เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอุบาลี  ผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ 
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระอุบาลี (ไม่รวมอรรถกถา)
ภิกษุอรหันต์ผู้ได้เอตทัคคะด้านผู้ทรงวินัย (ผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎก)
U 105
           ออกไปหน้าหลัก 6 of 6
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  พระวินัย
  1. ทูลถามการโจทก์ พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการ
    ๑. เรามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ หรือหนอ
  ๒. เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ หรือหนอ
  ๓. จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย หรือหนอ
  ๔. เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะ หรือหนอ
  ๕. เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัย ถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ หรือหนอ
  2. ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน พึงถึง ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕
    ๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
  ๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง
  ๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
  ๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ประโยชน์
  ๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว
  3. ผู้ถูกโจทก์โดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน ด้วยอาการ ๕
    ๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๕. ท่านถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  4. ผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน ด้วยอาการ ๕
    ๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  ๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
  5. ผู้ถูกโจทก์โดยธรรมต้องเดือดร้อน พึงถึงความเดือดร้อน ด้วย อาการ ๕
    ๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านต้องเดือดร้อน
  ๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านต้องเดือดร้อน
  ๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้องเดือดร้อน
  ๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน
  ๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้องเดือดร้อน
  6. ผู้โจทก์พึงมนสิการธรรม ๕ ประการ ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น
    ๑. ความการุญ
  ๒. ความหวังประโยชน์
  ๓. ความเอ็นดู
  ๔. ความออกจากอาบัติ
  ๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า
  7. ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ
    ๑. ความจริง
  ๒. ความไม่ขุ่นเคือง
 

อุบาลี จบ
เรื่องอุบาลีเถระ มีหลายพระสูตรมากจึงคัดมาบางพระสูตร ที่เป็นทั้งสุตตันตปิฎก และวินัยปิฎก
บางพระสูตรพิจาณาแล้วเห็นว่าเป็น อรรถถา จึงข้ามไป จึงรวมมาเฉพาะพระสูตรที่เห็นว่าเป็น คำสอนจากพระศาสดาโดยตรง

 
 


(1)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๒๔๕

ทูลถามการโจทก์

          [๕๐๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา ธรรมเท่าไรในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการ ในตนแล้วโจทผู้อื่น ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า (๑) เรามีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิธรรมนี้ มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่
เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกาย เสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้

          [๕๐๑] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า (๒) เรามีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีตำหนิ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติ ทางวาจา เสียก่อน เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้

          [๕๐๒] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า (๓) จิตของเรามีเมตตาปรากฏ ไม่อาฆาตในสพรหมจารีทั้งหลาย หรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีเมตตาจิตปรากฏ ไม่อาฆาตใน สพรหมจารี ทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตา จิต ในสพรหมจารี ทั้งหลาย เธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้

          [๕๐๓] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า (๔) เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้นเป็นธรรมอันเรา สดับมาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่

          ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต ทรงสุตะ เป็นที่สั่งสมสุตะธรรมเหล่านั้นใด ไพเราะ ในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น ไม่เป็นธรรมอันเธอสดับมาก ทรงไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่าน จงเล่าเรียนปริยัติเสียก่อนเธอย่อมจะมีผู้กล่าวดังนี้

          [๕๐๔] ดูกรอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา อย่างนี้ว่า (๕) เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ว วินิจฉัย ถูกต้องโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มีแก่เราหรือไม่ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็น ผู้จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีโดยพิสดาร สวดไพเราะ คล่องแคล่ววินิจฉัยถูกต้อง โดย สุตตะ โดยอนุพยัญชนะ เธอถูกถามว่า ท่าน ก็พระผู้มีพระภาคตรัสสิกขาบทนี้ ที่ไหน จะตอบไม่ได้ เธอย่อมจะมีผู้กล่าวว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยเสียก่อน เธอย่อม จะมีผู้ กล่าวดังนี้

          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ ในตนแล้ว พึงโจทผู้อื่น

          [๕๐๕] พระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจท ผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
           ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่นพึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:-
๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
๒. จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่เป็นจริง
๓. จักกล่าวด้วยคำสุภาพ จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ
๔. จักกล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำไร้ประโยชน์
๕. จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่มุ่งร้ายกล่าว

          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ในตน แล้วโจทผู้อื่น

(2)
ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรมต้องเดือดร้อน

          [๕๐๖] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความ เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึง ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลอันควร ท่านต้องเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านต้องเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ ท่านต้องเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน
๕. ท่านมุ่งร้ายโจท มิใช่มีเมตตาจิตโจท ท่านต้องเดือดร้อน

          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่น ไม่พึงสำคัญเรื่องที่โจทด้วย คำเท็จ

(3)
ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน

          [๕๐๗] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้อง เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ได้ถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านไม่ต้องเดือดร้อน

        ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม ไม่ต้องเดือดร้อนด้วยอาการทั้ง ๕ นี้

(4)
ผู้โจทก์โดยเป็นธรรมไม่ต้องเดือดร้อน

          [๕๐๘] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่ เดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อน ด้วยอาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่โจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ท่านไม่ต้องเดือดร้อน
๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ใช่มุ่งร้ายโจท ท่านไม่ต้องเดือดร้อน

          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยเป็นธรรม พึงถึงความไม่เดือดร้อนด้วยอาการ๕ นี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุแม้อื่นก็พึงสำคัญว่าควรโจทด้วยเรื่องจริง

(5)
ผู้ถูกโจทโดยธรรมต้องเดือดร้อน

          [๕๐๙] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อน ด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วย อาการ ๕ คือ:-
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลอันควร ไม่ใช่ถูกโจทโดยกาลอันไม่ควร ท่านต้องเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่เป็นจริง ท่านต้องเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านต้องเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านต้องเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่ถูกโจทด้วยมุ่งร้าย ท่านต้องเดือดร้อน

          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕นี้แล


(6)

ผู้โจทก์พึงมนสิการธรรม ๕ ประการ

          [๕๑๐] พระอุบาลีทูลถามว่า ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการ ธรรมเท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
         ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึง มนสิการธรรม ๕ อย่าง ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น คือ:-
๑. ความการุญ
๒. ความหวังประโยชน์
๓. ความเอ็นดู
๔. ความออกจากอาบัติ
๕. ความทำวินัยเป็นเบื้องหน้า

          ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ปรารถนาจะโจทผู้อื่น พึงมนสิการธรรม ๕ อย่างนี้ไว้ ในตน แล้วโจทผู้อื่น

(7)
ผู้ถูกโจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ

          [๕๑๑] พระอุบาลีทูลถามว่า ก็ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า

         พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
         ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทก์ พึงตั้งอยู่ในธรรม๒ ประการ คือ ความจริง ๑ ความไม่ขุ่นเคือง ๑

   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์