เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่ พุทธวจน คำสอนของพระศาสดา คำสอนตถาคต รวมพระสูตรสำคัญ อนาคามี เว็บไซต์เผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้า
ค้นหาคำที่ต้องการ            

 
 อริยสัจสี่ รูปแบบต่างๆ นัยยะทั่วไป ขันธ์๕ อายตนะภายใน ด้วยอันตะ ด้วยสักกายะ ด้วยคำว่าโลก 1406
 

(โดยย่อ)
อริยสัจสี่ ในรูปแบบต่างๆ
1. อริยสัจสี่ นัยยะทั่วไป (ทุกข์ ความเกิด...สมุทัย ตัณหาคือเชื้อ นิโรธ ดับตัณหา.. มรรค๘)
2. อริยสัจสี่ ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์ (ความยึดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
3. อริยสัจสี่ ทรงแสดงด้วยอายตนะภายในหก (จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มนะ)
4. อริยสัจสี่ เนื่องกันจนเห็นแต่อริยสัจเดียวไม่ได้ (ย่อมเห็นครบทั้ง ๔)
5. ขยายความของจตุราริยสัจ (ทรงแสดงด้วยคำว่า อันตะ หรือ อริยสัจสี่)
6. ขยายความของจตุราริยสัจ (ทรงแสดงด้วยคำว่า สักกายะ)
7. ขยายความของจตุราริยสัจ (ทรงแสดงด้วยคำว่า โลก)

ชุดข้อมูล อริยสัจสี่

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน

 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 111-1 (ภาคนำ)

(1)
อริยสัจสี่ นัยทั่วไป

(ทุกข์)
ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบ กับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ ความปรารถนา สิ่งใดแล้ว ไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.(ทุกข์คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก ...โดยย่อคือ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทานคือทุกข์ )
(สมุทัย)
ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมี ความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น. (ตัณหา คือเหตุเกิดทุกข์ ประกอบด้วยความกำหนัด ทำให้เกิดความเพลิดเพลินในอามรณ์นั้น)
(นิโรธ)
ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือความดับสนิท เพราะจางไป โดยไม่มีเหลือ ของตัณหานั้นนั่นเองคือความ สละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น. (ความดับของตัณหา ความดับสนิท ความจางคลาย คือการดับทุกข์)
(มรรค)
ภิกษุ ท. ! นี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึง ความดับ ไม่เหลือ ของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติ อันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบ ด้วย องค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้องการพูดจา ที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึก ที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่น ที่ถูกต้อง (มรรค๘ คือทางดำเนิน....)


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 112  (ภาคนำ)

(2)

อริยสัจสี่
ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์
(อริยสัจสี่คือ ความยึดมั่นในขันธ์ทั้ง ๕)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ ความจริงอัน ประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ และความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของทุกข์.

(ทุกข์)
ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? คำตอบ คือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้ง แห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้น อะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึด มั่นถือมั่น ได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ.
ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์.
(ขันธ์ทั้ง๕ คือ รูป เวทนา สัญญา .. อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือทุกข์)

(สมุทัย)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหา อันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจ ความเพลิน มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ตัณหา ในกาม ตัณหาใน ความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.
ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิด ทุกข์.
(ตัณหา ที่เป็นเครื่องนำไปสู่ความกำหนัด ความเพลิน ... คือเหตุเกิดทุกข์)

(นิโรธ)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิท เพราะความจางคลายไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละ ลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั่นเอง อันใด.
ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์.
(ความดับของตัณหา ปล่อยวาง ไม่อาลัย...คือเหตุดับของทุกข์)

(มรรค)

ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทาง อันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์๘ นี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงาน ชอบ การเลี้ยง ชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.
ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือ ของทุกข์.
(มรรค๘ คือทางดำเนิน....)

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็น ทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้เถิด.


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 114  (ภาคนำ)

(3)
อริยสัจสี่ ทรงแสดงด้วยอายตนะหก

(อายตนะภายใน๖ คือทุกข์)

ภิกษุ ท. ! อริยสัจมีสี่อย่างเหล่านี้.. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?
สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือทุกขสมุทัย อริยสัจคือ ทุกขนิโรธ อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

(ทุกข์)
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? ควรจะกล่าวว่าได้แก่อายตนะภายในหก.
อายตนะภายในหก เหล่าไหนเล่า ? คือ
จักขุอายตนะ
โสตะอายตนะ
ฆานะอายตนะ
ชิวหาอายตนะ
กายะอายตนะ
มนะอายตนะ
.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.
(อายตนะภายใน๖ คือทุกข์)

(สมุทัย)
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ?
คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำ ให้มีการ เกิดอีก อันประกอบด้วย ความกำหนัด เพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้ เพลิดเพลินยิ่งใน อารมณ์ นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา
ภวตัณหา
วิภวตัณหา.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกขสมุทัย.
(เหตุเกิดทุกข์ คือความกำหนัด เพราะอำนาจความเพลิน)

(นิโรธ)

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือความดับสนิท
เพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของ ตัณหา นั้น
ความสละทิ้ง ความสลัดคืน
ความปล่อยวาง
ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหา นั่นเอง.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธ.
(ความดับทุกข์คือ ปล่อยวาง ความจางคลาย)

(มรรค)

ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วย องค์แปดประการนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
(มรรค๘ คือทางดำเนิน....)

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล อริยสัจ ๔ อย่าง.

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทุกขสมุทัย เป็นอย่างนี้ ทุกข-นิโรธ เป็นอย่างนี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างนี้” ดังนี้.


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 120 (ภาคนำ)
(4)


อริยสัจสี่ เนื่องกันจนเห็นแต่อริยสัจเดียวไม่ได้ #4
(ย่อมเห็นครบทั้ง ๔)

ท่านผู้มีอายุ ท. ! ข้าพเจ้าได้รับฟังเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุ ท. !
(ทุกข์)
ผู้ใดเห็นทุกข์
ผู้นั้น
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
(สมุทัย)
ผู้ใดเห็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ผู้นั้น
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
(นิโรธ)
ผู้ใดเห็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ผู้นั้น
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
(มรรค
ผู้ใดเห็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ผู้นั้น
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
ย่อมเห็นแม้ซึ่ง ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ดังนี้ แล.



อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 122 (ภาคนำ)
(5)


หน้า 122 (ภาคนำ)
ขยายความของจตุราริยสัจ
(ทรงแสดงด้วยคำว่า อันตะ หรือ อริยสัจสี่ )

ภิกษุ ท. ! อันตะ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? สี่อย่างคือ
  อันตะ คือสักกายะ (ถือว่าเป็นกายตน)
  อันตะ คือสักกายสมุทัย (
ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน)
  อันตะ คือสักกายนิโรธ (ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน)
  อันตะ คือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
(ถือว่าเป็นมรรคให้ถึงความดับไม่เหลือกายตน)
(ทุกข์)
ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ควรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า. ห้าอย่างไรเล่า ? ห้าอย่างคือ
  รูปู ปาทานขันธ์
  เวทนู ปาทานขันธ์
  สัญญู ปาทานขันธ์
  สังขารู ปาทานขันธ์
  วิญญาณู ปาทานขันธ์

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะ คือ สักกายะ.

(สมุทัย)

ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ?
คือตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจ ความเพลิน มีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ตัณหาเหล่านี้คือ
  กามตัณหา
  ภวตัณหา
  วิภวตัณหา.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะ คือ สักกายสมุทัย.

(นิโรธ)
ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ?
คือความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
  ความสละทิ้ง
  ความสลัดคืน
  ความปล่อย
  ความทำไม่ให้มีที่อาศัย
ซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะ คือ สักกายนิโรธ.

(มรรค)
ภิกษุ ท. ! อันตะ คือสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ หนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วย องค์แปดประการนี้เอง กล่าวคือ
  สัมมาทิฏฐิ
  สัมมาสังกัปปะ
  สัมมาวาจา
  สัมมากัมมันตะ
  สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ
  สัมมาสติ
  สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า อันตะ คือ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุ ท. ! อันตะ ๔ อย่าง เหล่านี้แล.


อริยสัจจากพระโอษฐ หน้า 123 (ภาคนำ)

(6)
ขยายความของจตุราริยสัจ
(ทรงแสดงด้วยคำว่า สักกายะ)


ภิกษุ ท. ! เราจะแสดง ซึ่ง
สักกายะ สักกายสมุทัย สักกายนิโรธ และ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
แก่พวกเธอ.

เธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.
(ทุกข์)
ภิกษุ ท. ! สักกายะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ควรจะกล่าวว่าได้แก่อุปาทานขันธ์ห้า.
อุปาทานขันธ์ห้า เหล่าไหนเล่า ?
  อุปาทานขันธ์ห้า คือ
  รูปูปาทานขันธ์
  เวทนูปาทานขันธ์
  สัญญูปาทานขันธ์
  สังขารูปาทานขันธ์วิญญาณูปาทานขันธ์.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายะ.
(อุปทาทานในรูป ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้คือ สักกายะ)

(สมุทัย)
ภิกษุ ท. ! สักกายสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ตัณหาอันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจ ความเพลินมีปกติทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ
  กามตัณหา
  ภวตัณหา
  วิภวตัณหา.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายสมุทัย.
(ตัณหา คือเครื่องทำให้เกิด ประกอบด้วยความกำหนัด ความเพลินอย่างยิ่ง คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้คือ สักกายสมุทัย)

(นิโรธ)

ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ
  ความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
  ความสละทิ้ง
  ความสลัดคืน
  ความปล่อย
  ความทำไม่ให้มีที่อาศัย
ซึ่งตัณหานั้นนั่นแหละ.
ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธ.
(ความจางคลาย สละทิ้ง สลัดคืน ความปล่อยซึ่งตัณหา คือสักกายนิโรธ)
(มรรค)
ภิกษุ ท. ! สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
คือหนทางอันประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยองค์แปดประการ กล่าวคือ
  สัมมาทิฏฐิ
  สัมมาสังกัปปะ
  สัมมาวาจา
  สัมมากัมมันตะ
  สัมมาอาชีวะ
  สัมมาวายามะ
  สัมมาสติ
  สัมมาสมาธิ.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้แล.
(มรรค๘ คือทางดำเนินให้ถึง สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา)


อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า 124 (ภาคนำ)

(7)
ขยายความของจตุราริยสัจ(ทรงแสดงด้วยคำว่า โลก)
(ตถาคตถอนตนจากโลกได้แล้ว)

ภิกษุ ท. !

(ทุกข์)
โลก เป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคต เป็นผู้ถอนตนจากโลก ได้แล้ว.
(สมุทัย)
เหตุให้เกิดโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว.
ตถาคต ละเหตุให้เกิดโลก ได้แล้ว.
(นิโรธ)
ความดับไม่เหลือแห่งโลก เป็นสิ่งที่ตถาคต รู้พร้อมเฉพาะแล้ว
ตถาคต ทำให้แจ้ง ความดับไม่เหลือแห่งโลกได้แล้ว.
(มรรค)
ทางให้ถึง ความดับไม่เหลือแห่งโลก เป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว.
ตถาคต ทำให้เกิดมีขึ้นได้แล้ว ซึ่งทางให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งโลกนั้น.

....แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง เราได้
บัญญัติ โลก
เหตุเกิด ของโลก
ความดับไม่เหลือ ของโลก
และทางให้ถึงความดับไม่เหลือของ โลกไว้




 






พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์