เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ผัคคุณสูตร ฟังธรรมก่อนทำกาละ ผิวพรรณผ่องใส สิ้นสังโยชน์๕  203 Next
 
  (โดยย่อ)

อานิสงส์ในการฟังธรรม ก่อนทำกาละ
ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม โดยกาล อันควร ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน

ปุถุชนทั่วไป หรือผู้ที่ยังละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ไม่ได้
   ๑. เมื่อตถาคตได้แสดงธรรมก่อนทำกาละ .... จะสิ้นสังโยชน์ ๕
   ๒. เมื่อสาวกได้แสดงธรรมก่อนทำกาละ .... จะสิ้นสังโยชน์ ๕
   ๓. หากระลึกบทแห่งธรรมได้เอง .... จะสิ้นสังโยชน์ ๕

สำหรับผู้ที่ละสังโยชน์ ๕ ได้แล้ว
   ๔. เมื่อตถาคตแสดงธรรมก่อนทำกาละ .... จะปรินิพพาน
   ๕. เมื่อสาวกแสดงธรรมก่อนทำกาละ .... จะปรินิพพาน
   ๖. หากระลึกบทแห่งธรรมได้เอง..จะปรินิพพาน

(ผู้สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นผู้ที่ละความพอใจในกามได้แล้ว หลังทำกาละ จึงได้มาจุติที่ชั้นสุทธาวาส) หนังสืออนาคามี / ฌานสูตรที่ ๒


เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่ม ๒๒ หน้าที่ ๓๔๓

ผัคคุณสูตร 

ฟังธรรมก่อนทำกาละ ผิวพรรณผ่องใส สิ้นสังโยชน์๕ 


              [๓๒๗] ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว  ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะ อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัย ความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับ โดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค  เสด็จออกจากที่เร้น เสด็จ เข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่

         ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุก จากเตียง

         ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ที่ผู้อื่นได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่าน พระผัคคุณะว่า

         ดูกรผัคคุณะเธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ย่อมบรรเทาไม่กำเริบ หรือปรากฏว่าบรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ ท่านพระผัคคุณะ กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบนั้น ไม่บรรเทาเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คมฉันใด ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง พึงเอาเชือกที่เหนียวแน่นพันศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวด ที่ศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้น

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษฆ่าโค หรือ ลูกมือ ของบุรุษฆ่าโค เป็นคนขยันพึงใช้มีดสำหรับชำแหละโคที่คม ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้ามี ประมาณยิ่งย่อมเสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ... เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน  จับบุรุษผู้อ่อนกำลัง คนเดียว ที่แขนคนละข้าง แล้วพึงลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กาย ของข้าพระองค์ก็ประมาณยิ่งฉันนั้น

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา ของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย

         ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงด้วยธรรมีกถา ให้ท่านพระผัคคุณะ เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริง แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป 

         ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ และในเวลาตาย อินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก ฯ 

         ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และ ในเวลาตายอินทรีย์ของท่าน พระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก 

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใส ได้อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้

         ๖ ประการเป็นไฉน

(พวก1 สำหรับผู้ที่ยังละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ไม่ได้)

         ๑. ดูกรอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วน เบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตายเธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดง ธรรมอันงาม ในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลางอันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้น จากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

         ๒. อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของ พระตถาคต สาวกของ พระตถาคต ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอ ย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

         ๓. อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของ ตถาคตเลย แต่ย่อม ตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ  ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิต ของเธอย่อมหลุดพ้นจาก สังโยชน์ อันเป็นไป ในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร

.............................................................................................................................

(พวก 2 สำหรับผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว)

         ๔. ดูกรอานนท์ จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอ ยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไป แห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระ ตถาคต พระตถาคต ย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อม น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่ง อุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้  เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็น อานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรม โดยกาลอันควร

         ๕. อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอ ย่อมได้เห็นสาวก ของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรม อันงาม ในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ กิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่า มิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรม โดยกาลอันควร

         ๖. อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วน เบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต และย่อม ไม่ได้เห็นสาวก ของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตาม ที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา อยู่ จิตของเธอย่อม น้อมไป ในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหา ธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความ แห่งธรรม โดยกาลอันควร

         ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้แล ฯ 

จบสูตรที่ ๒ 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์