เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

(2) รวมพระสูตรเรื่องทุกข์ ทุกขสัจจ์ ทุกขอริยสัจ ... สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 1682
  P1681 P1682 P1683 P1684 P1685 P1686
รวมพระสูตร
เรื่องทุกข์
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 
(2)
อายตนะ/ทุกขเวทนา/ความเพลิน
181 ทุกข์ ทุกขเวทนา ทุกขสัจจ์
(5เล่ม จากพระโอษฐ์)
483 อายตนะ คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท
(ปฏิจจจากพระโอษฐ์หน้า156)
B15_1/20 ผู้ใดเพลินอยู่ในรูป เวทนา.. ผู้นั้นเท่ากับเพลินในทุกข์
(อินทรีย์สังวร - พุทธวจนหน้า 41)
B15_1/22 ผู้ใดเพลินอยู่กับอายตนะ เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์
(อินทรีย์สังวร - พุทธวจนหน้า 41)
B203/159 ความเพลินในธาตุสี่เท่ากับความเพลินในทุกข์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 159)
590-1 เพลินในขันธ์เท่ากับเพลินในทุกข์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 251)
590-2 ต้องละฉันทราคะ ในขันธ์
(อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 252
B27_1/p5 สิ้นนันทิ สิ้นราคะ ก็สิ้นทุกข์
(มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน หน้า 19)
1054 ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
(ราธะสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓)
B27_1/p6 ความดับทุกข์มี เพราะความดับไปแห่งความเพลิน (นันทิ)
(มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน หน้า 19)
 
ตัณหา /อวิชชา/สังขาร
688 ตัณหา เป็นปัจจัยความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
(ทุติยสังโยชนสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖)
1606 กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร
(สัญเจตนิยวรรคที่ ๓ ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันต หน้าที่ ๑๕๔)
B15_1/12 ตัณหา คือเครื่องนำไปสู่ภพใหม่อันเป็นเหตุเกิดทุกข์
(อินทรีย์สังวร - พุทธวจนหน้า 41)
578 ทุกข์ เพราะเห็นผิด ซึ่งรูป โดยความเป็นตน
(ทุกขสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันต หน้าที่ ๑๗๒)
350 สัญญามนสิการอันสหรคต (จิตมีราคะ)เปรียบเหมือนความทุกข์เกิดขึ้น
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันต หน้าที่ ๓๓๕)

อายตนะ/ทุกขเวทนา/ความเพลิน/ตัณหา /อวิชชา/สังขาร


181

ทุกข์ ทุกขเวทนา ทุกขสัจจ์

(5 เล่ม จากพระโอษฐ์)

ทุกข์ : สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นอนัตตา
ทุกขเวทนา : เวทนาใดๆ เวทนานั้น ถึงการประชุมลงในความทุกข์
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข ก็เดินไปสู่ความทุกข์ และเดินไปสู่ความแตกดับ
ทุกขสัจจ์ : สรรพสิ่งใดๆที่เป็นรูปและนาม ที่เดินไปสู่การแตกดับ นั่นคือกองทุกข์ ทั้งหมด ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีการแตกดับ ทั้งหมดจึงเป็น ทุกขสัจจ์ นี่คือทุกข์ในอริยสัจ 4

 


483

อายตนะ คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท

(ปฏิจจจากพระโอษฐ์หน้า156)


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจักษุ มีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ มีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ มีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา มีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ มีอย่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน มีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะมีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อฆานะมีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อชิวหามีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อกายะมีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อโสตะไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์ อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

 


B15-1/20

ผู้ใดเพลินอยู่ในรูป เวทนา.. ผู้นั้นเท่ากับเพลินในทุกข์

(อินทรีย์สังวร - พุทธวจนหน้า 41 )

ภิกษุทั้งหลาย !
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน รูป
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน เวทนา ...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สัญญา ...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สังขารทั้งหลาย ...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน วิญญาณ
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า
“ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้


 

B15-1/22

ผู้ใดเพลินอยู่กับอายตนะ เท่ากับ เพลินอยู่ในทุกข์

(อินทรีย์สังวร - พุทธวจนหน้า 41 )

ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน จักษุ
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน โสตะ ...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน ฆานะ ...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน ชิวหา ...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน กายะ ...
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน มนะ
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์

เรากล่าวว่า
ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ใน สิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์ ดังนี้


 


B203/159

ความเพลินในธาตุสี่เท่ากับความเพลินในทุกข์

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 159)

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่ง
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ

ผู้นั้น ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์


เราย่อมกล่าวว่า
ผู้ใด ย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์
ดังนี้แล

 


590-1

เพลินในขันธ์เท่ากับเพลินในทุกข์

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 251)

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในรูป
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลิน อยู่ในเวทนา ...
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสัญญา ...
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสังขารทั้งหลาย ...
ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในวิญญาณ...
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ แล

 


590-2

ต้องละฉันทราคะ ในขันธ์

อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 252

ภิกษุ ท. ! สิ่งใดไม่เที่ยง พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ(ความกำหนัดเพราะพอใจ)ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าไม่เที่ยง ?
ภิกษุ ท. ! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง และวิญญาณไม่เที่ยง พวกเธอพึงละ ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่ไม่เที่ยงพวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นแหละ

ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นทุกข์ พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นทุกข์ ?
ภิกษุ ท. ! รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ และวิญญาณเป็นทุกข์ พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็นทุกข์ พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นแหละ

 


B27-1/p5


สิ้นนันทิ สิ้นราคะ ก็สิ้นทุกข์

(มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน หน้า 19)

ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง
ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (เห็นโดยถูกต้อง)

เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า
“จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้
(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ ชิวหากายะ มโน และ
กรณีแห่งอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุทุกประการ
)

 


1054

ราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

(ราธะสูตร ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๐๓)

ดูกรราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์
รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา
หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์
เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา
หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์
เธอพึงละความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย

 


B27-1/p6

ความดับทุกข์มี เพราะความดับไปแห่งความเพลิน (นันทิ)
(มรรควิธีที่ง่าย พุทธวจน หน้า 19)

รูป ที่เห็นด้วย ตา ก็ดี
เสียง ที่ฟังด้วย หู ก็ดี
กลิ่น ที่ดมด้วย จมูก ก็ดี
รส ที่ลิ้ม ด้วย ลิ้น ก็ดี
โผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วย กาย ก็ดี
ธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วย ใจ ก็ดี
อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจให้รัก
เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่ง ความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่

ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น
เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้น อยู่ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป

เรากล่าวว่า “ความดับไม่มีเหลือของทุกข์มีได้ เพราะความดับไม่เหลือ ของความเพลิน” ดังนี้ แล

 


688

ตัณหาเป็นปัจจัยความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

ทุติยสังโยชนสูตร (ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖)

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัย แห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

 


1606

กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร

(สัญเจตนิยวรรคที่ ๓ ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๔)


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกายมีอยู่ สุข ทุกข์ ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือ
เมื่อวาจามีอยู่ สุข ทุกข์ ในภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ วจีสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือ
เมื่อใจมีอยู่ สุข ทุกข์ ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ มโนสัญเจตนา เป็นเหตุอีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

บุคคล ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้ สุข ทุกข์ ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเอง บ้าง
หรือ บุคคลอื่น ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ...
หรือ บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...
หรือ บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ...

 


B15-1/12


ตัณหา คือเครื่องนำไปสู่ภพใหม่อันเป็นเหตุเกิดทุกข์

(อินทรีย์สังวร - พุทธวจนหน้า 41 )


(เมื่อมีการน้อมไป)
ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด
แต่เขายังมีใจ ปักลงไปในสิ่งใดอยู่
สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์ เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ

เมื่ออารมณ์มีอยู่ ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี
เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว ย่อมมีการน้อมไป

เมื่อมีการน้อมไป ย่อมมีการไปการมา
เมื่อมีการไปการมา ย่อมมีการเคลื่อน การบังเกิด
เมื่อมีการเคลื่อนการบังเกิด
ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะฯ จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้
-------------------------------------------------------------------
(เมื่อการน้อมไปไม่มี)
เมื่อความน้อมไปไม่มี การไปและการมา ย่อมไม่มี
เมื่อการไปการมาไม่มี การเคลื่อนและการบังเกิด ย่อมไม่มี
เมื่อการเคลื่อนและการบังเกิดไม่มี
อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น
ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ (เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส)

 


578


ทุกข์ เพราะยึดถือสิ่งที่ยึดถือไม่ได้

(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ ตอน1 หน้า 260)

เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งมีกำเนิดแต่ภูเขา ไหลไปทางต่ำ มีกระแสเชี่ยวจัด
บุรุษผู้หนึ่งถูกกระแสน้ำพัดมา ถ้าจะจับหญ้ากาสะ หญ้ากุสะ ก็จะพึงขาดหลุดไป (เพราะกระแสเชี่ยวจัดของแม่น้ำ)

บุรุษผู้นั้นย่อมถึงการพินาศ เพราะการทำเช่นนั้น (เพราะยึดสิ่งผิด)
อุปมานี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้น

คือบุถุชนผู้
ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดใน ธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง รูป โดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตน ว่ามีรูป
หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูป ว่ามีอยู่ในตน
หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตน ว่ามีอยู่ในรูป
รูปนั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ บ้าง
(กรณี เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณก็ตรัสทำนองเดียวกัน)

 


350

สัญญามนสิการอันสหรคต
(จิตมีราคะ) เปรียบเหมือนความทุกข์เกิดขึ้น
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๕)

พระสารีบุตรกล่าวกะอุทายี
ภิกษุ บรรลุปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการ อันสหรคต(จิตมีราคะ) ด้วย กาม ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น เป็นอาพาธของเธ
เปรียบเหมือนความทุกข์
พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล..
บรรลุทุติยฌาน..สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยวิตก ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น ..
บรรลุตติยฌาน ..สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น...
บรรลุจตุตถฌาน ..สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น...
บรรลุอากาสานัญจายตน ..สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยรูป ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น..
บรรลุวิญญาณัญจายตน ..สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสานัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน
บรรลุอากิญจัญญายตน ..สัญญามนสิการอันสหรคต ด้วยวิญญาณัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน
บรรลุเนวสัญญาฯ ..สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย อากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน
บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง
อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะ เห็นด้วยปัญญา

ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้

 
 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์