เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 นิพพาน ความหมายของคำว่านิพพาน หลากหลาย นัยยะ 350  
 
 

(โดยย่อ)

นิพพาน มีหลากหลายนัยยะ
1) ชื่อเรียก นิพพาน (บาลี)
2) ความหมายของนิพพานทางฝั่ง อสังขตะ
3) นิพพานคือสิ่งๆหนึ่ง
4) นิพพาน ในความหมายของ สังขต คือความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ
5) นิพพาน ในความหมายของ อสังขตะ คือความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ
6) นิพพาน คือ วิราคะ (สิ้นไปแห่งราคะ)
7) นิพพาน คือสรณะ คือความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ
8) นิพพาน คือ ที่ ซึ่งนามรูปดับสนิท
9) ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
10) นิพพานนี้เป็นสุข
11) ไวพจน์ของนิพพาน (๓๒ คำ)
12) นิพพานอธิวจนะ สรุปย่อ ชื่อเรียกนิพพาน 32 ชื่อ

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


1)

ชื่อเรียก นิพพาน (บาลี)
(อริยสัจจ์จากพระโอษฐ์-ภาคต้น หน้า 461)

บาลี

อสังขตะ  อนตะ  อมตะ  อนาสวะ  สัจจะ  ปาระ  นิปุณะ  สุทุททสะ  อวัชชระ  ธุวะ อปโลกินะ  อนิทัสสะ  นิปปปัญญะ   สันตะ  ปณีตะ  สิวะ  เขมะ
ตัณหักขยะ  อัจฉริยะ  อัพภุตะ  อนีติกะ  อนีติกธัมมะ  อัพยาปัชฌะ  วิราคะ
สุทธิ  มุตติ  อนาสยะ  ทีปะ  เลณะ  ตาณะ  สรณะ  ปรายะ 



2)
ความหมายของนิพพานทางฝั่ง อสังขต
อสังขต

     นะ อุปปปาโท ปัญญาญติ (ไม่ปรากฏการเกิด)
     นะ วะโย ปัญญาญติ (ไม่ปรากฏการเสื่อม)
     นะ ฐิตัสสะ อัญญะถัตตัง ปัญญาญติ (เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ)



3)

นิพพานคือสิ่งๆหนึ่ง

“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
แต่มีทางปฏิบัติเข้าถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้
ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ
นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ
ดังนี้แล.

ปฐมธรรม หน้า ๓๐๓
(บาลี) สี. ที. ๙/๒๘๓/๓๔๘-๓๕๐.



4)

นิพพาน ในความหมายของ สังขต
คือความสิ้นไปแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ


เราจะแสดงซึ่งนิพพานแก่พวกเธอทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดงซึ่ง นิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย
พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น

ภิกษุทั้งหลาย !
นิพพาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
     ความสิ้นไปแห่งราคะ
     ความสิ้นไปแห่งโทสะ
     ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด


ภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้แลเราเรียกว่า นิพพาน

( บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๑ )



5)

นิพพาน ในความหมายของ อสังขตะ

ภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดงซึ่ง อสังขตะ แก่พวกเธอทั้งหลาย
พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น

ภิกษุทั้งหลาย !
อสังขตะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
     ความสิ้นไปแห่งราคะ
     ความสิ้นไปแห่งโทสะ
     ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด

ภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้แลเราเรียกว่า อสังขตะ

( บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๔๔๑/๖๗๔ )



6)

นิพพาน
คือ วิราคะ (สิ้นไปแห่งราคะ)

ภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดงซึ่ง วิราคะ แก่พวกเธอทั้งหลาย
พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น

ภิกษุทั้งหลาย !
วิราคะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
     ความสิ้นไปแห่งราคะ
     ความสิ้นไปแห่งโทสะ
     ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด

ภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้แลเราเรียกว่า วิราคะ

( บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๓ )



7)

นิพพาน คือสรณะ

ภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดงซึ่ง สรณะ แก่พวกเธอทั้งหลาย
พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น

ภิกษุทั้งหลาย !
สรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย !
     ความสิ้นไปแห่งราคะ
     ความสิ้นไปแห่งโทสะ
     ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด

ภิกษุทั้งหลาย !
อันนี้แลเราเรียกว่า สรณะ

(บาลี – สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๓/๗๕๐ )



8)

นิพพาน คือ ที่ ซึ่งนามรูปดับสนิท

“ที่” ซึ่งนามรูปดับไม่มีเหลือ
ภิกษุ! สำหรับปัญหาของเธอนั้น
เธอไม่ควรตั้งคำถามขึ้นว่า “มหาภูตสี่
คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เหล่านี้
ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน ?”
ดังนี้เลย

อันที่จริง เธอควรจะตั้งคำถามขึ้นอย่างนี้ว่า
“ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน?
(ไม่อาจเข้าไปอยู่ได้ใน ที่ไหน)

ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม
ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ในที่ไหน?
นามรูปดับสนิทไม่มีเหลือ ในที่ไหน?” ดังนี้ต่างหาก.

ภิกษุ! ในปัญหานั้น คำตอบมีดังนี้


“สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์
ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้าถึงได้โดยรอบ นั้นมีอยู่

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ดิน นํ้า ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้ (ไม่อาจเข้าไปอยู่ได้)

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้ (ไม่อาจเข้าไปอยู่ได้)

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ
นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้ เพราะ
การดับสนิทของวิญญาณ ดังนี้แล.
- สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐



9)

ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด

ภิกษุ ท. ! นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง, สองอย่างเหล่าไหนเล่า ? สองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ก. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุ ท. ! สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติด ให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. อินทรีย์ห้าของเธอยังตั้งอยู่ เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกกำจัด เธอย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นที่ชอบใจบ้าง ไม่เป็นที่ชอบใจบ้าง ให้รู้สึกสุขและทุกข์บ้าง. ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไป แห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของเธอ อันใด ภิกษุ ท. ! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ. (ยังเสวยเวทนาอยู่)

ข. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุ ท. ! ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่องผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. ภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลายทั้งปวงของเธอ อันเธอไม่เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็น ในโลกนี้เอง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. (ไม่เสวยเวทนาแล้ว ดับเวทนาได้แล้ว)

- อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๘-๒๕๙/๒๒๒.


10)
(ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๓๕)
นิพพานสูตรนี้เป็นสุข
(อุทายี ถามพระสารีบุตร ว่า นิพพานนี้ ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้ อย่างไร )

[๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพาน นี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี ได้กล่าวกะท่าน พระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้ อย่างไร

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละ เป็นสุข ดูกรอาวุโส กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึง รู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้ กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูกรอาวุโส สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย กามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข

ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต* ด้วย กาม ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย กาม เหล่านั้น ย่อม ฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพาน เป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้
* (สหรคต อ่านว่า สะ-หะ-ระ-คด แปลว่า จิตยังมีราคะ คือความกำหนัด)

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย วิตก ย่อม ฟุ้งซ่าน ข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต* ด้วย วิตก เหล่านั้น ย่อม ฟุ้งซ่าน แก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย ปีติ ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของ เธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย ปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็น อาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็น ความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหาร ธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย อุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธ ของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียด เบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย อุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธ นั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดย
ปริยาย แม้นี้


อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ ภิกษุ บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อ ภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย รูป ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้น เป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อ เบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย รูป ย่อมฟุ้งซ่านแก่ ภิกษุ นั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียก อาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้ โดยปริยาย แม้นี้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย อากาสานัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย อากาสานัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้น เหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยาย แม้นี้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วย วิหารธรรม ข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย วิญญาณัญจายตนะ ย่อม ฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย วิญญา นัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อ ภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย อากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่ บุคคล ผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอัน สหรคต ด้วย อากิญจัญญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้น เหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า เป็นความทุกข์ ดูกรอาวุโส
นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้


อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญา นาสัญญายตน ฌาน โดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลายของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะ เห็นด้วยปัญญา ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย แม้นี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต


11)
ไวพจน์ของนิพพาน (๓๒ คำ)


นิพพาน คือ ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ
ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด

ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิพพาน

1.นิพพาน คือ อสังขตะ (สิ่งที่ไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อสังขตะ

2.นิพพาน คือ อนตะ (สิ่งซึ่งอะไร ๆ น้อมไปไม่ได้) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนตะ

3.นิพพาน คือ อนาสวะ (สิ่งที่ไม่มีอาสวะ)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนาสวะ

4.นิพพาน คือ สัจจะ (ของจริง) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สัจจะ

5.นิพพาน คือ ปาระ (ฝั่งนอก)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปาระ

6.นิพพาน คือ นิปุณะ (ของละเอียด)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด  
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปุณะ

7.นิพพาน คือ สุทุททสะ (ของเห็นได้ยากอย่างยิ่ง) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทุททสะ

8.นิพพาน คือ อชัชชระ (ของที่ไม่คร่ำคร่า)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อชัชชระ

9.นิพพาน คือ ธุวะ (ของยั่งยืน) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ, อันใด ;
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ธุวะ

10.นิพพาน คือ อปโลกินะ (เป้าที่หมาย)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อปโลกินะ

11.นิพพาน คือ อนิทัสสนะ (สิ่งที่ไม่แสดงตัว) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด  
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนิทัสสนะ

12.นิพพาน คือ นิปปปัญจะ (สิ่งที่ไม่ถ่วงไว้ในโลกนี้) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด  
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า นิปปปัญจะ

13.นิพพาน คือ สันตะ (สิ่งสงบระงับ)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สันตะ

14.นิพพาน คือ อมตะ (สิ่งไม่ตาย)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อมตะ

15.นิพพาน คือ ปณีตะ (สิ่งประณีต) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปณีตะ

16.นิพพาน คือ สิวะ (สิ่งที่เย็น)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สิวะ

17.นิพพาน คือ เขมะ (ที่เกษม) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า เขมะ

18.นิพพาน คือ ตัณหักขยะ (ที่สิ้นตัณหา)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตัณหักขยะ

19.นิพพาน คือ อัจฉริยะ (สิ่งน่าอัศจรรย์) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัจฉริยะ

20.นิพพาน คือ อัพภุตะ (สิ่งที่ไม่มีไม่เป็น)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัพภุตะ

21.นิพพาน คือ อนีติกะ (สิ่งที่ไม่มีเสนียด)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนีติกะ

22.นิพพาน คือ อนีติกธัมมะ (ธรรมที่ไม่เสนียด)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด  
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนีติกธัมมะ

23.นิพพาน คือ อัพ๎ยาปัชฌะ (สิ่งที่ไม่เบียดเบียนสัตว์) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อัพ๎ยาปัชฌะ.

24.นิพพาน คือ วิราคะ วิราคะ (ที่คลายกำหนัด)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า วิราคะ

25.นิพพาน คือ สุทธิ (สิ่งบริสุทธิ์)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สุทธิ

26.นิพพาน คือ มุตติ (ความพ้น)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า มุตติ

27.นิพพาน คือ อนาลยะ (สิ่งที่ไม่เป็นอาลัย)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า อนาลยะ.

28.นิพพาน คือ ทีปะ (เกาะที่พ้นน้ำ)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ทีปะ

29.นิพพาน คือ เลณะ. (ที่ซ่อน) 
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด  
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า เลณะ

30.นิพพาน คือ ตาณะ (ที่ป้องกัน)
ภิกษุ ท. ! ตาณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ตาณะ.

31.นิพพาน คือ สรณะ (ที่พึ่ง)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า สรณะ.

32.นิพพาน คือ ปรายนะ (ที่สุดทาง)
ภิกษุ ท. ! ความสิ้นไปแห่งราคะ แห่งโทสะ แห่งโมหะ อันใด 
ภิกษุ ท. ! อันนี้แล เราเรียกว่า ปรายนะ



12)
นิพพานอธิวจนะ

สรุปย่อ ชื่อเรียกนิพพาน 32 ชื่อ


คำว่า “นิพพาน” ในข้อความในสูตรอื่น ๆ เป็นอันมาก ได้ทรงแสดงไว้ด้วยอธิวจนะ คือคำแทนชื่อต่างๆกัน และมีเรื่องที่จะพึงศึกษาและปฏิบัติอย่างเดียวกันคือทรงแสดง ไว้ด้วยคำว่า

อสังขตะ (ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้)
อนตะ (ธรรมที่ไม่น้อมไปในสิ่งใด หรือสิ่งใดน้อมไปไม่ได้)
อนาสวะ (ไม่มีอาสวะอันเป็นสิ่งเศร้าหมองโดยประการทั้งปวง)
สัจจะ
(ของจริงเพียงสิ่งเดียว ไม่มีสิ่งที่สองเทียบ)
ปาระ (ฝั่งนอกที่กิเลสและทุกข์ตามไปไม่ถึง)

นิปุณะ
(สิ่งละเอียดอ่อนสำหรับการศึกษาและปฏิบัติ ไม่มีสิ่งใดยิ่งกว่า)
สุทุททสะ (อันผู้ไม่สิ้นอาสวะเห็นได้ยากที่สุด)
อชัชชระ (ไม่มีความคร่ำคร่าลงโดยประการทั้งปวง)
ธุวะ (ยั่งยืนมั่นคงไม่แปรผัน)
อปโลกินะ (เป็นที่จ้องมองแห่งสัตว์เพื่อการบรรลุถึง)

อนิทัสสนะ
(ไม่มีการแสดงออกทางวัตถุ หรือทางตา ผู้อื่นพลอยเห็นด้วยไม่ได้)
นิปปปัญจะ (ไม่มีเครื่องกีดกั้นให้เนินช้าเพราะว่างจากกิเลส)
สันตะ (สงบระงับจากการปรุงแต่งเสียดแทงเผาลน)
อมตะ (ไม่ตายเพราะไม่มีการเกิด เพราะไม่อยู่ในอำนาจเหตุปัจจัย)
ปณีตะ (ประณีตละเอียด เพราะพ้นไปจากความเป็นรูปธรรมและนามธรรม)

สิวะ
(สงบเย็นเพราะไม่มีไฟกิเลสและไฟทุกข์)
เขมะ (เกษมจากสิ่งรบกวนทุกชนิด)
ตัณหักขยะ (เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา หรือภาวะสิ้นสุดแห่งตัณหา)
อัจฉริยะ (น่าอัศจรรย์ ไม่มีสิ่งใดน่าอัศจรรย์เท่า)
อัพภุตะ (สิ่งที่ไม่มีไม่เป็นควรนำมาบอกกล่าวในฐานะสิ่งที่ไม่เคยบอกกล่าว)

อนีติกะ
(ไม่มีเสนียดจัญไร เพราะพ้นดีพ้นชั่ว)
อนีติกธัมมะ (มีปกติภาวะไม่มีเสนียดจัญไรเป็นธรรมดา)
อัพ๎ยาปัชฌะ (ไม่มีความเบียดเบียนเป็นสภาวะ)
วิราคะ (ไม่มีความย้อมติดในสิ่งใด มีแต่จะทำให้คลายออก)
สุทธิ (บริสุทธิ์หมดจด เพราะไม่มีที่ตั้งแห่งความเศร้าหมอง)

มุตติ
(เป็นความปล่อยความหลุดจากความยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน)
อนาลยะ (ไม่เป็นที่ตั้งที่อาศัยแห่งกิเลสและความทุกข์)
ทีปะ (เป็นดวงประทีปที่พึ่งของสัตว์ผู้ตกจมอยู่ในความมืดคืออวิชชา)
เลณะ (เป็นเสมือนที่หลบซ่อนจากภัยของสัตว์ผู้หนีภัย)
ตาณะ (เป็นเสมือนที่ต้านทานของสัตว์ผู้แสวงหาที่ต้านทานข้าศึกศัตรู)

สรณะ
(เป็นที่แล่นไปสู่แห่งจิตที่รู้สึกว่ามีภัยต้องการที่พึ่ง)
ปรายนะ (เป็นเป้าหมายในเบื้องหน้าแห่งสัตว์ผู้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ).

คำแทนชื่อกันและกันชนิดนี้ ในบาลีท่านเรียกว่า อธิวจนะ
ในที่นี้เป็นอธิวจนะของคำว่า นิพพาน


(อริยสัจจ์จากพระโอษฐ์-ภาคต้น หน้า 461)

   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์