เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อรกานุสาสนีสูตร (อุปมาชีวิตของมนุษย์ไว้หลายแบบ) 367  
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

ข้ออุปมาของชีวิต ๗ ข้อ
๑. ชีวิตเหมือนหยาดน้ำค้าง เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เหือดแห้ง
๒. ชีวิตเหมือนต่อมน้ำ หยาดฝนที่ตกมากระทบพื้น ก็สลายตัวทันที
๓. ชีวิตเหมือนรอยไม้ที่กรีดในน้ำ แว๊บเดียวก็กลับสนิทดังเดิม
๔. ชีวิตเหมือนลำธารไหลลงจากภูเขา ย่อมนำสิ่งที่นำไปได้ไม่มีหยุด
๕. ชีวิตเหมือนก้อนเขฬะ บุรุษผู้มีกำลังถ่มก้อนเขฬะที่ปลายลิ้นไม่ยาก
๖. ชีวิตเหมือนชิ้นเนื้อใส่กระทะตั้งไฟ ถูกนาบย่อมไหม้ไม่ทนอยู่ได้
๗. ชีวิตเหมือนโคที่ นำไปสู่โรงฆ่าสัตว์ ถูกมัจจุราชคร่าตัวไปสู่ความตาย

อันตรายแห่งการบริโภคอาหาร มีดังนี้ คือ
• คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร
• คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร
• คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร 
• คนรักษาอุโบสถก็ไม่บริโภคอาหาร 
• เพราะไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร

 
 
 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

อรกานุสาสนีสูตร (อุปมาชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย)


           [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่ออรกะ เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจาก ความกำหนัดในกาม ก็อรกศาสดานั้นมีสาวกหลายร้อยคน เธอแสดงธรรม แก่สาวก อย่างนี้ว่า

ดูกรพราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติ พรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี

ดูกรพราหมณ์ หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา ย่อมแห้งหายไป ได้เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึง ถูกต้องได้ ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดแล้วจะไม่ตาย ไม่มี ฯ

ดูกรพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนักหนาเม็ด ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ ฉันนั้น เหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้อง ได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมา แล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ

ดูกรพราหมณ์ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ฉันนั้น เหมือนกัน ... ฯ

ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา ไหลไปไกล กระแสเชี่ยว พัดไปซึ่งสิ่งที่ พอจะพัดไปได้ ไม่มีระยะเวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด แต่ที่แท้ แม่น้ำนั้นมีแต่ไหลเรื่อย ไปถ่ายเดียว แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบ เหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจาก ภูเขา ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ

ดูกรพราหมณ์ บุรุษมีกำลัง อมก้อนเขฬะ(น้ำลาย) ไว้ที่ปลายลิ้น แล้วพึงถ่มไป โดยง่ายดาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนก้อนเขฬะ ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ

ดูกรพราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกระทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน ย่อมจะย่อยยับ ไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบ เหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ

ดูกรพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือดที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิด มาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
..............................................................................................................................................................

สรุปย่อจากพระสูตรเต็ม (อรกานุสาสนีสูตร)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้น 
    • มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี
    • เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงควรแก่การมีสามี ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมี

อาพาธ ๖ อย่างเท่านั้น คือ
    • เย็น 
    • ร้อน 
    • หิว 
    • กระหาย 
    • ปวดอุจจาระ 
    • ปวดปัสสาวะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อรกศาสดานั้น
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนตั้งอยู่นาน มีอาพาธน้อยอย่างนี้  จักแสดงธรรมให้สาวก ฟังอย่างนี้ว่า

ดูกรพราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย  นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก  จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา  ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ

● ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้  เมื่อจะกล่าวโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า
• ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย
• รวดเร็ว
• มีทุกข์มาก
• มีความคับแค้นมาก
• จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา
    ควรกระทำกุศล
    ควรประพฤติพรหมจรรย์
    เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้ คนที่มีอายุอยู่ได้นาน ก็เพียงร้อยปีหรือน้อยกว่า นั้นบ้าง เกินกว่าบ้าง

    • ก็คนที่มีอายุอยู่ถึงร้อยปี ย่อมอยู่ครบ ๓๐๐ ฤดู คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐

    • คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๐๐ ฤดู ย่อมอยู่ครบ ๑,๒๐๐ เดือน คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ เดือน ฤดูร้อน ๔๐๐ เดือน ฤดูฝน ๔๐๐ เดือน

    • คนที่มีอายุอยู่ถึง ๑,๒๐๐ เดือน ย่อมอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน

    • คนที่มีอายุอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน ย่อมอยู่ครบ ๓๖,๐๐๐ ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูร้อน ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูฝน ๑,๒๐๐ ราตรี

    • คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี ย่อมบริโภคอาหาร ๗๒,๐๐๐ เวลา คือ ฤดูหนาว ๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ เวลา พร้อมๆ กับดื่มนมมารดาและอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร ใน ๒ ประการนั้น

อันตรายแห่งการบริโภคอาหาร มีดังนี้ คือ

    • คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร
    • คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร
    • คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร 
    • คนรักษาอุโบสถก็ไม่บริโภคอาหาร 
    • เพราะไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราได้กำหนดอายุ ประมาณแห่งอายุ  ฤดู ปี เดือน กึ่งเดือน ราตรี วัน  การบริโภคอาหาร และอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร ...  ของมนุษย์ผู้มีอายุร้อยปี ด้วยประการดังนี้แล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล  ผู้อนุเคราะห์เอื้อเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวก
กิจนั้นเรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 
นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ขอเธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ
    อย่าประมาท
    อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย

นี้คืออนุสาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฯ



   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์