เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 ลำดับแห่งความเป็นไป เพื่อจะได้รู้ซึ่งความเป็นจริง 1403
 

(โดยย่อ)

 ลำดับแห่งความเป็นไป เพื่อจะได้รู้ซึ่งความเป็นจริง ๑๒ ประการ

(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ...ครั้นมีศรัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อมเข้าไปหา... ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อมเข้าไปนั่งใกล้....ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อมเงี่ยโสตลง....ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อมฟังซึ่งธรรม.. ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อมทรงไว้ซึ่งธรรม(ทรงจำ)… ครั้นทรงจำแล้ว
(๗) ย่อมใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น.. ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อมมีอุสสาหะ.. ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อมพิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม
(๑๒) ย่อมตั้งตนไว้ในธรรมนั้น

(อุสส่าห์ อุสสาหะ อุตสาหะ มีความหมายอย่างเดียวกัน)

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์หน้า 83 (ภาคนำ)

ลำดับแห่งความเป็นไป เพื่อจะได้รู้ซึ่งความเป็นจริง


          ภารท๎วาชะ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือ ใน นิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไป ใกล้ภิกษุนั้นแล้ว ใคร่ครวญดู อยู่ในใจ เกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
ทั้งหลาย (โดยนัยเป็นต้นว่า)

“ท่านผู้มีอายุผู้นี้ จะมีธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะหรือไม่หนอ อันเป็นธรรม ที่เมื่อ ครอบงำจิตของท่านแล้ว จะทำให้ท่านเป็นบุคคล ที่เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่าเห็น หรือว่าจะชักชวนผู้อื่นในธรรม อันเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น ตลอดกาลนาน” ดังนี้

เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ในใจซึ่งภิกษุนั้น ก็รู้ว่า “ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะชนิดนั้น มิได้มีแก่ท่านผู้มีอายุนี้ อนึ่ง กายสมาจาร วจีสมาจาร ของท่านผู้มีอายุผู้นี้ ก็เป็นไปใน ลักษณะแห่งสมาจาร ของบุคคล ผู้ไม่โลภแล้ว

อนึ่ง ท่านผู้มีอายุนี้ แสดงซึ่งธรรมใด ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมที่รำงับ ประณีตไม่เป็นวิสัยที่จะ หยั่งลงง่ายแห่งความตรึก เป็นธรรม ละเอียดอ่อน รู้ได้เฉพาะบัณฑิตวิสัย ธรรมนั้น มิใช่ธรรมที่คนผู้มีความโลภ จะแสดงให้ ถูกต้องได้” ดังนี้.เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จาก ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ.

ต่อแต่นั้น เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไป ในธรรมทั้งหลาย อันเป็น ที่ตั้ง แห่งโทสะ.... ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ.... (ก็ได้เห็นประจักษ์ในลักษณะอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งโลภะ ตรงเป็นอันเดียวกัน ทุกตัว อักษรไปจนถึงคำ ว่า “เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่าเป็น ผู้บริสุทธิ์ จากธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่ง โมหะ”)

ลำดับนั้น เขา

(๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไป ในภิกษุนั้น ครั้นมีสัทธาเกิดแล้ว
(๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
(๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
(๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
(๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
(๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม (ทรงจำ)
(๗) ย่อม ใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญ ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
(๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรม มีอยู่
(๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
(๑๐) ย่อมมีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
(๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม ครั้นมีความสมดุลแห่งธรรมแล้ว
(๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น เขาผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยนามกายด้วย ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วย ปัญญา ด้วย

ภารท๎วาชะ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่า ย่อมตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียง เท่านี้ และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความ จริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริงก่อน

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้. อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวัง ซึ่งการตามรู้ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ) มีได้ด้วยการ กระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตาม บรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำ เพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

(ต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสวิธี การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการประพฤติ กระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการ ดังที่กล่าวแล้วใน ข้อ ค.จนกระทั่งบรรลุ ถึงซึ่งความจริง )

การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น แหละ เป็นการตามบรรลุ ถึงซึ่งความจริง.

ภารท๎วาชะ !
การตามบรรลุ ถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุ ถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้ และเราบัญญัติการตามบรรลุ ถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.

“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำ เพียงเท่านี้. บุคคลชื่อว่า ย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงท่านี้. อนึ่งข้าพเจ้าก็มุ่งหวังซึ่งการตามบรรลุซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้...”

(ต่อไปนี้ กาปทิกมาณพนั้น ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การ ตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ดังที่พระองค์ ได้ตรัสตอบเป็นลำดับไป )



ธรรม เป็นอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
(พิจารณจากตั้งตนไว้ในธรรมข้อ๑๒ ไปหาศรัทธาข้อที่๑ )

ภารท๎วาชะ ! การตั้งตนไว้ในธรรม (ปธาน)
เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึง ซึ่งความจริง
ถ้าบุคคลไม่ตั้งตนไว้ใน ธรรมแล้วไซร้เขาก็ไม่พึงตามบรรลุถึง ซึ่ง ความจริงได้. เพราะเหตุที่เขาตั้งตน ไว้ในธรรม เขาจึงบรรลุถึงซึ่งความจริง เพราะเหตุ นั้น การตั้งตนไว้ในธรรมจึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง

ภารท๎วาชะ ! การพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม (ตุลนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม ถ้าบุคคลไม่พบ ความสมดุลแห่งธรรม นั้นแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงตั้งตนไว้ในธรรม. เพราะเหตุที่เขาพบ ซึ่งความสมดุลแห่ง ธรรม เขาจึงตั้งตนไว้ใน ธรรม เพราะเหตุนั้น การพิจารณาหาความสมดุลแห่งธรรม จึงเป็น ธรรม มีอุปการะมากแก่การตั้งตนไว้ในธรรม.

ภารท๎วาชะ ! อุสสาหะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การพิจารณาหาความสมดุล แห่งธรรม ถ้าบุคคลไม่พึงมีอุสสาหะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงพบซึ่งความสมดุลแห่งธรรม. เพราะเหตุที่เขามีอุสสาหะ เขาจึงพบความสมดุลแห่งธรรม เพราะเหตุนั้น อุสสาหะจึง เป็นธรรม มีอุปการะมากแก่การพิจารณา หาความสมดุลแห่งธรรม.

ภารท๎วาชะ ! ฉันทะ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่อุสสาหะ ถ้าบุคคลไม่พึงยังฉันทะให้เกิด แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึง มีอุสสาหะ. เพราะเหตุที่ฉันทะ เกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ เพราะเหตุนั้น ฉันทะจึงเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่อุสสาหะ.

ภารท๎วาชะ ! ความที่ธรรมทั้งหลายทนได้ต่อการเพ่งพินิจ (ธมฺมนิชฺฌานกฺขนฺติ) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรม ทั้งหลายไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจแล้วไซร้ ฉันทะก็ไม่พึงเกิด. เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลาย ทนต่อการเพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพินิจ จึงเป็นธรรม มีอุปการะมาก แก่ฉันทะ.

ภารท๎วาชะ ! ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ (อตฺถุปปริกฺขา) เป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ความที่ธรรมทั้งหลาย ทนต่อการเพ่งพินิจ ถ้าบุคคล ไม่เข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะแล้วไซร้ ธรรมทั้งหลาย ก็ไม่พึงทนต่อการเพ่งพินิจ. เพราะเหตุที่บุคคลเข้าไป ใคร่ครวญซึ่งอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนต่อการเพ่งพินิจ เพราะเหตุนั้น การเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมาก แก่ความที่ธรรมทั้งหลาย ทนต่อการ เพ่งพินิจ.

ภารท๎วาชะ ! การทรงไว้ซึ่งธรรม (ธมฺมธารณา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะ. ถ้าบุคคลไม่ทรงไว้ ซึ่งธรรมแล้วไซร้เขาก็ไม่อาจเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้ เพราะเหตุที่เขาทรงธรรม ไว้ได้ เขาจึงเข้าไปใคร่ครวญซึ่งอรรถะได้. เพราะเหตุนั้น การทรงไว้ซึ่งธรรม จึงเป็น ธรรมมีอุปการะมาก แก่ความเข้าไป ใคร่ครวญซึ่งอรรถะ.

ภารท๎วาชะ ! การฟังซึ่งธรรม (ธมฺมสฺสวน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม. ถ้าบุคคลไม่พึง ฟังซึ่งธรรมแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงทรงธรรมไว้ได้ เพราะเหตุที่เขาฟังซึ่งธรรม เขาจึงทรงธรรมไว้ได้. เพราะเหตุนั้น การฟังซึ่งธรรม จึงเป็นธรรมมีอุปการะ มากแก่การทรงไว้ซึ่งธรรม.

ภารท๎วาชะ ! การเงี่ยลงซึ่งโสตะ (โสตาวธาน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม. ถ้าบุคคลไม่เงี่ยลง ซึ่งโสตะแล้วไซร้ เขาก็ไม่พึงฟังซึ่งธรรมได้ เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลงซึ่งโสตะ เขาจึงฟังซึ่งธรรมได้. เพราะเหตุนั้น การเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึงเป็นธรรมมี อุปการะมากแก่การฟังซึ่งธรรม.

ภารท๎วาชะ ! การเข้าไปนั่งใกล้ (ปยิรุปาสนา) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลงซึ่งโสตะ. ถ้าบุคคล ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้แล้ว ไซร้ เขาก็ไม่พึงเงี่ยลงซึ่งโสตะ เพราะเหตุที่เขาเข้าไปนั่งใกล้ เขาจึงเงี่ยลง ซึ่ง โสตะได้. เพราะเหตุนั้น การเข้าไปนั่งใกล้ จึงเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยลง ซึ่งโสตะ.

ภารท๎วาชะ ! การเข้าไปหา (อุปสงฺกมน) เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้. ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหา แล้วไซร้ เขาก็ไม่พึง เข้าไปนั่งใกล้ได้เพราะเหตุที่เขาเข้าไปหา เขาจึงเข้าไปนั่งใกล้ได้. เพราะเหตุนั้น การเข้าไปหาจึงเป็นธรรม มีอุปการะมากแก่การ เข้าไปนั่งใกล้.

ภารท๎วาชะ ! สัทธา เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา. ถ้าสัทธาไม่พึงเกิด แล้วไซร้ เขาก็จะไม่เข้าไปหา เพราะเหตุที่ สัทธาเกิดขึ้น เขาจึงเข้าไปหา.
เพราะเหตุนั้น สัทธาจึงเป็นธรรม มีอุปการะมาก แก่การไปหา.

(ขอผู้ศึกษาพึงสังเกตว่า สิ่งที่เรียกว่าความจริงในสูตรนี้ หมายถึงความจริงทั่วไปไม่มุ่งหมาย เฉพาะ จตุราริยสัจ แต่อาจจะใช้กับความจริงอันมีชื่อว่า จตุราริยสัจ ได้ โดยประการทั้งปวง จึงได้นำมากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้.)






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์