704 |
อุปมาทุกข์ที่หมดไปสิ้นไปของอริยะ กับทุกข์ที่เหลืออยู่
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๐)
อุปมาทุกข์ที่หมดไปสิ้นไปของอริยะ กับทุกข์ที่เหลืออยู่
1.ทุกข์ของอริยะที่หมดไปสิ้นไป เท่าดินในปฐพี
ส่วนทุกข์ที่เหลือ เท่ากับเศษดินปลายเล็บ (นขสิขสูตร)
2.ทุกข์ของอริยะที่หมดไปสิ้นไป เท่ากับน้ำที่สระโบกขรณี
ส่วนทุกข์ที่เหลือ เท่ากับน้ำที่วิดขึ้นด้วยปลายหญ้าคา (โปกขรณีสูตร)
3.ทุกข์ของอริยะที่หมดไปสิ้นไป เท่ากับแม่น้ำใหญ่ไหลมาบรรจบกัน
ส่วนทุกข์ที่เหลือ เท่ากับน้ำสองสามหยาด (สัมเภชอุทกสูตรที่ ๑)
5.ทุกข์ของอริยะที่หมดไปสิ้นไป เท่ากับขุนเขาหิมวันต์
ส่วนทุกข์ที่เหลือ เท่ากับหินเม็ดผักกาด 7 เม็ด (ปัพพตูปมสูตรที่ ๒)
|
|
|
202 |
ความทุกข์ในมหานรก ยิ่งกว่าถูกแทงด้วยหอกวันละ 300 เล่ม
มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๘.
ความทุกข์จากการถูกหอกแทง 300 เล่ม เมื่อเทียบกับทุกข์ในมหานรกแล้ว เทียบกัน ไม่ได้เลย ทุกข์ในนรกเจ็บปวดทรมานมากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า ความทุกข์ของคน ที่ถูกหอก 300 เล่มแทง มีปริมาณความเจ็บปวดเหมือนก้อนหินเล็กๆ ก้อนหนึ่ง แต่ทุกข์ ในมหานรกมีปริมาณมาก เหมือนเขาพระสุเมรุทีเดียว
|
|
|
222 |
ก้อนข้าวที่ลุกเป็นไฟ
(ถูกบุรุษเอาก้อนเหล็กร้อนโยนเข้าปาก ยังดีกว่าทุศีล)
(ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์)
ภิกษุ ท. ! เพราะว่า การที่เขาจะต้องตายหรือได้รับทุกข์เจียนตาย เนื่องจากเหตุ ที่เขาถูกบุรุษมีกำลังแข็งแรง เอาขอเหล็ก อันร้อนเป็นเปลวไฟลุกโพลงมีแสงโชติช่วง กระชากปากให้เปิด แล้วโยนก้อนเหล็กแดง อันร้อนแรง ลุกโพลงมีแสงโชติช่วง เข้าไป ในปาก หาได้เป็นเหตุให้เขาต้องเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภายหลังแต่ ความตาย เพราะการทำลายแห่งกาย ไม่
ส่วนการที่เขา เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติ ชนิดที่ตนเองนึกแล้วก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะ ก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ก็ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสัญชาติหมักหมม เหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย แล้วยัง (มีความคิดที่จะ) บริโภคก้อนข้าว ที่พวกกษัตริย์มหาศาล หรือพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ถวายด้วยศรัทธา นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เกื้อกูลแก่เขา ตลอดกาลนาน ภายหลังแต่ความตายเพราะการทำลายแห่งกาย เขาย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
|
|
|
367 |
ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก
อรกานุสาสนีสูตร -อุปมาชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕)
ดูกรพราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติ พรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
|
|
|
1280 |
ภิกษุยิงไม่ผิดพลาดอย่างไร
(โยธสูตร (นักรบอาชีพ) ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๗๒)
ภิกษุยิงไม่ผิดพลาดอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ภิกษุยิงไม่ผิดพลาดอย่างนี้แล
|
|
|
430 |
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็มีทุกข์
(วิสาขาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๕)
ดูกรนางวิสาขา
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐
.......
.......
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑
ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์
เรากล่าวว่าผู้นั้น ไม่มีความโศก
ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส
ไม่ว่าเวลาใด
บุคคลไม่ควรติดพันกับ สิ่งเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก
เพราะการไม่เห็น สิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์
การพบเห็นสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
เพราะฉะนั้น
บุคคลไม่ควรทำสิ่งไรๆ ให้เป็นที่รัก
เพราะการพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ระทม
ผู้ที่ไม่มีสิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ย่อมไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด
|
|
|
1251 |
โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน นี้เป็นโทษในโลก
(ปุพพสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันต หน้าที่ ๒๔๕ )
เมื่อก่อนตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้
ได้คิดว่าในโลก อะไรหนอเป็นคุณ อะไรหนอเป็นโทษ
อะไรหนอเป็นอุบาย เครื่องออกไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้คิดว่า
- สุขโสมนัส อาศัยสภาพใดเกิดขึ้นในโลก สภาพนี้ เป็นคุณในโลก
- โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษในโลก
- การปราบปรามฉันทราคะ การละฉันทราคะ ได้เด็ดขาดในโลก นี้เป็นอุบาย เครื่องออกไปในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
- เรายังไม่รู้ยิ่ง
ซึ่งคุณของโลก โดยเป็นคุณ
- เรายังไม่รู้ยิ่ง ซึ่งโทษของโลก โดยความเป็นโทษ
- เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปของโลก โดยความเป็นอุบายเครื่องออกไป ตามความเป็นจริง เพียงใด
เรายังไม่ปฏิญาณตน ว่า เป็นผู้ตรัสรู้ซึ่ง อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลกพรหมโลก
ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น
|
1543 |
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ กับอริยสาวก (ผู้ได้สดับ)
(สัลลัตถสูตร-ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันต หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐)
เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร คร่ำครวญ
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ
อริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ทุบอก คร่ำครวญ
เธอย่อมเสวย เวทนา ทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ
|
|
|
510-1 |
อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (1)
(สุขสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้า 107)
ดูกรท่านพระสารีบุตร
อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ดูกรท่านผู้มีอายุ
การเกิด เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (การเกิดของนาม-รูป)
การไม่เกิด เป็นเหตุให้เกิดสุข
ดูกรผู้มีอายุ
เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้คือ ความหนาว ความร้อนความหิว
ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ สัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศาตรา
ญาติก็ดี มิตรก็ดี
มาประชุมพร้อมกัน ย่อมโกรธเคืองเขา
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้
ดูกรผู้มีอายุ
เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวัง ได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว ความไม่ร้อน
ความไม่หิว ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟ
ไม่ต้องสัมผัสท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี
มาประชุมพร้อมกัน ย่อมไม่โกรธเคืองเขา
ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขดังนี้
|
|
|
510-2 |
อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (2)
(สุขสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ หน้า 107
ดูกรท่านพระสารีบุตร
อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิด ทุกข์
ดูกรท่านผู้มีอายุ
ความไม่ยินดี เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ (การน้อมไปของตัณหา)
ความยินดี เป็นเหตุให้เกิดสุข
ดูกรผู้มีอายุ
เมื่อมีความไม่ยินดี เป็นอันหวังได้ ทุกข์นี้ คือ
บุคคลผู้มีความไม่ยินดี แม้เดินอยู่ ก็ไม่ประสบความสุข ความสำราญ
บุคคลผู้มีความไม่ยินดีแม้ยืนอยู่ ... แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่...
แม้อยู่ในบ้าน... แม้อยู่ในป่า... แม้อยู่ที่โคนไม้... แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า...
แม้อยู่ในที่แจ้ง... แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ย่อมไม่ประสบความสุขความสำราญ
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความไม่ยินดี ก็เป็นอันหวังได้ ความทุกข์นี้
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ ความสุขนี้ คือ
บุคคลผู้มีความยินดี แม้เดินอยู่ ก็ย่อมประสบ ความสุขความสำราญ
บุคคลผู้มีความยินดีแม้ยืนอยู่.... แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่ ...
แม้อยู่ในบ้าน ... แม้อยู่ในป่า ... แม้อยู่ที่โคนไม้... แม้อยู่ในเรือนว่างเปล่า...
แม้อยู่ในที่แจ้ง... แม้อยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ย่อมประสบความสุขความสำราญ
ดูกรผู้มีอายุ เมื่อมีความยินดี ก็เป็นอันหวังได้ความสุขนี้
|
|
|
1416 |
เพราะการเกิด เป็นเหตุให้พบกับ ความทุกข์
(พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า 274)
ทารกครั้นเจริญวัยแล้ว มีอินทรีย์เจริญเต็มที่แล้ว
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้บำเรออยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่ ความกำหนัด และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
ครั้นทารกนั้นเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้นแล้ว
ย่อมกำหนัดยินดีในรูปเป็นต้น ที่ยั่วยวน ให้เกิดความรัก
ย่อมขัดใจในรูป เป็นต้น ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก
ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ ซึ่งสติ อันเป็นไปในกาย มีใจเป็น อกุศล
ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดี-ยินร้ายแล้ว
ย่อมเสวยเวทนาที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม
เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ
เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น ความเพลิน (นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น
ความเพลินใดในเวทนาทั้งหลายมีอยู่ ความเพลินอันนั้นเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดมีพร้อม
ความก่อขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล
|
|
|
346 |
กรรมดำ กรรมขาว
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๖)
ก็กรรมดำมีวิบากดำ เป็นไฉน
ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้
ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์
ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์
ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์
ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลก อันมีความทุกข์
ผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์ ย่อมถูกต้องเขา
ผู้เข้าถึงโลกอันมีทุกข์
เขาอันผัสสะประกอบด้วยทุกข์ถูกต้อง
ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์
อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียวดุจสัตว์นรก
ดูกรปุณณะ
เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี
สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น
ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว
แม้เพราะอย่างนี้เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท
ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมดำมีวิบากดำ
(ส่วนกรรมขาวมีวิบากขาว กรรมทั้งดำทั้งขาว และกรรมไม่ดำไม่ขาวก็ตรัสทำนองเดียวกัน)
|
|
|
497 |
อดีตสูตร อนาคตสูตร ปัจจุบันสูตร
(สูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๒)
อตีตสูตรที่ ๒
จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอดีตเป็นทุกข์
จมูกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์
กายที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอดีตเป็นทุกข์
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
อนาคตสูตรที่ ๒
จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์
จมูกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์
กายที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ใจที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ปัจจุปันนสูตรที่ ๒
จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์
จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์
กายที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
|
|
|
542 |
ความหมายของ อวิชชา-วิชชา
หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 108 109 110
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๘-๕๓๙/๑๖๙๔-๑๖๙๕.
ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร
และ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งอวิชชา พระเจ้าข้า
ความไม่รู้ อันใด
เป็นความไม่รู้ ในทุกข์
เป็นความไม่รู้ ในเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความไม่รู้ ในความดับแห่งทุกข์ และ
เป็นความไม่รู้ ในหนทางให้ถึง ความดับแห่งทุกข์
นี้เรียกว่า อวิชชา
เพราะเหตุนั้น พวกเธอพึงทำความเพียร
เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์
นี้ความดับแห่งทุกข์
นี้หนทาง ให้ถึงความดับแห่งทุกข์
นี้เรียกว่า วิชชา
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง วิชชา
ความรู้อันใด
เป็น ความรู้ในทุกข์
เป็นความรู้ ในเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความรู้ในความดับ แห่งทุกข์ และ
เป็น ความรู้ในหนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์
นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
|