เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอุบาลี  ผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ 
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระอุบาลี (ไม่รวมอรรถกถา)
ภิกษุอรหันต์ผู้ได้เอตทัคคะด้านผู้ทรงวินัย (ผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎก)
U 104
           ออกไปหน้าหลัก 4 of 6
  คลิกดู ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร)    
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ)    
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้าจนพ่ายแพ้) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย)    
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน)    
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 10      
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  36. พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น
    36.1 กรรมเป็นธรรมวินัย หรือหนอ
    36.2 การกระทำที่ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย
  37. สังฆสามัคคี ๒ อย่าง
    37.1 สังฆสามัคคี เสียอรรถแต่ได้พยัญชนะ / ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ
    37.2 อุบาลีคาถา
  38. ปาราชิกกัณฑ์ กัตถปัญญัติวารที่ ๑ (พระมหากัสสปะถาม / อุบาลี ตอบ)
    38.1 คำถามและคำตอบ ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
    38.2 รายนามพระเถระผู้ทรงพระวินัย
    38.3 คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทที่๔
 
 



(36)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๒๑๕

พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น

          [๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลี เข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคว่า กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน กลับทำในที่ลับหลัง การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัย

          อุ. สงฆ์พร้อมเพรียงกัน
ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบถาม ....
ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ ....
ให้อมูฬหวินัย(หายจากบ้า) แก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย ....
ทำตัสสปาปิยสิกากรรม(ระงับโดยการลงโทษ) แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ....
ทำตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม ....
ทำนิยสกรรม(ถอดยศ ทำให้หมดอำนาจ) แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ....
ทำปัพพาชนียกรรม (ขับออกจากหมู่) แก่ ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ....
ทำปฏิสารนียกรรม (บังคับให้ขอขมา) แก่ภิกษุ ผู้ควร ปัพพาชนียกรรม ....
ทำอุเขปนียกรรม (วิธีลงโทษสงฆ์) แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารนียกรรม ....
ให้ปริวาส(ค้างคืน) แก่ภิกษุ ผู้ควรอุกเขปนียกรรม ....
ชักภิกษุผู้ควร ปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ....
ให้มานัต(ระเบียบปฎิบัติ) แก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ....
อัพภาน(กลับเข้าหมู่) ภิกษุ ผู้ควรมานัต ....
ให้ภิกษุ ผู้ควรอัพภาณ ให้อุปสมบทกุลบุตร
การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย กรรมที่ควรทำ ในที่ พร้อมหน้า แต่สงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำเสียในที่ลับหลัง อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

          อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบถาม .... ทำกรรม ที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ .... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ชักภิกษุผู้ควร ปริวาส เข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัต แก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... อัพภาณภิกษุ ผู้ควรมานัต .... ให้ภิกษุผู้ควร อัพภาน ให้อุปสมบทกุลบุตร อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

          [๒๐๐] อุ. กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำในที่ พร้อมหน้า การกระทำนั้น ชื่อว่า กรรมเป็นธรรมวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?
----------------------------------------------------------------------------------------------

(36.1)
กรรมเป็นธรรมวินัย หรือหนอ

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย

          อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถามแล้ว ทำโดยการสอบถาม .... ทำกรรมที่ควรทำ ตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ .... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย .... ให้อมูฬหวินัย ....แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ควรปริวาส .... ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุ ผู้ควรมานัต .... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน .... อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย กรรมที่ควรทำ ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำในที่พร้อมหน้า อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

          อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรม ที่ควรสอบถามแล้วทำโดยสอบถาม .... ทำกรรม ที่ควรทำ ตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ .... ให้สติวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรสติวินัย .... ให้อมูฬวินัยแก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส .... ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุ ผู้ควรมานัต .... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ....อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรม เป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

          [๒๐๑] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรสติวินัย .... ให้สติวินัย แก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย.
----------------------------------------------------------------------------------------------

(36.2)
การกระทำที่ชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย

          อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสาปาปิยสิกากรรม ....ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุควรตัชชนียกรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ....ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปฏิสารณียกรรม ....ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปริวาส .... ชักภิกษุ ผู้ควร ปริวาสเข้าหา อาบัติเดิม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควร ชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม .... ชักภิกษุ ผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม .... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต .... ให้มานัตแก่ภิกษุ ผู้ควรอัพภาน .... ให้ภิกษุผู้ควร อัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร .... อัพภานกุลบุตร ผู้ควร อุปสมบท การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?



(37)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๒๗๕

สังฆสามัคคี ๒ อย่าง
เรื่องที่ ยังสาวไม่ถึงมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี ถือว่า ไม่เป็นธรรม
เรื่องที่ สาวไปถึงมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี ถือว่า เป็นธรรม

          [๒๕๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลี เข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นแล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาค นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มี พระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่ง สงฆ์ ความร้าวราน แห่งสงฆ์ การถือต่างกัน แห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคี นั้นเป็นธรรม หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท แห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกัน แห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทัน วินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทันสาวเข้าไปถึงมูลเหตุจากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี นั้น ไม่เป็นธรรม.

          อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท แห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกัน แห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไป ถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้น เป็นธรรม หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          พ. อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกัน แห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคีสังฆสามัคคีนั้น เป็นธรรม.

          อ. สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้า?
----------------------------------------------------------------------------------------------

(37.1)
สังฆสามัคคี เสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ
สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถ ได้ทั้งพยัญชนะ

          พ. อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ ๑ สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ ๑

          ๑. อุบาลี สังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่ง สงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ทันวินิจฉัยเรื่องนั้น ยังไม่ทัน สาวเข้าไปถึง มูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคีนี้ เรียกว่าสังฆสามัคคีเสียอรรถ แต่ได้พยัญชนะ.

          ๒. อุบาลี สังฆสามัคคี ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะเป็นไฉนเล่า?
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาทแห่งสงฆ์ ความแตกแห่ง สงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ การถือต่างกันแห่งสงฆ์ การทำต่างกันแห่งสงฆ์ ย่อมมี เพราะเรื่องใด สงฆ์วินิจฉัยเรื่องนั้น สาวเข้าไปถึงมูลเหตุ จากมูลเหตุ แล้วทำ สังฆสามัคคี นี้เรียกว่าสังฆสามัคคี ที่ได้ทั้งอรรถ ได้ทั้งพยัญชนะ อุบาลี สังฆสามัคคี ๒ อย่างนี้แล.

          ลำดับนั้น ท่านพระอุบาลีลุกจากอาสน์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือ ไปทาง พระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถา ว่าดังนี้:-
----------------------------------------------------------------------------------------------

(37.2)
อุบาลีคาถา

          [๒๖๐] อุ. เมื่อกิจของสงฆ์ การปรึกษาวินัย การตีความวินัย และการวินิจฉัย ความแห่งวินัย เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนชนิดไร จึงมีอุปการะมาก เป็นคนชนิดไร จึงควรยกย่อง ในพระธรรมวินัยนี้

พ. เบื้องต้น ภิกษุไม่ถูกตำหนิโดยศีล หมั่นตรวจตรามารยาท และ สำรวมอินทรีย์ เรียบร้อย ศัตรูติเตียนไม่ได้โดยธรรม เพราะเธอไม่มีความผิด ที่ฝ่ายศัตรู จะพึงกล่าว ถึงเธอผู้เช่นนั้น ตั้งอยู่ในศีลวิสุทธิ เป็นผู้แกล้วกล้า พูดจา ฉาดฉาน เข้าที่ประชุม ไม่สะดุ้ง ไม่ประหม่า กล่าวถ้อยคำมีเหตุ ไม่ให้เสียความ ถึงถูกถาม ปัญหา

ในที่ประชุม ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่นิ่งอั้น ไม่เก้อ เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญ กล่าวถ้อยคำ ถูกกาล เหมาะแก่การพยากรณ์ย่อมยังหมู่วิญญูชน ให้พอใจ มีความเคารพ ในภิกษุทั้งหลาย ที่แก่พรรษากว่า เป็นผู้แกล้วกล้าใน อาจริยวาท ของตน สามารถเพื่อจะวิจารณ์ ชำนาญในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว ฉลาดจับข้อพิรุธ ของฝ่ายศัตรู เป็นเหตุให้ฝ่ายศัตรู ถึงความถูกปราบ และมหาชน ก็ยินยอม

          อนึ่ง ภิกษุนี้ย่อมไม่ลบล้าง ลัทธิเป็นที่เชื่อถือ คืออาจริวาทของตน แก้ปัญหา ได้ไม่ติดขัด สามารถในหน้าที่ทูต และยอมรับทำกิจของสงฆ์ดุจรับบิณฑบาต ของที่เขานำมาบูชาฉะนั้น ถูกคณะภิกษุส่งไปให้ทำหน้าที่เจรจา ก็ไม่ทะนงตัวว่า ตนทำได้ เพราะการทำหน้าที่เจรจานั้นภิกษุต้องอาบัติ เพราะวัตถุมีประมาณเท่าใด และการออกจากอาบัติย่อมมีด้วยวิธีใด วิภังค์ทั้งสองนั้น มาแล้วด้วยดีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในวิธีการออกจากอาบัติ

          อนึ่ง ภิกษุทำกรรมมีก่อความบาดหมางเป็นต้นเหล่าใด ย่อมถึงการขับออก และถูกขับออก ด้วยเรื่องเช่นใด เธอฉลาดในวิภังค์ ย่อมเข้าใจวิธีการรับเข้าหมู่ แม้นั้น ที่ควรทำแก่ภิกษุ ผู้ประพฤติวัตรนั้น เสร็จแล้ว มีความเคารพในพระผู้เจริญกว่า คือที่เป็นผู้ใหญ่ ปานกลาง และผู้ใหม่ เป็นบัณฑิต ประพฤติประโยชน์แก่มหาชน ในโลกนี้ ภิกษุผู้เช่นนั้นนั่น จึงควรยกย่องในธรรมวินัยนี้แล.

โกสัมพิขันธกะ ที่ ๑๐ จบ.



(38)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๘ วินัยปิฎก ปริวาร หน้าที่ ๑


มหาวิภังค์ ๑๖ มหาวาร
ปาราชิกกัณฑ์
กัตถปัญญัติวารที่ ๑

(พระมหากัสสปะ ถาม / อุบาลี ตอบ)

          [๑] พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน?
ทรงปรารภใคร?
เพราะเรื่องอะไร?

ในปาราชิก สิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ สัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ สาธารณบัญญติ อสาธารณบัญญัติ เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ?

บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จัดเข้าในอุเทศไหน?
นับเนื่องในอุเทศไหน?
มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร?
บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน?

บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน?
บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง เกิดขึ้นด้วยสมุฏฐานเท่าไร?
บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์ อย่างไหน?
บรรดาสมถะ ๗ ย่อมระงับด้วยสมถะเท่าไร?
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไร เป็นวินัย?
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอภิวินัย?

ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้นอะไรเป็นปาติโมกข์?
ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์?
อะไรเป็นวิบัติ?
อะไรเป็นสมบัติ?
อะไรเป็นข้อปฏิบัติ?

พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไร?
พวกไหนศึกษา?
พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว?
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร?
พวกไหนย่อมทรงไว้ ?
เป็นถ้อยคำของใคร ?
ใครนำมา ?
----------------------------------------------------------------------------------------------

(38.1)
คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

          [๒] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน?
ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.

ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภพระสุทินน์ กลันทบุตร.

ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่พระสุทินน์ กลันทบุตร เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา.

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น มีบัญญัติ อนุบัญญัติ อนุปันนบัญญัติ หรือ?
ต. มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๒, อนุปันนบัญญัติ ไม่มี ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น.

ถ. มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติ หรือ?
ต. มีแต่สัพพัตถบัญญัติ.

ถ. มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติ หรือ?
ต. มีแต่สาธารณบัญญัติ.

ถ. มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ หรือ?
ต. มีแต่อุภโตบัญญัติ.

ถ. บรรดาปาติโมกขุทเทศ ๕ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น จักเข้าในอุเทศไหน? นับเนื่องในอุเทศไหน?
ต. จัดเข้าในนิทาน นับเนื่องในนิทาน.

ถ. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่เท่าไร?
ต. มาสู่อุเทศโดยอุเทศที่ ๒.

ถ. บรรดาวิบัติ ๔ เป็นวิบัติอย่างไหน?
ต. เป็นศีลวิบัติ.

ถ. บรรดาอาบัติ ๗ กอง เป็นอาบัติกองไหน?
ต. เป็นอาบัติกองปาราชิก.

ถ. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ อย่าง ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น เกิดด้วยสมุฏฐาน
เท่าไร?
ต. เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิดแต่กายกับจิต มิใช่วาจา.

ถ. บรรดาอธิกรณ์ ๔ เป็นอธิกรณ์อะไร?
ต. เป็นอาปัตตาธิกรณ์.

ถ. บรรดาสมถะ ๗ ระงับด้วยสมถะเท่าไร?
ต. ระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง คือ สัมมุขาวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑.

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นวินัย? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้นอะไรเป็นอภิวินัย?
ต. พระบัญญัติเป็นวินัย การจำแนกเป็นอภิวินัย.

ถ. ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นปาติโมกข์? ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น อะไรเป็นอธิปาติโมกข์?
ต. พระบัญญัติเป็นปาติโมกข์ การจำแนกเป็นอธิปาติโมกข์

ถ. อะไรเป็นวิบัติ?
ต. ความไม่สังวรเป็นวิบัติ.

ถ. อะไรเป็นสมบัติ?
ต. ความสังวรเป็นสมบัติ.

ถ. อะไรเป็นข้อปฏิบัติ?
ต. ข้อที่ภิกษุสมาทานอาปาณโกฏิกศีลตลอดชีวิตว่า จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้ แล้วศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เป็นข้อปฏิบัติ.

ถ. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เพราะทรงอาศัย อำนาจประโยชน์เท่าไร?
ต. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

เพราะทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้ แก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑.

ถ. พวกไหนศึกษา?
ต. พระเสขะและกัลยาณปุชนศึกษา.

ถ. พวกไหนมีสิกขาอันศึกษาแล้ว?
ต. พระอรหันต์มีสิกขาอันศึกษาแล้ว.

ถ. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ นั้น ตั้งอยู่ในใคร?
ต. ตั้งอยู่ในสิกขากามบุคคล.

ถ. พวกไหนย่อมทรงไว้?
ต. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ย่อมเป็นไปแก่พระเถระพวกใด พระเถระพวกนั้นย่อมทรงไว้.

ถ. เป็นถ้อยคำของใคร?
ต. เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ถ. ใครนำมา?
ต. พระเถระทั้งหลายนำสืบๆ กันมา.

--------------------------------------------------------------------------

(38.2)
รายนามพระเถระผู้ทรงพระวินัย

          [๓] พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ รวมเป็น ๕ ทั้งพระโมคคัลลีบุตร นำพระวินัยมาในทวีปชื่อว่าชมพู อันมีสิริ.

          แต่นั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ ๑ พระอิฏฏิยะ ๑ พระอุตติยะ ๑ พระสัมพละ ๑ พระเถระชื่อภัททะผู้เป็นบัณฑิต ๑ มาในเกาะสิงหฬนี้ แต่ชมพูทวีป พวกท่านสอนพระวินัยปิฎกในเกาะตามพปัณณิ สอนนิกาย ๕ และปกรณ์ ๗ แล้ว.

          ภายหลัง พระอริฏฐะผู้มีปัญญา พระติสสทัตตะผู้ฉลาด พระกาฬสุมนะ ผู้องอาจ พระเถระมีชื่อว่าทีฆะ พระทีฆสุมนะผู้บัณฑิต

ต่อมาอีก พระกาฬสุมนะ พระนาคเถระ พระพุทธรักขิตะพระติสสเถระ ผู้มีปัญญา พระเทวเถระผู้ฉลาด

ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญในพระวินัย พระจูฬนาค ผู้พหูสูต ดุจช้างซับมัน พระเถระชื่อธัมมปาลิตะ อันสาธุชนบูชาแล้วในโรหนชนบท ศิษย์ของ พระธรรมปาลิตะนั้น มีปัญญามาก ชื่อพระเขมะ ทรงจำพระไตรปิฎก รุ่งเรืองอยู่ในเกาะ ด้วยปัญญา ดุจพระจันทร์ พระอุปติสสะผู้มีปัญญา พระปุสสเทวะผู้มหากถึก

ต่อมาอีก พระสุมนะผู้มีปัญญา พระเถระชื่อปุปผะ ผู้พหูสูต พระมหาสีวะ ผู้มหากถึก ฉลาดในพระปิฎกทั้งปวง

          ต่อมาอีก พระอุบาลี ผู้มีปัญญาเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระมหานาค ผู้มีปัญญามาก ฉลาดในวงศ์พระสัทธรรมต่อมาอีก
พระอภยะ ผู้มีปัญญา ฉลาดใน พระปิฎกทั้งปวง
พระติสสเถระ ผู้มีปัญญา เชี่ยวชาญในพระวินัย
ศิษย์ของพระติสสเถระ นั้น มีปัญญามาก
ชื่อปุสสะ เป็นพหูสูต ตามรักษาพระศาสนา อยู่ในชมพูทวีป
พระจูฬาภยะ ผู้มีปัญญา และเชี่ยวชาญในพระวินัย
พระติสสเถระ ผู้มีปัญญา ฉลาดในวงศ์ พระสัทธรรม
พระจูฬาเทวะ ผู้มีปัญญาและเชี่ยวชาญ ในพระวินัย และ
พระสิวเถระ ผู้มีปัญญา ฉลาดในพระวินัยทั้งมวล พระเถระผู้ประเสริฐ มีปัญญามาก เหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรคา ได้ประกาศพระวินัยปิฎก ไว้ในเกาะ ตัมพปัณณิ.

----------------------------------------------------------------------------------------------

(38.3)

คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

          [๔] ถามว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน?

ตอบว่า ทรงบัญญัติ ณ พระนครราชคฤห์.

ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร.

ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่พระธนิยะ กุมภการบุตร ถือเอาไม้ของหลวง ซึ่งไม่ได้รับพระราชทาน.
มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนปัญญัติไม่มี.

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กาย กับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิต มิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...

คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

          [๕] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน?

ตอบว่าทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.

ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน.

ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปลงชีวิตกันและกัน.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญัติ ๑ อนุปันนบัญญติไม่มี.

บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖สิกขาบทนี้เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กาย กับจิต มิใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิตมิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...

คำถามและคำตอบในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔

          [๖] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน?

ตอบว่าทรงบัญญัติ ณ พระนครเวสาลี.

ถ. ทรงปรารภใคร?
ต. ทรงปรารภภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา.

ถ. เพราะเรื่องอะไร?
ต. เพราะเรื่องที่ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา กล่าวสรรเสริญอุตตริมนุสสธรรม ของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์.

มีบัญญัติ ๑ อนุบัญญติ ๑ อนุปันนบัญญัติไม่มี. บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖สิกขาบทนี้ เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ คือ บางทีเกิดแต่กายกับจิต ไม่ใช่วาจา บางทีเกิดแต่วาจากับจิตมิใช่กาย บางทีเกิดแต่กาย วาจา และจิต ...

ปาราชิก ๔ สิกขาบท จบ

 


   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์