เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  มหาเวทัลลสูตร การสนทนาธรรม ระหว่าง ท่านพระมหาโกฏฐิกะ กับ ท่านพระสารีบุตร 591
 
คัดย่อจากพระสูตรเต็ม 362

มหาเวทัลลสูตร การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
ระหว่างพระมหาโกฏฐิกะ(พราหมณ์) กับ ท่านพระสารีบุตร
1) เรื่องปัญญา กับ วิญญาณ
2) เรื่อง เวทนา สัญญา และ วิญญาณ
3) เรื่องประโยชน์แห่งปัญญา และ เหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ
4) เรื่องภพ และ ฌาน
5) เรื่องอินทรีย์ ๕
6) เรื่องปัจจัย เจโตวิมุติ
 
 

 

 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๗๙  ข้อที่ ๔๙๓ – ๔๙๔

(คัดย่อ) มหาเวทัลลสูตร การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

ระหว่าง ท่านพระมหาโกฏฐิกะ(พราหมณ์) * กับ ท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่
*(พระไตรปิฏกบางฉบับเขียนเป็น พระมหาโกฏฐิตะ)
*(เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔)

1) เรื่องปัญญา กับ วิญญาณ

พระมหาโกฏฐิตะ .. บุคคลมีปัญญาทราม เป็นอย่างไร
พระสารีบุตร.... บุคคลไม่รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ นิโรธคามินีปฏิปทา (อริยสัจสี่)

พระมหาโกฏฐิตะ .. บุคคลมีปัญญา หมายความว่าอย่างไร
พระสารีบุตร.... บุคคลผู้รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ นิโรธคามินีปฏิปทา (อริยสัจสี่)

พระมหาโกฏฐิตะ ..  วิญญาณคืออะไร
พระสารีบุตร... วิญญาณคือธรรมชาติที่รู้แจ้ง รู้แจ้งว่านี้สุข นี้ทุกข์ นี้มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข

พระมหาโกฏฐิตะ ..  ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ปะปนกันหรือแยกจากกัน
พระสารีบุตร....  ปัญญาและวิญญาณ ปะปนกัน ไม่แยกจากกัน ปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณ ก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น

พระมหาโกฏฐิตะ ..  ปัญญา กับ วิญญาณทำหน้าที่กันอย่างไร
พระสารีบุตร....  ปัญญาและวิญญาณ ธรรม ๒ ประการนี้ ปะปนกันไม่แยกจากกัน แต่ ปัญญาควรเจริญ วิญญาณควรกำหนดรู้ นี่เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้.



2) เรื่อง เวทนา สัญญา และ วิญญาณ

พระมหาโกฏฐิตะ ..  เวทนาคืออะไร
พระสารีบุตร....ธรรมชาติที่รู้ๆ รู้อะไร รู้สุขบ้าง รู้ทุกข์บ้าง รู้สิ่งที่มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง

พระมหาโกฏฐิตะ ..  สัญญาคืออะไร
พระสารีบุตร....  ธรรมชาติที่จำๆ สัญญา จำอะไร จำสีเขียวบ้าง จำสีเหลืองบ้าง จำสีแดงบ้าง จำสีขาวบ้าง

พระมหาโกฏฐิตะ..เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ปนกันหรือแยกกัน พระสารีบุตร... เวทนา สัญญา และวิญญาณ ธรรม ๓ ประการนี้ปะปนกัน ไม่แยกกัน                      เพราะเวทนา รู้ สิ่งใด... สัญญาก็ จำ สิ่งนั้น
                     สัญญา จำ สิ่งใด... วิญญาณก็ รู้แจ้ง สิ่งนั้น


พระมหาโกฏฐิตะ .. พระโยคาวจร(ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร) มีมโนวิญญาณ (จิตอัน สัมปยุตด้วย รูปาวจรฌานที่ ๔) อันสละแล้ว อันบริสุทธิ์จากอินทรีย์ ๕ พึงรู้สิ่งอะไร
พระสารีบุตร....พระโยคาวจรมีมโนวิญญาณอันสละแล้ว อันบริสุทธิ์ จากอินทรีย์ ๕
                   พึงรู้ อากาสานัญจายตนฌาน ว่า อากาศหาที่สุดมิได้
                   พึงรู้ วิญญาณัญจายตนฌาน ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
                   พึงรู้ อากิญจัญญายตนฌาน ว่า น้อยหนึ่งมิได้มี



3) เรื่องประโยชน์แห่งปัญญา และ เหตุเกิดสัมมาทิฏฐิ

พระมหาโกฏฐิตะ ...พระโยคาวจร ย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยอะไร?
พระสารีบุตร....  พระโยคาวจร ย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ

พระมหาโกฏฐิตะ...ปัญญา มีอะไรเป็นประโยชน์?
พระสารีบุตร....  มีความรู้ยิ่ง เป็นประโยชน์
                       มีความกำหนดรู้ เป็นประโยชน์
                       มีความละ เป็นประโยชน์.

พระมหาโกฏฐิตะ ... ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ  คืออะไร
พระสารีบุตร....       ๑. ความได้สดับแต่บุคคลอื่น
                           ๒. ความทำในใจโดยแยบคาย

พระมหาโกฏฐิตะ ... สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม เท่าไร อนุเคราะห์แล้ว?
พระสารีบุตร....  สัมมาทิฏฐิ
                       มี เจโตวิมุติ เป็นผล และมี เจโตวิมุติ เป็นอานิสงส์ ด้วย
                       มี ปัญญาวิมุติ เป็นผล และมี ปัญญาวิมุติ เป็นอานิสงส์ ด้วย
                       อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ
                       อัน ศีล อนุเคราะห์แล้ว ๑
                       อัน สุตะ อนุเคราะห์ แล้ว ๑
                       อัน สากัจฉา อนุเคราะห์ แล้ว ๑
                       อัน สมถะ อนุเคราะห์แล้ว ๑
                       อัน วิปัสสนา อนุเคราะห์แล้ว ๑
(สัมมาทิฐิสมบูรณ์ --> ได้เจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นอานิสสงส์)
(เจโตวิมุตติสมบูรณ์แล้ว-->ได้ปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นอานิสสงส์)

(สัมมาทิฐิ --> มี ศีล สุตตะ การสนทนา สมถะ วิปีสสนา เป็นพื้นฐาน)



4) เรื่องภพ และ ฌาน

พระมหาโกฏฐิตะ ...ภพมีเท่าไร?
พระสารีบุตร....      ภพมี ๓ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

พระมหาโกฏฐิตะ ...ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต มีได้อย่างไร?
พระสารีบุตร ..... ความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่อง กีดกัน มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ความเกิดในภพใหม่ในอนาคตมีได้อย่างนี้.

พระมหาโกฏฐิตะ... ความเกิดในภพใหม่ในอนาคต จะไม่มีอย่างไร?
พระสารีบุตร...       ๑. เพราะความ สิ้นแห่งอวิชชา
                           ๒. เพราะความ เกิดขึ้นแห่งวิชชา
                     
     ๓. เพราะความ ดับแห่งตัณหา

พระมหาโกฏฐิตะ... ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฐมฌาน เป็นไฉน?
พระสารีบุตร ....   ดูกรท่านผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
                         สงัดจากกาม
                         สงัดจากอกุศลธรรม
                         บรรลุปฐมฌาน
                         มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
                         ฌานนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าปฐมฌาน

พระมหาโกฏฐิตะ ...ปฐมฌาน มีองค์เท่าไร?
พระสารีบุตร .... ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก.. วิจาร.. ปีติ.. สุข.. เอกัคคตา*
* (มีอารมณ์เดียว)

พระมหาโกฏฐิตะ .. ปฐมฌานละองค์เท่าไร ประกอบด้วยองค์เท่าไร?(ต้องละอะไร)
พระสารีบุตร ....     ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ (นิวรณ์ ๕)
                          ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้า ปฐมฌาน
                          ๑. ละกามฉันท์ได้แล้ว
                          ๒. ละพยาบาทได้แล้ว
                          ๓. ละถีนมิทธะได้แล้ว (ท้อแท้ เบื่อ ง่วง ขี้เกียจ ไม่กระตือรือล้น)
                          ๔. ละอุทธัจจ กุกกุจจะได้แล้ว (จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ)
                          ๕. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว (ความลังเล สงสัยในบทธรรม) มีวิตก วิจาร 
                             ปีติ สุข มีเอกัคคตา



5) เรื่องอินทรีย์ ๕

พระมหาโกฏฐิตะ ... อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์  ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ (ตา หู จมูกลิ้นกา) มีวิสัยต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่รับรู้วิสัย อันเป็นโคจร ของกันและกัน จะมีอะไรเป็นที่อาศัย และธรรมอะไรรับรู้วิสัย อันเป็นโคจร แห่งอินทรีย์ เหล่านั้น?
พระสารีบุตร ... มีใจเป็นที่อาศัย ใจย่อมรับรู้วิสัย อันเป็นโคจรแห่ง อินทรีย์เหล่านั้น

พระมหาโกฏฐิตะ ... อินทรีย์ ๕ ประการ ตา หู จมูก ลิ้น กา อาศัยอะไรตั้งอยู่?
พระสารีบุตร....  อาศัยอายุ (ชีวิตินทรีย์) ตั้งอยู่

พระมหาโกฏฐิตะ ... อายุ อาศัยอะไรตั้งอยู่?
พระสารีบุตร .... อายุ อาศัยไออุ่น (ไฟที่เกิดแต่กรรม) ตั้งอยู่ (ไออุ่น คือ กรรม)

พระมหาโกฏฐิตะ .. ไออุ่น อาศัยอะไรตั้งอยู่?
พระสารีบุตร....  ไออุ่น อาศัยอายุตั้งอยู่

(สรุป อินทรีย์ 5 ตั้งอยู่ได้ โดยอาศัย อายุ และอาศัยกรรม หรือไออุ่น)

พระมหาโกฏฐิตะ ... ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของพระสารีบุตรผู้มีอายุ ในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า อายุ อาศัยไออุ่นตั้งอยู่ และว่า ไออุ่นอาศัยอายุตั้งอยู่ แต่ผมจะพึงเห็นความ แห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร?
พระสารีบุตร ... อุปมาเปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัย เปลวปรากฏอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฏอยู่ฉันใด อายุอาศัย ไออุ่น ตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน (แสงสว่างอาศัยเปลวไฟ เปลวไฟก็อาศัย แสงสว่าง)

พระมหาโกฏฐิตะ ... อายุสังขาร (อายุ ชีวิตินทรีย์) กับ เวทนียธรรม(เวทนา) เป็นอันเสมอกัน หรือ ว่าอายุสังขาร กับ เวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง?
พระสารีบุตร ... อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่ใช่อันเดียวกัน (ถ้า) อายุสังขารกับ เวทนียธรรมเป็นอันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุ ผู้เข้าสัญญาเวทยิต นิโรธ ก็ไม่พึงปรากฏ แต่เพราะอายุสังขารกับเวทนียธรรมเป็นคนละอย่าง ฉะนั้น การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงปรากฏอยู่

พระมหาโกฏฐิตะ ... ในเมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา?
พระสารีบุตร ... ในเมื่อธรรม ๓ ประการ คือ อายุ ไออุ่น และวิญญาณ ละกายนี้ไป กายนี้ก็ถูกทอดทิ้ง นอนนิ่ง เหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา

พระมหาโกฏฐิตะ ... สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกันอย่างไร?
พระสารีบุตร ...
- สัตว์ผู้ตายทำกาละไป
มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขาร ดับระงับไป มีอายุ หมดสิ้นไป มีไออุ่นสงบ มีอินทรีย์แตกทำลาย
-
ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตสังขารดับ ระงับไป แต่มีอายุ (ช่วงเวลา) ยังไม่หมดสิ้น มีไออุ่น(กรรม) ยังไม่สงบ มีอินทรีย์ ผ่องใส
สัตว์ผู้ตายทำกาละไป กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความแปลกกัน ฉะนี้.


(ผู้ทำกาละ กายแตกทำลาย แต่ผู้ทำสมาธิกายยังอยู่ แต่สงบนิ่ง หรือระงับไป อายุก็ยังไม่สิ้น กรรมยังไม่สิ้น แต่อินทรีย์ผ่องใส)



6) เรื่องปัจจัย เจโตวิมุติ

พระมหาโกฏฐิตะ..ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็น เจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีเท่าไร?
พระสารีบุตร ... ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง
             ๑. บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
             ๒. เพราะละสุข ละทุกข์ และ
             ๓. ดับโสมนัสโทมนัส ในก่อนเสียได้
             ๔. มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ปัจจัยแห่ง สมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มี ๔ อย่าง ดังนี้แล.

พระมหาโกฏฐิตะ ... ปัจจัยแห่งสมาบัติ ที่เป็น เจโตวิมุติ อันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
พระสารีบุตร ... ปัจจัยแห่งสมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง
             ๑. การไม่ มนสิการถึงนิมิต ทั้งปวง
             ๒. การ มนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต
ปัจจัยแห่ง สมาบัติที่เป็นเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.

พระมหาโกฏฐิตะ..ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ ของ เจโตวิมุติ อันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
พระสารีบุตร ... ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง
             ๑. การ ไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
             ๒. การ มนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต
             ๓. อภิสังขาร (ความกำหนดระยะกาล)ในเบื้องต้น
ปัจจัยแห่งความตั้งอยู่ของเจโตวิมุติ อันไม่มีนิมิต มี ๓ อย่าง ดังนี้แล.

พระมหาโกฏฐิตะ ... ปัจจัยแห่งความออก ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มีเท่าไร?
พระสารีบุตร ... ปัจจัยแห่งความออก ของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง
             ๑. การ มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
             ๒. การ ไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุอันไม่มีนิมิต
ปัจจัยแห่ง ความออกของเจโตวิมุติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง ดังนี้แล.

พระมหาโกฏฐิตะ .. เจโตวิมุติมีอารมณ์ไม่มีประมาณ เจโตวิมุติมีอารมณ์ ว่าไม่มีอะไรๆ เจโตวิมุติมีอารมณ์อันว่าง เจโตวิมุติมีอารมณ์อันไม่มีนิมิตธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกันต่างกันแต่เพียง พยัญชนะเท่านั้น?
พระสารีบุตร.... เจโตวิมุติมีอารมณ์ ไม่มีประมาณ
                      เจโตวิมุติมีอารมณ์ ไม่มีอะไรๆ
                      เจโตวิมุติมีอารมณ์ อันว่าง
                      เจโตวิมุติมีอารมณ์ อันไม่มีนิมิต
ปริยายที่บ่งว่าธรรม เหล่านี้ มีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันก็มี และปริยายที่ บ่งว่า ธรรมเหล่านี้ มีอรรถอย่าง เดียวกันต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นก็มี.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์