เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม

  พระเทวทัต
ค้นหาคำที่ต้องการ    

  ผู้มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา    
1 พระโมคคัลลานะ (อัครสาวกเบื้องซ้าย) 8 พระอุบาลี (ยอดเยี่ยมด้านผู้ทรงวินัย) 15 ภารทวาชะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านบันลือสีหนาท)
2 พระเทวทัต (ปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า) 9 อนาถบิณฑิกคหบดี (ผู้สร้างวิหารเชตวัน) 16 วักกลิ (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นตถาคต)
3 นิครนถ์ (โต้วาทะกับพระพุทธเจ้า) 10 พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี (ภิกษุณีรูปแรก) 17 คามณี (แปลว่านายบ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน)
4 พระมหากัปปินะ (นั่งคู้บังลังค์ ตั้งกายตรง) 11 พระราหุล (เอตทัคคะผู้ใคร่ต่อการศึกษา) 18 พระมหากัจจานะ (ผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต)
5 พระสารีบุตร (อัครสาวกเบื้องขวา) 12 หมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์พระพุทธเจ้า) 19 อัคคิเวสนะ (ชื่อตระกูลปริพาชก)
6 พระมหากัสสป (ผู้ทรงธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตร) 13 ราธะ (ตรัสสอนเรื่อง"สัตว์" กับราธะ) 20 สุสิมะปริพาชก (คิดว่าผู้หลุดพ้นคือผู้มีฤทธิ์)
7 พระอนุรุทธะ (พระอรหันต์ผู้มีทิพย์จักษุ) 14 เอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมด้านต่างๆ 74 ท่าน) 21 พระอุทายี (มีความเห็นแย้งกับพระสารีบุตร)
           

เรื่องราวสำคัญของพระเทวทัต (จากพระไตรปิฎก) T104
           ออกไปหน้าหลัก 4 of 5
  45 เรื่องราวของ พระเทวทัต จากพระไตรปิฎกฉบับหลวง คัดเฉพาะคำสอนจากพระโอษฐ์
  31. พระเทวทัตจะตกนรกชั่วกัป ด้วยอสัทธรรม ๘ ประการ (ลาภ-เสื่อมลาภ ยศ-เสื่อมยศ สักการะ-เสื่อมสักการะ ปราถนาลากมก-มิตรชั่ว)
  32. เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๓ ประการ จักตกนรกตลอดกัป ปรารถนาลามก มีมิตรชั่ว บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำ(มีฤทธิ์) ก็เลิกเสียกลางทาง
  33. เรื่องอภัยราชกุมาร (๘. อภัยราชกุมารสูตร)
  34. วาจาไม่เป็นที่รัก ตรัสกับ อภัยราชกุมาร ที่พระองค์ทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า จักเกิดจักเกิดในนรกตลอดหนึ่งกัป
  35. ท้าวสหัมบดี ภาษิตคาถาพระเทวทัตว่า ผลกล้วยย่อมฆ่าต้นกล้วย (เทวทัตตสูตรที่ ๒)
  36. พระเทวทัตเดินจงกรมกับภิกษุผู้ปราถนาลามก (๕. จังกมสูตร)
  37. ลาภสักการะเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง (๕. ปักกันตสูตร)
  38. พระเจ้าอชาตสัตรู นำภัตตาหารไปบำรุงพระเทวทัต ด้วยรถ วันละ ๕๐๐ คัน (๖.รถสูตร)
 
 


(31)

ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๔

พระเทวทัตจะตกนรกตลอดชั่วกัปด้วยอสัทธรรม ๘ ประการ

เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๘ ประการ คือ ลาภ-เสื่อมลาภ ยศ-เสื่อมยศ สักการะ-เสื่อมสักการะ ปราถนาลากมก-มิตรชั่ว ... ครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้

         [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๘ ประการ ครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย ตกนรกชั่วกัปช่วยเหลือไม่ได้ อสัทธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน คือ
๑. เทวทัตมีจิต อันลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว จักเกิดในอบายตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
๒. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมลาภครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๓. เทวทัตมีจิต อันยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๔. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมยศครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๕. เทวทัตมีจิต อันสักการะครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๖. เทวทัตมีจิต อันความเสื่อมสักการะ ครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๗. เทวทัตมีจิต อันความปรารถนาลามกครอบงำ ย่ำยีแล้ว ...
๘. เทวทัตมีจิต อันความเป็นมิตรชั่วครอบงำ ย่ำยีแล้วจักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัต มีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยี แล้ว จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้
    ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
    ภิกษุพึงครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามก ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้น แล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
    ภิกษุครอบงำ ย่ำยี ความเป็นมิตรลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้นไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะ ทั้งหลาย ที่ทำความคับแค้น และรุ่มร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อครอบงำ ย่ำยี ลาภที่เกิดขึ้น แล้วอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้น และรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วย อาการอย่างนี้ ก็เมื่อเธอไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่  ...
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
    เมื่อเธอไม่ครอบงำ ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ อาสวะทั้งหลาย ที่ทำ ความคับแค้นและรุ่มร้อน พึงเกิดขึ้น
... ครอบงำ ย่ำยี ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามก ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่     อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้น และรุ่มร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แลพึงครอบงำ ย่ำยี ลาภที่ เกิดขึ้น แล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ .. .
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ ...
    พึงครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรชั่ว ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาว่า พวกเราจักครอบงำ ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... สักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
... ความปรารถนาลามกที่เกิดขึ้นแล้วอยู่
    พวกเราจักครอบงำ ย่ำยี ความมีมิตรลามก ที่เกิดขึ้นแล้วอยู่

         ดูกรภิกษุ ทั้งหลายพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล


(32)

ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๑๓๖


เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๓ ประการ จักตกนรกตลอดกัป

          [๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๓ ประการ ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้อสัทธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ:
๑. ความปรารถนาลามก
๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. พอบรรลุคุณวิเศษเพียงขั้นต่ำ ก็เลิกเสีย ในระหว่าง

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมีจิตอัน อสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำ ย่ำยี จักเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป ช่วยเหลือไม่ได้


(33)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๗๐


เรื่องอภัยราชกุมาร(๘.อภัยราชกุมารสูตร)

        [๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนคร ราชคฤห์. ครั้งนั้น พระราชกุมารพระนามว่า อภัย เสด็จเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร ถึงที่อยู่ ทรงอภิวาท นิครนถ์นาฏบุตรแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

        [๙๒] นิครนถ์นาฏบุตร ได้ทูลอภัยราชกุมารว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญ พระองค์ ทรงยกวาทะ แก่พระสมณโคดม เมื่อพระองค์ทรงยกวาทะ แก่พระสมณ โคดมอย่างนี้แล้ว กิตติศัพท์อันงามของพระองค์ จักระบือไปว่า อภัยราชกุมาร ทรงยก วาทะแก่สมณโคดมผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้.

         อภัยราชกุมาร ตรัสถามว่าท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าจะยกวาทะแก่พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้อย่างไร?

         นิครนถ์นาฏบุตรทูลว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้า พระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระตถาคต จะพึงตรัสพระวาจา อันไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น บ้างหรือหนอ

         ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรราชกุมาร ตถาคตพึงกล่าววาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูลพระสมณโคดม อย่างนี้ว่า

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพระองค์ จะต่างอะไร จากปุถุชนเล่า เพราะแม้ปุถุชน ก็พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของคนอื่น

         ถ้าพระสมณโคดม ถูกถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรราชกุมาร ตถาคตไม่พึงกล่าววาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้นอย่างไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์ พระเทวทัตต์ว่า เทวทัตต์จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้นกัปหนึ่ง เป็นผู้อัน ใครๆ เยียวยาไม่ได้ ดังนี้ เพราะพระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัตต์โกรธ เสียใจ

         ดูกรพระราชกุมาร พระสมณโคดม ถูกพระองค์ทูล ถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย เปรียบเหมือนกะจับเหล็ก ติดอยู่ในคอ ของบุรุษ บุรุษนั้นจะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้ ฉันใด ดูกรพระราชกุมาร พระสมณโคดม ก็ฉันนั้น ถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย.

         อภัยราชกุมารรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงอภิวาท นิครนถ์นาฏบุตร ทรงทำประทักษิณ แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ทรงแหงน ดูพระอาทิตย์ ทรงพระดำริว่า วันนี้มิใช่กาล จะยกวาทะแก่พระผู้มีพระภาค วันพรุ่งนี้เถิด เราจักยกวาทะแก่พระผู้มีพระภาค ในนิเวศน์ของเราดังนี้ แล้วจึง กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค มีพระองค์เป็นที่ ๔ จงทรงรับ ภัตตาหารของหม่อมฉัน เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เสด็จหลีกไป

         ครั้งนั้น พอล่วงราตรีนั้นไปเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ ของอภัยราชกุมาร ประทับนั่งบนอาสนะที่เขา ปูลาด ไว้ ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงอังคาส พระผู้มีพระภาคด้วย ขาทนียะโภชนียะ อันประณีต ให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เมื่อพระผู้มีพระภาค เสวยเสร็จ ทรงชักพระหัตถ์จากบาตรแล้ว อภัยราชกุมารทรงถืออาสนะต่ำ อันหนึ่ง ประทับนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.


(34)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง  เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๗๑

วาจาไม่เป็นที่รัก
ตรัสกับ อภัยราชกุมาร ที่พระองค์ทรงพยากรณ์เทวทัตต์ ว่าจักเกิดจักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้น กัปหนึ่ง พระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัตต์ โกรธ เสียใจ ซึ่งขัดแย้งกับสิ่ง ที่พระองค์ ได้กล่าวว่า " ตถาคต พึงกล่าววาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น"

         [๙๓] อภัยราชกุมาร ประทับ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถาม พระผู้มี พระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่นบ้าง หรือหนอ.

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราชกุมาร ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วนเดียว มิได้.

        อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว.

        พ. ดูกรราชกุมาร เหตุไฉนพระองค์จึงตรัสอย่างนี้เล่า?

        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

         นิครนถ์นาฏบุตรได้บอกว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จ ไปยกวาทะ แก่พระสมณโคดมเถิด เมื่อพระองค์ยกวาทะ แก่พระสมณโคดม
อย่างนี้ กิตติศัพท์ อันงามของพระองค์ จักระบือไปว่า อภัยราชกุมาร ยกวาทะแก่ พระสมณ โคดม ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้

         เมื่อนิครนถ์นาฏบุตร กล่าวอย่างนี้ หม่อมฉันได้ถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้า จะยกวาทะแก่พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ได้อย่างไร นิครนถ์ นาฏบุตร ตอบว่า ไปเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามอย่างนี้ว่า

         ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น ที่ชอบใจของผู้อื่นบ้างหรือหนอ ถ้าพระสมณโคดม ถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

         ดูกรราชกุมาร ตถาคตพึงกล่าววาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึง ทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น อย่างนั้นการกระทำของพระองค์ จะต่างอะไรจากปุถุชนเล่า เพราะแม้ปุถุชนก็กล่าว วาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น แต่ถ้าพระสมณโคดม ถูกพระองค์ ทูลถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

          ดูกรราชกุมาร ตถาคตไม่พึงกล่าววาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของผู้อื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูลพระสมณโคดม อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น อย่างไรพระองค์ จึงทรงพยากรณ์เทวทัตต์ ว่า เทวทัตต์จักเกิด ในอบาย จักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้นกัปหนึ่ง เป็นผู้อันใครๆ เยียวยาไม่ได้ ดังนี้ เพราะ พระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัตต์ โกรธ เสียใจ

         ดูกรพระราชกุมาร พระสมณโคดม ถูกพระองค์ทูลถามปัญหา สองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย เปรียบเหมือนกะจับเหล็กติด อยู่ในคอ ของบุรุษ บุรุษนั้นจะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้ฉันใด

         ดูกรพระราชกุมาร พระสมณโคดมก็ฉันนั้น ถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสอง เงื่อนนี้แล้วไม่อาจกลืนเข้า จะไม่อาจคายออกได้เลย.


(35)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๘๗

ท้าวสหัมบดี ภาษิตคาถาพระเทวทัตว่า ผลกล้วยย่อมฆ่า ต้นกล้วย (เทวทัตตสูตรที่ ๒)

 

           [๖๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ในเมื่อพระ เทวทัตต์หลีกไปแล้วไม่นาน ฯ

         ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมี อัน งดงามยิ่งยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้น ให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

         [๖๑๐] ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วปรารภ พระเทวทัตต์ ได้ภาษิตคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ผลกล้วยแลย่อมฆ่า ต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว เหมือนลูก ในท้องฆ่าแม่ม้าอัศดร ฉะนั้น


(36)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๕๒

พระเทวทัตเดินจงกรมกับภิกษุผู้ปราถนาลามก (๕. จังกมสูตร)

         [๓๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนคร ราชคฤห์ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับ ภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค

         ท่านพระมหากัสสป ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค ท่านพระอนุรุทธก็จงกรมอยู่ ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค ท่านพระปุณณมันตานีบุตร ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค

         ท่านพระอุบาลีก็จงกรม อยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค ท่านพระอานนท์ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค แม้พระเทวทัตต์ ก็จงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุหลายรูป ในที่ไม่ไกลพระผู้มี พระภาค ฯ

พ. พวกเธอเห็น เทวทัตต์ กำลังจงกรมอยู่ด้วยกันกับภิกษุ หลายรูปหรือไม่
ภิ. เห็น พระเจ้าข้า ฯ

         พ. ภิกษุทั้งหมดนี้ ล้วนมีความปรารถนาลามก


(37)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ หน้าที่ ๒๓๗

ลาภสักการะเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง (๕.ปักกันตสูตร)

         [๕๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏเขต พระนคร ราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัต หลีกไปยังไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภ พระเทวทัต ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง เกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฯ

         [๕๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นกล้วยเผล็ดผล เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะ และชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน

         [๕๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ไผ่ออกขุย เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อมฉันใด ลาภสักการะ และชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน

         [๕๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้อ้อออกดอก เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อมฉันใด ลาภสักการะ และชื่อเสียง เกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน

         [๕๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่ม้าอัสดร ตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียง เกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อ ความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ

         [๕๙๑] พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคำเป็นคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยฆ่าไม้ไผ่ ดอกฆ่าไม้อ้อ ลูกฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉันใด สักการะก็ฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น

จบสูตรที่ ๕


(38)
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๓๘


พระเจ้าอชาตสัตรู นำภัตตาหารไปบำรุงพระเทวทัต ด้วยรถ วันละ ๕๐๐ คัน (๖.รถสูตร)


          [๕๙๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนคร ราชคฤห์ สมัยนั้น พระเจ้าอชาตสัตรูราชกุมาร เสด็จไปบำรุง พระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และรับสั่งให้นำ ภัตตาหาร สำหรับบูชา ไปพระราชทาน ๕๐๐ หม้อ ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค

         ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุ
เหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าอชาตสัตรู ราชกุมาร จักเสด็จไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำภัตตาหาร สำหรับบูชาไปพระราชทาน ๕๐๐ หม้อ พระเจ้าข้าฯ

         [๕๙๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดี ลาภสักการะและชื่อเสียงของเทวทัตเลย เพราะพระเจ้าอชาตสัตรูราชกุมาร จักเสด็จ ไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำ ภัตตาหาร สำหรับบูชา ไปพระราชทาน ๕๐๐หม้อเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความ เสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่พึงหวังความเจริญ เพียงนั้น

         [๕๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสุนัขดุ ที่เขาขยี้ดี [ดีหมีดีปลา] ใส่ในจมูก เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็ยิ่งดุร้ายกว่าเดิม หลายเท่าโดยแท้ ฉันใด พระเจ้า อชาตสัตรูราชกุมาร จักเสด็จไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน และจักรับสั่งให้นำภัตตาหาร สำหรับบูชา ไปพระราชทาน ๕๐๐ หม้อ เพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อม ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่พึงหวังความเจริญ เพียงนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ลาภสักการะ และชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แลเธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ




พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90  
 
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์
อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
 
   
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน อานา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์