เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
พระมหากัสสป
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

 รวมพระสูตรสำคัญของพระมหากัสสป (ไม่รวมอรรถกถา)
ผู้เป็นเอตทัคคะ ด้านผู้ทรงธุดงค์ และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์

Kas 103
               ออกไปหน้าหลัก 3 of 3
  จากพระไตรปิฎก ที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ (ไม่รวมอรรถกถา)
  10. ปัญจสติกขันธกะ มหาปรินิพพานสูตร (พระมหากัสสปเถระปรารภการทำสังคายนาครั้งที่ ๑)
    (10.1) สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูป
    (10.2) เรื่องปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม
    (10.3) พระอานนท์สำเร็จพระอรหัต
    (10.4) พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย
    (10.5) พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม
    (10.6) เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย
    (10.7) เรื่องไม่บัญญัติและไม่ถอนพระบัญญัติ
    (10.8) ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์
    (10.9) เรื่องพระปุราณเถระ
    (10.10) เรื่องพระเจ้าอุเทน
    (10.11) ลงพรหมทัณฑ์ (การลงโทษ)

 


(10)

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๒๔๖

ปัญจสติกขันธกะ

พระมหากัสสปเถระปรารภการทำสังคายนาครั้งที่ ๑

             [๖๑๔] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปชี้แจงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ครั้งหนึ่งเราออกจาก เมืองปาวาเดินทางไกล ไปเมืองกุสินารา กับ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูปครั้งนั้น เราแวะจากทาง นั่งพักอยู่ที่โคนไม้ แห่งหนึ่ง อาชีวกผู้หนึ่ง ถือดอกมณฑารพ ในเมืองกุสินารา เดินทางไกลมาสู่ เมือง ปาวา เราได้เห็น อาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกลเทียว

        ครั้นแล้วได้ถามอาชีวกนั้นว่า ท่านทราบข่าว พระศาสดาของเราบ้างหรือ อาชีวกตอบว่า ท่านขอรับผมทราบพระสมณโคดม ปรินิพพานได้ ๗ วันทั้งวันนี้แล้ว ดอกมณฑารพนี้ ผมถือมาจากที่ปรินิพพานนั้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ท่านที่ยังไม่ ปราศจากราคะ บางพวกประคองแขนคร่ำครวญ ดุจมีเท้าขาดล้มลง กลิ้งเกลือกไปมา รำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก ดวงตาหายไปจากโลกเร็วนัก ส่วนพวกที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ ย่อมอดกลั้นได้ ด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง สิ่งที่เที่ยงนั้น จะได้ในสังขารนี้ แต่ไหนเล่า ท่านทั้งหลาย

        ครั้งนั้น เราได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยท่านทั้งหลาย อย่าโศกเศร้า ร่ำไรเลย ข้อนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความเป็นต่าง ความเว้น ความเป็นอย่างอื่น จากสัตว์และสังขาร ที่รักที่ชอบใจ ทั้งปวงทีเดียวย่อมมี สิ่งที่เที่ยงนั้นจะได้ในสังขารนั้นแต่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ต้องมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ข้อที่จะปรารถนา ว่า สิ่งนั้นอย่าได้สลายเลย นี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

        ครั้งนั้น พระสุภัททวุฑฒบรรพชิต นั่งอยู่ ในบริษัทนั้น เธอได้กล่าวกะ ภิกษุ ทั้งหลาย ว่าพอเถิดท่านทั้งหลาย อย่าโศกเศร้าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้นไปดีแล้ว จากพระมหาสมณะนั้น ด้วยว่าพวกเรา ถูกเบียดเบียนว่า สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควร แก่พวกเธอ ก็บัดนี้ พวกเราปรารถนาจะทำสิ่งใด ก็ทำสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนา จักทำ สิ่งใด ก็ไม่ทำสิ่งนั้น เอาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจงสังคายนา พระธรรมและ พระวินัยเถิด ในภายหน้าสภาวะมิใช่ธรรมจักรุ่งเรือง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาวะ มิใช่วินัย จักรุ่งเรือง วินัยจักเสื่อมถอย ภายหน้าอธรรมวาทีบุคคลจะ มีกำลัง ธรรมวาที บุคคลจักเสื่อมกำลัง อวินยวาที บุคคลจักมีกำลัง วินยวาทีบุคคล จักเสื่อมกำลัง

10.1

สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูป

             [๖๑๕] ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ถ้ากระนั้น ขอพระเถระ จงคัดเลือกภิกษุ ทั้งหลายเถิด ขอรับ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป จึงคัดเลือกพระอรหันต์ได้ ๕๐๐ รูป หย่อนอยู่ องค์หนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า ท่านเจ้าข้า ท่านพระอานนท์นี้ ยังเป็นเสกขบุคคลอยู่ก็จริง แต่ไม่ลุอำนาจ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติภยาคติ และท่านได้เรียนพระธรรมและพระวินัยเป็นอันมาก ในสำนักพระผู้มีพระภาคเพราะเหตุนั้น ขอพระเถระจงคัดเลือกท่านพระอานนท์ เข้าด้วยเถิด

        ลำดับนั้น พระมหากัสสปจึงคัดเลือกท่านพระอานนท์เข้าด้วย จึงพระเถระ ทั้งหลายปรึกษากันว่า พวกเรา จักสังคายนาพระธรรม และพระวินัยที่ไหนดีหนอ ครั้นแล้วเห็นพร้อมกันว่า พระนครราชคฤห์ มีโคจรคามมาก มีเสนาสนะเพียงพอ สมควรแท้ที่พวกเราจะอยู่จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ สังคายนา พระธรรมและ พระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่ควรเข้าจำพรรษาในพระนครราชคฤห์

        ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้ ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว สงฆ์ พึงสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนา พระธรรม และพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึง จำพรรษา ในพระนครราชคฤห์ นี้เป็นญัตติ

        ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษา ในพระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึง จำพรรษา ใน พระนครราชคฤห์ การสมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนคร ราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและ พระวินัย ภิกษุพวกอื่น ไม่พึงจำพรรษา ในพระนคร ราชคฤห์ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่งไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

สงฆ์สมมติภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ให้จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนา พระธรรม และพระวินัย ภิกษุพวกอื่นไม่พึงจำพรรษา ในพระนครราชคฤห์ ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้

10.2

เรื่องปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม

             [๖๑๖] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย ได้ไปพระนครราชคฤห์ เพื่อสังคายนา พระธรรม และพระวินัย แล้วปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรง สรรเสริญ การ ปฏิสังขรณ์ เสนาสนะที่ชำรุด ทรุดโทรมไว้ ถ้ากระไรพวกเราจัก ปฏิสังขรณ์ เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมในเดือนต้น แล้วจักประชุม สังคายนาพระธรรม และพระวินัยในเดือนท่ามกลาง ครั้งนั้น พระเถระได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุด ทรุดโทรมในเดือนต้น

10.3

พระอานนท์สำเร็จพระอรหัต

             [๖๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม ข้อที่เรายัง เป็นเสกขบุคคล อยู่จะพึงไปสู่ ที่ประชุมนั้น ไม่ควรแก่เรา จึงยังราตรีเป็นส่วนมากให้ ล่วงไป ด้วยกายคตาสติ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี จึงเอนกายด้วยตั้งใจว่า จักนอน แต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน และเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น ในระหว่างนั้น จิตได้ หลุดพ้น จากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ ได้ไป สู่ที่ประชุม

10.4

พระอุบาลีวิสัชนาพระวินัย

             [๖๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติกรรมวาจา

        ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าจะ พึงถามพระวินัย กะพระอุบาลี

ท่านพระอุบาลี ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติกรรมวาจา

        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้า อันท่านพระมหากัสสป ถามพระวินัยแล้วจะพึงวิสัชนา

        ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสป ได้ถามท่านพระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ปฐมปาราชิก สิกขาบทพระผู้มี พระภาค ทรงบัญญัติที่ไหน
อุ. ในเมืองเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพระสุทิน กลันทบุตร
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะเมถุนธรรม

        ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติอนาบัติ แห่งปฐมปาราชิก สิกขาบท กะท่านพระอุบาลี แล้วถามต่อไปว่า ทุติย ปาราชิกสิกขาบทพระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติที่ไหน
อุ. ในพระนครราชคฤห์ ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพระธนิยะ กุมภการบุตร
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะอทินนาทาน

        ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติแห่ง ทุติยปาราชิก สิกขาบท กะท่านพระอุบาลี แล้วถามต่อไปว่า ท่าน พระอุบาลี ตติยปาราชิกสิกขาบท พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติที่ไหน
อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะมนุสสวิคคหะ

        ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติอนาบัติ แห่งตติย ปาราชิก สิกขาบท กะท่านพระอุบาลี แล้วถามต่อไปว่า จตุตถปาราชิกสิกขาบทพระผู้มีพระภาค ทรง บัญญัติที่ไหน
อุ. ในพระนครเวสาลี ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อุ. ทรงปรารภพวกภิกษุจำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
ม. ในเพราะเรื่องอะไร
อุ. ในเพราะอุตตริมนุสสธรรม

        ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสปถามวัตถุ นิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติอนาบัติ แห่งจตุตถ ปาราชิก สิกขาบท กะท่านพระอุบาลี แล้วถามอุภโตวินัยโดย อุบายนั้นแล ท่านพระอุบาลีผู้อันท่าน พระมหากัสสปถามแล้ว ถามแล้วได้วิสัชนาแล้ว


10.5
พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม

             [๖๑๙] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติกรรมวาจา

        ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้วข้าพเจ้า จะพึงถามธรรม กะท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ กรรมวาจา ว่าดังนี้

ญัตติกรรมวาจา

        ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้วข้าพเจ้า อันท่านพระมหากัสสปถามธรรมแล้วจะพึงวิสัชนา

        ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พรหมชาลสูตร พระผู้มีพระภาค ตรัสที่ไหน

อา. ตรัสในพระตำหนักในพระราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกาในระหว่างกรุงราชคฤห์ และ เมืองนาลันทาต่อกัน ขอรับ
ม. ทรงปรารภใคร
อา. ทรงปรารภสุปปิยปริพาชก และพรหมทัตตมาณพ

        ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสป ได้ถามนิทาน และบุคคลแห่งพรหมชาลสูตร กะท่าน พระอานนท์ แล้วถามต่อไปว่า ท่านอานนท์สามัญญผลสูตร พระผู้มีพระภาค ตรัสที่ไหน
อา. ที่วิหารชีวกัมพวัน เขตกรุงราชคฤห์ ขอรับ
ม. ตรัสกับใคร
อา. กับพระเจ้าอชาตสัตตุ เวเทหิบุตร

        ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามนิทาน และบุคคลแห่งสามัญญผลสูตร กะท่าน พระอานนท์ แล้วถาม ตลอดนิกาย ๕ โดยอุบายนั้นแล ท่านพระอานนท์ผู้อัน ท่านพระมหากัสสปถามแล้ว ถามแล้ว ได้วิสัชนาแล้ว

10.6

เรื่องสิกขาบทเล็กน้อย

             [๖๒๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้ชี้แจงต่อพระเถระทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า ดูกรอานนท์ เมื่อ เราล่วงไป สงฆ์หวังอยู่จะพึงถอนสิกขาบท เล็กน้อย เสียก็ได้ พระเถระทั้งหลาย ถามว่า ท่านพระอานนท์ ก็ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือเปล่าว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย ท่านพระอานนท์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ นอกนั้นเป็นสิกขาบท เล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ นอกนั้นเป็น สิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น อนิยต ๒ นอกนั้นเป็นสิกขา บทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น อนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ๓๐ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น อนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ นอกนั้นเป็นสิกขาบทเล็กน้อย

พระเถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า เว้นปาราชิก ๔ เว้นสังฆาทิเสส ๑๓ เว้น อนิยต ๒ เว้นนิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ๓๐ เว้นปาจิตตีย์ ๙๒ เว้นปาฏิเทสนียะ ๔ นอกนั้นเป็น สิกขาบท เล็กน้อย

10.7

เรื่องไม่บัญญัติและไม่ถอนพระบัญญัติ

             [๖๒๑] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสป ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย กรรมวาจาว่าดังนี้

ญัตติทุติยกรรมวาจา

        ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ ปรากฏแก่ คฤหัสถ์มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเรา จักถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดม บัญญัติ สิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของ พระสมณะ เหล่านี้ ยังดำรงอยู่ตราบใด สาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะเหตุที่ พระศาสดาของพระ สมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้ จึงไม่ศึกษา ในสิกขาบททั้งหลายใน บัดนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์ไม่พึง บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติไม่พึง ถอนพระบัญญัติ ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว พึงสมาทาน ประพฤติ ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว นี้เป็นญัตติ

        ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่ ปรากฏแก่ คฤหัสถ์ มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้ว่า สิ่งนี้ควรแก่พระสมณะเชื้อ สายพระศากยบุตร สิ่งนี้ไม่ควร ถ้าพวกเรา จักถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสีย จักมีผู้กล่าวว่า พระสมณโคดม บัญญัติ สิกขาบท แก่สาวกทั้งหลายเป็นกาลชั่วคราว พระศาสดาของ พระสมณะ เหล่านี้ยังดำรงอยู่ตราบใดสาวกเหล่านี้ยังศึกษาในสิกขาบททั้งหลายตราบนั้น เพราะเหตุที่ พระศาสดา ของพระสมณะเหล่านี้ปรินิพพานแล้ว พระสมณะเหล่านี้ จึงไม่ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ในบัดนี้ สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระ บัญญัติที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทานประพฤติ ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว การไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติไม่ถอนพระบัญญัติ ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติแล้ว สมาทาน ประพฤติใน สิกขาบท ทั้งหลาย ตามที่ทรงบัญญัติ แล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วย อย่างนี้

10.8

ปรับอาบัติทุกกฏแก่พระอานนท์

             [๖๒๒] ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านไม่ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็สิกขาบท หล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย นี่เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ ทุกกฏนั้น

        ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เพราะระลึกไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงมิได้ ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบท เล็กน้อย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุ ที่ไม่ได้ทูลถามนั้นว่า เป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

        พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านเหยียบผ้าวัสสิก สาฎกของ พระผู้มีพระภาคเย็บ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ ทุกกฏนั้น

        ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าเหยียบผ้าวัสสิกสาฎกของ พระผู้มีพระภาค เย็บโดยมิได้ เคารพก็หามิได้ ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่เหยียบนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

        พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านให้มาตุคามถวาย บังคมพระสรีระของพระผู้มี พระภาคก่อน พระสรีระของพระผู้มีพระภาค เปื้อนน้ำตา ของพวกนางผู้ร้องไห้อยู่ แม้นี้ก็เป็นอาบัติทุกกฏ แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ ทุกกฏนั้น

        ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคิดว่ามาตุคามเหล่านี้อย่าได้ อยู่จนเวลาพลบค่ำ จึงให้พวก มาตุคามถวายบังคม พระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุที่ให้มาตุคาม ถวายบังคม พระสรีระของพระผู้มีพระภาคนั้น ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดง อาบัตินั้น

        พระเถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาค ทรง ทำนิมิต อันหยาบกระทำ โอภาสอันหยาบอยู่ ท่านไม่ทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์ สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นอาบัติทุกกฏ แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

        ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกมารดลใจ จึงไม่ได้ทูล อ้อนวอน พระผู้มีพระภาคว่า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอ พระสุคตจงทรง ดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์ แก่สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะเชื่อท่าน ทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอม แสดงอาบัติทุกกฏนั้น

        พระเถระทั้งหลาย กล่าวต่อไปว่า ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านได้ทำการขวนขวาย ให้มาตุคาม บวชใน พระธรรมวินัย ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว แม้นี้ก็เป็น อาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติ ทุกกฏนั้น

        ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทำการขวนขวายให้มาตุคาม บวชในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคต ทรงประกาศแล้ว ด้วยคิดว่าพระนางมหาปชา บดีโคตมีนี้ เป็นพระเจ้าแม่น้ำของพระผู้มี พระภาค เป็นผู้ประคับประคอง เลี้ยงดู ทรงประทานขีรธาราแก่พระผู้มีพระภาคเมื่อพระพุทธมารดาทิวงคต ได้ยังพระ ผู้มีพระภาค ให้เสวยถัญญธารา ข้าพเจ้าไม่เห็นเหตุนั้นว่าเป็นอาบัติทุกกฏ แต่เพราะ เชื่อท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมแสดงอาบัติทุกกฏนั้น

10.9

เรื่องพระปุราณเถระ

             [๖๒๓] สมัยนั้น ท่านพระปุราณะเที่ยวจาริกในชนบททักขิณาคิรี พร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป คราวเมื่อพระเถระทั้งหลายสังคายนา พระธรรม และพระวินัย เสร็จแล้ว ได้พักอยู่ในชนบท ทักขิณาคิรีตามเถราภิรมย์ แล้ว เข้าไปหา พระเถระทั้งหลาย ที่พระวิหารเวฬุวันอันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อ แก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ แล้วได้กล่าวสัมโมทนียะกับพระเถระทั้งหลาย แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระปุราณะผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านปุราณะพระเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระธรรมและพระ วินัยแล้ว ท่านจงรับรู้พระธรรม และพระวินัย นั้น ที่พระเถระทั้งหลายสังคายนาแล้ว

        ท่านพระปุราณะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลาย สังคายนา พระธรรม และพระวินัยเรียบร้อย แล้วหรือ แต่ว่าข้าพเจ้าได้ฟัง ได้รับมาเฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มี พระภาคด้วยประการใด จักทรงไว้ ด้วยประการนั้น

             [๖๒๔] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้กล่าวกะพระเถระทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อจวนเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสกะข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เมื่อเราล่วงไปแล้ว สงฆ์จงลง พรหมทัณฑ์ แก่ภิกษุฉันนะ

        พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือ ว่า พระพุทธเจ้า ข้าก็ พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร

        พระอานนท์ตอบว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วว่า พรหมทัณฑ์ เป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุฉันนะพึงพูด ตามปรารถนาภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงสั่งสอน ไม่พึงพร่ำสอนภิกษุฉันนะ

        ท่านพระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้นท่านนั้นแหละจง ลง พรหมทัณฑ์ แก่พระฉันนะ

        พระอานนท์ปรึกษาว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ ได้อย่างไร เพราะเธอดุร้าย หยาบคาย

        พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกับภิกษุหลายๆ รูป ท่านพระอานนท์ รับเถระบัญชาแล้วโดยสารเรือไป พร้อมกับภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงเมืองโกสัมพี ลงจากเรือแล้วได้นั่ง ณ โคนไม้ แห่งหนึ่งใกล้ พระราชอุทยาน ของพระเจ้าอุเทน

10.10

เรื่องพระเจ้าอุเทน

             [๖๒๕] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสี ประทับอยู่ในพระราช อุทยาน พร้อมด้วย ข้าราชบริพาร พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนได้สดับข่าวว่า พระคุณเจ้า อานนท์ อาจารย์ของพวกเรา นั่งอยู่ที่โคนไม้ แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยาน จึงกราบทูล พระเจ้าอุเทนว่า ขอเดชะ ข่าวว่าพระคุณเจ้าอานนท์ อาจารย์ของ พวกหม่อมฉัน นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้พระราชอุทยาน พวกหม่อมฉันปรารถนา จะไปเยี่ยม พระคุณเจ้าอานนท์ พระเจ้าข้า พระเจ้าอุเทนตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงเยี่ยม พระสมณะ อานนท์เถิด

        ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วถวาย อภิวาทนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ชี้แจงให้พระมเหสี ของพระเจ้า อุเทนผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

        ครั้งนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนอันท่านพระอานนท์ชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แก่ ท่านพระอานนท์

        ครั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์ แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำ ประทักษิณ แล้วเข้าไปเฝ้า พระเจ้าอุเทน

             [๖๒๖] ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนได้ทอดพระเนตร เห็นพระมเหสีเสด็จมา แต่ไกล เทียวครั้นแล้ว ได้ตรัสถามว่า พวกเธอเยี่ยมพระสมณะอานนท์แล้วหรือ

        พระมเหสีกราบทูลว่า พวกหม่อมฉันได้เยี่ยม พระคุณเจ้าอานนท์แล้ว พระเจ้าข้า
อุ. พวกเธอได้ถวายอะไร แก่พระสมณะอานนท์บ้าง
ม. พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน แก่พระคุณเจ้าอานนท์พระเจ้าข้า

        พระเจ้าอุเทนทรงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะอานนท์ จึงรับ จีวรมากถึงเพียงนั้น พระสมณะอานนท์ จักทำการค้าขายผ้า หรือจักตั้งร้านค้า แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า
ท่านพระอานนท์ มเหสีของข้าพเจ้า มาหาหรือ
อา. พระมเหสีของพระองค์มาหา มหาบพิตร

อุ. ก็พระนางได้ถวายอะไร แก่ท่านพระอานนท์บ้าง
อา. ได้ถวายผ้าห่มแก่อาตมภาพ ๕๐๐ ผืน มหาบพิตร

อุ. ก็ท่านพระอานนท์จักทำอะไรกะจีวรมากมายเพียงนั้น
อา. อาตมภาพจักแจกให้แก่ภิกษุทั้งหลาย ที่มีจีวรคร่ำคร่า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ก็ท่านจักทำอย่างไรกะจีวรที่เก่าคร่ำเหล่านั้นต่อไป
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าดาดเพดาน มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าดาดเพดานเก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าปูฟูก

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูฟูกที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าปูพื้น มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าปูพื้นที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าเช็ดเท้า มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดเท้าที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักทำผ้าเหล่านั้นให้เป็นผ้าเช็ดธุลี มหาบพิตร

อุ. ท่านพระอานนท์ ท่านจักทำอย่างไรกะผ้าเช็ดธุลีที่เก่าเหล่านั้น
อา. อาตมภาพจักโขลกผ้าเหล่านั้น ขยำกับโคลนแล้วฉาบทาฝามหาบพิตร

        ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนทรงพระดำริว่า พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร ทั้งหลาย นำผ้าไปแยบคายดี ไม่เก็บผ้าเข้าเรือนคลัง แล้วถวายผ้าจำนวน ๕๐๐ ผืน แม้อื่นอีก แก่ท่านพระอานนท์ก็ในคราวนี้ บริขารคือจีวร บังเกิดแก่ ท่านพระอานนท์ เป็น ครั้งแรก คือผ้า ๑๐๐๐ ผืน เกิดขึ้นแล้ว

10.11

ลงพรหมทัณฑ์ (การลงโทษ)

             [๖๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปยังวัดโฆสิตาราม ครั้นแล้วนั่ง บนอาสนะ ที่เขาปูลาดไว้ ท่านพระฉันนะ เข้าไปหาท่านพระอานนท์อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะผู้นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านฉันนะ สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่ท่านแล้ว

ฉ. ท่านพระอานนท์ ก็พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร

อา. ท่านฉันนะ ท่านปรารถนาจะพูดคำใด พึงพูดคำนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอนท่าน

ฉ. ท่านพระอานนท์ ด้วยเหตุเพียงที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว ไม่ตักเตือน ไม่พร่ำสอน ข้าพเจ้านี้ เป็นอันสงฆ์กำจัดข้าพเจ้าแล้วมิใช่หรือ แล้วสลบล้มลง ณ ที่นั้นเอง

        ต่อมา ท่านพระฉันนะ อึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงหลีกออกอยู่ แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ได้ ทำให้แจ้งซึ่งคุณ พิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออก จากเรือนบวช โดยชอบ ต้องประสงค์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันนี้แหล เข้าถึงอยู่แล้ว ได้รู้ชัดแล้วว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น อีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี

        ก็แล ท่านพระฉันนะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง บรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้นท่าน พระฉันนะบรรลุ พระอรหัตแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้ว กล่าวว่า ท่าน พระอานนท์ ขอท่านจงระงับพรหมทัณฑ์ แก่ผมในบัดนี้เถิด

        ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านฉันนะ เมื่อใด ท่านทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว เมื่อนั้น พรหมทัณฑ์ ของท่าน ก็ระงับแล้วฯ

             [๖๒๘] ก็ในการสังคายนาพระวินัยนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่เกิน เพราะฉะนั้น การสังคายนา พระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๕๐๐ ดังนี้แล

ปัญจสติกขันธกะ ที่ ๑๑ จบ


   



พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์