นิทเทส ๕ ว่าด้วยที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา
(มี ๕ เรื่อง)
หน้า 320 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
การเกิดขึ้นแห่งตัณหา
ภิกษุ ท. ! การก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ตา ด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งตา+รูป+จักขุวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย หู ด้วย เสียงด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณขึ้น. การประจวบพร้อม (แห่งหู+เสียง+โสตวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย จมูก ด้วย กลิ่นด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งจมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณขึ้นการประจวบพร้อม (แห่งลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมี ผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย กาย ด้วย โผฏฐัพพะด้วย จึงเกิดกายวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งกาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้ คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ใจ ด้วย ธรรมารมณ์ด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งใจ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) ทั้ง ๓ อย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา นี้ คือ การขึ้นแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ การก่อขึ้นแห่งทุกข์.
หน้า321 (อ้างอิงเลขหน้าตามหนังสือ)
ฐานที่เกิดแห่งตัณหา
(สี่อย่าง)
ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้นแห่งตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุในอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม มีสี่อย่างเหล่านี้.
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะจีวรเป็นเหตุ บ้าง
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะอาหารบิณฑบาตเป็นเหตุ บ้าง
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ บ้าง
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น แก่ภิกษุ เพราะความได้เป็นหรือไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นเหตุ บ้าง.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ การเกิดขึ้นแห่งตัณหา เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ในอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม มีสี่อย่าง แล.
322
ที่ตั้งอาศัยเกิดแห่งตัณหา
ภิกษุ ท. ! ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ณ ที่ไหน ? เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ?
ภิกษุ ท. ! สิ่งใด มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น.
ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่า มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ?
ภิกษุ ท. !
ตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
หู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
จมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
กาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้นๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. !
รูป ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เสียง ทั้งหลายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
กลิ่น ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
รสทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
โผฏฐัพพะ ทั้งหลายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. !
วิญญาณทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณ ทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณ ทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณ ทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณ ทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. !
สัมผัสทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัสทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัส ทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัส ทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัส ทางกายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัส ทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. !
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้นๆ.
ภิกษุ ท. !
ความหมายรู้ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ใน โผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ
ภิกษุ ท. !
ความคิดนึกในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึก ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึก ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึก ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึก ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึกในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. !
ตัณหาในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหา ในเสียงมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหา ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหา ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหา ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหา ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. !
ความตริตรึกในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึก ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึก ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึก ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึก ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึกในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. !
ความตริตรองในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรอง ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรอง ในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรอง ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรอง ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรองในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้น ในสิ่งนั้น ๆ
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ในสิ่งนั้น ๆ.
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ๆ. ดังนี้แล.
326
สิ่งที่ต้องรู้ ต้องละ เพื่อความสิ้นทุกข์
ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวงย่อมไม่เป็นผู้สมควร เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์. สิ่งทั้งปวง อะไรกันเล่า ? สิ่งทั้งปวงคือ (ต่อไปนี้ทรงแสดง ธรรมที่ควรรู้ควรละ เป็นหมวด ๆ ตามหลักแห่งอายตนะหกประการ คือ)
อายตนะภายใน หก ประการ (จักษุ ฯลฯ มโน)
อายตนะภายนอก หก ประการ (รูป ฯลฯ ธรรมารมณ์)
วิญญาณ หก ประการ (จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ)
สัมผัส หก ประการ (จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส)
เวทนา หก ประการ (จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง ซึ่งเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.(ต่อไปนี้ ทรงแสดงโดยปฏิปักขนัย ถึงสิ่งทั้งปวงที่ เมื่อรู้ และละแล้ว เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ โดยนัยตรงกันข้าม ซึ่งผู้ศึกษาอาจ เทียบ เคียงได้เอง).
(อีกนัยหนึ่ง)
ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวงย่อมไม่เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์. สิ่งทั้งปวง อะไรกันเล่า ? สิ่งทั้งปวงคือ (ต่อไปนี้ทรงแสดง ธรรมที่ควรรู้ควรละเป็นหมวด ๆ ตามหลักแห่งอายตนะหก ประการ คือ )
อายตนะภายใน หก ประการ (จักษุ ฯลฯ มโน)
อายตนะภายนอก หก ประการ (รูป ฯลฯ ธรรมารมณ์)
วิญญาณ หก ประการ (จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ)
วิญญาณวิญญาตัพพธรรม หก ประการ (จักขุวิญญาณญญาตัพพธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณ-วิญญาตัพพธรรม).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง ซึ่งเมื่อไม่รู้ยิ่งไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัดไม่ละขาดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.
(ต่อไปนี้ ทรงแสดงโดย ปฏิปักขนัย ถึงสิ่งทั้งปวงที่เมื่อรู้และละแล้ว เป็นผู้สมควรเพื่อความ สิ้นไปแห่งทุกข์ โดยนัยตรงกันข้าม ซึ่งผู้ศึกษาอาจเทียบเคียงได้เอง).
327
ภาวะเป็นที่รักที่ยินดี เป็น หนามในอริยวินัยนี้
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่ง จะพึงเข้าไปสู่ป่า ที่มีหนามมาก คือ หนามข้างหน้า ของบุรุษนั้น ก็มีอยู่ หนามข้างหลัง ก็มีอย หนามข้างเหนือก็มีอยู่ หนามข้างใต้ ก็มีอยู่ หนามข้างล่างก็มีอยู่ หนามข้างบน ก็มีอยู่ บุรุษนั้น จะต้องมีสติ ค่อยๆ ก้าวไปข้างหน้า มีสติค่อยๆ ถอยกลับหลัง ด้วยคิดอยู่ว่า “หนามอย่ายอก อย่าตำ เราเลย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ภาวะเป็นที่รัก ภาวะเป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูปซึ่งเป็นที่เกิดที่ดับ แห่งตัณหา) ในโลก ใดๆ
ภิกษุ ท. ! ปิยรูปสาตรูปนี้ เราเรียกว่า “หนามในวินัยของพระอริยเจ้า” ดังนี้ แล.
นิทเทส ๕
ว่าด้วยที่เกิดและการเกิดแห่งตัณหา
จบ
นิทเทส ๖ ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
(มี ๓๑ เรื่อง)
328
การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร
เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ
เพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป
เพราะ นามรูป เป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก
เพราะ อายตนะหก เป็นปัจจัยจึงเกิดมีผัสสะ
เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
เพราะ เวทนา เป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา
เพราะ ตัณหา เป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน
เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ
เพราะ ภพ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.
ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า อริยสัจคือความก่อขึ้นแห่งทุกข์ แล.
328-1
อาการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยสมบูรณ์
(สายแห่งปฏิจจสมุปบาท)
ภิกษุ ท. ! ปฏิจจสมุปบาท (ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วทยอยกันเกิดขึ้น)
เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี สังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมี วิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมี นามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมี อายตนะหก
เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมี เวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมี อุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมี ชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.
การก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
(ธรรมที่อาศัยกันและกันแล้วทยอยกันเกิดขึ้น) ดังนี้ แล.
329
วิภาคแห่งปฏิจจสมุปบาท
ภิกษุ ท. ! ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก
เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.
ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! ชรา มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ชรา คือ ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความเสื่อมไปแห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้นๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา.
ภิกษุ ท. ! มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
มรณะคือ การจุติ ความเคลื่อนการแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละ การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่ง อินทรีย์คือชีวิต จากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้ เรียกว่า มรณะ ด้วยเหตุนี้แหละ ชราอันนี้ด้วย มรณะอันนี้ด้วย.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ชรามรณะ.
ภิกษุ ท. ! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า ?
ชาติ คือ การเกิด การกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ความปรากฏ ของขันธ์ทั้งหลายการที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ชาติ.
ภิกษุ ท. ! ภพ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภพมีสามเหล่านี้ คือกามภพ รูปภพ และอรูปภพ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ภพ.
ภิกษุ ท. ! อุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! อุปาทานมีสี่อย่างเหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า อุปาทาน.
ภิกษุ ท. ! ตัณหา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งตัณหา มีหกอย่าง เหล่านี้ คือตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง
ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ และตัณหาในธรรมารมณ์.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ตัณหา.
ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งเวทนา มีหกอย่าง เหล่านี้ คือ
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา
เวทนาเกิดแต่ สัมผัสทางหู
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น
เวทนาเกิดแต่สัมผัส ทางกาย
และเวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า เวทนา.
ภิกษุ ท. ! ผัสสะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งผัสสะ มีหกอย่าง เหล่านี้ คือ สัมผัสทางตา
สัมผัสทางหู สัมผัสทางจมูก สัมผัสทางลิ้นสัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! อายตนะหก เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งอายตนะมีหกอย่าง เหล่านี้คือ
อายตนะคือตา อายตนะคือหู อายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น
อายตนะคือกาย และอายตนะคือใจ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่าอายตนะหก.
ภิกษุ ท. ! นามรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
นาม คือ เวทนา สัญญา เจตนาผัสสะ และมนสิการ.
นี้ เรียกว่า นาม. รูป คือ มหาภูตทั้งสี่ด้วยและรูปที่อาศัยมหาภูตทั้งสี่ด้วย.
นี้ เรียกว่า รูป. ด้วยเหตุนี้แหละ นามอันนี้ด้วย รูปอันนี้ด้วย.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า นามรูป.
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! หมู่แห่งวิญญาณมีหกอย่างเหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณทางหู
วิญญาณทางจมูกวิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย และวิญญาณทางใจ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่าวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลายเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! อวิชชา เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความไม่รู้อันใดเป็นความไม่รู้ในทุกข์ เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความ ไม่รู้ ในความดับไม่เหลือของทุกข์ ละเป็นไม่รู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.
ภิกษุ ท. ! นี้ เรียกว่า อวิชชา.
ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะหก เพราะอายตนะหกเป็นปัจจัย จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติ
เป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม.
ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
333
ปัจจัยแห่งอวิชชา
ภิกษุ ท. ! ที่สุดในเบื้องต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ ก่อนแต่นี้อวิชชามิได้มี แต่ว่า อวิชชาเพิ่งมีต่อภายหลัง
ภิกษุ ท. ! คำล่าวอย่างนี้แหละ เป็นคำที่ใคร ๆ๑ ควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า “อวิชชาย่อม ปรากฏเพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหารหาใช่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่มี อาหารไม่.
ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา ? คำตอบพึงมีว่า “นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ เป็ นอาหารของอวิชชา” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็น ธรรมชาติ ที่ไม่มีอาหารไม่.
ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ” ดังนี้. (ทุจริต ๓ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต)
……………………………………………………………………………………………………
๒. คำว่า วุจฺจติ คำนี้ เคยแปลกันแต่ว่า อันตถาคตย่อมกล่าว กันจนเป็นธรรมเนียมไปเสีย. ในที่นี้ พิจารณาดูแล้ว เห็นได้ว่าควรจะแปลว่าใคร ๆ ทุกคนที่เป็นผู้รู้ รวมทั้งพระองค์เองด้วย ควรจะกล่าว หาใช่เป็นการผูกขาดเพราะไว้แต่พระองค์ผู้เดียวไม่.
…………………………………………………………………………………………….
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า ถึงแม้ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่.
ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการ ? คำตอบพึงมีว่า “การไม่สำรวมอินทรีย์” ดังนี้.....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....
การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริตทั้งหลาย ๓ประการให้บริบูรณ์
ทุจริตทั้งหลาย ๓ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ประการให้บริบูรณ์
นิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์.
ภิกษุ ท. ! อาหารแห่งอวิชชานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
……………………………………………………………………………………….
[ตามปกติเราได้ยินได้ฟังสั่งสอนกันมาว่า อวิชชาไม่มีปัจจัย ในที่นี้ได้ตรัสว่า มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็น
ปัจจัย ควรที่นักศึกษาจะได้พิจารณาดูให้เป็นอย่างดี ว่ามีนิวรณ์เป็นปัจจัยหรืออาหาร เพราะมี ประโยคว่า “อิทปฺป จฺจยา อวิชฺชา”(ทสก. อํ. ๒๔/๑๒๐/๖๑ บรรทัดที่สาม นับขึ้น)]
……………………………………………………………………………………….
อาการเกิดแห่งความทุกข์
เพราะอาศัยซึ่ง จักษุ ด้วย ซึ่งรูปทั้งหลายด้วย, จึงเกิดจักขุวิญญาณ การประจวบพร้อมแห่ง ธรรม ๓ ประการ (จักษุ+รูป+จักขุวิญญาณ) นั่นคือ ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ-ปริเทวะทุกขะ โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยอย่างเดียวกัน กับกรณี แห่งจักษุ).
335
ทุกข์เกิดเพราะเพลินในเบญจขันธ์
ภิกษุ ท. ! ความเป็นสมุทัยแห่งรูป เป็นอย่างไรเล่า ?
ความเป็นสมุทัยแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ?
ความเป็นสมุทัยแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า ?
ความเป็นสมุทัยแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
และความเป็นสมุทัยแห่งวิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลในโลกนี้ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่. เขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในรูป ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน.
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติ เป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนา นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในเวทนา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน.
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสัญญา นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใดในสัญญา ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน.
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขา ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งสังขารทั้งหลาย นันทิ (ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น ความเพลินใดในสังขารทั้งหลายความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน.
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการ อย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เขาย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ. เมื่อเขาเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งวิญญาณ นันทิ(ความเพลิน) ย่อมบังเกิดขึ้น.
ความเพลินใดในวิญญาณ ความเพลินนั้น เป็นอุปาทาน.
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
337
อาการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะยึดถือเบญจขันธ์
ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ในโลกนี้ ย่อมตามเห็นซึ่ง รูป ว่า
“นั่นของเรา (เอตํ มม) นั่นเป็นเรา (เอโสหมสฺมิ)นั่นเป็นตัวตนของเรา (เอโส เม อตฺตา)” ดังนี้. รูปนั้น ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแก่เขา
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ย่อมปรากฏแก่เขา เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น แห่งรูป.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสอย่างเดียวกัน).
338
ความทุกข์ใครทำให้เกิดขึ้น
อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยผัสสะ)
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้นเช่นนั้น ชื่อว่าได้ตอบ โดยชอบ อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เกิดขึ้น (เรียกว่าปฏิจจสมุปปันนธรรม).
ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่า กล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดย ถูกต้อง และสหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย.
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอน เรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเอง แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้นก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้ สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอน เรื่องกรรมพวกใดย่อมบัญญัติความทุกข์
ว่า เป็นสิ่งที่ตนทำเอาด้วยตนเองด้วย ผู้อื่น ทำให้ด้วย
ถึงแม้สมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ ทำเอง หรือใครทำให้ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม. แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้อง
อาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั่นเอง.
339
มีนันทิ คือ มีอุปาทาน ผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน
อาการเกิดแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยนันทิ)
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งรูป. เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูป นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.
ความเพลินใด ในรูป, ความเพลินนั้นคืออุปาทาน.เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกับในกรณีแห่งรูป).
339-1
ความพอใจเป็ นมูลเหตุของความทุกข์ทั้งปวง
อาการเกิดแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยฉันทราคะ)
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงซึ่งความเกิด และ ความดับไปแห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด.”
คามณิ ! ถ้าเราจะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์แก่ท่านปรารภอดีตกาลนานไกลว่า มันได้มีแล้วอย่างนี้ในอดีตกาล ดังนี้ไซร้ ความสงสัยเคลือบแคลงในข้อนั้น ก็จะพึงมีแก่ท่าน.
ถ้าเราจะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์ ปรารภอนาคตกาลนานไกล ว่ามันได้มีแล้ว อย่างนี้ในอนาคต-กาล ดังนี้ไซร้ ความสงสัยเคลือบแคลงแม้ในข้อนั้น ก็จะพึงมีแก่ท่าน.
เอาละ คามณิ ! เรานั่งอยู่ที่นี่ จะแสดงความเกิดและความดับแห่งทุกข์ แก่ท่านผู้นั่งอยู่ที่นี่ ด้วยกัน ท่านจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจะกล่าว.
คามณิ ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร มีไหม มนุษย์ในหมู่บ้านอุรุเวลกัปปะนี้ ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำ ถูกทำให้เสื่อมเสีย ถูกติเตียนแล้วโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่ท่าน ? “มี พระเจ้าข้า !”
คามณิ ! มีไหม มนุษย์ในหมู่บ้านอุรุเวลกัปปะนี้ ที่ถูกฆ่า ถูกจองจำถูกทำให้เสื่อมเสีย ถูกติเตียนแล้ว โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะไม่เกิดขึ้นแก่ท่าน ? “มี พระเจ้าข้า!”
คามณิ ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้นแก่ท่านเพราะ มนุษย์ พวกหนึ่ง และไม่เกิดขึ้นแก่ท่านเพราะมนุษย์พวกหนึ่ง ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่า ฉันทราคะของข้าพระองค์มีอยู่ ในหมู่มนุษย์ที่ทำให้ความ โศก (เป็นต้น) เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ และ ฉันทราคะของข้าพระองค์ไม่มีอยู่ในหมู่มนุษย์ ที่ไม่ทำให้ความโศก (เป็นต้น) เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์.
คามณิ ! ด้วยธรรมนี้ อันท่านเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลงทั่วถึงแล้ว อันไม่ขึ้นอยู่กับ เวลา ท่านจงนำไปซึ่งนัยนี้สู่ธรรมในอดีตและอนาคตว่า “ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ และทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้นก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่าฉันทะเป็น มูลเหตุแห่งทุกข์” ดังนี้.
341
อารมณ์เพื่อการตั้งอยู่ได้ของวิญญาณ
อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งภพใหม่)
ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อม มีจิตฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญ งอกงามแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ ต่อไป มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิด (โน เจเตติ) ถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริ (โน ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่ง วิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ความเกิด ขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
342
อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยอารมณ์เป็นที่ก้าวลงแห่งนามรูป)
ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ) ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมี จิตปักลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจฝังลงไป (คือมีอนุสัย) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ. เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงาม แล้ว การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมมี เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
343
อาการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ (อีกปริยายหนึ่ง)
(ทรงแสดงด้วยอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งนติ)
ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมคิด (เจเตติ) ถึงสิ่งใดอยู่ ย่อมดำริ (ปกปฺเปติ)ถึงสิ่งใดอยู่ และย่อมมีใจ ฝังลงไป (อนุเสติ) ในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญ งอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ - ตัณหา) ย่อมมี
เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มี การมาการไป (อาคติคติ)ย่อมมี เมื่อการมาการไป มี การเคลื่อน และ การบังเกิด (จุติ + อุปะปาตะ) ย่อมมี
เมื่อมีการเคลื่อนและการบังเกิด มี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ อย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด แต่เขายังมีใจปักลงไปในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้น ย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.
เมื่ออารมณ์ มีอย่ ความตั้งขึ้นเฉพาะ แห่งวิญญาณ ย่อมมี เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ (นติ - ตัณหา) ย่อมมี
เมื่อเครื่องนำไปสู่ภพใหม่ มี การมาการไป (อาคติคติ) ย่อมมี เมื่อการมาการไปมี การเคลื่อน และ การบังเกิด (จุติ+อุปะปาตะ) ย่อมมี
เมื่อการเคลื่อน และการบังเกิดมี ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการ
อย่างนี้.
344
อาการเกิดแห่งความทุกข์โดยสังเขป
มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายที่เห็นด้วยตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนาน่ารักน่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ ยั่วยวน ชวนให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัย อยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าภิกษุ เพลิดเพลินพร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ในรูปนั้นไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบ มัวเมา ในรูปนั้นอยู่ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.
มิคชาละ ! เรากล่าวว่า “ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ มีได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งนันทิ (ความเพลิน)” ดังนี้
(ในกรณีแห่งเสียงที่ได้ยินด้วยหู กลิ่นที่ดมด้วยจมูก รสที่ลิ้มด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วย ผิวกาย และธัมมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปที่เห็น ด้วยตา).
345
อาการเกิดขึ้นแห่งโลก
ภิกษุ ท. ! การก่อขึ้นแห่งโลก (ปัญจุปาทานขันธ์) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งตา+รูป+จักขุวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมี เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหา เป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือการก่อขึ้นแห่งโลก.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย หูด้วย เสียงด้วย จึงเกิดโสตวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งหู+เสียง+โสตวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือการก่อขึ้นแห่งโลก.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย จมูกด้วยกลิ่นด้วย จึงเกิดฆานวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งจมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ลิ้น ด้วย รสด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย กายด้วย โผฏฐัพพะด้วย จึงเกิดกายวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งกาย+โผฏฐัพพะ+กายวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้นจึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก.
ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัย ใจด้วย ธรรมารมณ์ด้วย จึงเกิดมโนวิญญาณขึ้น การประจวบพร้อม (แห่งใจ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้นจึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก.
ภิกษุ ท. ! นี่คือ การก่อขึ้นแห่งโลก แล.
347
ความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ นั้นคือความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง การปรากฏแห่งจักษุ อันใด อันนั้น เป็นการ เกิดขึ้นแห่งทุกข์, เป็นการตั้งอยู่แห่งโรค เป็นการปรากฏออกแห่งชราและมรณะ.
(ในกรณีแห่ง โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ ก็ตรัสไว้โดยข้อความอย่างเดียวกันกับ ในกรณีแห่งจักษุ.)
คำว่า เกิดขึ้น ในกรณีอย่างนี้ หมายความว่า สิ่งนั้น ๆ ทำหน้าที่ของมัน ตามอำนาจของ อวิชชา.ในสูตรอื่น ๆ แทนที่จะทรงแสดงด้วยอายตนะภายในอย่างนี้ ได้ทรงแสดงไว้ด้วย อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก สัญญาหก สัญเจตนาหก ตัณหาหก ธาตุหก และขันธ์ห้า.
นอกจากนั้น ยังได้ทรงแสดงฝ่ายดับโดยปฏิปักขนัยเป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความเข้าไป สงบแห่งโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชรามรณะ ตรงกันข้ามจากข้อความฝ่ายเกิด ทุกๆข้อด้วย ซึ่งผู้ศึกษาอาจกำหนดได้ด้วยตนเอง).
348
อาการที่ทุกข์เกิดจากอาหาร
ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด. อาหารสี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ อาหารที่หนึ่งคือ อาหารคือคำข้าว หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม อาหารที่สองคือ ผัสสะ อาหารที่สามคือ มโนสัญเจตนา อาหารที่สี่คือ วิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! อาหารสี่อย่างเหล่านี้แล มีอยู่ เพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้วหรือเพื่อ อนุเคราะห์สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด.
ภิกษุ ท. ! ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าวไซร้.วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในอาหารคือคำข้าวนั้น ๆ. วิญญาณที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ในที่ใด การก้าวลงแห่งนามรูปก็มีอยู่ในที่นั้น. การก้าวลงแห่งนามรูป มีอยู่ในที่ใด ความเจริญแห่งสังขาร ทั้งหลาย ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น. การบังเกิด ในภพใหม่ต่อไป มีอยู่ในที่ใด ชาติ ชรา และมรณะ ต่อไป ก็มีอยู่ ในที่นั้น. ชาติ ชรา และ มรณะต่อไป มีอยู่ ในที่ใด
ภิกษุ ท. ! เราเรียกที่นั้น ว่า “เป็น ที่มีโศก มีธุลี และมีความคับแค้น” ดังนี้. (ในกรณีเกี่ยวกับ อาหารอีก ๓ อย่าง คือ ผัสสะ มโนสัญเจตนา และวิญญาณ ก็ตรัสโดยทำนองเดียว กับ อาหาร คือคำข้าว).
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนช่างย้อม หรือช่างเขียน เมื่อมีน้ำย้อม คือ ครั่งขมิ้น ครามหรือ สีแดงอ่อน ก็จะพึงเขียนรูปสตรี หรือรูปบุรุษ ลงที่แผ่นกระดานหรือฝาผนัง หรือผืนผ้า ซึ่งเกลี้ยงเกลา ได้ครบทุกส่วน อุปมานี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ
ถ้ามีราคะ มีนันทิ มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าวไซร้
วิญญาณ ก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ ในอาหารคือคำข้าวนั้น ๆ
วิญญาณ ที่ตั้งอยู่ได้ เจริญงอกงามอยู่ได้ มีอยู่ในที่ใด
การก้าวลงแห่งนามรูป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
การก้าวลงแห่งนามรูป มีอยู่ในที่ใด
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ก็มีอยู่ ในที่นั้น.
ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย มีอยู่ในที่ใด.
การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
การบังเกิด ในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด
ชาติ ชราและมรณะต่อไป ก็มีอยู่ในที่นั้น.
ชาติ ชรา และมรณะต่อไป มีอยู่ในที่ใด
ภิกษุ ท. ! เราเรียกที่นั้น ว่า “เป็นที่มีโศก มีธุลี และมีความคับแค้น.
(มีข้อความตรัส ต่อไปจนกระทั่งจบข้อความในกรณีอาหารที่สี่คือวิญญาณ ซึ่งอาหารอีก ๓ อย่างที่ตรัสต่อไปนั้น ก็มีข้อความเหมือนกับในกรณีอาหารคือคำข้าว ข้างบนนี้ทุกประการต่าง แต่ชื่ออาหารเท่านั้น)” ดังนี้ แล.
349
อาการที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะตัณหาในอายตนะภายนอก
ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การเกิดโดยยิ่ง การตั้งอยู่ และความปรากฏของตัณหาในรูป ของตัณหา ในเสียง ของตัณหาในกลิ่น ของตัณหาในรส ของตัณหาในโผฏฐัพพะ และของตัณหา ในธรรมารมณ์ อันใด อันนั้น
แหละ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ อันนั้นแหละ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละเป็นความปรากฏของชราและมรณะแล.
350
อาการที่ทุกข์เกิดมาจากตัณหา
ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปกติเห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (อุปาทานิยธรรม)อยู่ตัณหาย่อมเจริญอย่างทั่วถึง เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็น ปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ พึงลุกโพลงด้วยไม้สิบเล่ม-เกวียนบ้าง ยี่สิบเล่มเกวียน บ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง. บุรุษพึงเติมหญ้าแห้งบ้าง มูลโคแห้งบ้าง ไม้แห้งบ้าง ลงไปในกองไฟนั้น ตลอดเวลาที่ควรเติม อยู่เป็นระยะๆ.
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการอย่างนี้แล ไฟกองใหญ่ซึ่งมีเครื่องหล่อเลี้ยงอย่างนั้น มีเชื้อเพลิงอย่าง นั้น ก็จะพึงลุกโพลงตลอดกาลยาวนาน ข้อนี้ฉันใด ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปกติเห็น โดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี) ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานอยู่.
ตัณหาย่อมเจริญอย่างทั่วถึง ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะมี อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แล.
(ในสูตรถัดไปทรงแสดงสัญโญชนิยธรรม แทนคำว่า อุปาทานิยธรรม และในตอนอุปมา ทรงแสดง อุปมาด้วยประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ได้ เพราะอาศัยเชื้อและมีผู้คอยเติม โดยนัย เดียวกับ สูตรข้างบน).
351
ตัณหาเป็นเชื้อแห่งการเกิด
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทาน(เชื้อ) อยู่ ไม่ใช่สำหรับ สัตว์ ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน.
วัจฉะ ! เปรียบเหมือนไฟที่มีเชื้อ ย่อมโพลงขึ้นได้ ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไม่ได้ อุปมานี้ฉันใดอุปไมยก็ฉันนั้น วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมี อุปาทานอยู่ ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน.
“พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล, สมัยนั้น พระโคดมย่อม บัญญัติ ซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่น แหละเป็นเชื้อ.
วัจฉะ ! เพราะว่า สมัยนั้นลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.
“พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่นสมัยนั้น พระโคดม ย่อมบัญญัติ ซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่า มันยังมีเชื้ออยู่ ?”
(ให้ผู้ศึกษาพึงสังเกตคำตรัสต่อไปนี้ ซึ่งจะสามารถนำไปอธิบายถึงคำสัมภเวสีสัตว์ได้ ดูหน้า ๒๘๗)
วัจฉะ ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น(สัมภเวสีสัตว์) เรากล่าว สัตว์นี้ ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อ เพราะว่าสมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น แล. [ยสฺมึ โข วจฺฉ สมเย อิม จ กายํ นิกฺขิปติ สตฺโต จอญฺญตรํ กายํ อนุปปนฺโน โหติ ตมหํ ตณฺหุปาทานํ วทามิ ตณฺหา หิสฺส วจฺฉ ตสฺมึ สมเย อุปาทานํ โหตีติฯ]
352
อาสวะทำหน้าที่อย่างเดียวกับตัณหา
(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๓๙๖)
อัคคิเวสสนะ ! อย่างไรเล่า เรียกว่าเป็นคนหลงใหล ? อัคคิเวสสนะ ! อาสวะเหล่าใด อันกระทำ ให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรามรณะต่อไป เป็นอาสวะที่บุคคลใดละไม่ได้ เรากล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนหลงใหล.
อัคคิเวสสนะ ! เพราะ ละอาสวะไม่ได้จึงเป็นคนหลงใหล.
อัคคิเวสสนะ ! อาสวะเหล่าใด อันกระทำให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวน กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรามรณะต่อไปเป็นอาสวะที่บุคคลใดละได้แล้ว เรากล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่หลงใหล.
อัคคิเวสสนะ ! เพราะ ละอาสวะได้จึงเป็นคนไม่หลงใหล.
อัคคิเวสสนะ ! อาสวะเหล่าใด อันกระทำให้เศร้าหมอง ทำให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวน กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรา มรณะต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ทำให้มี รากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลไม่มีขั้วยอดแล้ว ถึงความไม่มีไม่เป็น มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดาเปรียบเหมือนต้นตาลมีขั้วยอดขาดแล้ว ไม่อาจงอกงามได้อีกต่อไป ฉันใดก็ฉันนั้น.
353
อาการที่สัตว์เกิดตัณหาและเกิดทุกข์
ภิกษุ ท. ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีได้ เพราะการประชุมพร้อมของสิ่ง ๓ อย่าง. ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้ อยู่ร่วมกัน
แต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และคันธัพพะ (สัตว์ที่จะเข้าไปปฏิสนธิในครรภ์นั้น) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ก่อน. ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกัน และมารดา ก็ผ่านการมีระดู แต่คันธัพพะยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้นั่นเอง
ภิกษุ ท. ! แต่เมื่อใด มารดาและบิดาเป็ นผู้อยู่ร่วมกันด้วย (ยโต จ โข ภิกฺขเว มาตาปิตโร จ สนฺนิปติตา โหนติ มาตา จ อุตุนี โหติ คนฺธพฺโพ จปจฺจุปฏฐิโต โหติ เอวํ ติณฺณํ สนฺนิปาตา คพฺภสฺสาวกฺกนฺติ โหติฯ) มารดาก็ผ่านการมีระดูด้วย คันธัพพะก็เข้าไป ตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมสำเร็จได้ เพราะการประชุมพร้อมกัน ของสิ่ง ๓ อย่าง ด้วยอาการอย่างนี้.
[หมายเหตุ ; คำว่า คันธัพพะ (คนฺธพฺโพ) ควรหมายถึงชื่อเรียกเฉพาะกรณีที่บ่งบอกถึง
วิญญาณที่จะเข้าไปตั้งอยู่ในสัตว์ที่อาศัยครรภ์เป็นการเกิด, การประชุมพร้อมกันของสิ่ง ๓ อย่างจึงจะครบทั้งรูปและนาม การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ย่อมจะสำเร็จ,จะสอดคล้องกันที่ พระองค์ตรัสเกี่ยวกับเด็กในครรภ์จะเจริญเติบโตต่อไปได้ต้องอาศัยวิญญาณ ดังที่ตรัสไว้กับ พระอานนท์ในปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า ๗๘๙ และในเล่มนี้หน้า ๑๓๘]
ภิกษุ ท. ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก ตลอดเวลาเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง.
ภิกษุ ท. ! เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดา ย่อมคลอดบุตรนั้นด้วยความเป็นห่วง อย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตของตนเอง.
ภิกษุ ท. ! ในวินัยของพระอริยเจ้าคำว่า “โลหิต” นี้ หมายถึงนํ้านมของมารดา.
ภิกษุ ท. ! ทารกนั้น เจริญวัยขึ้น มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้วเล่นของเล่นสำหรับเด็ก เช่น เล่นไถน้อย ๆ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นของเล่นชื่อโมกขจิกะ๑ เล่นกังหันลมน้อย ๆ เล่นตวงของ ด้วยเครื่องตวงที่ทำด้วยใบไม้ เล่นรถน้อย ๆ เล่นธนูน้อย ๆ.
ภิกษุ ท. ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้ว มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อม ด้วยกามคุณห้า ให้เขาบำเรออยู่ ทางตาด้วยรูป ทางหูด้วยเสียง ทางจมูกด้วยกลิ่น ทางลิ้น ด้วยรส และทางกายด้วยโผฏฐัพพะ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ ที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย้อมใจ และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก.
ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้นแล้ว ย่อมกำหนัดยินดี ในรูป เป็นต้น ที่ยั่วยวนให้เกิด ความรัก ย่อมขัดใจในรูป เป็นต้น อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็ นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติอันเป็น
ไปในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันเป็นที่ดับไม่เหลือ แห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย.
กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วย ความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยเฉพาะซึ่ง เวทนาใด ๆ เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลินพร่ำ สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้น ๆ.
เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น ความเพลิน(นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น. ความเพลินใด ในเวทนาทั้งหลาย มีอยู่ ความเพลินอันนั้นเป็นอุปาทาน. เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะ โทมนัส และ อุปายาส จึงเกิดมีพร้อม. ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
355
อาการที่ตัณหา (เครื่องนำไปสู่ภพใหม่) เจริญขึ้น
ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักษุ ตามที่เปน็ จริง เมื่อไมรู่้ไม่เห็น ซึ่ง รูป ทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักขุวิญญาณตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุข ก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง แล้ว เขาย่อมกำหนัด ใน จักษ กำหนัดในรูปทั้งหลาย กำหนัดในจักขุวิญญาณ กำหนัดในจักขุสัมผัส และกำหนัดใน เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยอันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่ สุข ก็ตาม.
เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดแล้ว ติดพันแล้ว ลุ่มหลงแล้ว จ้องมองต่ออัสสาทะอยู่ ปัญจุปาทาน -เครื่องนำไปสู่ภพใหม่ อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ ความเพลิน เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นั้นย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความกระวน กระวาย (ทรถ) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุดแก่เขา ความกระวนกระวาย แม้ทางจิต ย่อมเจริญ ถึงที่สุด แก่เขา ความแผดเผา (สนฺตาป) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความแผดเผา แม้ทางจิตย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความเร่าร้อน (ปริฬาห) แม้ทางกาย ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา ความเร่าร้อน แม้ทางจิต ย่อมเจริญถึงที่สุด แก่เขา.
บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางกาย ด้วย, ซึ่งความทุกข์อันเป็นไปทางจิตด้วย. (ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย และมโน ก็ได้ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกัน).
356
เห็นแก่เหยื่อจึงติดเบ็ด
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนพรานเบ็ด ซัดเบ็ดที่เกี่ยวเหยื่อลงไปในห้วงน้ำลึก. ปลาที่เห็นแก่เหยื่อ ตัวใดตัวหนึ่ง จะพึงกลืนเบ็ดนั้นเข้าไป.
ภิกษุ ท. ! ด้วยอาการนี้แหละ ปลาที่กลืนเบ็ดตัวนั้น ถึงแล้วซึ่งความพินาศถึงแล้วซึ่ง ความ ฉิบหาย เพราะพรานเบ็ด แล้วแต่พรานเบ็ดนั้นใคร่จะทำตามอำเภอใจอย่างใด.
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น เบ็ดหกตัวเหล่านี้ มีอยู่ในโลก เพื่อความฉิบหายของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อฆ่าสัตว์ทั้งหลาย. เบ็ดหกตัวนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เบ็ดหกตัวนั้น คือ รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี และธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี มีอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ ที่ยวนตา ยวนใจ ให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ และเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ.
ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็ นต้นนั้นไซร้
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้กลืนเบ็ดของมาร ถึงแล้วซึ่งความพินาศ ถึงแล้วซึ่งความ ฉิบหาย แล้วแต่มารผู้มีบาปใคร่จะทำประการใด แล.
357
ผู้แบกของหนัก
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงของหนัก ผู้แบกของหนัก และการแบกของหนัก.... แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลาย จงฟังข้อความนั้น.
ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า ชื่อว่า ของหนัก ?
ภิกษุ ท. ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก. อุปาทานนักขันธ์ทั้งห้าเหล่าไหนเล่า ?
ห้าคือ:- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ของหนัก.
ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า ชื่อว่า ผู้แบกของหนัก ?
ภิกษุ ท. ! บุคคล(ตามสมมติ) นั้นแหละ เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก. เขามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่.
ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก.
ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า ชื่อว่า การแบกของหนัก ? ภิกษุ ท. ! ตัณหานี้ใด ที่ทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจแห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้เพลิดเพลิน ในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก.
358
จิตมีตัณหา เรียกว่าอยู่สองคน
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง พระเจ้าข้า ?”
มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่. ถ้าหากว่าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่นั่นแหละ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น.
เมื่อนันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี เมื่อสาราคะ มีอยู่, สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี
มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจ แห่ง ความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสอง”
(ในกรณีแห่ง เสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี กลิ่น ทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี รส ทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ด โผฏฐัพพะ ทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกาย ก็ดี และธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลาย อันจะพึงเห็นด้วยจักษุ).
มิคชาละ ! ภิกษุผู้มีการอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะส้องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าและป่าชัฏ ซึ่งเงียบสงัด มีเสียงรบกวนน้อย มีเสียงกึกก้องครึกโครมน้อย ปราศจากลมจากผิวกายคน เป็นที่ทำการลับของมนุษย์ เป็นที่สมควรแก่การหลีกเร้น เช่นนี้แล้วก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็ยังคงเรียกว่าผู้มีการอยู่อย่างมีเพื่อนสองอยู่นั่นเอง.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหา นั้น อันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างมี เพื่อนสอง ดังนี้.
359
จิตไม่มีตัณหา เรียกว่าอยู่คนเดียว
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีการอยู่อย่าง อยู่ผู้เดียวพระเจ้าข้า”
มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายอันจะพึงเห็นได้ด้วยจักษุ เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ถ้าหากว่าภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้ แก่ภิกษุผู้ไม่ เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นนั่นแหละ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับ เมื่อนันทิ ไม่มีอยู่ สาราคะ (ความกำหนัดกล้า) ย่อมไม่มี เมื่อสาราคะ ไม่มีอยู่สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์)ย่อมไม่มี
มิคชาละ ! ภิกษุผู้ ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยการผูกจิตติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่ง ความเพลิน นั่นแล เราเรียกว่า “ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว”.
(ในกรณีแห่ง เสียง ทั้งหลายอันจะพึงได้ยินด้วยหูก็ดี กลิ่น ทั้งหลายอันจะพึงดมด้วยจมูกก็ดี รส ทั้งหลายอันจะพึงลิ้มด้วยลิ้นก็ดี โผฏฐัพพะ ทั้งหลายอันจะพึงสัมผัสด้วยผิวกายก็ดี และ ธรรมารมณ์ ทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้มีนัยยะ อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทั้งหลายอันจะพึงเห็นด้วยจักษุ).
มิคชาละ ! ภิกษุผูมี้การอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้อยู่ในหมู่บ้าน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ด้วยพระราชามหาอำมาตย์ของพระราชาทั้งหลาย ด้วยเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ทั้งหลายก็ตาม ถึงกระนั้น ภิกษุนั้นเราก็เรียกว่า ผู้มีการอยู่ อย่างอยู่ผู้เดียวโดยแท้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเพราะเหตุว่าตัณหานั่นแล เป็นเพื่อนสองของภิกษุนั้น ตัณหานั้น อันภิกษุนั้นละเสียได้แล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นเราจึงเรียกว่า ผู้มีการอยู่อย่างอยู่ผู้เดียว ดังนี้ แล.
(เรื่องนี้ควรจะอยู่ในหมวดนิโรธ แต่นำมาใส่ไว้ต่อท้ายเรื่องนี้ซึ่งเป็นหมวดสมุทัย ก็เพื่อความ สะดวกแก่การศึกษา คือศึกษาพร้อมกัน อันจะเป็นการง่าย ได้ผลดีกว่าที่จะแยกกัน. แต่ยังมี ลักษณะ แห่งจิตของผู้ที่เรียกว่าอยู่คนเดียวที่ลึกซึ้งกว่า ประณีตกว่าเรื่องนี้ในหมวด นิโรธ หรือภาค ๓ขอให้ดูจากที่นั้น ที่หน้า ๖๙๕ โดยหัวข้อว่า “ผู้อยู่คนเดียวคือผู้ไม่ข้องติดอยู่ใน ธรรมทั้งปวง”).
361
ทุกข์โทษที่เกิดจากกาม
ภิกษุ ท. ! โทษของกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กุลบุตรในโลกนี้ สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอาชีพศิลปะใด ๆเช่นศิลปะแห่งการใช้ สัญญาด้วยมือ ศิลปะแห่งการคำนวณ ศิลปะแห่งการพยากรณ์ การทำกสิกรรม พาณิชยกรรม และโครักขกรรม ศิลปะแห่งศัสตราวุธ และการทำราชการ และศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการประกอบอาชีพนั้น ๆ เขาต้องเผชิญหน้าต่อความหนาว ความร้อน เผชิญหน้าด้วย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสด้วยสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ซูบผอมอยู่หิวระหายอยู่ เพราะการไม่ได้บริโภคตามเวลา.
ภิกษุ ท. ! นี้ เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น เครื่องก่อมีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายามอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ก็ยังไม่สำเร็จแก่ เขา เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความมืดมัวอยู่ ว่า “ความขยันของเรา เป็นหมันหนอ ความพยายามของเราไร้ผลหนอ” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลายเป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น เครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! เมื่อกุลบุตรนั้น พากเพียร ขวนขวาย พยายาม อยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ก็สำเร็จแก่เขา ด้วย เขา ก็จะต้องเสวยทุกข์ โทมนัสเพราะการอารักขาโภคทรัพย์เหล่านั้นเป็นต้นเหตุ ด้วยหวังอยู่ ว่า “พระราชาจะไม่ริบทรัพย์เหล่านั้นไป โจร จะไม่ปล้นทรัพย์เหล่านั้นไป ไฟ จะไม่ไหม้ทรัพย์ เหล่านั้น น้ำ จะไม่ท่วมทำลายทรัพย์เหล่านั้น ทายาทที่ไม่พอใจ จะไม่ยื้อแย่งทรัพย์เหล่านั้นไป” ดังนี้.
เมื่อกุลบุตรนั้น ทำการอารักขาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา ริบเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม โจร ปล้นเอาทรัพย์เหล่านั้นไปเสียก็ตาม ไฟ ไหม้ทรัพย์เหล่านั้นเสียก็ตาม น้ำ ท่วมทำลาย ทรัพย์ เหล่านั้นเสียก็ตาม หรือทายาทที่ไม่พอใจ ยื้อแย่งเอาทรัพย์เหล่านั้นไปได้ก็ตาม เขา ย่อมโศกเศร้า ระทมใจ คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความมืดมัวรำพันอยู่ ว่า “ ทรัพย์ใดได้มีแล้ว แก่เรา ทรัพย์นั้น ไม่มีเสียแล้ว” ดังนี้.
ภิกษุ ท. !แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น เครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็น เครื่อง ให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว
พระราชา ย่อมวิวาทกับพระราชาบ้าง กษัตริย์ย่อมวิวาทกับกษัตริย์บ้าง พราหมณ์ย่อมวิวาทกับ พราหมณ์บ้าง คฤหบดีย่อมวิวาทกับคฤหบดีบ้าง มารดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง บุตรย่อมวิวาทกับ มารดาบ้าง บิดาย่อมวิวาทกับบุตรบ้าง. บุตรย่อมวิวาทกับบิดาบ้าง พี่น้องชายย่อมวิวาทกับ พี่น้องชายบ้าง พี่น้องชายย่อมวิวาทกับพี่น้องหญิงบ้าง พี่น้องหญิงย่อมวิวาทกับพี่องชายบ้าง สหายย่อมวิวาทกับสหายบ้าง คนเหล่านั้น ทำการทะเลาะ วิวาท บาดหมางกันแล้ว ย่อมต่อสู้ กัน และกันด้วยมือบ้าง ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยก้อนดินบ้างย่อมต่อสู้กันและกันด้วยท่อนไม้บ้าง ย่อมต่อสู้กันและกันด้วยศัสตราบ้าง อยู่ในที่นั้นๆ.
เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกาม เป็นเครื่อง ให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ แล่งศร แบ่งกันเป็นสองกองทัพพุ่งเข้าทำสงครามกัน.
เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป เมื่อหอกถูกซัดไป เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่ คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศร บ้าง แทงกันด้วยหอกบ้าง ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง ในสงครามนั้น ๆ เขาเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่ง ความตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกาม เป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก : เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็น เครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว คนทั้งหลาย ถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและ แล่งศร วิ่งขึ้นปีน เชิงเทิน (เพื่อปล้นเอาเมือง) เมื่อลูกศรถูกปล่อยไป เมื่อหอกถูกซัดไป เมื่อดาบถูกกวัดแกว่งอยู่, คนเหล่านั้น ยิงกันด้วยลูกศรบ้าง แทงกันด้วยหอกบ้าง ราดกันด้วยเถ้าถ่านโคมัยอันร้อนบ้าง.
ปล่อยของหนักให้ตกลงทับทีเดียวตายทั้งหมู่บ้าง ตัดศีรษะกันด้วยดาบบ้าง ในสงครามนั้น ๆ เขาเหล่านั้นย่อมถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น เครื่องก่อมีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็น เครื่อง ให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว คนทั้งหลาย ย่อมตัดช่อง ย่องเบา ปล้นสะดมใน เรือน หลังเดียว คอยดักทำร้ายในที่เปลี่ยว และล่วงภรรยาผู้อื่น.
พระราชา จับคนเหล่านั้นมาแล้ว ให้ลงกรรมกรณ์หลายวิธีด้วยกัน เช่นเฆี่ยนด้วยหวายบ้าง หวดด้วย เชือกหนังบ้าง ทุบด้วยท่อนไม้บ้าง ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดเสียทั้งมือและ เท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดเสียทั้งหูและจมูกบ้าง ยอมทำโทษโดยวิธีหม้อเคี่ยวน้ำส้ม๑ บ้าง ย่อมทำโทษโดยวิธี ขอดสังข์๒ บ้าง.
……………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………..
(-นัยอรรถกถาและพระไตรปิฎกแปลของ ม.อำไพจริต.)
๑. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม คือต่อยหัวขมองแยกออก แล้วใช้คีมคีบก้อนเหล็กที่ลุกแดง ใส่ลงไปให้มัน สมอง เดือดพลุ่งขึ้น เหมือนน้ำส้มเดือดล้นหม้อ.
๒. ขอดสังข์ คือตัดหนังควั่นไปให้รอบจอนหูทั้งสองข้าง และหลุมคอ แล้วรวบผมทั้งหมด ขมวดไว้ ใช้ไม้สอดหมุนยกขึ้น ให้หนังหลุดติดขึ้นมาพร้อมกับผมแล้วใช้ทรายหยาบ ขัด กระโหลกศีรษะล้างให้ขาว ดั่งสังข์.
๓. ปากราหู คือใช้ขอเหล็กง้างปากให้อ้าแล้วจุดไฟในปาก. อีกอย่างหนึ่ง ใช้สิ่วตอกเจาะตั้งแต่ จอนหู เข้าไปจนถึงปากให้โลหิตไหลออกมาเต็มปาก ดูปากอ้า ดั่งปากราหู.
๔. มาลัยไฟ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันจนทั่วตัวแล้วจุดไฟ
๕. คบมือ คือใช้ผ้าชุบน้ำมันพันมือทั่วสองข้างจนทั่ว แล้วจุดไฟ.
๖. ริ้วส่าย คือเชือดหนังลอกออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ใต้คอไปจนถึงข้อเท้า แล้วเอาเชือกผูก ฉุดคร่าไป นักโทษเดินเหยียบ
ริ้วหนังของตัวล้มลุกคลุกคลานไปกว่าจะตาย
๗. นุ่งเปลือกไม้ คือเชือดหนังเป็นริ้ว ๆ อย่างบทก่อน แต่ทำเป็นสองตอน ตั้งแต่ใต้คอจนถึง เอวตอนหนึ่ง ตั้งแต่เอวจนถึงข้อเท้าตอนหนึ่ง ริ้วหนังตอนบนห้อยคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง ดูดั่งนุ่งเปลือกไม้
๘. ยืนกวาง คือใช้ห่วงเหล็กรัดศอกทั้งสอง และเข่าทั้งสอง ตรึงติดไว้กับหลักเหล็กสี่หลักบน พื้นดิน ดูดั่ง กวางถูกตรึงแล้วก่อไฟล้อมลนไปกว่าจะตาย.
๙. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด คือใช้เบ็ดมีเงี่ยงสองข้าง เกี่ยวตัวดึงเอาหนังเนื้อและเอ็นออกมาให้หมด.
๑๐. เหรียญกษาปณ์ คือใช้มีดคมเชือดเนื้อออกเป็นแว่นๆ ขนาดเท่าเงินเหรียญจนกว่าจะตาย.
๑๑. แปรงแสบ คือฟันสับเสียให้ยับทั่วกาย แล้วใช้แปรงชุบน้ำแสบ (มีน้ำเกลือเป็นต้น) ถูครูดสีไปมาให้หนังเนื้อเอ็นขาดหลุดออกมาหมด เหลือแต่กระดูก.
๑๒. กางเกวียน คือให้นอนตะแคง แล้วใช้หลาวเหล็กตอกเข้าช่องหูให้ทะลุ ลงไปตรึงแน่นอยู่ กับดิน แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดินเวียน.
๑๓. ตั่งฟาง คือใช้ลูกหินบดทับตัว บดให้กระดูกแตกละเอียด แต่ไม่ให้หนังขาด แล้วจับผมรวบ ขึ้นเขย่าๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง แล้วใช้ผมนั่นแหละพันตะล่อมวางไว้ เหมือนดั่งที่ทำด้วยฟาง สำหรับเช็ดเท้า.
๑๔. ให้สุนัขทึ้ง คือขังฝูงสุนัขให้อดหิวโซหลายวัน แล้วปล่อยให้ออกมารุมทึ้ง พักเดียวเหลือ แต่ กระดูก
(-นัยอรรถกถาและพระไตรปิฎกแปลของ ม.อำไพจริต.)
...............................................................................................……………………………………………………………………………..
ย่อมทำโทษโดยวิธีถึงซึ่งความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ในที่นั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว.
ภิกษุ ท. ! โทษอย่างอื่นยังมีอีก เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นเครื่องก่อ เพราะกามเป็น เครื่อง ให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว
คนทั้งหลาย ย่อมประพฤติ ทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ. ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจแล้ว เขาเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่การตาย เพราะการแตกสลายแห่งกาย.
ภิกษุ ท. !แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นได้เองมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นเครื่องก่อ มีกามเป็นเครื่องให้กระทำ เป็นเหตุเพราะกามนั่นเทียว ดังนี้แล.
366
ปกิณณกทุกข์ ที่มีกามตัณหาเป็นมูล
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี (กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.
เก้าอย่าง อย่างไรเล่า ?
เพราะอาศัย ตัณหา จึงมี การแสวงหา (ปริเยสนา)
เพราะอาศัย การแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ)
เพราะอาศัย การได้ จึงมีความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย)
เพราะอาศัย ความปลงใจรัก จึงมีความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค)
เพราะอาศัย ความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ)
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมีความจับอกจับใจ (ปริคฺคโห) เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมีความตระหนี่ (มจฺฉริยํ)
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมีการหวงกั้น (อารกฺโข)
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมีเรื่องราวอันเกิดจากการหวงกั้น (อารกฺขา-ธิกรณํ) กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จทั้งหลาย ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ชื่อว่าธรรม (เป็นฝักฝ่ายแห่งทุกข์) ที่มี(กาม) ตัณหาเป็นมูล ๙ อย่าง.
367
ตัณหาเป็นเหตุแห่งความโศก
ความโศก ย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก, ความกลัวย่อมเกิดมาแต่สิ่งอันเป็นที่รัก เมื่อพ้นแล้ว จากสิ่งเป็นที่รัก ความโศก ย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความรัก ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความรัก เมื่อพ้นแล้วจา ความรัก ความโศกย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความยินดี, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความยินดี เมื่อพ้นแล้วจากความ ยินดี ความโศกย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ความใคร่, ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ความใคร่ เมื่อพ้นแล้วจากความ ใคร่ ความโศก ย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
ความโศก ย่อมเกิดมาแต่ตัณหา ความกลัว ย่อมเกิดมาแต่ตัณหา เมื่อพ้นแล้วตัณหา ความโศก ย่อมไม่มี แล้วความกลัว จะมีมาแต่ไหนเล่า.
368
ปัจจัยแห่งทุกข์โดยอเนกปริยาย
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อุปธิ เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อวิชชา เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี สังขาร เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี วิญญาณ เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี ผัสสะ เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี เวทนา เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี ตัณหา เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อุปาทาน เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อารัมภะ (ความเกาะเกี่ยว )เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อาหาร เป็นปัจจัย....
.... ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งปวงนั้นมี อิญชิตะ (ความหวั่นไหว) เป็นปัจจัย....
นี้เป็นอนุปัสสนาหนึ่ง ๆ.
(๑. อนุปัสสนา ๑๑ ประการนี้ เป็นคู่กับอนุปัสสนาอีก ๑๑ ประการ อันเป็นฝ่ายนิโรธซึ่งได้แยก ไป ใส่ไว้ในหมวดทุกขนิโรธอริยสัจ โดยหัวข้อว่า “เหตุดับแห่งทุกข์ที่ตรัสไว้โดยอเนก ปริยาย”.ผู้ศึกษาพึงสังเกตเห็นได้เองว่า การแยกให้เป็นปริยายมากออกไป กระทำได้โดย ลักษณะ เช่นนี้.
๒. ให้สังเกตคำตรัสที่ว่าอุปธิในหน้า ๓๖๘ นี้กินความหมายกว้างกว่าอุปาทานแต่เป็นความยึด ในสังขตธรรมทั้งหมด เพราะการไม่ละความเพลินแม้ในนิพพานดังที่ตรัสในปฏิจจ.หน้า ๔๑๘ ที่ทรงให้พระอรหันต์ละความเพลินในนิพพาน. ๓. ให้ดูในเล่มนี้เรื่อง อุปธิและอุปาทาน ในหน้า ๒๘๖ประกอบด้วย).
นิทเทส ๖
ว่าด้วยอาการที่ตัณหาทำให้เกิดทุกข์
จบ
นิทเทส ๗ ว่าด้วยทิฏฐิที่เกี่ยวกับตัณหา(มี ๘ เรื่อง)
370
เพราะมิจฉาทิฏฐิจึงเป็นปลาติดอวน
ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติทิฏฐิปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้าง ปรารภทั้งปุพพันตะและอปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มี ปุพพันตา ปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิ อันเป็นอธิมุตติบท(ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างต่าง ๆ กันเป็นอเนก
สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้วให้ตก อยู่ภายใน แห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชาวประมงและลูกมือของชาวประมงผู้เชี่ยวชาญ ได้ล้อมแหล่งน้ำน้อย ไว้ด้วยอวนตาถี่ เมื่อเป็นอย่างนี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเป็นอันมากเหล่าหนึ่งเหล่าใด ในแหล่งน้ำนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่าถูกกระทำไว้แล้วในภายในแห่งอวน เมื่อผุดอยู่ที่เดียว ก็ผุดอยู่ในอวนนั้น เมื่อเที่ยวผุดอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ก็ยังคงผุดอยู่ในอวน นั้นนั่นเอง นี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่บัญญัติ ทิฏฐิปรารภปุพพันตขันธ์บ้าง ปรารภอปรันตขันธ์บ้างปรารภทั้งปุพพันตะและอปรันตขันธ์บ้าง ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุ-ทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่เป็นปุพพันตะและอปรันตะ ดังนี้แล้ว กล่าวบัญญัติทิฏฐิอันเป็นอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ ตามทิฏฐิแห่งตน ๆ) มีอย่างต่าง ๆ กัน เป็นอเนก สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด ถูกกระทำแล้ว ให้ตกอยู่ภายในแห่งข่าย ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ) ทั้งหลาย ๖๒ ประการเหล่านั้นเอง เมื่อโงหัวอยู่ที่เดียว ก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้น เมื่อเที่ยวโงหัวอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไปก็โงหัวอยู่ในข่ายนั้นนั่นเอง.
371
เกิดกิเลสและทุกข์เพราะทิฏฐิบวก - ทิฏฐิลบ
ภิกษุ ท. ! ทิฏฐิสองอย่างนี้มีอยู่ คือ ภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายบวก).วิภวทิฏฐิ (ทิฏฐิฝ่ายลบ).
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงภวทิฏฐิ เข้าถึงภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่ภวทิฏฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อวิภวทิฏฐิ.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด แอบอิงวิภวทิฏฐิ เข้าถึงวิภวทิฏฐิ หยั่งลงสู่วิภวทิฏฐิ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมคัดค้านต่อภวทิฏฐิ.
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ไม่ได้ รสอร่อย โทษต่ำทราม และอุบายเครื่องออกแห่งทิฏฐิทั้งสองนี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ มีราคะ มีโทสะมีโมหะ มีตัณหา มีอุปาทาน เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ประเดี๋ยวยอมรับประเดี๋ยวคัดค้าน
มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี มักยินดีในความเนิ่นช้า. เขาเหล่านั้น ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส, เรากล่าวว่าเขาเหล่านั้น ไม่พ้นจากทุกข์.(ต่อจากนี้ได้ตรัสสมณพราหมณ์พวกตรงกันข้าม ไม่มีทิฏฐิบวก-ทิฏฐิลบ พ้นจากทุกข์ได้โดยนัยตรงกันข้าม).
372
สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างไรหนอแล ?” ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการ แนะนำ ในธรรมของพระอริยเจ้าไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการ แนะนำ ในธรรมของสัตบุรุษ
เขาย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง
ตามเห็นรูป ว่ามีอยู่ในตนบ้าง
หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในรูปบ้าง
ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความ เป็นตนบ้าง
ตามเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง
ตามเห็นเวทนาว่า มีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่า มีอยู่ในเวทนาบ้าง
ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง
ตามเห็นตนว่ามีสัญญา บ้าง
ตามเห็นสัญญาว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง
ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตนบ้าง
ตามเห็นตนว่ามีสังขารบ้าง
ตามเห็นสังขารว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ใน สังขารบ้าง
ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็น
ตนว่ามีวิญญาณบ้าง
ตามเห็นวิญญาณว่ามีอยู่ในตนบ้าง หรือตามเห็นตนว่ามีอยู่ในวิญญาณบ้าง.
ภิกษุ ! สักกายทิฏฐิ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล. (ต่อไปนี้ ได้ตรัสอาการที่ สักกายทิฏฐิไม่มี โดยนัยตรงกันข้าม).
373
สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา
ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา (ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่ง รูป โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป บ้าง
ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง เวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง
ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง สัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง
ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง สังขาร โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสังขารว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขาร บ้าง
ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง วิญญาณ โดยความเป็นตน หรือเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีวิญญาณ หรือตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาณว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายสมุทยคามินีปฏิปทา ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้อธิบายว่า ข้อ (ที่กล่าวมาทั้งหมด) นั้น เรียกว่าการตามเห็นอันเป็น เครื่องให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ (ทุกฺขสมุทยคามินีสมนุปสฺสนา).
[ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ทุกขสมุทยคามินีสมนุปัสสนานั่นแหละ คือสักกายสมุทยคามินี ปฏิปทา(ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ).
คำว่า ปฏิปทาในกรณีเช่นนี้ หมายถึงทางดำเนินแห่งจิตมิใช่การปฏิบัติด้วยเจตนา ได้แก่ความ เห็นผิด เหล่านั้นนั่นเองเป็นตัวปฏิปทา.
ในบาลีแห่งอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๕/๘๒๐) แทนที่จะยกเอาเบญจขันธ์มาเป็นวัตถุแห่งการเห็น แต่ได้ตรัสยกเอาอายตนิกธรรม ๖ หมวดคือ อายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก วิญญาณหก ผัสสะหก เวทนาหก ตัณหาหกมาเป็นวัตถุแห่งการตามเห็นเกี่ยวกับตัวตน และทรงเรียกการตามเห็นนั้นว่า ทางดำเนินแห่งจิตให้ถึงซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสักกายะ อย่างเดียวกับสูตรข้างบน].
375
เหตุให้เกิดอันตคาหิกทิฏฐิสิบ
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนก เหล่านี้ ขึ้นมาในโลก ว่า ‘โลกเที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ บ้าง ว่า ‘โลกมีที่สุด’ บ้างว่า ‘โลกไม่มีที่สุด’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น’ บ้าง ว่า ‘ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก’ บ้าง ว่า‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี’ บ้าง ว่า ‘ตถาคตภายหลัง แต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้’ บ้าง ?”
วัจฉะ ! เพราะความไม่รู้ในรูป ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป ในความดับไม่เหลือแห่งรูป ในหนทางเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป ทิฏฐิมีอย่างเป็นอเนกเหล่านี้ จึงเกิดขึ้นมาในโลก ว่า “โลกเที่ยง” บ้าง ว่า “โลกไม่เที่ยง”บ้าง ....ฯลฯ.... ว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” บ้าง.
(ในกรณีแหง่ ความไม่รู้ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร และในวิญญาณ แลว้ จึงเกิดทิฏฐิต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ได้ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งความไม่รู้ในรูป.
สำหรับคำว่า “เพราะความไม่รู้” ในสูตรข้างบนนี้ ในสูตรอื่น ๆ ได้ตรัสไว้ด้วยคำว่า เพราะไม่เห็น, เพราะไม่ถึงพร้อมเฉพาะ, เพราะไม่รู้โดยลำดับ, เพราะไม่แทงตลอด, เพราะไม่กำหนดทั่วถึง, เพราะไม่เข้าไปกำหนด, เพราะความไม่เพ่งพินิจ อย่างสมํ่าเสมอ, เพราะความไม่พิจารณาโดยเจาะจง, เพราะความไม่เข้าไปกำหนด โดยเฉพาะ และเพราะไม่ทำให้ประจักษ์, อีกถึง ๑๐ คำ ซึ่งก็มีใจความอย่างเดียวกัน).
376
ทิฏฐิให้เกิดเวทนาชนิดที่ล้วนแต่เป็นทุกขสมุทัย
ภิกษุ ท. ! บรรดาสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก สัสสตวาท
ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งทิฏฐิ )๔ ประการ ก็ดี,
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวก เอกัจจสัสสติกเอกัจจอสัสสติกวาท
(ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยงบางอย่าง ด้วยวัตถุ ๔ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอันตานันติกวาท
(ย่อมบัญญัติซึ่งโลกว่ามีที่สุดหรือไม่มีที่สุด ด้วยวัตถุ ๔ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอมราวิกเขปิกวาท (เมื่อถูกถามปัญหาในที่นั้น ๆ ย่อมถึงความส่ายแห่งวาจาอันดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยวัตถุ ๔ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอธิจจสมุปปันนิกวาท
(ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดเองลอย ๆ ด้วยวัตถุ ๒ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาท(มีปุพพันตนานุ-ทิฏฐิ ปรารภขันธ์อันมีแล้วในกาลก่อน ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท (ทางแห่งความหลุดพ้นอย่างยิ่งของสัตว์ตามทิฏฐิแห่งตนๆ) มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติอัตตาหลังจากตายแล้วว่ามีสัญญา ด้วยวัตถุ ๑๖ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็น พวกอุทธมาฆตนิกอสัญญีวาท ย่อมบัญญัติอัตตา
หลังจาก ตายแล้วว่าไม่มีสัญญา ด้วยวัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุทธมาฆตนิกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (ย่อมบัญญัติอัตตา หลังจาก ตายแล้ว ว่ามีสัญญาก็หามิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้ด้วยวัตถุ ๘ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอุจเฉทวาท
(ย่อมบัญญัติซึ่งความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี แห่งสัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๗ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกทิฏฐธัมมนิพพานวาท (ย่อมบัญญัติซึ่งปรมทิฏฐธัมมนิพพานวาท แก่สัตว์ที่มีอยู่ ด้วยวัตถุ ๕ ประการ) ก็ดี
สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกอปรันตกัปปิกวาท (มีอปรันตานุทิฏฐิปรารภขันธ์มีส่วนสุดในเบื้องหน้า ย่อมกล่าวบัญญัติซึ่งอธิมุตติบท มีประการต่าง ๆ เป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๔๔ ประการ) ก็ดี
แม้สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นพวกปุพพันตกัปปิกวาทก็ดี อปรันต-กัปปิกวาท ก็ดี เป็นพวก ปุพพันตาปรันตกัปปิกวาท ก็ดี ล้วนแต่เป็นผู้มีปุพพันตาปรันตานุทิฏฐิ ปรารภขันธ์ทั้งที่มีแล้ว ในกาลก่อนและขันธ์อันมีใน
เบื้องหน้าย่อมกล่าว บัญญัติอธิมุตติบท มีอย่างเป็นอเนก ด้วยวัตถุ ๖๒ ประการ
สมณพราหมณท์้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด รู้สึกต่อเวทนาตามทิฏฐิเฉพาะอย่างๆ ของตนๆ ขึ้นมา (ปฏิสํเวทเทนฺติ๑) เพราะการถูกต้องแล้วๆ ด้วย
……………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………..
๑. คำว่า “รู้สึก” (ปฏิสํเวเทนฺติ) ในที่นี้ เป็นความรู้สึกต่อธัมมารมณ์ด้วยมโน เมื่อคนมีทิฏฐิอยู่ อย่างไร การเสวยเวทนาของเขา ย่อมทำให้เกิดความรู้สึกชนิดที่เป็นไปตามอำนาจ แห่งทิฏฐิ ที่เขามีอยู่ ดังนั้นเมื่อมีทิฏฐิต่างกัน แม้อารมณ์ที่มีมากระทบจะเป็นอย่างเดียวกัน เขาย่อมเกิด ความรู้สึก ต่ออารมณ์ต่างกันไปตามทิฏฐิของเขา ดังนั้น เวทนาที่มาจากอารมณ์เดียวกัน จึงมีความหมายต่างกันได้ เป็นเหตุให้มีทิฏฐิชนิดที่หล่อเลี้ยงทิฏฐิเดิมให้แน่นแฟ้นอยู่เสมอไป นี้เรียกได้ว่า ผัสสะหรือเวทนาสร้างทิฏฐิ แล้วก็หล่อเลี้ยงทิฏฐินั้นไว้. ถ้าปราศจากผัสสะหรือ เวทนา เสียอย่างเดียวเท่านั้นย่อมไม่มีทางที่จะเกิดทิฏฐิได้.
……………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………..
ผัสสายตนะ ๖ ประการ, เพราะเวทนาแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นเป็ นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย.
(รายละเอียดเกี่ยวกับสมณพราหมณ์ทุกพวกข้างบนนี้ หาดูได้จากหนังสือปฏิจจ.โอ.หน้า ๗๓๓เป็นต้นไป.)
378
ความสำคัญผิดเป็นเหตุให้เกิดนันทิ (ความเพลิน)
ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ.
บุถุชนนั้น ย่อมรู้สึกซึ่งดิน โดยความเป็ นดิน ครั้นรู้สึกซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว ย่อม สำคัญมั่นหมายซึ่งดิน ย่อมสำคัญมั่นหมาย ในดิน ย่อมสำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน ย่อมสำคัญมั่นหมายว่าดินของเรา;ย่อมเพลินอย่างยิ่งซึ่งดิน.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเรากล่าวว่าเพราะความไม่กำหนดรอบรู้ซึ่งดิน.
(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก ๒๓ อย่าง คือ นํ้า ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหมอาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้ว ทางจมูก ลิ้น ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ สิ่งทั้งปวง และ นิพพาน แต่ละอย่างๆ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าสัตว์ย่อมสำคัญผิด ในความเป็นของตนเป็นต้น แล้วเพลิดเพลินเฉพาะต่อสิ่งนั้น ๆ เพราะความไม่รอบรู้ต่อสิ่งนั้น ๆ จึงกล่าวได้ว่า ความสำคัญผิดเป็นเหตุให้เกิดนันทิ).
379
ตัณหาเจริญเพราะมิจฉาทิฏฐิในปิยรูป - สาตรูป
ภิกษุ ท. ! สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ในกาลอดีตก็ตาม ในกาลอนาคตก็ตามในกาลนี้ก็ตาม ย่อม เห็นสิ่งอันเป็นที่รักที่สนิทใจ (ปิยรูปสาตรูป) ในโลก โดยความเป็นของเที่ยง โดย ความเป็นสุข โดยความเป็นตัวตน โดยความเป็นของไม่เสียบแทง โดยความเป็นของ เกษม สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมทำตัณหาให้เจริญ. เมื่อทำตัณหาให้เจริญอยู่ ก็ทำอุปธิให้เจริญ.
เมื่อทำอุปธิให้เจริญอยู่ ก็ทำทุกข์ให้เจริญ. เมื่อทำทุกข์ให้เจริญอยู่
สมณะหรือ พราหมณ์ พวกนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากความเกิด ความแก่ ความตายความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เราตถาคต ย่อมกล่าวว่า “พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้.
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือน ถ้วยดื่มสำริดมีเครื่องดื่มใส่อยู่แล้วชนิดหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่. ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งกำลังร้อนจัด มีความร้อนระอุไปทั้งตัว เหน็ดเหนื่อย คอแห้ง ระหายน้ำมาถึงเข้า. คนทั้งหลายบอกแก่บุรุษนั้นว่า
“นี่แน่ท่านผู้เจริญ ! ถ้วยดื่มสำริดใบนี้ มีเครื่องดื่ม สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส สำหรับท่าน แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่ ถ้าหากท่านต้องการดื่มก็ดื่มได้ เมื่อท่านกำลังดื่ม จักติดใจมันด้วยสี ของ มันบ้าง ด้วยกลิ่นของ มันบ้าง ด้วยรสของมันบ้าง แต่ว่า ครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ท่านจักถึง ความตาย หรือได้รับทุกข์เจียน ตาย เพราะเหตุนั้น” ดังนี้.
บุรุษนั้น ไม่ทันจะพิจารณาถ้วยดื่ม สำริดอันนั้น
(ว่าจะควรดื่มหรือไม่ควรดื่มอย่างไร เป็นต้น) รีบดื่มเอาๆ ไม่ยอมวาง. บุรุษนั้น ก็ถึงความตาย หรือได้รับทุกข์เจียนตาย เพราะเหตุนั้น.
ฉันใดก็ฉันนั้น ที่สมณะหรือพราหมณ์พวกใด ในกาลอดีตก็ตาม. ในกาลอนาคตก็ตาม ในกาลนี้ ก็ตาม ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รักที่สนิทใจในโลก โดยความเป็นของเที่ยง ....ฯลฯ.... ย่อมไม่ หลุดพ้นจากทุกข์” ดังนี้.
นิทเทส ๗
ว่าด้วยทิฏฐิเกี่ยวกับตัณหา
จบ
|