เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 จงหลีกเร้น แล้วจักรู้อริยสัจ จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง 1404
 

(โดยย่อ)

ตรัสว่า
- จงหลีกเร้น แล้วจักรู้อริยสัจ
- จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง
- เมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามนํ้า

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด
ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐ ว่า
- นี้เป็นทุกข์
- นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
- นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์
- นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของทุกข์
- จิตเป็นสมาธิแล้วรู้อริยสัจได้แจ่มใส เหมือนเห็นของในนํ้าอันใส
- ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผุดผ่อง ก็น้อมจิตไปต่อ ญาณเป็นเครื่องสิ้นอาสวะ
- ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ...

ภิกษุ ท. ! คำว่า...
1. ฝั่งใน.. เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖
2. ฝั่งนอก.. เป็นชื่อของอายตนะ ภายนอก ๖
3. จมเสียในท่ามกลาง.. เป็นชื่อของ นันทิราคะ
4. ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก.. เป็นชื่อของอัส๎มิมานะ (สำคัญว่ามีเรา)
5. ถูกมนุษย์จับไว้.. ได้แก่ภิกษุผู้เพลิดเพลินโศกเศร้ามีสุข ไปกับคฤหัสถ์
6. ถูกอมนุษย์จับไว้.. ได้แก่ภิกษุผู้ปรารถนาเป็นเทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง
7. ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้.. เป็นชื่อของ กามคุณ ๕
8. ผู้เน่าเสียเองในภายใน .. เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามก

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ หน้า 75 (ภาคนำ)

ตรัสว่าจงหลีกเร้น แล้วจักรู้อริยสัจ

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด.

ภิกษุ ผู้หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า ?
รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐ ว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนิน ให้ถึงความดับไม่เหลือของ ทุกข์ ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงประกอบความเพียรในการหลีกเร้นเถิด.

ภิกษุผู้หลีกเร้น ย่อมรู้ได้ ตามเป็นจริง. ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอ พึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ” ดังนี้เถิด.



ตรัสว่าจงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ ตามเป็นจริง.

รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งอะไรเล่า ?
รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริง อันประเสริฐ ว่า

“นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ ”
ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! พวกเธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด.
ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง ทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริง ว่า

“นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ นี้เป็น ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ ” ดังนี้เถิด.

จิตเป็นสมาธิแล้วรู้อริยสัจได้แจ่มใส เหมือนเห็นของในนํ้าอันใส
ครั้นจิตตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสเป็นธรรมชาติ อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ ไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ ญาณเป็น เครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย.

เธอย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า
“นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์ และนี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์ เหล่านี้ เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เป็นเหตุให้ เกิด อาสวะ นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ และนี้เป็น ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของอาสวะ ”
ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว จาก อาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะคืออวิชชา.

ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณ หยั่งรู้ ว่า
“พ้นแล้ว”เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ ทำสำเร็จ แล้ว กิจอื่น ที่จะต้องทำเพื่อความเป็น อย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใส ที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว คนมีจักษุ (ไม่บอด) ยืนอยู่ บนฝั่ง ณ ที่นั้น เขาจะเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่ และ ว่ายไปในห้วงน้ำนั้น.

เขาจำจะสำนึกใจอย่างนี้ว่า
“ห้วงน้ำนี้ใสไม่ขุ่นมัวเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้ หยุดอยู่บ้าง ว่ายไป บ้าง ในห้วงน้ำนั้น” อุปมานี้เป็นฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ว่า
“นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุ ให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับ ไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทาง ดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือ ของทุกข์ เหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย นี้เป็นเหตุให้ เกิดอาสวะ นี้เป็นความดับไม่เหลือของอาสวะ และนี้เป็น ทางดำเนิน ให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของอาสวะ ”
ดังนี้.

เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นแล้ว จากอาสวะคือกาม อาสวะคือภพ อาสวะ คืออวิชชา.

ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณ หยั่งรู้ ว่า
“พ้นแล้ว” เธอนั้นรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ สำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก”
ดังนี้



เมื่อประพฤติถูกทาง กิริยาที่ไปนิพพาน เบาสบายเหมือนไม้ลอยตามนํ้า

ภิกษุ ท. ! พวกเธอได้เห็น ท่อนไม้ใหญ่โน้น ซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่น้ำคงคา หรือไม่? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสียที่ ฝั่งใน หรือฝั่งนอก ไม่จมเสียในกลาง น้ำ ไม่ขึ้นไปติด แห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์ จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียว น้ำวนวนไว้ ไม่ผุเสียเอง ในภายใน ไซร้ ท่อนไม้ที่ กล่าวถึงนี้ จักลอยไหลพุ่งออกไป สู่ทะเล เพราะเหตุว่า ลำแม่น้ำคงคา โน้มน้อมลุ่มลาด เอียงเทไปสู่ทะเล อุปมานี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้พวกเธอทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่เข้าไปติด เสีย ที่ฝั่งใน ไม่เข้าไปติดเสียที่ฝั่งนอก ไม่จมเสียในท่ามกลาง ไม่ติดแห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนวนไว้ ไม่เน่าเสียเอง ใน ภายในไซร้ พวกเธอก็จะเลื่อนไหล ไปสู่นิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิมีธรรมดา ที่โน้มน้อม ลุ่มลาด เอียงเทไปสู่นิพพาน ฯลฯ.

ภิกษุ ท. !
คำว่า ฝั่งใน เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง
คำว่า ฝั่งนอก เป็นชื่อของอายตนะ ภายนอก ๖ อย่าง
คำว่า จมเสียในท่ามกลาง เป็นชื่อของ นันทิราคะ
คำว่า ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก เป็นชื่อของอัส๎มิมานะ (ความสำคัญว่าเรามีเราเป็น)
คำว่า ถูกมนุษย์จับไว้ ได้แก่ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ระคนด้วยคฤหัสถ์ เพลิดเพลิน ด้วยกัน โศกเศร้าด้วยกันมีสุข เมื่อคฤหัสถ์ เหล่านั้นมีสุข เป็นทุกข์ เมื่อคฤหัสถ์ เหล่านั้น เป็นทุกข์ ประกอบการงาน ในกิจการที่บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์เหล่านั้นด้วยตน ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกมนุษย์จับไว้.

คำว่า ถูกอมนุษย์จับไว้ ได้แก่ ภิกษุบางรูป ในกรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้ง ความปรารถนา เทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้หรือว่าด้วย ตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดา ผู้มีศักดา ใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อยอย่างใด อย่างหนึ่ง ดังนี้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่าผู้ถูกอมนุษย์จับไว้
คำว่า ถูกเกลียวนํ้าวนวนไว้  เป็นชื่อของ กามคุณ ๕

ภิกษุเป็นผู้เน่าเสียเองในภายใน คืออย่างไรเล่า ? คือ ภิกษุบางรูปใน กรณีนี้ เป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่ลามกไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดที่ตนเอง นึกแล้ว ก็กินแหนงตัวเอง มีการกระทำที่ต้องปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็ปฏิญญาว่า เป็น สมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ปฏิญญา ว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะมีสัญชาติหมักหมมเหมือนบ่อที่เทขยะมูลฝอย

ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล.






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์