เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อะไรที่เป็นปัจจัยให้เกิด อวิชชา 204  
 
  (โดยย่อ)
อวิชชาสูตร
อวิชชา...มีนิวรณ์5 (เครื่องกั้น)เป็นอาหาร
นิวรณ์5...มีทุจริต3 (ประพฤติชั่ว)เป็นอาหาร
ทุจริต3...มีการไม่สำรวมอินทรีย์เป็นอาหาร
การไม่สำรวมอินทรีย์...มีความไม่มีสติสัมปะชัญญะเป็นอาหาร
มีความไม่มีสติสัมปะชัญญะ...มีการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเป็นอาหาร
การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย...มีความไม่มีศรัทธาเป็นอาหาร
ความไม่มีศรัทธา...มีการไม่ฟังสัทธรรมเป็นอาหาร
การไม่ฟังสัทธรรม...มีการไม่คบสัปบุรุษเป็นอาหาร
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

อวิชชาสูตร


          [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เงื่อนต้นแห่งอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏในกาลก่อน
แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี
เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าวคำนี้อย่างนี้ว่า
ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา
ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕
(เครื่องกั้นไม่ให้บรรลุธรรม)

แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓
(ประพฤติชั่วทางกาย-วาจา-ใจ)


แม้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์

แม้การไม่สำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์
ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติสัมปชัญญะ

แม้ความ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร เป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ
ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
ควรกล่าวว่า ความไม่มีศรัทธา

แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา
ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม

แม้การไม่ฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร ของการไม่ฟังสัทธรรม
ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ

.....................................................................................................................

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
..การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
..การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
..ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์
..การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
..ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
..การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
..ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์
..นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
..อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบ
ตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม
ย่อมยัง ซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม
ซอกเขาลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้เต็ม
หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
แม่น้ำ ใหญ่ที่เต็มย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนั้น มีอาหารอย่างนี้
และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยัง การไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้
ฉันนั้นหมือนกันแล ฯ

....................................................................................................................

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว วิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี อาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชา และ วิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗

แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔

แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓

แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์

แม้การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ

แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา

แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม

แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
...การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
...การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
...ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อม ยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
...การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อม ยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
...สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ ให้บริบูรณ์
...การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
...สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
...สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
...โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
...วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบ
ตกลงเบื้องบนภูเขา เมื่อฝนตกหนักๆอยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม
ย่อมยังซอกเขา ลำธารและห้วยให้เต็ม ซอกเขาลำธารและห้วยที่เต็มย่อมยังหนองให้เต็ม
หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม
บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม
แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม
มหาสมุทรสาครนั้นมีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ...
โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้
ฉันนั้นเหมือนกันแล
   
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์