เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมเรื่องสังขารทั้งหลาย (2) กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร 1668
  P1667 P1668 P1669 P1670 1671
รวมเรื่องสังขาร
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
  รวมเรื่องสังขาร
1 สังขารทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ของเรา...
2 สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นใจ
3 อุปมาสังขารทั้งหลาย เหมือนต้นกล้วย
4 ความไม่รู้ในสังขารทั้งหลายเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง (สังขารอัญญาณสูตร)
5 สังขารทั้งหลายดับสนิท เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน (รโหคตสูตร)
6 ยินดีในสังขารทั้งหลายย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ (ปริฬาหสูตร)
7 ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน
8 ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะ สังขารเป็นปัจจัย
9 กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เป็นอย่างไร (ธรรมทินนาภิกษุณี สนทนากับ วิสาขอุบาสก)
   
 


1

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๒๑


สังขารทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ของเรา...

           สังขารทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดีภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี

        สังขารทั้งหลาย
ทั้งหมดนั่น อันเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็น จริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา



2

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๐

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นใจ

           สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงอย่างนี้ ไม่ยั่งยืนอย่างนี้ ไม่น่าชื่นใจอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายใน สังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้



3

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๓๕

อุปมาสังขารทั้งหลาย เหมือนต้นกล้วย

           [๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม้แก่น เสาะหาไม้แก่น เที่ยวแสวงหาไม้แก่นอยู่ ถือเอาจอบอันคม พึงเข้าไปสู่ป่า บุรุษนั้นพึงเห็นต้น กล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ยังไม่เกิดแก่นในป่านั้น พึงตัดโคนต้นกล้วยนั้นแล้วจึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก บุรุษนั้นปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยใหญ่นั้น จะพึงได้แก่นแต่ที่ไหน

           บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ซึ่งต้นกล้วยใหญ่นั้น เมื่อบุรุษนั้น เห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของ ว่างเปล่า หาแก่นมิได้ แก่นในต้นกล้วยพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด

           สังขาร เหล่าใด เหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ ไกล หรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่งพิจารณา สังขาร นั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้น เห็นเพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย สังขาร นั้น ย่อมปรากฏเป็นของ ว่างเปล่า หาสาระ มิได้ สาระใน สังขารทั้งหลาย พึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล



4

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๒๙๔

๔. สังขารอัญญาณสูตร
ความไม่รู้ในสังขารทั้งหลายเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง

           [๕๕๘] พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?

           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ เพราะความไม่รู้ใน สังขารทั้งหลาย ในเหตุเกิด แห่งสังขาร ในความดับแห่ง สังขาร ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ แห่ง สังขาร จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

           ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้น ในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง



5

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๓๑

สังขารทั้งหลายดับสนิท เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน
(รโหคตสูตร)

           [๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ความ ปริวิตกแห่งใจ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนาอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนา ๓ อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาค ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวย อารมณ์อย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้แล

          พระผู้มีพระภาคตรัส พระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายเอาอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ ดูกรภิกษุ เรากล่าวเวทนา ๓ นี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เรากล่าว เวทนา ๓ นี้

           ดูกรภิกษุเรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ดูกรภิกษุก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมาย เอาความที่ สังขารทั้งหลาย นั่นเองไม่เที่ยง

         ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์ อย่างใด อย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอาความที่ สังขารทั้งหลาย นั่นแหละ มีความสิ้นไป เสื่อมไปคลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

           [๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่ง สังขารทั้งหลาย โดยลำดับคือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌานปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ เมื่อเข้า อากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจา ยตนสัญญา ย่อมดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตน สัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนา ย่อมดับ ราคะโทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ

           [๓๙๓] ดูกรภิกษุ ลำดับนั้นแล เรากล่าวความสงบแห่ง สังขารทั้งหลาย โดยลำดับ คือเมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจาร ย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ ราคะโทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ

           [๓๙๔] ดูกรภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อม ระงับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ เมื่อเข้า จตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะ ย่อมระงับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญา และเวทนาย่อมระงับ ราคะโทสะ โมหะของภิกษุขีณาสพย่อมระงับ



6
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๔๔๔

ยินดีในสังขารทั้งหลายย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ (ปริฬาหสูตร)

           [๑๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดีใน สังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิดบ้าง ความแก่บ้าง ความตายบ้างความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจบ้าง เรากล่าวว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่พ้นไป จากความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

           [๑๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดีใน สังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ไม่ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน

           [๑๗๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ได้ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริง แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรากระทำเรือนชั้นล่างแล้ว จักยกเรือนชั้นบน แห่งเรือนยอด ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ฉันใด

           ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่าเราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ได้ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา



7

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๙๙

ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน

           ดูกรอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน
ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในป่า ก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่าง เปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง

ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้

          ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา



8

ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน หน้าที่ ๓๕๓


ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะ สังขารเป็นปัจจัย

           [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะ สังขาร เป็นปัจจัยนี้เป็นข้อที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนืองๆ
ว่า เพราะ สังขารทั้งหลาย นั่นเองดับไปเพราะ สำรอกโดย ไม่มีเหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

           ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะ สังขารเป็นปัจจัย เพราะ สังขารทั้งหลาย ดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด ภิกษุรู้โทษนี้ว่าเพราะ สังขารเป็นปัจจัย ทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะความสงบแห่ง สังขารทั้งมวล สัญญาทั้งหลาย จึงดับความสิ้นไป แห่งทุกข์ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุรู้ความสิ้นไปแห่งทุกข์นี้ โดยถ่องแท้ บัณฑิตทั้งหลาย ผู้เห็นชอบผู้ถึงเวทย์ รู้โดยชอบแล้ว ครอบงำกิเลสเป็น เครื่องประกอบ ของมารได้แล้ว ย่อมไม่ไปสู่ภพใหม่

           [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พึงตอบเขาว่า

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย นี้เป็นข้อที่ ๑

การพิจารณาเห็นเนืองๆ ว่า เพราะวิญญาณนั่นเองดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด นี้เป็นข้อที่ ๒

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นเนืองๆ ซึ่งธรรม เป็นธรรม ๒ อย่าง โดยชอบอย่างนี้ ฯลฯจึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

           ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยเพราะ วิญญาณ ดับโดยไม่เหลือ ทุกข์จึงไม่เกิด ภิกษุรู้โทษนี้ว่า ทุกข์ย่อมเกิดขึ้น เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัยดังนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วเพราะความเข้าไปสงบแห่ง วิญญาณ



9

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๘๙

เรื่องสมาธิและสังขาร
๔. จูฬเวทัลลสูตร /การสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
(ธรรมทินนาภิกษุณี สนทนากับ วิสาขอุบาสก)

         วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของ สมาธิธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?

         ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔ เป็นนิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิความเสพ คุ้นความเจริญ ความทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ

         [๕๐๙] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ สังขาร มีเท่าไร?

         ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ สังขาร เหล่านี้ มี ๓ ประการคือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

         วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ กายสังขาร เป็นอย่างไร วจีสังขาร เป็นอย่างไร จิตตสังขาร เป็นอย่างไร?
         ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ
ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเป็น
กายสังขาร
วิตกและวิจารเป็น วจีสังขาร
สัญญาและเวทนาเป็น จิตตสังขาร

         วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็เหตุไร ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็น กายสังขาร วิตกและวิจาร จึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร?

         ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าเหล่านี้ เป็นธรรม มีในกายเนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า จึงเป็นกายสังขาร บุคคลย่อมตรึกย่อมตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจาร จึงเป็น วจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นธรรมมีในจิต เนื่องด้วยจิต ฉะนั้นสัญญาและเวทนา จึงเป็นจิตตสังขาร

 

 





พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์