เว็บไซต์ อนาคามี แหล่งเผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

  ความทุกข์ในมหานรก (ยิ่งกว่าถูกแทงด้วยหอกวันละ 300 เล่ม) 202 Next
 
  (โดยย่อ)

ทุกข์ ที่มนุษย์ประสบอยู่ เทียบไม่ได้กับทุกข์ในนรก
อุปมา ทุกข์ของมนุษย์ กับทุกข์ในมหานรก
ถูกแทงด้วยหอกวันละ 300 เล่ม
   เช้า 100 เล่ม
   กลางวัน 100 เล่ม
   เย็น 100 เล่ม
   ตลอดระยะเวลา 100 ปี

   และความเจ็บปวดนี้ เหมือนแค่ก้อนหินก้อนเล็กๆก้อนหนึ่ง ส่วนทุกข์ในมหานรกมีปริมาณมาก เหมือนเขาพระสุเมรุทีเดียว

เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ
  ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้
  เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้
  ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้
  ทางดำเนินให้ถึง ความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 

มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๑/๑๗๑๘.

ความทุกข์ในมหานรก


ความทุกข์เป็นของสากลที่ทุกคนต้องประสบ เพราะเรายังไม่หมดกิเลส แต่ถ้าหาก เป็นความทุกข์ในมหานรกแล้ว เชื่อมั่นได้เลยว่า ไม่มีใครอยากสัมผัส เพราะที่ตรงนั้น จะไม่มีเวลาว่างเว้นจากการทัณฑ์ทรมานเลย เมื่อไปเกิดเป็นสัตวนรก วินาทีแรก ที่ไปเกิดในมหานรก

เหล่านายนิรยบาลที่เกิดด้วยอำนาจกรรม จะปรากฏกาย แล้วทำการลงโทษ สัตว์นรก ทันที โดยไม่มีการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ เป็นสิ่งที่น่าขนพองสยองเกล้า เป็นที่สุด ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าให้กับเหล่าภิกษุฟังใน
พาลบัณฑิตสูตร ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้น ประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เมื่อเขา ตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก สถานที่เหล่านี้ เป็นดินแดนที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ น่าพอใจอะไรเลย เป็นทุกข์ โดยส่วนเดียว
แม้จะเปรียบเทียบ อุปมาถึงความทุกข์ในนรก ก็มิใช่สิ่งที่จะทำได้โดยง่าย"

พระภิกษุรูปหนึ่งจึงทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "พระองค์พอจะอุปมา ความทุกข์ ในนรก ให้ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบบ้างได้ไหม พระเจ้าข้า" พระพุทธองค์ ทรงรับคำ แล้วอธิบายให้ฟังว่า

"เปรียบเสมือนพวกราชบุรุษจับโจรมาได้ โจรนี้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์ พอจับได้แล้ว ตอนเช้าก็นำมาให้ พระราชาพร้อมกับกราบทูลถึงพฤติกรรมของโจรนั้นว่า โจรผู้นี้ คิดร้าย ก่อกบฏ ขอพระองค์ได้ทรงลงโทษ ตามพระราชหฤทัยเถิด พระราชา ทรงรับสั่งว่า ให้เอาหอก 100 เล่ม แทงโจรนี้ให้ทั่วตัว พวกราชบุรุษก็ทำตาม บัญชา พอถึงกลางวันพระราชาตรัสถามว่า โจรกบฏคนนั้นน่ะ ตายแล้วหรือยัง เมื่อได้รับคำตอบว่ายัง ก็รับสั่งให้ เอาหอกมาแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม พวกราชบุรุษ ก็ทำตาม พอตกเย็นยังไม่ตายอีก จึงให้เอาหอกไปแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม รวมเป็น 300 เล่ม โจรก็ยังไม่ตายอยู่ดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจรโดนหอกแทงมากถึง 300 เล่ม จะเจ็บปวดทรมานมาก แค่ไหน"

พวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแค่หอกเล่มเดียว ก็เป็นทุกข์มาก แล้ว จะกล่าวไปไยกับหอกถึง 300 เล่ม" พระบรมศาสดาตรัสต่อว่า

"ความทุกข์จากการถูกหอกแทง 300 เล่ม เมื่อเทียบกับทุกข์ในมหานรกแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย ทุกข์ในนรกเจ็บปวดทรมานมากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า ความทุกข์ของคนที่ถูกหอก 300 เล่มแทง มีปริมาณความเจ็บปวดเหมือนก้อนหิน เล็กๆ ก้อนหนึ่ง แต่ทุกข์ในมหานรกมีปริมาณมากเหมือนเขาพระสุเมรุทีเดียว"

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 99 (ภาคนำ)

การรู้อริยสัจควรแลกเอา แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอก
วันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า “เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เขาจักแทงท่าน ด้วยหอก ร้อยเล่ม ตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็น 

ท่านบุรุษ-ผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ จนมีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี โดยล่วงไปแห่งร้อยปีแล้ว ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ที่ท่านยัง ไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้น และที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น เบื้องต้นและที่สุด แห่งการประหาร ด้วยหอกด้วยดาบด้วยหลาวด้วยขวาน ก็จะไม่ ปรากฏนี้ฉันใด  

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์
กับด้วยโทมนัส ก็หามิได้ แต่เรากล่าว การรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วย สุขกับด้วย โสมนัสทีเดียว 

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้

   
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์