เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอุบาลี  ผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ 
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระอุบาลี (ไม่รวมอรรถกถา)
ภิกษุอรหันต์ผู้ได้เอตทัคคะด้านผู้ทรงวินัย (ผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎก)
U 105
           ออกไปหน้าหลัก 5 of 6
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  39. เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน
  40. เรื่องพระกัปปิตกะเถระ (พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์มรณภาพจึงสร้างสถูป)
      40.1 พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลี
      40.2 พระผู้มีพระภาคสอบถาม ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
  41. เรื่องห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีดมิให้อุปสมบท
  42. ทรงพรรณาคุณของวินัย และสรรเสริญท่านพระอุบาล(วินัยกถา)
  43. ผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย (ภิกษุแสดงธรรมตรงกันข้ามกับศาสดา แต่บอกว่าเป็นธรรมของศาสดา)
  44. ผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย (แสดงธรรมตามพุทธวจน แม้คำสอนนั้นจะทำให้สงฆ์ต้องแตกกันก็ตาม)
  45. อุบาลีทูลขอให้พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมโดยย่อ (พึงรู้ธรรมของตถาคตเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด)
     45.1 ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการ เพื่อสงบระงับ
  46. เหตุปัจจัยที่ทำให้ภิกษุทะเลาะกัน (วิวาทสูตร)
 
 


(39)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑ วินัยปิฎก หน้าที่ ๒๒๙

เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน

            [๗๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่า ได้เสพเมถุนธรรมใน ภรรยาเก่า แล้วคิดว่า เราไม่เป็นสมณะ จักสึกละ แล้วเดินทาง ไปสู่เมืองภารุกัจฉะ พบท่าน พระอุบาลีในระหว่างทาง จึงกราบเรียนเรื่องนั้นให้ทราบ ท่านพระอุบาลีกล่าวอย่างนี้ว่า

           อาวุโส อาบัติไม่มีเพราะความฝัน



(40)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓ วินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ หน้าที่ ๒๐๒

เรื่องพระกัปปิตกะเถระ
(พวกภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ มรณภาพจึงสร้างสถูป)

            [๓๓๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเขตพระนครเวสาลี. ครั้งนั้น ท่านพระกัปปิตกะ อุปัชฌายะของท่าน พระอุบาลี ยับยั้งอยู่ในสุสานประเทศ ครั้งนั้น มีภิกษุณีรูปหนึ่ง ผู้แก่กว่า พวกภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ ถึงมรณภาพลง.

            ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ช่วยกันนำศพออกไปเผา แล้วก่อสถูปไว้ใกล้ๆ ที่อยู่ ของท่าน พระกัปปิตกะ แล้วพากันไปร้องไห้ณ สถูปนั้น. จึงท่านพระกัปปิตกะ รำคาญ เสียงร้องไห้ นั้น แล้วได้ทำลายสถูปนั้น พังกระจาย.

            ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ปรึกษากันเป็นความลับว่า พระกัปปิตกะนี้ ทำลาย สถูปแม่เจ้า ของพวกเรา มาพวกเรามาช่วยกันฆ่าท่านเสียเถิด.

            ภิกษุณีรูปหนึ่ง ได้แจ้งข้อปรึกษากันนั้น แก่ท่านพระอุบาลี พระอุบาลี ได้กราบเรียน เรื่องนั้น ให้ท่านพระกัปปิตกะทราบ ท่านพระกัปปิตกะ ได้ออกจาก วิหาร ไปหลบซ่อนอยู่.

            ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ได้เดินผ่านเข้าไปทางวิหาร ของท่าน พระกัปปิตกะ แล้วช่วยกัน ขนก้อนหิน และก้อนดิน ทับถมวิหารของท่าน แล้วหลีกไป ด้วยเข้าใจว่า ท่านถึงมรณภาพแล้ว ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ท่านครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาต ในเมืองเวสาลีแต่เช้า. ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ได้เห็นท่าน ยังเดินเที่ยว บิณฑบาตอยู่


(40.1)
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลี

            ครั้นแล้วได้พูดกันอย่างนี้ว่า พระกัปปิตกะนี้ยังมีชีวิตอยู่ ใครหนอ นำเอา ความลับ ของเราไปบอก ครั้นได้ทราบข่าวว่า พระคุณเจ้าอุบาลีนำไป จึงพากัน ด่าท่าน พระอุบาลีว่า ท่านนี้เป็นคนสำหรับคอยรับใช้ เมื่อเวลาอาบน้ำ เป็นคนคอย ชำระ ของเปรอะเปื้อน เป็นคนมีสกุลต่ำ ไฉนจึงได้ลอบนำความลับของเรา ไปเที่ยวบอก เขาเล่า.

            บรรดาภิกษุณี ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณี ฉัพพัคคีย์จึงได้ด่าพระคุณเจ้าอุบาลีเล่า ...


(40.2)
พระผู้มีพระภาคสอบถาม ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

ทรงสอบถาม

            พระผู้มีพระภาค ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุณี ฉัพพัคคีย์ พากันด่าภิกษุอุบาลี จริงหรือ?
            ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

            พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี เหล่าฉัพพัคคีย์ จึงได้ด่าภิกษุอุบาลีเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ ความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ...

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:

พระบัญญัติ

            ๑๐๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ด่าก็ดี กล่าวขู่ก็ดี ซึ่งภิกษุ เป็นปาจิตตีย์.

เรื่องพระกัปปิตกะเถระ จบ.



(41)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๔๒


เรื่องห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีดมิให้อุปสมบท

            [๑๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นสุขุมาลชาติ มีหมู่ญาติที่รู้จักกันในตระกูลหมดสิ้นไป.

            ครั้งนั้น เขาได้มีความดำริว่า เราเป็นผู้ดี ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์ ที่ยังหาไม่ได้ หรือไม่สามารถ จะทำโภคทรัพย์ที่หาได้แล้ว ให้เจริญงอกงาม ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะอยู่เป็นสุข และไม่ต้องลำบาก แล้วคิดได้ในทันทีนั้นว่า พวกสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติเป็นสุข มีความประพฤติเรียบร้อย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร เราพึงจัดแจงบาตรจีวร โกนผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดเสียเอง แล้วไปอารามอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย.

            ต่อมา เขาได้จัดแจงบาตรจีวร โกนผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดเอง แล้วไปอารามกราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย.

            ภิกษุทั้งหลายถามว่า คุณมีพรรษาได้เท่าไร?
เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่ามีพรรษาได้เท่าไร นั่นอะไรกัน ขอรับ?
ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของคุณ?
เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นอะไรกัน ขอรับ?

            ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งเรื่องนั้น ต่อท่านพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี ขอนิมนต์ ท่านสอบสวนบรรพชิตรูปนี้.

            ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวน จึงแจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ.             ท่านพระอุบาลีได้แจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.

            พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ คนลักเพศภิกษุ ไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ ผู้ไปเข้ารีดเดียรถีย์ ภิกษุไม่พึงให้ อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.



(42)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๘๓

วินัยกถา
ทรงพรรณาคุณของวินัย และสรรเสริญท่านพระอุบาลี

            [๒๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย คือทรงพรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรงสรรเสริญ คุณของท่านพระอุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง ภิกษุทั้งหลายหารือกันว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยายคือ ทรงพรรณนาคุณของวินัย คุณของการเรียนวินัย ทรงสรรเสริญคุณของท่านพระอุบาลีโดยเฉพาะเจาะจง อย่า กระนั้นเลย พวกเราจงเรียนพระวินัย ในสำนักท่านพระอุบาลีกันเถิด

            ก็แลภิกษุเหล่านั้นมากมาย ทั้งเถระ ทั้งนวกะ ทั้งมัชฌิมะ ต่างพากันเรียน พระวินัยใน สำนักท่านพระอุบาลี ท่านพระอุบาลียืนสอนด้วยความเคารพ พระเถระ ทั้งหลาย แม้พระเถระทั้งหลายก็ยืนเรียนด้วยความเคารพธรรม บรรดาภิกษุเหล่านั้น พระเถระและท่านพระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้าภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

            พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะ ผู้สอนนั่งบน อาสนะเสมอกันหรือสูงกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุเถระ ผู้เรียนนั่งบน อาสนะเสมอกันหรือต่ำกว่าได้ ด้วยความเคารพธรรม ฯ

            [๒๘๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก ยืนรับการสอนในสำนักท่าน พระอุบาลี ย่อมเมื่อยล้า จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะเสมอกัน นั่งรวมกันได้ ฯ

            [๒๘๖] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายมีความสงสัยว่า ภิกษุชื่อว่ามีอาสนะ เสมอกัน ด้วยคุณสมบัติเพียงเท่าไร จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุระหว่าง ๓ พรรษา นั่งรวมกันได้



(43)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๔๑

ผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย
(ภิกษุแสดงธรรมตรงกันข้ามกับศาสดา แต่บอกว่าเป็นธรรมของศาสดา)

            [๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำ ลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้

อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้

อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ เป็นไฉน

พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลาก ว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบ ใจสลากนี้



(44)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๔๓

ผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย
(แสดงธรรมตามพุทธวจน แม้คำสอนนั้นจะทำให้สงฆ์ต้องแตกกัน)

            [๔๑๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรกอยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ เป็นไฉน

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

             ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมแสดง อธรรม ว่าเป็นธรรม
มีความเห็น ในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม
มีความเห็นในความแตกกันว่า เป็นธรรม
ไม่อำพรางความเห็น
ไม่อำพรางความถูกใจ
ไม่อำพรางความชอบใจ
ไม่อำพรางความจริง

            ย่อมประกาศให้จับสลากว่านี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ สัตถุศาสน์(พุทธวจน) ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้

            ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัปพอช่วยเหลือได้

            อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงอาบัติชั่ว หยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน ความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพราง ความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้



(45)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๑๒

อุบาลีทูลขอให้พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมโดยย่อ
(ให้ทรงจำธรรมที่เป็นคำสั่งสอนของศาสดาที่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เพื่อความดับ โดยส่วนเดียวเท่านั้น)

            [๘๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดแสดงธรรมโดยย่อ แก่ ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด

            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแล ว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึง ทรงธรรมเหล่านั้นไว้ โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอน ของศาสดา

            อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมนี้ เป็นวินัยนี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา

45.1
ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการ เพื่อสงบระงับ

            [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการนี้ เพื่อสงบ ระงับ อธิกรณ์ที่เกิดแล้วๆ

ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือสงฆ์

๑) พึงให้สัมมุขาวินัย (สำหรับระงับต่อหน้า) ๑
๒) พึงให้สติวินัย (สำหรับพระอรหันต์ผู้มีสติไพบูลย์) ๑
๓) พึงให้อมูฬหวินัย (สำหรับภิกษุบ้า) ๑
๔) ปฏิญญาตกรณะ (ให้ทำการปรับโทษตามคำปฏิญาณ) ๑
๕) เยภุยยสิกา (ปรับโทษถือข้างมากเป็นประมาณ) ๑
๖) ตัสสปาปิยสิกา (ปรับโทษสมกับความผิดแก่ภิกษุจำเลยนั้น) ๑
๗) ติณวัตถารกะ (ตัดสินทำนองกลบหญ้า คือ ทำการประนีประนอม) ๑

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการนี้แล เพื่อสงบระงับ อธิกรณ์ ที่เกิดแล้ว



(46)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๑

วิวาทสูตร
เหตุปัจจัยที่ทำให้ภิกษุทะเลาะกัน

            [๔๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความหมายมั่น การทะเลาะ การแก่งแย่ง และการวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ ที่เป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลาย อยู่ไม่สำราญ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม

ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย

ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต ไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ว่าตถาคตได้กล่าวไว้ได้บอกไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคต ได้กล่าวไว้ได้บอกไว้ ว่าตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้

ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา

ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่าตถาคตได้บัญญัติไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้

            ดูกรอุบาลี นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ความหมายมั่น การทะเลาะการ แก่งแย่ง และการวิวาทเกิด ขึ้นในสงฆ์ ที่เป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ

อุบาลี จบ

(เรื่องอุบาลีเถระ ส่วนใหญ่เป็นพระสูตรที่อยู่ในพระวินัย ซึ่งมีหลายพระสูตรมาก บางพระสูตรพิจาณาแล้วเห็นว่า เป็นอรรถถาที่มีการแต่งเติมเพิ่มเข้าไป จึงคัดมาเฉพาะที่คิดว่าเป็นคำสอนจากพระศาสดาโดยตรง)


 


   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์