เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

เวทนา ๓ (10 พระสูตร) คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา 1543
  (ย่อ)
เวทนา ๓ เป็นไฉน
คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

1) สมาธิสูตร
สาวกของพระพุทธเจ้า มีจิตมั่นคงดีแล้ว มีสัมปชัญญะ มีสติ
-ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา
-รู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย
-รู้ชัดเหตุดับของเวทนา(คือนิพพาน)
-รู้ชัดทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่ง เวทนา เหล่านั้น
-เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว
------------------------------------------------------------------------------------------------------
2) สุขสูตร
เวทนาใดๆก็ตาม
- เป็นทุกข์
- มีความพินาศเป็นธรรมดา
- มีความทำลายเป็นธรรมดา
- มีความสิ้นไปอยู่
------------------------------------------------------------------------------------------------------
3) ปหานสูตร
เธอทั้งหลาย
-พึงละ ราคานุสัย ในสุขเวทนา (ความยินดี)
-พึงละ ปฏิฆานุสัย ในทุกขเวทนา (ความไม่พอใจ)
-พึงละ อวิชชานุสัย ในอทุกขมสุขเวทนา (ความไม่รู้ในอริยสัจสี่)
------------------------------------------------------------------------------------------------------
4) ปาตาลสูตร
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ในมหาสมุทร มีบาดาล
-คำว่า บาดาลนี้เป็นชื่อ ของทุกขเวทนา
-ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมอยู่ใต้บาดาลอันหยั่งไม่ถึง ย่อมลำบาก คร่ำครวญ ร่ำไร
-ผู้ได้สดับ ย่อมอยู่ใต้บาดาลอันหยั่งถึง อดกลั้นเวทนาไว้ได้ ย่อมไม่หวั่นไหว
------------------------------------------------------------------------------------------------------
5) ทัฏฐัพพสูตร
ภิกษุทั้งหลาย
-พึงเห็นสุขเวทนา โดยความ เป็นทุกข์
-พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร
-พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความ เป็นของไม่เที่ยง

-ภิกษุเห็นอยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด
เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ
-ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวท(ความรู้)
------------------------------------------------------------------------------------------------------
6) สัลลัตถสูตร
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ กับอริยสาวก
- ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
- อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
- ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน

เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
- ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร คร่ำครวญ
- เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ
- อริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
- เธอย่อมเสวย เวทนา ทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ
------------------------------------------------------------------------------------------------------
7) เคลัญญสูตรที่ ๑
ภิกษุย่อมเป็นผู้อยู่ปกติ
- เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่

ถ้าภิกษุมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
-สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น (ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น)
-ย่อมรู้ว่าสุขเวทนาบังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว
-แต่สุขเวทนาอาศัยจึงเกิด ไม่อาศัยไม่เกิด
-อาศัยอะไร อาศัยกายนี้แล
-ก็กายนี้ไม่เที่ยง อาศัยปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น(สุขเวทนา)
-ก็สุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยงเกิดขึ้น
-ดังนั้นย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของสุขเวทนา

ภิกษุนั้น
-ถ้าเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข.. ก็รู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน
-ถ้าเธอเสวยเวทนาใดๆด้วยอารมณ์แบบนี้ ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลส
------------------------------------------------------------------------------------------------------
8) เคลัญญสูตรที่ ๒
ภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
- สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น
- ก็เวทนาทั้ง ๓ อาศัยอะไร จึงเกิดขึ้น
- อาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้น
- ผัสสะไม่เที่ยง เป็นปัจัยปรุงแต่ง
- เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม คลายไป ความดับ ความสละคืน
- เธอย่อมละราคานุสัย ในผัสสะ และในสุขเวทนาเสียได้
------------------------------------------------------------------------------------------------------
9) อนิจจสูตร
เวทนา ๓ เหล่า ไม่เที่ยง อาศัยปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
------------------------------------------------------------------------------------------------------
10) ผัสสมูลกสูตร
เวทนา ๓ นี้
-เกิดขึ้น และดับไป เพราะผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย
-เหมือนไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะการเสียดสีกัน จึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ
-เมื่อแยกไม้สองอันออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้น ย่อมดับไป สงบไป

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐

ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑

1)
สมาธิสูตร
(สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา)

            [๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล

            [๓๖๐] สาวกของพระพุทธเจ้า มีจิตมั่นคงดีแล้ว มีสัมปชัญญะ มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา และเหตุเกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย อนึ่งเวทนาเหล่านี้จะดับไป ในที่ใด ย่อมรู้ชัดซึ่งที่นั้น (คือนิพพาน) และทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่ง เวทนา เหล่านั้น เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว

สาวกของพระพุทธเจ้า มีจิตมั่นคงดีแล้ว มีสัมปชัญญะ มีสติ
-ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา
-รู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย
-รู้ชัดเหตุดับของเวทนา(คือนิพพาน)
-รู้ชัดทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่ง เวทนา เหล่านั้น
-เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุเป็นผู้หมดความหิว ปรินิพพานแล้ว



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
2)
สุขสูตร
(สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา)

            [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล

            [๓๖๒] ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตามเป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม ทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอกมีอยู่ภิกษุรู้ว่า เวทนานี้ เป็นทุกข์ มีความพินาศเป็นธรรมดา มีความทำลายเป็นธรรมดา ถูกต้องความสิ้นไปอยู่ ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้

เวทนาใดๆก็ตาม
- เป็นทุกข์
- มีความพินาศเป็นธรรมดา
- มีความทำลายเป็นธรรมดา
- มีความสิ้นไปอยู่



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
3)
ปหานสูตร
(สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา)

            [๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละ ราคานุสัย ในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัย ในทุกขเวทนา พึงละอวิชชานุสัยใน อทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ ภิกษุละ ราคานุสัยในสุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยใน ทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัย ในอทุกขมสุขเวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัดตัณหา ได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่ง ทุกข์แล้ว เพราะละมานะ ได้โดยชอบ

            [๓๖๔] ราคานุสัยนั้น ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้เสวยสุขเวทนาไม่รู้สึกตัวอยู่ มีปรกติ ไม่เห็นธรรม เป็นเครื่องสลัดออก ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวยทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว มีปรกติไม่เห็นธรรม เป็นเครื่องสลัดออกบุคคลเพลิดเพลิน อทุกขมสุขเวทนาซึ่งมีอยู่ อันพระผู้มีพระภาค ผู้มีปัญญาประดุจปฐพีทรงแสดงแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไป จากทุกข์ เลย เพราะเหตุที่ภิกษุผู้มีความเพียร ละทิ้งเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ เธอชื่อว่าเป็นบัณฑิต ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรมถึงที่สุดเวท เมื่อตายไปย่อมไม่เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้หลง ดังนี้

เธอทั้งหลาย
-พึงละ ราคานุสัย ในสุขเวทนา (ความยินดี)
-พึงละ ปฏิฆานุสัย ในทุกขเวทนา (ความไม่พอใจ)
-พึงละ อวิชชานุสัย ในอทุกขมสุขเวทนา (ความไม่รู้ในอริยสัจสี่)



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
4)
ปาตาลสูตร
(ทุกขเวทนา)

            [๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ในมหาสมุทร มีบาดาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดวาจาอันไม่มี ไม่ปรากฏอย่างนี้ว่าในมหาสมุทรมีบาดาล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า บาดาลนี้เป็นชื่อ ของทุกขเวทนา ที่เป็นไปใน สรีระแล ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนา อันเป็นไปใน สรีระ ถูกต้องแล้ว ย่อม เศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรทุบอกคร่ำครวญย่อมถึงความงมงาย ปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับนี้ เรากล่าวว่า ไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งไม่ถึงอีกด้วย

           ส่วน อริยสาวก ผู้สดับแล้ว ถูกทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระถูกต้อง ย่อมไม่ เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมไม่ถึงความงมงาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วนี้ เรากล่าวว่า ย่อมปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่ง ถึงอีกด้วย

            [๓๖๖] นรชนใดถูกทุกขเวทนาเหล่านี้ อันเป็นไปในสรีระเครื่องนำชีวิตเสีย บังเกิดขึ้น ถูกต้องแล้ว อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว เป็นผู้ทุรพลกำลังน้อย ย่อม คร่ำครวญ ร่ำไร นรชนนั้น ย่อมไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งไม่ถึงอีกด้วย ส่วนนรชนใด ถูกทุกขเวทนา เหล่านี้ อันเป็นไปในสรีระ เครื่องนำชีวิตเสีย บังเกิดขึ้น ถูกต้อง อดกลั้นไว้ได้ ย่อมไม่ หวั่นไหว นรชนนั้นแล ย่อมปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งถึงอีกด้วย

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูดอย่างนี้ว่า ในมหาสมุทร มีบาดาล
-คำว่า บาดาลนี้เป็นชื่อ ของทุกขเวทนา
-ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมอยู่ใต้บาดาลอันหยั่งไม่ถึง ย่อมลำบาก คร่ำครวญ ร่ำไร
-ผู้ได้สดับ ย่อมอยู่ใต้บาดาลอันหยั่งถึง อดกลั้นเวทนาไว้ได้ ย่อมไม่หวั่นไหว



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
5)
ทัฏฐัพพสูตร
(สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา)


             [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็นไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนา โดยความ เป็นทุกข์ พึงเห็น ทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความ เป็นของไม่เที่ยง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนา โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ

            [๓๖๘] ถ้าภิกษุใดเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขซึ่งมีอยู่นั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมกำหนดรู้ เวทนาทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้วเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวท เมื่อตายไปย่อมไม่เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้งมงาย

ภิกษุทั้งหลาย
-พึงเห็นสุขเวทนา โดยความ เป็นทุกข์
-พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร
-พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความ เป็นของไม่เที่ยง

-ภิกษุเห็นอยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด
เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ
-ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้ ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวท(ความรู้)



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
6)
สัลลัตถสูตร
(สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา)

            [๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวย สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาค เป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ

            [๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา เพราะ ลูกศร ๒ อย่างคือ ทางกายและทางใจ

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไรรำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อม เสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ

            อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะ ทุกขเวทนา นั้น ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เขาเป็นผู้อัน ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

            เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจาก ทุกขเวทนา นอกจาก กามสุข และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่ ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้น ย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

            เมื่อเขาไม่รู้เหตุเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง เวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ย่อมเสวย ทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขเวทนานั้น และย่อมเสวย อทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบ ด้วยทุกข์
-------------------------------------------------------------------------------------

            [๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย เธอย่อมเสวย เวทนา ทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ

            [๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนา เพราะ ลูกศร ดอกเดียวดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพันไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ

             อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะ ทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เธอผู้อัน ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข

            ข้อนั้นเพราะเหตุไร

            เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก จาก ทุกขเวทนา นอกจากกามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยเพราะ สุขเวทนา ย่อม ไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่อง สลัดออก แห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

            เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก แห่ง เวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ย่อมไม่ นอนเนื่อง ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเสวย ทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ ปราศจาก กิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจาก ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน เป็นเครื่องกระทำ ให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

            [๓๗๓] อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้แล เป็นความแปลกกัน ระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน ธรรมส่วน ที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้นผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้ง โลกนี้ และโลกหน้าอยู่ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์

            อนึ่ง เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้นไม่ยินดีและไม่ยินร้าย อริยสาวกนั้น รู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลีและหาความโศกมิได้ ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่ง แห่งภพรู้ โดยชอบ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ กับอริยสาวก
- ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
- อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
- ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน

เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว
- ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร คร่ำครวญ
- เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ
- อริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ทุบอกคร่ำครวญ
- เธอย่อมเสวย เวทนา ทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
7)
เคลัญญสูตรที่ ๑
(ย่อมเป็นผู้มีปรกติ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม)

 

            [๓๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กุฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ

            [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปรกติเห็นเวทนาในเวทนา อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มี ปรกติ เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส ในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปรกติ เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล

            [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการ ถอยกลับ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกในการแล ในการเหลียวย่อมเป็นผู้ มีปรกติ ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้าเหยียดออก ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัว ในการทรงผ้า สังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ย่อมเป็นผู้ มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้ มีปรกติทำความรู้สึกตัว ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูดนิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลานี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ

            [๓๗๗] ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว อยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า สุขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราแล ก็แต่ว่าสุขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แล ไม่เที่ยงปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วจึงเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง ความเสื่อมไปความ คลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยงความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับความสละคืน ในกายและสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาเสียได้

            [๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ ว่า ทุกขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัย ไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไรอาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง ก็ทุกขเวทนา อาศัยกาย อันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ ที่ไหน ดังนี้

            เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ ย่อมละปฏิฆานุสัย ในกาย และในทุกขเวทนาเสียได้

            [๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น อาศัย จึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เองก็กายนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัย ปรุงแต่ง อาศัยกัน เกิดขึ้น ก็อทุกขมสุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้

            เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไปความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาเสียได้

            [๓๘๐] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่า หมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอ เสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจาก กิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น

            ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลส เสวยอทุกขมสุข เวทนา นั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกาย เป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็น ในโลกนี้ทีเดียว

            [๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน ถ้าเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่า เพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว

ภิกษุย่อมเป็นผู้อยู่ปกติ
- เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่

ถ้าภิกษุมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร
-สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น (ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น)
-ย่อมรู้ว่าสุขเวทนาบังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว
-แต่สุขเวทนาอาศัยจึงเกิด ไม่อาศัยไม่เกิด
-อาศัยอะไร อาศัยกายนี้แล
-ก็กายนี้ไม่เที่ยง อาศัยปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น(สุขเวทนา)
-ก็สุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยงเกิดขึ้น
-ดังนั้นย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของสุขเวทนา

ภิกษุนั้น
-ถ้าเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข.. ก็รู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน
-ถ้าเธอเสวยเวทนาใดๆด้วยอารมณ์แบบนี้ ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลส



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
8)
เคลัญญสูตรที่ ๒
(เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม)

            [๓๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมือง เวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเรา สั่งสอนพวกเธอ

            [๓๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อม เป็นผู้มีสติอย่างนี้แล

            [๓๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ฯลฯ ในการพูด ในการนิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มี สัมปชัญญะ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะรอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ

            [๓๘๕] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า สุขเวทนา เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ สุขเวทนา นั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้เอง ก็แต่ว่า ผัสสะนี้ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สุขเวทนา ซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น เกิดขึ้นแล้ว แก่เราจักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้

            เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณา เห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน เมื่อเธอพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณาเห็นความ คลายไป พิจารณาเห็น ความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน ในผัสสะและใน สุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัย ในผัสสะและในสุขเวทนาเสียได้

            [๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ มีสัมปชัญญะ เป็นผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนานี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อทุกขมสุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้นอาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้แลบังเกิดขึ้น ก็ผัสสะนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ

            ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่า หมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลินถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา

            เธอย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลส เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวย อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น

            ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิต เป็นที่สุด รู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็น ในโลกนี้ทีเดียว

            [๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมัน และไส้ จึงติด อยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนา มีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่า เพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว

ภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร
- สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น
- ก็เวทนาทั้ง ๓ อาศัยอะไร จึงเกิดขึ้น
- อาศัยผัสสะ จึงเกิดขึ้น
- ผัสสะไม่เที่ยง เป็นปัจัยปรุงแต่ง
- เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อม คลายไป ความดับ ความสละคืน
- เธอย่อมละราคานุสัย ในผัสสะ และในสุขเวทนาเสียได้



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
9)
อนิจจสูตร
(เวทนา ๓ เหล่าไม่เที่ยง อาศัยปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา)

            [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับเป็นธรรมดาเวทนา ๓ เป็นไฉน

             เวทนา๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้แล ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๑๙ - ๒๓๐
10)
ผัสสมูลกสูตร
(เวทนา ๓ นี้เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย)

            [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะ เป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่ง สุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัย ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไปสงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนานั้น แลดับไป

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง แห่งทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าทุกขเวทนาเกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะ อันเป็นตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่ง ทุกขเวทนานั้นแลดับไป อทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อัน เป็นที่ตั้งแห่ง อทุกขมสุขเวทนาความเสวยอารมณ์อันเกิดแก่ผัสสะนั้น ชื่อว่า อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น แลดับไป

            [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะการเสียดสีกัน จึงเกิด ไออุ่นจึงเกิดไฟ เพราะแยกไม้สองอันนั้นแหละออกจากกัน ไออุ่นที่เกิด เพราะการ เสียดสีนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันใด

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะ เป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ เกิดขึ้นเพราะอาศัย ผัสสะ ที่เกิด แต่ปัจจัยนั้น ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้นดับไป

เวทนา ๓ นี้
-เกิดขึ้น และดับไป เพราะผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย
-เหมือนไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะการเสียดสีกัน จึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ
-เมื่อแยกไม้สองอันออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้น ย่อมดับไป สงบไป


---------------------------------------------------------------------

จบเวทนาสังยุตต์ ปฐมกสคาถวรรค
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมาธิสูตร ๒. สุขสูตร
๓. ปหานสูตร ๔. ปาตาลสูตร
๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. สัลลัตถสูตร
๗. เคลัญญสูตรที่ ๑ ๘. เคลัญญสูตรที่ ๒
๙. อนิจจสูตร ๑๐. ผัสสมูลกสูตร

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์