เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ขันธ์ 5 - หลายแง่หลายมุม 590
 
 

1) ขันธ์5 เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้
2) มูลฐานแห่งการบัญญัติ ขันธ์5 (แต่ละขันธ์)
3) ขันธ์ 5 เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ
4) การถูกตราหน้าเพราะอนุสัยในขันธ์5
5) การถูกตราหน้าเพราะตายตามขันธ์5
6) สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ (เครื่องร้อยรัดจิต)
7) ความลับของขันธ์5 (อัสสาทะ อาทีนพ นิสสรณะ)
8) ขันธ์5 เนื่องด้วยปัจจัยแห่งความเศร้าหมอง
9) ขันธ์5 เป็นธรรมฝ่ายที่แตกสลายได้
10) ขันธ์5 ไม่เที่ยง
11) ขันธ์5 เป็นทุกข์
12) เหตุปัจจัยของขันธ์5 ก็เป็นทุกข์
13) ขันธ์5 เป็นอนัตตา
14) ขันธ์5 ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา
15) สิ่งใดมิใช่ของเรา
16) เหตุปัจจัยของขันธ์5 ก็เป็นอนัตตา
17) ขันธ์5 เป็นภาระที่หนัก
18) ขันธ์5 เป็นทั้งผู้ฆ่า และผู้ตาย
19) ขันธ์5 เป็นกองถ่านเถ้ารึง
20) ขันธ์5 เป็นเครื่องผูกพันสัตว์
21) เรียกกันว่า “สัตว์” เพราะติดขันธ์5
22) ไม่รู้จักขันธ์5 ชื่อว่ามีอวิชชา
23) เพลินในขันธ์5 เท่ากับเพลินในทุกข์
24) ต้องละฉันทราคะ ในขันธ์5

 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 221


1)
ขันธ์ 5 เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ พวกเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น
ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ เวทนา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ สัญญา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ และ วิญญาณ เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้
ภิกษุ ท. ! สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า สิ่งที่ควรรอบรู้แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 222
2)
มูลฐานแห่งการบัญญัติ ขันธ์ 5
(แต่ละขันธ์)

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรเป็นเหตุปัจจัยเพื่อการบัญญัติรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์เล่า ? พระเจ้าข้า !

ภิกษุ ! มหาภูตธาตุ สี่อย่าง เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ รูปขันธ์
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธ์
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธ์
ภิกษุ ! ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธ์
ภิกษุ ! นามรูป แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญาณขันธ์



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 223
3)
ขันธ์ 5 เป็นที่บัญญัติกฎแห่งสังขตะ



อานนท์ ! ถ้าคนทั้งหลาย จะพึงถามเธออย่างนี้ว่า

ท่านอานนท์ !
กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี

กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี
กฎแห่งความเปลี่ยน ไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี

ได้ถูกบัญญัติแล้ว จักถูกบัญญัติ และย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่ธรรมเหล่าไหนเล่า?
ดังนี้

อานนท์ ! เธอถูกถามอย่างนี้แล้วจะตอบเขาว่าอย่างไร?


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ถ้าคนทั้งหลายจะพึงถามข้าพระองค์เช่นนั้นแล้ว ข้าแต่พระองค์ จะตอบแก่เขาอย่างนี้ว่า

ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณเหล่าใด
ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความ เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้วแก่หมู่ แห่งธรรมเหล่านั้น

ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น

ผู้มีอายุ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏ อยู่แล้ว กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความ เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น ดังนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์เมื่อถูกถามอย่างนั้นจะพึงตอบแก่เขาอย่างนี้.”

ถูกแล้ว อานนท์ ! ถูกแล้ว อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความ เสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นจากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ได้ถูกบัญญัติแล้ว แก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น

อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ แห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็น อย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี จักถูกบัญญัติแก่หมู่แห่งธรรมเหล่านั้น

อานนท์ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เหล่าใด เป็นสิ่งเกิดอยู่แล้ว ปรากฏอยู่แล้ว กฎแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี กฎแห่งความ เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่แห่งธรรม เหล่านั้น

อานนท์ ! เธอ เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงตอบแก่เขาอย่างนี้เถิด

(แบบย่อ)
อานนท์ !
กฎแห่ง
ความบังเกิดขึ้น ก็ดี
กฏแห่ง ความเสื่อมไป ก็ดี
กฎแห่ง ความเสื่อมไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี
ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่ธรรมเหล่าใดเล่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
... เหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรานไปแล้ว....
... เหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฎ.....
...เหล่าใด เป็นสิ่งที่เกิดอยู่แล้ว ปรากฎแล้ว....
กฏแห่งความบังเกิดขึ้นก็ดี กฎแห่งความเสื่อมไปก็ดี
กฎแห่งความเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น จากที่เป็นอยู่แล้วก็ดี

ย่อมถูกบัญญัติอยู่ แก่หมู่ธรรมเหล่านั้น ดังนี้

ดูคลิป สังขต อสังขต

.................................................................................................................................................................

สังขต อสังขต
1 เกิดปรากฎ
(อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
1 เกิดไม่ปรากฎ
(น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
2 เสื่อมปรากฎ
(วโย ปญฺญายติ)
2 เสื่อมไม่ปรากฏ
(น วโย ปญฺญายติ)
3 เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ
(ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)
3 เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ
(น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ อย่าง
๑. มีการเกิดปรากฏ (อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
๒. มีการเสื่อมปรากฏ (วโย ปญฺญายติ)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
(น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 224
4)
การถูกตราหน้าเพราะอนุสัย
*ในขันธ์ 5


ภิกษุ ! เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ (ว่าถ้ามีอนุสัย*ในสิ่งใด จะถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น) ได้โดยพิสดารอย่างถูกต้องแล้ว

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัย*ใน รูป
เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน รูป นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน เวทนา
เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน เวทนา นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัย ในสัญญา
เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน สัญญา นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย
เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน สังขารทั้งหลาย นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ
เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะอนุสัย ซึ่งเข้าไปมีใน วิญญาณ นั้น
.................................................................................................................................................................
* อนุสัย ในที่นี้ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย และ อวิชชานุสัย เป็นต้น และ เขา จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนกำหนัดแล้ว ด้วยกามราคานุสัย หรือเป็นคนโกรธแล้วด้วย ปฏิฆานุสัย หรือว่าเป็นคนหลงแล้วด้วยอวิชชานุสัย ในเพราะรูปเป็นต้น ดังนี้
...................................................................................................................................................................

(ปฏิปักขนัย) ในทางตรงกันข้าม
ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน รูป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน รูป นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน เวทนา เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน เวทนา นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน สัญญา เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน สัญญา นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน สังขารทั้งหลาย นั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะอนุสัยซึ่งเข้าไปมีใน วิญญาณ นั้นเลย

ภิกษุ ! เนื้อความแห่งภาษิตอันเรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ ใครๆพึงเห็นโดยพิสดาร ดังนี้เถิด



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 226
5)
การถูกตราหน้าเพราะตายตามขันธ์ 5


ถูกแล้ว ภิกษุ ! ถูกแล้ว ภิกษุ ! เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวโดยย่อ (ว่าถ้ามีอนุสัยในสิ่งใด ย่อมตายไปตามสิ่งนั้น ตายตามสิ่งใดไปย่อมถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น) ได้โดยพิสดาร อย่างถูกต้องแล้ว

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมี อนุสัย (ยึดถือเคยชิน) ใน รูป เขาย่อมตายไปตามรูปนั้น ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน เวทนา เขาย่อมตายไปตามเวทนานั้น ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน สัญญา เขาย่อมตายไปตามสัญญานั้น ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย เขาย่อมตายไปตามสังขารนั้น ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตเข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ เขาย่อมตายไปตามวิญญาณนั้น ตายตาม สิ่งใดไป เขาย่อมถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

(ปฏิปักขนัย) ในทางตรงกันข้าม

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน รูป เขาย่อมไม่ตายไปตามรูปนั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน เวทนา เขาย่อมไม่ตายไปตามเวทนานั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน สัญญา เขาย่อมไม่ตายไปตามสัญญานั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้าเพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปอนุสัยใน สังขารทั้งหลาย เขาย่อมไม่ตายไปตาม สังขารนั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! ถ้าบุคคลมีจิตไม่เข้าไปมีอนุสัยใน วิญญาณ เขาย่อมไม่ตายไปตามวิญญาณนั้น ไม่ตายตามสิ่งใดไป เขาย่อมไม่ถูกตราหน้า เพราะสิ่งนั้น

ภิกษุ ! เนื้อความแห่งภาษิตอันเรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ ใคร ๆพึงเห็นโดยพิสดาร ดังนี้เถิด



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 227
6)
สัญโญชน์และที่ตั้งแห่งสัญโญชน์

(ความยึดถือหรือเครื่องร้อยรัดจิต)

ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ (สญฺโญชนิยธมฺม) และตัวสัญโญชน์ พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น

ภิกษุ ท. ! สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ เป็นอย่างไร ?
และ ตัวสัญโญชน์ เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ! รูป (กาย) เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะ(ความกำหนัดเพราะพอใจ) ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น ฉันทราคะนั้น คือตัวสัญโญชน์ในรูปนั้น

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทราคะนั้น คือตัวสัญโญชน์ ในเวทนานั้น

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน์ ในสัญญานั้น

ภิกษุ ท. ! สังขาร ทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใด เข้าไปมีอยู่ใน สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทราคะนั้น คือตัวสัญโญชน์ ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะใดเข้าไปมีอยู่ในวิญญาณ นั้น ฉันทราคะนั้น คือ ตัวสัญโญชน์ ในวิญญาณนั้น

ภิกษุ ท. ! ขันธ์เหล่านี้ เรียกว่า สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสัญโญชน์ ฉันทราคะนี้เรียกว่า ตัวสัญโญชน์ แล

(ในสูตรอื่นทรงแสดง สัญโญชนิยธรรม ด้วยอายตนะภายในหก (๑๘/๑๑๐/๑๕๙) และอายตนะภายนอกหก)



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 228
7)
ความลับของขันธ์ 5


ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก อัสสาทะ (รสอร่อย) ของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขารทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่ แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีนักในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เหล่านี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่อัสสาทะของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขาร ทั้งหลายก็ดีและของวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนัก ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ

ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก อาทีนพ (โทษ) ของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขาร ทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่ แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ เบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลายและในวิญญาณ เหล่านี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่อาทีนพของรูปก็ดี ของเวทนาก็ดี ของสัญญาก็ดี ของสังขาร ทั้งหลายก็ดี และของวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลายและในวิญญาณ

ภิกษุ ท. ! ถ้าหาก นิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้นไปได้) จากรูปก็ดีจากเวทนาก็ดี จากสัญญาก็ดี จากสังขารทั้งหลายก็ดี และจากวิญญาณก็ดีเหล่านี้ จักไม่ได้มีอยู่ แล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่ออกไปพ้นได้จากรูปจากเวทนา จากสัญญา จากสังขารทั้งหลาย และจากวิญญาณ เหล่านี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ นิสสรณะจากรูปก็ดี จากเวทนาก็ดี จากสัญญาก็ดี จากสังขาร ทั้งหลายก็ดี และจากวิญญาณก็ดี มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงออกไปพ้นได้จากรูป จากเวทนา จากสัญญา จากสังขารทั้งหลาย และจากวิญญาณ ดังนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 230
8)
ขันธ์ 5 เนื่องด้วยปัจจัยแห่งความเศร้าหมองและบริสุทธิ์


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปะได้กล่าวอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความ เศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมองโดย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย และ เหตุ ม่มีปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้โดย ไม่มี เหตุไม่มีปัจจัยดังนี้ในเรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอย่างไร ? พระเจ้าข้า ! ”

มหลิ ! เหตุมีปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจัก เศร้าหมอง เพราะมีเหตุมีปัจจัย

มหลิ ! และเหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธ์ิของ สัตว์ทั้งหลายสัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธ์ิได้ เพราะมีเหตุ มีปัจจัย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เหตุปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร? และสัตว์ทั้งหลาย จักเศร้าหมองเพราะมีเหตุมีปัจจัยอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”


มหลิ ! ถ้าหากรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดีและวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักได้เป็นทุกข์โดยถ่ายเดียว อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุข เสียเลยไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่กำหนัดยินดีนักในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ทั้งหลาย และในวิญญาณเหล่านี้

มหลิ ! แต่เพราะเหตุที่ (ตามความรู้สึกของสัตว์ผู้ยังไม่รู้ตามเป็นจริง) รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดี และวิญญาณก็ดี ยังนำมาซึ่งความสุขอันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์ก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงกำหนัดยินดีนัก ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เพราะความกำหนัด ยินดี จึงพัวพันอยู่ในมัน เพราะความพัวพัน จึงเศร้าหมองรอบด้าน

มหลิ ! สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเศร้าหมองเพราะมีเหตุ มีปัจจัย โดยลักษณะเช่นนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ก็เหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร?และสัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ เพราะมีเหตุมีปัจจัยอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า!”

มหลิ ! ถ้าหากรูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดีและวิญญาณก็ดี เหล่านี้ จักได้ มีสุขโดยถ่ายเดียว อันสุขตามสนอง หยั่งลงสู่ความสุข ไม่หยั่งลงสู่ความทุกข์ เสียเลยไซร้ สัตว์ทั้งหลาย ก็จะไม่เบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ เหล่านี้

มหลิ ! แต่เพราะเหตุที่ รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลายก็ดีและวิญญาณ ก็ดี เป็นทุกข์ อันทุกข์ตามสนอง หยั่งลงสู่ความทุกข์ ไม่หยั่งลงสู่ความสุข ก็มีอยู่ สัตว์ทั้งหลาย จึงเบื่อหน่าย ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และใน วิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมบริสุทธ์ิได้

มหลิ ! สิ่งเหล่านี้แหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ได้ เพราะมีเหตุมีปัจจัย โดยลักษณะเช่นนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 232
9)
ขันธ์ 5 เป็นธรรมฝ่ายที่แตกสลายได้


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดง สิ่งซึ่งแตกสลายได้ และ สิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้ พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น

ภิกษุ ท.! สิ่งซึ่งแตกสลายได้ เป็นอย่างไร ? และสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือเป็นที่สงบระงับ และ เป็นที่ เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของรูป นั้น นั่นคือสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบระงับ และเป็น ที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของเวทนานั้น นั่นคือสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบระงับ และเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของสัญญานั้น นั่นคือสิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นท ี่สงบ ระงับ และเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของสังขารทั้งหลายเหล่านั้น นั่นคือสิ่งซึ่ง แตกสลายไม่ได้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นสิ่งซึ่งแตกสลายได้ ส่วนธรรมเป็นที่ดับไม่เหลือ เป็นที่สงบ ระงับ และเป็นที่เข้าไปตั้งอยู่ไม่ได้ ของวิญญาณนั้น นั่นคือ สิ่งซึ่งแตกสลายไม่ได้ ดังนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 233
10)
ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า สมุทยธรรมสมุทยธรรม (มีความก่อขึ้นเป็น ธรรมดา) ดังนี้ ก็สมุทยธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า ! ”

ราธะ ! รูป เป็นสมุทยธรรม เวทนา เป็นสมุทยธรรม สัญญาเป็นสมุทยธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นสมุทยธรรม และวิญญาณเป็นสมุทยธรรม แล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า วยธรรมวยธรรม (มีความเสื่อมเป็นธรรมดา)ดังนี้ก็ วยธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !

ราธะ ! รูป เป็นวยธรรม เวทนา เป็นวยธรรม สัญญา เป็นวยธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นวยธรรม และวิญญาณ เป็นวยธรรม แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า นิโรธธรรมนิโรธธรรม (มีความดับเป็นธรรมดา) ดังนี้ก็นิโรธธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !


ราธะ ! รูป เป็นนิโรธธรรม เวทนาเป็นนิโรธธรรม สัญญาเป็นนิโรธธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นนิโรธธรรม และวิญญาณเป็นนิโรธธรรม แล.

ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็น อนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า“นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ แล

เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็ไม่เที่ยง

ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูปก็ไม่เที่ยง รูป ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็ไม่เที่ยง เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สัญญา ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสัญญาก็ไม่เที่ยง สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสังขาร ทั้งหลาย ก็ไม่เที่ยง สังขารที่เกิดจากเหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยง ได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง วิญญาณ ที่เกิดจากเหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 236

11)
ขันธ์ 5 เป็นทุกข์


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่าทุกข์ทุกข์ดังนี้ทุกข์นั้นเป็นอย่างไรเล่า?พระเจ้าข้า !

ราธะ ! รูป เป็นทุกข์ เวทนา เป็นทุกข์ สัญญา เป็นทุกข์ สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ และวิญญาณ เป็นทุกข์ แล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่าทุกขธรรมทุกขธรรม (มีทุกข์เป็นธรรมดา) ดังนี้ ก็ทุกขธรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !

ราธะ ! รูป เป็นทุกขธรรม เวทนา เป็นทุกขธรรม สัญญา เป็นทุกข์ธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นทุกขธรรม และวิญญาณ เป็นทุกขธรรม แล.

ภิกษุ ท. ! รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา) ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนาเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา พึงเห็น สิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็น สิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น อนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่น ไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่ใช่เรา นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 238
12)
เหตุปัจจัยของ ขันธ์ 5 ก็เป็นทุกข์


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูป ก็เป็นทุกข์ รูป ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้ว จักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็เป็นทุกข์ เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้วจักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสัญญา ก็เป็นทุกข์ สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้วจักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสังขาร ทั้งหลาย ก็เป็นทุกข์ สังขาร ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้ว จักเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นทุกข์ ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็เป็นทุกข์ วิญญาณ ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นทุกข์แล้วจักเป็นสุขได้อย่างไร



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 239
13)
ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา บุคคลพึงเห็นรูปนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นเวทนานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นสัญญานั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา(เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโสอตฺตา) ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอนัตตา บุคคล พึงเห็นวิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 240
14)
ขันธ์
ไม่เป็นไปตามความต้องการของเรา

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้ารูป จักเป็นอัตตาแล้วไซร้รูปนี้ ก็ไม่พึงเป็นไป เพื่ออาพาธ (ความถูกเบียดเบียนด้วยโรคเป็นต้น) อนึ่งสัตว์จะพึงได้ในรูปตามปรารถนาว่า รูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ รูปเป็นอนัตตารูป จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ย่อมไม่ได้ ในรูป ตามปรารถนาว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้น เลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าเวทนา จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ เวทนานี้ ก็ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์จะพึงได้ในเวทนาตามปรารถนาว่า ‘เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย’ ดังนี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ เวทนา เป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ ย่อมไม่ได้ในเวทนาตามปรารถนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดเวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าสัญญา จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สัญญานี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ จะพึงได้ในสัญญาตามปรารถนาว่า สัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ สัญญา เป็นอนัตตาสัญญา จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ย่อมไม่ได้ในสัญญาตามปรารถนาว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดสัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าสังขารทั้งหลายจักเป็นอัตตา แล้วไซร้ สังขารทั้งหลายเหล่านี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่งสัตว์ จะพึงได้ในสังขาร ทั้งหลาย ตามปรารถนาว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลาย ของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา สังขารทั้งหลายจึงเป็นไป เพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ ย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลาย ตามปรารถนาว่า สังขารทั้งหลาย ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท. ! ถ้าวิญญาณ จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ จะพึงได้ในวิญญาณตามปรารถนาว่า ‘วิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! แต่เพราะเหตุที่ วิญญาณเป็นอนัตตาวิญญาณ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ อนึ่ง สัตว์ ย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามปรารถนาว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิดวิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ รูป ชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคต หรือ ปัจจุบัน ก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลว หรือ ประณีตก็ตาม มีในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม รูปทั้งปวงนั้น อันใคร ๆพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโสอตฺตา) ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็น ภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกล
หรือใกล้ก็ตาม เวทนาทั้งปวงนั้น อันใคร ๆ พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา นั่นไม่ใช่เรานั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือ ภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม สัญญาทั้งปวงนั้น อันใคร ๆพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตามเลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกล หรือ ใกล้ก็ตาม สังขารทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น อันใครๆ พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายใน หรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกล หรือใกล้ก็ตาม วิญญาณทั้งปวงนั้น อันใครๆพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา) ดังนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 243

15)
สิ่งใดมิใช่ของเรา


ภิกษุ ท. ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่า มิใช่ของพวกเธอ?

ภิกษุ ท. ! รูป มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! เวทนา มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละเวทนานั้นเสีย เวทนานั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! สัญญา มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสัญญานั้นเสีย สัญญานั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสังขารทั้งหลาย เหล่านั้น เสีย สังขารทั้งหลายเหล่านั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน

ภิกษุ ท. ! พวกเธอจะสำคัญ ความข้อนี้ว่าอย่างไร ? คือข้อที่หญ้าไม้ กิ่งไม้และใบไม้ ใดๆ มีอยู่ ในเชตวันนี้เมื่อคนเขาขนเอามันไปก็ตามเผาเสียก็ตาม หรือกระทำ ตามความ ต้องการ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม พวกเธอเคยเกิด ความคิดอย่างนี้ บ้าง หรือไม่ ว่า คนเขาขนเอาเราไปบ้าง เขาเผาเราบ้าง เขาทำแก่เราตามความ ปรารถนาของเขาบ้าง ดังนี้? “ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !

” ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? “เพราะเหตุว่านั่นหาได้เป็นตัวตนหรือของเนื่อง ด้วยตัวตน ของ ข้าพระองค์ไม่พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น คือ สิ่งใด มิใช่ของพวกเธอ พวกเธอจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้น อันพวกเธอละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเธอเอง ตลอดกาลนาน แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 245
16)
เหตุปัจจัยของ ขันธ์ 5 ก็เป็นอนัตตา


ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูป ก็เป็นอนัตตา
รูป ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็เป็นอนัตตา
เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของสัญญา ก็เป็นอนัตตา
สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้วจักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัยเพื่อการบังเกิดขึ้นของสังขารทั้งหลาย ก็เป็นอนัตตา
สังขาร ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นอนัตตา
ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็เป็นอนัตตา
วิญญาณ ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันเป็นอนัตตาแล้ว จักเป็นอัตตาได้อย่างไร แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 246
17)
ขันธ์ 5 เป็นภาระที่หนัก


ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงภาระ (ของหนัก)... แก่พวกเธอ
เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น. ภิกษุ ท. ! อะไรเล่า เป็นของหนัก ?

ภิกษุ ท. ! อุปาทานขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก.
ห้าอย่างเหล่าไหนเล่า ? ห้าอย่างคือ

ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร
และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ

ภิกษุ ท. ! นี้ เราเรียกว่า ของหนัก แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 246
18)
ขันธ์ 5 เป็
นทั้งผู้ฆ่า และผู้ตาย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนกล่าวกันว่า มารมาร ดังนี้, เขากล่าวกันว่า มารเช่นนี้มีความหมายเพียงไรพระเจ้าข้า ?

ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) รูป มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) เวทนา มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) สัญญา มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) สังขารทั้งหลาย มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตาย ก็จะมี
ราธะ ! เมื่อ (ความยึดถือใน) วิญญาณ มีอยู่ มารก็จะมี ผู้ให้ตายก็จะมี หรือผู้ตายก็จะมี

ราธะ ! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ เธอ พึงเห็นรูปก็ดี เวทนาก็ สัญญาก็ดี สังขารทั้งหลาย ก็ดี และวิญญาณก็ดี ว่าเป็นมาร ว่าเป็นผู้ให้ตาย ว่าผู้ตายว่าโรค ว่าหัวฝี ว่าลูกศร ว่าทุกข์ และว่าทุกข์ที่เกิดแล้ว บุคคลเหล่าใดเห็นขันธ์ทั้งห้าในลักษณะเช่นนี้ บุคคลเช่นนั้น ชื่อว่า เห็นอยู่โดยชอบ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 247
19)
ขันธ์ 5 เป็นกองถ่านเถ้ารึง

(เถ้ารึง หมายถึงกองเถ้าที่ยังร้อนระอุ)

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นกองถ่านเถ้ารึง เวทนา เป็นกองถ่านเถ้ารึง สัญญา เป็นกองถ่าน เถ้ารึง สังขารทั้งหลาย เป็นกองถ่านเถ้ารึง และ วิญญาณ เป็นกองถ่านเถ้ารึง

ภิกษุ ท. ! สาวกของพระอริยเจ้า ผู้ได้ยินได้ฟัง เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่าย แม้ ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน สังขาร ทั้งหลาย และย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 248
20)
ขันธ์ 5 เป็นเครื่องผูกพันสัตว์


ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยิน ได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาด ในธรรม ของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระ-อริยเจ้า ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมตามเห็นพร้อม (คือเห็นดิ่งอยู่เป็นประจำ) ซึ่งรูป โดยความเป็นตน หรือตามเห็น พร้อม ซึ่งตน ว่ามีรูป หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตนหรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในรูป บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม
ซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตน ว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในเวทนา บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม
ซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขารทั้งหลาย บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม
ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามี วิญญาณ หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ ว่ามีอยู่ในตนหรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ ในวิญญาณ บ้าง

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟังนี้ เราเรียกว่า
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือรูปบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือเวทนาบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือสัญญาบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือสังขารทั้งหลายบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือวิญญาณบ้าง

เป็นผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน ทั้งภายในและภายนอก
เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งนี้ (คือวัฏฏสงสาร)
เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งโน้น (คือนิพพาน)
เกิด
อยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน
แก่ อยู่อย่างผู้มีเครื่อง ผูกพัน
ตาย อยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน
จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 249
21)
เรียกกันว่า
สัตว์เพราะติดขันธ์ 5

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนกล่าวกันว่า สัตว์สัตว์ดังนีเขากล่าวกันว่า สัตว์เช่นนี้มีความหมายเพียงไร? พระเจ้าข้า!”

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน)ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใด ๆ มีอยู่ ในรูป สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะ เป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า“สัตว์ (ผู้ข้องติด)” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา
สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา
สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย
สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น
จึงถูกเรียกว่าสัตว์ดังนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 251
22)
ไม่รู้จัก ขันธ์ 5 ชื่อว่ามีอวิชชา


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! คนกล่าวกันว่าอวิชชาอวิชชาดังนี้. ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร? และ บุคคลชื่อว่า มีอวิชชาด้วยเหตุเพียงไรเล่า? พระเจ้าข้า ! ”

ภิกษุ ! ในโลกนี้ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง

ย่อมไม่รู้จักรูป
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของรูป
ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของรูป
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของรูป

เขาย่อมไม่รู้จักเวทนา
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของเวทนา
ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา

เขาย่อมไม่รู้จักสัญญา
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสัญญา
ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของสัญญา
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของสัญญา

เขาย่อม ไม่รู้จักสังขารทั้งหลาย
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของสังขารทั้งหลาย
ไม่รู้จักความดับ ไม่เหลือ ของสังขารทั้งหลาย
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ ของสังขาร ทั้งหลาย

และเขาย่อม ไม่รู้จักวิญญาณ
ไม่รู้จักเหตุให้เกิดของวิญญาณ
ไม่รู้จักความดับไม่เหลือของวิญญาณ
ไม่รู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของวิญญาณ

ภิกษุ ! ความไม่รู้นี้เราเรียกว่า อวิชชา
และบุคคลชื่อว่ามีอวิชชาด้วยเหตุ มีประมาณ เท่านี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 251
23)
เพลินในขันธ์เท่ากับเพลินในทุกข์


ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในรูป
ผู้นั้น เท่ากับ เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลิน อยู่ในเวทนา
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสัญญา
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์.
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสังขารทั้งหลาย
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็น ทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ ในวิญญาณ
ผู้นั้น เท่ากับเพลิดเพลินอยู่ ในสิ่งที่เป็นทุกข์
เรากล่าวว่า “ผู้ใด เพลิดเพลินอยู่ในสิ่งที่เป็นทุกข์
ผู้นั้น ย่อมไม่หลุดพ้นไปได้จากทุกข์” ดังนี้ แล



อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) หน้า 252
24)
ต้องละฉันทราคะ ในขันธ์


ภิกษุ ท. ! สิ่งใดไม่เที่ยง พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ*ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าไม่เที่ยง ?
ภิกษุ ท. ! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง และวิญญาณไม่เที่ยง พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ*ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่ไม่เที่ยงพวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นแหละ

ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นทุกข์ พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นทุกข์ ?
ภิกษุ ท. ! รูปเป็นทุกข์ เวทนาเป็นทุกข์ สัญญาเป็นทุกข์ สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ และวิญญาณเป็นทุกข์ พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็นทุกข์ พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นแหละ

ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นอนัตตา พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้น ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นอนัตตา ?
ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา เวทนา เป็นอนัตตา สัญญา เป็นอนัตตา สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา และวิญญาณ เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้น
ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละ ฉันทราคะ ในสิ่งนั้นแหละ
* (ฉันทราคะ คือ ความกำหนัดเพราะพอใจ)


 



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์