พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า 274
เพราะการเกิด เป็นเหตุให้พบกับ ความทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ย่อมมีได้ เพราะการประชุม พร้อมของสิ่ง ๓ อย่าง
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันแต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และ คันธัพพะ (สัตว์ที่จะ เข้าไปปฏิสนธิ ในครรภ์ นั้น) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ก่อน
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันและมารดาก็ผ่านการมีระดู แต่ คันธัพพะ(สเปิร์ม) ยังไม่เข้าไป ตั้งอยู่โดยเฉพาะ การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้น ไม่ได้ นั่นเอง
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เมื่อใด มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันด้วย มารดาก็ผ่านการมี ระดู ด้วยคันธัพพะ ก็เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ ด้วยการปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมสำเร็จได้ เพราะการประชุมพร้อมกัน ของสิ่ง ๓ อย่าง ด้วยอาการอย่างนี้
(๓ อย่างคือ ๑.บิดามารดาอยู่ร่วมกัน ๒.มารดาผ่านการมีระดู ๓.มีคันธัพพะ-สเปิร์ม เข้าไปตั้งอยู๋เฉพาะ)
ภิกษุทั้งหลาย ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่าง ใหญ่หลวง เป็นภาระ หนักตลอดเวลา เก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดา ย่อมคลอดบุตรนั้นด้วย ความเป็นห่วงอย่าง ใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตของตนเอง
ภิกษุทั้งหลาย ! ในวินัยของพระอริยเจ้า คำว่า“ โลหิต” นี้ หมายถึงน้ำนมของมารดา
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น เจริญวัยขึ้น มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เล่นของเล่น สำหรับเด็ก เช่น เล่นไถน้อยๆ เล่นหม้อข้าว หม้อแกง เล่นของเล่นชื่อ โมกขจิกะ เล่นกังหันลมน้อยๆ เล่นตวงของด้วย เครื่องตวงที่ทำด้วยใบไม้ เล่น รถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้วมีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อม ด้วยกามคุณ ๕ ให้เขา บำเรออยู่ ทางตาด้วยรูป ทางหู ด้วยเสียง ทางจมูกด้วยกลิ่น ทางลิ้นด้วยรส และทางกายด้วยโผฏฐัพพะ ซึ่งล้วนแต่ เป็นสิ่งที่ปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้ง อาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำหนัด ย้อมใจ และเป็น ที่ตั้ง แห่ง ความรัก
ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยจักษุ เป็นต้นแล้วย่อมกำหนัดยินดีในรูปเป็นต้น ที่ยั่วยวน ให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในรูป เป็นต้น ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ ซึ่งสติ อันเป็นไปในกาย มีใจเป็น อกุศลไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรม อันเป็นบาปอกุศล ทั้งหลาย
กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยเฉพาะ ซึ่งเวทนาใดๆ เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อมเพลิด เพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ
เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น ความเพลิน (นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น
ความเพลินใด ในเวทนาทั้งหลายมีอยู่ ความเพลินอันนั้นเป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัยจึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดมีพร้อม.
ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
พุทธวจน ปฐมธรรม หน้า 278
เหตุแห่งการเกิด “ทุกข์”
ถูกแล้ว ถูกแล้ว อานนท์ ! ตามที่สารีบุตร เมื่อตอบปัญหาในลักษณะนั้น เช่นนั้น ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ
อานนท์ ! ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว เกิดขึ้น (เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม)
ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า ? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัยคือ ผัสสะ
ผู้กล่าว อย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป็นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และ สหธรรมิกบางคนที่กล่าวตาม ก็จะไม่พลอย กลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ ที่กล่าวสอน เรื่องกรรม ทั้ง ๔ พวกนั้น
(๑) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ ตนทำเอาด้วย ตนเอง แม้ความทุกข์ ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็น ปัจจัย จึงเกิดได้
(๒) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่ง ที่ผู้อื่นทำให้ แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้
(๓) สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่ง ที่ตนทำเอาด้วยตนเอง ด้วยผู้อื่น ทำให้ด้วย แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยัง ต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด มีได้
(๔) ถึงแม้สมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่า เป็น สิ่งที่ไม่ใช่ทำเอง หรือใครทำให้ ก็เกิดขึ้นได้ ก็ตาม แม้ความทุกข์ที่พวก เขา บัญญัติ นั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึง เกิดมีได้อยู่นั่นเอง
อานนท์ ! ในบรรดาสมณพราหมณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้ง ๔ พวกนั้น... สมณพราหมณ์พวกนั้น หนาหากเว้นผัสสะเสียแล้ว จะรู้สึกต่อสุขและทุกข์นั้น ได้ดังนั้นหรือ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย...
|