เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ผู้ไม่รู้อริยสัจ ชื่อว่าตกอยู่ในที่มืด  ตกอยู่ในหลุมเพลิง 559
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
ผู้ไม่รู้อยู่ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์....
เขาย่อมยินดีต่อปัจจัยปรุงแต่ง จาก ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ
ที่สร้างการเกิดใหม่ หรือภพใหม่ตลอดเวลา


 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 23-25 


ผู้ไม่รู้อริยสัจ ชื่อว่าตกอยู่ในที่มืด 

ภิกษุ ท. ! บุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตาม ไม่รู้อยู่ตามเป็นจริงว่า “ นี้เป็นทุกข์,  นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือ คือพระโสดาบัน ที่ต้องมีกำเนิดอีก ๗ ชาติ (สัตตักขัตตุปรมัง) อันเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นที่สุด ของจำพวกโสดาบัน. แม้กระนั้นก็ตรัสว่า ทุกข์หมดไปมากกว่าที่ยังเหลือ ของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ” ดังนี้ 

เขาเหล่านั้น ย่อมยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปพร้อม เพื่อ ความเกิด เป็นต้น เขายินดีแล้ว ย่อมสร้างปัจจัยนั้นๆ ขึ้น(เพื่อตนเอง)
ครั้นสร้างแล้วก็ ตกจม ลงสู่ห้วงแห่งความมืด อันกระทำให้เป็นเหมือนตาบอด ได้แก่ความมืดคือ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายความทุกข์ใจ และ ความคับใจ 


ภิกษุ ท. ! บุคคลเหล่านั้น เรากล่าวว่า เขาไม่พ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้น ไปได้เลย ภิกษุ ท. ! ส่วนบุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตามเมื่อรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์. นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้

บุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปพร้อม เพื่อ ความเกิดเป็นต้น เขาผู้ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่สร้างปัจจัยนั้นๆ ขึ้น (เพื่อตัวเอง) ครั้นไม่ก่อสร้าง แล้ว ก็ไม่ตกจมลงสู่ห้วงแห่งความมืด อันกระทำให้เป็นเหมือนตาบอด ได้แก่ความมืด คือความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวว่า เขาพ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้นไปได้ ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่อง กระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความ ดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ” ดังนี้

หน้า25 (ภาคนำ)

ผู้ไม่รู้อริยสัจ ชื่อว่าตกอยู่ในหลุมเพลิงเป็นนิจ 

ภิกษุ ท. ! บุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตาม เมื่อไม่รู้อยู่ตามเป็นจริง ว่า “นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือ ของทุกข์ ”ดังนี้ 

เขาเหล่านั้น ย่อมยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปพร้อม เพื่อความเกิด เป็นต้น เขาผู้ยินดีแล้ว ย่อมสร้างปัจจัยนั้นๆ ขึ้น (เพื่อตัวเอง) ครั้นสร้างแล้วก็ เร่าร้อนอยู่ เพราะความแผดเผา ของความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับใจ

ภิกษุ ท. ! บุคคลเหล่านั้น เรากล่าวว่า เขาไม่พ้นไปจากทุกข์ คือความเกิดเป็นต้น ไปได้เลย. ภิกษุ ท. ! ส่วนบุคคลเหล่าใด จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ ก็ตามเมื่อรู้ชัด ตามเป็นจริงว่า “ นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ” ดังนี้

บุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ยินดี ต่อสิ่งอันเป็นปัจจัยปรุงแต่ง ที่เป็นไปพร้อม เพื่อความเกิดเป็นต้น เขาผู้ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่สร้างปัจจัยนั้นๆขึ้น(เพื่อตัวเอง) ครั้นไม่สร้างแล้ว ก็ไม่เร่าร้อนอยู่ เพราะความแผดเผาของความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ


บุคคลเหล่านั้น ย่อมหลุดพ้นไปจากความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับ-แค้นใจ เรากล่าวว่า เขาหลุดพ้นไปได้จากทุกข์ ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์