่าง ทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุด ออกไป ในอากิญ จัญญายตนะของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญ จายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่า นั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ ได้หลุด ออกไป ในวิญญาณัญ-จายตนะนั้น โดยที่เห็นว่าอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญา ณัญจายตนะอันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่ง สัญญาที่เป็ นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการ ทำในใจว่า อะไร ไม่มีแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท  ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แลน่ ไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญา ยตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรา ยังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญ จัญญายตนะ เราก็ยัง ไม่เคยได้รับเลย ยังไม่ เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ !ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษ วิญญาณัญจายตนะแล้ว นำมาทำการ คิดนึกในข้อนั้น ให้มากได้รับอานิสงส์ ในอากิญจัญญายตนะแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่าง ทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุด ออกไปในอากิญ จัญญายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้น แล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุด ออกไป ในอากิญ-จัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นวิญญาณัญจา ยตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะอันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี” แล้ว แลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่ง สัญญา ที่เป็นไป ในวิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะ ผ่านพ้น อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุเนวสัญญานา สัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในเนว สัญญานา สัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เรา สืบไป ว่าอะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมอง ไม่เห็นยัง ไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของ เราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ !ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษ ในอากิญจัญญยตนะ แล้วนำมาทำการ คิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญา-ยตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์ นั้นอย่าง ทั่วถึงไซร้. ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนว-สัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่า นั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเรา ได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุด ออกไป ในเนวสัญญา นาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั้น สงบ.

อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึงบรรลุเนวสัญญา นาสัญญา ยตนะ แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ การทำในใจตาม อำนาจแห่ง สัญญาที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็น การ อาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะ อาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะ ผ่านพ้นเนว สัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิต นิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในสัญญา เวทยิต นิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็น เช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษใน เนวสัญญานา สัญญา ยตนะ เป็นสิ่ง ที่เรายังมอง ไม่เห็นยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับ เลย ยังไม่เคยรู้รสเลย จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น

อานนท์ ! ความคิดได้ เกิดขึ้น แก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานา สัญญา ยตนะ แล้วนำ มาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิต-นิโรธแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่าง ทั่วถึงไซร้ ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน สัญญา-เวทยิตนิโรธ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุด ออกไปในสัญญา เวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! เราแลผ่านพ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุ สัญญ เวทยิต นิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไร ๆ อีกต่อไป ). อนึ่งอาสวะทั้งหลายได้ถึง ความสิ้นไปรอบ เพราะเรา เห็น (อริยสัจสี่) ได้ด้วยปัญญา.

(ข้อความทั้งหมดนี้ สรุปความว่า
๑. อดีตกามสัญญา ที่ปฐมฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน ปฐมฌาน
๒. อดีตวิตักกธัมมสัญญา ที่ทุติยฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน ทุติยฌาน.
๓. อดีตปีติสัญญา ที่ตติยฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน ตติยฌาน.
๔. อดีตอุเปกขาสุขสัญญา ที่จตุตถฌานละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน จตุตถฌาน.
๕. อดีตรูปสัญญา ที่อากาสานัญจายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน อากาสา-นัญจายตนะ.
๖. อดีตอากาสานัญจายตนสัญญา ที่วิญญาณัญจายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน วิญญาณัญจายตนะ.
๗. อดีตวิญญาณัญจายตนสัญญา ที่อากิญจัญญายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็นอาพาธ แก่การเข้าอยู่

. อดีตอากิญจัญญายตนสัญญา ที่เนวสัญญานาสัญญายตนะละแล้ว จะ มาคอยเป็น อาพาธ แก่การ เข้าอยู่ใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ.

๙. อดีตเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ที่ระงับไปแล้วเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่อาจมาเป็น อาพาธ แก่การเข้าอยู่ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ). ปัญญาสติกับนามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอกธรรมนั้น คือปัญญา และสติกับนามรูป แก่ข้าพระองค์เถิด ปัญญาและสติกับนามรูปนั้นจะดับไปในที่ไหน ?

ดูก่อนอชิตะ ! ท่านถามปัญหานั้นข้อใดเ ราจะแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ท่าน นามและรูป ย่อมดับไม่ เหลือใน ที่ใดปัญญาและสติกับนาม รูปนั้นก็ย่อมดับไปในที่นั้น เพราะความดับไปแห่งวิญญาณ แล. (ประเด็นนี้เป็ นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนา ควรรับทราบและพิจารณา ให้ละเอียด รอบคอบ


541
เห็นโลกมีค่าเท่ากับเศษหญ้าเศษไม้


เมื่อเห็นสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามเป็นจริง ว่าเป็นเพียงการเกิดขึ้นของธรรมชาติล้วนๆ ว่าเป็นเพียง การ สืบเนื่อง กันเป็นสาย ของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงต่อๆ กันมาล้วนๆ แล้วความกลัวย่อมไม่มี.

เมื่อใดเห็นด้วยปัญญา ว่าโลกนี้ไม่มีค่าอะไรมากไปกว่าเศษหญ้าเศษไม้ เมื่อนั้นเขาย่อมไม่ ปรารถนา สิ่งใดๆ นอกจาก “ สิ่งที่ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป” ดังนี้แล. (ข้อความทั้งสองตอนนี้ เป็นเถรภาษิต นำมา ขยายความพุทธภาษิต)


542
หมดกลม -
หยุดหมุน

ตัด “วงกลม” ขาดจากกัน ก็ลุถึงสภาพแห่งความไม่มีอะไรเป็นที่จำนงหวัง.
ตัณหา ที่ไหลซ่าน เมื่อถูกทำให้แห้งสนิทแล้วก็ไหลไม่ได้.
วงกลมถูกตัดแล้ว (เช่นนี้) ก็หมุนไม่ได้ อีกต่อไป.
นั่นแหละ คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ.


542-1
คนดำหรือคนขาว
ล้วนมีหวังในนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ปูรณกัสสปบัญญัติ ชาติเฉพาะอย่าง ชนิด คือ ชาติดำชาติเขียวชาติแดง ชาติเหลือง ชาติขาว และชาติขาวสุด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! ในการบัญญัติของปูรณกัสสปนั้น เขาบัญญัติคนฆ่าแพะแกะคนฆ่าสุกร ฆ่านก ฆ่าเนื้อ ชาวประมง โจรปล้น โจรฆ่าคน เจ้าหน้าที่เรือนจำหรือคนมีการงานชั้นตํ่า อย่างอื่นๆ ว่าเป็น ชาติดำ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! ปูรณกัสสปบัญญัติภิกษุพวกกัณฑกพฤติ หรือพวกกัมมวาทพวก กิริยวาท อื่น ว่าเป็น ชาติเขียว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! ปูรณกัสสปบัญญัติพวกนิครนถ์มีผ้าผืนเดียว ว่าเป็นชาติแดง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! ปูรณกัสสปบัญญัติพวกคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวผู้เป็นสาวกอเจลก ว่าเป็นชาติเหลือง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! ปูรณกัสสปบัญญัติพวกอาชีวก พวกอาชีวกินี(หญิง) ว่าเป็นชาติขาว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! ปูรณกัสสปบัญญัติเจ้าลัทธิชื่อนันทวัจฉะ กิจจสังกิจจะและมักขลิโค-สาละ ว่าเป็น ชาติขาวสุด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
! ปูรณกัสสปบัญญัติชาติเฉพาะอย่าง ๖ชนิด เหล่านี้แลพระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! โลกทั้งปวง ยอมรับรู้การบัญญัติ อภิชาติ ชนิด ของปูรณกัสสปนั้นหรือ ?
ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

อานนท์ ! ถ้าอย่างนั้น มันก็เหมือนกับคนยากจนเข็ญใจ ไม่มีทรัพย์ติดตัว ทั้งไม่ปรารถนาจะได้ เนื้อ ซึ่งต้อง ใช้ค่าเนื้อตามสัดส่วน เมื่อมีคนมากล่าวว่า “บุรุษผู้เจริญ ! เนื้อนี้น่ากิน แต่ท่าน ต้อง ใช้ ค่าเนื้อ” ดังนี้แล้ว เขาย่อมปฏิเสธ ฉันเดียวกับปูรณกัสสป ไม่ได้รับการรับรู้จากสมณ พราหมณ์ ทั้งหลาย แล้วมาบัญญัติ อภิชาติ ๖ ชนิดนี้ มีลักษณะเป็นคนโง่ คนไม่เฉียบแหลม ไม่รู้จักขอบเขต ไม่ฉลาด ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! เราแหละจะบัญญัติอภิชาติ ชนิด เธอจงฟัง จงทำในใจให้ด เราจะกล่าว. อานนท์ !อภิชาติ ชนิด เป็นอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ในกรณีแห่งอภิชาติหกนี้ คือ
คนบางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพาน (ความสิ้นราคะโทสะโมหะ) อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว ๑
บางคนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว ๑.

อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดใน ตระกูลตํ่า คือ ตระกูลจัณฑาลตระกูลพราน ตระกูลจักสาน ตระกูลทำรถ หรือตระกูล เทหยากเยื่อ ซึ่งเป็น คนยากจน มีข้าวและน้ำน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง มีอาหารและเครื่องนุ่งห่ม หาได้โดย ยาก เขาเป็นผู้มีผิวพรรณ ทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม ขี้โรค ตาบอด ง่อยกระจอก มีตัวตะแคงข้าง ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และ ประทีป โคมไฟ แต่เขาก็ยังประพฤติกาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวิบาตนรก.

อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมดำ.

อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า ?อานนท์! คนบางคนในกรณีนี้ กิด ในตระกูลตํ่า คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ...ฯลฯ... มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้ โดยยาก มีผิว พรรณทรามไม่น่าดู ....ฯลฯ .... ไม่ค่อยจะมีข้าว น้ำ ....ฯลฯ .... ประทีปโคมไฟ แต่เขา ประพฤติกาย สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติสุจริตแล้วเบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการทำลาย แห่งกายย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดธรรมขาว.

อานนท์ ! คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คน บางคนในกรณีนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลพราน ....ฯลฯ.... มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยค่อม.

เขาปลงผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ด้วยเรือน. เขานั้น ครั้นบวชแลว้ อย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทำปัญญาให้ถ้อย กำลังได้แล้ว มีจิต ตั้งมั่นดีในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ด ให้เจริญแล้วตามที่เป็นจริง ชื่อว่าย่อมกอ่ให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว. อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติดำ ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็นธรรม ไม่ดำไม่ขาว.

อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคน ในกรณีนี้ เกิดใน สกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาลสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคหบดี มหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินพอตัว มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์พอตัว มีทรัพย์และข้าวเปลือก พอตัว เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเกลี้ยงเกลา แห่ง ผิวพรรณอย่างยิ่งร่ำรวย ด้วยข้าวด้วยน้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และประทีป โคมไฟ แต่เขา ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ การตายเพราะการ ทำลาย แห่งกาย ย่อมเข้า พึงอบายทุคติวินิบาตนรก. อย่างนี้แลอานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมดำ.

อานนท์ ! คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคน ในกรณีนี้ เกิดใน สกุลสูง คือสกุลกษัตริย์มหาศาล

สกุลพราหมณ์มหาศาล ....ฯลฯ.... มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม....ฯลฯ .... ร่ำรวย ด้วย ข้าว น้ำ ....ฯลฯ .... ประทีปโคมไฟ เขา ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้น ประพฤติสุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่การตายเพราะการทำลายแห่งกาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
อย่างนี้แล อานนท์ !เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดธรรมขาว.

อานนท์ ! คนชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นอย่างไรเล่า ? อานนท์ ! คนบางคนในกรณีนี้ เกิดในสกุลสูงคือ สกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล ....ฯลฯ.... มีทรัพย์และข้าวเปลือกพอตัว มีรูปงาม ....ฯลฯ .... ร่ำรวยด้วยข้าวน้ำ ....ฯลฯ.... ประทีปโคมไฟ.

เขาปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ด้วยเรือน เขานั้นครั้นบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ทั้งห้าอันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจทำปญัญา ให้ถอย กำลัง ได้แล้ว มีจิตตั้งมั่นดี ในสติปัฏฐานทั้งสี่ ยังโพชฌงค์เจ็ดให้เจริญแล้ว ตามที่เป็นจริง ชื่อว่า ย่อมก่อให้เกิดนิพพาน อันเป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว.
อย่างนี้แล อานนท์ ! เรียกว่า คนมีชาติขาว ก่อให้เกิดนิพพานอันเป็น ธรรมไม่ดำไม่ขาว.

อานนท์ ! เหล่านี้แล อภิชาติ ๖ ชนิด.


546
วิมุตติไม่มีความต่างกันตามวรรณะของผู้ปฏิบัติ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! วรรณะสี่เหล่านี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมี อยู่ ถ้าชนใน

แต่ละวรรณะเหล่านั้นประกอบด้วยองค์แห่งผู้ควรประกอบความเพียรห้า๑ เหล่านี้แล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! ความผิดแปลกแตกต่างกันแห่งชนเหล่านั้น จะพึงมีอยู่ในกรณีนี้อีกหรือ ?”

มหาราช ! ในกรณีนี้ ตถาคตกล่าวแต่ความแตกต่างกัน แห่งความเพียรของชนเหล่านั้น.

มหาราช ! เปรียบเหมือนคู่แห่งช้างที่ควรฝึกคู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่ง โคที่ควรฝึก ก็ดี ที่เขาฝึก ดีแล้ว แนะนำดีแล้ว และคู่แห่งช้างที่ควรฝึก คู่แห่งม้าที่ควรฝึก หรือคู่แห่งโคที่ควรฝึก ก็ดี ที่เขา ไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ ก็มีอยู่.

มหาราช ! มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คู่แห่งสัตว์ ที่ฝึกดี แล้วนั้น จะพึงถึงซึ่ง การณะ แห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงบรรลุถึงซึ่งภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว มิใช่หรือ?ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

ส่วนคู่แห่งสัตว์เหล่าใดที่ไม่ถูกฝึกไม่ถูกแนะนำสัตว์เหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งการณะแห่งสัตว์ที่ฝึก แล้ว พึงบรรลุถึงซึ่งภูมิแห่งสัตว์ที่ฝึกแล้ว เช่นเดียวกับคู่แห่งสัตว์ ที่ฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว เหล่า โน้น แลหรือ ?
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

มหาราช ! ผลอันใดที่ผู้มีสัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ปรารภความเพียร มีปัญญา จะพึง บรรลุได้นั้น, ผู้ที่ไม่มีสัทธา มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมายา ขี้เกียจ ไร้ปัญญา จักบรรลุ ซึ่งผล อย่าง เดียวกันนั้นได้หนอ ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่มีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างมีเหตุ พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างมีผล. ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ! วรรณะสี่เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมีอยู่. ถ้าชนในแต่ละ วรรณะ เหล่านั้น ประกอบด้วยองค์ แห่งผู้มีความเพียรห้าเหล่านี้แล้ว และเป็นผู้มีความเพียร โดยชอบอยู่ แล้วยังจะมีความผิดแปลกแตกต่างกัน แห่งชนเหล่านั้นในกรณีนี้ อยู่อีกหรือ ?”

มหาราช ! ในกรณีนี้ ตถาคตไม่กล่าวความแตกต่างไรๆ ในระหว่างชนเหล่านั้นเลย ในเมื่อ กล่าวเปรียบเทียบกัน ถึงวิมุตติกับวิมุตติ.

มหาราช !เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาดุ้นไม้สาละแห้งมาแล้ว ทำไฟให้เกิดขึ้น ทำเตโชธาตุ ให้ ปรากฏ และบุรุษอีกคนหนึ่ง ถือเอาดุ้นไม้มะม่วงแห้งมาแล้ว ทำให้ไฟเกิดขึ้นทำเตโชธาตุ ให้ปรากฏ และหรือบุรุษอีกคนหนึ่ง ถือเอาดุ้นไม้มะเดื่อมาแล้ว ทำไฟให้ เกิดขึ้น ทำเตโชธาตุให้ปรากฏ.

มหาราช ! มหาบพิตร จะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ความต่างกันใด ของไฟเหล่านั้น ที่เกิดจาก ไม้ต่าง กันจะพึงมีแลหรือ เมื่อเปรียบกันซึ่งเปลวด้วยเปลว ซึ่งสีด้วยสี ซึ่งแสงด้วยแสง ?“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”  

มหาราช ! ข้อนี้ก็ฉันนั้นหมือนกัน เดช (แห่งธรรม)อันวิริยะนฤมิตขึ้น อันปธานกระทำให้เกิด ขึ้นใด ๆ มีอยู่, ตถาคตไม่กล่าวความแตกต่างไร ๆ ในเดช (แห่งธรรม) นั้น เมื่อกล่าวเทียบกัน ถึงวิมุตติ กับวิมุตติ ดังนี้.


548
อริยโลกุตตรธรรมสำหรับคนทุกคนทุกวรรณะ


พระโคดมผู้เจริญ ! พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมบัญญัติทรัพย์สี่ประการ คือบัญญัติทรัพย์ประจำตัว ของ พราหมณ์ บัญญัติทรัพย์ประจำตัว ของกษัตริย์ บัญญัติทรัพย์ประจำตัวของ แพศย์บัญญัติ ทรัพย์ประจำตัวของศูทร.


พระโคดมผู้เจริญ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติการภิกขาจารว่าเป็นทรัพย์ ประจำตัวของ พวกพราหมณ์ ถ้าพวกพราหมณ์ดูหมิ่นการภิกขาจาร ซึ่งเป็นทรัพย์ประจำตัวของ ตนเสีย ไปทำกิจนอก หน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงวัว เที่ยวขโมยของของผู้อื่น อยู่.

พระโคดม ผู้เจริญ
! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์ประจำตัวสำหรับพราหมณ์.

พระโคดมผู้เจริญ ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติคันศรและกำแห่ง ลูกศร ว่าเป็นทรัพย์ ประจำตัวของพวกกษัตริย์ ถ้าพวกกษัตริย์หมิ่นคันศร และกำแห่งลูกศร ซึ่งเป็น ทรัพย์ประจำตัวของตนเสีย ไปทำกิจนอกหน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงวัว เที่ยวขโมยของของผู้อื่นอยู่.

พระโคดมผู้เจริญ
! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์ประจำตัว สำหรับกษัตริย์.

พระโคดมผู้เจริญ ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติกสิกรรมและ โครักขกรรม ว่าเป็นทรัพย์ ประจำตัวของพวกแพศย์ ถ้าพวกแพศย์ดูหมิ่นกสิกรรมและโครักขกรรม ซึ่งเป็น ทรัพย์ประจำตัวของตนเสีย ไปทำกิจนอกหน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็ก เลี้ยงวัว เที่ยวขโมยของของผู้อื่นอยู่พระโคดมผู้เจริญ ! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติ ทรัพย์ประจำตัว สำหรับแพศย์.

พระโคดมผู้เจริญ ! ในทรัพย์สี่ประการนั้น พวกพราหมณ์ บัญญัติเคียวและไม้คานว่า เป็นทรัพย์ ประจำตัว ของ พวกศูทร ถ้าพวกศูทรดูหมิ่นเคียวแล ะไม้คานซึ่งเป็น ทรัพย์ ประจำตัวของตน เสีย ไปทำกิจ นอกหน้าที่ของตน เขาก็จะเป็นเหมือนเด็กเลี้ยงวัว เที่ยว ขโมยของของผู้อื่นอยู่.

พระโคดมผู้เจริญ
! นี่แหละ พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์ประจำตัว สำหรับศูทร.

พวกพราหมณ์บัญญัติทรัพย์สี่ประการเหล่านี้ ในกรณีนี้ พระโคดมผู้เจริญกล่าวอย่างไร ?
พราหมณ์ ! โลกทั้งปวงยอมรับรู้การบัญญัติเช่นนั้น ของพราหมณ์ทั้งหลาย ว่าคนทั้งหลาย จงบัญญัติ ทรัพย์ทั้งสี่อย่าง เหล่านี้เถอะ ดังนี้หรือ ? “ข้อนั้นหามิได้ พระโคดมผู้เจริญ !”

พราหมณ์ ! ข้อนี้เปรียบเหมือนคนยากจนเข็ญใจไร้ทรัพย์ มีอยู่คนพวกหนึ่งแขวนเนื้อ (ที่ทำไว้เป็นชุด ๆ) แสดงแก่เขาผู้ไม่ปรารถนา โดยกล่าวว่า“บุรุษผู้เจริญ ! เนื้อนี้น่ากิน แต่ต้องใช้มูลค่า” ดังนี้ นี้ฉันใด

พราหมณ์เอย !พราหมณ์ทั้งหลาย ไม่ได้รับการรับรู้ของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย แล้วก็มา บัญญัติทรัพย์ ทั้งหลายสี่เหล่านั้น ก็ฉันนั้น.

พราหมณ์ ! เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันประเสริฐว่า เป็นทรัพย์ประจำตัวสำหรับคน.

นิทเทส
๑๐
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา
จบ