เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ความหมายของอวิชชา-วิชชา นัยยะ 1 2 3 542
 

นัยยะ 1
อวิชชา คือ
(ไม่รู้ในอริยสัจสี่)
           1.1 ความไม่รู้ในทุกข์
           1.2 เหตุให้เกิดทุกข์
           1.3 ความดับแห่งทุกข์
           1.4 หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
         
  (ผู้มีวิชชา คือรู้ชัดในสิ่งเหล่านี้)

นัยยะ 2 อวิชชา คือ
(ขันธ์๕ เกิดขึ้น+เสื่อมไปเป็นธรรมดา)
            2.1 ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งรูป
อันมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา
            2.2 ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งรูป
อันมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดา
            2.3 ย่อมไม่รู้ชัด ซึ่งรูป
อันมีความเกิดขึ้น และเสื่อมไป เป็นธรรมดา
            ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกันกับรูป
           
 (ผู้มีวิชชา คือผู้รู้ชัดในสิ่งเหล่านี้)

นัยยะ 3
อวิชชา คือ
(อริยสัจสี่+ ขันธ์๕)
            3.1 ย่อมไม่รู้ชัด
ซึ่ง รูป
            3.2 ไม่รู้ชัดซึ่ง
เหตุเกิดแห่งรูป
            3.3 ไม่รู้ชัดซึ่ง
ความดับแห่งรูป
            3.4 ไม่รู้ชัดซึ่ง
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป
            ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ทำนองเดียวกัน

           (ผู้มีวิชชา คือผู้รู้ชัดในสิ่งเหล่านี้)

 
 
 


หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 108 109 110

 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๑)

-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๘-๕๓๙/๑๖๙๔-๑๖๙๕.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ ก็อวิชชานั้นเป็นอย่างไร และ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งอวิชชา พระเจ้าข้า 

ภิกษุ. ความไม่รู้ อันใด เป็นความไม่รู้ ในทุกข์ เป็นความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความไม่รู้ ในความดับแห่งทุกข์ และเป็นความไม่รู้ในหนทางให้ถึง ความดับแห่ง ทุกข์ ภิกษุ นี้เรียกว่าอวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ 

ภิกษุ. เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้หนทาง ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า วิชชา วิชชา ดังนี้

ก็ วิชชา นั้นเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง วิชชา พระเจ้าข้า ภิกษุความรู้อันใด เป็น ความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับ แห่งทุกข์ และเป็น ความรู้ในหนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์ 
ภิกษุ. นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุ. เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้เหตุ ให้เกิดทุกข์ นี้ความดับแห่งทุกข์ นี้หนทางให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด.



 ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๒)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๐๙/๓๒๐.


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้
ก็ อวิชชา นั้น เป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง อวิชชา พระเจ้าข้า.

ภิกษุ. ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ แล้วในโลกนี้ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูปอันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ว่ารูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ว่ารูปมี ความเสื่อมไปเป็นธรรมดา 

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา ว่ารูปมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา 

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่ง เวทนา... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา 

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่ง วิญญาณ อันมีความเสื่อมไป เป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเสื่อมไปเป็น ธรรมดา 

ย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริง ซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิด ขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

ภิกษุ. นี้เรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชาด้วยเหตุเพียงเท่านี้ 

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า วิชชา วิชชา ดังนี้
ก็ วิชชา นั้นเป็นอย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา
พระเจ้าข้า ภิกษุ

อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ในกรณีนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา 
ว่ารูปมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งรูป  อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่ารูปมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งรูป อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า รูปมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปเป็นธรรมดา 

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งเวทนา ... ซึ่งสัญญา ... ซึ่งสังขาร ... ซึ่งวิญญาณอันมี ความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาว่า วิญญาณมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา 

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาว่า วิญญาณ มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งวิญญาณ อันมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป เป็นธรรมดาว่าวิญญาณมีความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป เป็นธรรมดา 

ภิกษุ. นี้เรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. 



ความหมายของอวิชชา-วิชชา (นัยที่ ๓)
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๘/๓๐๐-๓๐๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ ก็อวิชชานั้นเป็น อย่างไร และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงเป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่ง อวิชชา พระเจ้าข้า.

ภิกษุ. ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในกรณีนี้
ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป ไม่รู้ชัดซึ่งข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งรูป

ไม่รู้ชัดซึ่งเวทนา ไม่รู้ชัดซึ่งสัญญา
ไม่รู้ชัด ซึ่งสังขาร … ไม่รู้ชัดซึ่งวิญญาณ...
ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่ง ความดับแห่งวิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ.

ภิกษุ.นี้เราเรียกว่า อวิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่กล่าวกันว่า วิชชา วิชชา ดังนี้ ก็วิชชานั้นเป็นอย่างไร. และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึง เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งวิชชา พระเจ้าข้า.

ภิกษุ. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป รู้ชัดซึ่ง ความดับแห่งรูป รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งรูป ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ย่อมรู้ชัด ซึ่ง สัญญา ย่อมรู้ชัด ซึ่งสังขาร ย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งความดับ แห่งวิญญาณ รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า วิชชา และบุคคลเป็นผู้ถึงแล้วซึ่ง วิชชา ด้วยเหตุเพียง เท่านี้.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์