เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 สิ่งที่ตถาคตไม่พยากรณ์ (ทิฏฐิ ๑๐) 1402
 

(โดยย่อ)

มาลุงกยบุตร ! อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ?

ทิฏฐิว่า

๑) โลกเที่ยง
๒) โลกไม่เที่ยง
๓) โลกมีที่สิ้นสุด
๔) โลกไม่มีที่สิ้นสุด

๕) ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
๖) ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น
๗) ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก
๘) ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก
๙) ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มีอีกก็มี
๑๐) ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้

เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ?
เพราะเหตุว่า นั่นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อม เพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เหตุนั้น นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.

เรื่องที่ทรงพยากรณ์
- นี้ทุกข์
- นี้เหตุให้เกิดทุกข์
- นี้ความดับไม่เหลือของทุกข์
- นี้หนทางให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
-----------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูล(ที่มา) อริยสัจจากพระโอษฐ์ /พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
(1) สิ่งที่ตถาคตไม่พยากรณ์ ตรัสกับมาลุงกยบุตร
(2) สิ่งที่ตถาคตพยากรณ์ ตรัสกับ มาลุงกยบุตร
(3) ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฎฐิสืบ (ตรัสกับวัจฉะ)
(4) ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฏฐิ ส่วนที่เกี่ยวกับ "ตถาคตสี่" (ตรัสกับมหาราชะ)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 79 (ภาคนำ)

(1) สิ่งที่ตถาคตไม่พยากรณ์ (ตรัสกับมาลุงกยบุตร)
การรู้จักอันตคาหิกทิฏฐิไม่เกี่ยวกับการรู้อริยสัจและการประพฤติพรหมจรรย์

มาลุงกยบุตร ! อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ?

มาลุงกยบุตร
ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า โลกมีที่สิ้นสุด ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า ชีวะก็อันอื่น สรีระก็อันอื่น ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.

ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ดังนี้เป็นสิ่งที่เรา ไม่พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก ดังนี้เป็นสิ่งที่ เราไม่พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มี ไม่มีอีกก็มี ดังนี้ เป็นสิ่งเราไม่ พยากรณ์.
ทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีก ก็หามิได้ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.

มาลุงกยบุตร ! เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ ?
เพราะเหตุว่า นั่น ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความระงับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน เหตุนั้น นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์.




(2) สิ่งที่ตถาคตพยากรณ์ (ตรัสกับมาลุงกยบุตร)

มาลุงกยบุตร อะไรเล่า เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ?

มาลุงกยบุตร
สัจจะว่า นี้ ความทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.
สัจจะว่า นี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.
สัจจะว่า นี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.
สัจจะว่า นี้ ทางเดินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้ เป็นสิ่งที่เราพยากรณ์.

มาลุงกยบุตร เพราะเหตุไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์ ?
เพราะเหตุว่า นั่น ประกอบด้วยประโยชน์ นั่น เป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ นั่นเป็น ไปพร้อมเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับไม่เหลือ ความระงับความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และ นิพพาน เหตุนั้น นั่นเราจึงพยากรณ์.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

มาลุงกยบุตร ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอจงถือเอาสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ โดยความ เป็นสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ และสิ่งที่เราพยากรณ์โดยความเป็นสิ่งที่เรา พยากรณ์ ดังนี้เถิด.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “โลกเที่ยง” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ขึ้นมาก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า “โลกไม่เที่ยง” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงกยบุตร !เมื่อทิฏฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ก็ตาม มีอยู่ ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เรา บัญญัติการ กำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “โลกมีที่สิ้นสุด” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า “โลกไม่มีที่สิ้นสุด” ดังนี้มีอยู่ มันจะเป็นการ ประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงกยบุตร !เมื่อทิฏฐิว่า "โลกมีที่สิ้นสุด หรือว่า โลกไม่มีที่สิ้นสุด" ก็ตาม มีอยู่ ชาติ ก็ยังมีชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติ การกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น” ดังนี้ มีอยู่มันจะเป็นการ ประพฤติ พรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า “ชีวะก็อันอื่นสรีระก็อันอื่น” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า ชีวะก็อันนั้นสรีระก็อันนั้น หรือว่าชีวะก็อันอื่น สรีระก็ อันอื่น" ก็ตาม มีอยู่ ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่ง ที่เราบัญญัติการกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ขึ้นมาก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า ตถาคตภายหลัง แต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก” ดังนี้ มีอยู่ มันจะเป็น การประพฤติพรหมจรรย์ขึ้นมา ก็หามิได้อีกนั่นเอง.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีก หรือว่า ตถาคต ภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมไม่มีอีก" ก็ตามมีอยู่ ชาติก็ยังมี ชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติการ กำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี” ดังนี้ มีอย่ มันจะเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ ขึ้นมาก็หามิได้ เมื่อทิฏฐิว่า “ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้” ดังนี้มีอยู่ มันจะเป็นการประพฤติ พรหมจรรย์ ขึ้นมา ก็หามิได้อยู่นั่นเอง.

มาลุงกยบุตร ! เมื่อทิฏฐิว่า "ตถาคตภายหลังแต่ตายแล้วย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี หรือว่า ตถาคต ภายหลังแต่ตายแล้ว ย่อมมีอีก ก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ " ก็ตาม มีอยู่ ชาติก็ยังมีชราก็ยังมี มรณะก็ยังมี โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ทั้งหลาย ก็ยังมี อันเป็นสิ่งที่เราบัญญัติ การกำจัดมันเสียในทิฏฐธรรมนี้.


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (ภาค4) หน้า 299

(3) ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฎฐิสืบ (ตรัสกับวัจฉะ)

           "พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ปริพพาชกเดียรถีย์ อื่นเมื่อ ถูกถามแล้วย่อมพยากรณ์ว่าโลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ... หรือว่า ตถาคต ภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้

อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น ปัจจัย ที่พระโคดมผู้เจริญเมื่อถูกถามแล้วย่อมไม่ทรงพยากรณ์ ว่า โลกเที่ยง หรือว่าโลก ไม่เที่ยง...ฯลฯ...หรือว่าตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีก ก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้?" 

วัจฉะ !  ปริพพาชกเดียรถีย์อื่น ท.  ย่อมตามเห็นซึ่งจักษุ  ...ซึ่งโสตะ... ซึ่งฆานะ ...ซึ่งชิวหา...ซึ่งกายะ...ซึ่งมนะ ว่า "นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตา ของเรา" ดังนี้

วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้น ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น เมื่อถูกถาม แล้ว จึงพยากรณ์ ว่าโลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ...หรือว่าตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีกก็หา มิได้ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้.

วัจฉะ ! ส่วนตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมตามเห็นซึ่งจักษุ ...... ซึ่งโสตะ ...ซึ่งฆานะ...ซึ่งชิวหา...ซึ่งกายะ...ซึ่งมนะ ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็น เรา นั่นไม่ใช่ อัตตาของเรา" ดังนี้

วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้นตถาคต เมื่อถูกถามแล้ว จึงไม่พยากรณ์ว่าโลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ...หรือว่าตถาคตภายหลังแต่ การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีกก็หามิได้ ดังนี้.

(อีกนัยหนึ่ง ตรัสตอบว่า) 

วัจฉะ ! ปริพพาชกเดียรถีย์อื่น ท. ย่อมตามเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน หรือเห็นตน มีรูป หรือเห็นรูปในตน หรือเห็นตนในรูป (ในกรณีแห่ง เวทนาสัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ตรัสด้วยข้อความที่มีหลักเกณฑ์ ในการตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง รูปนี้ทุกประการ)

วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้น ปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น เมื่อถูกถาม แล้ว จึงพยากรณ์ ว่าโลกเที่ยง หรือว่าโลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ... หรือว่าตถาคตภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีกก็หา มิได้ ดังนี้. 

วัจฉะ ! ส่วนตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ย่อมไม่ตามเห็นซึ่งรูปโดย ความเป็น ตน หรือไม่เห็นตนมีรูป หรือไม่เห็นรูปในตน หรือไม่เห็นตนในรูป.
(ในกรณี แห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสด้วยข้อความที่มีหลักเกณฑ์ ในการ ตรัสอย่าง เดียวกันกับ ในกรณีแห่งรูปนี้ทุกประการ)

วัจฉะ ! เพราะเหตุนั้น ตถาคต เมื่อถูกถามแล้ว จึงไม่พยากรณ์ว่าโลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง ...ฯลฯ... หรือว่าตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ ไม่มีอีก ก็หา มิได้ ดังนี้.


พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (ภาค4) หน้า 301

(4) ตรัสเหตุที่ไม่ทรงพยากรณ์อันตคาหิกทิฏฐิ ส่วนที่เกี่ยวกับ "ตถาคตสี่"

           "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ทําไมหนอ พระองค์เมื่อถูกถามว่า "ตถาคต ภายหลังแต่การตายย่อมมีอีกหรือ? " ดังนี้ ก็ตรัสว่า "นั่นเราไม่พยากรณ์"

เมื่อถูก ถามว่า" ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมไม่มีอีกหรือ? " ดังนี้
ก็ตรัสว่า "นั่นเราไม่ พยากรณ์"

เมื่อถูกถามว่า "ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มีหรือ?" ดังนี้
ก็ตรัสว่า "นั่นเราไม่พยากรณ์"

เมื่อถูกถามว่า "ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีก ก็หา มิได้ หรือ?" ดังนี้ ก็ยังตรัสว่า "นั่นเราไม่พยากรณ์" ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่พระผู้มี พระภาคไม่ทรง พยากรณ์ ซึ่งข้อความนั้น พระเจ้าข้า?" 

มหาราชะ ! ...บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต เขาบัญญัติโดยรูป (ขันธ์) ใด รูป นั้น อัน ตถาคต ละหมดแล้ว มีมูลรากอันถอนขึ้นได้แล้ว กระทําให้เหมือนต้นตาลไม่ มีวัตถุ สําหรับงอก กระทําให้ถึงความไม่มีไม่เป็น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นอีก ต่อไปเป็น ธรรมดา. 

มหาราชะ ! ตถาคต ผู้พ้นแล้วจากการนับว่าเป็นรูป เป็นสภาพที่ลึกซึ่ง ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เหมือนกับมหาสมุทร

การที่จะกล่าว
ว่า "ตถาคต ภายหลัง แต่การตาย ย่อมมีอีก" ดังนี้ ก็ดี
ว่า "ตถาคตภายหลังแต่การตาย ย่อม ไม่มีอีก" ดังนี้ ก็ดี
ว่า "ตถาคต ภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็มีไม่มีอีกก็มี" ดังนี้ ก็ดี
ว่า "ตถาคต ภายหลังแต่การตาย ย่อมมีอีกก็หามิได้ไม่มีอีกก็หามิได้" ดังนี้ ก็ดี
ย่อมเป็นไปไม่ได้.

(ในกรณีแห่ง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์ ก็ตรัสด้วย ข้อความที่มี หลักเกณฑ์ในการตรัส อย่างเดียวกัน กับในกรณีแห่งรูปนี้ทุก ประการ)

 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์