เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
เทวดามี 3 ชั้น กามภพ รูปภพ อรูปภพ 349  
 
 


เทวดา - พุทธวจน
(ผังภพภูมิ วัดนาป่าพง)



เทวดากามภพ
          1.ปรนิมมิตตวสวัตตี (เทวดากามภพ) อายุ 9,216 ล้านปีมนุษย์
          2.นิมมานนรดี (เทวดากามภพ) อายุ 2,304 ล้านปีมนุษย์
          3.ดุสิต (เทวดากามภพ) อายุ 576 ล้านปีมนุษย์
          4.ยามา (เทวดากามภพ) อายุ 144 ล้านปีมนุษย์
          5.ดาวดึงส์ (เทวดากามภพ) อายุ 36 ล้านปี
          6.จาตุมหาราชา (เทวดากามภพ) อายุ 9 ล้านปีมนุษย์
          7. เทวดาที่นับเนื่องในหมู่คนธรรพ์ (เทวดากามภพ)
             เทวดาที่นับเนื่องในหมู่วลาหก (เทวดากามภพ)

เทวดารูปภพ
          1.พรหมกายิกา (เทวดารูปภพ) อายุ 1 กัป
          2.อาภัสระ (เทวดารูปภพ) อายุ 2 กัป
          3.สุภกินหะ (เทวดารูปภพ) อายุ 4 กัป
          4.เวหัปผละ (เทวดารูปภพ) อายุ 500 กัป
          5.สุธาวาส -อวิหา (เทวดารูปภพ)
               "     -อตัปปา
(เทวดารูปภพ)
               "     -สุทัสสา
(เทวดารูปภพ)
               "     -สุทัสสี
(เทวดารูปภพ)
               "     -อกนิฎฐะ
(เทวดารูปภพ)

อรูปภพ
         1.อากาสานัญจายตนะ อายุ 20,000 กัป (เทวดาอรูปภพ)
         2.วิญญานัญจายตนะ อายุ 40,000 กัป (เทวดาอรูปภพ)
         3.อากิญจัญญายตนะ อายุ 60,000 กัป (เทวดาอรูปภพ)
         4.เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายุมากกว่า 84,000 กัป (เทวดาอรูปภพ)


มนุษย์ (พุทธวจน)

นัยยะที่ 1
          ตระกูลสูง
               1 กษัตริย์มหาศาล
               2 พราหมณ์มหาศาล
               3 คหบดีมหาศาล
          ตระกูลต่ำ
               1 ตระกูลคนจัณฑาล
               2 ตระกูลพราน
               3 ตระกูลคนจักสาน
               4 ตระกูลช่างทำรถ
               5 ตระกูลคนเทขยะ
นัยยะที่ 2
          มนุษย์ปุถุชน
               คือผู้ที่ต้องเวียนว่ายในสังสารวัฏ ยังไม่รู้ในอริยสัจจสี่ ยังต้องสู่ภพที่ต่ำกว่ามนุษย์
               คือ นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย               
          อริยะบุคคล
               คือผู้ที่หยั่งลงมั่นต่อพระศาสดา ก้าวพ้นปุถุชนภูมิ มีธรรมอันไม่ตกต่ำ ไม่ไปสู่อบาย
               มีนิพพานอยู่เบื้องหน้า
นัยยะที่ 3
          1.ปุถุชน
          2.สัทธานุสารี (ไม่อาจทำกาละ ก่อนที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผล)
          3.ธัมมานุสารี (ไม่อาจทำกาละ ก่อนที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสตาปัตติผล)
          4.โสดาบัน (มี 3 ระดับ) เรียงจากอินทรีย์จากมากไปน้อย
               - เอกพีชี (เกิดภพมนุษย์คราวเดียวแล้วปรินิพพาน)
               -โกลังโกละ (เกิดในภพมนุษย์หรือเทวดา 2-3 คราวแล้วปรินิพพาน)
               - สัตตักขัตตุปรมะ (เกิดในภพมนุษย์หรือเทวดา ไม่เกิน 7คราวแล้วปรินิพพาน)

นัยยะที่ 4 (อุปมาเหมือนตนตกน้ำ 7 จำพวก) อ่านพระสูตรเต็ม
          1 บุคคลบางคน จมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลย
                    บุคคลที่สร้างอกุศลธรรมฝ่ายเดียว ทำบาปเป็นประจำ ไม่คิดทำกุศลธรรม
          2 บุคคลบางคน ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย
                    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี โอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาดี
                    แต่ว่าศรัทธานั้นตั้งอยู่ไม่นาน ไม่เจริญ และเสื่อมสิ้นไป
          3 บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ลอยตัวอยู่
                    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี โอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาดี
                    แต่ศรัทธาของเขาไม่เสื่อม ไม่เจริญ แต่ทรงตัวอยู่
          4 บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เหลียวดูรอบ ๆ อยู่
                    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี โอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาดี
                    สิ้นสังโยชน์สาม เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
                    เป็นผู้เที่ยงแท้ ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า
          5 บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง
                    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี โอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาดี
                    เป็นผู้สิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี)
                   มีการปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
          6 บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ ตื้นแล้ว
                    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี โอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาดี
                     เป็นผู้สิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี) 
                     มีการปรินิพพาน ในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
          7 บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้วเป็นพราหมณ์ยืนอยู่
                    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี โอตตัปปะ มีวิริยะ มีปัญญาดี
                    เป็นผู้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา อาสวะมิได้ (พระอรหันต์) 
                    เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่
...........................................................................................................................................................................

อนาคามี (พุทธวจน)
มี 5 ระดับหรือ 7 กลุ่มที่รวมกลุ่มย่อย
(เรียงจากอินทรีย์จากมากไปน้อย)


 1 อันตราปรินิพพายี (สะเกิดไฟยังไม่ตกพื้น)
        ระดับ 1 (สะเก็ดไฟร่อนออกแล้วดับ)
        ระดับ 2 (สะเก็ดไฟร่อนออก ลอยไป แล้วดับ)
        ระดับ 3 (สะเก็ดไฟร่อนออก ลอยไป ยังไม่ตกพื้น แล้วดับ)
 2 อุปหัจจปรินิพพายี (สะเก็ดไฟร่อนออก ลอยไป ยังไม่ตกพื้น แล้วดับ)
 3 อสังขารปรินิพพายี (สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกที่กองหญ้าหรือกองไม้เล็ก ให้ไฟให้ควันเกิดขึ้นหมดเชื่อแล้วดับ)
 4 สสังขารปรินิพพายี (สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกที่กองหญ้าหรือกองไม้เขื่องๆ ให้ไฟ ให้ควัน หมดเชื่อแล้วดับ)
 5 อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี (สะเก็ดร่อนออก ลอยไป ตกที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ ให้ไฟ ให้ควัน ลามไปใหม้ไม้กอ และไม้ป่า.. ที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขา ที่สุดชายน้ำ หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วดับ)

สกทาคามี

อรหันต์


...........................................................................................................................................................................

                        ผังอนาคามี 7 กลุ่ม อุปมาเหมือนสะเก็ดไฟจากช่างตีเหล็ก (พุทธวจน)


...........................................................................................................................................................................


   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์