652 |
เมื่อจักษุมีอยู่ เมื่อใจมีอยู่ สุข-ทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
(หัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๑)
เมื่อจักษุมี สุข-ทุกข์ภายใน ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย
เมื่อใจมีอยู่ สุข และทุกข์ ย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์ ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อใจไม่มี สุขและทุกข์ ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผั เป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน
 |
|
|
1416 |
ความทุกข์นั้นอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย
(พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า 274)
ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ?
ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ
ผู้กล่าว อย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอน เรื่องกรรม ทั้ง ๔ พวกนั้น
สมณพราหมณ์บางพวกที่สอนเรื่องกรรม บัญญัติความทุกข์ว่า
1.กรรม เป็นสิ่งที่ตนทำด้วยตนเอง
2.กรรม เป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้
3.กรรม เป็นสิ่งที่ตนทำด้วยตนเอง และผู้อื่นทำให้ด้วย
4.กรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เอง
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้ง ๔ พวกนั้น...
สมณพราหมณ์พวกนั้น หนาหากเว้นผัสสะเสียแล้ว
จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้น ได้ดังนั้นหรือ
นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย...
 |
|
|
1543-1 |
เวทนาเป็นทุกข์ มีความพินาศ
(สุขสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐)
ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม
ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม
ทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกมีอยู่
ภิกษุรู้ว่า เวทนานี้ เป็นทุกข์ มีความพินาศเป็นธรรมดา
มีความทำลายเป็นธรรมดา ถูกต้องความสิ้นไปอยู่ ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้
|
|
|
1543-2 |
พึงเห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์
(ทัฏฐัพพสูตร-ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐)
เพราะเหตุที่ภิกษุ
เห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกขเวทนา โดยความเป็นลูกศร
เห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ
ตัดตัณหาได้เด็ดขาด
เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว
ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว
เพราะละมานะได้โดยชอบ
ภิกษุย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้
ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวท (ความรู้)
|
|
|
1456 |
การเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์
(รโหคตวรรคที่ ๒ ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓๑)
เรากล่าวเวทนา ๓ นี้คือ (อารมณ์)
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
เพราะเวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เพราะเวทนา
คือสังขารทั้งหลายนั่นเอง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวน
เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับคือ
เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ
เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจาร ย่อมดับ
เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ
เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะ ย่อมดับ
เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ
เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ ผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ
 |
|
|
214 |
ว่าด้วยกองทุกข์มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า
(จูฬทุกขักขันธสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๖)
ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้า แต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกาม เป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว บังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ทั้งนั้น
 |
|
|
926 |
กามเป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก
สัมพหุลสูตรที่ ๑ (ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๖)
ภิกษุหนุ่มกล่าวกะพราหมณ์ :
ดูกรพราหมณ์ เพราะกามทั้งหลาย เป็นของชั่วคราว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนั้นมีโดยยิ่ง ธรรมนี้มีผลอัน เห็นเอง ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นของควรเรียกมาดู ควรน้อมไว้ในตน อันวิญญูชน ทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้น สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าขมวดเป็นสามรอย จดจ้องไม้เท้าหลีกไป
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั้นมิใช่พราหมณ์ นั้นเป็นมารผู้มีบาป มาเพื่อกำบังตาเธอทั้งหลาย
 |
|
|
889 |
กามทั้งหลาย อุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก คับแค้นมาก
(อริฏฐภิกษุค้านพระธรรมเทศนา ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๒)
ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ว่าเป็นธรรมกระทำอันตราย โดยอเนกปริยาย ก็แหละธรรมเหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง
พระผู้มีพระภาคตรัส กามทั้งหลาย ซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้ นมีอยู่โดยยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัส
กามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก
มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง
|
|
|
567 |
ว่าด้วยกองทุกข์มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า
(จูฬทุกขักขันธสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๒-๑๒๖)
ดูกรมหานาม อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้า แต่ตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรมหานาม แม้นี้ ก็เป็นโทษของกาม ทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ในสัมปรายภพ มีกาม เป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว บังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ทั้งนั้น
 |
|
|