เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 การเกิดของเวทนา คือ การเกิดของทุกข์   567
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

การเกิดของเวทนา เท่ากับ การเกิดของทุกข์ 
ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น ปรากฏของเวทนา อันเกิดจากสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจใดๆ นั่น เท่ากับเป็นการเกิดขึ้น ของทุกข์ และเป็นความปรากฏ ของชราและมรณะ

อาการเกิด-ดับแห่งเวทนา 
ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างมาจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย. สามอย่างเหล่าไหนเล่า? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา 

ภิกษุ ท. !
  เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง สุขเวทนา และ ทุกขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น
  เพราะความดับแห่งผัสสะ สุขเวทนา และทุกขเวทนา ย่อมดับไป ย่อมระงับไป
  เปรียบเหมือนเมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อนและไฟ เมื่อไม้แยกกัน ความร้อนก็ดับไป สงบไป ความดับแห่ง
     เวทนา ก็ฉันนั้นแล

ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ เวทนา 
ภิกษุ ท. !
  สุข โสมนัสใดๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้แล เป็นรสอร่อยของเวทนา
  เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน ด้วยอาการนี้แล เป็นโทษของเวทนา
  การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนานี้แล เป็นเครื่องออกพ้นไปได้จากเวทนา



 
 
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 190-191

การเกิดของเวทนา เท่ากับ การเกิดของทุกข์ 


ภิกษุ ท. ! การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฏของเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจใดๆ นั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปกติเสียดแทงทั้งหลาย และเป็น ความปรากฏของชราและมรณะ แล. 


อาการเกิดดับแห่งเวทนา 

ภิกษุ ท. ! เวทนา ๓ อย่างเหล่านี้ เกิดมาจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย. สามอย่างเหล่าไหนเล่า? สามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา 

ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยผัสสะอันเป็ นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น สุขเวทนาอันเกิดขึ้นเพราะ อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไปย่อมระงับไป(ในกรณีแห่ง 
ทุกขเวทนา
และ อทุกขมสุขเวทนาก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำมีนัยยะ อย่างเดียวกัน)

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อน และเกิดไฟ 
เมื่อไม้สีไฟสองอันแยกกัน ความร้อนก็ดับไปสงบไป.
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น  เวทนาทั้งสามนี้ซึ่งเกิดจากผัสสะ มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็น ปัจจัย อาศัยผัสสะแล้วย่อมเกิดขึ้น ย่อมดับไปเพราะผัสสะดับ ดังนี้แล.


ข้อควรกำหนดเกี่ยวกับ
 เวทนา 

ภิกษุ ท. !

สุข โสมนัส ใด ๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้แล เป็น รสอร่อย (อัสสาทะ) ของเวทนา

เวทนา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใดๆ อาการนี้แล เป็น โทษ (อาทีนพ) ของเวทนา

การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนาการละเสียได้ ซึ่งความ กำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนา ด้วยอุบายใด ๆ อุบายนี้แล เป็น เครื่องออกพ้นไปได้ (นิสสรณะ) จากเวทนา

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์