เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  รวมพระสูตร เรื่องพระราธะ #2 1053
 
รวมพระสูตร เรื่องพระราธะ
 
 
(หน้า2) พระราธะ เอตทัคคบาลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง

8. โสตาปันนสูตร ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน : รู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรม เครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ มีความไม่ตกต่ำ มีอันตรัสรู้อยู่เบื้องหน้า

9. อรหันตสูตร ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์: รู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัด ออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น

10. ฉันทราคสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕ เธอจงสละ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิน ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา..ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่มี ไม่ให้เกิด

11. ฉันทราคสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕ จงละความพอใจ กำหนัด ความ เพลิน เข้าถึงความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นอันว่า ขันธ์๕ เธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว

12. มารสูตร  ว่าด้วยขันธมาร : มารเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมาร ผู้สดับ แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย รูป เวทนา สัญญา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมหลุดพ้น รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว

13. มารธัมมสูตร ว่าด้วยธรรมของมาร : มารธรรมเป็นไฉน รูปเป็นมารธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นมารธรรม

14. อนิจจสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจัง : อะไรหนอเป็นอนิจจัง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนิจจัง ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี

15. อนิจจธัมมสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจธรรม อะไรหนอเป็นอนิจจธรรม? รูป เวทนา สัญญา สังขารเป็น อนิจธรรม

16. ทุกขสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็รทุกข : อะไรหนอเป็นทุกข์? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นทุกข์ ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

17. ทุกขธัมมสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกขธรรม : อะไรหนอเป็นทุกขธรรม? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นทุกขธรรม ผู้ได้สดับเห็นอยู่ อย่างนี้... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

18 อนัตตาสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา : อะไรหนอเป็นอนัตตา? รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา

19. อนัตตธัมมสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตธรรม: อะไรหนอเป็นอนัตตธรรม? รูปเป็นอนัตตธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตธรรม

20. ขยธัมมสูตร ว่าด้วยสภาพที่รู้จักสิ้นสูญ : อะไรหนอเป็นขยธรรม? รูปเป็นขยธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นขยธรรม

21.วยธัมมสูตร ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเสื่อมสลาย: อะไรหนอ เป็นวยธรรม? รูปเป็นวยธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นวยธรรม

22. สมุทยธัมมสูตร ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเกิดขึ้น: อะไรหนอ เป็นสมุทยธรรม? รูปเป็นสมุทยธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสมุทยธรรม.

23. นิโรธธัมมสูตร ว่าด้วยสภาพที่รู้จักดับ: อะไรหนอ เป็นนิโรธธรรม? รูปเป็นนิโรธธรรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็น นิโรธธรรม

   เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
   การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
   การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
   แสวงหาสัจจะ บำเพ็ญทุกรกิริยา
   ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
   ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
   ปลงสังขาร ปรินิพพาน
   ลำดับขั้นการปรินิพพาน
   เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
   แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้าที่ ๑๙๒


8. โสตาปันนสูตร
ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
[๓๗๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.

ดูกรราธะ ในกาลใดแล อริยสาวก ย่อมรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรม เครื่อง สลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง. เมื่อนั้น อริยสาวก นี้เรากล่าวว่า เป็นโสดาบันผู้มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.



9. อรหันตสูตร ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
[๓๗๔] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ... อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ.

ดูกรราธะ ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และธรรมเครื่องสลัด ออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น.

ดูกรราธะ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นอรหันตขีณาสพ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว ผู้หมดสิ้นกิเลสเครื่อง ประกอบสัตว์ ไว้ในภพแล้วผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.



10. ฉันทราคสูตรที่ ๑ ว่าด้วยการละฉันทราคะ ในขันธ์ ๕
[๓๗๕] พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เธอจงสละ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้นจักเป็นของอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้นจักเป็น ธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีก ต่อไป เป็นธรรมดา.



11. ฉันทราคสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการละฉันทราคะในขันธ์ ๕
[๓๗๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราธะว่า ดูกรราธะ เธอจงละ ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่น อันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิตในรูปเสีย ด้วยอาการอย่างนี้ รูปนั้น จักเป็นของอันเธอละ ได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

เธอจงละความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก ความเข้าถึง ความยึดมั่นอันเป็นที่ตั้ง ที่อยู่ ที่อาศัยแห่งจิตในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณเสียด้วยอาการอย่างนี้ วิญญาณนั้น จักเป็นธรรมชาติอันเธอละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็น ธรรมดา



ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

12. มารสูตร ว่าด้วยขันธมาร
[๓๗๗] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมาร สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น. ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์ อยู่จบ แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

13. มารธัมมสูตร ว่าด้วยธรรมของมาร
[๓๗๘] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มารธรรม มารธรรม ดังนี้ มารธรรมเป็นไฉนหนอ? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมารธรรม เวทนาเป็นมารธรรม สัญญาเป็นมารธรรม สังขารเป็นมารธรรม วิญญาณเป็นมารธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

14. อนิจจสูตรว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจัง
[๓๗๙] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนิจจัง อนิจจัง ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนิจจัง? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนิจจัง เวทนาเป็นอนิจจัง สัญญาเป็นอนิจจัง สังขารเป็นอนิจจัง วิญญาณ เป็นอนิจจัง. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มี.

15. อนิจจธัมมสูตรว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจธรรม
[๓๘๐] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนิจจธรรม อนิจจธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนิจจธรรม? พระผู้มี พระภาค ตรัสตอบว่า รูปเป็นอนิจจธรรม เวทนาเป็นอนิจจธรรม สัญญาเป็นอนิจจธรรม สังขารเป็น อนิจจธรรม ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็น อย่างนี้ มิได้มี.

16. ทุกขสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกข์
[๓๘๑] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ อะไรหนอเป็นทุกข์? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารเป็นทุกข์ วิญญาณเป็นทุกข์. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

17. ทุกขธัมมสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นทุกขธรรม
[๓๘๒] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกขธรรม ทุกขธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นทุกขธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัส ตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นทุกขธรรม เวทนาเป็นทุกขธรรม สัญญาเป็น ทุกขธรรม สังขารเป็นทุกขธรรม วิญญาณเป็น ทุกขธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่ อย่างนี้ ฯลฯกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

18 อนัตตาสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา
[๓๘๓] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตา อนัตตา ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตา? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี.

19. อนัตตธัมมสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตธรรม
[๓๘๔] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตธรรม อนัตตธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตธรรม? พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตธรรม เวทนาเป็นอนัตตธรรม สัญญาเป็น อนัตต - ธรรม สังขารเป็นอนัตตธรรม วิญญาณเป็นอนัตตธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้ สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

20. ขยธัมมสูตร ว่าด้วยสภาพที่รู้จักสิ้นสูญ
[๓๘๕] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ขยธรรม ขยธรรม ดังนี้ อะไรหนอเป็นขยธรรม? พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นขยธรรม เวทนาเป็นขยธรรม สัญญาเป็น ขยธรรม สังขารเป็น ขยธรรม วิญญาณเป็นขยธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

21.วยธัมมสูตร ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเสื่อมสลาย
[๓๘๖] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วยธรรม วยธรรม ดังนี้ อะไรหนอ เป็นวยธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นวยธรรม เวทนาเป็นวยธรรม สัญญาเป็นวยธรรมสังขารเป็นวยธรรม วิญญาณเป็นวยธรรม.

ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

22. มุทยธัมมสูตร ว่าด้วยสภาพที่รู้จักเกิดขึ้น
[๓๘๗] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สมุทยธรรม สมุทยธรรม ดังนี้ อะไรหนอ เป็นสมุทยธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นสมุทยธรรม เวทนาเป็นสมุทยธรรม สัญญาเป็นสมุทยธรรม สังขารเป็นสมุทยธรรม วิญญาณเป็น สมุทยธรรม. ดูกรราธะอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป ฯลฯ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

23. นิโรธธัมมสูตรว่าด้วยสภาพที่รู้จักดับ
[๓๘๘] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า นิโรธธรรม นิโรธธรรม ดังนี้ อะไรหนอ เป็นนิโรธธรรม? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นนิโรธธรรม เวทนาเป็น นิโรธธรรมสัญญาเป็นนิโรธธรรม สังขารเป็นนิโรธธรรม วิญญาณเป็น นิโรธธรรม. ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็น อย่างนี้มิได้.

 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์