เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
ทิฏฐิ ๑๐ อย่าง ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย คลายกำหนัด ดับสนิท.. เพื่อนิพพาน 205  
 
  (ย่อ)

ดูกรวัจฉะ
1.ความเห็นว่าโลกเที่ยง
2.โลกไม่เที่ยง
3.โลกมีที่สุด
4.โลกไม่มีที่สุด
5.ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น
6.ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง
7.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่
8.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่
9.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี
10. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้นั้น

เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัดแกว่ง เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความลำบาก เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อ ความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ดูกรวัจฉะ เราเห็นโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการ ทั้งปวง เช่นนี้

 


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๘

ทิฏฐิ ๑๐ อย่าง
(ตรัสกับวัจฉะ)

 

            [๒๔๕] วัจฉโคตตปริพาชก นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
โลกมีที่สุด สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
โลกไม่มีที่สุด สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่งสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป ไม่มีอยู่ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ?
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

            [๒๔๖] พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ ก็ตรัสตอบว่า
ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น. ฯลฯ

พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้หรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น. ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นโทษอะไรหรือ จึงไม่ทรงเข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวงเช่นนี้.

            [๒๔๗] ดูกรวัจฉะ ความเห็นว่าโลกเที่ยง ... โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ...สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้นั้น เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็นความเห็นอย่างกันดาร เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัดแกว่ง เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความลำบาก เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

            ดูกรวัจฉะ เราเห็นโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการ ทั้งปวง เช่นนี้.

            ก็ความเห็นอะไรๆ ของท่านพระโคดม มีอยู่บ้างหรือ?

            ดูกรวัจฉะ ก็คำว่าความเห็นดังนี้นั้น ตถาคตกำจัดเสียแล้ว

ดูกรวัจฉะ ก็ตถาคตเห็นแล้วว่า ดังนี้

รูป ดังนี้
ความเกิดแห่งรูป ดังนี้
ความดับแห่งรูป ดังนี้

เวทนา ดังนี้
ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้
ความดับแห่งเวทนา ดังนี้

สัญญา ดังนี้

ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้
ความดับแห่งสัญญา ดังนี้

สังขาร ดังนี้
ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้
ความดับแห่งสังขารดังนี้

วิญญาณ ดังนี้
ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้
ความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้

เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ตถาคตพ้นวิเศษแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะคลายกำหนัด เพราะดับสนิท เพราะสละเพราะปล่อย

เพราะไม่ถือมั่น ซึ่งความสำคัญทั้งปวง ซึ่งความต้องการทั้งปวง ซึ่งความถือว่าเราว่าของเรา และความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง.


 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์