ผู้ละสังโยชน์ 5 สิ้น มี 7 แบบ
ก่อนตาย 2 แบบ (1.ฆฏิการสูตร-ช่างหม้อ 2.มหาปทานสูตร - เสด็จสุทธาวาส)
หลังตาย 5 แบบ (พวกได้ยินได้ฟัง-ผัคคุณสูตร)
- พวกที่ 1- 4 จะปรินิพพาน (ช้า-เร็ว ตามกำลังอินทรีย์)
- พวกที่ 5 อินทรีย์อ่อนสุด คือ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นอนาคามี ผู้ละสังโยชน์ 5 ได้ อยู่ใน สุทธาวาส ชั้นที่ 5
คือชั้น อกนิฏฐา อายุประมาณ 500-20000 กัป เมื่อกายแตกทำลาย จะปรินิพพาน

อนาคามี 4 พวกแรก (พวกได้ยินได้ฟัง-ผัคคุณสูตร)
1.
อันตราปรินิพายี (อินทรีย์แก่กล้าสุด)
คือปรินิพพานในระหว่าง ถ้าอินทรีย์แก่กล้ามาก ระหว่างที่สัตว์จะไปยึดจิตดวงใหม่ ต่อไป ก็จะปรินิพพาน
ที่เปรียบเหมือนสะเก็ดไฟของช่างตีเหล็กร้อน พอตีเหล็กร้อนไป สะเก็ดไฟก็ปลิวไป ระหว่างลอยกลางอากาศสะเก็ดไฟดับ พวกนี้เรียกอันตราปรินิพายี
2. อุปหัจจะปรินิพพายี (อินทรีย์อ่อนลงมาอีก)
คือสะเก็ดไฟปลิวไปกระทบพื้นแล้วดับ (อุปหัจจะแปลว่ากระทบ) คือปรินิพพานเมื่อ กระทบ
สัตว์ยึดจิตแล้ว จิตไปตั้งในผืนนา (ในอารมณ์) พอตั้งแล้ว เข้าใจว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ปล่อยวาง ปรินิพพาน พวกนี้เรียกว่า อุปหัจจะปรินิพพายี
3. อสังขารปรินิพายี (อินทรีย์อ่อนลงมาอีก)
อยู่ที่ว่าคนก่อนตาย เข้าปฐมฌาณ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ได้หรือไม่ ถ้าเข้าได้จะเป็นพวกนี้ พวกอสังขาร
พวกที่ปรินิพพานโดยทำสมาธิได้ ตั้งแต่ปฐมฌาน ขึ้นไป อสังขารเปรียบเหมือนสะเก็ดไฟ ที่ปลิวตกลงผืนนาแล้วก่อให้เกิดควัน เกิดเปลวไฟ ลุกใหม้กองไม้กองหญ้า กองเล็กๆ แล้วดับ (ปรินิพพาน) พวกนี้เรียกว่า อสังขารปรินิพพายี
4. สสังขาร ปรินิพพายี (อินทรีย์อ่อนลงมาอีก แต่แก่กล้ากว่าอุทธังโสโต)
พวกนี้ทำสมาธิไม่ได้ แต่อยู่กับลมหายใจได้ เข้า-ออกๆ เห็นการเกิดดับ พวกนี้เข้า ปฐมฌานไม่ได้ แต่ก็ปรินิพพาน
/สสังขารเปรียบเหมือน สะเก็ดไฟ ที่ตกลงผืนนา แล้วก่อให้เกิดควัน เกิดเปลวไฟ ลุกใหม้กองไม้กองหญ้า กองใหญ่ แล้วก็ดับ คือปรินิพพาน พวกนี้เรียกว่า สสังขารปรินิพพายี
5. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (อินทรีย์อ่อนสุด) (พวกได้ยินได้ฟัง-ผัคคุณสูตร)
เป็นอนาคามี ผู้ละสังโยชน์ 5 ได้ อยู่ใน สุทธาวาส ชั้นที่ 5 คือชั้น อกนิฏฐา
ใน 5 พวกนี้
4 พวกแรก
มีโอกาสที่จะปรินิพพาน
พวกที่ 5 อินทรีย์อ่อนที่สุดเป็น (อุทธังโสโต)
อย่างอื่นไม่มีละ เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่า ใครที่ละสังโยชน์ 5 ไม่ได้ จะละได้ ใครที่เคยละสังโยชน์ 5 ได้ จะได้อรหันต์
นี้คืออานิสงส์ของการได้ยินได้ฟังคำของตถาคตก่อนสิ้นชีวิต หรือการใคร่ครวญ เนื้อธรรมในกาลอันควร (ผัคคุณสูตร)
การได้ยินได้ฟังคือ
1 ได้ฟังต่อหน้าพระศาสดาโดยตรง (ตอนนี้โอกาสนั้นหมดไปแล้ว)
2 เค้าไม่ได้เห็นตถาคต แต่สาวกของตถาคตได้แสดงธรรมอันงาม ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ทั้งอรรถถะ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ ดีแล้วสิ้นเชิง สังโยชน์ 5 เบื้องต่ำที่ยังไม่สิ้นก็จะสิ้น ผู้ที่ยังละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ไม่ได้ก็คือ ปุถุชน ก็สามารถละได้ครึ่งหนึ่ง ได้เป็น อริยบุคคล ได้ถึงขั้นที่ 3 (อนาคามีผู้สิ้นสังโยชน์ 5)
3. ใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมะ ในกาละอันควร ดังนั้นคำของตถาคต ที่เค้าทรงจำได้ ระลึกได้ในช่วงใกล้ตาย แล้วใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมะนั้น
ถ้าเราท่องปฏิจสมุปบาทให้ฟัง คนใกล้ตายก็จะใคร่ครวญ กำลังตอนนี้เค้าเยอะ (ทรงจำ+ระลึกได้+ใคร่ครวญ) ข้อที่ 3 นี้เป็นการพึ่งตนเอง การทรงจำมีอุปการะมาก ต่อการใคร่ครวญธรรม ถ้าการทรงจำไม่มี การใคร่ครวญธรรมจะไม่เกิดขึ้น
เปรียบเทียบกับ ผังอนาคามี
|