เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
  
หนังสือพุทธวจนออนไลน์   ดูหนังสือทั้งหมด
90 90 90 90 90
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์  
   
ค้นหาคำที่ต้องการ            

  อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น   ที่มา เว็บไซต์ พุทธทาสศึกษา : www.buddhadasa.org ดาวน์โหลดหนังสือ(ไฟล์ PDF)
  
  7 of 13  
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค 2 หน้า   ภาค3 ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ หน้า
นิทเทส ๘ ว่าด้วยกิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย     ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข  
  ละราคะโทสะโมหะก่อนละชาติชรามรณะ 381     ความดับของวิญญาณขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ 417-1
  ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล 384     ความดับของเบญจขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ 418
  ข้อควรทราบเกี่ยวกับอกุศลมูล(หลายแง่มุม) 385     ดับตัณหา คือปลงภาระหนักลงได้ 418-1
  ไม่อาจละราคะโทสะโมหะก็เพราะหลงในสัญโญชนิย 387     ละกิเลสตัณหาได้ คือละเบญจขันธ์ได้ 419-1
  สังโยชน์เจ็ด 388     ละฉันทราคะแห่งสิ่งใด ก็คือการละซึ่งสิ่งนั้น 420
  (สังโยชน์เจ็ด อีกนัยหนึ่ง) 389     ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน 421
  สังโยชน์สิบ 390     ที่สุดของพรหมจรรย์ คือนิพพาน 422
  ลักษณะที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ 390-1     ความไม่เพลินในอายตนะคือความหลุดพ้นจากทุกข์ 421
  อนุสัยสามคู่กับเวทนาสาม   392     หลุดพ้นจากทุกข์ เพราะไม่เพลิดเพลินในเบญจขันธ์ 424-1
  อนุสัยเนื่องอยู่กับเวทนา 393     ความดับของอายตนะ คือ ความดับของทุกข์ 425
         
  (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 394     ความรู้ที่ถึงขั้นทำลายตัณหาแห่งกามคุณในอดีต 426
  อนุสัยทั้งสามเกิดได้ แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา 394-1     ความปลอดจากกามโยคะ 427
  รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับอาสวะ 396     ความปลอดจากภวโยคะ 427-1
  เหตุให้อาสวะเจริญและไม่เจริญ 397     ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ 428
  เหตุให้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน 400     ความปลอดจากอวิชชาโยคะ 428-1
  บุคคลผู้ถึงซึ่งอวิชชา 401     (คาถาผนวกท้ายพระสูตร) 429
  อวิชชา ของผู้ถึงซึ่งอวิชชา 402     เครื่องกีดขวางการละสัญโญชน์ 430
  ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรละ 403     (ปฏิปักขนัย) 431
จบภาค ๒        
  อุทเทสแห่งนิโรธอริยสัจ 409     ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละเพื่อตัดอนุสัยโดยเด็ดขาด 431-1
  นิทเทสแห่งนิโรธอริยสัจ 410     เห็นโลกก็เห็นเหมือนเห็นฟองนํ้าและพยับแดด 433
  ที่ละไปดับไป แห่งตัณหา 410-1     เห็นโลกชนิดที่ความตายไม่เห็นเรา 433-1
  ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ 413     การดับทุกข์สิ้นเชิงไม่เนื่องด้วยอิทธิวิธี 433-2
  ลูกโซ่แห่งความดับทุกข์ 414     ทิฏฐิทัสสนะที่เป็นไปเพื่อทุกขนิโรธ 437
  พ้นทุกข์เพราะไม่เพลินในธาตุ 414-1     “ที่” ซึ่งนามรูปดับไม่มีเหลือ 438
  ความหมายของคำว่า “ความดับ” 415     “ที่” ซึ่งธาตุสี่หยั่งลงไม่ถึง 438-1
  ความดับของรูปขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ 415-1     ที่เที่ยว นอกโลก 439
  ความดับของเวทนาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ 416      
  ความดับของสังขารขันธ์ คือ ความดับของทุกข์ 417      
         

 

   

 

 
 
 





นิทเทส ว่าด้วยกิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย
(มี ๑๕ เรื่อง)


381
ละราคะโทสะโมหะก่อนละชาติชรามรณะ

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑      ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งธรรมสาม คือ ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน) ๑
     วิจิกิจฉา (ความลังเลในธรรมที่ไม่ควรลังเล) ๑
     สีลัพพตปรามาส(การลูบคลำศีล และวัตรอย่าง ปราศจากเหตุผล) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑โมหะ ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     อโยนิโสมนสิการ (ความทำในใจไม่แยบคาย) ๑
     กุมมัคคเสวนา (การพัวพันอยู่ในทิฏฐิอันชั่ว) ๑
     เจตโสลีนัตตา (ความมีจิตหดหู่) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑สีลัพพตปรามาส ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     มุฏฐสัจจะ (ความมีสติอันลืมหลง) ๑
     อสัมปชัญญะ (ความปราศจากสัมปชัญญะ) ๑
     เจตโสวิกเขปะ (ความส่ายแห่งจิต) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ อโยนิโสมนสิการ ๑ กุมมัคค-เสวนา ๑
     เจตโสลีนัตตา ๑
.

ภิกษุ ท. ! บุคคลเมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     อริยานังอทัสสนกัม๎ยตา (ความไม่อยากเห็น พระอริยเจ้า) ๑
     อริยธัมมังอโสตุกัม๎ยตา (ความไม่อยากฟังธรรมธรรมของพระอริยเจ้า) ๑
     อุปารัมภจิตตตา (ความมีจิตเที่ยวเกาะเกี่ยว) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ มุฏฐสัจจะ ๑ อสัมปชัญญะ ๑ เจตโสวิกเขปะ ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๑
     อสังวระ (ความไม่สำรวม) ๑
     ทุสสีล๎ยะ (ความทุศีล) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสามคือ อริยานังอทัสสนกัม๎ยตา ๑ อริยธัมมังอโสตุกัม๎ยตา ๑      อุปารัมภจิตตตา ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     อสัทธิยะ (ความไม่มีสัทธา) ๑
     อวทัญญุตา (ความไม่ เป็นวทัญญู) ๑
     โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ อุทธัจจะ ๑ อสังวระ ๑ ทุสสีล๎ยะ ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     อนาทริยะ (ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล และธรรมอันควร เอื้อเฟื้อ) ๑
     โทวจัสสตา (ความเป็นคนว่ายาก) ๑
     ปาปมิตตตา(ความมีมิตรชั่ว) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ อสัทธิยะ ๑ อวทัญญุตา ๑โกสัชชะ ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคล เมื่อ ไม่ละ ซึ่งธรรมสาม คือ
     อหิริกะ (ความไม่ละอายในสิ่งที่ควรละอาย) ๑
     อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวในสิ่งที่ควรกลัว) ๑
     ปมาทะ (ความประมาท) ๑
     ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่งธรรมสาม คือ อนาทริยะ ๑ โทวจัสสตา ๑ ปาปมิตตตา ๑

ภิกษุ ท. ! บุคคลนี้ เป็นผู้มี อหิริกะ มีอโนตตัปปะ มีปมาทะ แล้ว.

เขาเมื่อเป็นผู้ มีปมาทะอยู่แล้ว ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
     อนาทริยะ ๑ โทวจัสสตา ๑ ปาปมิตตตา ๑

เขาเมื่อเป็นผู้ มีปาปมิตตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
     อสัทธิยะ ๑ อวทัญญุตา ๑โกสัชชะ ๑

เขาเมื่อ เป็นผู้ มีโกสัชชะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
     อุทธัจจะ ๑ อสังวระ ๑ทุสสีล๎ยะ ๑

เขาเมื่อเป็นผู้ มีทุสสีล๎ยะ ก็ไม่อาจเพื่อละ ซึ่ง
     อริยานังอทัสสนกัม๎ยตา ๑ อริยธัมมังอโสตุกัม๎ยตา ๑ อุปารัมภจิตตตา ๑

เขาเมื่อเป็นผู้ มีอุปารัมภจิตตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
     มุฏฐสัจจะ ๑ อสัมปชัญญะ ๑ เจตโสวิกเขปะ ๑

เขาเมื่อเป็ผผู้ มีเจตโสวิกเขปะ ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
     อโยนิโสมนสิการ ๑กุมมัคคเสวนา ๑ เจตโสลีนัตตา ๑

เขาเมื่อเป็นผู้ มีเจตโสลีนัตตา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
     สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑

เขาเมื่อเป็นผู้ มีวิจิกิจฉา ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่ง
     ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑

เขาเมื่อไม่ละซึ่งราคะ โทสะ โมหะ
     ก็ไม่อาจเพื่อละซึ่งชาติ ชรา มรณะ ๑.

(ต่อไปได้ตรัสข้อความเกี่ยวกับปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้าม อันเป็นฝ่ายที่ทำให้ละ ชาติ-ชรา-มรณะ ได้ ผู้อ่านสามารถเทียบเคียงได้เอง จึงมิได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้).


384
ทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับอกุศลมูล

ภิกษุ ท. ! อกุศลมูล ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า?
     สามอย่างคือ
     โลภะ
เป็น อกุศลมูล
     โทสะ
เป็น อกุศลมูล
     โมหะ
เป็น อกุศลมูล.

ภิกษุ ท. ! แม้ โลภะ นั้น ก็เป็น อกุศล. คนโลภแล้ว ประกอบกรรมใดทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้ กรรมนั้น ก็เป็น อกุศล. คนโลภถูกความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันความโลภ กลุ้มรุมแล้ว ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่นโดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้เสื่อม เสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้แม้กรรมนี้ก็เป็น อกุศล :

อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนก ที่เกิดจากความโลภมีความโลภเป็นเหตุ มีความ โลภเป็น สมุทัย มีความโลภเป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีแห่ง โทสะ และ โมหะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันอย่าง ที่กล่าว ได้ว่า ทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้นั้น ควรถูกเรียกว่าเป็นอกาลวาที บ้างอภูตวาที บ้าง อนัตถวาที บ้าง อธัมมวาที บ้าง อวินยวาที บ้าง. เพราะเหตุไรจึงควรถูกเรียกอย่างนั้น ? เพราะเหตุว่าบุคคลนี้ ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ควรจะมี ด้วยการฆ่าบ้าง ด้วยการจองจำบ้าง ด้วยการให้ เสื่อมเสียบ้าง ด้วยการติเตียนบ้าง ด้วยการขับไล่บ้าง โดยการถือว่า เรามีกำลังเหนือกว่า ดังนี้ และเมื่อ เขาถูกกล่าวหาอยู่ด้วยเรื่องที่เป็ นจริง ก็บิดพลิ้วไม่ยอมรับ เมื่อถูกกล่าวหา อยู่ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง ก็ไม่พยายาม ที่จะทำให้แจ้งชัด ออกไปว่านั่นไม่ตรง นั่นไม่จริง อย่างนี้ๆ.

เพราะฉะนั้นบุคคลชนิดนี้ จึงควรถูกเรียกว่าเป็นอกาลวาทีบ้าง อภูติวาทีบ้าง อนัตถวาที บ้าง อธัมมวาทีบ้าง อวินยวาทีบ้าง.

ภิกษุ ท. ! บุคคลชนิดนี้ ถูกอกุศลธรรมอันลามกซึ่งเกิดมาจากความโลภครอบงำแล้ว มีจิตอันอกุศลธรรม อันลามกที่เกิดจากโลภะกลุ้มรุมแล้วย่อม อยู่เป็ นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในทิฏฐธรรมนั่นเทียว ภายหลังแต่การตาย เพราะการทำลาย แห่งกาย ย่อมหวังได้แต่ทุคติ.(ในกรณีแห่ง ความโกรธ และ ความหลง ก็ตรัสไว้โดยข้อความ ทำนองเดียวกัน อย่างที่กล่าวได้ว่าทุกตัวอักษร ผิดกันแต่ชื่อเท่านั้น).

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ๆ เช่นต้นสาละตันธวะ หรือต้นผันทนะก็ดี ถูกเครือเถา มาลุวาสามชนิดขึ้นคลุมแล้ว รัดรึงแล้วย่อมถึงความพินาศฉิบหาย, ฉันใดก็ฉันนั้น.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อกุศลมูล ๓ อย่าง.

(พระองค์ยังได้ตรัสข้อความเป็นปฏิปักขนัยฝ่ายตรงกันข้ามอีก ซึ่งผู้ศึกษาหาดูได้จาก หัวข้อ ว่า“ปรินิพพานในทิฏฐธรรมด้วยการตัดอกุศลมูล” ในภาค แห่งหนังสือเล่มนี้).


385
ข้อควรทราบเกี่ยวกับอกุศลมูล

(หลายแง่มุม)

ภิกษุ ท. ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงถามอย่างนี้ว่า“อาวุโส ! ธรรม อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือราคะ โทสะ โมหะ. อาวุโส ! อะไรเป็นความผิดแปลก อะไรเป็น ความแตกต่าง อะไรเป็นเครื่องแสดงความต่าง ระหว่างธรรม๓ อย่างเหล่านั้น ? ” ดังนี้
.... ภิกษุ ท. ! พวกเธอถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่เขาว่า

“อาวุโส ! ราคะมีโทษน้อย คลายช้า. โทสะมีโทษมากคลายเร็ว. โมหะมีโทษมาก คลายช้า”.

ถ้าเขาถามว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น, หรือราคะ ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ? ” ดังนี้.

คำตอบพึง มีว่า สุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่างาม) คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งสุภนิมิต โดย ไม่แยบคาย ราคะที่ยัง ไม่เกิด ก็เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญ โดยยิ่ง เพื่อความ ไพบูลย์. อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ?” ดังนี้.

คำตอบพึง มีว่า ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกกระทบกระทั่ง) คือเมื่อเขาทำในใจ ซึ่งปฏิฆนิมิต โดยไม่ แยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไป เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์. อาวุโส !นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นหรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ ?” ดังนี้.

คำตอบพึงมีว่า อโยนิโสมนสิการ ( การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย) คือเมื่อทำในใจโดย ไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญ โดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์. อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นหรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป ?” ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า อสุภนิมิต(สิ่งที่แสดง ให้รู้สึกว่าไม่งาม) คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งอสุภนิมิตโดยแยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และราคะที่เกิด อยู่แล้ว ก็ละไป. อาวุโส ! นี้คือเหตุนี้คือปัจจัย

ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นหรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป ?” ดังนี้. คำตอบพึงมีว่าเมตตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้น แห่งจิต อันประกอบอยู่ด้วยเมตตา) คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งเมตตา เจโตวิมุตติโดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้วก็ละไป.

อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.ถ้าเขาถามอีกว่า “อาวุโส ! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นหรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป ? ” ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า โยนิโสมนสิการ คือเมื่อทำในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น และโมหะที่เกิด อยู่แล้วก็ละไป. อาวุโส ! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย


387
ไม่อาจละราคะโทสะโมหะ

ก็เพราะหลงในสัญโญชนิยธรรม


ภิกษุ ท. ! ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สองอย่างอะไรเล่า ? สองอย่างคือ ความเป็นผู้มัว แต่เห็น เป็นของอร่อยในสัญโญชนิยธรรมทั้งหลายอย่างหนึ่ง และความเป็นผู้ตามเห็น ความเป็นของ น่าเบื่อหน่ายในสัญโญชนิยธรรม (ธรรมอันเป็นเครื่องผูกพัน) ทั้งหลาย นี้อีกอย่างหนึ่ง.

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้มัวแต่เห็นเป็นของอร่อยในสัญโญชนิยธรรม(กามคุณห้า ฯลฯ) ทั้งหลาย อยู่ ย่อม ละราคะไม่ได้ ละโทสะไม่ได้ ละโมหะไม่ได้. เพราะละ ราคะ โทสะ โมหะ ไม่ได้ ย่อมไม่ พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เรากล่าว ว่า ย่อมไม่พ้น จากทุกข์.

ภิกษุ ท. ! บุคคลผู้ตามเห็นความเป็ นของน่าเบื่อหน่ายในสัญโญ-ชนิยธรรม ทั้งหลายอยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะได้ ย่อมละโมหะได้.เพราะละราคะโทสะ โมหะได้ ย่อมพ้นจาก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์ได้.

ภิกษุ ท. ! นี้แหละ คือธรรม ๒ อย่าง.


388
สังโยชน์เจ็ด


ภิกษุ ท. ! สัญโญชน์ (สิ่งผูกพัน) ๗ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. เจ็ดอย่างอย่างไรเล่า ?
เจ็ดอย่าง คือ
     อนุนยสัญโญชน์ (สังโยชน์คือกามราคะเป็นเหตุให้ติดตาม)๑
     ปฏิฆสัญโญชน์ (สังโยชน์คือ ความโกรธไม่ได้อย่างใจ) ๑
     ทิฏฐิสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๑
     วิจิกิจฉาสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย) ๑
     มานสัญโญชน์(สังโยชน์คือความสำคัญตน) ๑
     ภวราคสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ) ๑
     อวิชชาสัญโญชน์ (สังโยชน์คืออวิชชา) ๑.
     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือสัญโญชน์๗ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งสัญโญชน์ อย่าง. เจ็ดอย่างเหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่ง
     อนุนยสัญโญชน์ ๑
     ปฏิฆสัญโญชน์ ๑
     ทิฏฐิสัญโญชน์ ๑
     จิกิจฉาสัญโญชน์ ๑
     มานสัญโญชน์ ๑
     ภวราคสัญโญชน์ ๑
     อวิชชาสัญโญชน์ ๑.

ภิกษุ ท. !พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งสัญโญชน์ ๗ อย่างเหล่านี้ แล.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล, อนุนยสัญโญชน์ก็ดี ปฏิฆสัญโญชน์ก็ดีทิฏฐิสัญโญชน์ก็ดี วิจิกิจฉา สัญโญชน์ก็ดี มานสัญโญชน์ก็ดี ภวราคสัญโญชน์ก็ดีอวิชชาสัญโญชน์ก็ดี เป็นสิ่งที่ภิกษุ ละได้แล้ว มีรากเง่าอัน ตัดขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่ง ที่เกิดขึ้น ไม่ได้อีกต่อไป

ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้น, ภิกษุนี้ เราเรียกว่า “ตัดตัณหาได้แล้วรื้อถอนสัญโญชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุด แห่งทุกข์ เพราะรู้จักหน้าตาของมานะอย่างถูกต้องแล้ว” ดังนี้แล.

(เกี่ยวกับเรื่องนี้ ควรดูหัวข้อว่า “ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละเพื่อตัดอนุสัย โดยเด็ดขาด” ที่หน้า ๔๓๑ แห่งหนังสือนี้ ประกอบด้วย).


389
(สังโยชน์เจ็ด อีกนัยหนึ่ง)


ภิกษุ ท. ! สัญโญชน์ ๗ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. เจ็ดอย่าง อย่างไรเล่า? เจ็ดอย่างคือ
     อนุนยสัญโญชน์ ๑
     ปฏิฆสัญโญชน์ ๑
     ทิฏฐิสัญโญชน์ ๑
     วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ๓
     มานสัญโญชน์ ๑
     อิสสาสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความริษยา)๑
     มัจฉริยสัญโญชน์ (สังโยชน์คือความตระหนี่) ๑.
      ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สัญโญชน์ อย่าง


390
สังโยชน์สิบ

ภิกษุ ท. ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่. สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ      โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ประการ
     อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
     สักกายทิฏฐิ
     วิจิกิจฉา
     สีลัพพตปรามาส
     กามฉันทะ
     พยาบาท :
     เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕ ประการ.

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ
เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
     รูปราคะ
     อรูปราคะ
     มานะ
     อุทธัจจะ
     อวิชชา :
     เหล่านี้ คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ประการ.

     ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สัญโญชน์ ๑๐ ประการ.


390 -1
ลักษณะที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้ เป็นการอันสมควรที่พระผู้มีพระภาค จะพึงทรงแสดง โอรัมภาคิย สังโยชน์ห้า. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.

อานนท์ ! ในกรณีนี้ บุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้าไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของ สัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

เขามีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุม แล้ว อันสักกายทิฏฐิห่อหุ้มแล้วอยู่ เขา ไม่รู้ชัดตามเป็น จริงซึ่งอุบาย เป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว สักกายทิฏฐินั้น ก็เป็นของ มีกำลัง จนเขานำออกไปไม่ได้ จึงเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์.

(ในกรณีแห่งวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะและ พยาบาท (หรือปฏิฆะ) ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).

อานนท์ ! ส่วน อริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้า เป็นผู้ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัปบุรุษ เป็นผู้ฉลาดใน ธรรมของสัปบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

เธอมีจิตอัน สักกายทิฏฐิไม่กลุ้มรุม อันสักกายทิฏฐิไม่ห่อหุ้มอยู่. อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดตาม ที่เปน็จริง ซึ่งอุบายเป็ นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว สักกายทิฏฐิ นั้น อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้พร้อมทั้งอนุสัย. (ในกรณีแห่ง วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ และพยาบาท (หรือปฏิฆะ)ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียว กันกับในกรณี แห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).

นโอรัมภาคิยสังโยชน์. รายละเอียดของสักกายทิฏฐิ ดูได้ที่หัวข้อว่า “สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วย อาการ อย่างไร” แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า ๓๗๒).


392
อนุสัยสามคู่กับเวทนาสาม

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิดจักขุ-วิญญาณ การประจวบพร้อม แห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ )นั่นคือผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด เวทนา อันเป็น สุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง.

บุคคลนั้น เมื่อสุขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ อนุสัยคือ ราคะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น (ตสฺส ราคานุสโย อนุเสติ)

เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจ ย่อมคร่ำครวญ ย่อมตีอกร่ำไห้ ย่อมถึง ความหลงใหลอยู่ อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.

เมื่อเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่สุขถูกต้องอยู่ เขาย่อมไม่รู้ตามเป็นจริงซึ่งเหตุให้เกิด เวทนานั้น ด้วย ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งเวทนานั้นด้วย ซึ่งอัสสาทะ(รสอร่อย) ของเวทนา นั้นด้วย ซึ่ง อาทีนวะ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไป) ของเวทนานั้นด้วย อนุสัยคือ อวิชชา ย่อมตามนอน (เพิ่มความเคยชินให้) แก่บุคคลนั้น.

ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ ยังละราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนาไม่ได้ ยังบรรเทา ปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนาไม่ได้ ยังถอนอวิชชานุสัยอันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้ เมื่อยังละ อวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว เขาจักทำที่สุดแห่ง ทุกข์ใน ทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ได้ นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้.

(ในกรณีแห่ง หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ก็ได้ตรัสโดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งตา).


393
อนุสัยเนื่องอยู่กับเวทนา


ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่างเหล่าไหนเล่า ?สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

ภิกษุ ท. ! ราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ควรละเสีย. ปฏิฆานุสัย อันเกิด จาก ทุกขเวทนา เป็นสิ่งที่ควรละเสีย. อวิชชานุสัยอันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา เป็นสิ่ง ที่ควรละเสีย.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ราคานุสัยอันเกิดจากสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว ปฏิฆานุสัย อันเกิดจากทุกขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว. อวิชชานุสัยอันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา เป็นสิ่งที่ภิกษุละได้แล้ว

ภิกษุ ท. !ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีอนุสัย เป็นผู้เห็นชอบ ตัดตัณหาได้ขาด แล้วรื้อ ถอน สังโยชน์ ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.


394
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)


เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ราคานุสัยย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็น ทางออก จากอำนาจของเวทนานั้น. เมื่อบุคคลเสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนา นั้น ปฏิฆานุสัย ย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น.

บุคคลเพลิดเพลิน แม้ในอทุกขมสุข อันพระภูริปัญญา-พุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรม อัน รำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ ไปได้ไม่.

เมื่อใดภิกษุ มีความเพียรเผากิเลส ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะก็เป็ นบัณฑิต รอบรู้เวทนา ทั้งปวง. ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่งเวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ใน ธรรม จนกระทั่ง กายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับ (ว่าเป็นอะไร) แล.


394-1
อนุสัยทั้งสามเกิดได้
แม้เมื่อเสวยทุกขเวทนา

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้างอทุกขมสุขเวทนา บ้าง. แม้อริยสาวกผู้มีการสดับ ก็เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนา บ้าง.

ภิกษุ ท. ! เมื่อเป็นเช่นนั้น ในระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ กับบุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ดังที่ กล่าวมานี้ อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเหตุที่ แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับ จากบุถุชนผู้ไม่มีการ สดับ ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมทั้งหลายของ พวก ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้ง กะพระผู้มีพระภาคเองเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวน กระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือน เขาย่อมเสวยซึ่ง เวทนา ทั้ง ฝ่ าย คือเวทนาทั้งทางกายและทางจิต.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วพึงยิงซ้ำซึ่งบุรุษนั้น ด้วยลูกศร ที่สองอีก บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศรสองลูกอย่างนี้ ย่อมเสวยเวทนาทางกายด้วย ทางจิตด้วย แม้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ก็เป็นฉันนั้น คือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือนอยู่

ชื่อว่าเขาย่อม เสวยซึ่งเวทนาทั้งสองอย่าง คือทั้งทางกายและทางจิต. เขาเป็นผู้มีปฏิฆะ เพราะทุกขเวทนา นั้น นั่นเอง. ปฏิฆานุสัยอันใด อันเกิดจากทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย อันนั้น ก็ย่อมนอนตาม ซึ่ง บุถุชนนั้นผู้มีปฏิฆะด้วยทุกขเวทนา.

บุถุชนนั้นอันทุกขเวทนา ถูกต้องอยู่
ย่อมจะ(น้อมนึก)พอใจซึ่งกามสุข. ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ย่อมไม่รู้ชัดอุบายเครื่องปลด เปลื้อง ซึ่งทุกขเวทนาอื่นนอกไปจากกามสุข. เมื่อบุถุชนนั้น พอใจยิ่งอยู่ซึ่งกามสุข ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา ราคานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งบุถุชนนั้น. บุถุชนนั้นย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษ อันต่ำทราม และซึ่งอุบาย เป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง เมื่อบุถุชนนั้น ไม่รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุ ให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริงอยู่.

อวิชชา นุสัยอันใด
อันเกิดจากอทุกขม-สุขเวทนา อวิชชานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตาม ซึ่งบุถุชนนั้น. บุถุชนนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกข-เวทนา ก็เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ติดพัน เสวยเวทนานั้น.

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย เรากล่าวว่าเป็นผู้ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.


396
รายละเอียดที่ควรศึกษาเกี่ยวกับอาสวะ

(เรื่องควรดูประกอบในเล่มนี้ หน้า ๓๕๒)

ภิกษุ ท. ! ที่เรากล่าวว่า “อาสวะ นิทานสัมภวะแห่งอาสวะ เวมัตต-ตาแห่งอาสวะ วิบาก แห่งอาสวะ นิโรธแห่งอาสวะ ปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่งอาสวะ เป็ นสิ่งที่ควรรู้แจ้ง” นั้น เรากล่าวหมายถึงอาสวะไหนกันเล่า ?

ภิกษุ ท. !อาสวะ ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.

ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิด) แห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! อวิชชา เป็นนิทานสัมภวะแห่งอาสวะ.

ภิกษุ ท. ! เวมัตตตา (ประมาณต่าง ๆ) แห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ?ภิกษุ ท. ! อาสวะนำ ไปสู่นรกก็มี อาสวะนำไปสู่กำเนิดเดรัจฉานก็มี อาสวะนำไปสู่เปรตวิสัยก็มี อาสวะนำไปสู่ มนุษย์ โลกก็มี อาสวะนำไปสู่เทวโลกก็มี.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตตาแห่งอาสวะ. ภิกษุ ท. ! วิบากแห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อที่บุคคลถึงซึ่งอวิชชาแล้ว เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจาก อวิชชานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น๑ เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญก็ดี มีส่วนแห่งอบุญก็ดี. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าวิบากแห่งอาสวะ.

ภิกษุ ท. ! นิโรธ (ความดับ) แห่งอาสวะ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. !ความดับแห่งอาสวะมี เพราะความดับแห่งอวิชชา. อริยฏฐังคิกมรรคนี้นั่นแล เป็นปฏิปทาให้ถึงซึ่งนิโรธแห่ง อาสวะ ; ปฏิปทานั้นได้แก่ สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งอาสวะ อย่างนี้,รู้ชัดซึ่งนิทานสัมภวะแห่ง อาสวะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเวมัตตตาแห่งอาสวะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งวิบากแห่งอาสวะ อย่างนี้ รู้ชัดซึ่งนิโรธแห่งอาสวะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งปฏิปทาให้ถึง ซึ่งนิโรธแห่งอาสวะ อย่างนี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้อันเป็ นเครื่องเจาะแทงกิเลส ว่า เป็ นนิโรธแห่งอาสวะ.
………………………………………………………………………………………..
๑. ข้อความนี้ใช้ได้ทั้งภาษาคนและภาษาธรรม : ภาษาคนก็คือเกิดใหม่หลังจากตายแล้ว ดังที่ทราบกันอยู่; ถ้าเป็นภาษาธรรมก็คือ อัตภาพปัจจุบันของเขานั้นเกิดเปลี่ยนเป็น บุญหรือบาป ตามสมควรแก่อุปาทานที่เกิดขึ้นจากอวิชชานั้นๆโดยที่ยังไม่ต้องตาย ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ศึกษาจะถือเอาความหมายไหน.
…………………………………………………………………………………………


397
เหตุให้อาสวะเจริญและไม่เจริญ


ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล จำพวก. บุคคล๒ จำพวกเหล่าไหน เล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ ขยะแขยงต่อสิ่งที่ไม่ควรขยะแขยง บุคคลผู้ ไม่ขยะแขยงต่อสิ่งที่ ควรขยะแขยง. ....

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าควรในสิ่งที่ไม่ควรบุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ควร ในสิ่งที่ควร. ....

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าอาบัติในสิ่งที่มิใช่อาบัติ บุคคลผู้ สำคัญว่า ไม่ใช่อาบัติ ในสิ่งที่เป็นอาบัติ. ....

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าธรรมในสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่ ธรรมใน สิ่งที่เป็นธรรม. ....

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก. บุคคล๒ จำพวกเหล่าไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าวินัยในสิ่งที่ไม่ใช่วินัย บุคคลผู้สำคัญว่า ไม่ใช่วินัย ในสิ่งที่ เป็นวินัย. ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก ๆ หล่านี้แล.

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล จำพวก.บุคคล ๒ จำพวกเหล่าไหน เล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ ไม่ขยะแขยงต่อสิ่งที่ไม่ควรขยะแขยง บุคคลผู้ ขยะแขยง สิ่งที่ควร ขยะแขยง. ....

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก.บุคคล ๒ จำพวกเหล่า ไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ควรในสิ่งที่ไม่ควร บุคคล ผู้สำคัญว่า ควรในสิ่งที่ควร. ....

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก.บุคคล ๒ จำพวกเหล่า ไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่อาบัติในสิ่งที่ไม่ใช่อาบัติ บุคคลผู้ สำคัญว่าอาบัติ ในสิ่งที่เป็นอาบัติ. ...

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวก.บุคคล ๒ จำพวกเหล่า ไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่ธรรมในสิ่งที่ไม่ใช่ธรรม บุคคลผู้ สำคัญว่าธรรม ในสิ่งที่เป็นธรรม. ....

ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลายย่อมไม่เจริญ แก่บุคคล ๒ จำพวกบุคคล ๒ จำพวกเหล่า ไหนเล่า ? สองจำพวกคือ บุคคลผู้ สำคัญว่าไม่ใช่วินัยในสิ่งที่ไม่ใช่วินัย บุคคลผู้ สำคัญว่าวินัยในสิ่ง ที่เป็นวินัย. ภิกษุ ท. ! อาสวะทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญแก่บุคคล ๒ จำพวก ๆเหล่านี้แล.


400
เหตุให้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในทิฏฐธรรม ?

ท่านผู้เป็นจอมเทพ ! รูป ทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยจักษุ มีอยู่, เป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ถ้าว่า ภิกษุย่อมเพลิดเพลิน พร่ำ-สรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งรูปนั้น แล้วไซร้ เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ กะรูปนั้น วิญญาณนั้น เป็นวิญญาณอันตัณหา

ในอารมณ์คือรูปอาศัยแล้ว วิญญาณนั้นคืออุปาทาน.๑ ท่านผู้เป็นจอมเทพ !ภิกษุผู้มี อุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน.

(ในกรณีแห่งเสียงที่จะพึงรู้สึกด้วยโสตะ กลิ่น ที่จะพึงรู้สึกด้วยฆานะ รส ที่จะพึงรู้สึกด้วย ชิวหา สัมผัสทางผิวหนัง ที่จะพึงรู้สึกด้วยกายะ(ผิวกายทั่วไป) และธรรมารมณ์ ที่จะพึง รู้สึกด้วย มนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ที่จะพึงรู้ได้ด้วย จักษุข้างบนนั้น)

ท่านผู้เป็นจอมเทพ ! นี้แล เป็นเหตุ นี้เป็นปัจจัย ที่ทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน ในทิฏฐธรรม.


401
บุคคลผู้ถึงซึ่งอวิชชา


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า อวิชชา-อวิชชาดังนี้. ก็อวิชชานั้น เป็นอย่างไร ? และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? พระเจ้าข้า !

ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ย่อม ไม่รู้จักรูป ไม่รู้จัก เหตุให้เกิดของรูป, ไม่รู้จัก ความดับไม่เหลือของรูป ไม่รู้จัก ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป; เขาย่อม ไม่รู้จัก เวทนา ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของเวทนา ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา ไม่รู้จัก ทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา เขาย่อมไม่รู้จัก สัญญา ไม่รู้จักเหตุ ให้เกิด ของสัญญา ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับ
……………………………………………………………………………………………….
๑. วิญญาณในที่นี้ หมายถึงมโนวิญญาณที่รู้สึกต่อความเพลินและความมัวเมาในรูปนั้น; ไม่ใช่จักขุวิญญาณ ที่เห็นรูปตามธรรมดา.
………………………………………………………………………………………………….


ไม่เหลือของสัญญา เขาย่อมไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสังขาร ทั้งหลาย ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสังขารทั้งหลาย ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของ สังขารทั้งหลาย เขาย่อมไม่รู้จัก วิญญาณ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ ไม่รู้จักความดับ ไม่เหลือของวิญญาณ ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ วิญญาณ ภิกษุ ! ความ ไม่รู้นี้ เราเรียกว่า“อวิชชา” และบุคคลชื่อว่า มีอวิชชาด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้ แล.


402
อวิชชา ของผู้ถึงซึ่งอวิชชา


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา-อวิชชา’ ดังนี้นั้น เป็นอย่างไร ? และด้วยเหตุ เพียงเท่าไร บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงซึ่งอวิชชา ? พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ในกรณีนี้ บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา” ดังนี้ ไม่รู้ชัด แจ้งตามเป็นจริงซึ่งรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีความเสื่อมไป เป็น ธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้ ไม่รู้ชัดแจ้งตามเป็นจริง ซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันมีทั้งความก่อขึ้นและความเสื่อมไปเป็ นธรรมดา ว่า “เป็นสิ่งที่มีความก่อขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา” ดังนี้. ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้เราเรียกว่า อวิชชา และบุคคลชื่อว่าเป็น ผู้ถึงซึ่งอวิชชา ย่อมมีได้ด้วยเหตุมี ประมาณเท่านี้ แล.


403
ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นสิ่งที่ควรละ


ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทย อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ อริยสัจสี่อย่าง.ภิกษุ ท. ! ในบรรดาอริยสัจสี่อย่างเหล่านี้ อริยสัจที่ ใครๆ ควรรอบรู้มีอยู่อริยสัจที่ใครๆ ควรละ มีอยู่. ....

ภิกษุ ท. ! อริยสัจที่ใครๆควร รอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจคือ ทุกข์ อริยสัจที่ใครๆ ควรละนั้น ได้แก่อริยสัจคือ เหตุให้ เกิดทุกข์. ....

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตาที่เป็นจริง ว่า ทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ ดังนี้ ว่า ‘เหตุให้เกิดทุกข์เป็นเช่นนี้ๆ’ .... ดังนี้เถิด .

นิทเทส ๘
ว่าด้วยกิเลสทั้งหลายในฐานะสมุทัย
จบ

ภาค
ว่าด้วยทุกขสมุทยอริยสัจ
ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์

จบ



ภาค ๓

ว่าด้วย นิโรธอริยสัจ
ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์



409
อุทเทสแห่งนิโรธอริยสัจ

ภิกษุ ท.! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ความดับ สนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเทียวความละไปของตัณหา นั้น ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้นความหลุดออกไปของ ตัณหานั้น และความไม่มีที่อาศัย อีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด อันนี้ เราเรียกว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.


410
นิทเทสแห่งนิโรธอริยสัจ

นิทเทส ๙ ว่าด้วยความดับแห่งตัณหา

(มี ๒๙ เรื่อง)


410-1
ที่ละไปดับไป แห่งตัณหา


ภิกษุ ท.! ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไปในที่ไหน ? เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในที่ไหน?ภิกษุ ท.! สิ่งใด มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก, ตัณหานั้นเมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ

ภิกษุ ท.! สิ่งใดเล่า มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก?

ภิกษุ ท.! ตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
หู
มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
จมูก
มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ลิ้น
มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
กาย
มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับไปย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! รูป ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เสียงทั้งหลายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
กลิ่น
ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
รส
ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
โผฏฐัพพะ
ทั้งหลายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ธรรมารมณ์
ทั้งหลาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไปในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับไปย่อมดับไปในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! วิญญาณทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
วิญญาณทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! สัมผัสทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัสทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัสทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัสทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัสทางกายมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
สัมผัสทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับ ย่อมดับไปในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางตา มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางกาย มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางใจ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับ ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! ความหมายรู้ในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ในกลิ่นมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความหมายรู้ในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละย่อมละไป ในสิ่งนั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น

ภิกษุ ท.! ความคิดนึกในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึกในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึกในกลิ่นมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึกในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความคิดนึกในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! ตัณหาในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหาในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหาในกลิ่น มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหาในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหาในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหาในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละ ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับ ย่อมดับไปในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! ความตริตรึกในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึกในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึกในกลิ่นมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึก ในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึกในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรึกในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆ เมื่อจะดับ ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ.

ภิกษุ ท.! ความตริตรองในรูป มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรองในเสียง มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรองในกลิ่นมีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรองในรส มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรองในโผฏฐัพพะ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ความตริตรองในธรรมารมณ์ มีภาวะเป็นที่รักที่ยินดีในโลก
ตัณหานั้น เมื่อจะละไป ย่อมละไป ในสิ่งนั้น ๆเมื่อจะดับไป ย่อมดับไป ในสิ่งนั้น ๆ


413
ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ


ปุณณะ! รูป ที่เห็นด้วยตาก็ด, เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ด, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น ก็ดี โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกายก็ดี ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่ ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มีรูป เป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มี รูป เป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป.

ปุณณะ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะ ความดับไม่เหลือของ ความเพลิน” ดังนี้ แล.


414
ลูกโซ่แห่งความดับทุกข์

ภิกษุ ท.! เพราะความจางคลาย จนดับไม่เหลือแห่งอวิชชา นั่นแหละ จึงมี ความดับ แห่ง สังขาร เพราะความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ เพราะความดับ แห่ง วิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งอายตนะ หก เพราะ ความ ดับแห่งอายตนะหก จึงมีความดับแห่งผัสสะ เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา เพราะความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ เพราะ ความ ดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ เพราะความดับแห่งชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ย่อมดับไม่เหลือ. ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


414-1
พ้นทุกข์เพราะไม่เพลินในธาตุ


ภิกษุ ท.! ผู้ใด ย่อมไม่เพลินกะธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) กะธาตุน้ำ(อาโปธาตุ) กะธาตุไฟ (เตโชธาตุ) กะธาตุลม (วาโยธาตุ) ผู้นั้นย่อมชื่อว่าไม่เพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่ เพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็น “ผู้หลุดพ้นแล้วจากทุกข์” ดังนี้ แล


415
ความหมายของคำว่า
ความดับ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระองค์กล่าวอยู่ว่าความดับ ดังนี้. อันว่า ความดับ ดังกล่าวนี้ หมายถึงความดับแห่งธรรมทั้งหลาย เหล่าไหนเล่า ? พระเจ้าข้า !”

อานนท์! รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี วิญญาณก็ดี เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยกันและกันเกิดขึ้นมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไป เป็น ธรรมดา มีความจางคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา คำอันเรากล่าวว่า “ความดับๆหมายถึงความดับแห่งขันธ์มีรูปเป็ นต้นนั้น ดังนี้.

อานนท์! คำอันเรากล่าวว่า “ความดับ ๆ” ดังนี้ หมายถึงความดับแห่งธรรม ทั้งหลาย เหล่านี้แล.

หมายเหตุ
: ผู้ศึกษาพึงทำความสังเกตว่า พระองค์ตรัสความดับของเบญจขันธ์ หมายถึง ความดับทุกข์โดยตรง เพราะได้ตรัสไว้ในที่ทั่วไปว่า ปัญจุปาทานขันธ์ คือตัวทุกข์ โดยสรุป และเมื่อดับปัญจุปาทานขันธ์เสียแล้ว ชาติ ชรา พยาธิมรณะ ซึ่งเป็นอาการแห่ง ความทุกข์ ก็ดับไปด้วยกัน.


415-1
ความดับของรูปขันธ์ คือ ความดับของทุกข์

ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุดิน ของสิ่ง ที่เรียกว่าธาตุน้ำ ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุไฟ ของสิ่งที่เรียกว่าธาตุลม ใด ๆ อันนั้นแหละ เป็น ความดับ ของทุกข อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมี ปกติเสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล. (ความดับในกรณีเช่นนี้ ทุกแห่ง หมายถึงดับนันทิราคะในสิ่งนั้น ๆ เสีย).


416
ความดับของเวทนาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์


ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของเวทนาที่เกิดขึ้นแต่ สัมผัส ทางตา ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางหู ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางจมูก ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางลิ้น ของเวทนาที่เกิดแต่สัมผัสทางกาย และของเวทนา ที่เกิดแต่สัมผัสทางใจ ใด ๆ อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความ เข้าไป สงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ ของชราและมรณะ แล.


416-1
ความดับของสัญญาขันธ์ คือ ความดับของทุกข์

ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ของสัญญาในรูป ของสัญญา ในเสียง ของสัญญาในกลิ่น ของสัญญาในรส ของสัญญาในโผฏฐัพพะ และของสัญญา ใน ธรรมารมณ์ ใดๆ อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความเข้าไป สงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทง อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.


417
ความดับของสังขารขันธ์ คือ ความดับของทุกข์


ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของสัญเจตนาในรูป ของสัญเจตนา ในเสียง ของสัญเจตนาในกลิ่น ของสัญเจตนาในรส ของสัญเจตนาใน โผฏฐัพพะ และของสัญเจตนาในธรรมารมณ์ใด ๆ อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความเข้าไปสงบรำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ของชราและมรณะ แล.


417 -1
ความดับของวิญญาณขันธ์
คือ ความดับของทุกข์

ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ ของวิญญาณทางตา ของวิญญาณทางหู ของวิญญาณทางจมูก ของวิญญาณทางลิ้น ของวิญญาณทางกาย และของวิญญาณทางใจ ใด ๆ อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความ เข้าไป สงบ รำงับของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย. อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ ของชราและมรณะ แล.


418
ความดับของเบญจขันธ์ คือ ความดับของทุกข์


ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ของรูปของเวทนา ของสัญญา ของสังขาร และของวิญญาณ ใดๆ อันนั้นแหละเป็นความดับของทุกข์ อันนั้นแหละเป็น ความเข้าไปสงบรำงับ ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ ไม่ได้ ของชราและมรณะ แล.


418-1
ดับตัณหา คือปลงภาระหนักลงได้


ภิกษุ ท.! การปลงภาระหนักลงเสียได้ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.! ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้นนั่นเทียว ความละไปของตัณหานั้น ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น ความหลุดออกไปของตัณหา นั้น และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด

ภิกษุ ท.! อันนี้เราเรียกว่า การปลงภาระหนักลงเสียได้ดังนี้.พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส พุทธวจนะ นี้ ซึ่งเป็นคำร้อยกรองสืบต่อไป

“ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักเน้อ !
บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป.
การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก.
การปลงภาระหนักเสียได้เป็นความสุข.

พระอริยเจ้าปลงภาระหนักลงเสียแล้ว.
ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก.
ก็เป็ นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก (อวิชชา)
เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ” ดังนี้.


419-1
ละกิเลสตัณหาได้ คือละเบญจขันธ์ได้


ภิกษุ ท.! ความพอใจ (ฉันทะ) ก็ดี ความกำหนัด (ราคะ) ก็ดีความเพลิน (นันทิ) ก็ดี ตัณหาก็ดี มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย ในวิญญาณ ใดๆ พวกเธอทั้งหลาย จงละ กิเลสนั้นๆเสีย. ด้วยการทำอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณ นั้นๆ จักเป็นสิ่งที่พวกเธอละได้แล้ว เป็นสิ่งที่มีมูลราก อันตัดเสียแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้อีกต่อไป.

ราธะ! ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความเพลินก็ดี ตัณหาก็ดี อุปายะ (กิเลสเป็นเหตุ ให้เข้า ไปสู่ภพ) ก็ดี และอุปาทานก็ดี อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และ เครื่องนอนเนื่อง แห่งจิต มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ใด ๆ พวกเธอทั้งหลาย จงละกิเลสนั้นๆเสีย.

ด้วยการทำอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณนั้นๆ จักเป็นสิ่งที่พวก เธอละได้แล้ว เป็นสิ่งที่มีมูลรากอันตัดขาดเสียแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป.


420
ละฉันทราคะแห่งสิ่งใด
ก็คือการละซึ่งสิ่งนั้น

ภิกษุ ท. ! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ ก็ไม่ควรแก่ความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อรู้ยิ่ง เมื่อรู้รอบ เมื่อคลายกำหนัด เมื่อละขาด ซึ่งรูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ ก็ควรแก่ความสิ้นไปแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เธอทั้งหลายจงละฉันทราคะในรูป .... เวทนา ....สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เสีย ; ด้วยการกระทำอย่างนี้ เป็นอันว่ารูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ นั้น เป็ นสิ่งที่เธอละขาดแล้ว มีรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนต้นตาล มีขั้วยอดอันขาดแล้วให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา.

(ข้อความนี้ มีประโยชน์มาก ที่ทำให้เราสามารถละสิ่งที่ควรละได้เต็มตามความหมาย คือไม่ใช่ละตัววัตถุนั้น แต่ละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้น จึงจะเป็นการละสิ่งนั้นได้ เด็ดขาด และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยิ่งกว่าการที่จะไปละวัตถุนั้น ๆ โดยตรง).


421
ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรี ยกว่า สัตว์ สัตว์ดังนี้อันว่าสัตว์มีได้ด้วยเหตุเพียง เท่าไร เล่า ? พระเจ้าข้า !”

ราธะ! ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด ตัณหาอันใด มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว ในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์ดังนี้.

ราธะ! เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือกุมารีน้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่ ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรักมีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้นพวกเด็กน้อยนั้น ๆ ย่อมอาลัยเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึด ถือเรือนน้อย ที่ทำด้วยดินเหล่านั้นว่าเป็นของเรา ดังนี้.

ราธะ! แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อย ๆ หรือกุมารีน้อย ๆ เหล่านั้นมีราคะไปปราศแล้ว มีฉันทะ ไปปราศแล้ว มีความรักไปปราศแล้ว มีความกระหายไปปราศแล้ว มีความเร่าร้อน ไปปราศแล้ว มีตัณหาไปปราศแล้ว ในเรือนน้อยที่ทำ ด้วยดินเหล่านั้น ในกาลนั้นแหละ พวกเขา ย่อมทำ เรือนน้อย ๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ให้กระจัดกระจายเรี่ยรายเกลื่อนกล่น ไป กระทำให้จบการ เล่นเสียด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด

ราธะ ! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. จงขจัดเสียให้ถูกวิธี จงทำให้แหลกลาญ โดยถูกวิธี จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.

ราธะ ! เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือนิพพาน ดังนี้ แล.


422
ที่สุดของพรหมจรรย์ คือนิพพาน


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกว่า มาร มารดังนี้, ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า จึงถูกเรียกว่า มาร พระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณมีอยู่, จะพึงมีมาร, มีผู้ให้ตาย หรือว่าผู้ตาย.

ราธะ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ เธอจงเห็น รูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ ว่า เป็นมาร เห็นว่าเป็น ผู้ให้ตาย เห็นว่า ผู้ตาย เห็นว่า เป็นโรค เห็นว่า เป็นหัวฝี เห็นว่า เป็นลูกศร เห็นว่า ‘เป็นทุกข์’เห็นว่า เป็นทุกข์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.

พวกใดย่อมเห็น รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ พวกนั้น ชื่อว่า ย่อมเห็นโดยชอบ แล.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สัมมาทัสสนะ(การเห็นโดยชอบ) มีอะไรเป็นประโยชน์ ที่มุ่งหมาย เล่า พระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! สัมมาทัสสนะ มีนิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ก็นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) มีอะไรเป็ นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่า พระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! นิพพิทาแล มีวิราคะ (ความจางคลายไป) เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็วิราคะ มีอะไรเป็ นประโยชน์ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! วิราคะแล มีวิมุตติ (ความหลุดพ้น) เป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็วิมุตติ มีอะไรเป็ นประโยชน์ ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! วิมุตติแล มีนิพพานเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็นิพพานมีอะไร เป็นประโยชน์ ที่มุ่งหมายเล่าพระเจ้าข้า ?”

ราธะ ! เธอได้ถามเลยปัญหาเสียแล้ว, เธอไม่อาจจะจับฉวยเอาที่สุดของปัญหาได้.

ราธะ ! ด้วยว่า พรหมจรรย์ ที่ประพฤติกันอยู่นี้แล ย่อมหยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็น ที่สุดท้าย.


421
ความไม่เพลินในอายตนะ

คือความหลุดพ้นจากทุกข์


ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใด ย่อมไม่เพลินกะตา ไม่เพลินกะหู ไม่เพลินกะจมูก ไม่เพลินกะลิ้น ไม่เพลินกะกาย ไม่เพลินกะใจ แล้วไซร้ ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ส่วนผู้ใดแล ย่อมไม่เพลิดเพลินกะรูป ไม่เพลิดเพลินกะเสียง ไม่เพลิดเพลิน กะกลิ่น ไม่เพลิดเพลินกะรส, ไม่เพลิดเพลินกะโผฏฐัพพะ ไม่เพลิดเพลินกะธรรมารมณ์ แล้วไซร้ ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่งอันเป็นทุกข์. ผู้ใด ย่อมไม่เพลิดเพลินกะสิ่ง อันเป็นทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้แล.


424-1
หลุดพ้นจากทุกข์ เพราะไม่เพลิดเพลินในเบญจขันธ์


ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในรูป ผู้นั้น เท่ากับ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็ นทุกข์. เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่พลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้ จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในเวทนา ผูนั้น เท่ากับ ไม่ เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่ง ที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้น ไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสัญญา ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็ นทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้ จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสังขาร ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็ นทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้ จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในวิญญาณ ผู้นั้น เท่ากับไม่เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ เรากล่าวว่า “ผู้ใด ไม่เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ผู้นั้น ย่อมหลุดพ้นไปได้ จากทุกข์” ดังนี้.


425
ความดับของอายตนะ คือ ความดับของทุกข์


ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ และความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งตา แห่งหู แห่งจมูก แห่งลิ้น แห่งกาย แห่งใจ ใด ๆ อันนั้นแหละเป็นความดับแห่งทุกข์ อันนั้นแหละเป็นความ เข้าไปสงบรำงับแห่งสิ่งซึ่งมีปกติเสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละเป็นความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งชราและมรณะ แล.

ภิกษุ ท.! ความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ และความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งรูป แห่งเสียง แห่งกลิ่น แห่งรส แห่งโผฏฐัพพะ แห่งธรรมารมณ์ ใด ๆ อันนั้นแหละ เป็นความดับแห่ง ทุกข์ อันนั้นแหละ เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสิ่งซึ่งมีปกติ เสียบแทงทั้งหลาย อันนั้นแหละ เป็นความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งชราและมรณะ แล.


426
ความรู้ที่ถึงขั้นทำลายตัณหาแห่งกามคุณในอดีต


มาคัณฑิยะ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้ เคยได้รับการบำรุง บำเรอ ด้วยรูปทางตา อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปอาศัยอยู่ แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มาแล้ว ครั้นสมัยอื่นอีก เขามารู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งความเกิดความดับ รสอร่อย โทษต่ำทราม และอุบาย เครื่องออก แห่งรูปทั้งหลายนั่นเทียว แล้วละเสียซึ่งตัณหาในรูป บรรเทาเสียซึ่งความเร่า ร้อน ในรูป ปราศจากความกระหาย เป็นผู้มีจิตสงบแล้วในภายใน อยู่.

มาคัณฑิยะ ! ท่านมีอะไรที่จะกล่าวปรารภบุคคลคนนี้บ้างไหม ? “ไม่มีเลย พระเจ้าข้า !” (ต่อไปนี้ ได้มีการถาม-ตอบ ในกรณีแห่งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ โดยทำนองเดียวกัน).


427
ความปลอดจากกามโยคะ


ภิกษุ ท. ! ความปลอดจากกิเลส อันเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความปลอดจากกามโยคะ ความปลอดจากภวโยคะ ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ ความปลอดจากอวิชชาโยคะ.

ภิกษุ ท.! ความปลอดจากกามโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งกามทั้งหลายด้วย ซึ่งความดับไปแห่งกาม ทั้งหลายด้วย ซึ่งรสอร่อยแห่งกามทั้งหลายด้วย ซึ่งโทษแห่งกามทั้งหลายด้วย ซึ่งอุบาย เป็นเครื่องออกพ้นไปได้จากกามทั้งหลายด้วย เมื่อเขารู้ตามที่เป็นจริงอยู่เช่นนั้น ความกำหนัด ในกามความเพลิดเพลินในกาม ความเสน่หาในกาม ความสยบอยู่ในกาม ความหิวกระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความเมาหมกในกาม และกามตัณหา ในกามทั้งหลาย เหล่านี้ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความปลอดจากกามโยคะ.


427 -1
ความปลอดจากภวโยคะ

ภิกษุ ท.! ความปลอดจากภวโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งภพทั้งหลายด้วย ซึ่งความดับไปแห่งภพ ทั้งหลายด้วย ซึ่งรสอร่อยแห่งภพทั้งหลายด้วย ซึ่งโทษแห่งภพทั้งหลายด้วย ซึ่งอุบายเครื่อง ออกพ้นไปจากภพทั้งหลายด้วย เมื่อเขารู้ตามที่เป็นจริงอยู่เช่นนั้น ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพความ เสน่หา ในภพ ความสยบอยู่ในภพ ความหิวกระหายในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความเมาหมก ในภพ และภวตัณหา ในภพทั้งหลาย เหล่านี้ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความปลอดจากภวโยคะ.


428
ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ


ภิกษุ ท. ! ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งทิฏฐิ ทั้งหลายด้วย ซึ่งความดับไปแห่งทิฏฐิ ทั้งหลายด้วย ซึ่งรสอร่อย แห่งทิฏฐิทั้งหลายด้วย ซึ่งโทษแห่งทิฏฐิทั้งหลายด้วย ซึ่งอุบาย เครื่องออกพ้นไปจาก ทิฏฐิ ทั้งหลายด้วย เมื่อเขารู้ตามที่เป็นจริงอยู่เช่นนั้น ความกำหนัดใน ทิฏฐิ ความ เพลิดเพลินในทิฏฐิ ความเสน่หาในทิฏฐิ ความสยบอยู่ในทิฏฐิ ความหิวกระหาย ในทิฏฐิ ความเร่าร้อนเพราะ ทิฏฐิ ความเมาหมกในทิฏฐิ และตัณหาทางทิฏฐิ ในทิฏฐิทั้งหลาย เหล่านี้ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น.

ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความปลอดจากทิฏฐิโยคะ.


428 -1
ความปลอดจากอวิชชาโยคะ


ภิกษุ ท.! ความปลอดจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งความดับไปแห่ง ผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งรสอร่อยแห่งผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งโทษแห่ง ผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งอุบายเครื่องพ้นไปจากผัสสายตนะหกด้วย เมื่อเขารู้ชัดตามที่ เป็นจริง อยู่เช่นนั้น อวิชชา และ อัญญาณใด ๆ ในผัสสายตนะหก อวิชชาและอัญญาณนั้น ย่อมไม่นอนเนื่องอย่ ในบุคคล นั้น.

ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความปลอดภัยจากอวิชชาโยคะ.

ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละจึงรวมเป็น การไม่ประกอบอยู่ด้วยกาม-โยคะ ๑ การไม่ประกอบ อยู่ด้วยภวโยคะ ๑ การไม่ประกอบอยู่ด้วยทิฏฐิโยคะ ๑และการไม่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชาโยคะ ๑.

ภิกษุ ท. ! บุคคลไม่ประกอบด้วยกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพโดยเด็ดขาด อันเป็นอกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุให้มีภพใหม่อันกระสับกระส่าย มีผลเป็น ทุกข์ มีชาติชราและมรณะต่อไป เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกว่า “ผู้มีปกติเกษมจากโยคะ (โยคกฺเขมี) ” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้คือ ความปลอดจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ๔ อย่าง แล.


429
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)


สัตว์ทั้งหลาย ประกอบพร้อมแล้วด้วยกามโยคะ ด้วยภวโยคะ ด้วยทิฏฐิโยคะ และถูก อวิชชา กระทำในเบื้องหน้าแล้ว มีปกติไปสู่ชาติและมรณะ ย่อมไปสู่สังสารวัฏ. ส่วนสัตว์ เหล่าใดรอบรู้แล้ว ซึ่งกามและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นได้แล้ว ซึ่งทิฏฐิโยคะ และพรากออกได้โดยเด็ดขาดซึ่งอวิชชา สัตว์เหล่านั้นแล ไม่ประกอบ แล้วด้วยกิเลส อันประกอบสัตว์ไว้ในภพทั้งปวง เป็นมุนี ล่วงเสียได้ซึ่งโยคะกิเลสเป็น เครื่องประกอบสัตว์ ไว้ในภพ ดังนี้แล.


430
เครื่องกีดขวางการละสัญโญชน์


ภิกษุ ท. ! ภิกษุใดหนอ ยังเป็นผู้มีความพอใจ ในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ยังมีความยินดี ในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ยังตามประกอบซึ่งความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ยังมีความพอใจในคณะ ยังยินดีในคณะ ยังตามประกอบซึ่งความพอใจในคณะ ภิกษุนั้น จักมาเป็นผู้อยู่เดี่ยวโดด อภิรมย์ในความสงบสงัด ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้.

เมื่ออยู่เดี่ยวโดดไม่ได้และไม่อภิรมย์ในความสงัดอยู่ ยังจักสามารถถือเอาซึ่งนิมิตแห่งจิต ดังนี้, ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. เมื่อไม่อาจถือเอาซึ่งนิมิตแห่งจิต แต่ยังจักทำ สัมมาทิฏฐิ ให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้. เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิให้ บริบูรณ์แล้ว จักทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ ดังนี้ ข้อนี้ เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้.

เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้แล้วจักละสัญโญชน์ทั้งหลายได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มี ไม่ได้ เป็นไม่ได้. เมื่อไม่ละสัญโญชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้


431
(ปฏิปักขนัย)


ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้นหนอ ไม่เป็นผู้มีความพอใจ ในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่มีความยินดี ในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ตามประกอบซึ่งความพอใจในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่มีความ พอใจในคณะ ไม่ยินดีในคณะไม่ตามประกอบซึ่งความพอใจในคณะ ผู้เดี่ยวโดด นั้น จักอภิรมย์ ในความสงบสงัดอยู่ได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ ผู้เดี่ยวโดด เมื่ออภิรมย์ในความ สงบสงัดอยู่ จักถือเอาซึ่งนิมิตแห่งจิตได้ ดังนี้

ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ เมื่อถือเอาซึ่งนิมิต แห่งจิตได้อยู่ จักทำสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ ได้ ดังนี้ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ เมื่อทำสัมมา ทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักทำสัมมา สมาธิ ให้ บริบูรณ์ได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ เมื่อทำสัมมา-สมาธิ ให้บริบูรณ์ ได้แล้ว จักละ สัญโญชน์ทั้งหลายได้ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ เป็นได้ เมื่อละสัญโญชน์ ทั้งหลายได้แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ดังนี้ ข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้เป็นได้ แล.


431-1
ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละเพื่อตัดอนุสัยโดยเด็ดขาด


ภิกษุ ท. ! อนุสัยมี ๗ อย่างเหล่านี้. เจ็ดอย่างเหล่าไหนเล่า ? เจ็ดอย่างคือ อนุสัยคือ กามราคะ ๑ อนุสัยคือปฏิฆะ ๑ อนุสัยคือทิฏฐิ ๑ อนุสัยคือวิจิกิจฉา ๑ อนุสัยคือมานะ ๑ อนุสัยคือภวราคะ ๑ อนุสัยคืออวิชชา ๑. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แลคือ อนุสัย ๗ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาดซึ่งอนุสัย อย่าง. เจ็ดอย่างเหล่าไหนเล่า ?

ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือกามราคะ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือปฏิฆะ เพื่อละเพื่อตัดขาดซึ่งอนุสัยคือทิฏฐิ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือ วิจิกิจฉา เพื่อละเพื่อตัดขาดซึ่งอนุสัยคือมานะ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือภวราคะ เพื่อละเพื่อ ตัดขาด ซึ่งอนุสัยคืออวิชชา
ภิกษุ ท. ! พรหมจรรย์ที่ ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อ ตัดขาด ซึ่งอนุสัย ๗ อย่างเหล่านี้แล.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใดแล อนุสัยคือกามราคะก็ดี อนุสัยคือปฏิฆะก็ด อนุสัยคือทิฏฐิก็ดี อนุสัย คือ วิจิกิจฉาก็ดี อนุสัยคือมานะก็ด อนุสัยคือภวราคะก็ดี และอนุสัยคืออวิชชา ก็ดี เป็นสิ่งที่ ภิกษุ ละได้แล้ว มีรากเง่าอันตัดขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป

ภิกษุ ท. ! เมื่อนั้นภิกษุนี้ เราเรียกว่า ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสัญโญชน์แล้ว ได้ทำ ที่สุด แห่งทุกข์เพราะรู้จักหน้าตาของมานะอย่างถูกต้องแล้ว” ดังนี้ แล.

(ความมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์ในสูตรนี้ ทรงแสดงว่า เพื่อละเสียซึ่ง อนุสัยเจ็ด ในสูตรอื่น (๒๓/๗-๘/๘-๙) ทรงแสดงว่าเพื่อตัดเสียซึ่ง สังโยชน์เจ็ด ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า “สังโยชน์เจ็ด” ที่หน้า ๓๘๘ แห่งหนังสือนี้. )


433
เห็นโลกก็เห็นเหมือนเห็นฟองนํ้าและพยับแดด


บุคคลพึงเห็นฟองนํ้า
ฉันใด. พึงเห็นพยับแดด ฉันใด พญามัจจุราช จักไม่เห็น ผู้ที่พิจารณา เห็นโลก ฉันนั้นอยู่ แล.


433-1
เห็นโลกชนิดที่ความตายไม่เห็นเรา


ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพฤษี ! ....ข้าพระองค์จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไรความตายจึงไม่แลเห็นข้าพระองค์เล่า ? พระเจ้าข้า !”
ดูก่อนโมฆราช ! ท่านจงเป็นคนมีสติ ถอนความเห็นว่าเป็นตัวตนออกเสีย พิจารณาเห็น โลก โดยความเป็นของว่างเปล่าทุกเมื่อเถิด. ท่านจะพึงข้าม ความตาย เสียได้ ด้วยข้อ ปฏิบัติอย่างนี้ความตายจะไม่แลเห็นท่าน ผู้พิจารณา เห็นโลกอยู่ โดยอาการอย่างนี้ แล.


433-2
การดับทุกข์สิ้นเชิงไม่เนื่องด้วยอิทธิวิธี แม้กระทั่งวิโมกข์ที่ไม่เกี่ยวกับการสิ้นอาสวะ


[นักบวชเดียรถีย์อื่น ชื่อ สุสิมะ หาอุบายเข้ามาบวชในพุทธศาสนา เพื่อจะบรรลุคุณวิเศษ สำหรับ นำเอาไปทำให้คณะของตัวเจริญรุ่งเรืองด้วยลาภยศสักการะ เหมือนสังฆบริษัท ของ พระพุทธองค์

ครั้นบวชแล้ว ได้เข้าไปหาพวกภิกษุปัญญาวิมุตต์ โดยคิดว่าภิกษุพวกนี้ มีอภิญญาทั้งหก เมื่อได้ ทราบว่าภิกษุพวกนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอภิญญาทั้งหก และได้รับบอก เล่าว่า ความเป็น อริยะบุคคล ไม่เนื่องด้วยอภิญญาทั้งหก ก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซักไซ้ถึงเรื่อง อภิญญาทั้งหก ว่าเกี่ยวข้องกัน อย่างจำเป็นกับความสิ้นอาสวะตามความเชื่อของเขา หรือไม่.

พระพุทธองค์ได้ทรงใช้วิธีทำให้เขาเกิดธัมมฐิติญาณและนิพพานญาณ โดยทรงนำเอา เรื่อง เบญจขันธ์ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ควรเห็นว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นอัตตา ของเรา จนเป็นธัมมฐิติญาณขึ้นมาก่อน จนกระทั่งจิตเบื่อหน่ายคลายกำหนัด หลุดพ้น และรู้ว่าหลุดพ้น แล้ว อันเป็นนิพพานญาณ (ตามนัยแห่งอนัตตลักขณสูตร ซึ่งเป็นที่ทราบ กันดีอยู่แล้ว หรืออาจจะหาอ่านดูได้จากที่ทั่วไป)

จนกระทั่งนักบวชชื่อสุสิมะนั้นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ในเรื่องความดับทุกข์หรือความสิ้น อาสวะ นั้น ว่าเป็นไปได้ตามเหตุตามปัจจัยของมันเอง และเมื่อนักบวชชื่อสุสิมะเห็นชัด ในความจริงข้อนี้ แล้ว จึงตรัสแก่เขาต่อไปว่า]

สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ชรามรณะ มี เพราะชาติเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ชาติ มี เพราะภพเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า!
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ภพ มี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า อุปาทาน มีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ตัณหา มี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า เวทนา มี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า!
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า ผัสสะ มี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย อย่างนั้น พระเจ้าข้า!
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า สฬายตนะ มี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย อย่างนั้น พระเจ้าข้า
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า นามรูป มี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย อย่างนั้น พระเจ้าข้า
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า วิญญาณ มี เพราะสังขารเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า
สุสิมะ ! เธอเห็นไหมว่า สังขาร ทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย อย่างนั้นพระเจ้าข้า!

(ต่อไปได้ตรัสชักนำให้เห็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร โดยรูปแบบแห่งถ้อยคำอย่าง เดียวกับ ข้อความข้างบนนี้ครบทั้ง ๑๑ อาการ แล้วได้ตรัสว่า)

สุสิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี อิทธิวิธี มีอย่างต่าง อยู่อีกหรือ คือคนเดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ....ฯลฯ....๑ และแสดง อำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้ ดังนี้.
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

สุสิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี ทิพพโสต อยู่อีกหรือ คือมีโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ....ฯลฯ....๑ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ดังนี้.
ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

สุสิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็นที่จะต้องทำให้มี
................................................................................
๑. ลักษณะแห่งอภิญญาแต่ละอย่าง ๆ โดยละเอียด ออกจะยืดยาว ในที่นี้นำมาใส่ไว้ แต่โดย ย่อพอ เป็นเครื่องสังเกตผู้ปรารถนาจะทราบโดยละเอียด พึงดูได้ที่หัวข้อว่า “ธรรมธาตุต่างๆ ที่เป็นผล ของสมถวิปัสสนาอันดับสุดท้าย”ที่หน้า ๔๙๕ แห่งหนังสือนี้.
…………………………………………………………………………………………..

เจโตปริยญาณ อยู่อีกหรือ คือกำหนดรู้ใจแห่งสัตว์อื่น ....ฯลฯ....๑ จิตไม่หลุดพ้นว่า ไม่หลุดพ้น ดังนี้.ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

สุลิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็ นที่จะต้องทำให้มี ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อยู่อีกหรือ คือระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ ....ฯลฯ....๑ พร้อมทั้งอาการและอุทเทส ด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้. ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

สุลิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็ นที่จะต้องทำให้มี ทิพพจักขุ ญาณ อยู่อีกหรือ คือ มีจักษุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุของ สามัญมนุษย์ ....ฯลฯ....๑ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ ดังนี้. ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า !”

สุลิมะ ! เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เธอยังจำเป็ นที่จะต้องทำให้มี อารุปป วิโมกข์ อยู่อีกหรือ คือ วิโมกข์เหล่าใด อันสงบรำงับ เป็นอรูปเพราะก้าวล่วงรูปเสียได้ เธอถูกต้องวิโมกข์เหล่านั้นด้วยนามกายแล้วแลอยู่ ดังนี้.“ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า !”

สุสิมะ ! คราวนี้ คำพูดอย่างโน้นของเธอกับการที่ (เธอกล่าวบัดนี้ว่า) ไม่ต้องมีการบรรลุ ถึงอภิญญาธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ก็ได้ ในกรณีนี้ นี้เราจะว่าอย่างไรกัน.


นิทเทส

ว่าด้วยความดับแห่งตัณหา
จบ




นิทเทส ๑๐ ว่าด้วยธรรมเป็นที่ดับแห่งตัณหา

(มี ๖๑ เรื่อง)

437
ทิฏฐิทัสสนะที่เป็นไปเพื่อทุกขนิโรธ


พระโคดมผู้เจริญ ! ทิฏฐิคตะไร ของพระโคดม มีอยู่หรือ ?”

วัจฉะ ! สิ่งที่เรียกว่า “ทิฏฐิคตะ” นั้น ตถาคตนำออกหมดสิ้นแล้ว.

วัจฉะ ! สัจจะที่ตถาคตเห็นแล้วนั่น มีอยู่ว่า
รูป เป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้
เวทนา
เป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้. การดับไปแห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ สัญญา เป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งสัญญา เป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขาร เป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ วิญญาณ เป็นอย่างนี้ การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ การดับไปแห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวว่า

“ตถาคตเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ทั้งนี้เป็นเพราะความสิ้นไป ความจาง คลาย ความดับไม่เหลือ ความสละ ความสลัดคืน ซึ่งความสำคัญหมาย ทั้งปวง ความต้องการ ทั้งปวง อหังการมมังการมานานุสัยทั้งปวง”ดังนี้.


438
ที่ซึ่งนามรูปดับไม่มีเหลือ

(เรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันช่วยเสริมความเข้าใจดูประกอบในพุ.โอ. หน้า ๔๘๓)

ภิกษุ! สำหรับปัญหาของเธอนั้น เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า “มหาภูตสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?” ดังนี้เลย อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้น อย่างนี้ว่า

“ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? (ไม่อาจเข้าไปอยู่ได้ในที่ไหน) ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงามความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน? นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน?” ดังนี้ต่างหาก.

ภิกษุ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้

“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่มีที่สุด มีทางปฏิบัติ เข้ามาถึง ได้โดยรอบ นั้นมีอยู่ ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้(ไม่อาจเข้าไปอยู่ได้) ใน“สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงามความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ (ไม่อาจ เข้าไปอยู่ได้) ใน “สิ่ง” นั้นแหละนามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะ การดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้แล.


438-1
ที่ซึ่งธาตุสี่หยั่งลงไม่ถึง

สระทั้งหลาย จะไหลกลับจากที่ไหน ? วัฏฏะ (วังวน) ย่อมไม่หมุนในที่ไหน ? นามและรูป ย่อมดับสนิท ไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?

ในที่ใด ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ จากที่นั้นแหละสระทั้งหลาย ย่อมไหลกลับ ในที่นั้นแหละ วัฏฏะย่อมไม่หมุน ในที่นั้นแหละ นามและรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังนี้ แล.


439

ที่เที่ยว
นอกโลก

พวกเทวดาทั้งหลาย ทั้งในชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นวสวัตตี ล้วนแต่ถูก ผูกมัดรัดรึงอยู่ด้วยเครื่องผูกคือ กามคุณ ต้องกลับไปสู่อำนาจของ มารอีก. โลกทั้งปวงร้อนเปรี้ยง. โลกทั้งปวงควันกลุ้ม. โลกทั้งปวงลุกโพลง ๆ โลกทั้งปวงไหว โยกเยกอยู่. ที่ใด มีมารไปไม่ถึง ที่นั่นไม่หวั่นไหว ที่นั่น ไม่โยกเยก ที่นั่น ไม่ใช่ที่เที่ยว ของบุถุชน. มารเอย ใจเรายินดีในที่นั้น เสียแล้ว. (ข้อความนี้ เป็นเถรีภาษิต นำมาขยาย ความพุทธภาษิต).