เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

สัญเจตนิยวรรคที่ ๓ .. มีหลายพระสูตร ตรัสกับหลากหลายบุคคล 1606
  (ย่อ)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๔

สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

1 กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร (ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)
2 สัญญเจตนาของตนเอง และของผู้อื่น (ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)
3 อาคามี คือผู้กลับมา- อนาคามี คือผู้ไม่กลับมา (ตรัสกับพระสารีบุตร)

4 ปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิตะ เรื่องการดับสนิทของผัสสายตนะทั้ง ๖
4.1 (พระสารีบุตรสนทนากับ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ)
4.2 (ท่านพระมหาโกฏฐิตะ เข้าไปหาพระสารีบุตร)
4.3 (พระอานนท์ เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะ)
4.4 (ท่านพระอุปวาน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร)

5 ธาตุ ๔ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ นั่นไม่เป็นเรา (ตรัสกับราหูล)
6 บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก (ตรัสภิกษูทั้งหลาย)
7 สัตว์บางพวกปรินิพพาน บางพวกไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน (พระสารีบุตร สนทนากับพระอานนท์)
8 มหาปเทศ ๔ (ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)

 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๔

สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

1

กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร

           [๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ในภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ วจีสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ มโนสัญเจตนา เป็นเหตุ
อีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

บุคคล ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเอง บ้าง

หรือ บุคคลอื่น ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร ของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้ สุข ทุกข์ ภายใน เกิดขึ้นแก่ บุคคลนั้น

หรือบุคคล รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้ สุข ทุกข์ ภายในเกิดขึ้นบ้าง

หรือบุคคล ไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้ สุข ทุกข์ ภายใน เกิดขึ้นบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเอง บ้าง

หรือบุคคลอื่น ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นแก่ บุคคลนั้นบ้าง

หรือบุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

หรือบุคคล ไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเอง บ้าง

หรือบุคคลอื่น ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร ของบุคคลนั้น
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นแก่ บุคคล นั้นบ้าง

หรือบุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่งมโนสังขาร
อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

2

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๔

สัญญเจตนาของตนเอง และของผู้อื่น
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาติดตามไปแล้วในธรรมเหล่านี้ แต่เพราะอวิชชา นั่นแล ดับโดยสำรอกไม่เหลือ กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นแก่ บุคคลนั้น ย่อมไม่มี วาจา ... ใจ ... เขต ... วัตถุ... อายตนะ ... อธิกรณะอันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นย่อมไม่มี

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉนคือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนา ของตนเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่น เป็นไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนา ของผู้อื่นเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของตน เป็นไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนา ของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วย เป็นไปก็มี
ความได้อัตภาพที่สัญเจตนา ของตนก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่นก็มิใช่ เป็นไปก็มี

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล

           เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ ข้าพระองค์ทราบชัด เนื้อความโดยพิสดาร อย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น

ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้ คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ

ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้ คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะ สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ

ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตน ด้วยสัญเจตนาของ ผู้อื่นด้วยเป็นไปนี้ คือ การจุติจากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนา ของตน และสัญเจตนา ผู้อื่น เป็นเหตุ

ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่น เป็นไป ก็มิใช่ นี้ จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลาย ด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน พระเจ้าข้า พ. ดูกรสารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลาย ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอัตภาพนั้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

3

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๕
อาคามี คือผู้กลับมา- อนาคามี คือผู้ไม่กลับมา
(ตรัสกับพระสารีบุตร)

           สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
           
 อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์ บางจำพวกในโลกนี้ จุติจาก กายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมา สู่ความเป็นอย่างนี้ (มาสู่สังสารวัฏ)

           อนึ่ง อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมา สู่ความเป็นอย่างนี้ (พ้นจากสังสารวัฏ) พระเจ้าข้า

           พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ แต่เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจ ยินดีและถึง ความปลื้มใจ ด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานา สัญญายตนะ นั้น น้อมใจไป อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อ ทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานา สัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

           ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจ ยินดี และถึงความ ปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น น้อมใจไป อยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

           ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็น อาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

           อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บางจำพวก ในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็น อนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

4

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๕
ปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิตะ เรื่องการดับสนิทของผัสสายตนะทั้ง ๖
(พระสารีบุตรสนทนากับ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ)

           [๑๗๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

           ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราอุปสมบทแล้วได้กึ่งเดือน ก็ได้กระทำให้แจ้ง อรรถปฏิสัมภิทา(แตกฉาน) โดยเป็นส่วน โดยจำแนก เราย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้งเปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายซึ่ง อรรถปฏิสัมภิทา นั้น โดยอเนกปริยาย

            ก็ผู้ใดแลพึงมีความสงสัยหรือ ความเคลือบแคลง ผู้นั้นพึงถามเรา เราพึง พยากรณ์ พระศาสดาของเราทั้งหลาย ทรงฉลาดด้วยดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่ เฉพาะหน้าของเราทั้งหลาย เราอุปสมบท แล้วได้กึ่งเดือน กระทำให้แจ้ง ธรรมปฏิสัมภิทา... นิรุตติปฏิสัมภิทา ... ปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยเป็นส่วน โดยจำแนก เราย่อมบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายซึ่งปฏิภาณ ปฏิสัมภิทานั้น โดยอเนกปริยาย ก็ผู้ใดแล พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงผู้นั้น พึงถามเรา เราพึงพยากรณ์ พระศาสดาของเรา ทั้งหลาย ทรงฉลาดด้วยดีในธรรม ทั้งหลาย ประทับอยู่เฉพาะหน้า ของเราทั้งหลาย

4.2
(ท่านพระมหาโกฏฐิตะ เข้าไปหาพระสารีบุตร)

           [๑๗๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

      ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆอื่นมีอยู่หรือ ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า
      ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนี้

      ม. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆอื่นไม่มี อยู่หรือ  
      สา. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

      ม. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆอื่นมีอยู่ ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ  
      สา. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

      ม. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆอื่นมีอยู่ ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ  
      สา. ดูกรอาวุโส อย่ากล่าวอย่างนั้น

      ม. ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆอื่น มีอยู่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น
      ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลืออะไรๆ อื่นไม่มีอยู่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่ากล่าวอย่างนั้น
      ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิท โดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆอื่นมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น
      ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆอื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าว อย่างนั้น

          ดูกรอาวุโส ก็เนื้อความแห่งคำถามที่ท่านกล่าวแล้วนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร

      สา. ดูกรอาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอก ไม่เหลือ อะไรๆ อื่น มีอยู่หรือ ... ไม่มีอยู่หรือ ... มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ... มีอยู่ ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ ก็มิใช่หรือ ดังนี้ชื่อว่าทำความไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า ผัสสายตนะ ๖ ยังดำเนินไปเพียงใด ปปัญจธรรม(ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า) ก็ยังดำเนินไปเพียงนั้น ปปัญจธรรมยังดำเนินไป เพียงใด ผัสสายตนะ ๖ ก็ยังดำเนินไปเพียงนั้น

         ดูกรอาวุโสเพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ ปปัญจธรรม ก็ดับสนิท สงบระงับ

4.3
(พระอานนท์ เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะ)

           [๑๗๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะ ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งค รั้นแล้วได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า

      ดูกรอาวุโส เพราะ ผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ หรือ ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า
      ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

      อา. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลืออะไรๆ อื่นไม่มี อยู่หรือ 
      ม. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

      อา. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลืออะไรๆ อื่น มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ
      ม. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

      อา. ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลืออะไรๆ อื่นมีอยู่ ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ
       ม. ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

      อา. ผมถามว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลืออะไรๆ อื่นมีอยู่ หรือ ท่านกล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น
      ผมถามว่า ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นไม่มีหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น
      ผมถามว่า ดูกรอาวุโสเพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น
      ผมถามว่า ดูกรอาวุโสเพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

      ดูกรอาวุโส ก็เนื้อความแห่งคำ ตามที่ท่านกล่าวแล้วนี้ จะพึงเห็นได้ อย่างไร

      ม. อาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ อะไรๆ อื่นมีอยู่หรือ ... ไม่มีอยู่หรือ ... มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ... มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ ก็มิใช่ หรือ ดังนี้ ชื่อว่าทำความไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้าผัสสายตนะ ๖ ยังดำเนินไป เพียงใด ปปัญจธรรมก็ดำเนินไปเพียงนั้น ปปัญจธรรมยังดำเนินไปเพียงใด ผัสสายตนะ ๖ ก็ดำเนินไปเพียงนั้น

      ดูกรอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ ปปัญจธรรม ก็ดับสนิท สงบระงับ

4.4
(ท่านพระอุปวาน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร)

           [๑๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
      ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุด แห่งทุกข์ ด้วยวิชชาหรือหนอ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
      ดูกรอาวุโสไม่ใช่อย่างนั้น

      อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยจรณะ หรือ
      สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น

      อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยวิชชาและจรณะ หรือ
      สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น

      อุ. ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์อื่น นอกจากวิชชาและจรณะ หรือ
      สา. ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น

      อุ. ผมถามว่า ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยวิชชา หรือ ท่านกล่าวว่า ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น
      ผมถามว่า ดูกรอาวุโส บุคคลกระทำที่สุด แห่งทุกข์ด้วยจรณะหรือ ...ด้วยวิชชา และจรณะหรือ.. อื่นจากวิชชาและจรณะหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น

           ดูกรอาวุโส ก็บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้อย่างไรเล่า

      สา. ดูกรอาวุโส
ถ้าบุคคล
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ด้วยวิชชา แล้วไซร้
ก็จักเป็นผู้มี อุปาทาน เทียว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ถ้าบุคคล
จักกระทำที่สุดได้ ด้วยจรณะ แล้วไซร้
ก็จักเป็นผู้มี อุปาทาน เทียว กระทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้

ถ้าบุคคล
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ด้วยวิชชาและจรณะ ไซร้
ก็จักเป็นผู้มี อุปาทาน เทียว กระทำที่สุด แห่งทุกข์ ได้

ถ้าบุคคล
จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ นอกจากวิชชา และจรณะ ไซร้
ปุถุชนก็จัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะปุถุชนเว้นจากวิชชา และจรณะ

           ดูกรอาวุโส บุคคลผู้มีจรณะ(ประพฤติ) วิบัติ ย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง บุคคลผู้มีจรณะสมบูรณ์ จึงรู้จึงเห็นตามความเป็นจริง ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

           [๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนา อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งภิกษุ ทั้งหลาย ผู้สาวกของเรา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี ผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนา อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระเขมาภิกษุณี และพระอุบลวรรณา ภิกษุณีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณีนี้ เป็นตราชู เป็นประมาณแห่ง ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้สาวิกาของเรา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสก ผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนา อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่น จิตตคฤหบดีและหัตถก อุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งอุบาสก ทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเรา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนา โดยชอบ พึงปรารถนา อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นนางขุชชุตราอุบาสิกา และ นางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดานี้ เป็นตราชู เป็นประมาณของอุบาสิกา ทั้งหลาย ผู้สาวิกาของเรา
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

5
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๙

ธาตุ ๔ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ นั่นไม่เป็นเรา
(ตรัสกับราหูล)

           [๑๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า

            ดูกรราหุล ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี ปฐวีธาตุนั้น ก็เป็น แต่สักว่า ปฐวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วย ปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ

           ดูกรราหุล อาโปธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อาโปธาตุนั้น ก็เป็นแต่สักว่า อาโปธาตุเท่านั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของตน เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ

            ดูกรราหุล เตโชธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี เตโชธาตุนั้น ก็เป็น แต่สักว่า เตโชธาตุเท่านั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรานั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายใน เตโชธาตุ ย่อมคลายกำหนัด ในเตโชธาตุ

           ดูกรราหุล วาโยธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี วาโยธาตุนั้น ก็เป็น แต่สักว่า วาโยธาตุเท่านั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วย ปัญญา อันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมคลาย กำหนัดใน วาโยธาตุ

           ดูกรราหุล เพราะเหตุที่ภิกษุพิจารณาเห็นว่ามิใช่ตัวตน ไม่เนื่องในตน ในธาตุ ๔ นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสังโยชน์ เสียได้ กระทำที่สุด แห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

6

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๐

บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
(ตรัสภิกษูทั้งหลาย)

           [๑๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก เป็นไฉน

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอันสงบ อย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นมนสิการสักกายนิโรธ (ความดับสักกายะ คือวัฏฏะอันเป็นไป ในภูมิ ๓) เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไปไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษ มีมือเปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของเขานั้นพึงจับติดกิ่งไม้อยู่ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุ เจโตวิมุติ อันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอย่อม มนสิการ สักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้ สักกาย นิโรธ

            อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอันสงบ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้น ย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่ จิตย่อม แล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแล พึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษมีมือหมดจดจับกิ่งไม้มือของเขานั้น ไม่พึงจับติดอยู่ ที่กิ่งไม้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุติ อันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล เธอย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแล พึงหวังได้ สักกายนิโรธ

            อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอันสงบ อย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นย่อมมนสิการการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการ การทำลาย อวิชชาอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็น เช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้การทำลายอวิชชา บ่อน้ำใหญ่นับได้หลายปี คนพึง ปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นเสีย และเปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็ไม่ตก เพิ่มเติมตาม ฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้บ่อน้ำใหญ่นั้น ก็ไม่พึงหวังที่จะมีน้ำล้นขอบ ออกไปได้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุติ อันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เธอย่อม มนสิการ การทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการ การทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแล ไม่พึงหวังได้การทำลายอวิชชา

            อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุติอันสงบ อย่างใด อย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นมนสิการ การทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการ ทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไป ในการทำลาย อวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นพึงหวังได้การทำลายอวิชชา บ่อน้ำใหญ่ นับได้หลายปี คนพึงเปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นไว้ และปิดทางไหลออกเสีย ทั้งฝนก็ตกเพิ่มเติม ตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ บ่อน้ำใหญ่นั้น ก็พึงหวังที่จะมีน้ำล้นขอบออกไปได้ แม้ฉันใด

           ภิกษุบรรลุเจโตวิมุติ อันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้นย่อม มนสิการ การทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการการทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในการทำลาย อวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแล พึงหวังได้การทำลายอวิชชา

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏ อยู่ในโลก
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

7
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๑๖๑
สัตว์บางพวกปรินิพพาน บางพวกไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน
(พระสารีบุตร สนทนากับพระอานนท์)

           [๑๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

           ดูกรอาวุโสสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน

           ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโสอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้หานิภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายเสื่อม)
นี้ฐิติภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายดำรงอยู่)
นี้วิเสสภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายวิเศษ)
นี้นิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายชำแรกกิเลส)


           ดูกรอาวุโสอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน

           อา. ดูกรอาวุโสสารีบุตร ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์ บางพวก ในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน

           สา. ดูกรอาวุโสอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้
ย่อมทราบชัดตามความ เป็นจริงว่า
นี้หานิภาคิยสัญญา
นี้ฐิติภาคิยสัญญา
นี้วิเสสภาคิยสัญญา
นี้นิพเพธภาคิยสัญญา


            ดูกรอาวุโสอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

8
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๒
มหาปเทศ ๔
(ตรัสกับภิกษุทั้งหลาย)

           [๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ใกล้โภคนคร ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ นี้ เธอทั้งหลายจงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาประเทศ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

        (1) ดูกรอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัยบท และพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลง สันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าแน่แท้ ภิกษุนี้รับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว
           อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ สดับมาได้รับมา เฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึง คัดค้านคำกล่าว ของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้ว เทียบเคียงใน พระสูตร สอบสวนในพระวินัยถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนใน พระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตร สอบสวนกันได้ ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้าแน่แท้ และภิกษุนี้รับมาดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๑ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------

          (2) อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาวาส ชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมา เฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวน ในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะ เหล่านั้น เทียบเคียงกันไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ในพระวินัย ในข้อนี้ พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แน่แท้ และสงฆ์นั้นรับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว
           อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาวาสชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะ หน้าสงฆ์นั้นว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบท และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและ พยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัยข้อนี้ พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และ สงฆ์นั้นรับมาดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๒ เธอทั้งหลาย พึงทรงจำไว้
--------------------------------------------------------------------------------------------

      (3) อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นพระเถระมาก ด้วยกันอยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้น ... ข้าพเจ้าได้ สดับมา รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอน ของพระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดีไม่พึงคัดค้าน คำกล่าว ของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียง ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนใน พระวินัยบท และ พยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ ในพระสูตรสอบสวนกันได้ ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแน่แท้ และพระเถระเหล่านั้นรับมาดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๓ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้

--------------------------------------------------------------------------------------------

        (4) อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระรูปหนึ่ง อยู่ใน อาวาสชื่อโน้นเป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้า ได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้น ... ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมา เฉพาะหน้า พระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของ ภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงใน พระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแน่แท้ และพระเถระรูปนั้นรับมาดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๔ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาประเทศ ๔ นี้แล

จบสัญเจตนิยวรรคที่ ๓

 

 


 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์