เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
ค้นหาคำที่ต้องการ            

รวมเรื่องสังขารทั้งหลาย (1) กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร 1667
  P1667 P1668 P1669 P1670 1671
รวมเรื่องสังขาร
เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
รวมพระสูตรบุคคลสำคัญ
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
พระอนุรุทธะ
พระอุบาลี
(ดูทั้งหมด)
  รวมเรื่องสังขาร
1 ก็สังขารเป็นไฉน (๒ วิภังคสูตร)
2 สังขารทั้งหลายเป็นไฉน (๗. ปัจจยสูตร)
3 สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนองบ สังขารเหล่านั้น เป็นสุข
4 สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล
5 สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา (ตรัสกับพระปัญจวัคคีย์)
6 สังขารทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ของเรา เป็นเรานั่นไม่ใช่ตนของเรา
7 เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา (ช่วงปลงสังขาร)
8 เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา (ปัจฉิมวาจา-ราตรีปรินิพพาน)
9 บุคคลบางคนประมวลกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร อันมีทุกข์เป็นวิบาก
10 เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บ.ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยสุข+ทุกข์
11 บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง
12 เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร
   
 


1

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓

ก็สังขารเป็นไฉน (๒ วิภังคสูตร)

          [๑๖] ก็ สังขาร เป็นไฉน
          สังขาร ๓ เหล่านี้คือ
          ๑) กายสังขาร
          ๒) วจีสังขาร
          ๓) จิตสังขาร


          นี้เรียกว่า สังขาร



2
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๓๙

สังขารทั้งหลายเป็นไฉน (๗. ปัจจยสูตร)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สังขารทั้งหลาย เป็นไฉน
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขาร ๓ ประการ เหล่านี้คือ
          ๑) กายสังขาร

          ๒) วจีสังขาร

          ๓) จิตตสังขาร


          นี้เรียกว่าสังขาร

           เพราะอวิชชาเกิด สังขาร จึงเกิด
          เพราะอวิชชาดับ สังขาร จึงดับ

          อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้นคือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงธรรม เป็นที่ดับสังขาร



3
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๑๒๕

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ

          [๑๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ ปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดาบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ความเข้าไปสงบ สังขาร เหล่านั้น เป็นสุข



4

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๓

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล

          ดูกรอานนท์ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้แล สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืน อย่างนี้แล สังขารทั้งหลาย ไม่น่ายินดีอย่างนี้แล ดูกรอานนท์ ข้อนี้ควรจะเบื่อหน่าย ใน สังขารทั้งหลาย ทั้งปวงทีเดียว ควรที่จะคลายกำหนัด ควรเพื่อจะหลุดพ้นไป

          ดูกรอานนท์ เราย่อมรู้ที่ทอดทิ้งร่างกาย เราทอดทิ้งร่างกายไว้ ในประเทศนี้ การที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ การทอดทิ้งร่างกายไว้นี้ นับเป็นครั้งที่เจ็ด

          ดูกรอานนท์ เราไม่เล็งเห็นประเทศนั้นๆในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่ตถาคตจะทอดทิ้งสรีระ ไว้เป็น ครั้งที่แปด ดังนี้

          พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัส คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

          [๑๘๖] สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น ธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การเข้าไประงับ สังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นความสุข ดังนี้



5

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๒๐

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา (ตรัสกับพระปัญจวัคคีย์)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า สังขาร เหล่านี้จักได้เป็นอัตตา แล้ว สังขาร เหล่านี้ ไม่พึงเป็นไป เพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ใน สังขารทั้งหลาย ว่า สังขารทั้งหลาย ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลาย ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลาย จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ใน สังขารทั้งหลาย ว่า สังขารทั้งหลาย ของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็น อย่างนั้นเลย



6

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๒๓

สังขารทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ของเรา

          สังขารทั้งหลาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายใน หรือ ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่า สังขาร

         เธอทั้งหลายพึงเห็น สังขาร นั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา



7

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๐๐

เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา (ช่วงปลงสังขาร)

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อม เป็นธรรมดา พวกเธอจงยัง ความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน



8

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎก
หน้าที่ ๑๒๔

เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา (ปัจฉิมวาจา-ราตรีปรินิพพาน)


          [๑๔๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอ จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด

          นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต



9

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๖๖

บุคคลบางคนประมวลกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร อันมีความทุกข์ อันเป็นวิบาก (กรรมดำกรรมขาว ๔)

          [๘๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้ เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ๔ ประการนั้น เป็นไฉน ดูกรปุณณะ กรรมดำมีวิบากดำมีอยู่ กรรมขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดำ ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว มีอยู่กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรมมีอยู่

          ดูกรปุณณะ ก็กรรมดำมีวิบากดำ เป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประมวล กายสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวล วจีสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวล มโนสังขาร อันมีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์ ผัสสะอันประกอบด้วยทุกข์ ย่อมถูกต้อง เขาผู้ เข้าถึงโลกอันมีทุกข์ เขาอันผัสสะ ประกอบ ด้วยทุกข์ถูกต้อง ย่อมเสวยเวทนา อันประกอบด้วยทุกข์ อันเป็นทุกข์ โดยส่วนเดียวดุจสัตว์นรก ฉะนั้น
          ดูกรปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรม ใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูกรปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่ากรรมดำ มีวิบากดำ

          ดูกรปุณณะ ก็กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประมวล กายสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวล วจีสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวล มโนสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ ผัสสะอันไม่มีความทุกข์ย่อมถูกต้อง เขาผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ เขาอันผัสสะ ไม่มีความทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความทุกข์ เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดุจเทพชั้นสุภกิณหะ ฉะนั้น
          ดูกรปุณณะเพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูกรปุณณะ แม้เพราะ อย่างนี้ เราจึงกล่าว สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมขาว มีวิบากขาว

          ดูกรปุณณะ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน ดูกรปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวล กายสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวล วจีสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวล มโนสังขาร อันมี ความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง
         ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลก อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ผัสสะอัน มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขา ผู้เข้าถึงโลก อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง เขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความ ทุกข์บ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน ดุจพวกมนุษย์ เทพบางเหล่า และสัตว์วินิบาต บางเหล่า ฉะนั้น
          ดูกรปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรม ใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูกรปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมทั้งดำ ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว

          ดูกรปุณณะ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นกรรมนั้นเป็นไฉน ดูกรปุณณะ บรรดากรรม ๓ ประการนั้น เจตนาเพื่อละ กรรมดำ มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละกรรมขาว มีวิบากขาว เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำ ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำ ไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

          ดูกรปุณณะกรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม.



10

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกหน้าที่ ๓๖

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์
(๔. อัญญติตถิยสูตร)

          [๘๓] ดูกรอานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและทุกข์ อันเป็นภายในย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางกายเป็นเหตุ เมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางวาจาเป็นเหตุ หรือว่า เมื่อใจมีอยู่สุขและทุกข์ อันเป็นภายใน ย่อมบังเกิดขึ้น เพราะความจงใจทางใจเป็นเหตุ

          ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย นั่นแหละ บุคคลย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อม ปรุงแต่ง กายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่น บ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็น ภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุข และทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

          ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น ด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้น เพราะผู้อื่นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้างบุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

          ดูกรอานนท์ บุคคลย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัย ให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นเพราะผู้อื่นบ้างบุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร ซึ่งเป็นปัจจัยให้สุขและทุกข์ อันเป็นภายในเกิดขึ้นบ้าง

          ดูกรอานนท์ อวิชชาแทรกอยู่แล้วในธรรมเหล่านี้



11

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๖

บุคคล ๓ จำพวกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง
(สังขารสูตร)

          [๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวก เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง วจีสังขาร ที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียน

          ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลก ที่มีความเบียดเบียนผัสสะ ที่เป็นไปกับด้วยความ เบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลก ที่มีความเบียดเบียนนั้น เขาผู้อันผัสสะ ที่เป็นไปกับ ด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนา อันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือนพวกสัตว์นรกฉะนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม ปรุงแต่ง กายสังขาร ที่ไม่มีความเบียดเบียนปรุงแต่งวจีสังขาร ที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง มโนสังขาร ที่ไม่มีความเบียดเบียน

          ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลก ที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความ เบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลก อันไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาผู้อันผัสส ะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเทวดาสุภกิณหะ ฉะนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างปรุงแต่ง วจีสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง มโนสังขาร ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง

          ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้อันผัสสะ ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เจือปนด้วยสุข และ ทุกข์เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก ฉะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก



12

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๕๔

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร (สัญเจตนิยวรรคที่ ๓)

          [๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ กายสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ในภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะ วจีสัญเจตนา เป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโน สัญเจตนาเป็นเหตุ อีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

บุคคลย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเอง บ้าง หรือบุคคลอื่น ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร ของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ ภายในเกิดขึ้น แก่ บุคคลนั้น หรือบุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้ สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง กายสังขาร อันเป็น ปัจจัยให้สุข ทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเอง บ้าง หรือบุคคลอื่นย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร ของบุคคลนั้น อันเป็น ปัจจัย ให้สุขทุกข์ ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง หรือบุคคลรู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันเป็น ปัจจัยให้สุข ทุกข์ภายใน เกิดขึ้นบ้าง หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง วจีสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง

บุคคลย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นด้วยตนเอง บ้างหรือ บุคคลอื่นย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร ของบุคคลนั้น อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ ภายใน เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง หรือบุคคลรู้สึกตัวย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันเป็น ปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นบ้าง หรือบุคคลไม่รู้สึกตัว ย่อมปรุงแต่ง มโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นบ้าง

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาติดตามไปแล้วในธรรมเหล่านี้ แต่เพราะ อวิชชา นั่นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้น แก่บุคคลนั้น ย่อมไม่มี วาจา ... ใจ ... เขต ... วัตถุ... อายตนะ ... อธิกรณะ อันเป็น ปัจจัยให้ สุขทุกข์ภายใน เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นย่อมไม่มี

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้ อัตภาพ ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉนคือ
๑) ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป ก็มี
๒) ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไป ไม่ใช่สัญเจตนาของตนเป็นไป ก็มี
๓) ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนด้วย สัญเจตนาของผู้อื่นด้วยเป็นไป ก็มี
๔) ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่นก็มิใช่เป็นไป ก็มี

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล

          เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญธรรม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ ข้าพระองค์ทราบชัด เนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น

ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นไปนี้ คือ
การจุติจากกายนั้น ของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ

ความได้อัตภาพที่สัญเจตนา ของผู้อื่นเป็นไป มิใช่สัญเจตนาของตนเป็นไปนี้ คือ การจุติจากกายนั้น ของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนา ของผู้อื่นเป็นเหตุ

ความได้อัตภาพ ที่สัญเจตนาของตนด้วยสัญเจตนาของผู้อื่นด้วย เป็นไปนี้ คือ การจุติจากกายนั้น ของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนและ สัญเจตนา ผู้อื่นเป็นเหตุ

ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนเป็นไปก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่น เป็นไป ก็มิใช่นี้ จะพึงเห็นเทวดาทั้งหลาย ด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน พระเจ้าข้า

          พ. ดูกรสารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลาย ผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วย อัตภาพนั้น

          สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง

อะไรเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้น แล้วเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า

          พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้
ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ แต่เขา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจยินดี และถึงความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
น้อมใจไป อยู่จนคุ้น
ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้น ไม่เสื่อมเมื่อทำกาละ
ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

          ดูกรสารีบุตร อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว เขาบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในปัจจุบัน บุคคลนั้นชอบใจยินดี และถึงความปลื้มใจ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
ยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
น้อมใจไป อยู่จนคุ้น ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ
ย่อมเข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่าเทวดา ผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ย่อมเป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

          ดูกรสารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้

 




พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์