เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดารโดยละเอียด 566
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

๑. ทุกขอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ความเกิด ความแก่ ความตายเป็นทุกข์ ความโศก ร่ำไรรำพัน ความทุกข์ กายทุกข์ใจ คับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การเกิดการกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่งความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลายในจำพวกสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่าความเกิด


๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ตัณหานี้ใด ทำความเกิดใหม่เป็นปกติ เป็นไปกับ ด้วยความ กำหนัดเพราะความเพลิน มักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน.. เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ? สิ่งใดในโลก มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดี ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น ตา... หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ... มีภาวะเป็นที่รัก ที่ยินดี ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น


๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? คือความคลายคืน โดยไม่มีเหลือและความดับไม่เหลือ ความละวางความสละคืนความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ! ก็ ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละได้ ย่อมละได้ในที่ไหน ? เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่ไหน ? ตัณหานั้นเมื่อ บุคคลจะ ละ ย่อมละได้ในสิ่งนั้น เมื่อจะดับย่อมดับได้ในสิ่งนั้น. ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ.. มีภาวะเป็นที่รัก ที่ยินดีในตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับย่อมดับได้ในที่นั้น


๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ องค์แปด คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ

ภิกษุ ท. ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์ความรู้ในเหตุ ให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ความรู้ในหนทาง เป็นเครื่องให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด นี้เราเรียกว่าความเห็นชอบ

 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 125 


อริยสัจสี่ ที่ทรงแสดงโดยพิสดาร
(นัยที่หนึ่ง)

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ท. คืออริยสัจ ๔ อย่างอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือทุกข์”
ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือเหตุให้เกิดทุกข,”
ย่อมรู้แจ้งชัด ตามเป็นจริงว่า “นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ย่อมรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า “นี้คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”

๑. ทุกขอริยสัจ 

ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจคือทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็ เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความที่ตนปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้น สมหวัง ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความเกิด เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การเกิดการกำเนิด การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด การบังเกิดโดยยิ่ง ภาวะแห่งความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย การที่สัตว์ได้อายตนะทั้งหลายในจำพวกสัตว์นั้นๆของสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่าความเกิด

ภิกษุ ท. ! ความแก่ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความแก่ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความสิ้นไป ๆ แห่งอายุ ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้นๆ นี้เราเรียกว่าความแก่

ภิกษุ ท. ! ความตาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การจุติความเคลื่อน การแตกสลาย การหายไป การวายชีพ การตาย การทำกาละการแตกแห่งขันธ์ ทำ การทอดทิ้งร่าง การขาดแห่งอินทรีย์คือชีวิต จากจำพวกสัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เราเรียกว่าความตาย

ภิกษุ ท. ! ความโศก เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความโศกการโศก ภาวะแห่ง การโศก ความโศกในภายใน ความโศกทั่วใน ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบแล้วด้วย ความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคล ผู้อันความทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว นี้เราเรียกว่าความโศก

ภิกษุ ท. ! ความรํ่าไรรำพัน เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความคร่ำครวญ ความร่ำ ไรรำพัน การคร่ำครวญ การร่ำไรรำพัน ภาวะแห่งผู้คร่ำครวญภาวะแห่ง ผู้ร่ำไร รำพัน ของบุคคลผู้ประกอบแล้ว ด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งหรือของบุคคล ผู้อันความทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว. นี้เราเรียกว่าความร่ำไรรำพัน

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์กาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทนได้ยากที่เป็นไป ทางกาย การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางกายการทนยากที่เกิดแต่ ความกระทบทางกาย ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบทางกายใดๆ นี้เราเรียกว่าความทุกข์กาย

ภิกษุ ท. ! ความทุกข์ใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! การทนยากที่เป็นไปทางใจ การไม่ดี (คือไม่สบายเป็นปกติ) ที่เป็นไปทางใจ การทนยากที่เกิดแต่ความกระทบ ทางใจ ความรู้สึกที่ไม่ดีอันเกิดแต่ความกระทบทางใจใดๆ นี้เราเรียกว่าความทุกข์ใจ

ภิกษุ ท. ! ความคับแค้นใจ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความกลุ้มใจ ความคับแค้นใจ ภาวะแห่งผู้กลุ้มใจ ภาวะแห่ง ผู้คับแค้นใจ ของบุคคลผู้ประกอบแล้ว ด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง หรือของบุคคลผู้อันทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ แล้ว นี้เราเรียกว่าความคับแค้นใจ

ภิกษุ ท. ! ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น อันเป็นที่ไม่น่า ปรารถนารักใคร่พอใจ แก่ผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใดเป็นผู้ไม่หวังประโยชน์ ไม่หวัง ความเกื้อกูล ไม่หวังความผาสุก ไม่หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา การที่ไป ด้วยกัน การมาด้วยกัน การหยุดอยู่ร่วมกัน ความปะปนกันกับด้วยอารมณ์ หรือบุคคล เหล่านั้น นี้เราเรียกว่า ความระคนด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ อารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะเหล่านั้น อันเป็นที่ ปรารถนารักใคร่พอใจ ของผู้ใด หรือว่าชนเหล่าใด เป็นผู้หวังประโยชน์หวังความ เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากเครื่องผูกรัด ต่อเขา คือมารดาบิดา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตก็ตาม การที่ไม่ได้ไปร่วม การที่ไม่ได้มาร่วม การไม่ได้หยุดอยู่ร่วม ไม่ได้ปะปนกับ ด้วยอารมณ์ หรือบุคคล เหล่านั้น นี้เราเรียกว่า ความพลัดพราก จากสิ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความที่สัตว์ปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้นสมหวังเป็นทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้น แก่สัตว์ ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาและความเกิดไม่พึงมาถึงเรา ท. หนอ” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา แม้นี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด แล้ว ไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า “โอหนอ ! ขอเรา ท. ไม่พึงเป็นผู้มีความแก่ เป็นธรรมดา และความแก่ไม่พึงมาถึงเรา ท.หนอ” ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา แม้นี้ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด แล้ว ไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ความปรารถนาเกิดขึ้นแก่หมู่สัตว์ผู้มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา.... มีความตายเป็นธรรมดา.... มีความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ เป็นธรรมดา....(ความทำนองเดียวกันกับข้างต้น) .... ก็ข้อนี้ไม่ใช่สัตว์ จะบรรลุได้ด้วยความปรารถนา แม้นี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้ สิ่งนั้นเป็นทุกข์. 

ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยย่อ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือทั้ง ๕ เป็นทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ 
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ รูป
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ เวทนา
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ สัญญา
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ สังขาร
ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้แก่ วิญญาณ

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เราเรียกว่า กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เป็นทุกข์

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์
.................................................................................................................................................................

๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า? ตัณหานี้ใด ทำความเกิดใหม่เป็นปกติ เป็นไปกับ ด้วยความกำหนัดเพราะความเพลิน มักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน? เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ? สิ่งใดในโลก มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก?

ตา...หู...จมูก...ลิ้น...กาย...ใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไป ตั้งอยู่ในที่นั้น

รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย.... กลิ่นทั้งหลาย.... รสทั้งหลาย.... โผฏฐัพพะทั้งหลาย.... ธรรมารมณ์ทั้งหลาย.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น

ความรู้แจ้งทางตา....ความรู้แจ้งทางหู.... ความรู้แจ้งทางจมูก.... ความรู้แจ้งทางลิ้น....ความรู้แจ้งทางกาย....ความรู้แจ้งทางใจ.... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น

การกระทบทางตา... การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก... การกระทบทางลิ้น... การกระทบทางกาย... การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางหู... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น

ความจำหมายในรูป
... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายในกลิ่น... ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมายในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น

ความนึกถึงรูป... ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความนึกถึงรส... ความนึกถึงโผฏฐัพพะ.... ความนึกถึงธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น

ความอยากในรูป... ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น... ความอยากในรส... ความอยากในโผฏฐัพพะ... ความอยากในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง)มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น

ความตริหารูป... ความตริหาเสียง... ความตริหากลิ่น... ความตริหารส... ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)... ความไตร่ตรองต่อเสียง... ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อ โผฏฐัพพะ.. ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็น ที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้ง อยู่ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.
.................................................................................................................................................................

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? คือความคลายคืน โดยไม่มีเหลือและความดับไม่เหลือ ความละวาง ความสละคืนความผ่านพ้น ความไม่อาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นเทียว.

ภิกษุ ท. ! ก็ ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละได้ ย่อมละได้ในที่ไหน ? เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่ไหน ? สิ่งใดมีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานั้นเมื่อ บุคคลจะละ ย่อมละได้ในสิ่งนั้น, เมื่อจะดับย่อมดับได้ในสิ่งนั้น. ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็น ที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก? ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... (แต่ละอย่างทุก อย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น

รูปทั้งหลาย... เสียงทั้งหลาย... กลิ่นทั้งหลาย... รสทั้งหลาย... โผฏฐัพพะทั้งหลาย... ธรรมารมณ์ทั้งหลาย... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ ในที่นั้น

ความรู้แจ้งทางตา ... ความรู้แจ้งทางหู ... ความรู้แจ้งทางจมูก... ความรู้แจ้งทางลิ้น ... ความรู้แจ้งทางกาย ... ความรู้แจ้งทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น

การกระทบทางตา... การกระทบทางหู... การกระทบทางจมูก... การกระทบทางลิ้น... การกระทบทางกาย... การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ใน ที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา... ความรู้สึกเกิดแก่การกระทบทางหู... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก... ความรู้สึกเกิด แต่การกระทบทางลิ้น... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย... ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น

ความจำหมายในรูป... ความจำหมายในเสียง... ความจำหมายในกลิ่น... ความจำหมายในรส... ความจำหมายในโผฏฐัพพะ... ความจำหมายในธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น

ความนึกถึงรูป ... ความนึกถึงเสียง... ความนึกถึงกลิ่น... ความนึกถึงรส... ความนึกถึง โผฏฐัพพะ... ความนึกถึงธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น, เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น

ความอยากในรูป... ความอยากในเสียง... ความอยากในกลิ่น...ความอยากในรส... ความอยากในโผฏฐัพพะ... ความอยากใน ธรรมารมณ์...(แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น

ความตริหารูป ... ความตริหาเสียง ... ความตริหากลิ่น... ความตริหารส... ความตริหาโผฏฐัพพะ... ความตริหาธรรมารมณ์ ... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ใน ที่นั้น

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว) ... ความไตร่ตรองต่อเสียง ... ความไตร่ตรองต่อกลิ่น... ความไตร่ตรองต่อรส... ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ ... ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์... (แต่ละอย่างทุกอย่าง) มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดี ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ย่อมละได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
.................................................................................................................................................................

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ


ภิกษุ ท. ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วย องค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปดคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบอาชีวะชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ

ภิกษุ ท. ! (๑) ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความรู้ในทุกข์ความรู้ในเหตุ ให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทาง เป็นเครื่องให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด นี้เราเรียกว่าความเห็นชอบ

ภิกษุ ท. ! (๒) ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ความดำริในการออก(จากกาม) ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เราเรียกว่าความดำริชอบ

ภิกษุ ท. ! (๓) วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เราเรียกว่าวาจาชอบ

ภิกษุ ท. ! (๔) การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการงานชอบ

ภิกษุ ท. ! (๕) อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุ ท. ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหา เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เราเรียกว่าอาชีวะ ชอบ

ภิกษุ ท. ! (๖) ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? (สัมมัปปธาน ๔) ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความ พอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิตย่อมตั้งจิต ไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรม ทั้งหลาย อันลามก ที่ยังไม่ได้บังเกิด ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม ประคองจิต ย่อมตั้งจิต ไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ที่บังเกิด ขึ้นแล้ว ย่อมปลูกความ พอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคอง จิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการ บังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้ บังเกิด ย่อมปลูก ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภ ความเพียรย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อ ความยั่งยืน ความไม่เลอะ เลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรม ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ

ภิกษุ ท. ! (๗) ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? (สติปัฏฐาน ๔) ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร เครื่องเผาบาปมีความ รู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มี ปกติ พิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นจิต ในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร เครื่องเผาบาป มีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความ ไม่พอใจในโลกออกเสียได้ ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าความระลึกชอบ

ภิกษุ ท. ! (๘) ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร? (ฌาน ๑-๔) ภิกษุ ท. ! ภิกษุใน กรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอย่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง เธอเข้า ถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายในให้สมาธิเป็นธรรม อันเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่ เพราะปีติจาง หายไป เธอเป็นผู้เพ่ง เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วย นามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญ ผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ ได้มีสติ มีความอยู่เป็นปกติสุข”แล้วแลอยู่ เพราะละสุข และทุกข์ เสียได้ และเพราะ ความดับหายแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึง ฌานที่สี อันไม่ทุกข์ และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์