เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระอุบาลี  ผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ 
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตร เรื่องราวสำคัญของพระอุบาลี (ไม่รวมอรรถกถา)
ภิกษุอรหันต์ผู้ได้เอตทัคคะด้านผู้ทรงวินัย (ผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎก)
U 103
           ออกไปหน้าหลัก 3 of 6
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  25. เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร
  26. เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
  27. เรื่องเด็กชายอุบาลี
  28. ชวนกันออกบวช
  29. ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
  30. เรื่องพระฉัพพัคคีย์
  31. พวกเด็กชายสัตตรสวัคคีย์บวช
  32. เรื่องห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบท
  33. เรื่องห้ามคนฆ่าบิดามิให้อุปสมบท
  34. เรื่องห้ามคนฆ่าพระอรหันต์มิให้อุปสมบท
  35. พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น
 
 


(25)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก หน้าที่ ๔๒

เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร

          [๕๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุหลายรูปเดินทางจากเมืองสาเกต สู่พระนคร สาวัตถี. พวกโจรในระหว่างทาง ได้ออกแย่งชิงจีวร ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น รังเกียจอยู่ว่า การขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ พระผู้มีพระภาค ทรงห้ามไว้แล้ว จึงไม่กล้าขอ พากันเปลือยกาย เดินไปถึงพระนครสาวัตถี แล้วกราบไหว้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายพูดกันอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย พวกอาชีวกเหล่านี้ ที่กราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นคนดีจริงๆ

          ภิกษุผู้เปลือยกายเหล่านั้นตอบว่า พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก ขอรับ พวกกระผม เป็นภิกษุ.

          ภิกษุทั้งหลาย ได้เรียนท่านพระอุบาลีว่า ข้าแต่ท่านพระอุบาลี โปรดสอบสวน ภิกษุเหล่านี้.

          ภิกษุผู้เปลือยกายเหล่านั้น ถูกท่านพระอุบาลีสอบสวน ได้แจ้งเรื่องนั้นแล้ว.

          ครั้นท่านพระอุบาลีสอบสวนภิกษุเหล่านั้นแล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวรแก่ภิกษุเหล่านั้นเถิด.

          บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย จึงได้เปลือยกายเดินมาเล่า ธรรมดาภิกษุควรจะ ต้องปกปิดด้วยหญ้า หรือใบไม้เดินมา แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.



(26)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๔๑๗

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา

          [๔๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่ พระราชทาน เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ภิกษุณี ถุลลนันทา เป็นกุลุปิกา ของ ตระกูลแห่งหนึ่ง เป็นผู้รับภัตตาหารประจำอยู่. ก็แลคหบดีนั้น ได้นิมนต์พระเถระทั้ง หลายไว้.

          ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณีถุลลนันทาครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่ ตระกูลนั้น.

          ครั้นแล้วได้ถามคหบดีนั้นว่า ดูกรท่านคหบดี ท่านจัดของเคี้ยวของฉันนี้ ไว้ มากมายทำไม
ค. กระผมได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ.

          ถุ. ดูกรคหบดี พระเถระเหล่านั้นคือใครบ้าง
ค. คือพระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระคุณเจ้ามหา กัจจานะ พระคุณเจ้า มหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้ามหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้า เรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณเจ้าอานนท์ พระคุณเจ้าราหุล.

          ถุ. ดูกรคหบดี ก็เมื่อพระเถระผู้ใหญ่มีปรากฏอยู่ ทำไมท่านจึงนิมนต์พระเล็กๆ เล่า
ค. พระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้นคือใครบ้าง ขอรับ
ถุ. คือพระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากฏโมรกติสสกะ พระคุณเจ้า ขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต.

          ในระหว่างที่ภิกษุณีถุลลนันทาพูดค้างอยู่เช่นนี้ พอดีพระเถระทั้งหลาย เข้ามาถึง. นางกลับพูดว่า ดูกรคหบดี ถูกแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น ท่านนิมนต์ มาแล้ว.

          ค. เมื่อกี้นี้เองแท้ๆ ท่านพูดว่าพระคุณเจ้าทั้งหลาย เป็นพระเล็กๆ เดี๋ยวนี้ กลับพูดว่า เป็นพระเถระผู้ใหญ่. คหบดีนั้นพูดแล้วขับนาง ออกจากเรือน และงด อาหารที่ถวายประจำ.

          บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระเทวทัต รู้อยู่ จึงฉันบิณฑบาตอันภิกษุณี แนะนำให้ถวาย แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาค .



(27)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก หน้าที่ ๕๔๗

เรื่องเด็กชายอุบาลี

          [๖๔๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีเด็กชายพวกหนึ่ง ๑๗ คน เป็นเพื่อนกัน เด็กชายอุบาลี เป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ครั้งนั้นมารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้หารือกันว่า ด้วยวิธีอย่างไรหนอ?

          เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้วเจ้าอุบาลีจะพึงอยู่เป็นสุข และไม่ต้องลำบาก ครั้นแล้วหารือกันต่อไปว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก แล้วหารือกันต่อไป อีกว่า ถึงเจ้าอุบาลีจักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณ ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก

          ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาคำนวณ เขาจักหนักอก ถ้าจะพึงเรียนวิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก

          ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตา ทั้งทั้งสอง ของเขาจักชอกช้ำ พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล มีความสุข เป็นปกติ มีความประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลีจะพึงได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีอย่างนี้ แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไป เจ้าอุบาลีก็จะอยู่เป็นสุขและไม่ต้องลำบาก.
----------------------------------------------------------------------------------------------

(28)
ชวนกันออกบวช

          [๖๔๙] เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำ ที่มารดาบิดาสนทนาหารือกันดังนี้ จึงเข้าไป หาเพื่อน เด็กเหล่านั้น ครั้นแล้วได้พูดชวนดังนี้ว่า มาเถิดพวกเจ้า เราจักพากันไปบวช ในสำนัก พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร.

          เด็กชายพวกนั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.

ไม่รอช้า เด็กชายเหล่านั้นต่างคนต่างก็ไปหามารดาบิดาของตนๆ แล้วขออนุญาตว่า ขอท่าน ทั้งหลาย จงอนุญาตให้พวกข้าพเจ้า ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเถิด. มารดาของเด็ก เหล่านั้น ก็อนุญาตทันที ด้วยคิดเห็นว่า เด็กเหล่านี้ต่างก็มีฉันทะ ร่วมกัน มีความมุ่งหมายดี ด้วยกันทุกคน.

เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายก็ได้ให้เด็กพวกนั้นบรรพชาและอุปสมบท.

          ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้วิงวอนว่า ขอท่านทั้งหลาย จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.

          ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงรอให้ราตรีสว่างก่อน ถ้าข้าวต้มมี จักดื่มได้ ถ้าข้าวสวยมี จักฉันได้ ถ้าของเคี้ยวมี จักเคี้ยวฉันได้ ถ้าข้าวต้มข้าวสวย หรือของเคี้ยวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน.

          ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลาย แม้กล่าวอยู่อย่างนี้แล ก็ยังร้องไห้วิงวอน อยู่อย่างนั้น แลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ดังนี้ ย่อมถ่ายอุจจาระ รดบ้าง ถ่ายปัสสาวะ รดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.

          [๖๕๐] พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทม ณ เวลาปัจจุสสมัยแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียง เด็กๆ ครั้นแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มาตรัสถามว่า นั่นเสียงเด็กๆ หรือ อานนท์? จึงท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว.
----------------------------------------------------------------------------------------------

(29)
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถาม ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายรู้อยู่ ยังบุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้อุปสมบท จริงหรือ?

          ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

          พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษ เหล่านั้น รู้อยู่ จึงได้ยังบุคคล มีอายุหย่อน ๒๐ ปี ให้อุปสมบทเล่า? เพราะบุคคล มีอายุหย่อน ๒๐ ปี เป็นผู้ไม่อดทนต่อเย็น ร้อน หิวกระหาย เป็นผู้มีปกติ ไม่ทนทาน ต่อ สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลมแดดสัตว์เสือกคลาน ต่อคำกล่าว ที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกาย อันกล้าแข็งเผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันอาจผลาญ ชีวิตได้ ที่เกิดขึ้นแล้ว

        อันบุคคลมีอายุครบ ๒๐ ปีเท่านั้น จึงจะเป็นผู้อดทน ต่อเย็น ร้อน หิวกระหาย เป็นผู้มีปกติ ทนทานต่อสัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เสือกคลาน ต่อคำกล่าว ที่เขากล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดีต่อ ทุกขเวทนา ทางกาย อันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ อันอาจผลาญชีวิตได้ ที่เกิดขึ้นแล้ว การกระทำของ โมฆบุรุษ เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ...

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอ พึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

          ๑๑๔. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ยังบุคคลมีปีหย่อน ๒๐ ให้อุปสมบท บุคคลนั้น ไม่เป็น อุปสัมบัน (ภิกษุ หรือผู้บวชแล้ว) ด้วย ภิกษุทั้งหลายนั้นถูกติเตียนด้วย นี้เป็น ปาจิตตีย์ ในเรื่องนั้น.

เรื่องเด็กชายอุบาลี จบ



(30)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒ วินัยปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๕๗๕

เรื่องพระฉัพพัคคีย์

          [๖๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิก คหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัส วินัยกถา ทรงพรรณนา คุณแห่งพระวินัย ตรัสอานิสงส์ แห่งการเรียนพระวินัย ทรงยกย่องโดย เฉพาะท่านอุบาลี เนืองๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ภิกษุทั้งหลายพากัน กล่าวว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่ง พระวินัย ตรัสอานิสงส์ แห่งการเรียนพระวินัย ทรงยกย่อง โดยเฉพาะท่านพระอุบาลี เนืองๆ โดยอเนกปริยาย อาวุโสทั้งหลาย ดั่งนั้น พวกเราพากัน เล่าเรียน พระวินัย ในสำนักท่านพระอุบาลีเถิด ก็ภิกษุเหล่านั้นมากเหล่า เป็นเถระก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นนวกะก็มี ต่างพากันเล่าเรียนพระวินัย ในสำนักท่านพระอุบาลี.

          ส่วนพระฉัพพัคคีย์ได้หารือกันว่า อาวุโสทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุเป็นอันมาก ทั้งเถระ มัชฌิมะ และนวกะ พากันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลี ถ้าภิกษุเหล่านี้ จักเป็นผู้รู้ พระบัญญัติ ในพระวินัย ท่านจักฉุดกระชากผลักไสพวกเรา ได้ตามใจชอบ อย่ากระนั้นเลย พวกเราจงช่วยกันก่นพระวินัยเถิด เมื่อตกลงดั่งนั้น พระฉัพพัคคีย์ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า จะประโยชน์อะไรด้วย สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร.

          บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ จึงได้พากันก่น พระวินัยเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

ทรงสอบถาม

          พระผู้มีพระภาค ทรงสอบพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอ ช่วยกัน ก่นวินัย จริงหรือ?

พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

          พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ จึงได้ พากัน ก่น วินัยเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

          ๑๒๑. ๒. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อมีใครสวดปาติโมกข์อยู่ กล่าวอย่างนี้ว่าประโยชน์ อะไร ด้วยสิกขาบทเล็กน้อย เหล่านี้ที่สวดขึ้นแล้ว ช่างเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความ ลำบาก เพื่อความยุ่งเหยิงนี่กระไร เป็นปาจิตตีย์ เพราะก่นสิกขาบท.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.



(31)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก หน้าที่ ๑๒๔

พวกเด็กชายสัตตรสวัคคีย์บวช

          [๑๑๑] ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์มีเด็กชายพวกหนึ่ง ๑๗ คน เป็นเพื่อนกัน เด็กชาย อุบาลี เป็นหัวหน้าของเด็กพวกนั้น. ครั้งนั้น มารดาบิดาของ เด็กชายอุบาลี ได้หารือกันว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีจะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก.

          ครั้นแล้ว หารือกันต่อไปว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจะพึงเรียนหนังสือ ด้วยวิธีอย่าง นี้แหละ เมื่อเรา ทั้งสอง ล่วงลับ ไปแล้ว เจ้าอุบาลี จะพึงอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้อง ลำบาก แล้วหารือกัน ต่อไปอีกว่าถ้าเจ้าอุบาลี จักเรียนหนังสือ นิ้วมือก็จักระบม ถ้าเจ้าอุบาลี เรียนวิชาคำนวณ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละเมื่อเราทั้งสอง ล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีจะพึง อยู่เป็นสุข และ ไม่ต้องลำบาก.

          ครั้นต่อมาจึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาคำนวณ เขาจักหนักอก ถ้าจะพึงเรียน วิชาดูรูปภาพ ด้วยอุบายอย่างนี้แหละ เมื่อเราทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลีก็จะพึงอยู่ เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก

          ครั้นต่อมา จึงหารือกันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีจักเรียนวิชาดูรูปภาพ นัยน์ตา ทั้งสอง ของเขา จักชอกช้ำ พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตรเหล่านี้แล มีปกติ เป็นสุข มีความประพฤติ เรียบร้อย ฉันอาหารที่ดี นอนในห้องนอนอันมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลี จะพึงบวชในสำนัก พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ด้วยวิธีนี้แหละ เมื่อเราทั้งสอง ล่วงลับไปแล้ว เจ้าอุบาลี ก็จะอยู่เป็นสุข และจะไม่ต้องลำบาก.

          เด็กชายอุบาลีได้ยินถ้อยคำที่มารดาบิดาสนทนาหารือกัน ดังนี้ จึงเข้าไปหา เพื่อนเด็ก เหล่านั้น ครั้นแล้ว ได้พูดชวนว่า มาเถิดพวกเจ้า พวกเราจักพากันไปบวช ในสำนัก พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร.

          เด็กชายเหล่านั้นพูดว่า ถ้าเจ้าบวช แม้พวกเราก็จักบวชเหมือนกัน.

          เด็กชายเหล่านั้นไม่รอช้า ต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตนๆ แล้ว ขออนุญาต ว่า ขอท่านทั้งหลาย จงอนุญาตให้ข้าพเจ้า ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต เถิด.

          มารดาบิดาของเด็กชายเหล่านั้น ก็อนุญาตทันที ด้วยคิดเห็นว่า เด็กเหล่านี้ ต่างก็มีฉันทะ ร่วมกัน มีความมุ่งหมายดีด้วยกันทุกคน.

          เด็กพวกนั้นเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วขอบรรพชา. ภิกษุทั้งหลาย ให้พวกเขา บรรพชา อุปสมบท.

          ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้ วิงวอนว่า ขอท่าน ทั้งหลาย จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว.

          ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย จงรอให้ราตรีสว่างก่อน ถ้าข้าวต้มมี จักได้ดื่ม ถ้าข้าวสวยมี จักได้ฉัน ถ้าของเคี้ยวมี จักได้เคี้ยว ถ้าข้าวต้ม ข้าวสวย หรือของเคี้ยวไม่มี ต้องเที่ยวบิณฑบาตฉัน.

          ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลาย แม้กล่าวอยู่อย่างนี้แลก็ยังร้องไห้วิงวอน อยู่อย่างนั้นแลว่า จงให้ข้าวต้ม จงให้ข้าวสวย จงให้ของเคี้ยว ถ่ายอุจจาระรดบ้าง ถ่ายปัสสาวะรดบ้าง ซึ่งเสนาสนะ.

          พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมในปัจจุสสมัยแห่งราตรี ทรงได้ยินเสียงเด็ก ครั้นแล้ว ตรัสเรียกท่าน พระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ นั่นเสียงเด็ก หรือ?

จึงท่านพระอานนท์กราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.

          พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย รู้ อยู่ให้บุคคล ผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ปี อุปสมบท จริงหรือ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

          พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ พวกนั้น รู้อยู่จึงได้ให้ บุคคล มีอายุหย่อน ๒๐ ปี อุปสมบทเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล มีอายุหย่อน ๒๐ ปีเป็นผู้ ไม่อดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย เป็นผู้มีปกติ ไม่อดกลั้นต่อ สัมผัส แห่งเหลือบยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน ต่อคลอง แห่งถ้อยคำ ที่เขา กล่าวร้าย อันมาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนา ทางกาย ที่เกิดขึ้นแล้วอันกล้าแข็ง กล้าเผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันอาจ นำชีวิตเสียได้

          ส่วนบุคคลมีอายุ ๒๐ ปี ย่อมเป็นผู้อดทน ต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย เป็นผู้มี ปกติ อดกลั้นต่อ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน ต่อคลองแห่ง ถ้อยคำ ที่เขากล่าวร้ายอัน มาแล้วไม่ดี ต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว อันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันอาจนำชีวิตเสียได้

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใส ของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ... ครั้นแล้วท รงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้อยู่ ไม่พึงให้บุคคลมีอายุหย่อน ๒๐ ปีอุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้องปรับ ตามธรรม.



(32)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๑๔๔

เรื่องห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบท

          [๑๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพผู้หนึ่งปลงชีวิตมารดาเสีย. เขาอึดอัด ระอา รังเกียจ บาปกรรม อันนั้น และได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะทำการ ออกจาก บาปกรรม อันนี้ได้ จึงหวนระลึก นึกขึ้นได้ว่า พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตร เหล่านี้ เป็นผู้ ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบวช ในสำนักพระสมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะทำการ ออกจากบาปกรรมอันนี้ได้. ต่อมา เขาเข้าไปหา ภิกษุทั้งหลาย ขอบรรพชา.

          ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งความนี้ ต่อท่านพระอุบาลีว่าอาวุโส อุบาลี เมื่อครั้งก่อน แล นาคแปลงกาย เป็นชายหนุ่มเข้ามาบวชในสำนักภิกษุ อาวุโสอุบาลี นิมนต์ท่าน ไต่สวน มาณพคนนี้.

          ครั้นมาณพนั้น ถูกท่านพระอุบาลีไต่สวนอยู่ จึงแจ้งเรื่องนั้น. ท่านพระอุบาลี ได้แจ้งให้ พวกภิกษุ ทราบแล้ว. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี พระภาค.

          พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ คนฆ่า มารดา ภิกษุ ไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.
----------------------------------------------------------------------------------------------


(33)
เรื่องห้ามคนฆ่าบิดามิให้อุปสมบท

          [๑๒๙] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพผู้หนึ่งปลงชีวิตบิดาเสีย. เขาอึดอัด ระอา รังเกียจ บาปกรรม อันนั้น และได้มีความดำริว่า ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะทำการ ออกจาก บาปกรรม อันนี้ได้ จึงหวนระลึก นึกขึ้นได้ว่า พระสมณะเชื้อสาย พระศากยบุตร เหล่านี้ เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติ พรหมจรรย์ กล่าวแต่คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเราจะพึงบวช ในสำนัก พระสมณะ เชื้อสาย พระศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะทำการออกจากบาปกรรม อันนี้ได้. ต่อมา เขาเข้าไปหา ภิกษุทั้งหลาย แล้วขอบรรพชา.

          ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งความนี้ต่อท่านพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี เมื่อครั้งก่อนแล นาค แปลงกาย เป็นชายหนุ่มเข้ามาบวชในสำนักภิกษุ อาวุโสอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวน มาณพ คนนี้. ครั้นมาณพนั้น ถูกท่านพระอุบาลีไต่สวนอยู่ จึงแจ้งเรื่องนั้น.

          ท่านพระอุบาลีได้แจ้ง ให้พวกภิกษุทราบแล้ว. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.

          พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ คนฆ่าบิดาภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.



(34)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๑๔๕

เรื่องห้ามคนฆ่าพระอรหันต์มิให้อุปสมบท

          [๑๓๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน เดินทางไกล จากเมืองสาเกต ไป พระนคร สาวัตถี. ในระหว่างทาง พวกโจรพากันยกพวกออกมา แย่งชิงภิกษุ บางพวก ฆ่าภิกษุ บางพวก. เจ้าหน้าที่ ยกออกไปจากพระนครสาวัตถี แล้วจับโจร ได้เป็น บางพวก. บางพวก หลบหนีไปได้.

          พวกที่หลบหนีไป ได้บวชในสำนักภิกษุ. พวกที่ถูกจับได้ เจ้าหน้าที่กำลัง นำไปฆ่า. พวกโจรที่ บวชแล้วเหล่านั้นได้เห็นโจรพวกนั้นกำลังถูกนำไปฆ่า

          ครั้นแล้วจึงพูดอย่างนี้ว่า เคราะห์ดีพวกเราพากันหนีรอดมาได้ ถ้าวันนั้นถูกจับ จะต้อง ถูกเขา ฆ่า เช่นนี้เหมือนกัน.

          ภิกษุทั้งหลายพากันถามว่า อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านได้ทำอะไรไว้? จึงบรรพชิต เหล่านั้น ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะ ภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกนั้นเป็นอรหันต์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันคือคนฆ่า พระอรหันต์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.



(35)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๕ วินัยปิฎก หน้าที่ หน้าที่ ๒๑๕

พระอุบาลีทูลถามปัพพาชนียกรรมเป็นต้น

          [๑๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ถวายบังคม พระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี พระภาคว่า กรรมที่ควรทำ ในที่ พร้อมหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน กลับทำ ในที่ลับหลัง การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรมไม่เป็น วินัย อุ. สงฆ์ พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบถาม .... ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ .... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปฏิสารนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำอุเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารนียกรรม .... ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัต แก่ภิกษุผู้ควร ชักเข้าหาอาบัติเดิม .... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต .... ให้ภิกษุผู้ควร อัพภาณ ให้อุปสมบทกุลบุตร การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย กรรมที่ควรทำ ในที่ พร้อมหน้า แต่สงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกัน กลับทำเสียในที่ลับหลัง อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

          อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถาม แต่ทำโดยไม่สอบถาม .... ทำกรรมที่ควร ทำตามปฏิญาณ โดยมิได้ปฏิญาณ .... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควร ปฏิสารณียกรรม .... ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหา อาบัติเดิม .... ให้มานัต แก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... อัพภาณภิกษุผู้ควรมานัต .... ให้ภิกษุผู้ควร อัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

          [๒๐๐] อุ. กรรมที่ควรทำในที่พร้อมหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำ ในที่ พร้อมหน้า การกระทำ นั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรมวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย

          อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยการสอบถาม .... ทำกรรม ที่ควรทำ ตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ .... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย .... ให้อมูฬหวินัย ....แก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ ผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร ปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุ ผู้ควรปริวาส .... ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่งภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุ ผู้ควรมานัต .... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน .... อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้น ชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย กรรมที่ควรทำในที่ พร้อมหน้าสงฆ์ ผู้พร้อมเพรียงกันทำในที่พร้อมหน้า อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ การกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

          อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำกรรมที่ควรสอบถามแล้วทำโดยสอบถาม .... ทำกรรมที่ควรทำตามปฏิญาณ โดยการปฏิญาณ .... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ให้อมูฬวินัย แก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาสแก่ ภิกษุผู้ควรปริวาส .... ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่งภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัต แก่ภิกษุ ผู้ควร มานัต .... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน .... อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อม ไม่มีโทษ.

          [๒๐๑] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ให้สติวินัย แก่ ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย.

          อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัสสาปาปิยสิกากรรม ....ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุควรตัชชนียกรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกุผู้ควร ตัชชนียกรรม ....ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรนิยสกรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ....ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาส แก่ ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควร ปริวาส .... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหา อาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหา อาบัติเดิม .... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน .... ให้ภิกษุ ผู้ควร อัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร .... อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรม เป็นรรมเป็นวินัยหรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัยอุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง กัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ให้สติวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลีชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

          สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร นิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณีย-รรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส .... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุ ผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหา อาบัติเดิม .... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน .... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบท กุลบุตร .... อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล อุบาลี ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

          [๒๐๒] อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุ ผู้ควร อมูฬหวินัย การกระทำนั้น ชื่อว่ากรรมเป็นธรรมเป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย.

          อุ. สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม ...ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม ....ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส .... ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่งภิกษุผู้ควร ชักเข้าหา อาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต .... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน .... อุปสมบทกุลบุตร ผู้ควรอุปสมบท การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย หรือหนอ พระพุทธเจ้าข้า?

          ภ. อุบาลี การกระทำนั้นชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้สติวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล อุบาลีชื่อว่า กรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และการกระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อม ไม่มีโทษ.

          สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อุกเขปนียกรรม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส .... ชักเข้าหาอาบัติเดิมซึ่งภิกษุผู้ควร ชักเข้า หาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต .... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน .... อุปสมบทกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แลอุบาลี ชื่อว่ากรรมเป็นธรรม เป็นวินัย และ การกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมไม่มีโทษ.

          [๒๐๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้ พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

          สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรร มแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควรสติวินัย .... ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรสติวินัย .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควร สติวินัย .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรสติวินัย ....ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควร สติวินัย .... ชักภิกษุผู้ควรสติวินัยเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย .... อัพภานภิกษุผู้ควรสติวินัย .... ให้ภิกษุผู้ควรสติวินัยให้ อุปสมบทกุลบุตร อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการ กระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

          สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

          สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุ ผู้ควร อมูฬหวินัย .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย .... ทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย .... ให้ปริวาส แก่ภิกษุ ผู้ควรอมูฬหวินัย .... ชักภิกษุผู้ควร อมูฬหวินัย เข้าหา อาบัติเดิม .... ให้มานัต แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ....อัพภานภิกษุ ผู้ควร อมูฬหวินัย .... ให้ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ให้อุปสมบทกุลบุตร .... ให้สติวินัยแก่ ภิกษุ ผู้ควร อมูฬหวินัย อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายชื่อว่า กรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ

          สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำนิยสกรรมแก่ ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ....ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม .... ทำอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ให้สติวินัยแก่ภิกษุ ผู้ควร ตัสสปาปิยสิกากรรม .... ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายชื่อว่ากรรม ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำอย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

          สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ทำนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม .... ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควร นิยสกรรม .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร ปัพพาชนียกรรม .... ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม .... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม .... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม .... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต .... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร .... ให้สติวินัย แก่กุลบุตร ผู้ควรอุปสมบท ....ให้อมูฬหวินัยแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท .... ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่กุลบุตร ผู้ควร อุปสมบท ....ทำตัชชนียกรรมแก่กุลบุตร ผู้ควร อุปสมบท .... ทำนิยสกรรม แก่กุลบุตร ผู้ควรอุปสมบท .... ทำปัพพาชนียกรรมแก่กุลบุตร ผู้ควรอุปสมบท .... ทำปฏิสารณียกรรมแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท ....ทำอุกเขปนียกรรม แก่กุลบุตร ผู้ควรอุปสมบท .... ให้ปริวาสแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท .... ชักกุลบุตร ผู้ควร อุปสมบท เข้าหาอาบัติเดิม .... ให้มานัตแก่กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท .... อัพภานกุลบุตร ผู้ควรอุปสมบท อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย และการกระทำ อย่างนี้ สงฆ์ย่อมมีโทษ.

อุบาลีปุจฉาภาณวาร ที่ ๒ จบ.


   



หนังสือพุทธวจน ออนไลน์
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์