เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
วัจฉโคตร ปริพาชก
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
          More

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ วัจฉะปริพาชก (ไม่รวมอรรถกถา)
W 101
           ออกไปหน้าหลัก 3 of 4
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  วัจฉโคตตสังยุต : พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๒ - หน้าที่ ๒๙๘
  1) ความไม่รู้ใน รูป เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง (ไม่รู้รูป ไม่รู้เหตุเกิด ไม่รู้เหตุดับ ไม่รู้ปฏิปทา)
  2) ความไม่รู้ใน เวทนา เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง
  3) ความไม่รู้ใน สัญญา เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง
  4) ความไม่รู้ใน สังขาร เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง
  5) ความไม่รู้ใน วิญญาณ เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง
  6) การไม่เห็น ขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง
   
  โมคคัลลานสูตร : พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๙๑ - หน้าที่ ๓๙๕
  7) วัจฉะถามปัญหากับพระโมคคัลลานะ เป็นปัญหาที่พระศาสดาไม่ทรงพยากรณ์
  8) อะไรหนอเมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้วจึงไม่พยากรณ์
  9) ก็เพราะปริพาชกลัทธิอื่น เห็นจักษุ เห็นหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่านั้นของเรา
  10) ส่วนตถาคตทรงห็นว่า จักษุ เห็นหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา
  11) วัจฉะ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถามคำถามแบบเดียวกับที่ถามพระโมคคัลลลานะ พระองค์ก็ตรัสว่า ข้อนี้เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์
  12) ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
  13) ข้อที่น่าอัศจรรย์ ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของศาสดากับสาวก ลงตัวกันได้ไม่มีผิด
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๙๒ - หน้าที่ ๒๙๘

1)
๑๒. วัจฉโคตตสังยุต
๑. รูปอัญญาณสูตร

ความไม่รู้ในรูปเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง

          [๕๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

          ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่นสรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้บ้าง?

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ
เพราะความไม่รู้

ในรูป
ในเหตุเกิดแห่งรูป
ในความดับแห่งรูป
ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งรูป

จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง เหล่านี้ ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ... สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

           ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิ หลายอย่างเหล่านี้ เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้างฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง



2)

๒. เวทนาอัญญาณสูตร
ความไม่รู้ในเวทนาเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง

          [๕๕๖] พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ
เพราะความไม่รู้
ในเวทนา
ในเหตุเกิดแห่งเวทนา
ในความดับแห่งเวทนา
ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งเวทนา

พึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

          ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้น ในโลก ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง



3)

๓. สัญญาณอัญญาณสูตร

ความไม่รู้ในสัญญาเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง

          [๕๕๗] พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ
เพราะความไม่รู้
ในสัญญา
ในเหตุเกิดแห่งสัญญา
ในความดับแห่งสัญญา
ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสัญญา

จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

         ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้บ้าง



4)
๔. สังขารอัญญาณสูตร
ความไม่รู้ในสังขารเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง

          [๕๕๘] พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ
เพราะความไม่รู้
ในสังขารทั้งหลาย
ในเหตุเกิดแห่งสังขาร
ในความดับแห่งสังขาร
ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร

จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

         ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้น ในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง



5)

๕. วิญญาณอัญญาณสูตร
ความไม่รู้ในวิญญาณเป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง

          [๕๕๙] พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ
เพราะความไม่รู้
ในวิญญาณ
ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
ในความดับแห่งวิญญาณ
ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ

จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้า ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

          ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้น ในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง



6)
๖-๑๐ รูปอทัสสนาทิสูตรที่ ๑-๕
การไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้เกิดทิฏฐิหลายอย่าง

          [๕๖๐] พระนครสาวัตถี. วัจฉโคตรปริพาชกนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในรูป ฯลฯ ในปฏิปทาที่จะให้ ถึงความดับแห่งรูป ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง
[๕๖๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในเวทนา ...
[๕๖๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในสัญญา ...
[๕๖๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในสังขารทั้งหลาย ...
[๕๖๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เห็นในวิญญาณ ...

๑๑-๑๕ รูปอนภิสมยาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่ตรัสรู้ขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๖๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในรูป ...
[๕๖๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในเวทนา ...
[๕๖๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในสัญญา ...
[๕๖๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในสังขารทั้งหลาย ...
[๕๖๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่ตรัสรู้ในวิญญาณ ...

๑๖-๒๐ รูปอนนุโพธาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่รู้ตามขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๗๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ พราะไม่รู้ตามในรูป ...
[๕๗๑] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในเวทนา ...
[๕๗๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในสัญญา ...
[๕๗๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในสังขารทั้งหลาย ...
[๕๗๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่รู้ตามในวิญญาณ ...

๒๑-๒๕ รูปอัปปฏิเวธาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่กำหนดรู้ขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๗๕] พระนครสาวัตถี. ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยง ฯลฯ เพราะไม่แทงตลอดในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ

๒๖-๓๐ รูปอสัลลักขณาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่กำหนดในขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๗๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่กำหนดในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ

๓๑-๓๕ รูปอนุปลักขณาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่เข้าไปกำหนดขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๗๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เข้าไปกำหนดในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ

๓๖-๔๐ รูปอสมเปกขณาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่เพ่งในขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๗๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เพ่งในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ

๔๑-๔๕ รูปอัปปัจจเวกขณาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่พิจารณาขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๗๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่พิจารณาในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ

๔๖-๕๐ รูปอัปปัจจุปลักขณาทิสูตรที่ ๑-๕
เพราะไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในขันธ์ ๕ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๘๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะในรูป ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ

๕๑-๕๔ รูปอัปปัจจักขกัมมาทิสูตรที่ ๑-๔
กรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในขันธ์ ๕ เป็นเหตุเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๘๑] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้นในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในรูป ในเหตุเกิดแห่งรูป ในความดับแห่งรูป ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งรูป ฯลฯ
[๕๘๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในเวทนา ฯลฯ
[๕๘๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในสัญญา ฯลฯ
[๕๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในสังขารทั้งหลาย ฯลฯ

๕๕. วิญญาณอัปปัจจักขกัมมสูตร
กรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในวิญญาณ เป็นเหตุเกิดทิฏฐิหลายอย่าง
[๕๘๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรวัจฉะ เพราะกรรมคือการไม่เห็นเฉพาะในวิญญาณ ในเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ในความดับแห่งวิญญาณ ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่ง วิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้ขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

          ดูกรวัจฉะ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้ทิฏฐิหลายอย่างเหล่านี้เกิดขึ้น ในโลกว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง.

จบ วัจฉโคตตสังยุต.



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๙๑ - หน้าที่ ๓๙๕

7)
(วัจฉะถามปัญหากับพระโมคคัลลานะ เป็นปัญหาที่พระศาสดาไม่พยากรณ์)
โมคคัลลานสูตร

          [๗๘๘] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชก เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า

          ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่เที่ยงหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกมีที่สุดหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ โลกไม่มีที่สุดหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ ชีพก็อันนั้นหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ
ม. ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์

ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด อีกก็หามิได้หรือ
ม. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์



8)
(อะไรหนอเมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้วจึงไม่พยากรณ์)

          [๗๘๙] ว. ดูกรท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกบ้างสัตว์เบื้องหน้า แต่ตาย แล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

          ดูกรท่านโมคคัลลานะ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พระสมณโคดม เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี โลกไม่เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดีชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ชีพเป็นอย่างอื่นสรีระ ก็เป็นอย่างอื่นก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี



9)
(ก็เพราะปริพาชกลัทธิอื่น เห็นจักษุ เห็นหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่านั้นของเรา)

          [๗๙๐] ม. ดูกรวัจฉะ ก็เพราะพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมตามเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นหู... จมูก... ลิ้น...กาย... ใจ ว่านั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีก ก็หามิได้บ้าง



10)
(ส่วนตถาคตทรงห็นว่า
จักษุ เห็นหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่านั้นไม่ใช่ของเรา)

          ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็น จักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะฉะนั้น เมื่อพระตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง ก็ดี ฯลฯสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้ก็ดี



11)
(วัจฉะ เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถามคำถามแบบเดียวกับที่ถามพระโมคคัลลลานะ พระองค์ก็ตรัสว่า ข้อนี้เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์)

          [๗๙๑] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก ถึงกันไปแล้ว จึงนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

          ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
          ดูกรวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ

          ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ

          พ. ดูกรวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์ ฯ
          ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวกปริพาชกผู้ถือ ลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ย่อมพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

          ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระโคดมผู้เจริญ เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี



12)
(ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเป็น เรา นั่นเป็นตัวตนของเรา)

          ๗๙๒] พ. ดูกรวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นจักษุว่า นั่นของเรานั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็น หู... จมูก... ลิ้น...กาย... ใจว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

          ดูกรวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมทรงพิจารณาเห็น จักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้นเมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์ อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง ก็ดี ฯลฯสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี



13)
(ข้อที่น่าอัศจรรย์ ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของศาสดากับสาวก ลงตัวกันได้ไม่มีผิด)

          [๗๙๓] ว. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้สมกันได้ ไม่ผิด เพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อกี้นี้ข้าพระองค์ ได้เข้าไปหาสมณ มหาโมคคัลลานะแล้วได้ถามความข้อนี้ แม้สมณมหาโมคคัลลานะ ก็ได้พยากรณ์ความ ข้อนี้ ด้วยบทเหล่านี้ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่ข้าพระองค์ ดุจพระโคดมผู้เจริญ เหมือนกัน

        ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะ กับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบท ที่สำคัญ

   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์