เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
วัจฉโคตร ปริพาชก
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
          More

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของ วัจฉะปริพาชก (ไม่รวมอรรถกถา)
W 101
           ออกไปหน้าหลัก 2 of 4
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  มหาวัจฉโคตตสูตร เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร : พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๔ - หน้าที่ ๒๐๒
  1) เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร
  2) ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศล (อกุศลธรรม-กุศลธรรมบถ๑๐)
  3) สาวกตถาคตสิ้นอาสวะไม่ใช่แค่ร้อย สองร้อย สามร้อย..ทีแท้มีมากอยู่ทีเดียว
  4) อุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ของเราสิ้นสังโยชน์ ๕ ไม่กลับมาโลกนั้น อีกมีมากทีเดียว
  5) อุบาสกผู้บริโภคกาม แต่ทำตามคำสอนของตถาคต ที่แท้มีมากอยู่ทีเดียว
  6) อุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์ของเราสิ้นสังโยชน์ ๕ ไม่กลับมาโลกนั้น อีกมีมากทีเดียว
  7) อุบาสิกาผู้บริโภคกาม แต่ทำตามคำสอนของตถาคต ที่แท้มีมากอยู่ทีเดียว
  8) พรหมจรรย์นี้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ พุทธบริษัท๔ บำเพ็ญธรรมตามคำสอนฯ
  9) ปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา (แต่ต้องอยู่ปริวาสให้ครบ ๔ เดือน)
  10) วัจฉะบรรลุสังโยชน์ ๓ พระศาสดาจึงให้เจริญสมถะและวิปัสสนายิ่งขึ้นไปอีก
  11) พระศาสดาทรงแนะอภิญญา ๖ (ความสามารถด้านต่างๆ)
 

12) ทานวัจฉโคตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์

 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๙๔ - หน้าที่ ๒๐๒


1)
๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

          [๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปะ เขตพระนคร ราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ปริพาชกวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลว่า ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านพระโคดม เป็นเวลา นานแล้ว ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระโคดม จงทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ข้าพเจ้าโดยย่อเถิด

          พ. ดูกรวัจฉะ เราพึงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ท่าน โดยย่อก็ได้ โดยพิสดารก็ได้ ก็แต่ว่าเราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

          วัจฉโคตตปริพาชก ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่าอย่างนั้น ท่านผู้เจริญ



2)

ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศล (อกุศลธรรม-กุศลธรรมบถ๑๐)

          [๒๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรวัจฉะ โลภะแล เป็นอกุศล อโมหะ เป็นกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็นกุศล โมหะเป็นอกุศล ดูกรวัจฉะธรรมสามข้อนี้เป็นอกุศล ธรรมสามข้อนี้เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล

          ดูกรวัจฉะ
ปาณาติบาต แล เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นกุศล อทินนาทาน เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นกุศล
กาเมสุมิจฉาจาร เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นกุศล
มุสาวาท (พูดเท็จ) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากมุสาวาท เป็นกุศล
ปิสุณาวาจา(ยุยง ส่อเสียด) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณาวาจา เป็นกุศล
ผรุสวาจาเป็น(หยาบคาย) อกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจา เป็นกุศล
สัมผัปปลาปะ
(เพ้อเจ้อ) เป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้น จากสัมผัปปลาปะ เป็นกุศล
อภิชฌา(ความโลภ) เป็นอกุศล อนภิชฌา เป็นกุศล
พยาบาท เป็นอกุศล อัพยาบาท เป็นกุศล
มิจฉาทิฏฐิ เป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิ เป็นกุศล

          ดูกรวัจฉะ ธรรมสิบข้อนี้เป็นอกุศล ธรรมสิบข้อนี้เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล

          ดูกรวัจฉะ เพราะตัณหาอันภิกษุละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้วทำให้เป็นดุจ ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ



3)

สาวกตถาคตสิ้นอาสวะไม่ใช่แค่ร้อย สองร้อย สามร้อย..ทีแท้มีมากอยู่ทีเดียว
ภิกขุปุจฉา

          [๒๕๕] ท่านพระโคดมจงยกไว้ ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ?

          ดูกรวัจฉะ พวกภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้ว เข้าถึงอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว (คุณสมบัติของพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะ)

          ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ ก็ภิกษุณีแม้รูปหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกา ของท่านพระโคดม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ?

          ดูกรวัจฉะ พวกภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้ว เข้าถึงอยู่นั้นมีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้า ร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว



4)

อุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ของเราสิ้นสังโยชน์ ๕ ไม่กลับมาโลกนั้น อีกมีมากทีเดียว
อุปาสกปุจฉา

          [๒๕๖] ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ พวกภิกษุณีจงยกไว้ ก็ อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวเป็น สพรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพ นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ?

        (๑) ดูกรวัจฉะ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวก(บุรุษ) ของเราฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว เป็น สพรหมจารีเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพาน ในภพ นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว (อนาคามี)



5)
อุบาสกผู้บริโภคกาม แต่ทำตามคำสอนของตถาคต ที่แท้มีมากอยู่ทีเดียว

          ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ ก็อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของพระโคดม ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะ โอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้วปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา มีอยู่หรือ?

         (๒) ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสก ผู้เป็นสาวก(ชาย) ของเรา ฝ่ายคฤหัสนุ่งผ้าขาว บริโภคกามทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจาก ความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา อยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อยไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว (คุณสมบัติของโสดาบัน และสกทาคามี)



6)
อุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์ของเราสิ้นสังโยชน์ ๕ ไม่กลับมาโลกนั้น อีกมีมากทีเดียว

          ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่ง ผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้ ก็อุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดม ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น อันมีไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ

         (๓) ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกา(สตรี) ของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้า ขาว เป็นสพรหมจารีณีเป็นโอปปาติกา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อยไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว(อนาคามี)



7)
อุบาสิกาผู้บริโภคกาม แต่ทำตามคำสอนของตถาคต ที่แท้มีมากอยู่ทีเดียว

          ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยกไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จงยกไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาวเป็น สพรหมจารี ก็จงยกไว้ ส่วนอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดม ฝ่าย คฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตามคำสอนผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้าม ได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เชื่อต่อผู้อื่น ใน คำสอนของศาสดา มีอยู่หรือ?

         (๔) ดูกรวัจฉะ พวกอุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตามคำสอนผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจาก ความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของ ศาสดา อยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อยไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว (คุณสมบัติของโสดาบัน และสกทาคามี)



8)

(พรหมจรรย์นี้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ พุทธบริษัท๔ บำเพ็ญธรรมตามคำสอนฯ)
ความเป็นผู้บำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์

          [๒๕๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมเท่านั้น จักได้บำเพ็ญธรรมนี้ ให้บริบูรณ์ ส่วนพวกภิกษุ จักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น
          แต่
เพราะท่านพระโคดม ได้เป็นผู้บำเพ็ญธรรมนี้ให้ บริบูรณ์ และพวกภิกษุ ก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักบริบูรณ์ ได้ด้วยเหตุนั้น

          ถ้าท่านพระโคดม จักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์แล้วก็ดี พวกภิกษุได้บำเพ็ญ ให้บริบูรณ์แล้วก็ดี แต่ พวกภิกษุณี จักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จัก ไม่บริบูรณ์ ได้ด้วยเหตุนั้น
          แต่
เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญ ธรรมนี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณี ก็บำเพ็ญให้ บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น

          [๒๕๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดม จักได้บำเพ็ญธรรมนี้ ให้ บริบูรณ์ และ พวกภิกษุ จักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณี จักได้บำเพ็ญให้ บริบูรณ์แล้ว
         แต่ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็น สพรหมจารี * จักไม่บำเพ็ญ ให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จัก ไม่บริบูรณ์ ได้ด้วยเหตุนั้น
*(สพรหมจาริณี แปลว่าเพื่อนนักบวช)

          แต่เพราะท่านพระโคดม ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญให้ บริบูรณ์ พวกภิกษุณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ ด้วยเหตุนั้น

          ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดม จักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ จักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณี จักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวก อุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี จักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
           แต่ พวกอุบาสก
ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์ ก็จัก ไม่บริบูรณ์ ได้ด้วยเหตุนั้น

          แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญ ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และ พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงบริบูรณ์ได้ ด้วยเหตุนั้น

          ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก ฝ่าย คฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และ พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว แต่ พวกอุบาสิกา ฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว เป็น สพรหมจาริณี* จักไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ ก็จัก ไม่บริบูรณ์ ได้ด้วยเหตุนั้น

          แต่เพราะท่านพระโคดม ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญ ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวบริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น

          ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดม ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสิกา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็ จัก ไม่บริบูรณ์ ได้ด้วยเหตุนั้น

          แต่เพราะท่านพระโคดม ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์
พวกภิกษุ ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ภิกษุณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสก ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
พวกอุบาสิกา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
และ พวกอุบาสิกา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ จึงได้บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น



9)

ปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา (แต่ต้องอยู่ปริวาสให้ครบ ๔ เดือน)

          [๒๕๙] ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา มีแต่จะน้อมไปโอนไป เบนไปสู่สมุทร คงจรดสมุทรอยู่ ฉันใด บริษัทของท่านพระโคดมซึ่งมีคฤหัสถ์ และ บรรพชิตก็ฉันนั้น มีแต่จะน้อมไป โอนไป เบนไป สู่พระนิพพานคงจรดพระนิพพานอยู่ ฉันนั้น

          ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉันใด ท่านพระโคดม ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้ บรรพชา อุปสมบท ในสำนักของท่านพระโคดม

          ดูกรวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังจะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้น จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้ บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อหวังจะ บรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้วจึงจงให้บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ไซร้ ข้าพระองค์ จักอยู่ปริวาสให้ครบสี่ปี โดยล่วงสี่ปีไป ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้ข้าพระองค์ บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด วัจฉโคตตปริพาชก ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว



10)


(วัจฉะบรรลุสังโยชน์ ๓ พระศาสดาจึงให้เจริญสมถะและวิปัสสนายิ่งขึ้นไปอีก)
สมถวิปัสสนา

          [๒๖๐] ก็ท่านวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว.กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ำ(สังโยชน์) ที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคล พึงบรรลุ ด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์ บรรลุแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ ข้าพระองค์เถิด

          ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสนาให้ยิ่งขึ้น ไปเถิด

          ดูกรวัจฉะ ธรรมทั้งสอง คือสมถะและวิปัสนานี้ เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ



11)


พระศาสดาทรงแนะอภิญญา ๖ (ความสามารถด้านต่างๆ)
อภิญญา ๖

1. (อิทธิวิธี-ผู้มีฤทธิ์)

          [๒๖๑] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดดุจไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้เดินบนน้ำไม่แตก เหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไป ตลอดพรหมโลกก็ได้ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในอิทธิวิธีนั้นๆ เทียว

2. (ได้ยินเสียงทิพย์ เสียงเทวดา เสียงมนุษย์ในที่ไกล)

          [๒๖๒] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงฟังเสียงทั้งสอง คือเสียงทิพย์ และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตธาตุ ของมนุษย์ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในทิพยโสต ธาตุ นั้นๆ เทียว

3. เจโตปริยญาณ (รู้ใจสัตว์)

          [๒๖๓] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วย คือ จิตมีราคะ พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะจิตมีโทสะ พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะพึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ พึงรู้ว่าจิตหดหู่หรือจิตฟุ้งซ่าน พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตพึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตไม่เป็น สมาธิ จิตหลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในเจโตปริยญาณนั้นๆ เทียว

4. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติในอดีตได้)

          [๒๖๔] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้างยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้างแสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก บ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น

          ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกชาติ ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในบุพเพนิวาสานุสติญาณนั้นๆ เทียว

5. ทิพยจักษุ (ตาทิพย์ เห็นการเคลื่อนสู่ภพใหม่ )

          [๒๖๕] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริตวจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ กายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย อำนาจ สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ดังนี้

          เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ ทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้. เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถ ในจูตูปปาตญาณนั้นๆ เทียว

6. อาสวักขยญาณ (สิ้นอาสวะ)

          [๒๖๖] ดูกรวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจเป็น ผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้นๆ เทียว



12)

ท่านวัจฉโคตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์

          [๒๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านวัจฉโคตร ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ครั้นแล้วหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ไม่นานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

           ก็ท่านวัจฉโคตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ ทั้งหลาย

          [๒๖๘] ก็สมัยนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันไป เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค ท่านพระวัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้กำลังเดินไปแต่ไกล จึงเข้าไปหาภิกษุ เหล่านั้นจนถึงที่ใกล้ แล้วได้ถามว่า

          ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะไปไหนกัน?

          ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทั้งหลายจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

          ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงถวายบังคมพระบาท ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า(ฝากบอก) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัจฉโคตรภิกษุ กราบถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บำเรอพระผู้มีพระภาคแล้ว ข้าพระองค์ ได้บำเรอพระสุคตแล้ว (กิจที่ทำได้ทำเสร็จแล้ว)

          ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวัจฉโคตร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์