เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 รวมพระสูตร เรื่องพระราธะ #3 1054
 
รวมพระสูตร เรื่องพระราธะ
 
 


(หน้า3) พระราธะ เอตทัคคบาลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง

24 ๑. มารสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในขันธมาร  รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้น

25 ๒. มารสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม สิ่งใดแล เป็นมารธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

26 ๓.อนิจจสูตร สิ่งใดแลเป็น อนิจจัง เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย สามารถ ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

27 ๔.อนิจจธัมมสูตร สิ่งใดแลเป็น อนิจจธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วย สามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

28 ๕.ทุกขสูตร สิ่งใดแล เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย สามารถ ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

29 ๖.ทุกขธัมมสูตร สิ่งใดแลเป็น ทุกขธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย สามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

30 ๗.อนัตตาสูตร สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย สามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

31 ๘. อนัตตธัมมสูตรสิ่งใดแลเป็น อนัตตธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

32 ๙. ขยธัมมสูตรสิ่งใดแล เป็นขยธรรม (เสื่อมไปสิ้นไป) เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย สามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

33 ๑๐. วยธัมมสูตรสิ่งใดแล เป็นวยธรรม (เสื่อมไปสิ้นไป) เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย สามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

34 ๑๑. สมุทยธัมมสูตรสิ่งใดแล เป็นสมุทยธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความ กำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย (เหตุเกิด)

35 ๑๒. นิโรธธัมมสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่รู้จักดับ : สิ่งใดแล เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.. รูปเป็นนิโรธธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น นิโรธธรรม

36 ๑. มารสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นมาร : รูปเป็นมาร  เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ ในรูปนั้นเสีย

37 ๒. มารธัมมสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความ พอใจ ละความกำหนัดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

38 ๓. อนิจจสูตร สิ่งใดแล เป็นอนิจัง เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วย อำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

39 ๔. อนิจจธัมมสูตร สิ่งใดแลเป็น อนิจจธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

40 ๕. ทุกขสูตร สิ่งใดแล เป็นทุกข์ เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัด ด้วย อำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

41 ๖. ทุกขธัมมสูตร สิ่งใดแล เป็นทุกขธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

42 ๗. อนัตตาสูตร สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

43 ๘. อนัตตธัมมสูตร สิ่งใดแล เป็นอนัตตธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความ กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

44 ๙. ขยธัมมสูตร สิ่งใดแล เป็นขยธรรม (เสื่อมไปสิ้นไป) เธอพึง ละความพอใจ ละความ กำหนัด ละความ กำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

45 ๑๐. วยธัมมสูต สิ่งใดแล เป็นวยธรร (เสื่อมไปสิ้นไป)ม เธอพึงละความพอใจ ละความ กำหนัด ละความ กำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

46 ๑๑. สมุทยธัมมสูตร ว่าด้วยการละความพอใจสิ่งที่รู้จักเกิดขึ้น สิ่งใดแล เป็นสมุทยธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

47 ๑๒. นิโรธธัมมสูตร ว่าด้วยการละความใจในสิ่งที่รู้จักดับ สิ่งใดแล เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละ ความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความ พอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถ ความพอใจในรูปนั้นเสีย

48 ราธสูตรที่ ๑ ดูกรราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ อะไรเล่า ไม่เที่ยง จักษุแลไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยงจักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขม สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนา นั้นเสีย ฯลฯ ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนา นั้นเสีย

49 ราธสูตรที่ ๒สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็น ทุกข์ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด ขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย

50 ราธสูตรที่ ๓ : สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจใน สภาพนั้นเสีย อะไรเล่าไม่ใช่ ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน รูป จักษุสัมผัส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละ ความพอใจในสภาพนั้นเสีย 

51 ๕. ราธชาดก ว่าด้วยพูดเพ้อเจ้อเพราะความเขลา : ดูกรราธะ ท่านไม่รู้จักคนทั้งหลาย ที่ยัง ไม่มาในเวลาปฐมยาม ท่านพูด เพ้อเจ้อไปตามความโง่เขลา นางพราหมณีผู้โกสิยโคตรเป็นหญิง ไม่ดี หมดความรักใคร่ในบิดาของท่าน.

52 ๖. กากชาดก ว่าด้วยกาวิดน้ำด้วยปาก: เออก็คางของเราเมื่อยล้าแล้ว และปากของเรา ก็ ซูบซีด เราพากันเลิกเถอะ อย่าวิดเลย เพราะมหาสมุทรก็ยังเต็มอยู่ตามเดิม.

53 ๗. บุปผรัตตชาดก เป็นทุกข์เพราะภรรยาไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ ความทุกข์เพราะถูกเสียบ หลาว ถูกกาจิกเราก็ดี ก็ไม่เป็นความทุกข์ของเรา ความทุกข์ที่ว่าภรรยาของเราจะไม่ได้นุ่งห่ม ผ้าย้อม ดอกคำ เที่ยวเล่นมหรสพในเดือน ๑๒ นี้ เป็นทุกข์ของเรา.

54 ๘. สิคาลชาดก ว่าด้วยสุนัขเข้าอยู่ในท้องช้าง เราจะไม่เข้าไปสู่ท้องช้างบ่อยๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะในเวลาที่เข้าไปอยู่ใน ท้องช้าง เราถูกภัยคุกคามแล้ว.

55 ๙. เอกปัณณชาดก ว่าด้วยต้นไม้ใบเดียว ต้นไม้นี้มีเพียงใบเดียว จากพื้นสูงไม่เกิน ๔ นิ้ว ยังมีรส เช่นกับยาพิษ ต้นไม้นี้ เติบโตขึ้นจักขมสักเพียงไหน?

56 ๑๐. สัญชีวชาดก ว่าด้วยโทษที่ยกย่องอสัตบุรุษ ผู้ใดยกย่องอสัตบุรุษ และคบหาอสัตบุรุษ อสัตบุรุษ ย่อมทำผู้นั้นแหละให้เป็นอาหาร เหมือนเสือโคร่งที่ตายแล้ว สัญชีวมาณ พร่ายมนต์ ให้กลับฟื้นขึ้นมา ทำสัญชีวมาณพ ให้เป็นเหยื่อ ฉะนั้น.

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้าที่ ๒๐๓


24 ๑. มารสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในขันธมาร

     [๓๘๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทาน พระวโรกาสทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็น ผู้ๆเดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

ดูกรราธะก็อะไรเล่าเป็นมาร?

ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถ ความพอใจ ในรูปนั้นเสีย. เวทนาเป็นมาร ... สัญญาเป็นมาร ... สังขารเป็นมาร ...วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถ ความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย. ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

25 ๒. มารสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม
     [๓๙๐] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นมารธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

26 ๓.อนิจจสูตร
[๓๙๑] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นอนิจจัง เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

27 .อนิจจธัมมสูตร
[๓๙๒] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นอนิจจธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

28 ๕.ทุกขสูตร

[๓๙๓] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

29 ๖.ทุกขธัมมสูตร

[๓๙๔] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็น ทุกขธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

30 . อนัตตาสูตร

[๓๙๕] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

31 ๘. อนัตตธัมมสูตร

[๓๙๖] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็น อนัตตธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

32 ๙. ขยธัมมสูตร

[๓๙๗] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นขยธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

33 ๑๐. วยธัมมสูตร

[๓๙๘] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นวยธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

34 ๑๑. สมุทยธัมมสูตร

[๓๙๙] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นสมุทยธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

35 ๑๒. นิโรธธัมมสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่รู้จักดับ
[๔๐๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดประทาน พระวโรกาสทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

ดูกรราธะ อะไรเป็นนิโรธธรรม? ดูกรราธะ รูปเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย. เวทนาเป็น นิโรธธรรม ฯลฯ สัญญาเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ สังขารเป็นนิโรธธรรม ฯลฯ วิญญาณเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย สามารถ ความพอใจ ในวิญญาณ นั้นเสีย.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้าที่ ๒๐๗

36 ๑. มารสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นมาร
[๔๐๑] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่าดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยอำนาจความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย

ดูกรราธะ สิ่งใดเล่าเป็นมาร?

ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจในรูปนั้นเสีย ฯลฯ วิญญาณเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย.

ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วย อำนาจ ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

[๔๐๒] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่าดูกรราธะ สิ่งใด แลเป็นมาร เธอพึงละความกำหนัดในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

[๔๐๓] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมาร เธอพึงละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

37 ๒. มารธัมมสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในมารธรรม
[๔๐๔] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ
[๔๐๕] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความกำหนัดในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ
[๔๐๖] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นมารธรรม เธอพึงละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

38 ๓. อนิจจสูตร

[๔๐๗] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นอนิจัง เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

39 ๔. อนิจจธัมมสูตร

[๔๐๘] ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็น อนิจจธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

40 ๕. ทุกขสูตร

[๔๐๙] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นทุกข์ เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

41 ๖. ทุกขธัมมสูตร

[๔๑๐] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นทุกขธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

42 ๗. อนัตตาสูตร

[๔๑๑] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

43 ๘. อนัตตธัมมสูตร

[๔๑๒] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นอนัตตธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

44 ๙. ขยธัมมสูตร

[๔๑๓] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นขยธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

45 ๑๐. วยธัมมสูตร

[๔๑๔] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นวยธรรม เธอพึง ละความพอใจ ละความกำหนัด ละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในสิ่งนั้นเสีย

46 ๑๑. สมุทยธัมมสูตร
ว่าด้วยการละความพอใจสิ่งที่รู้จักเกิดขึ้น
[๔๑๕] ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นสมุทยธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

47 ๑๒. นิโรธธัมมสูตรว่าด้วยการละความใจในสิ่งที่รู้จักดับ

[๔๑๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ สิ่งใดแล เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย

ดูกรราธะ ก็สิ่งใดเล่าเป็นนิโรธธรรม? ดูกรราธะ รูปแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความ พอใจ ความกำหนัด ความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในรูปนั้นเสีย. เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในวิญญาณนั้นเสีย.

ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นนิโรธธรรม เธอพึงละความพอใจ ความกำหนัด ความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๔๗

48 ราธสูตรที่ ๑

[๙๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ อะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุแลไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย

รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย ฯลฯ
ใจไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ ในสิ่งนั้นๆ เสีย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแลไม่เที่ยง เธอพึงละ ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ

49 ราธสูตรที่ ๒
[๙๓] ดูกรราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย  อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด  ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ

ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความ พอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูกรราธะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯ

50
ราธสูตรที่ ๓
[๙๔] ดูกรราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจใน  สภาพนั้นเสีย อะไรเล่าไม่ใช่ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุสัมผัส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์  มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละ ความพอใจในสภาพนั้นเสีย ดูกรราธะสภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละความพอใจ ในสภาพนั้นเสีย ฯ


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้าที่ ๔๘

51 ๕. ราธชาดก ว่าด้วยพูดเพ้อเจ้อเพราะความเขลา
[๑๔๕] ดูกรราธะ ท่านไม่รู้จักคนทั้งหลายที่ยังไม่มาในเวลาปฐมยาม ท่านพูด เพ้อเจ้อไปตามความโง่เขลา นางพราหมณีผู้โกสิยโคตรเป็นหญิงไม่ดี
หมดความรักใคร่ในบิดาของท่าน.

52 ๖. กากชาดก ว่าด้วยกาวิดน้ำด้วยปาก
[๑๔๖] เออก็คางของเราเมื่อยล้าแล้ว และปากของเราก็ซูบซีด เราพากันเลิกเถอะ อย่าวิดเลย เพราะมหาสมุทรก็ยังเต็มอยู่ตามเดิม.

53 ๗. บุปผรัตตชาดก เป็นทุกข์เพราะภรรยาไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ
[๑๔๗] ความทุกข์เพราะถูกเสียบหลาวนี้ก็ดี ความทุกข์ที่ถูกกาจิกเราก็ดี ก็ไม่ เป็นความทุกข์ของเรา ความทุกข์ที่ว่าภรรยาของเราจะไม่ได้นุ่งห่มผ้าย้อม ดอกคำ เที่ยวเล่นมหรสพในเดือน ๑๒ นี้ เป็นทุกข์ของเรา.

54 ๘. สิคาลชาดก ว่าด้วยสุนัขเข้าอยู่ในท้องช้าง
[๑๔๘] เราจะไม่เข้าไปสู่ท้องช้างบ่อยๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะในเวลาที่เข้าไปอยู่ใน ท้องช้าง เราถูกภัยคุกคามแล้ว.

55 ๙. เอกปัณณชาดก ว่าด้วยต้นไม้ใบเดียว
[๑๔๙] ต้นไม้นี้มีเพียงใบเดียว จากพื้นสูงไม่เกิน ๔ นิ้ว ยังมีรสเช่นกับยาพิษ ต้นไม้นี้ เติบโตขึ้นจักขมสักเพียงไหน?

56 ๑๐. สัญชีวชาดก ว่าด้วยโทษที่ยกย่องอสัตบุรุษ
[๑๕๐] ผู้ใดยกย่องอสัตบุรุษ และคบหาอสัตบุรุษ อสัตบุรุษย่อมทำผู้นั้นแหละให้เป็น อาหาร เหมือนเสือโคร่งที่ตายแล้ว สัญชีวมาณพร่ายมนต์ให้กลับฟื้นขึ้นมา ทำสัญชีวมาณพ ให้เป็นเหยื่อ ฉะนั้น.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์