เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
อริยสัจสี่ หลายนัยยะ 1405
 

(โดยย่อ)

อริยสัจสี่ หลากหลายนัยยะ
1. การรู้อริยสัจ เป็นของไม่เหลือวิสัยพระอริยบุคคล จึงมีปริมาณมาก
2. การรู้อริยสัจ แลกเอากับการถูกแทงด้วยหอกวันละ 300 ครั้ง ตลอด 100 ปี
3. การรู้อริยสัจ คือคุณสมบัติของอริยะบุคคล
4. ตถาคตก็เป็นอริยะ คือผู้กล่าวสัจจะ ต่อโลกมนุษย์ เทวโลก พรหมโลก มารโลก และหมู่สัตว์
5. อริยสัจสี่ (แบบพิเศษ) ธรรมที่ควรรอบรู้ ที่ควรละ ที่ควรกระทำให้เจริญ ที่ควรกระทำให้แจ้ง

ชุดข้อมูล อริยสัจสี่



เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
รวมพระสูตร
พระโมคคัลลานะ
พระสารีบุตร
พระเทวทัต
นิครนถ์ปริพาชก
พระมหากัปปินะ
(ดูทั้งหมด)

 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 93 (ภาคนำ)


(1)
การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัยพระอริยบุคคล จึงมีปริมาณมาก

วัจฉะ ! ภิกษุผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย(๑) ได้กระทำ ให้แจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้าย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! ภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไป แห่งอาสวะทั้งหลาย(๑) ได้กระทำ ให้แจ้งแล้วด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.
(๑) สำเร็จอรหันต์ในทิฐธรรม

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ เป็นโอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพที่ไปเกิดนั้น (๒) ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วน ในเบื้องต่ำห้าอย่าง ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช้ห้าร้อยมีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็นคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน เป็นผู้สนองโอวาท มีความสงสัย อันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าวด้วย ความสงสัยว่า นี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจาก ความครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำ ของผู้อื่น อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นโอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพานในภพ ที่ไปเกิดนั้น (๒) ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่ง สัญโญชนม์ ส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่า มากเป็นแท้.

วัจฉะ ! อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็นหญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ทำตามคำสอน เป็นผู้สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว ไม่ต้องกล่าว ด้วยความสงสัยว่า นี่อะไร ๆ เป็นปราศจาก ความครั่นคร้ามไม่ต้องเชื่อตาม คำของผู้อื่น อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไมใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่ามากเป็นแท้.


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 99 (ภาคนำ)

(2)
การรู้อริยสัจควรแลกเอา
(แลกเอาระหว่างรู้อริยสัจสี่กับถูกแทงด้วยหอกวันละ 300 ครั้ง ตลอด 100 ปี)

              แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอกวันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า “เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เขาจักแทงท่าน ด้วยหอกร้อยเล่มตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่ม ตลอดเวลาเย็น.

ท่านบุรุษ-ผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ จนมีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี โดยล่วงไปแห่งร้อยปี แล้ว ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ที่ท่าน ยังไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง.

ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้น และที่สุดอัน บุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น เบื้องต้นและที่สุด แห่งการประหาร ด้วยหอกด้วย ดาบด้วยหลาวด้วยขวาน ก็จะไม่ปรากฏ นี้ฉันใด

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วย ทุกข์ กับด้วยโทมนัส ก็หามิได้ แต่ เรากล่าว การรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับ ด้วยสุข กับด้วยโสมนัสทีเดียว.

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 104 -1 (ภาคนำ)

(3)
เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”
(รู้อริยสัจสี่ คืออริยะบุคคล)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐเหล่านี้ มีอยู่ ๔ อย่าง.
สี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? สี่อย่าง คือ
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง เหล่านี้แล
เป็น ตถา คือมีความเป็นอย่างนั้น
เป็น อวิตถา คือไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
เป็น อนัญญถา คือไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากความเป็นอย่างนั้น
เพราะเหตุนั้นเรา จึงกล่าวสัจจะเหล่านั้นว่าเป็น “อริยะ (อันประเสริฐ)” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


อริยสัจจากพระโอษฐ์หน้า 105 (ภาคนำ)

(4)
เหตุที่ทำให้สัจจะเหล่านี้ได้นามว่า “อริยะ”(อีกนัยหนึ่ง)
(อริยะบุคคลคือ ตถาคต ผู้กล่าวสัจจะ)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ความจริงอันประเสริฐ เรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

ผู้กล่าวสัจจะเหล่านั้น คือตถาคตผู้เป็นอริยะ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์

เพราะเหตุนั้น เรา จึงกล่าวสัจจะเหล่านั้น ว่าเป็น “อริยะ” ดังนี้.

เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึง ประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 114-2 (ภาคนำ)

(5)
อริยสัจสี่ในรูปแบบพิเศษ


ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ มีอยู่.
สี่ประการคืออะไรเล่า?
สี่ประการคือ
ธรรมที่
ควรรอบรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่
ธรรมที่
ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่
ธรรมที่ ควรกระทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่
ธรรมที่ ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง มีอยู่

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรรอบรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรรอบรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
อวิชชา และ ภวตัณหา เหล่านี้ เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นธรรมที่ควรกระทำให้เจริญ ด้วยปัญญา อันยิ่ง

ภิกษุ ท. ! ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า ?
วิชชา และ วิมุตติ เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ด้วยปัญญา อันยิ่ง

ภิกษุ ท. ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล มีอยู่.





 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์