เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อายตนะ คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท 483
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย



 
 
 

(ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์หน้า156)

อายตนะ
 คือ จุดตั้งต้นของปฏิจจสมุปบาท


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
เมื่อ มือทั้งหลาย มีอยู่ การจับและการวาง ก็ปรากฏ
เมื่อ เท้าทั้งหลาย มีอยู่ การก้าวไปและการถอยกลับ ก็ปรากฏ
เมื่อ ข้อแขนขาทั้งหลาย มีอยู่ การคู้เข้าและ การเหยียดออก ก็ปรากฏ  
เมื่อ ท้องไส้ มีอยู่ ความหิวและความกระหาย ก็ปรากฏ; นี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!  
เมื่อจักษุ มีอยู่ 
สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อฆานะ มีอยู่  สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อชิวหา มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อกายะ มีอย่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อมโน มีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ฉันนั้นเหมือนกัน

(ต่อไปนี้ เป็นปฏิปักขนัย จากข้างบน)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
เมื่อ มือ ทั้งหลาย ไม่มี การจับและการวาง ก็ไม่ปรากฏ
เมื่อ เท้า ทั้งหลาย ไม่มี การก้าวไปและการถอยกลับ ก็ไม่ปรากฏ 
เมื่อ ข้อแขนขา ทั้งหลาย ไม่มี การคู้เข้าและการเหยียดออก ก็ไม่ปรากฏ 
เมื่อ ท้องไส้ ไม่มี ความหิวและความกระหาย ก็ไม่ปรากฏ นี้ฉันใด 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อโสตะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อฆานะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อกายะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
เมื่อ มือทั้งหลาย มี การจับและการวาง ก็มี 
เมื่อ เท้าทั้งหลาย มี การก้าวไปและการถอยกลับ ก็มี 
เมื่อ ข้อแขนขาทั้งหลาย มี การคู้เข้าและการเหยียดออก ก็มี 
เมื่อ ท้องไส้ มี ความหิวและความกระหาย ก็มี นี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อโสตะมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อฆานะมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อชิวหามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อกายะมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อมโนมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.

(ต่อไปนี้ เป็นปฏิปักขนัย จากข้างบน)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
เมื่อ มือทั้งหลาย ไม่มี การจับและการวาง ก็ไม่มี 
เมื่อ เท้าทั้งหลาย ไม่มี การก้าวไปและการถอยกลับ ก็ไม่มี
เมื่อ ข้อแขนขาทั้งหลาย ไม่มี การคู้เข้าและการ เหยียดออก ก็ไม่มี 
เมื่อ ท้องไส้ ไม่มี ความหิวและความกระหายก็ไม่มี นี้ฉันใด 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! 
เมื่อจักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อโสตะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย 
เมื่อฆานะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย 
เมื่อชิวหาไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย 
เมื่อกายะไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย 
เมื่อมโนไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย 
ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้แล.

……………………………………………………………………………………………

หมายเหตุผู้รวบรวม : ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า อายตนะมีจักษุ เป็นต้นเป็นจุดตั้งต้น ของการปรุงแต่งทุกชนิด; ในที่นี้ได้แก่การเกิดขึ้นของเวทนา ทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์. ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะในตอนนี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่า จะเกิดตัณหาอุปาทานเป็นลำดับไป จนเกิดทุกข์ในที่สุด.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์